กินรี-อัปสรลูกครึ่ง นกหิมพานต์ใส่นาฬิกา เฉพาะกิจ"ข่าวสด"

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย Catt Bewer, 29 ตุลาคม 2008.

  1. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    กินรี-อัปสรลูกครึ่ง นกหิมพานต์ใส่นาฬิกา เฉพาะกิจ"ข่าวสด"



    [​IMG]
    งานพระราชพิธีพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ใกล้เข้ามาทุกขณะ

    ตามหมายกำหนดการ งานพระราชพิธีจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายนนี้ โดยวันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน เวลา 17.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

    วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 07.00 น. เชิญพระโกศออกพระเมรุ มีริ้วขบวนพระอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระเมรุ ท้องสนามหลวง

    เชิญพระโกศโดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตฯ ใช้เส้นทางจากประตูศรีสุนทร ประตูเทวาภิรมย์ ถนนมหาราช ถนนท้ายวัง และถนนสนามไชย ไปยังพระมหาพิชัยราชรถ ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณวงเวียนหน้ากรมการรักษาดินแดน

    แล้วเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดพระเชตุพนฯ ผ่านถนนสนามไชย ถนนราชดำเนิน เข้าถนนกลางท้องสนามหลวง จากนั้น เชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคาน เวียนพระเมรุ โดยอุตราวัฏ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ เชิญพระโกศประดิษฐานบนพระเมรุ

    เวลา 16.30 น. พระราชทานเพลิงพระศพฯ

    เวลา 22.00 น. พระราชทานเพลิงพระศพฯ (จริง)

    วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน เวลา 08.00 น. เก็บพระอัฐิ

    ริ้วขบวนเชิญพระโกศพระอัฐิ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน จากถนนกลางท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน เข้าประตูวิเศษไชยศรี ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระผอบ พระสรีรางคาร ไปยังพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระวอสีวิกากาญจน์

    วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน เวลา 16.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

    วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน เวลา 10.30 น. เลี้ยงพระ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และริ้วขบวน เชิญพระโกศพระอัฐิ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน ขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

    วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน เวลา 16.30 น. ริ้วขบวนรถยนต์พระที่นั่ง บรรจุพระสรีรางคาร ณ อนุสรณ์สถานรังสีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม



    ในโอกาสอันสำคัญนี้ กองบรรณาธิการข่าวสดและสำนักพิมพ์มติชน ได้จัดทำหนังสือฉบับพิเศษ หรือที่เรียกว่าหนังสือเฉพาะกิจ ในชื่อ "อาลัย-อลังการ พระเมรุ ส่งเสด็จ พระพี่นาง" รวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับงานพระเมรุครั้งนี้ รวมถึงบันทึกเหตุการณ์สำคัญในงานพระเมรุเอาไว้ด้วย

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.นกกัณฑิมาใส่นาฬิกา
    2.นกกัณฑิมาไม่สวมนาฬิกา
    3.ก่อนแกะห่อพาสติก
    4.กินรีหน้าไทย
    5.กินรีหน้าฝรั่ง
    6.อัปสรสีหะตาสีฟ้าหน้าฝรั่ง
    7.อัปสรสีหะหน้าไทย
    8.รูปปั้นเทวดานั่ง
    9.ลวดลายเหนือพระจิตกาธาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ มีอาทิ บันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนิน ทำพิธีเชิญสัปตปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตรขาว 7 ชั้น ขึ้นประดิษฐานเหนือยอดพระเมรุ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม

    แนวคิดในการจัดสร้างพระเมรุ ของ น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ และประธานคณะทำงานจัดสร้างพระเมรุ, แผนผังพระเมรุ แผนผังริ้วขบวนตลอดงานพระเมรุ

    รายละเอียดต่างๆ ในพระเมรุ ไม่ว่าจะเป็นพระจิตกาธาน ลวดลายของฉากบังเพลิงและลายประดับต่างๆ

    ภาพปั้นเทวดานั่งและยืน 42 องค์ ภาพปั้นสัตว์หิมพานต์ 3 ชนิด 3 คู่ ที่มีรายละเอียดพิสดาร สอดแทรกแนวคิดโลกาภิวัตน์

    รายงานพิเศษ เกี่ยวกับพระประวัติ พระกรณียกิจ และพระจริยวัตร จากผู้ที่เคยรับใช้ถวายงาน รวมถึงรายงานพิเศษ เกี่ยวกับพระธิดา พระนัดดา วังที่ประทับ

    พระเมตตาที่ทรงมีต่อสัตว์ที่ทรงถือเป็นเพื่อนร่วมโลก ได้แก่สุนัขทรงเลี้ยง ไปจนถึงช้างที่ทรงรับอุปถัมภ์

    ที่พลาดไม่ได้ คือภาพสี่สี แสดงให้เห็นแง่มุมอันวิจิตรบรรจงของพระเมรุ ซึ่งถือเป็นโอกาสในการฟื้นฟูฝีมือช่างไทย วิชาช่าง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบพระเมรุ งานปั้น งานเขียนและการคิดลวดลายต่างๆ โดยประยุกต์และสร้างสรรค์ให้กับเข้ายุคสมัยและพระจริยวัตรของสมเด็จพระเจ้าพี่นางฯ

    ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ มาต่อยอดวิชาช่างไทยแต่เดิมหลายประการด้วยกัน

    อย่างหนึ่งคือลายดอกแก้วกัลยา อันเป็นลายเกิดใหม่ในงานครั้งนี้

    เดิมแก้วกัลยา เป็นดอกไม้ประดิษฐ์ ที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ พระราชทานให้เป็นสัญลักษณ์ของคนพิการ

    ผสมผสานลักษณะของดอกแก้ว กับดอกแก้วเจ้าจอม ซึ่งมีสีน้ำเงินเข้าด้วยกัน

    คณะช่างได้นำเอาดอกแก้วกัลยามาพัฒนาเป็นลายต่างๆ ทั้งลายเถา ลายพุ่ม แล้วเขียนลงบนฉากบังเพลิง ทั้งด้านนอกและด้านใน มีความสวยงามแปลกตา

    เป็นการทุ่มเทกำลังแรงและกำลังความคิด เพื่อแสดงกตัญญูกตเวทีต่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่ทรงมีความรักในงานศิลปะและดอกไม้พืชพรรณต่างๆ



    จุดเด่นอีกอย่างของพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก็คือ รูปปั้นเทวดา ที่ประดับโดยรอบรวม 42 องค์
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.-3.ลวดลายวิจิตรสวยงาม
    4.ลายดอกแก้วกัลยาที่ฉากบังเพลิง
    5.ลายดอกแก้วกัลยา
    6.ลวดลายที่ฐานพระจิตกาธาน
    7.ลิฟท์ที่ใช้เสด็จขึ้นพระเมรุ
    8.เทวดาที่ฉากบังเพลิง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เทวดานั่ง 22 องค์ ถือบังแทรกและโคมประทีปแก้ว เทวดายืน 20 องค์ ถือฉัตร

    ส่วนบันไดทางขึ้น ประดับสัตว์หิมพานต์ ซึ่งเป็นสิงสาราสัตว์ตามจินตนาการ นานาพันธุ์ อาศัยอยู่ป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ มีฤทธิ์และมีรูปลักษณะต่างๆ กันตามเผ่าพงศ์ มีจำนวนหลากหลายทั้งจตุบาท ทวิบาท และสัตว์ปีก

    ในการจัดสร้างครั้งนี้ คัดเลือกสัตว์หิมพานต์ที่ประดับอยู่รอบพระเมรุ มี 3 คู่ 6 รูป ได้แก่


    กินรี ด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นทางเสด็จฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์

    อัปสรสีหะ เป็นรูปครึ่งคนครึ่งสิงห์ ประดับอยู่ด้านทิศเหนือที่เชิญพระศพขึ้นพระเมรุ

    อัปสรสีหะและกินนร เลือกใช้เป็นคู่ที่เป็นเพศเมียทั้งคู่ หากสังเกตให้ดีใบหน้าทั้ง 2 รูป มีความต่างกัน

    รูปหนึ่งมีใบหน้าลักษณะผู้หญิงไทย อีกรูป ใบหน้าคมพิมพ์นิยมลูกครึ่งไทยฝรั่ง แต่ช่วงขาสิงห์ 2 รูป มีลักษณะแข็งแกร่ง ช่วงขาหลังทำแนวร่องแสดงถึงเส้นเอ็น และที่หางสิงห์เล่นลายกระหนกและลายใบเทศ แสดงถึงความอ่อนช้อยของศิลปะไทย

    ส่วน นกทัณฑิมา ที่ประดับอยู่ด้านทิศใต้ มีเฉพาะเพศผู้ เป็นนกยืนถือกระบองหรือไม้เท้าคอยปกป้องไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามา

    รูปปั้นเทวดาและสัตว์หิมพานต์ครั้งนี้ ช่างประติมา กรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรสร้างสรรค์ขึ้น

    อาศัยพื้นฐานประดับลายอย่างโบราณ ทาสี ประดับเลื่อม ใบหน้าและภูษาผ้าทรงเขียนสีตามแบบไทย แต่ให้มีลวดลายและสีสันล้วนแตกต่างกันทั้งหมด

    น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น ประธานออกแบบจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพิธี ในงานครั้งนี้ กล่าวว่า หากสังเกตรูปปั้นเทวดาให้ดีแล้ว ใบหน้าแต่ละรูป และลายเครื่องแต่งองค์จะไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับสัตว์หิมพานต์แต่ละรูปมีลายสี และเอกลักษณ์ที่ต่างกัน เนื่องจากให้อิสระกับช่างปั้นและจิตรกร เสริมใส่ตามจินตนาการของแต่ละคน

    เช่น นกทัณฑิมาข้อมือด้านซ้ายสวมใส่นาฬิกา อัปสรสีหะและกินรี มีใบหน้าลูกครึ่งไทยฝรั่ง และแบบไทยๆ เป็นการจินตนาการของช่างไทยให้สอดรับความนิยมในยุคโลกาภิวัตน์

    ถือเป็นการพัฒนางานประติมากรรม และจิตรกรรมของไทย แต่ยังคงกรอบรูปลักษณ์ไว้ เหมือนที่สมัยก่อนจะแต่งเติมให้สอดรับความนิยมในยุคนั้น

    ขั้นตอนการจัดทำ เริ่มจากช่างประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ทำพิมพ์เทวดานั่งและยืน ปั้นจากดินเหนียวมาหล่อเป็นหุ่นขี้ผึ้ง 1 ชุด

    จากนั้นตกแต่งลวดลายศิลปกรรมไทยบนหุ่นขี้ผึ้งของเทวดา หล่อด้วยปูน ปลาสเตอร์จำนวนนั่ง 22 องค์ และยืน 20 องค์ แล้ว นำมาขัดผิวให้เรียบ ก่อนพ่นสีทองและลงลายเครื่ององค์เทวดาตามที่ช่างศิลปกรรมกำหนดแบบไว้

    นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์ จิตรกร 8 ว. สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวว่า การปั้นหล่อสัตว์หิม พานต์นั้น ช่างปั้นได้ขึ้นโครงและปั้นสัตว์หิมพานต์นกทัณฑิมาอย่างละ 1 รูป ซึ่งการปั้นนักทัณฑิมา เป็นงานปั้นที่ยากกว่าสัตว์หิมพานต์ทั้ง 3 ชนิด เนื่องจากต้องปั้นปีกเพิ่มเข้ามา

    ในส่วนของการลงสี จะทาสีเหลืองเป็นพื้นในส่วนของเครื่องประดับ ส่วนที่เป็นผิวเนื้อจะลงสีเนื้อ และส่วนผมจะลงสีน้ำตาลเกือบดำ เมื่อลงสีเสร็จจะวาดหน้า และติดเลื่อม เมื่อเสร็จแล้วก็จะเขียนลายผ้า

    สำหรับการวาดหน้า เทวดาและสัตว์หิมพานต์นั้นไม่มีข้อบังคับ ตามแต่ศิลปินผู้นั้นจะรังสรรค์ผลงาน ส่วนตัวแล้ว ถ้าเป็นผู้ชายก็จะวาดให้แข็ง แต่ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะวาดให้อ่อนหวาน แต่ละคนหน้าจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่ที่จินตนาการของศิลปินผู้วาด

    ศักย ขุนพลพิทักษ์ จิตรกร 8 ว. หัวหน้ากลุ่มงานจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวเช่นเดียวกันว่า การทำงานของช่างสิบหมู่หารือทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มลงมือปั้นมาจนถึงตกแต่งลวดลายสีเสื้อและเส้นผม เป็นไปตามจินตนาการของช่าง โดยอาจารย์อาวุธให้ความเป็นอิสระของงานศิลป์

    "เป็นความคิดอิสระของช่าง ที่ไม่ต้องยึดขนบเหมือนที่ผ่านมานัก จะเป็นผลดีต่อการพัฒนางานศิลปะ"

    หนังสือฉบับพิเศษ "อาลัย-อลังการ พระเมรุ ส่งเสด็จ พระพี่นาง" เล่มนี้ กำลังทยอยนำสู่แผงหนังสือทั่วประเทศ ในราคา 65 บาท

    สื่อให้เห็นถึงการทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังฝีมือของช่างไทยและผู้เกี่ยวข้อง ที่ทำหน้าที่แทนพสกนิกรทั้งปวง

    เพื่อฝากความอาลัยไว้ในความวิจิตร อลังการของพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ

    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHhNQzB5T1E9PQ==
     

แชร์หน้านี้

Loading...