การกำเนิดของพระธุดงคกรรมฐานสายอีสาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 29 พฤศจิกายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    (มานิต ถาวรเถระ ป.ธ.๙)
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระสุปฏิปันโน ผู้ปักธง “กรรมฐาน” กลางมหานคร


    [​IMG]



    หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ถ่ายร่วมกับคณะศิษยานุศิษย์ ณ วัดป่าบ้านข่าโคม จ.อุบลราชธานี



    พระธุดงคกรรมฐานสายอีสาน ภายใต้การนำของพระอาจาย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ๒ พระกรรมฐานจากจังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้ชื่อว่าเป็นตักศิลาธรรมะแห่งภาคอีสานที่ได้บุกเบิกกองทัพธรรมแห่งอีสาน วางรากฐานแนวการปฎิบัติให้หยั่งรากแก้วมั่งคงในผืนแผ่นดินไทย ถือว่ามีอิทธิพลต่อประชาชนค่อนข้างมาก รวมทั้งเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ที่ได้ติดตามครูอาจารย์ออกธุดงค์ ก่อนที่จะหักเหชีวิตทางธรรมจากกรรมฐานสู่พระปริยัติธรรม
    การกำเนิดของพระธุดงคกรรมฐานสายอีสาน กล่าวกันว่า มาจากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ เงื่อนไขทางการเมือง เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์และเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรม

    กล่าวคือมีความเชื่อกันว่า สังคมชาวนาอีสาน นั้น มีความใฝ่ฝัน และความเชื่อ ที่จะถึงซึ่งสังคมพระศรีอาริย์ หรือ สังคมอุดมทิพย์และสังคมอุดมธรรม ที่ปราศจากความอดอยากและแร้นแค้น ทางกายและทางใจ

    ดังคำกล่าวโบราณของชาวอีสานที่ว่า “ใจบ่ศรัทธาแล้วแสนสิออยกะปานด่า ใจบ่ศรัทธานำเฮ็ดดีกะปานฮ้าย” หมายความว่า สังคมอีสานให้ความสำคัญกับใจเป็นใหญ่และว่าการที่ชาวนาจะถึงซึ่งสังคมพระศรี อาริย์ได้จะต้องฟังเทศน์อย่างน้อย ๑,๐๐๐ คาถา ใน ๑ วัน

    พระมหาไกรวุฒิ มะโนรัตน์ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล เขียนไว้ในงานวิจัยของท่านว่า การโหยหาถึงสังคมอุดมคติ แบบสังคมพระศรีอาริย์ เกิดจากการที่มนุษย์ไม่พอใจสภาพความเป็นอยู่ของตนเองในปัจจุบัน ทั้งจากสภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น รัฐ การปกครองรัฐ กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การสงคราม และเกิดจากความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ ที่คนมีฐานะทางการเงินแตกต่างกันมาก ในขณะที่คนหนึ่งมีกินมีใช้อย่างฟุ่มเฟือย มีความสุขเลิศลอย แต่อีกคนหนึ่งอดอยาก มีทุกขเวทนา ในสังคมที่อยู่ในสภาพเงื่อนไขเช่นนี้ ก่อให้เกิดความไม่พอใจในสภาพความเป็นอยู่ จึงพยายามสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างขึ้นมาใหม่
    ในสังคมพระศรีอาริย์ ชาวนาอีสานเชื่อว่า เมื่อพุทธศาสนาของพระโคดมล่วงถึง ๕,๐๐๐ ปี โลกจะมีแต่ความเลวร้ายที่สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน ผู้คนระส่ำระสายบ้านเมืองอยู่ในยุคมิคสัญญี ต่อมาจะมีผู้มีบุญมาปราบทุกเข็ญ คือ พระศรีอาริย์ ซึ่งเป็นศาสดาของศาสนาพุทธองค์ใหม่ ยุคพระศรีอาริย์ เป็นยุคที่มีแต่ความสุข เป็นยุคที่มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกับในคัมภีร์อนาคตวงศ์ กล่าวว่า สังคมอุดมคติในยุคพระศรีอาริย์ที่จะมาถึง จะมีความอุดมสมบูรณ์ทุกประการ แผ่นดินในสกลชมพูทวีป ได้ราบเรียบเสมอกันดังหน้ากลองชัย มีข้าวหอมมะลิเกิดขึ้น มหาชนไม่ได้ค้าขาย ไม่ได้ไถนา ก็มีอาหารบริบูรณ์ มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ฝนจะตกทุกๆ ๑๕ วัน สัตว์ ทั้งหลายไม่ยอมแก่ คนทั้งหลายมีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี ผู้คนมีรูปร่างสวยงาม มีเสรีภาพและภราดรภาพ มนุษย์ทุกคนมีคุณธรรมความดี ตั้งมั่นในทาน ศีล ภาวนา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีทรัพย์สินเป็นของกลาง มนุษย์ทุกคนไม่เบียดเบียนกัน เพราะรักษาศีล ๕

    ฉะนั้นคนอีสานจึงใฝ่ฝันและรอคอยสังคมอุดมคติ เพราะสังคมดังกล่าว ถือว่าเป็นสังคมที่ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ ดังสามารถมองผ่านวรรณกรรมหรือเรื่องเล่าทางวัฒนธรรมของอีสานหลากหลายเรื่อง เช่น ในกาพย์หลานสอนปู่ กาพย์วิฑูรบัณฑิต คอกลอยสอนโลก และตำนานพญาอินทร์โปรดโลก ที่มักจะมีเรื่องราว “สังคมพระ ศรีอาริย์” อันถือว่าเป็นความหวังของชาวนาอีสานเสมอ แม้นในความเป็นจริงพวกเขาเพียงแค่ปรารถนาในสังคมอยู่ดีกินดี ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบและได้ทำบุญก็พอ

    การเกิด ขึ้นของพระธุดงคกรรมฐานสายอีสานภายใต้การนำของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และ พระอาจารย์ มั่น ภูริทตฺโต แม้จะมีอิทธิพลอย่างยิ่งจากพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบธรรมยุต แต่การเกิดของพระธุดงค์จากอุบลราชธานีในขณะนั้น ก็อยู่ในช่วงเงื่อนไขหรือบริบทของความเร้นแค้นของภาคอีสาน เช่น เดียวกับบริบทแห่งการเกิดกบฏชาวนาอีสานในการต่อต้านอำนาจรัฐ ในราวปี พ.ศ.๒๔๔๒ – ๒๔๔๕ ที่อาศัยอุดมการณ์พระศรีอาริย์ ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยความยากลำบากของชีวิตชาวนา

    บริบทและเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมอีสานเช่นนั้นน่าจะมี อิทธิพลต่อการเกิดขึ้นและการแสวงหาสังคมอุดมคติหรือสังคมอุดมธรรมของกลุ่ม ชาวนาอีสานให้เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน มากกว่าที่จะรอการมาถึงซึ่งผู้มีบุญหรือพระโพธิสัตว์ที่จะมาประกาศศาสนาใหม่ “พระศรีอาริยเมตไตย” อันเป็นระบบความเชื่อสำคัญของชาวนาอีสาน หรือ การสร้างสังคมอุดมธรรมด้วยการต่อสู้กับรัฐหรือชนชั้นปกครองด้วยขบวนการอนาธิ ปัตย์ แม้ว่าพุทธศาสนาในเมืองไทยจะประดิษฐานทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ที่มีความชัดเจนและตั้งใจในการประพฤติปฎิบัติให้ถึงซึ่งจุดสูงสุดของพระ พุทธศาสนา น่าจะมีความชัดเจน มีแบบแผนหรืออุดมการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด คือ ในภาคอีสาน โดยเฉพาะในกลุ่มพระธุดงคกรรมฐานสายพระอาจารย์ มั่น ภูริทตฺโต หรือที่เรียกกันว่าพระป่าหรือพระกรรมฐานที่ถือ ธุดงควัตร ๑๓ และให้ความสำคัญในการอยู่ป่าเป็นวัตร

    ดังจะเห็นว่าในระหว่างที่พระอาจารย์มั่น ได้จำพรรษาที่ป่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี หรือ พระราชนิโรธรังสี ผู้เป็นศิษย์ ได้กล่าวกับพระอาจารย์มั่น เกี่ยวกับการจะตั้งสำนักภาคเหนือว่า “แล้วเราจึงปรารถถึงคนภาคอีสานว่า เหมาะสมแก่การปฎิบัติธรรมมากกว่าทุกๆ ภาค โดยเฉพาะภาคเหนือแล้วได้ผลน้อย เราได้ชี้ให้ท่านเห็นว่า ดูแต่ท่านอาจารย์อยู่ทางนี้ได้ ๗-๘ ปีแล้วมีใครบ้างที่ออกปฎิบัติตาม หมู่ที่ตามๆ ท่านอาจารย์มานี้ล้วนแต่ลูกศิษย์เก่าคนภาคอีสานทั้งนั้น บัดนี้คนภาคอีสานไม่ว่าจะเป็นพระ ฆราวาส มีเจ้าคุณธรรมเจดีย์ เป็นต้น ต่างพากันบ่นถึงท่านอาจารย์”

    คณะพระธุดงคกรรมฐานสานอีสานเริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าริมฝั่ง แม่น้ำโขงครั้งแรกๆ ประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๔๕ ตามหัวไร่ปลายนา ตามผืนป่า และผ่านหมู่บ้านชาวนา และได้ชาวนาในหมู่บ้านภาคอีสาน เป็นลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก เช่น พระอาจารย์ สิงห์ ขนตฺยาคโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธมฺมโร พระอาจารย์ แหวน สุจิณฺโณ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์เทส เทสรังสี พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย พระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์ชา สุภทฺโท พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างพระธุดงคกรรมฐานสายอีสานและสร้างความมั่นคงของ พุทธศาสนาในภาคอีสานและทั่วประเทศไทย

    แม้ตัวพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นลูกชาวนาในสกุลแก่นแก้ว อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี จะมีความสำคัญ จนกระทั่งมีการอุปมาอุปมัยความสำคัญของพระอาจารย์มั่น ว่าเหมือนกับพระพุทธเจ้าในสังคมชาวนาอีสาน เพราะเป็นผู้ถากถางเส้นทางของมรรคผลนิพพานหรือเส้นทางอริยะ หรือการสร้างสังคมอุดมทิพย์อุดมธรรมในประวัติศาสตร์อีสาน แต่คณะศิษยานุศิษย์ของท่านก็มีความสำคัญยิ่งในการสร้างพระพุทธศาสนาที่ สามารถก่อให้เกิดสังคมอุดมธรรมขั้นสูงสุดในยุคปัจจุบันที่ไม่มีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย หรือ การแร้นแค้น ทุกข์ยาก เช่นที่มีในสังคมชาวนาอีสานต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนชาวนาอีสานที่อาศัยอยู่ตามบ้านป่า ชายป่าชายเขา อย่างหมู่บ้านหนองผือ ในจังหวัดสกลนคร บ้านสามผง ในจังหวัดนครพนม บ้านห้วยทราย ในจังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ ที่มีพื้นฐานของการใฝ่หาสังคมแห่งความผาสุก ที่สนับสนุนอุปัฏฐากพระธุดงคกรรมฐานตลอดมา

    ปรัชญาหรือแนวคิดของพระธุดงคกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น เชื่อว่าความแร้นแค้น ความอดอยาก ความไม่เป็นธรรมในสังคม เป็นความทุกข์ ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาปรับปรุงจนมีความบริบูรณ์พูนสุขด้วยวัตถุและ ความสะดวกสบาย หรือความเชื่อของปรัชญาสังคมอุดมธรรมแบบคอมมิวนิสต์หรือแนวใดก็ตาม แต่มนุษย์ยังจะต้องเผชิญกับความยากลำบากของการเจ็บ การแก่และการตาย จากกฎธรรมชาติ

    ฉะนั้นคณะพระธุดงคกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น เห็นว่า สังคมอุดมคติหรือสังคมอุดมธรรมที่แท้จริงคือสังคมแห่งอริยะ นั่นหมายถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองและหมู่พวกให้ถึงซึ่งอริยะ โดยการวางสังคมอุดมคติในเชิงรูปแบบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา(ไตรสิกขา) หรือ มรรค ๘ รวมทั้งธุดงค์วัตร ๑๓ ซึ่งเป็นสังคมไม่มีชนชั้น ทุกคนเสมอภาคกันด้วยศีล ด้วยพรรษา และพยายามเผยแพร่แนวคิดหลักปฎิบัติดังกล่าวให้กับกลุ่มชน ชาวนาตามหมู่บ้านชนบทภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ของไทย สร้างสังคมอุดมทิพย์ อุดมธรรม ทั้งในระดับต้นโดยการไม่เบียดเบียน การไม่ลักขโมย การเผยแผ่ การอยู่รวมกันในสังคมชาวนาด้วยศีล ๕ หรือในระดับสูงสุดในการเจริญภาวนา

    การเปลี่ยนเปลวจากเถ้ากระดูกกลายเป็นพระธาตุบริสุทธิ์ของคณะ พระธุดงคกรรมฐานสายอีสานหลังการมรณภาพ เช่น พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์ตื้อ พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์ขาว พระอาจารย์แหวน พระอาจารย์จันทร์ พระอาจารย์พรหม พระอาจารย์หลุย พระอาจารย์คำดี พระอาจารย์ชอบ พระอาจารย์หล้า พระอาจารย์จวน พระอาจารย์วัน ฯลฯ ซึ่งเป็นพระชาวนาอีสาน ตอกย้ำให้ผู้คนในสังคมชาวนาเห็นว่า การใฝ่ฝันหาสังคมอุดมธรรม มิได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องที่รอคอยชาติหน้า หรือ รอคอยการมาถึงพระศรีอาริย์เสียอย่างเดียว

    พระอาจารย์มั่น เป็นเสมือนผู้มีบุญ ที่ได้มาสร้างสังคมอุดมธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมชาวนา ทั้งสังคมอุดมธรรมที่เป็นเนื้อหาและรูปแบบในหมู่พระกรรมฐาน และการสร้างสังคมอุดมธรรมในหมู่ชาวนา โดยการนำพาการต่อสู้ทางชนชั้นในหัวใจหรือการศึกษาเพื่อพัฒนาสติปัญญาด้วย วิธีการต่างๆ อย่างเข้มข้น เช่น การรักษาศีล เจริญภาวนา เพื่อให้ได้เสรีภาพทางจิตวิญญาณ อันเป็นเสรีภาพจากการไม่เบียดเบียน ความโลภ การเอารัดเอาเปรียบหรือการขูดรีด หรือที่เรียกกันว่า เผด็จการทางชนชั้นที่แท้จริง ทั้งระดับต้น คือผู้ไม่เบียดเบียนและระดับสูงคือหลุดพ้นเป็นอริยะ ดำรงชีวิตด้วยความเมตตากรุณาเป็นปรกติ ก่อให้เกิดความร่มเย็นในหมู่สังคมชาวนาและสังคมเมือง




    วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร (วัดเกาะ เยาว&
     

แชร์หน้านี้

Loading...