การกล่าวถึง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 5 ธันวาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047


    การกล่าวถึง สมถ และวิปัสสนา กล่าวได้หลายนัย คือ
    โดยรวมขณะที่มรรคเกิดขึ้น องค์มรรคทั้ง ๘ มีทั้ง สมถและวิปัสสนา
    แต่ถ้าเป็นคำสอนภายนอก พวกดาบส ฤษี ทั้งหลาย อย่างมากมีเพียงสมถภาวนา
    แต่ตามพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง มีกุศลทุกระดับ คือ ทาน ศีล สมถ วิปัสสนา
    สำหรับผู้ศึกษาที่ไม่เข้าใจ ย่อมไม่มีแม้ สมถ วิปัสสนาก็ไม่มี อยู่ที่ปัญญาเป็นสำคัญ
    เรื่อง มรรคหรือสติปัฏฐาน เป็นทั้งสมถและวิปัสนนาแม้ไม่ได้อบรมสมถภาวนา

    พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

    อนึ่ง โลกุตรมรรคใด พร้อมทั้งโลกิยมรรค ถึงซึ่งการนับ ว่าเป็น

    ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์) มรรคนั้นแลเป็น

    ทั้งวิชชาและจรณะ เพราะสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทรงสงเคราะห์ไว้ด้วย

    วิชชา ธรรมที่เหลือสงเคราะห์ไว้ด้วยจรณะ อนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งสมถะและ

    วิปัสสนา เพราะความที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรง

    สงเคราะห์ไว้ด้วยวิปัสสนาญาณ. ธรรมนอกจากนี้ สงเคราะห์ไว้ด้วยสมถญาณ.

    อีกอย่างหนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งขันธ์ ๓ และสิกขา ๓ เพราะความที่สัมมาทิฏฐิ

    และสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์ ธรรม ๓

    ในลำดับต่อจากสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะนั้นสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ที่เหลือ

    สงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ และธรรมเหล่านั้นแหละสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา

    อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา.

    เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ประเภท แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ

    อัญญสมานา ๑๓ อกุศล ๑๔ โสภณ ๒๕ รวมเป็น ๕๒ จิตขณะหนึ่ง

    มีเจตสิกเกิดจำนวนมาก อย่างน้อย ๗ ประเภท เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

    พร้อมกับจิต เจตสิกประเภท ไหนเกิดบ่อยๆ ย่อมสะสมบ่อยๆ ย่อมมีกำลัง

    มากขึ้น เช่น โทสะเกิดบ่อยๆ โทสะย่อมสะสมมากขึ้น มีกำลังมากขึ้น ถ้า

    เมตตาเกิดบ่อยๆ เมตตาก็สะสมมากขึ้น มีกำลังข่มโทสะได้..
    อัญญสมานาเจตสิก
    อญฺญ ( อื่น ) + สมานา ( เสมอ ) + เจตสิก ( สภาพที่เกิดกับจิต )

    เจตสิกที่เสมอกับจิตอื่น หมายถึง เจตสิก ๑๓ ดวง ที่เกิดกับจิตชาติใด ภูมิใด ก็มี

    ความเสมอกันกับจิตนั้น คือ เป็นชาติเดียวกัน ภูมิเดียวกัน อัญญสมานาเจตสิก ๑๓

    ดวง คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง และปกิณกเจตสิก ๖ ดวง
    ( ดูสัพพจิตตสาธารณเจตสิก , ดูปกิณกเจตสิก )
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>อกุศลเจตสิก
    อกุสล ( อกุศล ) + เจตสิก ( สภาพที่เกิดกับจิต )

    เจตสิกที่เป็นอกุศล , เจตสิกที่เกิดกับจิต หมายถึง เจตสิกที่เกิดได้กับอกุศลจิตเท่า

    นั้น มี ๑๔ ดวง คือ ...
    ๑. โมหะ ๒. อหิริกะ ๓. อโนตัปปะ ๔. อุทธัจจะ ( ๔ ดวงนี้ ชื่อว่า โมจตุกเจตสิก )

    ๕. โลภะ ๖. มานะ ๗. ทิฏฐิ ( ๓ ดวงนี้ชื่อว่า โลติกเจตสิก )

    ๘. โทสะ ๙. อิสสา ๑๐. มัจฉริยะ ๑๑. กุกกุจจะ ( ๔ ดวงนี้ชื่อว่า โทจตุกเจตสิก )

    ๑๒. ถีนะ ๑๓. มิทธะ ( ๒ ดวงนี้ชื่อว่า ถีนทุกเจตสิก )

    ๑๔. วิจิกิจฉาเจตสิก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>โสภณเจตสิก
    โสภณ ( ดีงาม ) + เจตสิก ( สภาพที่ประกอบกับจิต )

    เจตสิกที่เกิดกับโสภณจิต หมายถึง เจตสิกที่ดีงาม ไม่มีโทษ และเกิดกับจิตได้ทั้ง

    ๓ ชาติ คือ กุศลชาติ วิบากชาติ และกิริยาชาติ
    [​IMG] โสภณเจตสิกมี ๒๕ ดวงหรือประเภท ได้แก่

    โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง ( ดู โสภณสาธารณเจตสิก )

    วิรตีเจตสิก ๓ ดวง ได้แก่ ...

    สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑

    อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ได้แก่ ...

    กรุณา ๑ มุทิตา ๑

    และ ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>จิตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นชาติกุศล ชาติอกุศล ขาติวิบาก ชาติกิริยา ก็ต้องมี
    เจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ถ้าจิตไม่ดีเกิด เจตสิกฝ่ายไม่ดีก็เกิดร่วมด้วย แล้วก็
    สะสมเป็นปัจจัยให้จิตและเจตสิกฝ่ายไม่ดีเกิดบ่อย ๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระคุณพ่อ เปรียบด้วย พสุธา
    พระคุณแม่ เปรียบนภา แผ่นกว้าง
    มหาสมุทร เปรียบด้วย คุณอาจารย์ท่าน
    ดินฟ้ามหาสมุทรอ้าง เปรียบด้วย " พุทธคุณ "

    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 294​
    ๙. มาตุโปสกสูตร
    ว่าด้วยการเลี้ยงมารดาและบิดา
    [๗๑๓] สาวัตถีนิทาน.
    ครั้งนั้น มาตุโปสกพราหมณ์ผู้เลี้ยงมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
    ภาคเจ้าถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
    ปราศรัยกันตามทำเนียมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มาตุโปสกพราหมณ์
    นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระ -
    โคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าแสวงหาภิกษาโดยธรรม แล้วเลี้ยงมารดาและบิดา
    ข้าพเจ้าทำเช่นนี้ ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชอบยิ่ง พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ ชื่อว่า
    ได้ทำกิจที่ควรทำแล้ว ด้วยว่า ผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยธรรมแล้ว เลี้ยงมารดา
    และบิดาผู้นั้นย่อมได้บุญเป็นอันมาก.
    [๗๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ-
    ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
    บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดย
    ธรรม เพราะการบำรุงมารดาและบิดานั่น
    แล บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลก
    นี้ทีเดียว บุคคลนั้นละไปจากโลกนี้แล้ว
    ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
    [๗๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว มาตุโปสกพราหมณ์
    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
    นัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
    โดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
    ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระ-
    โคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็น
    สรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้
    เป็นต้นไป.
    อรรถกถามาตุโปสกสูตร
    ในมาตุโปสกสูตรที่ ๙ วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า เปจฺจ ได้แก่ กลับไปจากโลกนี้.
    จบอรรถกถามาตุโปสกสูตรที่ ๙
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒​
    สูตรที่ ๒
    บุคคล ๒ พวก ที่กระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย​

    [๒๗๘] ๓๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทน
    ไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้งสอง ทั้งสองท่านคือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึ่ง
    ประดับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิต อยู่ตลอด ๑๐๐ ปี
    และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ
    และการดัด และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสอง
    ของเขานั่นแหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่า
    อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    อนึ่ง บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์
    ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การการทำกิจอย่างนั้น
    ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้
    แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทาน
    ตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีล-
    สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา
    ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อน
    ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า
    อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา.
    จบสูตรที่ ๒

    อรรถกถาสูตรที่ ๒

    ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    บทว่า มาตุ จ ปัตุ จ ได้แก่ มารดาผู้บังเกิดเกล้า ๑ บิดาผู้
    บังเกิดเกล้า ๑. บทว่า เอเกน ภิกฺขเว อเสน มาตร ปริหเรยฺย ความว่า
    บุตรพึงปรนนิบัติมารดาแบกไว้บนจะงอยบ่าข้างหนึ่ง. บทว่า เอเกน
    อเสน ปิตร ปริหเรยฺย ความว่า บุตรพึงปรนนิบัติบิดาแบกไว้บนจะงอย
    บ่าข้างหนึ่ง. บทว่า วสฺสสตายุโก วสฺสสตาชีวี ความว่า มีอายุถึง ๑๐๐ ปี
    ทรงชีพอยู่ ๑๐๐ ปี. มีคำอธิบายว่า ถ้าบุตรคิดว่าจักตอบแทนคุณบิดา
    มารดา กระวีกระวาดให้มารดานั่งบนจะงอยบ่าข้างขวา ให้บิดานั่งบน
    จะงอยบ่าข้างซ้าย มีอายุถึง ๑๐๐ ปี ทรงชีพแบกอยู่ ๑๐๐ ปี. บทว่า
    โส จ เนส อุจฺฉาทนปริมทฺทนนฺหาปนสมฺพาหเนน ความว่า บุตรนั้น
    แลพึงบำรุงบิดามารดาผู้นั่งอยู่บนจะงอยบ่านั่นเอง ด้วยการอบกลิ่นให้
    ตัวหอม เพื่อบรรเทากลิ่นเหม็น ด้วยการนวดมือเท้า เพื่อบรรเทาเมื่อยขบ
    เวลาหนาวให้อาบน้ำอุ่น เวลาร้อนให้อาบน้ำเย็น ด้วยการดัดคือ ดึงมือ
    และเท้าเป็นต้น . บทว่า เต จ ตตฺเถว ความว่า บิดามารดาทั้งสองก็
    นั่งถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่บนนั้นแหละ คือบนจะงอยบ่าทั้งสองของบุตรนั้น.
    บทว่า น เตฺวว ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการ
    ปรนนิบัติถึงเพียงนี้ จะเป็นอันบุตรนั้นได้ทำคุณหรือได้ตอบแทนคุณแก่
    บิดามารดาแล้ว หามิได้เลย. บทว่า อิสฺสราธิปจฺเจ รชฺเช พระผู้มีพระ-
    ภาคเจ้าตรัสหมายถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทีเดียว. บทว่า อาปาหกา
    แปลว่า เป็นผู้ให้เติบโต เป็นผู้ดูแล. เพราะบุตรทั้งหลาย บิดามารดา
    ทำให้เติบโตและดูแลแล้ว. บทว่า โปสกา ได้แก่ เป็นผู้เลี้ยงดู โดยให้
    มือเท้าเติบโต ให้ดื่มโลหิตในหทัย. เพราะบิดามารดาเลี้ยงบุตรอย่างดี
    ประคบประหงมด้วยข้าวน้ำเป็นต้น . บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร
    ความว่า ถ้าในวันที่บุตรเกิด บิดามารดาจะจับเท้าบุตรเหวี่ยงไปในป่าหรือ
    ในเหว บุตรก็จะไม่ได้เห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ในโลกนี้ แต่เพราะ
    ท่านไม่ทำอย่างนี้ ฟูมฟักเลี้ยงดู บุตรจึงเห็นอิฏฐารมณ์ เละอนิฏฐารมณ์
    ในโลกนี้ เพราะอาศัยบิดามารดา ฉะนั้น บิดามารดาจึงชื่อว่าเป็นผู้แสดง
    โลกนี้แก่บุตร. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ ให้เธอถือ. ในพระสูตรนี้
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ผสมกันทั้งโลกิยะ
    และโลกุตระ ภิกษุเช่นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ พึงทราบว่า
    ชื่อว่ายังบิดามารดาให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเหล่านั้น.
    จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
    บิดา มารดา เปรียบเป็นพรหมของบุตร คือเป็นผู้มีความเมตตาและปรารถนาดีต่อ
    บุตรอย่างบริสุทธิ์ใจ เช่น เดียวกับพระพรหมที่มีความเมตตาต่อสัตว์โลก ไม่มีคุณพ่อ ฤา
    จะมีเราได้ในวันนี้ วันที่เราได้มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ที่มีโอกาสสร้างคุณความดี สร้าง
    กุศลกรรมเก็บสะสมไว้ เพื่อความหมดทุกข์ในวันข้างหน้า แม้จะอีกแสนนาน การทด-
    แทนคุณบิดาที่ได้ชื่อว่าเป็นการทดแทนที่ประเสริฐที่สุดคือ การทำไห้ท่านลดละกิเลส
    ลงได้

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

    มารดาบิดา ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์ เป็น

    อาหุเนยยบุคคลของบุตร เป็นผู้อนุเคราะห์ บุตรเพราะ

    ฉะนั้น บัณฑิตพึงนอบน้อม และพึงสักการะมารดา

    บิดานั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การขัดสี การ

    ให้อาบน้ำและล้างเท้า. เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดา

    นั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาละ

    โลกไปแล้ว ยังบรรเทิงในสวรรค์.
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

    [๑๙๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา เป็นทิศเบื้องหน้า อัน

    บุตรธิดาพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยตั้งใจว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจัก

    เลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับทำกิจของท่าน ๑ จักดำรงวงศ์ตระกูล ๑ จักปฏิบัติ

    ตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑ เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศ

    ให้ท่าน ๑

    ในฐานะของผู้ที่เกิดมาเป็นลูก

    ท่านขึ้นชื่อว่าเกิดมาดี

    ( ได้มนุษย์สมบัติ )
    ท่านขึ้นชื่อว่าได้การบำรุงดี

    ( ได้มีบิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิดคอยดูแลให้เป็นสุขทั้งกายใจ )

    ท่านขึ้นชื่อว่าได้การอบรมดี

    ( ได้มีครูอาจารย์อบรมสั่งสอน แนะนำชี้ทางที่ถูกและเหมาะควร )

    ผู้เป็นลูกคนใดได้ครองสมบัติเหล่านี้แม้เพียงหนึ่งข้อ ควรเป็นผู้รู้จักกตัญญูผู้เป็น

    ลูกพึงรู้เสมอว่าเมื่อผู้เป็นบิดามารดา ได้ บุตร ธิดาดี บิดามารดา แม้อยู่ที่แห่งใด

    ย่อมนั่งนอนเป็นสุขเมื่อผู้เป็นครู อาจารย์ ได้ ลูกศิษย์ดี ครู อาจารย์ ย่อมไม่มีห่วง

    พะวงในผู้เปรียบดั่งลูก เมื่อสังคมทั้งหลายเหล่าใด ได้ลูกหลานเป็นคนดี สังคมทั้ง

    หลายเหล่านั้น ย่อมคงแต่สันติสุข สบายใจ

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

    โสณนันทชาดก

    ฯลฯ​
    "มารดาเมื่อหวังผลคือบุตร ย่อมนอบน้อม

    เทพดา ถามถึงฤกษ์ ฤดู และปีทั้งหลาย. เมื่อ

    มารดาอาบแล้ว ในเพราะฤดู, สัตว์เกิดในครรภ์

    ย่อมก้าวลง, ด้วยเหตุนั้น มารดา ท่านจึงเรียก

    ว่า 'โทหฬินี (หญิงแพ้ท้อง),' ด้วยเหตุนั้น

    ท่านจึงเรียกว่า 'สุหทา (หญิงมีใจดี).' มารดา

    นั้น ถนอม (ครรภ์) ปีหนึ่งหรือหย่อนปีหนึ่ง

    แล้ว จึงคลอด ด้วยเหตุนั้น ๆ ท่านจึงเรียกว่า

    'ชนยนฺตี ชเนตฺตี (ผู้ยังบุตรให้เกิด).' มารดา

    ปลอบโยนบุตรผู้ร้องไห้ด้วยน้ำนม ด้วยเพลง

    ขับ และด้วยเครื่องกกคืออวัยวะ, ด้วยเหตุนั้น

    ท่านจึงเรียกว่า 'โตเสนฺตี (ผู้ยังบุตรให้ยินดีหรือ

    ปลอบโยน).' แต่นั้น เมื่อลมและแดดแรงกล้า

    มารดาทำความหวั่นใจ คอยแลดูบุตรผู้ยังเป็นทารก

    ไม่เดียงสา, ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า โปเสนฺตี

    (ผู้เลี้ยง). ทรัพย์ของมารดาอันใดมีอยู่ และทรัพย์

    ของบิดาอันใดมีอยู่, มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์

    แม้ทั้ง ๒ นั้นไว้เพื่อบุตรนั่น ด้วยหวังว่า เออก็

    ทรัพย์ทั้งหมดนี้ ควรเป็นของบุตรเรา.' มารดา

    เมื่อให้บุตรสำเหนียกว่า 'อย่างนี้ลูก อย่างโน้นลูก

    เป็นต้น ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้, เมื่อ

    บุตรถึงความเป็นหนุ่มแล้ว มารดารู้ว่า บุตรมัวเมา

    ในภริยาของผู้อื่น ในเวลาค่ำคืน ไม่กลับมาใน

    เวลาเย็น ย่อมเดือดร้อน ด้วยประการฉะนี้.

    บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบาก

    อย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดใน

    มารดาย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาแล้วด้วย

    ความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อว่าประ-

    พฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่า

    เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้

    ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึง

    ความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา

    แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ ย่อม

    ฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความ

    รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก

    เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา ความ

    รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก

    เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคห-

    วัตถุ ๔ ประการนี้ คือทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจา

    คำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑

    สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย

    ตามสมควรในที่นั้น ๆ ๑

    ฯลฯ



    เอาบุญมาฝากวันนี้ตื่นตั้งแต่ตี3ได้เดินจงกรมเป็นเวลานานและสักการะ
    พระบรมสารีริกธาตุ และถวายข้าวพระพุทธรูป
    หลังจากนั้นก็ได้ขึ้นรถเพื่อไปทำบุญที่วัดโสธร แปดริ้ว
    ระหว่างทางได้อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหลายสาย
    และอนุโมทนาไปตลอดระยะทางพร้อมกับกำหนดอิริยาบทย่อยจนถึงแปดริ้วและขณะเดินทางได้บริจาคทำบุญโรงศพ ผ้าห่อศพ
    หลังจากนั้นก็ขึ้นรถไปที่วัดโสธร เห็นผู้คนไปทำบุญกันเยอะมาก
    เมื่อถึงหน้าวัดก็อนุโมทนาคนหลายพันคน ตั้งแต่หน้าวัด
    และได้บริจาคเงินใส่ตู้บริจาคภายในวัดครบทุกตู้ทุกงานบุญ
    มีตู้บริจาคภายในวัดเยอะมากก็เลยบริจาคทุกตู้ด้วยความมานะพยายาม
    ก็บริจาคครบทุกตู้แต่ละงานบุญนั้นเป็นงานบุญใหญ่ทั้งสิ้น
    ได้ใส่บาตรข้าวสาร และมีการแจกหนังสือสวดมนต์
    มีหนังสือสวดมนต์แจกเยอะมากๆก็อนุโมทนาอีก
    และก็กราบหลวงพ่อโสธร แล้วก็เห็นบางคนนั้นแอบเจริญภาวนาอยู่หลังเสาก็อนุโมทนาอีก เสร็จแล้วก็กำหนดอิริบทย่อยไปเดินดูรอบวัดเพื่ออนุโมทนากับทุกคนที่มาและได้อนุโมทนาเป็นแถบๆ
    และก็เดินกำหนดขวา-ซ้ายไปหน้าวัดและก็รออนุโมทนา
    กับผู้คนที่มาทำบุญที่วัดนี้ถึงจะร้อนก็กำหนดร้อนหนอ
    เพื่อรออนุโมทนาบุญอนุโมทนารายตัวบ้างเป็นหมู่คณะบ้าง
    จากนั้นก็ร่วมงานบุญใส่บาตรพระร้อย บาตร
    และใสบาตรข้าวสาร เสร็จแล้วก็อนุโมทนากับผู้ที่มาวัดอีก
    และก็ขึ้นรถไปสักการะสังเวชนียสถาน 4 ตำบล
    แต่เป็นสถานที่จำลองนะขอบอกบุญเลยอยู่ห่างจากวัดโสธร
    นิดเดียว ชื่อว่าวักชมโพธิยารามขออภัยด้วยนะ
    ถ้าเขียนชื่อวัดผิดไป จะมีสังเวชนียสถานที่ใหญ่เหมือนกัน
    หลังจากนั้นก็เดินทางไปที่ปราจีนบุรี ระหว่างทางก็
    มีอยู่วัดหนึ้งที่มีการไถ่ชีวิตโคกระบือทุกวันคือวัด
    โพธิใหญ่อยู่ที่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    ข้อสังเกตุมีท้าวเวสสุวรรณอยู่หน้าวัด ใครผ่านไปก็สามารถร่วมทำบุญได้ทุกวัน วันนี้มีการไถ่ชีวิตโคกระบือ ประมาณ 20 ตัว
    และได้อนุโมทนากับป้ายงานบุญต่างๆที่ติดตามข้างทางจนถึงปราจีนบุรี
    ก็ไปไหว้หลวงพ่อทวารวดี แล้วก็สักการะสระมรกต และรอยพระพุทธบาท
    อยู่ที่ อ. ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี และมีต้นศรีมหาโพธิด้วย
    และระหว่างเดินทางนั้นไปรถโดยสาร คือตั้งแต่ออกจากที่พัก
    ได้ยืนและเสียสละให้ผู้อื่นนั่งตลอดทางและได้อนุโมทนากับคนอื่นวันนี้รวมตั้งแต่ใส่บาตร ประมาณ หมื่นคน และอนุโมทนานับครั้งไม่ได้
    และวันนี้ได้ไปไหว้คุณพ่อและคุณแม่
    และวันนี้จะเดินจงกรมนั่งสมาธิเดินจงกรม เจริญวิปัสสนา และให้
    ธรรมะเป็นทาน กำหนอิริยาบทย่อย สวดมนต์
    และเมื่อวานนี้ได้มีพิธีอุปสมบทหมู่หลายรูปที่วัดเขาดิน
    และมีงานบวชสามเณรจำนวน ร้อยกว่ารูป
    ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...