กรมอุทกศาสตร์แจ้งเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐานประเทศไทย

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 30 ธันวาคม 2005.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>30 ธันวาคม 2548 18:22 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ด้วยกรมอุทกศาสตร์จะทำการเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐานประเทศไทย ในวันที่ 1 มกราคม 2549 จากเวลา 07 นาฬิกา 00 นาที 01 วินาที เป็นเวลา 07 นาฬิกา 00 นาที 00 วินาที จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2548</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=516 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3>ชะลอเวลาเข้าสู่ปีใหม่ช้าลง สั่งเพิ่ม 1 วินาที คั่นปี



    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=3>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=3>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=50>[​IMG]</TD><TD class=text width=416>นักวิทยาศาสตร์ที่หอสังเกตการณ์ปารีสประกาศว่า การเริ่มเข้าสู่ปีใหม่ที่จะถึง ขอให้ชะลอเวลาออกไปสักหนึ่งวินาที ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปีที่มีการทำเช่นนี้
    เหตุผลที่ต้องมีการเว้นวรรคหนึ่งวินาทีก่อนเข้าสู่ปีใหม่นั้นก็เพื่อ ให้นาฬิกาทั่วโลกตรงกับเวลาของระบบสุริยะที่นักดาราศาสตร์ใช้กัน โดยวินาทีที่เพิ่มขึ้นนั้นจะนับเพิ่มขึ้นมาหลังจากที่นาฬิกาตีบอกเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธ.ค.แล้ว
    นักวิจัยของสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2006
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รุ่งเช้า 1 มกราเตรียมปรับนาฬิกา เพิ่มเวลาอีก 1 วินาที</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>31 ธันวาคม 2548 10:05 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เอเอฟพี/วอชิงตันโพสต์ – เวลายังคงเดินหน้าแต่ทว่าโลกกลับวิ่งตามหลัง วิธีการแก้ปัญหาให้โลกวิ่งตามทันเวลาของนาฬิกาง่ายๆ ก็แค่หยุดนาฬิกาอะตอมรอโลกหมุนตามให้ทัน 1 วินาทีทุกๆ ช่วง 7 ปีกติกานี้สร้างมานานกว่า 3 ทศวรรษแล้ว ทำให้ปี 2006 ต้องแทรกเวลาในช่วงก่อนเที่ยงคืนวันส่งท้ายปีเก่าตามเวลามาตรฐานกรีนิช 1 วิหรือตรงกับ 7 โมงเช้าตามเวลาประเทศไทย

    จากข้อมูลของสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐหรือนิสต์ (US National Institute of Standards and Technology -NIST) ระบุว่า วันที่ 31 ธันวาคมที่กำลังจะผ่านพ้นไปในคืนวันนี้ จะต้องมีการทำให้เวลาในซีกโลกตะวันตกของเวลามาตรฐานโลก หรือเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) เนิ่นนานกว่าวันอื่นๆ 1 วินาที

    การแทรกวินาทีเพิ่มเข้าไปนั้นคือการเพิ่มจำนวน “ติ๊ก” (tick) ให้กับนาฬิกาอะตอมเพื่อให้สอดคล้องกับเวลาการหมุนของโลกที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น นาฬิกาอะตอมทำงานโดยอาศัยธรรมชาติของอะตอมหรือโมเลกุล ที่มีกระบวนการบางอย่างเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและตรวจจับได้ เช่น การปล่อยพลังงานในรูปของโฟตอน (photon) หรือกัมมันตภาพรังสี ออกมาอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำของธาตุกัมมันตรังสี หรือการสั่นของโมเลกุลอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอย่างหลังเป็นหลักการของนาฬิกาอะตอมที่ใช้อ้างอิงในปัจจุบัน หลักการคือวัดความถี่การสั่นของอะตอมซีเซียม (Cs) ซึ่งมีความถี่ต่อรอบประมาณ 9.2 ล้านล้านครั้งต่อวินาทีหรือเฮิร์ต (Hz)

    ปัญหาที่สำคัญคือสวรรค์ใจร้อนกว่าซีเซียม เวลา 1 วันบนโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 มิลลิวินาทีทุกๆ รอบศตวรรษนั่นก็เพราะอิทธิพลจากกระแสน้ำ ซึ่งปัจจุบันนาฬิกาอะตอมไม่ได้รับอิทธิพลจากพลังดังกล่าว อีกทั้งนาฬิกาอะตอมมีความแม่นยำนานถึง 30 ล้านปี

    ครั้งแรกที่มีการเพิ่มวินาทีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1972 ซึ่งเป็นปีที่มีการลงนามข้อตกลงการคำนวณเวลาสากล และครั้งล่าสุดก่อนหน้านี้เกิดขึ้นเมื่อปี 1998 หรือ 7 ปีที่แล้ว และมีการเพิ่มเวลาไปทั้งสิ้นแล้ว 21 วินาที โดยองค์กรให้บริการระบบอ้างอิงและติดตามการหมุนของโลกสากล (IERS : International Earth Rotation and Reference Systems Service) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ชี้ขาดกำหนดเวลาของวินาทีอธิกสุรทิน ภายใต้ข้อตกลงสากล การเพิ่มหรือลดเวลาของนาฬิกาอะตอมทั่วโลกจะมีขึ้นในช่วงวันที่ 30 มิถุนายนหรือไม่ก็ 31 ธันวาคม

    NIST อธิบายว่า กระบวนการเพิ่มเวลาจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 23:59:59 GMT ของวันที่ 31 ธันวาคม จากนั้นนาฬิกาอะตอมทั่วโลกจะแสดงเวลา 23:59:60 GMT ก่อนเปลี่ยนเป็น 00:00:00 GMT ตามปกติ ซึ่งหมายถึงการเริ่มต้นของวันที่ 1 มกราคม 2006 ส่วนทางซีกตะวันออกของสหรัฐฯ วินาทีที่เพิ่มขึ้นจะเกิดขึ้นเวลา 14:00 น. และไม่มีผลอะไรมากไปกว่าการเพิ่มเวลาฉลองของวันส่งท้ายปีเก่า ขณะที่เอเชียและตะวันออกไกลจะมีความสุขกับเรื่องนี้ เพราะเวลาที่เกินมาจะไปตกอยู่ในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันหยุด ที่สำคัญในส่วนของประเทศไทยจะมีการแทรกเวลาในตอน 07:00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2006

    ทั้งนี้แผนกดาราศาสตร์ กองอุปกรณ์การเดินเรือ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเทียบเวลาของประเทศไทยให้ตรงตามมาตรฐานสากลได้ให้ข้อมูลว่า เมื่อ IERS คำนวณว่าจะมีการแทรกเวลาเกิดขึ้น หน่วยงานที่กำกับดูแลให้มีการแทรกเวลาคือสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศหรือ บีไอพีเอ็ม (BIPM : Bureau International des Poids et Mesures) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จะแจ้งแก่ประเทศสมาชิก ซึ่งรวมถึงประเทศไทย โดยทางกรมอุทกศาสตร์จะทำหน้าที่ประสานงานแจ้งแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประกาศเทียบเวลาต่อไป

    วิธีการก็คือเมื่อถึงเวลา 07:00:00 น. ก็จะมีการหยุดนาฬิกาไว้ 1 วินาทีโดยในส่วนของอุปกรณ์เชื่อมต่อกับสัญญาณดาวเทียมจะมีการแทรกเวลาโดยอัตโนมัติ หลังจากเจ้าหน้าที่ประจำสถานีภาคพื้นดินปรับเวลาของดาวเทียมแม่ข่าย ในส่วนของนาฬิกาบอกเวลาหรืออุปกรณ์อื่นๆ สามารถเทียบเวลาด้วยการโทรศัพท์มาที่หมายเลข 181 บริการเทียบเวลาตลอด 24 ชั่วโมง

    อย่างไรก็ดี มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนคิดว่าควรจะยกเลิกการเพิ่มเวลาเป็นระยะๆ แต่ให้ทำเป็นแบบสุ่มโดยปรับเพิ่มเวลาเฉพาะช่วงที่มีข้อบ่งชี้ว่าจะเกิดอันตรายหรือกระทบต่อเครื่องมือที่ต้องอาศัยความแม่นยำอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ การควบคุมการจราจรทางอากาศ และระบบโรงไฟฟ้า

    ทั้งนี้ การหยุดเวลาแล้วกระโดดข้ามไป 1 วินาทีนั้นสำหรับประชาชนทั่วไปแล้วคือความตื่นเต้นสนุกสนาน แต่สำหรับอุปกรณ์อย่างดาวเทียม กล้องโทรทรรศน์ และระบบดาราศาสตร์อื่นๆ นับเป็นช่วงเวลาที่มีราคาแพงมากในการจัดการ ทว่ายังไม่มีใครระบุได้ว่าการยกเลิกเพิ่มเวลา 1 วินาทีจะสร้างความเสียหายให้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งนักวิจัยพยายามค้นหากันต่อไป

    ”พวกเรากำลังทดลองดูว่าหากไม่ปรับเปลี่ยนเวลาในปีนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง” โรนัลด์ แบรด์ (Ronald Beard) นักฟิสิกส์ห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือ สหรัฐฯ (Naval Research Laboratory) กล่าว ซึ่งเขาระบุว่า ถ้าหากไม่พบปัญหาที่เป็นนัยสำคัญ ก็จะทำให้เหตุผลในการยกเลิกหนักแน่นขึ้น

    ความพยายามยื่นข้อเสนอให้ยกเลิกการแทรกเวลาของสหรัฐฯ นั้นได้รับการประณามจากราชสมาคมดาราศาสตร์ของสหราชอาณาจักร (Britain's Royal Astronomical Society) เพราะข้อเสนอดังกล่าวก่อให้อาจกระทบต่อผู้ที่กำลังศึกษาปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์

    อย่างไรก็ดี ที่ประชุมสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) ในเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีกำหนดจะพิจารณาข้อเสนอให้ยกเลิกการแทรกก่อนปลายปี 2007 จะประชุมประเทศสมาชิกอีกครั้งในช่วงกลางเดือนมกราคม 2006 โดยเตรียมการออกแบบสอบถามให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับเวลาทั่วโลกแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอนี้ เพื่อตัดสินใจต่อไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...