น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มกราคม 2006.

?
  1. ไม่เห็นด้วย (คิดว่าสอนผิด)

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เห็นด้วย (คิดว่าสอนถูก)

    0 vote(s)
    0.0%
  1. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ก็ผมไม่รู้นี่นาว่าใครเป็นใคร
    เอ้าใครเป็นใคร ช่วยบอกหน่อยเร้ววว

    บอกแล้วให้ไปทำสมาธิแล้วจะรู้ว่าปรามาสพระรัตนไตรยังไง

    สมาธิไม่ใช่แค่อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
    การปฏิบัติกิจในพระศาสนาต้องให้ครบทั้ง
    1. ทาน คือ การให้ สละ โลภ โกรธ หลง (เล็กๆ น้อยๆ)
    2. ศีล คือ การสำรวม กาย วาจา ใจ (ให้ห่างไกลจากกิเลสหยาบๆ)
    3. สมาธิ คือ การทำจิตให้ผ่องใส รวมใจเป็นหนึ่ง (ระงับดับนิวรณ์ไว้ได้)
    5. ปัญญา คือ พิจารณาธรรม ด้วยใจที่เป็นสมาธิใสสะอาด จึงจะได้ธรรมแท้ ปัญญาแท้ แล้วหวนมาตัดกิเลสให้ขาดลงจากใจ ด้วยกำลังของสมาธิและปัญญา

    คนเราถ้าขาดสมาธิ ไม่มีทางมีปัญญาที่เฉียบแหลมๆคม และเข้าใจผิดไปต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดจากความคิด ที่ขาดสมาธิ พิจารณาไปแบบโลกๆ ตามตรรกะ

    คนเราจะอายุน้อยอายุมาก ไม่เห็นแปลก ทุกคนเคยอายุน้อยกันมาทั้งนั้น 7 ขวบยังเป็นพระอรหันต์ได้เลย คุณธรรมความรู้ ดูกันที่อายุได้เหรอ 60 ยังแต่งงานหาทุกข์ใส่ตัวก็ยังมี

    ขอให้คุณไปคิดดีๆ นะครับ
    ด้วยการทำสมาธิ ย้ำ ทำสมาธิ
    ไม่งั้นคุณจะไม่อาจรู้ได้เลยว่า
    คุณได้ล่วงเกินพระรัตนไตรเข้าเสียแล้ว
    (และอย่าเข้าใจผิด คิดว่าผมได้มรรคผลนิพพานอะไร ผมแค่ทำตามที่พระพุทธเจ้า พระธรรมที่ท่านสั่งสอนมา และที่พระอริยสงฆ์ทั้งหลายสอนมา จนเกิดผลเป็นที่ประจักษ์แก่ใจ จนมั่นใจ เป็นวิญญูฮีติแล้ว ในข้อนั้นจึงได้กล่าวออกไป)

    ผมว่าแล้วคนที่ไม่เชื่อนรกสวรรค์ ไม่เคยเห็นนรก จะไม่มีทางกลัวนรก แถมยังหาว่าขู่ คนประเภทนี้หวังดีด้วย ก็ได้แต่ร้ายตอบกลับ
    เหมือนกับพ่อแม่บอก อย่านะลูก มีดจะบาดมือ ก็ไม่ฟัง ผลลัพธ์จะเป็นยังไง ก็แล้วแต่บุญกรรมนำไปละกันครับ

    ผมไม่จำเป็นต้องบอกว่าผมทำอะไรบ้าง พูดไปก็หาว่าคุยอีก นี่แหละที่ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ไม่ค่อยพูด เลือกคนที่จะสนทนาด้วย เพราะบางอย่างพูดไป ไม่เกิดผลดีต่อตัวผู้ฟัง

    บอกแนวทางให้พิสูจน์ กลับเห็นว่าไม่ใช่ทาง ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยไป รู้จักหลักสูตรในพระพุทธศาสนามี 4 อย่างมั้ยครับ ลองหาอ่านดูนะ ผมยังเด็กอยู่ พูดมากไปจะหาว่าไม่มีสัมมาคารวะ สั่งสอนผู้ใหญ่

    จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2008
  2. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,172



    หากท่านจะมาคุยกันเรื่องพระนิพพานแล้ว เราก็คงจะคุยกันไม่รู้เรื่อง คุยไปก็ป่วยการเปล่า ในเมื่อท่านมีความเชื่อของท่านอย่างหนึ่ง แต่ผมและท่านอื่นๆ มีความเชื่อตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนไว้และได้ปฏิบัติตามจนพอจะสัมผัสกระแสพระนิพพานได้บ้าง


    หากว่าท่านจะคุยเรื่องพระนิพพานกันจริงๆ ผมก็ใคร่ขอให้ท่านได้ปฏิบัติตนให้เข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้น คือ พระโสดาบัน เพื่อให้ได้เข้าถึงซึ่งกระแสพระนิพพานเสียก่อน ในฐานะที่ท่านเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา


    เมื่อท่านได้เข้าสู่กระแสพระนิพพาน และได้บรรลุถึงความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นได้แล้ว ประชาชนทั่วไปก็จะสามารถเรียกท่านว่า "พระ" ได้อย่างเต็มปากและกราบท่านได้อย่างสนิทใจ


    สำหรับวิธีการปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยเจ้านั้น คาดว่าท่านคงทราบดีอยู่แล้ว คือปฏิบัติเพื่อการตัดสังโยชน์ 10 ประการ ในฐานะที่ท่านเป็นนักบวช ถือศีล 227 ข้อ เป็นอย่างน้อย การตัดสังโยชน์ 5 ประการแรกนั้น คงไม่ยากสำหรับท่าน และเพียงท่านสามารถตัดสังโยชน์ 3 ประการแรกได้จริง กล่าวคือ

    1. ตัดสักกายทิฎฐิ ไม่ยึดติดในร่างกาย เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราเป็นเพียงดวงจิตที่มาอาศัยร่างกายนี้อยู่เพียงชั่วคราว

    2. ตัดวิจิกิจฉา มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ด้วยความจริงใจ ไม่ลังเลสงสัยในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระส้มมาสัมพุทธเจ้า

    3. ตัดสีลัพพตปรามาส คือ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ตามฐานะของตน

    แถมด้วยประการที่ 4 คือ มีจิตเกาะหรือรักพระนิพพานเป็นอารมณ์


    เพียงเท่านี้ ความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นคงไม่หนีท่านไปไหน และเมื่อนั้น เราก็จะคุยเรื่องพระนิพพานกันได้รู้เรื่องมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้




    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2008
  3. Prathuang

    Prathuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    658
    ค่าพลัง:
    +178
    ยุคนี้เป็นยุคข่าวสาร การบริโภคควรต้องระวังความถูกต้อง
    หลัง 2500 ศาสนาพุทธเริ่มเสื่อมตามคำทำนายของ
    พระพุทธเจ้า ตามกฎไตรลักษณ์
     
  4. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    1. ตัดสักกายทิฎฐิ ไม่ยึดติดในร่างกาย เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเราเป็นเพียงดวงจิตที่มาอาศัยร่างกายนี้อยู่เพียงชั่วคราว<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    --------------------------------------------------------------<o:p></o:p>
    ***สักกายทิฏฐิ นั้นหมายถึง ให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช้เรา ไม่ใช่ของเราเท่านั้นหรือ?***
    ***แล้วจิตยังเป็นเรา เป็นของเราอยู่หรือเปล่า?****
    ***ถ้ายังเห็นว่ามีจิตเป็นเราอยู่อีก ก็ไม่มีทางตัดสังโยชน์ตัวนี้ได้*****
    ***และยังคงมีความลังเลสงสัยอยู่ต่อไปจนตาย***
    ***รวมทั้งยังปฏิบัติผิดเพี้ยนหรือลูบๆคลำๆไม่ตรงไปเพื่อการดับทุกข์อีกด้วย***
    ***ไปค้นหาพระพุทธเจ้าให้พบ แล้วค่อยมาคุยกัน***
    *** www.whatami.net **
    <o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2008
  5. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ..................................................................................

    ผมว่า หามีความเข้าใจอันใดเลย ในการวิเคราะห์ และวิจารณ์

    หากท่านเข้าใจจริงแท้ โปรดอธิบายให้หลาย ๆ ท่าน หายสงสัย ดังนี้
    จะได้เชื่อว่า ท่าน "รู้" จริง หรือแค่อ่าน แล้ววิเคราะห์ วิจารณ์ เท่านั้น

    1. สักกายทิฏฐิ มี 4 ระดับ.... โปรดอธิบายให้กระจ่าง นะครับ

    2. "จิต" ที่พูดถึง นี่.. หมายถึง "อทิสมานกาย" โปรดชี้แนะ ว่าตรงกันไหม
    เพื่อเป็นแนวทาง การละสังโยชน์

    3. ผมไปอ่าน ที่ท่านเขียน เรื่องค้นหาพระพุทธเจ้า แล้ว
    พบว่า มีสาระในเรื่องของ การพิจารณา วิเคราะห์ วิจารณ์ จาก "สัญญา"
    ของผู้เขียน ทั้งนั้น

    ..................................................................................
     
  6. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ....................................................................................

    ในแต่ละห้วงเวลาของอายุพระศาสนา 1,000 ปี, 2,000 ปี, กึ่งพุทธกาล,
    3,000 ปี, 4,000 ปี, 5,000 ปี

    จะมีพระโพธิสัตว์ องค์สำคัย พาคณะลงมาบำเพ็ญบารมี สืบเนื่อง ไปบ้าง
    ลงมาเกิดเพื่อลาพุทธภูมิ เพื่อ "ตัดตรง" บ้าง

    อันจะก่อให้เกิดความรุ่งเรืองของพระศาสนา เป็นห้วง ๆ ไป

    เท่าที่ได้รู้ ได้ทราบมา..

    นับตั้งแต่ กึ่งพุทธกาล เป็นต้นไป
    พระศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง จะเป็นเอกของโลก จะเจริญขึ้นฝ่ายเดียว
    และกว่าจะเริ่มโทรมลงไป ก็โน้นนน พ.ศ.4500 ไปแล้ว

    สาเหตุที่พระศาสนา จะเจริญเป็นเอก ของโลกได้
    ต้องมีพุทธานุภาพ ปรากฏขึ้นมาอย่างเด่นชัด ต่อสายตาของชาวโลก
    จึงจะสามารถ โยงจิตใจ ให้เลื่อมใส ศรัทธาปสาทะ กันได้
    เดรัจถีย์ เถน นักบวชจอมปลอม ก็มีอันจะวิบัติ จากภัยที่ตนเองได้ก่อไว้

    ข้อนี้ ไม่ใช่คำขู่ ไม่ใช่คำแช่ง แต่เป็นความรู้ ที่รู้มา
    จากประสบการณ์ส่วนตัว และเป็นความเชื่อส่วนบุคคล
    โดยที่ชาวประชาส่วนใหญ่ ก็ยังไม่ทราบ
    (ดังนั้น ก็ไม่ต้องคัดค้าน.. ฟังไว้เฉย ๆ รอเวลา เป็น เครื่องพิสูจน์)

    เอาเป็นว่า....
    กาลเวลาอันใกล้ ปีนี้ ปีหน้า ไม่กี่ปี ก็จะเห็นผล จากเหตุของกรรมใหญ่

    หาก พวกเรา ไม่ตายกันไปเสียก่อน ที่จะถึงในห้วงเวลา ดังกล่าว
    ก็จะได้พบกับความเป็นจริง หรือไม่เกิดจริง....

    ก็อาจจะช้าเกินไป.. สายเกินไป.. แก่คนหลาย ๆ คน
    (รู้ช้า.. ไม่ทันใจ.. รู้แล้ว สายเกินไป.. ก็มีมาก)

    ...................................................................................
     
  7. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,172


    ผมกล่าวถึง "สักกายทิฎฐิ" อย่างสั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความ ท่านที่เป็นฆราวาสและปฎิบัติอยู่เป็นประจำท่านก็เข้าใจกันได้ดีว่า หมายความถึงอะไรบ้าง และท่านก็ปฏิบัติกันได้ เพราะเป็นถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าท่านสอนและพระสงฆ์ผู้เป็นพระอริยเจ้าท่านนำมาสอนถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอๆ


    โดยเฉพาะตัวท่านเตชปัญโญ ภิกขุ เองที่เป็นถึงนักบวช น่าจะรู้ดี แต่ยังมาตีสำนวนโวหารย้อนกลับถามว่า "สักกายทิฏฐิ นั้นหมายถึง ให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเท่านั้นหรือ?" เพื่ออวดภูมิรู้ของตน


    คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธหรอกว่าท่านน่ะมีภูมิรู้อยู่เต็มสมอง อุตส่าห์ศึกษาวิจัยมาถึง 10 กว่าปี ถ้าแค่คำว่า "สักกายทิฎฐิ" ไม่รู้ว่าจริงแท้แล้วมีความหมายกว้างและลึกซึ้งเพียงใดแล้ว ก็น่าเสียดายเป็นยิ่งนัก


    มัวแต่มานั่งตีความตัวอักษร วิเคราะห์วิจารณ์ไปตามความรู้สึกนึกคิดของตน แล้วก็มานั่งลังเลสงสัย เมื่อไรท่านจึงจะลงมือปฏิบัติให้เข้าถึงกระแสพระนิพพานกันล่ะ ก็ไม่แปลกใจหรอกว่า ท่านจะลังเลสงสัยไปจนตายน่ะ


    ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ คงพอจะจำได้นะครับว่า เมื่อตอนที่ท่านบวชเข้ามาใหม่ๆ น่ะ ท่านต้องกล่าวคำปฏิญาณตอนขอบวชว่า

    "นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ

    เอตัง กาสาวัง คเหตวา"



    ซึ่งโดยความหมาย คือ "เรารับผ้ากาสาวพัสตร์มาแล้ว เราจะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน"


    บัดนี้ท่านได้บวชเข้ามาในพระบวรพุทธศาสนาก็นานโขอยู่ ท่านได้ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานแล้วหรือไม่ เพียงใด





    ขอบอกว่า ผมน่ะกราบพระพุทธเจ้าทุกวัน พบท่านทุกวัน ขณะพิมพ์นี่ก็มีท่านอยู่ในใจตลอดเวลา ยิ่งเวลาจะโต้ตอบกับท่านซึ่งเป็นนักบวช ผมยิ่งต้องอาราธนาบารมีของพระพุทธเจ้าท่านมาเป็นที่พึ่งเป็นสรณะเสมอ เวลาจะพิมพ์ข้อความใดออกไปก็ต้องคิดใคร่ครวญและไตร่ตรองอย่างระมัดระวัง เพราะไม่อยากพลาดพลั้งลงไปอยู่กับนักบวชอย่างท่าน


    ท่านเขียนตำราแนะวิธีค้นหาพระพุทธเจ้า ตัวท่านล่ะ ค้นหาพระพุทธเจ้าพบแล้วหรือยัง


    ผมเดาว่า คงยังไม่พบ เพราะถ้าท่านมีบุญวาสนาได้พบพระพุทธเจ้าจริง ท่านก็จะไม่มาพร่ำเพ้ออยู่ว่า นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี เทวดา พรหม เปรต อสุรกาย หรือแม้แต่พระนิพพาน ไม่มีอยู่อย่างนี้หรอก


    ท่านน่ะ เขียนตำราเก่ง แต่จะได้เรื่องหรือไม่ได้เรื่องก็ไม่รู้ ดีไม่ดี พาคนอ่านที่หลงเชื่อและนำไปปฏิบัติตามสิ่งที่ท่านเขียนเอาตามอำเภอใจลงสู่อบายภูมิแบบไม่รู้ตัว สร้างบาปกรรมอย่างใหญ่หลวง เพราะไปปิดกั้นความดีของบุคคลอื่นที่เขาสมควรจะได้รับ อย่างน้อยที่สุดเขาอาจจะได้ไปเป็นเทวดา นางฟ้า แต่พอมาอ่านตำราที่ท่านเขียน ก็พาลให้เข้าใจและเชื่อไปว่า นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี ตายแล้วร่างกายดับจิตดับ โลกหน้าไม่มี ดังนั้น ไม่ต้องไปสนใจทำความดี จะทำดี หรือทำชั่ว ตายแล้วก็แล้วกัน ตายแล้วก็จบกัน


    แค่คิดเท่านี้ก็แย่แล้ว หากเขาเหล่านั้นหลงเชื่อและปฏิบัติตาม ท่านเอ๋ย...ลองนึกดูเถิดว่า ถ้าเขาทำดีก็ดีไป สังคมก็จะมีความสงบสุข แต่ถ้าเขาทำชั่วขึ้นมาละ สังคมจะเป็นอย่างไร คงวุ่นวายดีพิลึก ชาวบ้านชาวช่องก็จะเดือดร้อนอยู่ไม่เป็นสุข


    นั่นเฉพาะในทางโลกนะ ถ้าในทางธรรม คนที่หลงเชื่อตามคำสอนของท่านและทำตาม ผลกรรมที่เขาได้รับก็ต้องตกไปสู่อบายภูมิ นี่มิเท่ากับว่าท่านชี้ทางนรกให้แก่เขาหรือ ตัวท่านไปนรกคนเดียวยังไม่พอ ยังจะพาคนอื่นๆ ตามไปด้วย ขอให้ใคร่ครวญและไตร่ตรองให้จงหนัก ท่านอยากจะไปอบายภูมิคนเดียวก็ช่างตัวท่านเถิด แต่อย่ามาเที่ยวสอนคนอื่นให้มีความเห็นต่างไปจากที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เลย



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2008
  8. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,172



    นำนิยายดีๆ มาฝากให้ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ได้อ่านเล่น


    ยังไม่สายเกินไปที่ท่านจะหันกลับมาสู่ความเป็นสัมมาทิฎฐินะครับ



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2008
  9. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,172


    นำนิทานดีๆ มาฝากท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ครับ



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2008
  10. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

     
  11. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
  12. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ********การเวียนว่ายตาย-เกิดในพุทธศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์******

    ***โลกคือกายนี้จิตนี้เวียนว่าย ตายแล้วเกิดอยู่ในโลกคือกายนี้**

    ****เมื่อทำกรรมใดไว้เมื่อตายไปย่อมต้องได้รับผลของกรรมนั้นเมื่อเกิดใหม่**

    ***เมื่อทำชั่วไว้มากย่อมเกิดในนรก เป็นสัตว์นรก ที่ร้อนใจดั่งไฟเผา**

    ***ถ้าอยากด้วยกิเลสก็เกิดเป็นเปรต ที่ทุกข์ทรมานเพราะความอยาก**

    ***ถ้าทำชั่วแล้วก็กลัวคนอื่นจะรู้ก็ต้องหลบๆซ่อน ก็เกิดเป็นอสุรกาย(หรือผี)**

    ***ถ้าโง่อย่างที่ไม่ควรจะโง่ก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน**

    ***ถ้าทำงานเอาเหงื่อแลกความสุข ก็เกิดเป็นคน (ถ้ามีธรรมะจึงจะเกิดเป็นมนุษย์ที่มีใจสูง)**

    ***ถ้ากำลังเสวยความสุขโดยไม่มีเหงื่อ ก็เกิดเป็นเทวดา**

    ***ถ้ากำลังตั้งมั่นอยู่ในสมาธิก็เกิดเป็นพรหม**

    ***เมื่อรับผลของกรรมใดแล้วหมดผลกรรมก็ตายไปเกิดใหม่ตามกรรมใหม่เรื่อยไป**

    **จิตของปุถุชนที่มีกิเลส ก็จะทำกรรมและรับผลกรรม เวียว่ายเป็นวงกลมอยู่เช่นนี้เรื่อยไป (นี่คือการตายแล้วเกิด)**

    ***จนกว่าจิตจะหลุดพ้นจากกิเลสหลุดพ้นจากความยึดถือในตัวตน ก็หมดกรรม หยุดเวียนว่าย ก็นิพพาน คือสงบเย็น (นี่คือตายแล้วไม่เกิด)**

    ***นี่คือการเวียนว่ายตายแล้วเกิดที่เราทุกคนสามารถรู้สึกหรือพบเห็นได้จริง**

    ***ส่วนการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายนั้นเราไม่สามารถพบเห็นหรือรู้สึกด้วยตัวของเราเอง **

    **จึงไม่จัดว่าเป็นธรรมะที่เราควรจะไปสนใจ เพราะพิสูจน์ให้เห็นจริงไม่ได้พูดไปก็อายคนมีปัญญาเขา**
    ** www.whatami.net **
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  13. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ผมว่า หามีความเข้าใจอันใดเลย ในการวิเคราะห์ และวิจารณ์

    หากท่านเข้าใจจริงแท้ โปรดอธิบายให้หลาย ๆ ท่าน หายสงสัย ดังนี้
    จะได้เชื่อว่า ท่าน "รู้" จริง หรือแค่อ่าน แล้ววิเคราะห์ วิจารณ์ เท่านั้น

    1. สักกายทิฏฐิ มี 4 ระดับ.... โปรดอธิบายให้กระจ่าง นะครับ

    2. "จิต" ที่พูดถึง นี่.. หมายถึง "อทิสมานกาย" โปรดชี้แนะ ว่าตรงกันไหม
    เพื่อเป็นแนวทาง การละสังโยชน์

    3. ผมไปอ่าน ที่ท่านเขียน เรื่องค้นหาพระพุทธเจ้า แล้ว
    พบว่า มีสาระในเรื่องของ การพิจารณา วิเคราะห์ วิจารณ์ จาก "สัญญา"
    ของผู้เขียน ทั้งนั้น

    ----------------------------
    ***อาตมาขอไปให้การในชั้นศาล**
    --------------------------------------
    ***ไปค้นหาพระพุทธเจ้าให้พบก่อน แล้วค่อยมาคุยกัน***
    *** www.whatami.net **
     
  14. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? (ฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่ เผ็ดร้อนกว่าเดิม)

    พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน?



    พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์

    ในปัจจุบันชาวพุทธจะรู้ตัวหรือไม่ว่า พุทธศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่นี้ ไม่ใช่พุทธศาสนาที่แท้จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอน แต่เป็นศาสนาที่ถูกปลอมปนมาแล้วจากศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู)

    คือพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นจะมีหลักการเดียวกับวิทยาศาสตร์ คือมีเหตุผลที่สมเหตุสมผล และมีของจริงมายืนยัน สามารถพิสูจน์หรือจับต้องได้ รวมทั้งยังมีประโยชน์อย่างแท้จริงอีกด้วย แต่พุทธศาสนาในปัจจุบัน ที่ถูกปลอมปนมาแล้วนี้ กลับมีแต่เรื่องที่งมงายไร้เหตุผล มีแต่เรื่องลึกลับไกลตัวที่ไม่มีของจริงมายืนยัน และไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ มีแต่คำโอ้อวดและเล่าลือเท่านั้น รวมทั้งยังไม่มีประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ใครๆอีกด้วย


    ความเชื่ออะไรที่ไม่ใช่พุทธ?


    ในปัจจุบันชาวพุทธเกือบจะทั้งหมดยังมีความเชื่อเรื่องพวกสิ่งศักดิ์สิทธิ์, สิ่งมหัศจรรย์, อำนาจวิเศษ, ผู้วิเศษ, เรื่องอิทธิฤทธิ์, เรื่องปาฎิหาริย์, เรื่องเครื่องรางของขลัง, เรื่องเวตมนต์คาถา, เรื่องโชคชะตาราศี, รวมทั้งเรื่องผี, เทวดา, นางฟ้า, เทพเจ้า, นรกใต้ดิน, สวรรค์บนฟ้า, เรื่องชาติก่อน, ชาติหน้า,

    โดยเฉพาะเรื่องวิญญาณออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้, และเรื่องเวรกรรมจากชาติปางก่อน เป็นต้น คือชาวพุทธส่วนใหญ่เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงหรือเป็นจริง ทั้งๆก็ไม่มีใครเคยพบเห็นหรือมีใครสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เลยแม้แต่น้อย

    เรื่องเหล่านี้จัดว่าเป็นเรื่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2008
  15. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? (ฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่ เผ็ดร้อนกว่าเดิม)

    เราจะเชื่อเหตุผลได้หรือไม่?

    ในปัจจุบัน เหตุผลที่สมเหตุสมผลเป็นเรื่องที่ผู้มีปัญญาทั้งหลายยอมรับ ไม่มีอะไรที่จะน่าเชื่อถือเท่าเหตุผลนี้อีกแล้ว แต่พระพุทธเจ้าก็ยังทรงสอนว่าอย่าเชื่อแม้จากเหตุผลที่น่าเชื่อที่สุดนี้ เพราะเหตุผลยังเป็นแค่การคิดคำนวณอย่างมีหลักการเท่านั้น และเหตุผลก็เพียงทำให้เกิดความเข้าใจเท่านั้น ซึ่งเหตุผลนั้นยังอาจจะมีการผิดพลาดได้ เหตุผลจึงยังไม่ใช่ความจริง ถ้าเป็นความจริงจะไม่ผิดพลาดอย่างเด็ดขาด

    คือเมื่อเราทราบเหตุ เราก็จะเข้าใจถึงผล ถ้าเหตุที่เราทราบมันถูก ผลมันก็จะถูกตาม (คือเกิดความเข้าใจถูกต้อง) แต่ถ้าเหตุที่เราทราบมันผิด ผลมันก็ย่อมที่จะผิดตามไปด้วยทันที (คือเกิดความเข้าใจผิด) ดังนั้นถ้าบังเอิญเราได้รับเหตุที่ผิดมา เราก็จะได้ผลที่ผิดด้วยไปทันที แต่ถึงเราจะได้รับเหตุที่ถูก และเกิดความเข้าใจถูกต้องแล้วก็ตาม แต่นี่ก็ยังเป็นแค่เหตุผล ที่เป็นเหมือนบันไดสำหรับเดินไปหาความจริงเท่านั้น คือเราจะต้องนำเอาความเข้าใจที่ถูกต้องนี้ไปพิสูจน์หรือทดลองเสียก่อน ว่าสิ่งที่เราเข้าใจนั้นมันเป็นจริงตามที่เราเข้าใจหรือไม่ ถ้าทดลองแล้วปรากฏว่ามันไม่เป็นจริงตามที่เราเข้าใจ ก็แสดงว่าเหตุผลนั้นมันผิด แต่ถ้าทดลองแล้วปรากฏว่ามันเป็นจริงตามที่เราเข้าใจ จึงจะแสดงว่าเหตุผลนั้นมันถูก


    เราจะเชื่อตัวเองได้หรือไม่?



    เมื่อไม่ให้เชื่อคนอื่น ไม่ให้เชื่อตำรา และไม่ให้เชื่อเหตุผล เราก็คิดว่าพระพุทธเจ้าจะสอนให้เราเชื่อตัวเอง ซึ่งความจริงแล้วแม้แต่ตัวเองพระพุทธเจ้าก็ยังสอนว่าไม่ให้เชื่อ เพราะอะไร? ก็เพราะถ้าเราเชื่อตามความเห็นที่เรามีอยู่ ซึ่งความเห็นนี้มาจากไหน? ถ้าความเห็นนี้มาจากคนอื่น และมันเป็นความเห็นที่ผิดมาก่อน เราก็จะมีความเห็นผิดอยู่ก่อนแล้วเป็นพื้นฐานโดยไม่รู้ตัว และเมื่อมีใครสอนตรงกับความเห็นของเรา แล้วเราก็เชื่อตามความเห็นของเรา เราก็จะเกิดความเห็นผิดซ้อนขึ้นมาอีกทันทีโดยไม่รู้ตัว \


    หรือถ้าเราเชื่อตามสามัญสำนึกของเรา คือเมื่อเกิดความรู้สึกว่าชอบใจคนสอน เราก็เชื่อเขา หรือเมื่อรู้สึกไม่ชอบใจคนสอน เราก็ไม่เชื่อเขา มันก็จะทำให้เกิดความเชื่อตามการคาดเดาที่ไม่มีทั้งเหตุผลและปัญญา จึงค่อนข้างแน่นอนว่าการเชื่อจากสามัญสำนึกของเรานั้นมันจะมีความผิดพลาดได้มาก



    เราจะเชื่ออย่างไรจึงจะถูกต้อง?



    พระพุทธองค์ทรงสอนว่า เมื่อเราได้รับคำสอนใดมาก็ตาม ขั้นแรกให้เราเอามาพิจารณาดูก่อน ว่ามีโทษหรือไม่? ถ้าเห็นว่ามีโทษ ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีโทษ และมีประโยชน์ ก็ให้นำเอามาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลจริง ก็ให้ละทิ้งอีกเหมือนกัน แต่ถ้าทดลองปฏิบัติดูแล้วได้ผลจริง จึงค่อยปลงใจเชื่อ และรับเอาไปปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป


    คือสรุปว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้เรารู้จักคัดเลือกคำสอน ไม่ว่าจะของใครๆแม้ของพระพุทธองค์เองก็ตามไม่มีข้อยกเว้นอย่างเด็ดขาด โดยนำเอามาพิจารณาดูก่อน อย่าเพิ่งเชื่อ เมื่อเห็นว่าพอจะมีประโยชน์ ก็ให้เอามาทดลองปฏิบัติดูก่อน เมื่อได้ผลจึงค่อยปลงใจเชื่อ คือทรงสอนให้เราเชื่อความจริงที่ปรากฏขึ้นมาจริงๆแล้วเท่านั้น ไม่ทรงสอนให้เชื่อตำราหรือคนอื่นหรือตนเองหรือแม้แต่เหตุผลก็ตาม แต่ถ้าเราไม่เชื่อความจริง แล้วไปเชื่อตำรา หรือเชื่อตามคนอื่น หรือเชื่อตัวเอง เราก็จะไม่พบความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราไปเชื่อเรื่องลึกลับไกลตัวที่พิสูจน์ไมได้ เราก็จะไม่มีวันได้พบกับความจริงได้เลย เราจะพบได้ก็เพียงแค่ความเพ้อฝันลมแล้งๆที่ไม่มีสาระและประโยชน์อย่างแท้จริงเท่านั้น



    เราจะเริ่มศึกษาจากจุดไหนจึงจะเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง?



    เมื่อเราเข้าใจเรื่องการสร้างความเชื่อของพระพุทธเจ้าแล้ว จุดต่อไปที่เราจะต้องศึกษาก็คือ เราจะมาค้นหาหาความจริง เพื่อทำลายความเชื่อของศาสนาพราหมณ์เรื่องที่ว่า จะมี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2008
  16. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ...................................................................................

    โอ้.. อันนี้ คงยังตอบไม่ได้..
    จึงต้องขอร้องให้ "ทนาย" เป็นผู้ช่วยตอบให้แทน

    ท่านผู้พิพากษา เขาตัดสินคดี ทางโลก
    ท่านพระยายมราช ท่านตัดสินคดี ทางธรรม

    อ้าวพระยายมราช นี่ มองไม่เห็น ไม่พึงเชื่อสืบ ๆ กันมา....
    โอ้.. เวร ไม่เชื่อว่ามี แล้วจะทำดี กันไหมเนี่ยยยยย....
    หรือว่า.. เข้านิพพานกันไปหมดแล้ว ก็เลยไม่ต้องกลัว กันละ....

    ...................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2008
  17. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ...................................................................................

    อ้อ.. ชักจะเข้าที....
    แต่ ก่อนที่จะเชื่อถือกันนี่.. ตอบสักหน่อยก่อนได้ไหมครับ ว่า....

    ใคร.. เป็นผู้สอน....
    ใคร.. เป็นผู้แนะนำคำสอน ดังกล่าวนี้....

    แบบว่า จะให้ยอมรับ คำสอนนี้
    ก็ควรจะรู้เสียก่อนว่า.. ใครเป็นผู้สอน

    เอามาแต่ไหน (พึงยกมาแจง ให้ชัดเจน)....
    หรือว่า.. เพียงแค่.. นั่งนึกเอาเอง....

    โปรดชี้แจง มาก่อนนะครับ....
    จึงค่อยมาพิจารณาเทียบเคียง สานความศรัทธา ว่า.. ควรจะเชื่อดีไหม....

    ...................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2008
  18. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    เล่าเรื่องหลวงปู่มั่นพบพระพุทธเจ้าในพระนิพพาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]
    มีเรื่องเล่ากันนานปีมาแล้ว ว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมาหาเถระ

    ท่านเคยเล่า ว่าคืนหนึ่งขณะท่านปฏิบัติอยู่ในป่า ใจร่ำร้องกราบพระพุทธบาทสมเด็จพระบรมศาสดา ขอประทานพระมหาเมตตาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมปรารถนาได้พ้นทุกข์ และสมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงพระเมตตาเสด็จลงให้ท่านพระอาจารย์ได้เฝ้าพระพุทธบาทรับประทานวิธีปฏิบัติธรรมไปสู่ความไกลกิเลสได้สิ้นเชิง

    ท่านพระอาจารย์ท่านเล่าว่าสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จลงให้ท่านได้เฝ้าพระพุทธบาท ได้เห็นพระพุทธองค์ดั่งได้เฝ้าพระองค์จริงขณะทรงดำรงพระชนมายุสังขารอยู่ฉะนั้น

    ไม่ทราบว่าท่านพระอาจารย์ท่านบอกหรือเปล่า ว่าท่านทีความปีติโสมนัสเพียงไรในบุญวาสนาของท่านที่ไม่น่าเป็นไปได้ในชีวิตผู้ใดแต่ได้เกิดแก่ชีวิตท่านพระอาจารย์ท่านแล้วจริงโปรดประทานพระมหากรุณาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีเดินจงกรม วิธีปฏิบัติจิตใจ

    จนในที่สุดท่านพระอาจารย์ท่านก็ได้เป็นดั่งองค์แทนศิษยานุศิษย์ผู้สามารถปฏิบัติธรรมดำเนินถึงความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ได้เป็นพระอาจารย์สายปฏิบัติธรรมองค์สำคัญที่สุดอยู่ในยุคนี้ เป็นที่รู้กันอยู่ในบรรดาผู้ใส่ใจในการปฏิบัติธรรมทุกถ้วนหน้า

    เรื่องนี้ ที่ท่านพระอาจารย์ท่านได้เล่าไว้ ไม่เพียงทำให้ท่านได้เป็นอาจารย์ผู้สอนธัมมะสำคัญแก่ศิษยานุศิษย์มากหลาย แต่ทำให้ได้ความเข้าใจที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย

    ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ในเมืองพระนิพพานแน่ ยังทรงได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟัง ที่ควรแก่การได้รับพระพุทธเมตตา เช่นท่านอาจารย์มั่นท่านนั่นเอง ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นท่านควรที่สุดแน่นอนแล้วที่จะได้รับพระมหากรุณา ผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้ศึกษาธรรมทั้งหลายย่อมเห็นด้วยกับความจริงนี้แน่นอน.

    : แสงส่องใจ วิสาขบูชา ๒๕๕๐
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ที่มา
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13034

    ผมมีประจักษ์พยานว่ามีแดนพระนิพพานจริงอ่านข้อความข้างบนนะครับจได้หายโง่นะท่านเตชปัญโญ
     
  19. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ขนาด พระพุทธเจ้า ยังไม่ยอมเชื่อถือ ในพระองค์....
    แล้ว พระสังฆราช จะยอมเชื่อท่าน อยู่หรือ....

    อย่างมาก (อาจจะ) กล่าวอ้างว่า....
    ก็เป็นเพียง เรื่องเล่า สืบ ๆ กันมา (กาลามาสูตร)

    แต่ทว่า.. กับ อาจารย์ ของตนเองตนเอง
    กลับเชื่ออย่างห้วปัก หัวปำ ห้ามเถียง ห้ามล่วงเกิน

    ไม่เคยคิดจะใช้ กาลามาสูตร ไปตรวจสอบ บ้างเลยหนอ....

    ...................................................................................

    อันนี้.. ข้อนี้..
    ผมก็ขอยอมรับว่า เลว ในกรรมบท 10 วาจาส่อเสียด....

    ก็ไม่รู้ว่า ตัวเอง จะเข้ามายุ่งทำไม....

    หากไม่เป็นห่วงว่า..
    น่าเป็นห่วงที่เยาวชน และคนรุ่นใหม่....
    จะเข้าใจผิดไป....

    ก็คงไม่กล่าว ให้เปลืองเวลา

    เพราะว่า รู้ตั้งแต่แรกแล้วว่า..

    ไม่มีผลในทางที่ดี
    มีแต่ทางหมองจิต

    เรื่องของบารมี นี่ มันไปสั่งกันไม่ได้ ว่า....
    จะต้องเข้าใจ น๊ะ.. ต้องรู้เรื่อง น๊ะ

    อันนี้ จะเก่งเกิน พระพุทธเจ้า ไป....
    แม้แต่พระพุทธองค์ ก็สอนเพียง 3 ประเภท

    ปทปรมะ นี่ พระองค์ ไม่ทรงตรัสสอน
    ด้วยพระมหาเมตตา ที่ว่า....

    หากสอนไป ก็รังแต่ จะทำให้ผู้นั้น ต้องเสวยทุกขเวทนา
    เร็วยิ่งขึ้น นานยิ่งขึ้น

    ที่ผมกล่าวมา ทั้งหมด....
    ก็เพียง จะสามารถเป็นข้อเตือนใจ ให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ ไว้เทียบเคียง
    ได้บ้าง ก็เท่านั้นเอง....

    ไม่ได้หวังว่า จะเกิดเป็น "ปัญญา" อันแท้จริงได้
    "ปัญญา" ที่แท้จริง ก็ต้องเกิดจากอำนาจแห่ง สมาธิ เท่านั้น

    อย่างอื่น ๆ ในโลกนี้
    เรียนเก่ง อ่านมาก จำได้ ใคร่ครวญดี วิพากษ์ วิจารณ์ ได้คล่อง
    ก็เป็นเพียง "สัญญา" เท่านั้นเอง

    ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามกรรม....

    อ้าว.. กรรม ก็ไม่เชื่อ.. ตายแล้วสูญ เข้านิพพานกันหมดเสียแล้ว
    แล้วจะมีข้อกังวลใจ อันใด อีกละนี่

    ก็มันส์ ตามสัญญา ตามอารมณ์ คิดเป๋ไป คิดผิดไป ก็ถูกไปทั้งหมด....

    ....................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2008
  20. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ๑. บุคคลไม่ละซึ่งธรรมคือ ราคะ ,โทสะ , โมหะ ก็ไม่อาจละซึ่งธรรมคือ ชาติ , ชรา , มรณะ ได้
    ๒. บุคคลไม่ละซึ่งธรรมคือ สักกายทิฏฐิ ๑, วิจิกิจฉา ๑, สีลัพพตปรามาส ๑ ก็ไม่อาจละซึ่งธรรมคือ ราคะ, โทสะ, โมหะ ได้
    ๓. บุคคลไม่ละซึ่งธรรมคือ อโยนิโสมนสิการ ๑, การพัวพันในทิฏฐิอันชั่ว ๑, ความมีใจหดหู่ ๑, ก็ไม่อาจละซึ่งธรรมคือ สักกายทิฏฐิ , วิจิกิจฉา , สีลัพพตปรามาส ได้
    ๔. บุคคลไม่ละซึ่งธรรมคือ ความมีสติอันหลงลืม ๑, ความปราศจากสัมปชัญญะ ๑, ความส่ายแห่งจิต ๑ ก็ไม่อาจะละซึ่งธรรมคือ อโยนิโสมนสิการ , การพัวพันในทิฏฐิอันชั่ว , ความมีใจหดหู่ ได้<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ๕. บุคคลไม่ละซึ่งธรรมคือ ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า ๑, ความไม่อยากฟังธรรมของพระอริยเจ้า ๑, ความมีใจเกาะเกี่ยว(เช่นในกาม) ๑ ก็ไม่อาจละซึ่งธรรมคือ ความมีสติอันหลงลืม , ความปราศจากสัมปชัญญะ , ความส่ายแห่งจิต ได้<o:p></o:p>
    ๖. บุคคลไม่ละซึ่งธรรมคือ ความฟุ้งซ่าน ๑, ความไม่สำรวม ๑, ความทุศีล ๑ ก็ไม่อาจละซึ่งธรรมคือ ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า , ความไม่อยากฟังธรรมของพระอริยเจ้า , ความมีใจเกาะเกี่ยว(เช่นในกาม) ได้ <o:p></o:p>
    ๗. บุคคลไม่ละซึ่งธรรมคือ ความไม่มีศรัทธา ๑, ความไม่เป็นวทัญญู(ผู้รู้คำพูด ผู้ใจดี) ๑, ความเกียจคร้าน ๑ ก็ไม่อาจละซึ่งธรรมคือคือ ความฟุ้งซ่าน , ความไม่สำรวม , ความทุศีล ได้<o:p></o:p>
    ๘. บุคคลไม่ละซึ่งธรรมคือ ความไม่เชื่อบุคคลและธรรมอันควรเชื่อ ๑, ความเป็นคนว่ายาก ๑, ความมีมิตรชั่ว ๑ ก็ไม่อาจละซึ่งธรรมคือ ความไม่มีศรัทธา, ความไม่เป็นวทัญญู , ความเกียจคร้านได้
    ๙. บุคคลไม่ละซึ่งธรรมคือ ความไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย(อหิริ) ๑, ความไม่กลัวในสิ่งที่ควรกลัว(อโนตัปปะ) ๑, ความประมาท(ปมาทะ) ๑ ก็ไม่อาจละซึ่งธรรมคือ ความไม่เชื่อบุคคลและธรรมอันควรเชื่อ , ความเป็นคนว่ายาก , ความมีมิตรชั่ว ได้<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...