ธรรมะ ใดเหมาะสำหรับคนหมดหวังในชีวิตครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย chaiyo2142, 15 สิงหาคม 2015.

  1. chaiyo2142

    chaiyo2142 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +4
    ตอนนี้กระผมเป็นนักศึกษาเรียนอยู่ ได้มารู้จักธรรมะ เกือบจะเป็นเวลาหนึ่งปีแล้ว ได้ให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ อยู่เป็นประจำ แต่ว่าตอนนี้กระผมมีปัญหาชีวิตคือสับสนในตนเอง ไม่เข้าใจในตนเอง เลยว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไรดี​

    ด้วยกระผมไม่มีความอยากได้ อยากมี อยากเป็นอะไรเลย เหมือนคนไร้ความฝัน ความหวัง รู้สึกเหมือนโลกนี้มันน่าเบื่อหน่าย แต่พอจะไม่ทำอะไรขึ้นมา ใจนี้ก็จะบอกว่าจะเป็นการเกลียดคร้านที่ไม่ดี สิ่งที่เคยชอบ เคยทำอยู่ก็รู้สึกเบื่อหน่าย พยายามบังคับตัวเองให้ทำ ก็รู้สึกแย่ขึ้นมาก จิตใจของกระผมไม่ได้รู้สึกชอบอะไรขึ้นมาเลย​

    สิ่งที่พอจะรู้สึกดี และเป็นสุขคือการได้อ่านหนังสือธรรมะ สวดมนต์ ทำสมาธิ หรือทำความดีต่าง ๆ เท่านั้น แต่ในเรื่องของการงาน ความฝัน กระผมรู้สึกเบื่อหน่ายยิ่งนัก แต่ก็พยายามประครองใจอยู่แต่รู้สึกเหมือนจะไม่ใช่แล้ว​

    กระผมควรจะทำอย่างไรดีครับ ขอท่านกัลญาณมิตรทั้งหลาย ได้ช่วยแนะนำกระผมด้วย จักเป็นพระคุณอย่างสูง​
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,727
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ตามนี้เลยครับคุณ chaiyo2142 ลองเข้าไป download หนังสือชีวิตเป็นอย่างนี้ ที่อยู่ใต้ comment ของผมมาอ่านดู แต่ก่อนผมก็เป็นเหมือนท่านครับ งง ๆ ว่าชีวิตควรจะไปต่อยังไงดี หรือเราควรมีจุดมุ่งหมายในชีวิตแบบไหนกันแน่ แต่หลังจากที่ผมได้อ่านหนังสือชีวิตเป็นอย่างนี้แล้ว ผมก็เข้าใจในตัวเองมากขึ้น ผมมั่นใจว่าหลังจากที่คุณ chaiyo2142 อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว อย่างน้อยคุณ chaiyo2142 จะเข้าใจอะไรบางอย่างดีขึ้นแน่นอนครับ ยังไงก็ลอง download มาอ่านดูให้จบครับ หนังสือดีมากครับ อนุโมทนาครับ ขอเป็นกําลังใจให้นะครับ
     
  3. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    อาการที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเพราะเข้าใจธรรมะยังไม่ถูกทั้งหมด ..ผู้ที่รู้ธรรมะแท้จริงจะไม่มีอาการทอดทิ้งธุระหรือไม่อยากทำอะไรๆหรือกลายเป็นคนเฉื่อยชาอะไรเลย..ตรงข้าม กลับมีความเข้าใจในสิ่งต่างที่ตนต้องทำหรือเกี่ยวข้อง สามารถจัดการสิ่งเหล่านั้น ด้วยความ เหมาะสมตามหน้าที่หรือความรับผิดชอบได้อย่างดี….

    ท่านจขกท.พึงพิจารณาด้วยปัญญาว่าเวลานี้..เมื่อยังไม่อาจทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ยังต้องมีหน้าที่ที่ต้องทำ ตามความเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นๆตามสมมุติในโลกก็พึงทำหน้าที่นั้นให้ดีให้ลุล่วงไป..เพราะการทำเช่นนี้(หน้าที่)..เป็นการปฏิบัติธรรมะ อย่างหนึ่งเช่นกันเช่นทำหน้าที่ของลูก...ทำหน้าที่ของพ่อแม่หรืออื่นๆที่นำประโยชน์ แก่บริวารชนที่เกี่ยวข้อง...

    อนึ่ง หากตนมีอิสระ พ้นจากการพึ่งพิงคนอื่นแล้ว หรือไม่มีภาระอื่นใดที่ต้องรับผิดชอบ ก็พึงสละเพศฆราวาส…แล้วถือกำเนิดใหม่ในเพศพระภิกษุ เจริญรอยตามพระบรมศาสดา แลพระอริยะทั้งหลายที่เพ่งเพียรตามพระธรรมวินัย..ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความพ้นทุกข์ โดยส่วนเดียว..ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนอีก..เช่นนี้แล้วย่อมได้ความสัปปายะในการศึกษาและ ปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่..การทำเช่นนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่ตนอย่างยิ่ง

    แต่การเเสวงหาวัดที่มีการศึกษาธรรมและปฏิบัติตามพระวินัยอย่างแท้จริง
    เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งยวด..มิฉะนั้นจะกลายเป็นการเสี่ยงพาตนลงเหวไปง่ายดายกว่า
    การเป็นฆราวาสมากนัก..เพราะ"ความไม่รู้"ครอบคลุมอยู่...

    ...และพึงทราบว่าชีวิตในเพศนักบวชนั้นเป็นของยาก….ไม่เหมือนฆราวาส ความระวังสังวรต้องมีมากเพื่อรองรับการบรรลุธรรมที่ประณีต..ความประพฤติที่ ไม่มีความสังวรย่อมเป็นช่องทางให้ทำในสิ่งไม่สมควรแก่ สมณะวิสัย .. แม้กิเลสที่ยังมีกำลังก็ย่อมพยายามลากจูงให้ออกนอกทางเสมอ ชีวิตนักบวชที่บวชเพราะไม่รู้หรือไม่เห็นภัยของวัฏฏะเป็นเรื่องที่อันตรายแก่ตนโดยถ่ายเดียว..ผู้ที่มั่นคงในการพ้นทุกข์ "เท่านั้น"ที่สามารถเจริญได้ในธรรมะวินัยนี้

    แต่หากยังบวชไม่ได้ การนำธรรมะที่ตนได้ศึกษามาปฏิบัติในชีวิตจริงก็ย่อมทำได้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้…ย่อมเหมาะแก่ชนทุกเหล่า เเละเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ตามระดับของแต่ละคน…..

    ผู้ที่เข้าใจธรรมะแท้จริงย่อมไม่เข้าถึงทุกข์โดยอาการใดๆเลย ย่อม"มีแต่ความเบาสบาย"สามารถดำรงตนได้ในฐานะต่างๆที่จำเป็น.. ดำรงชีวิตตามปรกติได้….ไม่ใช่อึดอัดขัดข้องทอดอาลัยในทุกสิ่ง..กระทั่งพระอรหันต์ ที่หมดจดกิเลสแล้ว…เอือมระอาสังขารทั้งหลายที่สุดก็ยังไม่ทิ้งธุระต่างๆที่ต้องทำ ไม่ได้ทอดอาลัยไม่อยากทำอะไรๆอีก..

    อนึ่ง..หากศึกษาธรรมะแล้วเกิดความรู้สึกคับข้องสับสน..ฯลฯ..ให้ทราบว่า เวลานั้น มีแต่อุททัจจะคือความฟุ้งซ่าน..หรือกิเลสคือความเกียจคร้าน มาหลอกเอาเเล้ว…ให้รู้ทันเขาเสีย..อย่าได้หลงเชื่อ เพราะในเวลานั้นจิตมีแต่อกุศลที่กำลังกลุ้มรุมอยู่..ควรระงับให้ได้ด้วยอุบายต่างๆ เช่นคิดถึงศีลที่ตนปวารณาสมาทานหรือคิดถึงข้อธรรมที่ตนเรียนไว้ จำได้..หรือทำสมาธิที่ตนถนัด เจริญวิปัสนาที่เคยทำ อย่างนี้ก็ล้วนเป็นการปฏิบัติธรรม ที่พระภิกษุก็ทำกันเช่นกัน..เพราะท่านเหล่านั้นก็ยังเป็นปุถุชนกันอยู่ ต่างก็มีความคิดความกังวลต่างๆมากมายไม่แพ้ฆราวาสเลย..

    ท่านจขกท. ลองพิจารณาทบทวนตนเองตามจริงว่าที่เบื่อนั้นเบื่อด้วยโทสะหรือด้วยปัญญา?
    ถ้าเบื่อด้วยปัญญาแล้ว ความสับสนหรือไม่รู้ว่าตนควรทำอะไรอย่างไรจะไม่มี ..ปัญญาจะทราบชัดว่าสิ่งใดควรเกี่ยวข้อง ด้วยอาการใด ..เพราะเหตุไร..มีความชัดเจน ไม่มีการผลักไสอารมณ์..แต่เข้าไปรู้แล้วไม่ยึดถือด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ..

    คงพอได้แนวทางที่จะช่วยคลี่คลายความกังวลไปได้บ้างนะครับ..
     
  4. chaiyo2142

    chaiyo2142 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +4
    ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำมากครับ ตัวผมในตอนนี้รู้สึกสับสนเป็นอย่างมาก มองหาทางไม่ออกเลยจริง ๆ
     
  5. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941

    ...เอาละ ท่านchaiyo2142ลองตอบคำถามนี้เงียบๆในใจตามจริงว่า...เรามีความหวังในสิ่งใดอยู่หรือไม่..?
    .. แล้วคิดว่าตนเองไม่อาจทำสิ่งนั้น ให้บรรลุถึงความหวังที่ตั้งไว้หรือเปล่า?..

    เราเองนั้น ทราบชัดแน่ๆว่า เราหวังอะไรอยู่..แม้เราจะบอกว่า เราไม่มีความหวังในสิ่งใดเลย..แต่ที่แท้เรามีสิ่งที่หวังอยู่..คนที่ไม่มีความหวังอะไรๆเลย มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น เพราะท่านเหล่านี้ ทำกิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว ย่อมอยู่รอความตาย(ปรินิพพาน)เหมือนคนทำงานเสร็จ รอรับค่าจ้างเท่านั้น...

    เมื่อทราบชัดว่าตนมีความหวังหรือต้องการสิ่งใดอยู่ ก็พิจารณาต่อไปว่า สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ตนหรือคนอื่นใหม?....

    ทั้งประโยชน์นั้นเป็นประโยชน์ ในโลกนี้ โลกหน้า และเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งใหม?..

    พิจารณาต่อไปว่าถ้าสิ่งนั้นมีประโยชน์ ก็ควรมีความกล้าหาญ"ที่จะลงมือทำ"..ไม่ใช่ทอดอาลัยหรือปล่อยให้ตนสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก กลายเป็นเหมือนรู้ธรรมะแต่กลับไม่มีสติปัญญาคุ้มครองตนให้พ้นความสับสน...หรือมีแต่ความกลัวไปเสียทุกด้านไม่กล้าทำอะไรๆที่ควรทำ ก็หากไม่ทำแล้วจะทราบได้ละหรือว่าตนทำได้จริงใหม...

    การที่เราเกิดความสับสนหาทางออกไม่เจอมีแต่ความลังเล สงสัยนี้ อาจมีมาจากเหตุคือเพราะตนไปเสพคุ้นกับปาปมิตร แนะนำธรรมะไม่ถูกต้องหรือเปล่า..?ซึ่งคนส่วนมากไม่สามารถรู้ได้โดยง่าย ต่างพากันเชื่อดิ่งไปด้วยศรัทธาที่ไม่มีปัญญากำกับ..จึงได้แต่ความมืดมนต่อไป และเดินไปในความมืดตามที่ตนคุ้นชินแล้วนึกว่านั่นคือทางสว่าง..หรือพบกัลยาณมิตรแล้วแต่ตนไม่มีความแยบคาย(โยนิโสฯ) จึงปล่อยให้ตนเองสับสนเช่นนี้..

    ธรรมะที่ถูกแท้ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นปัจจัยแก่ปัญญา ปัญญานั้นสว่างกว่าแสงไฟทุกชนิด สิ่งใดที่แอบซ่อนในที่กำบัง ไฟสว่างส่องไม่ถึงแต่ปัญญาส่องถึงตลอดทุกที่ไม่เว้น..

    ลองทบทวนดูนะครับว่า การศึกษาธรรมะที่ผ่านมา มาจากแหล่งใด แล้วเรานึกคิดลูบคลำเอาเองโดยไม่เข้าใจอรรถะแห่งธรรมที่แท้จริงใหมหรือเปล่าจึงพาตนเข้าถึงอาการสับสนเช่นนี้ ซึ่งไม่ใช่ผลจากการศึกษาธรรมะที่ถูกต้องใดๆเลย..


    ขอบุญดีรักษาท่านให้พ้นความสับสนพบทางออกที่สมควรโดยเร็วครับ
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
  7. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ต้องเข้าใจก่อนว่าธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราละทิ้งทางโลก สมัยที่พระพุทธองค์เป็นเจ้าชายก็มีสิ่งที่ชอบใจพอใจทุกอย่างแต่ทรงค้นพบว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ทรงเลยวิ่งไปอีกทางบำเพ็ญทุกรกิริยา วิ่งเข้าหาสิ่งที่ไม่ชอบใจ สิ่งที่ไม่พอใจแทน ก็ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์อีก ทรงตรัสรู้ว่าทางพ้นทุกข์คือทางสายกลาง ไม่ใช้วิ่งหนีจากสิ่งไม่พอใจ และไม่ใช่วิ่งเข้าหาสิ่งที่ไม่พอใจแต่เป็นการเข้าใจทุกข์ที่เกิดและปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์นั้น ถ้าเราพอใจอยู่แต่กับการปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมแต่หนีทางโลกมันก็ไม่ใช่ทางสายกลางนะสิ เพราะเราจะเห็นทุกข์จะเข้าใจทุกข์ได้อย่างไรถ้าเอาแต่หนีมัน ธรรมที่เราศึกษามาจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเราอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบใจแล้วเราไม่เป็นทุกข์ไปกับมัน อยู่กับโลกแต่เป็นผู้พ้นจากโลก
     
  8. STha

    STha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +927
    ที่จะกล่าวนี้ อย่าเพิ่งเชื่อนะ
    --------------------------
    ถ้าไม่อยากมี ไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น เท่ากับหมดกังวล หมดตัณหา คือ พระอรหันต์

    ถ้าจิตเป็นสุขเฉพาะเมื่อทำความดี สวดมนต์ ศีลสมาธิปัญญา ถ้ามันสุขเฉพาะแบบนี้จริงๆ เป็นอารมณ์อริยบุคคลตั้งแต่โสดา แล้วแต่กำลังใจทรงตัวอย่างไร

    ถ้าเบื่อโลกจริงๆ เป็นนิพพิทาญาน อารมณ์จะแจ่มใจ เบา เพราะเบื่อในวัฏฏะ เท่ากับจิตปล่อยขันธ์ห้าได้ (ละสังโยชน์3ข้อแรก หรือห้า หรือสิบ)
    --------------------------
    ผู้ที่จิตเป็นสุข(ที่ไม่ใช่สุขเวทนา) สุขจากสงบจากกิเลส จะไม่มีอาการสับสน

    ที่คุณกล่าวมานั้น ล้วนแต่เป็น นิวรณ์ห้า หากจะแก้ไขก็ต้องด้วย ทาน ศีล ภาวนา (ศีล สมาธิ ปัญญา) เมื่อสร้างเหตุแห่งกุศลหรือความสงบมากพอ (พอตามหลักธรรม ไม่ใช่พอตามความคิด) จิตจะเป็นสุขเอง แต่ธรรมชาติจิตปุถุชนกลับกลอก มักจะไหลไปสู่ความเศร้าหมอง ก็สุดแล้วแต่ความอุตสาหะของผู้ปฏิบัติธรรมว่า จริงแค่ไหน ทำจริงก็ได้ของจริง
    -------------------------
    ขอให้โชคดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...