สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
     
     
    คำถามทั่วไป( ถามบ่อย )


    คำตอบ
    คำถามทั่วไป

    วัดนี้ (วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) เป็นวัดเดียวกันกับ วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หรือไม่ ?
    ตอบ  วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นคนละสำนักปฏิบัติธรรม - คนละคณะบริหาร - คนละนโยบายวัตถุประสงค์ - คนละกิจกรรม กับ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี




    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสาขาของวัดพระธรรมกาย หรือไม่ ?
    ตอบ  กรุณาอ่านคำตอบข้อแรก


    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสายเดียวกับวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หรือไม่ ?
    ตอบ  หลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นศิษย์ของพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)  รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    พระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) นั้นท่านเป็นศิษย์โดยตรง และสืบทอดวิชชาธรรมกายทั้งหมด จากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)*

    ส่วนเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ปัจจุบัน ก็เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ของหลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล  และท่านยังเป็นรองประธานสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย แห่งนี้ด้วย

    -------------------------------------------------------------

    * ข้อความบางส่วนจาก "ตอบปัญหาธรรม"  ทำไมจึงก่อตั้งสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย

    "นับว่าหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร [วีระ คณุตฺตโม]  เป็นศูนย์รวมหรือคลังแห่งวิชชาธรรมกาย ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรง  และยังเป็นที่รวมวิชชาธรรมกายชั้นสูง ที่ศิษย์ในพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่เป็นพระเถระรุ่นพี่  ได้จดทำบันทึกไว้ ก็ยังได้มารวมตกแก่หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร [วีระ คณุตฺตโม]  องค์ปัจจุบันนี้อีกด้วย  จึงเห็นว่าวิชชาธรรมกายทุกระดับทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง  ควรจะต้องมีการรวบรวมขึ้นเป็นหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญต่อไป   เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังจะได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไปอย่างถูกทางและสมบูรณ์   ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ถ่ายทอดไว้" 
    (วิชชาธรรมกายทุกระดับทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง  ได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม ชื่อหนังสือว่า "มรรคผลพิสดาร" เล่ม 1-2-3 จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย  ไม่มีวางจำหน่าย  แต่ทางวัดหลวงพ่อสดฯ จะพิจารณามอบให้โดยไม่คิดมูลค่า เฉพาะแก่ศิษย์ผู้ที่ปฏิบัติได้เข้าถึงแล้ว)

    เนื่องจาก มีท่านผู้สอนวิชชาธรรมกายหลายท่าน เช่น ที่ราชบุรี มีสำนักสวนแก้วที่แม่ชีหวานใจเป็นผู้สอน,  ที่วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี, อ.การุณย์ บุญมานุช จ.จันทบุรี, วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ.   ดังนั้นหากต้องการฝึกฝน จะพิจารณาอย่างไรว่าควรฝึกในที่ใด ?
    ตอบ  หลักเกณฑ์พิจารณาเลือกสำนักปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย ก็คงมีหลักใหญ่ๆ อยู่ 2-3 อย่าง เช่น
    พิจารณาดูปฏิปทา ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ โดยทั่วไป ของ อาจารย์ผู้สอนนั้นเองว่า ถูกต้อง เหมาะสม บริสุทธิ์ ตามธรรมวินัย เพียงใด  และนำศิษย์ของตนทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ที่เป็นแก่นสารแท้จริงเพียงไร เป็นต้น
    พิจารณาการสอนวิชชาธรรมกาย ของอาจารย์ผู้สอนนั้นว่า ตรงตามหลักคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ เพียงใด และให้ "วิชชา" ความรู้แก่ศิษย์อย่างเต็มที่หรือไม่ เป็นต้น
    ข้อนี้อาจไม่สำคัญเท่าสองข้อแรก คือ เรื่องสัปปายะ ความสะดวกเกื้อกูล ในด้านที่อยู่ที่พัก อาหาร อากาศ ฯลฯ
    สำนักต่างๆ ที่ได้อ้างถึงนั้น ก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเหมือนกันทั้งนั้น ย่อมจะมีหลักการสอนในเบื้องต้นเหมือนๆ กัน ไม่แตกต่างกันมาก    แต่การสอนในระดับเบื้องกลางและเบื้องสูง อาจารย์แต่ละท่านก็อาจจะมีวิธีการสอน รายละเอียด และความแม่นยำ แตกต่างกันไป ตามภูมิธรรม ภูมิปัญญา และอุปนิสัย ของท่านเอง

    อาจจะลองไปปฏิบัติที่สำนักใกล้บ้านก่อนก็ได้   ถ้ายังไม่รู้ว่าจะไปที่ใดดี ก็ลองมาฝึกปฏิบัติที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามดู แต่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง (และไม่เคร่งเครียด) จึงจะได้ผลจริง



    การเข้ารับการอบรม/ปฏิบัติธรรม

    ในวันอุโบสถ สามารถไปอยู่ปฏิบัติธรรมและพักที่วัดได้หรือไม่ ?
    ตอบ   ในวันอุโบสถ  สามารถไปปฏิบัติธรรมและพักที่วัดได้ 1 คืน
    ถ้าประสงค์จะไปพักและปฏิบัติธรรมที่วัดในช่วงระยะ 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ? และจะต้องขออนุญาตอย่างไร ?  ขอทราบรายละเอียดด้วย
    ตอบ  การพักและปฏิบัติธรรมที่วัดในช่วงระยะ 3 วัน  5 วัน  7 วัน ในขณะนี้ทางวัดยังไม่สะดวกที่จะรับ เพราะไม่มีผู้ดูแลเพียงพอ (ยกเว้นในช่วงอบรมพระกัมมัฏฐาน หรือมาอบรมเป็นหมู่คณะ)  
    การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี และปลายปี  ฆราวาสจะมาเข้ารับการอบรมด้วยได้หรือไม่ ?  ในรูปเห็นมีแต่พระภิกษุเต็มไปหมด ?
    ตอบ  ได้  และขออนุโมทนาด้วยอย่างยิ่ง 
    ในการอบรมพระกัมมัฏฐานประจำปี  ฆราวาสจะมาเข้าอบรมในช่วงสั้นๆ เช่น 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ?
    ตอบ  ช่วงการอบรมพระกรรมฐาน มาอยู่ปฏิบัติธรรมสั้นๆ เช่น 3 วันได้  หรือกี่วันก็ได้ แล้วแต่สะดวก (การมาและกลับควรแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย) เพียงแต่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ครบตามจำนวนเวลาที่กำหนดก็จะไม่ได้รับวุฒิบัตรเท่านั้น 
    มาอบรมที่วัดหลวงพ่อสดฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ ?
    ตอบ  ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ   หากประสงค์ทำบุญในส่วนต่างๆ ตามกำลัง  ทางวัดก็ขออนุโมทนา
    การมาเข้ารับการอบรม ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง ?
    ตอบ  เสื้อผ้าชุดขาว, เครื่องใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น  (ที่นอน หมอน มุ้ง และกลด ไม่ต้องนำมา)  และยาประจำตัว 
    การบรรพชาอุปสมบท

    การติดต่อเพื่อขอบวชที่วัดนี้  ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
    ตอบ  มาวัดฯ ติดต่อพระเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น ฯลฯ  และรับใบสมัคร, ใบท่องขานนาค (คำขอบวช), และระเบียบต่างๆ ของวัด แล้วกำหนดวันที่จะมาพร้อมกับบิดามารดา เพื่อกราบพระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล หลวงพ่อเจ้าอาวาส และพักอยู่ที่วัดเพื่อเตรียมตัวบวช
    โทรศัพท์มาติดต่อสอบถามกับพระเจ้าหน้าที่รับสมัคร/พระพี่เลี้ยงก่อนได้

    พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน  โทร. 089-980-9755
    พระมหาชินวิชญ์ จารุธมฺโม  โทร. 089-913-5594
    พระมหาวิศรุต หํสปุตฺโต  โทร. 081-199-9952
    พระมหาอนันต์ ถิรชโย  โทร. 081-777-3375




    เดินทางมาที่วัดได้อย่างไร ?
    ตอบ
    รถโดยสารปรับอากาศ สาย ปอ.78  ขึ้นรถที่ขนส่งสายใต้
    รถรับ-ส่ง (ฟรี) ที่ปากทางเข้าวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) ทุกวันอาทิตย์ และวันที่วัดมีกิจกรรม
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    [​IMG]


    จะ 5 ทุ่มแล้ว หลวงป๋าของเรายังเมตตา อ่านพระไตรปิฎกให้ฟัง
    พระคุณของท่าน มิอาจหาใดเปรียบได้
    ศิษย์ขอกราบแทบบาท ด้วยความเคารพยิ่ง
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    
    อะไรเป็นเหตุให้พุทธสาวกสำเร็จธรรมด้วยข้อธรรมะที่แตกต่างกัน ?
    -------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    จะขอตอบในประเด็นที่บรรลุธรรมเร็วช้าต่างกัน เนื่องด้วยบำเพ็ญบารมีมาต่างกัน เสียก่อน

    บางท่านอธิษฐานบารมีเป็นปกติสาวก ก็บำเพ็ญบารมีเต็มเร็ว และการบำเพ็ญบารมีไม่ต้องยิ่งใหญ่ จึงเต็มเร็วและบรรลุได้

    ผู้ที่บำเพ็ญบารมีสูง ผลของการบรรลุก็ต่างกัน และอัธยาศัยของสัตว์โลกที่สั่งสมมาก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นวิธีการบำเพ็ญบารมีก็ไม่เหมือนกัน บางคนบำเพ็ญด้วยศรัทธามาก บางคนบำเพ็ญด้วยวิริยะมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสติมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสมาธิมาก บางคนบำเพ็ญด้วยปัญญา คืออินทรีย์ความเป็นใหญ่ในการบำเพ็ญบารมีไม่เท่ากัน เหตุแห่งการพิจารณาสภาวธรรมและบรรลุในข้อธรรมต่างๆ กัน จึงเป็นไปด้วยอินทรีย์ไม่เหมือนกัน เช่นบางคนรักสวยรักงาม การบำเพ็ญบารมีเป็นไปด้วยศรัทธาจริต อย่างนี้ถ้าได้พบพระพุทธเจ้า กัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ที่รู้อัธยาศัย รู้อินทรีย์ว่าแก่กล้าด้านไหน ? ก็จะสามารถชี้แนะในจุดนั้นที่เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีต ยกตัวอย่างเช่น มีลูกศิษย์พระสารีบุตร อยู่ในสำนักของพระสารีบุตร เป็นผู้รักสวยรักงาม พระสารีบุตรเห็นว่ารักสวยรักงามจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน ทำอย่างไรก็ไม่บรรลุ จึงพาลูกศิษย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของคนๆ นี้ เดิมเป็นช่างทอง ชอบทำดอกบัวสวยๆ พระพุทธเจ้าเลยให้ดอกบัวเป็นนิมิต ให้พิจารณากัมมัฏฐานคือดอกบัวว่าสวยขึ้นมาอย่างนี้ และพระพุทธเจ้าได้โอภาสแสงสว่างไปด้วยพระฤทธิ์ให้ดอกบัวมันสวย ช่างทองถูกใจมาก ใจจดจ่อจนใจเป็นสมาธิแน่วแน่มั่นคง และใจหยุดนิ่ง พอใจหยุดพอเหมาะ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นด้วยพระฤทธิ์ว่า ดอกบัวเหี่ยว ค่อยๆ เหี่ยวแห้งไป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บรรลุเลย นี่ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ แปลว่าทรงมีอาสยานุสยญาณ และอินทริยปโรปริยัติญาณ ซึ่งเป็นญาณสำคัญของพระพุทธเจ้าเพื่อใช้ในการโปรดสัตว์

    พระพุทธเจ้ามีพระญาณทั้ง 2 ซึ่งบำเพ็ญมานาน อินทริยปโรปริยัติญาณ คือญาณหยั่งรู้อินทรีย์ของสัตว์ว่า สัตว์บำเพ็ญมาแก่กล้ามาทางไหน ทางศรัทธา ทางวิริยะ ทางสติ ทางสมาธิ หรือทางปัญญา ซึ่งอินทรีย์นั้นจะแก่กล้าเป็นพละ จึงชื่อว่า อินทรีย์ 5 พละ 5 ซึ่งจะมีผลให้ข้อธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น เป็นโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ เจริญให้สามารถตรัสรู้พระอริยสัจ 4 เป็นพระอรหันตขีณาสพได้

    และทรงมีอาสยานุสยญาณ รู้อัธยาศัยของสัตว์ว่าบำเพ็ญมาอย่างไร พระองค์จะให้ข้อธรรมที่ถูกทั้งอินทรีย์ที่เคยสร้างสมอบรมมาและอัธยาศัยของบุคคล และครูบาอาจารย์มีสิ่งนี้ก็ช่วยได้บ้างครับ
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
  5. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    หลังจากส่งข้อมูลไปให้พี่สาวท่านนึงเดินทางไปฝึก...
    พี่สาวท่านนี้ ส่งไลน์กลับมาขอบอกขอบใจเป็นการใหญ่ครับ...
    การเดินทางไปวัดก็สะดวก หาง่าย...ห้องปฏิบัติธรรมก็ติดแอร์ ..
    ตอนเย็นมีน้ำเต้าหู้เป็นน้ำปานะ บริการตนเอง แบบไม่ต้องเกรงใจ..
    พี่ท่านชอบมากๆ...ฝากขอบคุณท่านดาบหักมาด้วยครับ ที่แนะนำสถานที่ฝึกวิชชาธรรมกายให้...
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    ถาม---การกำหนดจุดกึ่งกลางของลูกแก้ว หรือลูกกลมสีขาว ถ้ากำหนดแล้ว เห็นเป็นจุดสีดำ หรือ จุดสีขาวมีขอบดำ จะเป็นการขัดต่อหลักของอาโลกกสิณ หรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------


    ตอบ


    ถ้าใครนึกให้เห็นลูกแก้วหรือดวงแก้ว หรือดวงขาวแต่ยังไม่ใส แล้วเห็นจุดกึ่งกลางเป็นสีดำ หรือเห็นจุดสีขาวมีขอบสีดำ นี้ท่านเห็นเจตสิกธรรมคือธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ ของจริงแล้ว ให้เข้าใจไว้ แต่เป็นธรรมชาติของจริงฝ่ายธรรมดำหรือภาคดำ ที่เรียกว่าอกุสลาธัมมา ธาตุธรรมดำนั้น กรณีที่เห็นนี้ เป็นได้ 2 ประการคือ


    ประการที่ 1 คือ เป็น “อวิชชา” เป็นอวิชชานิวรณ์ที่ห่อหุ้ม “ดวงรู้” ของผู้ที่เห็นนั้น ไม่ให้ขยายโตขึ้น

    ที่เรียกว่า “ใจ” นั้นประกอบด้วยดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน ตรงกลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ

    ต้องใช้อุบายกำจัดเสีย คือถ้าเห็นจุดเป็นสีดำ ให้นึกอธิษฐานจิตละลายธาตุธรรมนั้นเสีย เสมือนหนึ่งว่าจุดเล็กใสนั้นถูกห่อหุ้มด้วยควันดำหรือว่าหมอกดำ หรืออะไรสีดำก็แล้วแต่ ที่เราต้องชำระล้างด้วยน้ำใส ล้างด้วยน้ำกรดใส สมมุติอย่างนั้น ให้ปรากฏเห็นใสบริสุทธิ์เหมือนเพชรลูกหรือแก้วเจียรนัยที่ใสบริสุทธิ์ แล้วจึงจรดใจนิ่งลงไปที่กลางของกลางจุดเล็กใสนั้น นิ่งเฉยๆ อธิษฐานให้จุดเล็กใสนั้นขยายออก จะมีจุดเล็กใสขึ้นมาอีก แล้วก็นิ่งไปกลางจุดเล็กใสนั้น ขยายออกแล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้น

    แต่ถ้ายังเห็นสีดำอยู่อีก ให้อธิษฐานละลายธาตุธรรมดำนั้น จนกว่าจะเห็นใสขึ้นมา บางทีบางท่านอาจจะเห็นเหมือนกับมีน้ำชำระล้างดวงนั้นให้ใสขึ้นๆ ก็มี หรืออาจจะนึกเห็นจุดเล็กใสที่เห็นอยู่ลึกลงไปกว่านั้น แล้วให้กำหนดใจไปหยุดที่จุดเล็กใสนั้นขยายศูนย์กลางที่ใสออก มลทินคือความดำนั้นก็จะหายไป

    เรื่องนี้สำคัญมาก คุณหมอและทุกท่าน จงจำไว้เชียว ที่เห็นเป็นสีดำนั้นน่ะคือธรรมชาติฝ่ายธาตุธรรมดำ เรียกว่า “อกุสลาธัมมา” อันได้แก่ อวิชชา กิเลส ตัณหา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นเป็นสีดำๆ ไม่ดำสนิทนัก หุ้ม “ดวงเห็น” เป็นปฏิฆานุสัย และที่หุ้ม “ดวงคิด” หรือจิตนั้นเป็นกามราคานุสัย และส่วน “อวิชชานิวรณ์” อันเกิด แต่อวิชชานุสัย ที่หุ้ม “ดวงรู้” อยู่ ไม่ให้ขยายโตเต็มธาตุเต็มธรรมได้ ก็เพราะเจตสิกธรรมคือ ธรรมชาติฝ่ายธรรมดำนี้แหละที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ เป็นของจริงนะ ไม่ใช่ของปลอม เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ” ทีเดียว

    ประการที่ 2 ทีนี้ คุณหมอเป็นนายแพทย์ต้องรู้ต่อไปอีก นี้นอกวิชาหมอละ ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน ก็ให้พึงรู้เถอะว่านั่นเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบกำจัดเสียอีกเช่นกัน แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมต้องรีบแก้ไข กำจัดดวงดำนั้นโดยพลัน ถ้าว่ายังไม่ใสก็ต้องเพียรกำจัดให้ใสทีเดียว ถ้ายังไม่ใสก็ไม่หยุดละ ต้องทำให้ใสให้ได้ เพราะเป็นตัว “ทุกขสัจจะ” กล่าวคือ

    ที่เห็นเป็นสีดำๆ แต่ไม่ดำสนิทนัก หุ้มเห็น-จำ-คิด-รู้ อยู่ นั้นคือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ”
    แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน นั้นเป็น “ดวงเจ็บ” คือมีหรือกำลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบแก้ไขให้ผ่องใสเสีย
    ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมเหมือนสีนิลละก็ นั่นเป็น “ดวงตาย” ถ้าดวงตายมาจรดนานซักระยะหนึ่ง ให้ดวงธรรมของมนุษย์ขาดจากของกายทิพย์แล้ว คนนั้นจะตายทันที นี่คือ “ทุกขสัจจะ” ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามที่รู้เห็นกันในวิชชาธรรมกาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นแหละตัวทุกขสัจจะเลยทีเดียว



    เรื่องนี้สำคัญนัก ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเจริญภาวนาแก้โรคภัยไข้เจ็บ ก็แก้ที่ธาตุละเอียดของธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม ของผู้ป่วยนั่นเอง

    วิธีแรก ท่านสอนให้ผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายและเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ให้น้อมนำเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยมาเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง พิสดารกายผ่านศูนย์กลางธาตุธรรมของผู้นั้น เพื่อชำระธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากธาตุธรรมของภาคดำที่เขาสอดละเอียด “ดวงเจ็บ” และ/หรือ “ดวงตาย” อันเป็นวิบากคือผลของอกุศลกรรม ได้แก่ การทำปาณาติปาตแต่อดีตนั้นแหละเข้ามาในธาตุธรรมของคนไข้ให้เจ็บไข้ เมื่อชำระธาตุธรรมของคนไข้นั้นให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ โรคก็หาย ถ้าทำได้บริสุทธิ์บางส่วน เพราะเป็นกรรมหนัก ก็ผ่อนหนักเป็นเบา คือได้ผลเพียงแต่บรรเทาหรือชั่วคราว

    แต่ผู้ทำวิชชาแก้โรคผู้อื่นนี่ก็มีอัตราเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่งเหมือนกัน คือถ้าว่าชำระธาตุธรรมของเขาแล้ว ตัวเองไม่ชำระธาตุธรรมของตนเองให้บริสุทธิ์สุดละเอียดแล้ว มีโอกาสติดโรคนั้นด้วย เพราะฉะนั้นอาตมาจะไม่แนะนำให้ใครไปแก้โรคถ้ายังไม่ได้วิชชาชั้นสูง

    มีอีกวิธีหนึ่ง ที่เขาทำวิชชาแก้โรค แทนที่จะเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยนั้นมาที่ศูนย์กลางตน กลับอธิษฐานตั้งเครื่องธาตุธรรมจากตนไปสู่คนป่วย แล้วให้เครื่องธาตุธรรมนั้นเดินวิชชาให้ใส ในธาตุธรรมของผู้นั้น ถ้าทำได้หมดจดก็เป็นอันโรคหาย ถ้าทำได้เท่าไหร่ก็ได้ผลเท่านั้น

    เรื่องธาตุละเอียดของสัตว์โลกนี้ จะเล่ารายละเอียดให้ฟังพอเข้าใจว่า ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือนั้นเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 คือธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร กลางรูปขันธ์จะมีธาตุละเอียดของ “นามขันธ์ 4” คือธาตุละเอียดของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กลางของกลางของกันและกันเข้าไปข้างใน

    เฉพาะแต่ธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงกาย“ ที่เรานั่งเจริญภาวนา เมื่อใจหยุดนิ่งแล้วเห็นเป็นดวงใสนั่นแหละ ดวงกายดวงนั้นขยายส่วนหยาบมาจากรูปขันธ์ และภายในดวงกายนั้นยังมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นศูนย์เล็กๆ 4 ศูนย์ ลอยอยู่ในดวงธรรมนั้น ธาตุละเอียดของธาตุน้ำอยู่ส่วนหน้า ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ตรงกลางอากาศธาตุ กลางอากาศธาตุมีวิญญาณธาตุ

    วิญญาณธาตุนั้นซ้อนอยู่กลางของกลางที่สุดของนามขันธ์ 4 ซึ่งขยายส่วนหยาบ ออกมาเป็น เห็น จำ คิด รู้ รวมเรียกว่า “ใจ”

    แต่เฉพาะที่ว่า ธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม นั้น ทำหน้าที่ควบคุมของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิ และลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แต่ละธาตุต่างทำหน้าที่คนละอย่าง ส่วนอากาศธาตุทำหน้าที่ควบคุมช่องว่างภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ ธาตุทั้งหมดนั่นแหละที่เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นธาตุหยาบ คือ กายเนื้อนี่แหละ ที่โบราณท่านว่าธาตุแตกน่ะ หมายเอาธาตุละเอียด ณ ภายใน แตกคือคุมกันไม่ติด แล้วธาตุข้างนอกจึงแตกคือตาย เพราะ “ทุกขสัจจะ” อยู่ข้างใน เมื่อดวงตายมาจรดตรงกลางหัวต่อ คือระหว่างดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ให้ขาดจากดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์เมื่อไหร่แล้วเป็นอันได้เรื่องเลย

    การแก้โรค โดยวิธีวิชชาธรรมกาย มีหลักการอยู่ว่า ธาตุที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของขันธ์ 5 นี้แหละ ถ้าเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของผู้ใดที่ส่งใจออกไปข้างนอก ไปยึดไปเกาะอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส ทางกายภายนอก เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เป็นช่องทางให้กิเลส มีโลภะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือตัณหาเข้าครอบงำจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว กิเลสนี้แหละจะเอิบ อาบ ซึมซาบปนเป็นและสะสมตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในธาตุละเอียดของกายโลกิยะทั้งหมด ทำให้ธาตุละเอียดฝ่ายรูปขันธ์อันมีธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศไม่สะอาดคือ เศร้าหมอง ฝ่ายนามขันธ์ จิตใจก็จะถูกสะสมด้วยกิเลส เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย ตกตะกอน นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน เรื่องที่พูดนี่เพียงส่วนเดียว ส่วนละเอียดมีกว่านี้

    ส่วนมหาภูตรูป 4 และอากาศธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรม 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบาป อกุศล เรียกว่า อกุสลาธัมมา ฝ่ายบุญกุศล เรียกว่า กุสลาธัมมา หรือฝ่ายกลางๆ เรียกว่า อัพยากตาธัมมา เมื่อกี้ได้กล่าวฝ่ายบาปอกุศลว่าเป็นธาตุธรรมภาคดำหรือฝ่ายชั่ว เมื่อปล่อยให้กิเลสดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว ธาตุละเอียดเหล่านั้นจะเศร้าหมอง ไม่สะอาด เพราะถูกเอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็นด้วยธาตุธรรมภาคดำ เมื่อธาตุละเอียดไม่สะอาด ความปรุงแต่งแห่งธาตุละเอียดให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อนี้ก็จะพลอยได้รับผล ชื่อว่า “วิบาก” ให้เป็นไปตามกรรมนั้นๆ 2 ประการคือ กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำเหตุหนุนให้ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ หนักยิ่งขึ้นไปอีก เช่นว่า คนที่มักฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จิตใจก็จะเหี้ยมโหด ทารุณ เพราะกิเลสก็จะสะสมตกตะกอนนอนเนื่องเป็นอาสวะและก็อนุสัย มีปฏิฆานุสัยเป็นต้น หนาแน่นยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นี้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ทางฝ่ายธาตุที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นน้ำ เป็นของหยาบแข็ง เป็นอุณหภูมิ และเป็นลมปราณ ที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายและช่องว่างในร่างกายวิปริต แปรปรวน จึงมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และถ้าว่ากรรมนั้นหนักถึงเป็นอุปฆาตกรรม ก็อายุสั้น อาจจะด้วยอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติต่างๆ ตามเวรตามกรรม ของกรรมชั่วนั้น สัตว์หรือบุคคลที่ตนไปทำร้าย เบียดเบียนชีวิตของเขา ก็จะผูกเวรด้วยความเจ็บแค้น ให้เป็นเวรจากกรรมชั่วนั้นกลับมาสนองตอบตน

    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงสอนวิธีเจริญวิชชาธรรมกายแก้โรคด้วยการพิสดารกายตนเอง ชำระธาตุธรรมตนเองให้ใสเสียก่อน แล้วก็ซ้อนธาตุธรรมของคนไข้ให้ผ่องใสได้ แต่นี้เป็นวิธีการแก้โรคเพียงเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูงต่อไปยังมีอีก เพราะมีเหตุในเหตุไป ถึงต้นๆ เหตุ ที่จะต้องเก็บหรือชำระสะสางธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่านี้ ซึ่งอาตมาจะยังไม่กล่าว ณ ที่นี้

    นี่แหละคือความวิเศษสุดของวิชชาธรรมกาย ที่ให้เข้าไปรู้ไปเห็นทั้ง “ทุกขสัจจะ” และ “สมุทัยสัจจะ” ที่เห็นดำๆ นั้นแหละ จึงให้ชำระเสียโดยพลัน ด้วยว่าเมื่อใครก็ตาม แม้ถึงธรรมกายแล้ว อาจจะเห็นธาตุธรรมปรากฏเป็นสีดำ เป็นสีเศร้าหมองหรือขุ่นมัวก็ให้พึงนึกเข้าไป หยุดนิ่งกลางของกลางจุดเล็กใส ในธาตุธรรมที่ใสละเอียดที่สุด ณ ภายใน ขยายออกแล้วพิสดาร หรือถ้าเห็นเป็นดวงก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ดวงในดวงให้ปรากฏ ใสสว่างขึ้นมา คือหมายความว่าหยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใส ถูกส่วนเข้าศูนย์กลางจะขยายออก ปรากฏดวงที่ใสใหม่ เราก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใสใหม่ กลางของกลางๆๆ เรื่อยไป จนใสแจ่มสุดละเอียด แล้วกายในกาย ณ ภายใน เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดที่ผ่องใส ก็จะปรากฏขึ้นต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายที่ผ่องใสสว่างมีรัศมีปรากฏยิ่งๆ ขึ้นไป เราก็ทับทวี ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายในกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายและองค์ฌาน เป็นอันสบายใจได้ จิตใจก็จะผ่องใส เพราะทั้งมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดำ-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ และเห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 ก็จะผ่องใส ได้สบายทั้งใจ และก็สบายทั้งกาย

    นี้คือความวิเศษของวิชชาธรรมกาย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติภาวนาที่เป็นตัวสติปัฏฐาน 4 แท้ๆ เพราะจุดมุ่งหมายของสติปัฏฐาน 4 คือ ให้มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

    ที่ให้เห็นธรรมในธรรมนั้นน่ะ ที่เห็นธาตุธรรมภาคดำ (อกุสลาธัมมา) จงทำให้มันขาว ให้มันผ่องใสจนกระทั่งใสละเอียด มีรัศมีปรากฏถึงกายธรรมเป็นฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) นี้เป็น ตัววัตถุประสงค์สำคัญของสติปัฏฐาน 4 ที่มุ่งให้ปฏิบัติภาวนาเพื่อให้ละหรือกำจัดธรรมดำ เพื่อยังธรรมขาวให้เจริญพิจารณาไปทั้งหมด กาย เวทนา จิต ธรรมนั้นแหละ เพื่อละกิเลสเหตุแห่งทุกข์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของเราก็ให้รู้ว่ามีกิเลสเกิดขึ้น นั่นคือให้มีสติพิจารณาเห็นจิตในจิต และก็เห็นธรรมในธรรม คือธรรมฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) เห็นแล้วไม่ใช่ให้เห็นเฉยๆ ต้องให้ชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียด ให้บริสุทธิ์ผ่องใสทั้งกายและใจ นี้เป็นตัววัตถุประสงค์เพื่อละธรรมดำและเพื่อยังธรรมขาวให้เจริญ ธรรมปฏิบัตินี้จึงเป็นความดีวิเศษอย่างนี้ เพราะฉะนั้นที่คุณหมอเห็นเป็นประสบการณ์จากธรรมชาติที่เป็นจริง พึงชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ทุกเมื่อ มีคุณหมอหลายคนนะที่เป็นธรรมกายน่ะ ช่วยคนไข้ได้มากทีเดียว ที่รักษาตามวิชาแพทย์ก็ทำไป ที่ช่วยแก้ไขด้วยวิชชาธรรมกายก็ทำประกอบกันไป

    และต้องไม่ลืมว่า ต้องให้คนไข้นั้นแหละเจริญภาวนาตามแบบวิชชาธรรมกายนี้ช่วยตนเอง จะได้ผลมาก ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นผู้คนก็จะคอยแต่ขอให้ช่วยฝ่ายเดียว ไม่รู้จักปฏิบัติภาวนาช่วยตัวเอง และเห็นมามากต่อมากว่า ถึงวิชชาธรรมกายจะช่วยเขาได้โสดหนึ่ง แต่เมื่อเขาหายแล้ว ก็จะไม่เห็นคุณค่าของธรรม จะสังเกตได้ว่า ถ้าไม่ใช่ผู้เห็นคุณค่าของธรรมและสนใจปฏิบัติภาวนาธรรมอยู่แล้ว มากต่อมากจะไม่สนใจมาเข้ารับการศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมเพื่อช่วยตนเองเลย เรียกว่า ไม่เดือดร้อนก็ไม่เข้าหาพระ ไม่เห็นโลงก็ยังไม่หลั่งน้ำตา เพราะเอาแต่ประมาท หลงมัวเมาในกามสุข กล่าวคือในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย หลงในลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ และโลกิยสุข หาแก่นสารสาระ มิได้ เอาเป็นที่พึ่งที่แท้ถาวรก็ไม่ได้ หลงรับใช้มารจนลืมความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ และลืมความตายที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตนอยู่ทุกขณะ โดยที่แม้กระทั่งจะตายก็ยังไม่รู้จัก ไม่ใฝ่หาที่พึ่งอันประเสริฐแท้ๆ แก่ตนเอง น่าสงสารแท้ๆ
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    "ดวงศีล"
    โดย : หลวงป๋า
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี




    เคยมีผู้สงสัยว่า ...
    ศีลของพระภิกษุ มีตั้ง 227 ข้อ จะรักษาได้อย่างไรไหว ?
    คำตอบก็คือว่า ...
    เมื่อผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม เพียรรักษาศีล
    และ "เจริญภาวนา" ประกอบกันไปด้วย
    จนถึง "ดวงศีล" หรือ "อธิศีล" นี้แล้ว
    รักษาแต่ดวงกลมใส นั้นไว้เรื่อยๆ
    โดยเอาใจจรดอยู่ ณ "ศูนย์กลางดวงศีล"
    ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น ให้ชำนาญในทุกอริยาบถ
    ให้ "เห็น" อยู่เสมอ
    คือ นั่งก็ให้เห็น "ใส" อยู่เสมอ
    จะยืน จะเดิน จะนอน ก็ให้เห็น "ใส" อยู่เสมอ
    ไม่ให้หายไปไหน ก็เป็นอันคุมได้หมด
    ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า ...
    มโนปุพฺพํ คมาธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยา
    ซึ่งแปลความว่า ...
    ธรรมทั้งหลาย มีใจถึงก่อน มีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจ
    กล่าวคือ ...
    ถ้าใจชั่ว จะคิดก็คิดชั่ว จะพูดจะทำอะไร ก็พูดแต่เรื่องชั่ว ทำแต่กรรมที่ชั่ว
    ถ้าใจดีสะอาดบริสุทธิ์แล้ว จะคิดก็คิดแต่เรื่องที่ดี ที่เป็นกุศล จะพูดจะทำสิ่งใด ก็ย่อมพูดแต่คำที่ดี กระทำแต่กรรมที่ดี ที่เป็นบุญกุศลเป็นธรรมดา
    เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเข้าถึง "ดวงศีล"
    คือ "อธิศีล" แท้ๆนี้ ละเอียดประณึตยิ่งๆขึ้นไป
    จนถึง อธิศีลของกายทิพย์
    กายพรหม
    กายอรูปพรหม
    และสูงยิ่งๆขึ้นไปจนถึง ...
    อธิศีลของกายธรรม ต่อๆไปจนสุดละเอียดเช่นนี้แล้ว
    "ศีล" ของตนจะบริสุทธิ์ หรือมัวหมองอย่างไร
    กาย วาจา และใจของตน จะสะอาดบริสุทธิ์เพียงไหน
    ก็จะสามารถ "รู้เห็น" ได้เอง
    จากการพิจารณา "เห็น"
    ความบริสุทธิ์หรือความมัวหมองแห่ง "ดวงศีล"
    ด้วยตัวเอง ... ตามที่เป็นจริง



    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    ถ้าปกติ เรามองเห็นชีวิตต่างๆเป็นเหมือนหุ่น เดี๋ยวกุศลธรรมสีขาวปรุงแต่งจิตลใจ เดี๋ยวอกุศลธรรมสีเทา สีดำปรุงแต่งจิตใจ เราจะเห็นความไร้สาระในวัฏฏะสงสารได้มากขึ้น จะเห็นใจ อภัย และเมตตาต่อชีวิตอื่ืนได้มากขึ้นโดยธรรมชาติเป็นปกตินิสัยได้ง่ายขึ้น.... ไร้สาระจริงๆที่จะผูกมัดสิ่งไม่ดีต่อตนและชีวิตอื่นๆเอาไว้เป็นเชื้อนำมาเกิดอีก



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    [​IMG]



    อมตวัชรวจีหลวงป๋า

    " กิจที่อาตมาทำคือกิจชำระกิเลส "

    ถ้าเราเป็นพระอรหันต์แล้ว เราจะสอนอย่างไร ก็สอนไปเถ้อะ #ถ้ายังไม่เป็นอรหันต์ #อย่าเพิ่งมั่นใจในการรู้-#เห็น #ว่าเป็นอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์

    ในข้อที่ว่า ถ้าเรายังไม่แจ่มแจ้งถึงที่สุดในเรื่องนั้น ก็อย่าเพิ่งวางใจนั้น อาตมาเองนี่นะจะบอกโยม #ไม่ว่าจะรู้อะไร #เห็นอะไร โดยเฉพาะเรื่องการรู้-เห็นน่ะ อาตมาไม่เคยเอามาเล่ากันว่า เป็นอย่างนั้น อย่างนี้แน่ ร้อยเปอร์เซ็นต์นะ ไม่มีเพราะอะไร? เพราะเรายังไม่ใช่พระอรหันต์ ญาณทัสสนะยังไม่บริสุทธิ์พอ เห็นจึงสักแต่เห็น รู้จึงสักแต่รู้ เอามาเพียงเป็นเครื่องพิจารณาสภาวธรรม ให้จำไว้ ให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น ให้เป็นศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา ธรรมโคตรภู โสดา พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหัต ไปถึง ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า #เดินทางนี้ไว้ไม่ลอกแลกวอกแวกโวเว ไม่ไปดูโน่นดูนี่โดยไม่จำเป็น แต่ว่ามันต้องรู้ ต้องเห็น #ดูนรก #สวรรค์ #ดูครั้งเดียวก็รู้แล้ว #ไปดูอะไรบ่อยๆ ก็รู้อยู่แล้ว

    เพราะฉะนั้น...
    #กิจที่อาตมาทำ
    #คือกิจชำระกิเลส

    เพราะฉะนั้น วัดนี้จึงไม่ให้ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายพยากรณ์ยังไงล่ะ ไม่ต้องพยากรณ์ ให้เห็นสักแต่เห็น รู้สักแต่รู้ เป็นสักแต่เป็น นี่คือจุดยืน ของผู้ปฏิบัติที่วัดเรา
    ..............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    การปฏิบัติธรรม อย่าคิดว่าเป็นของทำได้ง่าย

    ต้องมีปณิธานมั่นคงและทำจริง ธรรมจะไม่ปรากฏแก่บุคคล

    เพียงแต่ใช้คำพูด เพียงคิดนึก
    -------------------------------------




    วิธีเดินสมาบัติในวิชชาธรรมกายอาจทำได้สองวิธี


    วิธีแรกเป็นวิธีสำหรับผู้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อได้ปฐมฌาน

    แล้ว ก็อธิษฐานจิตให้ได้ฌานที่ละเอียดกว่าขึ้นไป แล้วย้อนลง

    มา



    อีกวิธีหนึ่ง

    เริ่มด้วยการดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือ ปฐมมรรค
    ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ให้เห็นเป็นดวงใส
    แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยฌาน

    ได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลมใส

    เหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน



    แล้วธรรมกายนั่งบนนั้น ดังนี้เรียกว่าธรรมกายเข้าปฐมฌาน ล้วเอาตาธรรมกายที่

    นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ ให้เห็นเป็น

    ดวงใส แล้วขยายส่วนให้เท่ากัน นี่เป็นทุติยฌาน เอา

    ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ได้จากศูนย์กลางกายรูปพรหม และ

    อรูปพรหม จะได้ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ แล้วเอา

    ธรรมกายเข้าฌาน คือ นั่งอยู่บนฌานนั้น เหล่านี้เป็นรูปฌาน

    ต่อจากนี้ไป ให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่าง หรือ ตรงกลาง

    ของปฐมฌาน จะเห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่ง

    บนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนฌานดัง

    นี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของ ทุติยฌาน

    อากาสานัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิด วิญญาณัญจา

    ยตนฌาน ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ใจ

    ธรรมกายน้อมไปในรู้ละเอียด ในเหตุ ว่างของ ตติยฌาน วิญ

    ญาณัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนฌาน

    ธรรมกายนิ่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อม

    ไปใน รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌาน อา

    กิญจัญญายตฌานก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตน

    ฌานขึ้นมาแทน ขณะนี้ จะมีฌานรู้สึกว่าละเอียดจริง ประณีต

    จริง เอา ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    นั้น ถ้าเข้าฌานตั้งแต่ 1 ถึง 8 เรียกว่า อนุโลม การเดิน

    ฌานในวิชชาธรรมกาย กระทำได้ง่ายกว่าที่เข้าใจกันโดยทั่ว

    ไปมากนัก



    อันที่จริงนั้น เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ย่อม

    ถือได้ว่า ได้เห็นอริยสัจ 4 ด้วย


    แต่ในด้านการปฏิบัติ เราจะต้องเดินฌานแทงตลอดอริยสัจ 4 ทุกระยะ
    มิฉะนั้นแล้ว วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดขึ้น
    ดวงอริยสัจ 4 นี้ ซ้อนอยู่ที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง



    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก

    เท่าไข่แดงของไก่



    -ดวงเกิด มีสีขาวใส

    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า

    ใหญ่ก็แก่มาก

    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด

    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที

    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า

    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์

    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ

    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย

    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที



    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน

    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง

    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย

    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด



    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง

    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด

    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ

    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม

    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา



    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์

    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ

    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง

    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย

    ไปฉะนั้น



    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล

    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด

    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก



    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่

    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์

    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง

    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร

    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด

    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้

    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ



    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน

    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ

    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ

    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน



    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง

    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ

    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น

    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ

    (4x3=12) ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ใน

    การขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่ นิพพิ

    ทาญาณ ที่นั้น ฐานทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการ

    เป็น ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 (โปรดดูปฏิสัมภิทามัคค์ มหา

    วรรคญาณกถา ข้อ 10 ถึงข้อ 29 ) ทำให้สามารถกำหนดรู้

    อนิจจัง และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้ อริยสัจ และ

    พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธ อันคมกล้า

    ประหารสังโยชน์พินาศไปในพริบตา



    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ หรืออริยสัจ 12 นี้
    จะเห็นและกำหนดรู้ได้ ก็โดยการปฏิบัติทางเจโตสมาธิประการหนึ่ง หรือวิชชาธรรมกาย
    ประการหนึ่งเท่านั้น



    (ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12)



    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ที่เคยปฏิบัติสมถะมาก่อน กำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้
    เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิด
    ตามมา
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 มิถุนายน 2015
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    รวมสวดมนต์เสียงพระวัดหลวงพ่อสด

    My Files


    *********************************************








    [​IMG]




    หนังสือ " อริยสัจ 4 " โดยหลวงป๋า  

    ดาวน์โหลดได้ที่
    อริยสัจ 4
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    [​IMG]



    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
     
     



    31 ตุลาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ
    อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา
    อโถ สญฺญา จ สงฺขารา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม
    อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เอวํ หุตฺวา อภาวโต
    เอวํ ธมฺมา อนิจฺจาติ ตาวกาลิกตาทิโต
    เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ
    ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เริ่มต้นแต่ความย่อย่นธรรมเทศนาของ พระบรมศาสดา พระองค์ได้รับสั่งด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ไม่มีเหตุแล้ว ธรรมก็เกิดไม่ได้ นั้นเป็นข้อใหญ่ใจความทางพระพุทธศาสนา ผู้มีปัญญาจะพึงได้สดับในบัดนี้ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงตรัสเหตุ ของธรรมเหล่านั้น และความดับเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้าทรงตรัสอย่างนี้

    นี่เนื้อความของพระบาลีแห่งพุทธภาษิต คลี่ความเป็นสยามภาษา อรรถาธิบายว่า คำว่าเหตุนั้น ในสังคหะแสดงไว้ ฝ่ายชั่วมี 3 ฝ่ายดีมี 3 ดังพระบาลีว่า โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ, อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ มีเหตุ 3 ดังนี้ เพราะท่านแสดงหลักไว้ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้นะ ท่านแสดงหลัก ยกเบญจขันธ์ทั้ง 5 มี อวิชชาเป็นปัจจัย วางหลักไว้ ดังนี้ อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ เวทนา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม เบญจขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดพร้อมแต่ ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชา เป็นต้น เกิดอย่างไรเกิดแต่เหตุ เกิดพร้อมแต่ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชาเป็นต้น ดังในวาระพระบาลีที่ท่านวางเนติแบบแผนไว้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ดังนั้นเป็นต้น อวิชชาความรู้ไม่จริง มันก็กระวนกระวาย นิ่งอยู่ไม่ได้ ความรนหา ความไม่รู้จริงนั่นแหละ มันก็เกิดเป็นสังขารขึ้น รู้ดีรู้ชั่ว รู้ไม่ดีไม่ชั่ว เข้าไปว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ความรู้ เมื่อมีความรู้ขึ้นแล้ว วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป มันก็ไปยึดเอา นามรูปเข้า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะ 6 เข้าประกอบ อายตนะ 6 เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เมื่อมีอายตนะ 6 เข้าแล้วก็รับผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัย ให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความอยากได้ ดิ้นรน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหามีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ อุปาทานมีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก็ยึดถือภพต่อไป กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ เมื่อได้ภพแล้วก็เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี 4 กำเนิด เกิดด้วยอัณฑชะ เกิดจากสังเสทชะ เกิดด้วยชลาพุชะ อุปปาติกะ อัณฑชะ เกิดเป็นฟองไข่ สังเสทชะ เกิด ด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำพวกมนุษย์ อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิดอย่างพวกเทวดา สัตว์นรกนี่ อุปปาติกะนี้ที่เกิดขึ้นได้เช่นนี้ ก็เพราะอวิชชานั่นเอง ไม่ใช่อื่น ถ้าอวิชชาไม่มีแล้ว เกิดไม่ได้ อวิชชานะเป็นเหตุด้วย แล้วเป็นปัจจัยด้วย นี่เราท่านทั้งหลายเป็นหญิง เป็นชาย เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต เกิดมาได้อย่างนี้

    ความเกิดอันนี้แหละเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดแต่อื่น ไม่ว่าสิ่งอันใดทั้งสิ้น ต้องมีเหตุเป็น แดนเกิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุ เกิดไม่ได้ นี่พระองค์ทรงรับรองไว้ตามวาระพระบาลีในเบื้องต้นนั้น

    เมื่อเป็นเหตุเกิดขึ้นเช่นนี้ ท่านวางหลักไว้อีกว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ มีดับ มีเกิด เกิดดับนี่เป็นตัวสำคัญ ไม่ใช่เกิดฝ่ายเดียว มีเกิดแล้วมีดับด้วย ความดับนั้น อวิชชาไม่ดับ สังขารก็ดับไม่ได้ สังขารไม่ดับ วิญญาณก็ดับไม่ได้ วิญญาณไม่ดับ นามรูปก็ดับไม่ได้ นามรูปไม่ดับ อายตนะ 6 ก็ดับไม่ได้ อายตนะ 6 ไม่ดับ ผัสสะก็ดับไม่ได้ ผัสสะไม่ดับ เวทนาก็ดับไม่ได้ เวทนาไม่ดับ ตัณหาก็ดับไม่ได้เหมือนกัน ตัณหาไม่ดับ อุปาทานก็ดับ ไม่ได้ อุปาทานไม่ดับ ภพก็ดับไม่ได้ ภพไม่ดับ ชาติก็ดับไม่ได้ ชาติเป็นตัวสำคัญ ไม่หมด ชาติ หมดภพ นี่เขาต้องดับกันอย่างนี้ เมื่อดับก็ดับเป็นลำดับไปอย่างนี้ ได้วางตำราไว้ว่า อวิชฺชายเตฺว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับไปโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ วิญญาณดับกันเรื่อยไป จนกระทั่งถึงชาติโน่น ดับกันหมด ท่านจึงได้ยกบาลีว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ ย่อมเกิดย่อมดับดังนี้ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิด ดับหมดทั้งสากลโลก เกิดดับเรื่องนี้ พระปัญจวัคคีย์รับว่าได้ฟังพระปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรของพระบรมศาสดา รับรองทีเดียวตามวาระพระบาลีว่า อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ว่า วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ เห็นธรรมอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้มีอายุชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ เห็นอะไร เห็นเกิดดับนั่นเอง ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ถ้าย่นลงไป แล้วก็มีเกิดและดับ นี่ตรงกับ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้ เมื่อเกิดดับดังนี้แล้ว เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาติ ตาวกาลิกตาทิโต รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง เพราะความมีแล้วหามีไม่ รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง เพราะความเป็น เหมือนดังของขอยืม เป็นต้น เหมือนเราท่านทั้งหลายบัดนี้ มีเกิดมีดับเรื่อยไป รูปธรรม นามธรรมที่ได้มานี้ มีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นดังของขอยืมเหมือนกันทุกคน ต้องขอยืม ทั้งนั้น ผู้เทศน์นี่ก็ต้องคืนให้เขา เราๆ ทุกคนก็ต้องคืนทั้งนั้น ขอยืมเขามาใช้ ไม่ใช่ของตัวเลย ความเป็นจริงเป็นอย่างนี้

    เมื่อรู้ความของมันเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านจึงได้รับสั่งในคาถาเป็นลำดับไปว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใด บุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษ ให้ปัญญาจรดลงตรงนี้นะ ว่าสังขารทั้งหลาย ทั้งปวงไม่เที่ยง ถ้าจริง ไม่เที่ยงอยู่แล้วละก็ ยึดด้วยความไม่เที่ยงนั้นไว้ อย่าให้หายไป ตรึก ไว้เรื่อย สังขารทั้งปวงน่ะ ถ้ามันอยากจะโลดโผนละก้อ สังขารของตัว ปุญญาภิสังขาร สังขารที่ เป็นบุญ อปุญญาภิสังขาร สังขารที่เป็นบาป อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว กายสังขาร ลมหายใจเข้าออกปรนปรือกายให้เป็นอยู่ วจีสังขาร ความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขาร ความ รู้สึกอยู่ในใจเป็นจิตสังขาร สังขารทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงจริงๆ แล้วเอาจรดอยู่ที่ ความไม่เที่ยง ตัวก็เป็นสังขารดุจเดียวกัน แบบเดียวกันหมด ปรากฏหมดทั้งสากลโลก ล้วนแต่อาศัยสังขารทั้งนั้น เห็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะเหนื่อยหน่ายในทุกข์ทีเดียว พอเหนื่อยหน่าย ในทุกข์ ก็รักษาความเหนื่อยหน่ายนั้นไว้ไม่ให้หายไป ช่องนั้นแหละ ทางนั้นแหละหมดจด วิเศษ ระงับความทุกข์ได้แท้ๆ

    แล้วคาถาตามลำดับไปรับรองว่า ปุนปฺปุนํ ปิฬิตตฺตา อุปฺปาเทน วเยน จ เต ทุกฺขาว อนิจฺจา เย อตฺถสนฺตตฺตาทิโต สังขตธรรมทั้งหลายเหล่าใดไม่เที่ยง เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยงแล้ว สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นทุกข์แท้ เพราะความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเบียดเบียน อยู่ร่ำไป และเป็นสภาพเร่าร้อน เป็นต้น ไม่เยือกเย็น เป็นสภาพที่เร่าร้อน พระคาถาหลัง รับสมอ้างอีกว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อม เหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ นี่ให้เห็นว่าสังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์ อ้ายสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นแหละเป็นทุกข์แท้ๆ ไม่ใช่เป็นสุข ถ้าว่าเป็นสุขแล้ว มันก็ต้องเที่ยง นี่มันไม่เป็นสุข มันจึงไม่เที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงแล้ว มันเป็นสุขได้อย่างไร มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น

    เมื่อรู้จักชัดเช่นนี้แล้ว วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เต อนตฺตาติ ญายเร สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตรู้ว่าไม่ใช่ตัว ว่าเป็นอนัตตา เพราะ ความเป็นสภาพไม่เป็นไปตามอำนาจเลย อตฺตวิปกฺขภาวโต เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตน สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เป็นสภาพว่างเปล่า เราก็ว่างเปล่า เขาว่างเปล่า ว่างเปล่าหมดทั้งนั้น เอาอะไรมิได้ หาอะไรมิได้เลย ต้นตระกูลเป็นอย่างไร หายไปหมด ว่างเปล่าไปหมด หาแต่ คนเดียวก็ไม่ได้ ว่างเปล่าอย่างนี้ไม่มีเจ้าของ เอ้า! ใครล่ะมาเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ คนไหนเล่า เป็นเจ้าของเบญจขันธ์ เป็นเจ้าของไม่ได้เลย ของตัวก็ต้องทิ้ง เอาไปไหนไม่ได้ ทิ้งทั้งนั้น ยืนยัน ว่าเหมือนของขอยืมเขาใช้ทั้งนั้น แล้วก็ต้องส่งคืนทั้งนั้นเอาไม่ได้ เอาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น เมื่อรู้จัก หลักจริงดังนี้ ให้ตรึกไว้ในใจ ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ

    เมื่อกี้พูดถึงขันธ์นะ พูดถึงสังขาร นี่มาพูดถึงธรรมเสียแล้ว สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตาม ปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมิใช่ตัว เอ้า! มาเรื่องธรรมเสียแล้ว เมื่อกี้พูดสังขารอยู่ ธรรม ทั้งปวงมิใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นมรรคาวิสุทธิ์ หรือวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ

    นี่ธรรมละ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวหละ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว นี่ มันอื่นจากสังขารไป มันสังขารคนละอย่าง สังขารอันหนึ่ง ธรรมอันหนึ่ง ไม่ใช่อันเดียวกัน ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ธรรมที่ทำให้เป็นตัวนะ ที่จะเป็นมนุษย์นี่ก็ต้องอาศัยมนุษยธรรม ที่จะ เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่ก็อาศัยมนุษยธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ธรรมที่เป็นกายทิพย์ อาศัยทิพยธรรม เป็นกายทิพย์ละเอียด อาศัยทิพยธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมก็อาศัยพรหมธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมละเอียดก็อาศัยธรรมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหม ที่เป็น อรูปพรหมก็อาศัยธรรมของอรูปพรหม คือ อรูปฌาน ถึงละเอียดก็เช่นเดียวกัน ธรรมนะ เป็นอย่างไร สังขารเป็นอย่างไร ต่างกันหรือ ต่างกัน ไม่เหมือนกัน คนละอัน เขาเรียกว่า สังขารธรรมอย่างไรล่ะ นั่นอนุโลม ความจริง คือ ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว เราจะ ค้นเข้าไปเท่าไรในตัวเรานี่แน่ะ ค้นเท่าไรๆ ก็ไปพบดวงธรรม

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่กลางกายมนุษย์ ใสนักทีเดียว ธรรมดวงนั้นแหละ เราได้มาด้วยกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ ถ้าว่าไม่บริสุทธิ์แล้ว ไม่ได้ธรรมดวงนั้น ธรรมดวงนั้นเราเรียกว่าธรรมแท้

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละอียด ก็ได้แบบเดียวกัน บริสุทธิ์ของมนุษย์ ธรรมที่ ทำให้เป็นมนุษย์ละเอียด ดวงโตขึ้นไปกว่าธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เท่าตัว 2 เท่าฟองไข่แดง ของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตกว่าอีกเท่าหนึ่ง 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมละเอียด ก็โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง อย่างเดียวกัน เป็นดวงใส อย่างเดียวกัน 6 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม โตขึ้นไปอีก 7 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด โตขึ้นไปอีก 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    นั่นดวงนั้นเป็นธรรม พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ที่ได้สำเร็จ ท่านเดินในกลางดวงธรรม นี้ทั้งนั้น เดินด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงธรรมนี่ทั้งนั้น ไม่เดินในกลางดวงธรรมนี้ สำเร็จไม่ได้ ไปถึงกายเป็นลำดับไปไม่ได้ ดวงธรรมนี้เป็นธรรม สำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันว่า ธรรมทั้งปวงเหล่านี้ไม่ใช่ตัว แต่ธรรมถึงไม่ใช่ตัว ก็ธรรมนั่น แหละทำให้เป็นตัว ตัวอยู่อาศัยธรรมนั่นแหละ ตัวก็ต้องอาศัยดวงธรรมนั้นแหละ จึงจะมา เกิดได้ ถ้าไม่อาศัยดวงธรรมนั้น มาเกิดไม่ได้ กายมนุษย์ ดวงธรรมนั้นได้ด้วยบริสุทธิ์กาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโพหาริกไปด้วย บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ได้ธรรมดวงนั้น ธรรม ที่ทำให้เป็นเทวดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ต้องเติมทาน ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ไปในความ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อีก มันก็ได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายเทวดาเป็นลำดับไปทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหมละ ได้ด้วยรูปฌานทั้ง 4 ได้สำเร็จรูปฌานแล้ว ให้ สำเร็จธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ธรรมเป็นอรูปพรหมเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็ได้ด้วย อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั่นแหละสำหรับเติมลงไป ในธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในธรรมที่ ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก จึงจะได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมขึ้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ดังนี้

    นี่แหละว่า ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ไม่ใช่ตัวจริงๆ ตัวอยู่ที่ไหนล่ะ เออ! ธรรมทั้งปวง นี่ไม่ใช่ตัว แล้วตัวไปอยู่ที่ไหนละ ตัวก็ง่ายๆ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว กายมนุษย์ละเอียด ก็เป็นตัว แต่เป็นตัวฝันออกไป กายทิพย์ก็เป็นตัว กายทิพย์ละเอียด ที่กายทิพย์นอนฝัน ออกไปก็เป็นตัว กายรูปพรหมก็เป็นตัว กายรูปพรหมละเอียดก็เป็นตัว กายอรูปพรหมก็เป็น ตัว แต่ว่าตัวสมมติ ไม่ใช่ตัววิมุตติ ตัวสมมติกันขึ้น เป็นตัวเข้าถึงกายธรรม กายธรรมก็เป็น ตัว เข้าถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมละเอียดก็เป็นตัวอีกนั่นแหละ เป็นชั้นๆ ขึ้นไป นั่น เข้าถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดก็เอาตัวที่เป็นโคตรภู เข้าถึงกายธรรมพระโสดา-พระโสดาละเอียด นั่นเป็นตัวแท้ๆ ตัวเป็นอริยะ เรียกว่า อริยบุคคล พระองค์ทรงรับรองแค่กายธรรม โคตรภูนี่ ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสาวกของพระตถาคตของพระผู้มีพระภาค กายธรรม ที่เป็นโสดา-โสดาละเอียด, สกทาคา-สกทาคาละเอียด, อนาคา-อนาคาละเอียด, อรหัต-อรหัตละเอียด ทั้งมรรคทั้งผล นั่นเรียกว่า อริยบุคคล 8 จำพวก นั้นเรียกว่า อริยบุคคล

    นี่แหละ ภควโต สาวกสงฺโฆ สาวกของเราตถาคต ท่านปราฏในโลก แล้วท่านที่ แสวงหาพวกนี้ ถ้าได้แล้วก็ต้องจัดเป็นพวกของท่านทีเดียว ถ้ายังไม่ถึงกระนั้นท่านลดลงมา ถ้าบุคคลผู้ใดได้ถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดนั่นก็ ภควโต สาวกสงฺโฆ เหมือนกัน เรียกว่า พระพุทธชินสาวก ไม่ใช่อริยสาวก เป็นพระพุทธชินสาวก หรือปุถุชน ลดลงตามส่วนลงมา ตามนั้น ประพฤติดีถูกต้องร่องรอยที่จะเข้าถึงธรรมกาย-ธรรมกายละเอียดขึ้นไป ไม่ได้เคลื่อน เลยทีเดียว ทางนั้นไม่คลาดเคลื่อน ท่านก็อนุโลมเข้าเป็นพุทธชินสาวกด้วยเหมือนกัน หรือจะ ผลักเสียเลยไม่ได้ ถ้าผลักเสียเลยละก้อ ที่จะเป็นโคตรภู ธรรมกายละเอียดก็ไม่มีเหมือนกัน อาศัยความบริสุทธิ์ของพวกเราที่เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต บริสุทธิ์จริงๆ นั่นเป็นปุถุชนสาวก ของพระบรมศาสดา นี่เป็นตำรับตำรา

    บัดนี้ เราจะเป็นพระสาวกของพระศาสดาบ้าง ก็ต้องขาดจากใจนะ พิรุธจากกาย พิรุธจากวาจา ไม่ให้มีทีเดียว ให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจจริงๆ ด้วยใจของตน จะค้นลงไปสักเท่าไร ตัวเองจะค้นตัวเองลงไปเท่าไร หาความผิดทางกาย วาจา ใจ ไม่ได้ คนอื่นพิจารณาด้วยปัญญาสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็หาความผิดทางกาย วาจาไม่ได้ หรือท่านมี ปรจิตตวิชชา รู้วาระจิตของบุคคลผู้อื่น ให้พินิจพิจารณาค้นความพิรุธทางกาย วาจา ใจ ของบุคคลผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นไม่ได้ นั้นเรียกว่าปุถุชนสาวก ถ้าว่าเข้าธรรมกายแล้ว เป็นโคตรภู ทีเดียว ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ที่จะถึงอริยะต้องอาศัยโคตรภู แต่ว่ายังกลับเป็นปุถุชนได้ ยังกลับเป็นโลกียชนได้ จึงได้ชื่อว่าโคตรภู ระหว่างปุถุชนกับพระอริยะต่อกัน ถ้าเข้าถึงโคตรภู แล้ว ที่จะเป็นโสดาก็เป็นไป ที่จะกลับมาเป็นปุถุชนก็กลับกลาย ที่จะเป็นโสดาก็ถึงนั้นก่อน จึงจะเป็นไปได้

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้นี่แหละ ท่านจึงได้วางบาลีว่า ผู้ใดเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัว เหมือนธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ไม่ใช่ตัวแล้วจะไปเพลิน อะไรกับมันเล่า มันของยืมเขามาหลอกๆ ลวงๆ อยู่อย่างนี้ เพลินไม่สนุก ปล่อยมัน อ้ายที่ ปล่อยไม่ได้ ก็เข้าใจว่าตัวเป็นของตัว จงปล่อยมัน เมื่อปล่อยแล้วนั่นแหละ หนทางหมดจด วิเศษ หนทางบริสุทธิ์ทีเดียว นั้นเป็นหนทางบริสุทธิ์แท้ๆ วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ ความหมดจด จากกิเลสทั้งหลาย วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ เจตโส โหติ สา สนฺติ ความ หมดจดจากกิเลสทั้งหลาย ความดับจากทุกข์ทั้งหลาย ทุกข์ดับไปแล้ว จิตก็สงบ หลุดไปจาก ทุกข์ทั้งหมด นิพฺพานมีติ วุจฺจติ นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความดับ คือนิพพาน แต่ว่าความ สงบนี่เป็นต้นของมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าเข้าความหยุดความสงบไม่ได้ บรรลุมรรคผล ไม่ได้ ความหยุดความสงบเป็นเบื้องต้นมรรคผลนิพพานทีเดียว จะไปนิพพานได้ ต้องไปทางนี้ มีทางเดียว ทางสงบอันเดียวกันนี้แหละ ท่านจึงได้ยืนยันต่อไปว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่น นอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี หยุดนิ่งกันให้หมดทั้งสากลโลก ไม่เอาธุระ นั่นเป็นทางบริสุทธิ์ นั่น เป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพานแท้ๆ รู้แน่เช่นนี้แล้ว ย่อสั้นลงไป ท่านจึงได้ยืนยันว่า เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ก็ชนเหล่าใด ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงฝั่ง คือ นิพพาน อันเป็นที่ตั้งของมัจจุสุดจะข้ามได้ คือนิพพานนั่นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงซึ่ง ฝั่งอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ สุทุตฺตรํ แสนยากที่จะข้ามได้ ในสากลโลกที่จะข้ามไปถึงฝั่ง นิพพาน นะ แสนยาก ไม่ใช่เป็นของง่ายเลย

    พระพุทธเจ้าทรงสร้างบารมี 4 อสงไขยแสนกัปป์ 8 อสงไขยแสนกัปป์ 16 อสงไขย แสนกัปป์ จึงจะข้ามวัฏฏสงสารได้ ถ้าคนข้ามได้บ้าง ก็แสนยากที่ข้ามได้ ท่านจึงได้วางตำรา ไว้เป็นเนติแบบแผนไปเป็นลำดับๆ แต่ว่าในท้ายพระคาถา กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตผู้มีปัญญาละธรรมดำเสีย ไม่ประพฤติเลยทีเดียว ยังธรรมขาวให้ เจริญขึ้น เด็ดขาดลงไป เหมือนภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิก พอบวชเป็นพระเป็นเณร ขาดจากใจ ความชั่วไม่ทำเลย ถ้าว่าชีวิตตายเป็นตายกัน ชีวิตจะดับดับไป ทำความดีร่ำไป นี่พวกละธรรมดำ ประพฤติธรรมขาวแท้ๆ

    อุบาสกอุบาสิกล่ะ เมื่อจะเป็นอุบาสกอุบาสิกาดีๆ แท้ๆ นะ พอเริ่มเป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็ขาดจากใจ ความชั่วกาย วาจา ใจ ละเด็ดขาด ไม่ทำ ชีวิตดับๆ ไป เอาความ บริสุทธิ์ใส่ลงไป เอาความบริสุทธิ์ใส่ได้ไปสวรรค์ ไม่ต้องทุกข์กับใคร แน่นอนใจทีเดียว นี้ อย่างชนิดนี้ ละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น นี่พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีเป็นสอง ชาติดังนี้ ละธรรมดำจริงๆ เจริญธรรมขาวจริงๆ ไม่ยักเยื้องแปรผันไป

    ตามวาระพระบาลีว่าคาถาข้างหลังรับรองไว้ สทฺธาย สีเลน จ ยา ปวฑฺฒติ ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภยํ สา ตาทิสี สีลวตี อุปาสิกา อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน อุปาสิกาใดเจริญ ด้วยศรัทธา ความเชื่อมั่นในขันธสันดาน ละชั่วขาดแล้ว ไม่กลับกลอกแล้ว เหลือแต่ดีแล้ว ฝ่ายเดียวแล้ว เจริญด้วยศีล เจริญด้วยปัญญา และเจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยสุตะ นี่ก็ เป็นฝ่ายดี อุบาสิกานั้นชื่อว่าประพฤติเป็นระเบียบเรียบร้อยดี มั่นในพระรัตนตรัยแท้ มั่นใน พระรัตนตรัย อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน ยึดแก่นสารของตนไว้ได้

    ตรงนี้หลักต้องจำไว้ ยึดไว้ให้มั่นเชียว ไม่ให้คลาดเคลื่อนได้ ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ ราชรถอันงดงามย่อมถึงซึ่งความเสื่อมทรามไป แม้สรีระร่างกายของเราท่านทั้งหลายนี้ละ สรีระร่างกายก็ย่อมเข้าถึงความทรุดโทรม ไม่ยักเยื้องแปรผันไปข้างไหน ทรุดโทรมหมด เหมือนกัน หมดเป็นลำดับๆ ไป ย่อมเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม ธรรมของสัตบุรุษย่อมหาเข้า ถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่ ดำรงคงที่อยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นธรรมของสัตตบุรุษ ไม่ถึงซึ่ง ความทรุดโทรม ไม่สลาย ไม่เสียหาย ไม่เข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ ควร กระทำเถิดซึ่งบุญ ควรกระทำเถิดซึ่งบุญทั้งหลาย สุขาวหานิ อันนำความสุขมาให้ เมื่อทำ บุญทั้งหลายแล้วนำความสุขมาให้ อจฺเจนฺติ กาลา กาลย่อมผ่านไป ตรยนฺติ รตฺติโย ราตรี ก็ย่อมล่วงไป วันก็ผ่านไป วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลผ่านไป ราตรีย่อมล่วงไป ชั้นของ วัยย่อมละลำดับไป ชั้นของวัยเป็นไฉน เด็กเล็กๆ ละลำดับเด็กเรื่อยมา เป็นคนโตๆ เป็น ลำดับมา หนุ่มสาวละเป็นลำดับมา แก่เฒ่าละเป็นลำดับมา อีกหน่อยก็หมด ละลำดับอย่างนี้ มาเรื่อย เหมือนอย่างกาลเวลาล่วงไปไม่กลับมา กาลเวลานะ อดีตกาลปีที่ล่วงไปแล้ว ปัจจุบันกาลปีที่เป็นปัจจุบันนี้ อนาคตกาลปีที่จะมีมาข้างหน้า ผ่านไปหมด นี่แหละกาลผ่าน ไป วันเวลาวันนี้ผ่านไปบ้างแล้ว ผ่านไปแล้วเป็นอดีตที่กำลังปรากฏ ฟังเทศน์อยู่นี้เป็น ปัจจุบัน วันที่จะมีมาข้างหน้าเป็นอนาคต นั่นแหละเรียกว่ากาลเวลาผ่านไปๆ ราตรีล่วงไป วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ไม่ถอยกลับมาเลย ชั้นของวัยเด็กเล็กๆ เป็นหนุ่มสาว เป็นแก่เป็น เฒ่า ก็ละลำดับเรื่อยไป ไม่ได้หยุดอยู่เลยสักนิด ไม่รอใครเลย เอ็งจะรออย่างไรก็ตามเถิด ข้าไม่รอเจ้า ความจริงเป็นอย่างนี้ ก็ต้องละลำดับไป เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ผู้มีปัญญา เห็นเหตุนั้น เป็นภัยในความตายทีเดียว ไอ้กาลเวลาผ่านไป ราตรีล่วงไป ชั้นของวัยละลำดับ ไป นั้นเป็นภัยในความตายเทียวนะ ตัวตายทีเดียว ไม่ใช่ตัวอื่นละ เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ เมื่อรู้ชัด จริงลงไปเช่นนี้แล้ว อย่ามุ่งอื่น มุ่งแต่บำเพ็ญการกุศลไปที่จะนำความสุขมาให้แท้ๆ ไม่ต้องไป สงสัย เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถา ผู้มี ปัญญาได้รู้เนื้อความของบาลีแม้เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตตนที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้มีปัญญารู้ความของบาลีเพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ไร้ประโยชน์ พึง ปฏิบัติตามเป็นอยู่ของตนในวันหนึ่งๆ ให้มีประโยชน์อยู่ร่ำไป ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ถ้าปล่อย ความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก้อ เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวของพญามาร ไม่ใช่ เป็นลูกศิษย์พระ บ่าวพระ เป็นลูกพญามาร เป็นบ่าวพญามาร พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ ไร้ประโยชน์ ไม่ให้เปล่าประโยชน์จากประโยชน์ทีเดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอ ในความบริสุทธิ์ ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่พระองค์ได้เตือนเราท่านทั้งหลาย แม้เสด็จ ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วตั้งนาน ก็ยังเตือนเราท่านทั้งหลายอยู่ชัดๆ อย่างนี้ เราพึงปฏิบัติ ตามเถิด สมกับพบพระบรมศาสดา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอ สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจน อวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มิถุนายน 2015
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    [​IMG]



    ร้อนด้วย ราคะ โทสะ โมหะ นั้นสำคัญนัก อันนี้จะแก้ไขวันนี้ ว่าเกิดมาจากไหน ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมาจากจักขุบ้าง รูป บ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสทางจักขุบ้าง มันเกิดมาทางนี้ ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทาง ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะทั้ง ๖ นั้น

    ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้น ดับหมด พอหยุดได้เสียอันเดียวเท่านั้นก็ดับหมด พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย เบื่อหน่ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เบื่อหน่ายในทางความรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายในทางสัมผัส

    ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายหมด ต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ฯ

    อะไรเป็นมรรค อะไรเป็นผล อะไรเป็นนิพพาน มรรคผลนิพพานกายธรรมอย่างหยาบ กายธรรม โคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตต์ อย่างหยาบนั่นแหละ เป็นตัวมรรค กายธรรมอย่างละเอียด นั่นแหละ แล้วนิพพานล่ะ ธรรมที่ทำให้เป็นกายโคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตต์ พอถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ก็ถึงนิพพานกัน นิพพานอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่มี

    ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ ก็ไปนิพพานไม่ได้ ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม ตัวนิพพานเป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม เขาก็ดึงดูดกันรั้งกันไปเอง เหมือนมนุษย์ในโลกนี้ คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนอยากจนก็

    เหนี่ยวรั้งคนอยากจนไปรวมกัน นักเลงสุรามันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงสุราไปรวมกัน นักเลงฝิ่นมันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงฝิ่นไปรวมกัน

    ภิกษุก็เหนี่ยวพวกภิกษุไปรวมกัน สามเณรก็เหนี่ยวพวกสามเณรไปรวมกัน อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน อุบาสิกาก็

    เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน มีคล้าย ๆ กันอย่างนี้ แต่ที่จริงที่แท้เป็นอายาตนะสำคัญ อายตนะดึงดูดเช่น โลกายาตนะ

    อายตนะของโลกในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด

    เพราะอยู่ในปรกครองของรูปฌาณ อายตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌาน ดึงดูดเข้ารวมกัน

    อตถิ ภิกขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลสแล้ว นิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้นให้รู้จักหลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้ ฯ
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    ถาม....เมื่อมีอาการเจ็บปวด หรือป่วยด้วยโรคภัยภายในร่างกาย สมาธิจะช่วยได้หรือไม่ ?

    ตอบ.....ช่วยได้มาก

    เอาแค่เรื่องเจ็บก่อน ทำไมเราถึงเจ็บ เราเจ็บเราปวดเพราะเหตุว่า ใจเรามันไปสัมผัส ไปรับอาการที่เป็นอยู่ เช่นว่า มีบาดแผลหรือมีอะไร มันเจ็บอยู่แล้ว ใจเราก็ไปอยู่ตรงนั้น มันจึงเจ็บ เพราะฉะนั้น
    วิธีที่จะแก้ไม่ให้เจ็บ ใจนั้นไปเจ็บนะ ไม่ใช่ตัวเนื้อเจ็บ ประสาทเส้นนี้เข้าไปสู่ใจ เวทนาอันเป็นธรรมชาติหนึ่งของใจเป็นตัวเจ็บ ที่เราเรียกเวทนามันไปเจ็บ ใจมันไปเจ็บ ไปรับความเจ็บตรงนั้น รับรู้ตรงนั้น ทีนี้วิธีไม่ให้เจ็บ ก็ให้เอาใจไปไว้ตรงศูนย์กลางกายเสีย ก็ไม่เจ็บ เช่นว่าเรากำลังจะถูกผ่าตัดหรืออะไรก็แล้วแต่ หรือมีอะไรที่มันเจ็บๆ ท่านลองทำสมาธิให้ลึก ไม่สนใจที่ตรงจุดนั้น บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ กลางของกลางศูนย์กลาง นิ่งสนิท ความเจ็บจะหายหมด
    แม้แต่นั่งสมาธิ บางคนแหมเมื่อยจังเลย มันปวดแข้งปวดขา เหตุเพราะว่าใจเรามันไปรับรู้อยู่ตามแข้งตามขานั่นเอง แต่ถ้าว่าใจเรารวมหยุดแน่วแน่ นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลาง ไม่รับอารมณ์นั้นแล้วก็ไม่เจ็บ ยิ่งถ้าเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดแล้วนะ ดับหยาบไปหาละเอียด ทำความรู้สึกเป็นกายมนุษย์ละเอียด แล้วจะไม่เจ็บเลย ถ้าถึงกายทิพย์ ยิ่งไม่เจ็บ เงียบจ้อยเลย สบายอย่างเดียว แต่มันไปเจ็บตอนที่ออกจากสมาธิ ถ้าคนที่ไม่เคยปฏิบัติจะรู้สึกเมื่อยเพราะยังไม่เคยชิน และใจยังไม่รวม เพราะฉะนั้นสมาธินี้ช่วยได้ แก้ความเจ็บได้ จึงขอเจริญพรว่า จงใช้สมาธิเลยทีเดียว พระอริยเจ้าชั้นสูงที่ท่านมีสมาธิดีอยู่แล้วนั้น เวลามีอะไรเกิดขึ้น ท่านข่มเวทนา คือ ข่มความเจ็บปวดด้วยสมาธิหรือสมถภาวนา อันนี้จงจำไว้
    นอกจากนั้นสมาธิยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้อีก อันนี้อาตมาจะแถมหน่อยว่า สมาธิจิต ไม่ใช่แต่เพียงช่วยข่มเวทนานะ ยิ่งถ้าเมื่อเจริญถึงขั้นเป็นวิชชาคือความสามารถพิเศษด้วยแล้ว ยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้มากตามส่วน
    เพราะว่ากลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียดของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ฯลฯ ซึ่งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างใน ส่วนนอกที่สุดเป็นธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ที่ขยายส่วนหยาบเป็นดวงกาย แล้วเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นรูปกาย กลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ เป็นนามขันธ์ ๔ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็นเห็น-จำ-คิด-รู้ คือใจของเรา เฉพาะธาตุละเอียดของ รูปขันธ์ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นดวงกาย ขนาดประมาณเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ดวงนั้นแหละประกอบด้วยธาตุละเอียดของธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม และอากาศธาตุ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย และช่องว่างภายในร่างกาย ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แล้วเจริญเติบโตขึ้นเป็นรูปกาย
    เมื่อฝ่ายนามขันธ์ ๔ คือ “ใจ” ออกไปนอกตัว ไปยึดไปเกาะอารมณ์หรือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย ณ ภายนอก ถ้าเป็นอนิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ ก็จะเกิดกิเลสนิวรณ์ประเภทโทสะ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของกิเลสนั้น เช่นประทุษร้ายหรือเข่นฆ่าเขา กรรมชั่วจากปาณาติปาต คือการประทุษร้ายร่างกายหรือชีวิตของผู้อื่นด้วย กิเลสคือโทสะนั้น จะปรากฏ ที่ใจและประทับอยู่ที่ธาตุละเอียดซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมธาตุละเอียดนั้นแหละ กลายเป็นสภาพธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยอำนาจกรรมและกิเลสนั้น ปรุงแต่งออกมาเป็นผลกรรม รอที่จะให้ผลแก่บุคคลหรือสัตว์ที่กระทำความชั่ว แต่ละอย่างๆ รอที่จะให้ผลเชียวแหละ อย่างเรื่อง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การเบียดเบียนสัตว์ ต่อไปจะได้รับผลเป็นคนขี้โรคอ่อนแอ หรืออายุสั้น เช่น การประสบอุบัติเหตุ ในกรณีที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตสัตว์ใหญ่ หรือผู้ที่มีคุณมากอย่างนี้เป็นต้น กรรมนี้ จะให้ผลปรากฏเป็นความเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีอายุสั้น
    ทีนี้ ถ้าใจเรามาฝึกให้หยุดให้นิ่งบ่อยๆ ใจก็สะอาดบ่อยๆ ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบ เมื่อใจใสสะอาดบ่อยๆ เข้าธาตุธรรมนั้นก็พลอยกลับสะอาด เมื่อธาตุธรรมนั้นสะอาดด้วยกรรมดี ก็จะมีผลช่วยผ่อนคลายหรือบรรเทา ผลกรรมที่หนักให้เป็นเบา จากที่เบาหายไปเลย เหตุนี้ที่วัดปากน้ำ สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่จึงแก้ โรคด้วยวิชชาธรรมกาย แต่มาถึงสมัยลูกศิษย์คนนี้ไม่เก่งเหมือนหลวงพ่อ จึงบอกญาติโยมว่า จงช่วยตัวเองด้วยการทำสมาธิ ให้เอาใจไปหยุดไว้ตรงนั้นเสมอจะช่วยแก้ปัญหา และช่วยแม้แก้โรคในตัวเราเอง ด้วยตัวของเราเองได้มากที่สุด คือปฏิบัติภาวนาเพื่อช่วยชำระธาตุธรรมที่สุด ละเอียดบ่อยๆ เสมอๆ เข้าจะช่วยได้มาก จากหนักเป็นเบา จากเบาก็หายไปเลย นี้คือคุณค่า ของสมาธิที่เอาใจไปตั้งไว้ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมไว้เสมอ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...