สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    [​IMG]


    พิธีมุทิตาสักการะ อายุวัฒนมงคล ๙๖ ปี พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    วันจันทร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
    เวลา ๑๙.๐๐ น. พิธีสวดพระอภิธรรมอุทิศถวายพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ณ หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิรมิต
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ถาม : อยากเรียนถามว่า วิชชาธรรมกาย หลวงพ่อสดเป็นผู้ค้นพบหรือว่า.....?

    ตอบ : พระพุทธเจ้าท่านค้นพบไว้ก่อนแล้วมีในพระไตรปิฎก มีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายตอน

    ถาม : ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเองก็....?

    ตอบ : มีธรรมกายเหมือนกัน หมายถึงถ้าจะเข้าสำนักปฏิบัติธรรมต้องมีธรรมกายเหมือนกัน แล้วธรรมกายนี่ไม่ใช่มีเฉพาะคนไทยน่ะ มีทั่วไป ฝรั่งก็มีธรรมกาย อินเดียก็มีธรรมกาย มีทั่วไป เคยมีศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยปารีสอยู่มหาวิทยาลัยปารีส นั่นก็ได้ธรรมกายเหมือนกัน เคยสอนพระที่ญี่ปุ่นเคยเห็นมีธรรมกาย

    ถาม : สมมติว่าเป็นการปฏิบัติสมาธิโดยใช้อุบายอย่างอื่นไม่ใช่ดวงแก้ว ไม่ทราบว่าจะเห็นธรรมกายเหมือนกันหรือไม่?

    ตอบ : เห็น แต่ว่าการทำสมาธินี่เราต้องอาศัยสิ่งสามอย่าง บริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนา และที่ตั้งของใจ ที่ตั้งของใจ ใจของเรานี่ย่อมมีที่ตั้งเหมือนของทุกอย่างที่มีที่ตั้งทั้งนั้น ถ้าไม่มีที่ตั้งก็ล้มมันก็เสียหาย ใจเราก็เหมือนกัน ต้องมีที่ตั้ง จะไปตั้งที่ไหนจะต้องไปตั้งที่กลางตัว โบราณเขาเรียกว่าที่ สิบ และเหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วเราเรียกว่าที่ ศูนย์ "สิบ" "ศูนย์" นี้เป็นเรื่องสำคัญในการทำสมาธิ ถ้าเราเข้าสิบเข้าศูนย์ทำสมาธิ ถ้าเราเห็นองค์พระเราต้องเห็นตรงนี้

    สังเกตดูเวลาเราจะนอนตาจะเหลือกขึ้น ตาเหลือกขึ้นใจมันก็เหลือกตาม ที่ศูนย์เป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น ถ้าเราจะ "เกิด" ใจต้องไปหยุดตรงนั้น "ตาย" ใจต้องหยุดตรงนั้น หลับก็หลับที่ตรงนั้น ตื่นต้องตื่นที่ตรงนั้น ต้องเห็นทุกคน

    ถาม : แม้ว่าจะปฏิบัติสมาธิในแนวไหน

    ตอบ : ปฏิบัติสมาธิในแนวอะไรก็ตาม จะต้องเป็นสมถะ ต้องเห็นองค์พระที่นั่น ถ้าไปทำข้างนอกไม่ได้ผิดทาง ถ้าทำข้างนอก ที่เขานั่งกรรมฐานแล้วบ้านะใจมันอยู่ข้างนอกนะ ใจเราต้องอยู่ในตัวเองที่ศูนย์ ที่ว่าต้องมีน้ำเลี้ยงหัวใจ หล่อเลี้ยงน้ำเลี้ยงหัวใจ ใจมันอยู่ด้วยน้ำเลี้ยงหัวใจ คราวนี้เราถอนออกมาไว้ข้างนอกมันจะกลายเป็นโรคที่โบราณเขาเรียกว่า โรคบาทจิต โรคนอนไม่หลับ

    ถาม : เฉพาะพวกเพ่งกสิณใช่ไหม

    ตอบ : ไม่ใช่ เพ่งกสิณนี้ถ้าเพ่งถูกแล้วได้นิมิตธรรมไว้ข้างในตัวแล้วเอาไปไว้ฐานที่ ๗ เลย เหนือสะดือ ๒ นิ้ว เอาไปไว้ที่นั่น ถ้าเราเพ่งข้างนอกเรื่อยๆ ไม่ได้จะเป็นบ้า เพราะฉะนั้นนั่งกรรมฐานจะต้องเอาจิตไปไว้ที่สิบที่ศูนย์ ใจจะหยุดนิ่งก็อยู่ที่นั่น ถ้าเราไปไว้ข้างนอก มันหยุดนิ่งเหมือนกันแต่มันจะทำให้เป็นบ้า

    เคยเห็นมีเด็กคนหนึ่งนั่งภาวนาพูดอะไรเลอะๆ เลือนๆ ไปถามเขาดู ได้ความว่า เอาจิตไว้ข้างนอกไม่เข้าข้างใน แล้ว เราจะให้พวกนี้เอาจิตเข้าข้างใน ไม่เข้าหรอก เพราะมันเคยแต่ข้างนอก พอวันที่ ๒ ที่ ๓ มันจะเข้า พอเข้ามันจะหลับ แต่พวกนี้นอนไม่หลับ กลางคืนนอนไม่หลับ มันเป็นอันตรายอย่างหนึ่งของการทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นการเรียนกรรมฐานเราต้องหาอาจารย์ที่รู้เรื่องจริงๆ เดี๋ยวนี้อาจารย์เยอะ ลูกศิษย์เป็นบ้าแก้ไม่ได้ ต้องมาหาเราให้แก้ สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำนี่ คนเราเป็นโรคอย่างว่านี่นะเล่นกสิณเล่นอะไรแล้วมันไม่น้อมเข้าไปในตัวเป็น บ้าเยอะแล้ว หลวงพ่อก็แก้ แก้แล้วให้กินยาบาทจิต พอกินยาบาทจิตแล้วก็ขย้อน แล้วทำให้นอนหลับ ได้เวลานอนหลับใจมันลงอยู่ที่ศูนย์ก็หาย

    ถาม : หลวงพ่อบางท่านบอกว่าที่ปฏิบัติสมาธิแล้วเป็นบ้าเพราะว่าคนนั้นเป็นบ้าอยู่แล้ว คนนั้นมีเชื้ออยู่แล้ว ?

    ตอบ : ไม่ใช่ ใจมันออกจากศูนย์ ใจมันออกจากตัว ไอ้นี่เรื่องใหญ่ ถ้าเราปฏิบัติกรรมฐานแล้วใจออกข้างนอกเป็นได้ทุกคนไม่ว่าผู้ชายไม่ว่าผู้ หญิง

    ถาม : แต่รักษาได้ใช่ไหม

    รักษาได้ด้วยวิธีให้น้อมเอาใจไว้ที่กลางตัว(ฐานที่ ๗) มีหมอมาเรียนกับฉัน หมอแกเป็นแล้ว แกไปที่คลีนิค แกไม่ให้กินยาให้เอาใจไปวางไว้อยู่ที่นั่น(ฐานที่ ๗) เดี๋ยวก็หาย

    ถาม : ธรรมกายไม่ใช่กายมนุษย์ละเอียด?

    ตอบ : ไม่ใช่กายมนุษย์ละเอียด ไม่ใช่กายรูปพรหมและกายอรูปพรหม เขาเรียกกายธรรม

    ถาม : เป้าหมายการฝึกสมาธิตามแนววิชชาธรรมกายเพื่อบรรลุธรรมกาย

    ตอบ : เพื่อให้บรรลุธรรมกายเพื่อให้เข้าสู่มรรคผลนิพพาน


    ***คัดมาจากคำอธิบายเกี่ยวกับสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกาย บางส่วนของ

    พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ..........................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2015
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    อธิปัญญาสิกขาในมรรคมีองค์แปด

    <object width="450" height="24" classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0"> <param name="scale" value="noscale" /> <param name="allowFullScreen" value="true" /> <param name="allowScriptAccess" value="always" /> <param name="allowNetworking" value="all" /> <param name="bgcolor" value="#777777" /> <param name="wmode" value="opaque" /> <param name="movie" value="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" /> <param name="flashVars" value="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=4cec81b0c&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000" /> <embed src="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" width="450" height="24" scale="noscale" bgcolor="#777777" type="application/x-shockwave-flash" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="always" wmode="opaque" flashvars="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=4cec81b0c&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000"></embed> </object> <p><a href="http://www.mongkoldhamma.org/%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%90-%e0%b8%ad%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d-video_4cec81b0c.html" target="_blank"></a></p>
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ..................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2015
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ...............................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2015
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    สติและสัมปชัญญะ

    <object width="450" height="24" classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0"> <param name="scale" value="noscale" /> <param name="allowFullScreen" value="true" /> <param name="allowScriptAccess" value="always" /> <param name="allowNetworking" value="all" /> <param name="bgcolor" value="#777777" /> <param name="wmode" value="opaque" /> <param name="movie" value="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" /> <param name="flashVars" value="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=2d345a258&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000" /> <embed src="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" width="450" height="24" scale="noscale" bgcolor="#777777" type="application/x-shockwave-flash" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="always" wmode="opaque" flashvars="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=2d345a258&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000"></embed> </object> <p><a href="http://www.mongkoldhamma.org/%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%90-%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%aa-video_2d345a258.html" target="_blank"></a></p>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กุมภาพันธ์ 2015
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 6March58.png
      6March58.png
      ขนาดไฟล์:
      956.1 KB
      เปิดดู:
      47
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015
    ท่านได้เคยศึกษา สติปัฏฐานสี่
    ตามแนวอื่น ดูมั่งไหมครับ

    เค้าเน้นว่า ทุกสิ่งย่อมไม่เทียง
    ไม่ใช่มีความเที่ยงอยู่
    เพราะฉนั้น ที่ถูกแล้ว
    เมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็ต้องละนิมิตให้ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กุมภาพันธ์ 2015
  11. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015
    ผมไม่ได้บอกว่า ไม่ต้องฝึกสมถะ
    ผมบอกว่า พอทำสมถะจนได้นิมิตละเอียดสุดแล้ว
    ให้ละนิมิต คือ นิมิตก็ยังเกิดอยู่ที่เดิม
    แต่อย่าความสำคัญกับมัน
    หรือ อย่างไปสนใจมัน
    หรือ อย่าไปใช้มัน
    ปล่อยให้มันอยู่อย่างนั้น
    แล้วพิจารณาว่า
    นิมิตเดี๋ยวก็เกิด เดี๋ยวก็ดับ ไม่มีที่สิ้นสุด
    นิมิตนี้ก็ไม่เที่ยงหนอ
    หากทำได้ ประมาณนี้
    อันนี้วิปัสสนา

    ส่วนที่กำหนด กายแก้วให้ใส
    หรือ กำหนดธรรมกายให้ใหญ่เท่านั้นเท่านี้
    อันนี้ยังเป็นสมถะ ไม่ใช่วิปัสสนาแต่อย่างใด
    แต่เป็นชั้น วสี คือขยายให้ใหญ่ กำหนดให้เล็กได้
    ให้ตันได้ ให้ใสได้ ให้พุ่งไปมาได้
    ให้มีหลายอันได้ ย่อให้เหลืออันเดียวได้

    หากทำสมถะ แล้วตัดกิเลสได้
    พระทั่วประเทศไทย
    คงต้องเป็นอรหันต์กันหมดแล้ว

    พระที่ฝึกสมถะได้
    เต็มที่ ก็ไปแค่ชั้นอรูปพรหม
    ใครที่สอนธรรมกาย
    จึงไปได้แค่สรรค์เท่านั้น

    คงไม่เป็นการดีแน่
    ที่ลูกศิษย์ ชั้นหลังๆ
    จะเข้าใจว่า อาจารย์รุ่นก่อนๆของตน
    บรรลุอรหันต์ แล้วโพสต์ไปตามความเข้าใจของตนเอง
    จะเป็นบาปได้
    และ จะทำให้ผู้ที่อยากฝึก
    วิชชาธรรมกาย หลงทางได้
     
  12. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015
    มิใช่ว่า คนอื่นเขาเข้าใว่า ธรรมกายเป็นนิมิต

    แต่เป็น ตัวท่านเองต่างหาก ที่ไม่ยอมรับว่า
    ธรรมกาย เป็นเพียงนิมิตชนิดหนึ่ง

    แม้จะเอาไปผสมปนเป
    เข้ากับ สติปัฏฐานสี่ เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ
    แต่การผสมกัน กับผิดแบบ ผิดขั้นตอน
    ไม่ลงตัว ก็เลยยิงผิดไปใหญ่
     
  13. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015
    ความจริงในสมัยของหลวงพ่อสด
    ก็ไม่ได้ไปไกลสุดกู่ถึงขนาดนี้
    หลวงพ่อท่านยังกลับมาทัน

    แต่ชั้นลูกศิษย์ เอาธรรมกาย
    ไปแอบหลังพระไตรปิฏก
    เพราะกลัวว่าจะมีคนวิพากษ์วิจารณ์
    ทั้งๆที่ ถ้าเป็นของจริงก็ทนร้อนทนหนาวได้

    เวลาจะพูดจะสอน ก็จะต้องอ้างให้ตรง
    พระไตรปิฏก มันก็เลยมัดคอ แก้ออกไม่ได้
    ต้องจะสอนตามตามพระไตรปิฏกที่ยกมาอ้าง
    แต่อันที่นำมาอ้าง กลับไม่ตรงนัก
    เรียกว่า ยกพระไตรขั้นตั้ง แต่กับตั้งไม่ตรง
    คือ การสอนผิดมุ่งหมายของบทนั้นๆ
     
  14. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015
    ผมว่า ท่านเอาเวลาที่มาโพสต์การะทู้ว่างเปล่าของท่าน
    ไปเริ่มศึกษา สติปัฏฐานของสายอื่น ดูมั่ง
    อาจจะได้ดวงตามเห็นธรรมขึ้นมั่งนะครับ

    เพราะสมัยหนึ่ง ผมก็เคยฝึกธรรมกายมาเหมือนกัน
    แต่มันตัน ไปต่อไม่ได้ ผมจึงรู้ว่า ควรแก้ไขตรงไหน

    ที่ผมแนะนำให้ ก็ด้วยใจเมตตา
    คนที่หลงผิดเหมือนกัน
    และผมเองที่เป็นฝ่ายเสียประโยชน์
    เพราะจะต้องโดน คนที่ไม่เข้าใจ
    ต่อว่า อยู่ลึกๆ ในใจ แน่นอน
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    [​IMG]
     
  16. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015
    วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร)

    หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ที่อาศัยอยู่
    ในเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล เนื่องจากในสมัยนั้นมีผู้อวดอ้างตนในคุณวิเศษกันมาก
    เชิดชูแต่ลัทธิของตัว พูดจากระทบกระเทียบดูหมิ่นลัทธิอื่น พร้อมทั้งชักจูงมิให้เชื่อ
    ลัทธิอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเกสปุตตนิคมดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อวดอ้าง
    ชาวกาลามะได้ทูลถามด้วยความสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ?

    พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย
    หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ เป็นหลักตัดสิน คือ

    1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
    2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
    3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
    4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
    5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรกกะ
    6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
    7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
    8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
    9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
    10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

    เมื่อใดสอบสวน จนรู้ได้ด้วยตนเองว่า.
    ธรรมเหล่านั้นเป็น อกุศล หรือมีโทษ เมื่อนั้นพึงละเสีย
    และเมื่อใดสอบสวน จนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..
    ธรรมเหล่านั้นเป็น กุศล หรือไม่มีโทษ
    เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ

    ดังนั้น พระสูตรนี้ ท่านมิได้ห้ามมิให้เชื่อ
    แต่ให้เชื่อ ด้วยมีปัญญา ประกอบด้วย
    มิฉะนั้นความเชื่อต่างๆ จะไม่พ้น "ความงมงาย"
    และไม่พึงแปลความเลยเถิดไป
    ว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อสิ่งเหล่านี้
    และให้เชื่อสิ่งอื่นนอกจากนี้
    แต่พึงเข้าใจว่า แม้แต่สิ่งเหล่านี้ ซึ่งบางอย่าง ก็เลือกเอามาแล้วว่า..
    เป็นสิ่งที่น่าเชื่อที่สุด ท่านก็ยังเตือนไม่ให้ปลงใจเชื่อ
    ไม่ให้ด่วนเชื่อ ไม่ให้ถือเป็นเครื่องตัดสินเด็ดขาด
    ยังอาจผิดพลาดได้ ต้องใช้ปัญญาคิดพิจารณาให้ดีก่อน

    .. แล้วสิ่งอื่น คนอื่นเราจะต้องคิดต้องพิจารณา
    ระมัดระวังให้มากสักเพียงไหน??

    ที่มา:
    หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์" จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ (หน้า 41-42),
    หนังสือ "พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิกฉบับบาลี 45 เล่ม" (หน้า 510) จัดทำโดย สุชีพ ุญญานุภาพ, หนังสือ "ธรรมาธิบาย หลักธรรมในพระไตรปิฎก"(หน้า 620 - 621) เรียบเรียงโดย อาจารย์ปัญญา ใช้บางยางและคณะ
    Share
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    เรียนเชิญ เพื่อนสมาชิก ที่ปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย แลกเปลี่ยนประสพการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติ

    ไม่ว่าท่านจะเรียนจากกลุ่มหรือ สำนักไหน วัดไหน



    ........ขอเป็นผู้มีประสพการณ์ตามแนววิชชาฯนะครับ

    เพื่อเนื้อหา ที่เหมาะกับจริต นิสัย

    และ ไม่ก่อเกิดนิวรณ์ธรรม หรือ อกุศลธรรมอันใดเพิ่มเติม จากการเสวนาแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่นอกประเด็น ออกไปไกล
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    วิธีเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    พิจารณาและปหานอนุสัยกิเลส( ตามแนววิชชาธรรมกาย )




    -----------------------------------------------------------------

     "อนุสัยกิเลส" หมายถึงกิเลสละเอียดที่นอนเนืองอยู่ในจิตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๗ อย่าง
     
    ๑. กามราคานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความยินดี พอใจ ติดใจ อยู่ในกามคุณทั้ง ๕ คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย กิเลสประเภทนี้ เมื่อมีสิ่งที่ก่ออารมณ์จากภายนอกมากระทบ หรือจิตสร้างอารมณ์ขึ้นมาเอง ก็จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิต ในรูปของราคะ โลภะ หรืออภิชฌา-วิสมะโลภะ ซึ่งเป็นกิเลสในระดับกลางและหยาบตามลำดับ
     
    ๒. ทิฏฐานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความเห็นผิดซึ่งจะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโมหะ หรือมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับอกุศลจิต ในฐานะเป็นเหตุนำหรือเหตุหนุนแล้วแต่กรณี
     
    ๓. ปฏิฆานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความขัดเคืองใจ ไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็จะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโทสะ คือความโกรธอย่างรุนแรง ในรูปของโกธะ คือความโกรธอย่างบางเบา หรืออุปนาทะ คือความผูกใจเจ็บ ผูกพยาบาทหรือจองเวร
     
    ๔. ภวราคานุสัย คือ ความยินดีในความเป็นอยู่ในภพ
     
    ๕. มานานุสัย คือ ความอวดดื้อถือดี ไม่ยอมใคร ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ถือว่าตนดี หรือถือว่าตนด้อย ซึ่งแสดงออกมาในรูปของมานะทิฏฐิ อันเป็นปมด้อยหรือปมเด่นทางใจต่างๆ
     
    ๖. วิจิกิจฉานุสัย คือ ความลังเลสงสัยในสภาวะธรรมต่างๆ
     
    ๗. อวิชชานุสัย คือ ความไม่รู้แจ้งสัจธรรมทั้ง ๔ ได้แก่ ความไม่รู้ในลักษณะของทุกข์ทั้งลับและเปิดเผย ทั้งที่เห็นง่ายและเห็นยาก, ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์, ความไม่รู้ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ,ความไม่รู้ในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร, ความไม่รู้อดีต, ความไม่รู้อนาคต, ความไม่รู้ทั้งในอดีตและในอนาคต, และความไม่รู้เหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกัน ที่เรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" อวิชชานุสัยนี้จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิตในฐานะที่เป็นทั้งเหตุนำและเหตุหนุนกิเลสอื่น ในลักษณะโมหะหรือมิจฉาทิฏฐิ
     
    อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ นี้ ความจริงก็มีอนุสัยหลักอยู่ ๓ ประเภท คือ ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย
    ส่วนอนุสัยกิเลสอื่นนอกจากนี้ ก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดแยกย่อยออกไปจากอนุสัยหลัก ในการพิจารณาสภาวะธรรมจึงจะยกมากล่าวแต่เพียง ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย


    (ต่อจากโพสข้างบน)

    การเจริญจิตตานุปัสสนา เห็นจิตในจิต ตามแนววิชชาธรรมกาย




    ให้ท่านผู้ปฏิบัติรวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่ละเอียดที่สุด แล้วให้ญาณ หรือ ตาพระธรรมกายเพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

    หยุดนิ่ง ให้ดวงเห็น(รับ) ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้หยุดนิ่งเป็นจุดเดียวกันทั้งหมด

    แล้วตรวจพิจารณารอบๆดวงรู้ ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของรู้อยู่รอบๆรู้ หนาประมาณ ๑ กระเบียด มีลักษณะสัญฐานกลมประมาณเท่าเมล็ดพริกไทยสีดำ มัวๆ ถ้าเป็นผู้มีกิเลสมาก ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้าเป็นผู้มีกิเลสน้อยก็จะเห็นเป็นสีมัวๆฝ้าๆเหมือนกระจกฝ้า เครื่องหุ้ม"รู้"อยู่รอบนอกดวงรู้(ดวงวิญญาณ หรือที่เรียกว่าตัวรู้)นี้เองคือ "อวิชชานุสัย"


    ทีนี้ก็ให้ตรวจพิจารณาดูรอบๆดวงคิด หรือ"ดวงจิต" ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของคิดมีลักษณะสัญฐานกลม โตประมาณเท่าลูกตาดำหนาประมาณ ๑ กระเบียด สีมัวๆ หุ้มดวงคิด(จิต)อยู่รอบนอก คือ "กามราคานุสัย" สำหรับผู้มีกามราคะกล้า ก็จะเห็นเป็นสีเข้มมาก ถ้ามีกามราคะเบาบางลงมากแล้ว ก็จะเห็นสีมัวๆฝ้าๆ

    เมื่อพิจารณาผ่านไปยังดวงจำและดวงเห็น(รับ) ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของเห็นและจำอยู่โดยรอบ มีสัญฐานกลมประมาณเท่าลูกตาขาวทั้งหมด สีดำมัวๆ หนาประมาณ ๑ กระเบียด คือ "ปฏิฆานุสัย" ผู้ที่มีกิเลสประเภทเจ้าโทสะ ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้ามีกิเลสประเภทโทสะน้อย ก็จะเห็นเป็นสีจางๆมัวๆ

    ตามนัยที่พิจารณานี้ เป็นการพิจารณาจากละเอียดมาหาหยาบ ที่เรียกว่า ปฏิโลม คือจากตัวรู้มาหาตัวเห็น(รับ)




    แต่ถ้าพิจารณาจากหยาบไปหาละเอียดเป็น อนุโลม ก็จะเห็นว่า ปฏิฆานุสัย หุ้มเห็นและจำอยู่ชั้นนอก เหมือนลูกตาขาว, กามราคานุสัย ก็หุ้มคิด(จิต)อยู่ชั้นกลางเข้าไปเหมือนลูกตาดำ, และอวิชชานุสัย ก็หุ้มตัวรู้(วิญญาณ)อยู่ชั้นในเข้าไปอีก เหมือนแววตาดำฉะนั้น

    เนื่องด้วยอนุสัยทั้งสาม คือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัยนี้ต่างก็หุ้ม เห็น จำ คิด รู้ เป็นไส้กัน คือในกลางของกลาง เป็นชั้นๆกันเข้าไปในจิต นี้ประการหนึ่ง, และตัวอนุสัยกิเลสเอง ก็เกิดจากความนอนเนืองของกิเลส ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมอกุศลจิตที่ฟุ้งซ่านออกไปรับ-ไปยึด ไปเกาะอารมณ์ภายนอกที่ถูกใจบ้าง ที่ไม่ถูกใจบ้าง และที่เฉยๆบ้าง แล้วประกอบกรรมที่เป็นอกุศลด้วย กาย วาจา ใจ ไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเพราะความมืดมน ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ หรือไม่รู้จักทางเจริญ ทางเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิเลสประเภทโมหะและมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ความหลงผิด เห็นผิด ความไม่รู้แจ้ง แล้วหมักหมมนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน นี้อีกประการหนึ่ง

    การกำจัดหรือปหานอนุสัยกิเลสเหล่านี้ จึงต้องกระทำที่จิตใจ อันประกอบด้วย เห็น(รับ) จำ คิด รู้ ซึ่งเป็นชุมทางของกิเลสนั่นเอง

    กล่าวคือ ผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้หมั่นพิสดารกายไปสู่สุดละเอียดอยู่เสมอ หรือให้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของใจรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่สุดละเอียด ทุกอริยาบถ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้เห็นละเอียดอยู่เสมอ เห็นดำหรือขุ่นมัวก็รู้แล้วละจนใสสะอาดทันที เพราะดำหรือขุ่นมัวนั้นก็คือ ธรรมฝ่ายอกุศลและอัพยากฤต ซึ่งกำลังแทรกซ้อนเข้ามาในจิตใจ เอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็น เข้ามาในจิตใจ จึงต้องมี"สติพิจารณาเห็นจิตในจิต"เป็นภายในแล้วเร่งกำจัดเพื่อชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ โดยให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดในหยุด กลางของกลางๆๆลงไป ณ ที่ศูนย์กลาง เห็น จำ คิด รู้ นั่นแหละ

    พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า จิตดวงเดิมซึ่งตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบก็ตกสูญ ลงไปยังฐานที่ ๖ แนวสะดือ เมื่อจิตดวงเดิมว่างหายไป จิตดวงใหม่พร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็จะบังเกิดขึ้นมาแทนที่ เครื่องหุ้ม เห็น จำ คิด รู้ คือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย ก็จะจางลงและกลับใสละเอียด บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้ดวงเห็น จำ คิด รู้ของกายมนุษย์ละเอียดขยายส่วนโตขึ้นกว่าของกายมนุษย์หยาบ คือโตขึ้นเป็นประมาณสองเท่าของไข่แดงของไข่ไก่

    ทีนี้ก็ให้ใจของกายมนุษย์ละเอียดรวมหยุดนิ่งลงไปที่ตรงกลางเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์ละเอียดต่อไป พอใจหยุดถูกส่วนเข้า จิตดวงเดิมพร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้นก็ตกสูญว่างหายไปอีก แล้วจิตดวงใหม่พร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ปรากฎขึ้นแทนที่ เครื่องหุ้มเห็น จำ คิด รู้ คือปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัยของทิพย์ก็จางลง ใสละเอียดและสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งกว่าของกายมนุษย์ละเอียด ดวงเห็น จำ คิด รู้ก็ขยายส่วนโตขึ้นไปอีก เป็นประมาณสามเท่าของไข่แดงของไข่ไก่... พอใจหยุดนิ่งถูกส่วน จิตดวงเดิมและดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ตกสูญ ว่างหายไป ปรากฎดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เป็นไปในลักษณะนี้ตามลำดับในกายต่างๆ กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม

    จนถึงใจของกายอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งลงไปที่กลางเห็น จำ คิด รู้ ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดต่อไปอีก พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็จะตกสูญพร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ว่างหายไป แล้วจะเห็นจิตของธรรมกายโคตรภู พร้อมด้วยดวงธรรมของธรรมกายโคตรภู ก็ปรากฎขึ้นแทนที่ อวิชชานุสัย เครื่องหุ้มรู้ ก็ยิ่งใสละเอียดยิ่งขึ้น และกลับเป็น"วิชชา" ธรรมเครื่องช่วยให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมและสภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติ ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริง ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ก็ขยายขึ้นโตเต็มส่วนเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย

    "กาย กับ ใจ" ของธรรมกายก็กลับเป็น ปฐมมรรค เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก(สภาวะ) ดวงศีล ก็เป็นอธิศีลไป คือศีลยิ่งอย่างแท้จริง กาย วาจา ใจตลอดทั้งเจตนา ความคิดอ่านทั้งหลาย เป็นอันสะอาดบริสุทธิ์ทั้งหมด

    "จิต" ก็กลับเป็น มรรคจิต เป็นเนื้อหนังอันแท้จริง รวบยอดกั่นมาจากพระสุตตันตปิฎก(สภาวะ) เป็น อธิจิต คือ จิตอันยิ่งแท้ๆ

    "ตัวรู้"หรือ"วิญญาณ" ก็เป็น มรรคปัญญา เป็น ญาณ เพราะอวิชชานุสัย เครื่องหุ้มของรู้จางลงมาก จึงใสละเอียดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองมาก และขยายโตเต็มส่วนของธรรมกาย มรรคปัญญานี้เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมปิฎก(สภาวะ) จึงเป็น อธิปัญญาแท้ๆ

    กายธรรมนี้เองคือพุทธรัตนะ ดวงธรรมของธรรมกาย คือ ธรรมรัตนะ และกายธรรมละเอียดๆในท่ามกลางพุทธรัตนะนี้คือ สังฆรัตนะ

    ก็ให้ใจของกายธรรมหยุดในหยุด ลงไปที่กลางของกลางๆๆ ต่อๆไปอีก ก็จะถึงจิตและดวงธรรมของกายธรรมที่ละเอียดๆต่อไป คือ ธรรมกายโคตรภูละเอียด, ธรรมกายโสดาบัน, ธรรมกายโสดาบันละเอียด, ธรรมกายสกิทาคามี, ธรรมกายสกิทาคามีละเอียด, ธรรมกายอนาคามี, ธรรมกายอนาคามีละเอียด, ธรรมกายอรหัตต์, ธรรมกายอรหัตต์ละเอียด ซึ่งใสละเอียด บริสุทธิ์จาก
    เครื่องหุ้มฝ่ายอกุศลทั้งปวง ดวงธรรมของธรรมกายก็ขยายส่วนโตขึ้นไป ตามลำดับยิ่งดำเนินไปสุดละเอียดเพียงใด จิตใจก็จะยิ่งใสสะอาดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองยิ่งขั้นไปเพียงนั้น

    ทั้งหมดนี้ คือการเจริญภาวนาพิจารณาสภาวะของจิตให้รู้จริงเห็นจริงตามธรรมชาติ พร้อมด้วยถอนอนุสัยกิเลสจากจิตของกายหยาบ ไปสู่จิตที่ละเอียดยิ่งกว่า จนถึงโลกุตตรจิต คือจิตของธรรมกายซึ่งเป็นกายในกายที่สุดละเอียด พ้นจากกายในภพสามนี้ตั้งแต่กายที่เก้าเป็นต้นไปจนสุดละเอียด ช่วยให้ปัญญาหยั่งรู้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น พร้อมด้วยวิชชา ได้แก่ วิชชาสาม วิชชาแปด ที่จะใช้ปหานอวิชชาอันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดบาปอกุศลทั้งปวงให้หมดสิ้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

    เพราะฉะนั้น แนวทางปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ที่ให้ผู้ปฏิบัติรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ผ่านกาย เวทนา จิต และธรรม หรือที่เรียกว่า พิสดารกายจนสุดละเอียด

    แล้วก็รวมใจหยุดในหยุดไว้ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่ละเอียดที่สุดที่เข้าถึงอยู่เสมอ อย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งของใจ ให้เห็นใส ละเอียด สะอาดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองอยู่เสมอนั้น ก็คือการปฏิบัติภาวนาที่ให้ผลเป็นการดับกิเลสจากจิตของกายหยาบไปสู่จิตของกายละเอียด

    ที่เรียกว่า "ดับหยาบไปหาละเอียด"ไปจนสุดละเอียด อันเป็นธรรมเครื่องปหานหรือกำจัดอนุสัยกิเลสที่ละเอียดๆและนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานให้หมดสิ้นไป ด้วยโลกุตตรปัญญา คือมรรคจิตและมรรคปัญญา(โลกุตตรฌานและโลกุตตรวิปัสสนา)อันเจริญขึ้นเมื่อถึงธรรมกายแล้ว

    พร้อมด้วยวิชชา ธรรมเป็นเครื่องช่วยให้รู้แจ้งเห็นจิรงในสัจธรรม และสภาวะของธรรมชาติที่เป็นจริงจากการได้ทั้งรู้และเห็นนั่นเอง


    และในขณะเดียวกัน การเจริญภาวนาดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นการถอดขันธ์จากกายโลกียะทั้งแปด ซึ่งเป็นกายที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ ไปสู่กายที่ละเอียดกว่า คือ ธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นกายที่พ้นภพสามไปแล้ว และไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอสังขธาตุ อสังขตธรรมล้วนๆ จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์

    ผลจากการเจริญภาวนาดังกล่าวนี้เอง ที่สามารถช่วยให้เจโตวิมุตติ หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ และเสวยสุขจากความสงบด้วยปัญญาอันเห็นชอบต่อไป



    [​IMG]
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    "วิชชาธรรมกายเป็นสติปัฏฐาน๔ แท้"

    "วิชชาธรรมกายเป็นสติปัฏฐาน๔ แท้"

    ธรรมบรรยาย โดย พระเดชพระคุณพระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)

    ประธานศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจ­ำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท)
    และ เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี




    http://youtu.be/vTn2xJ3l8BY
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...