น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มกราคม 2006.

?
  1. ไม่เห็นด้วย (คิดว่าสอนผิด)

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เห็นด้วย (คิดว่าสอนถูก)

    0 vote(s)
    0.0%
  1. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    คุณค่าในทางวิชาการ<O:p</O:p

    บทพระนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนา ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทุกเรื่อง ล้วนทรงคุณค่าในเชิงวิชาการ เพราะการอธิบายคำสอนของพระพุทธศาสนาใน แต่ละเรื่องแต่ละประเด็น นั้น เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงใช้การวิเคราะห์ วิจารณ์ อย่างน่าสนใจยิ่ง เช่น

    ทรงวิเคราะห์ คำว่า สัจจะ ธรรม ศาสนา ปัญญา เป็นต้น<O:p</O:p
    ทั้งในเชิงพยัญชนะ และในเชิงความหมาย<O:p</O:p
    ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ละเอียดและกว้างขวางยิ่งขึ้น

    ทั้งการวิเคราะห์ในหลาย ๆ เรื่องของพระองค์ แสดงให้เห็นถึงพระทรรศนะ และมุมมองของพระองค์ที่แตกต่างไปจากคนอื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลจากการทรงศึกษาพระพุทธศาสนา อย่างทั่วถึง ลึกซึ้ง

    ประกอบกับการทรงใช้วิจารณญาณ ทั้งเชิงปริยัติ และเชิงปฏิบัติ ตรวจสอบเทียบเคียงกัน

    <O:p</O:pจึงทำให้ธรรมาธิบายของพระองค์ มีความแจ่มแจ้ง กะทัดรัด และเข้าใจง่าย

    <O:p</O:pผลงาน อันเป็นบทพระนิพนธ์ เกี่ยวกับคำสอนในพระพุทธศาสนา ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ทรงคุณค่าในทางวิชาการ

    เป็นต้นว่า เรื่อง
    ลักษณะพระพุทธศาสนา,
    สัมมาทิฏฐิ,
    โสฬสปัญหา,
    ทศบารมี
    ทศพิธราชธรรม,
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

    พระนิพนธ์เหล่านี้ ล้วน แสดงคำสอนชั้นสูงของ พระพุทธศาสนา ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรงนำมาอธิบายเชิงวิเคราะห์ เสมือนปอกเปลือกให้เราดูทีละชั้น ๆ จากชั้นนอกเข้าไปหาชั้นใน

    <O:p</O:pทำให้เรามองเห็นอรรถ หรือความหมายของธรรม ที่พระพุทธศาสนา สอนทีละชั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง จนสามารถสร้างความเข้าใจในธรรมนั้น ๆ ได้ด้วยปัญญาของตนเอง

    <O:p</O:pนอกจากนี้ แนวการวิเคราะห์ หรือแนวการอธิบาย ที่ปรากฏอยู่ในบทพระนิพนธ์ เรื่องต่าง ๆ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น ยังเป็นการให้แนวในการวิเคราะห์ธรรม หรืออธิบายธรรม

    เพื่อความ เข้าใจง่าย ทั้งในเชิงทฤษฎี และในเชิงปฏิบัติด้วย

    <O:p</O:pผู้ที่มีแนว หรือมีหลักในการวิเคราะห์ธรรม อย่างถูกต้อง ย่อมจะก่อให้เกิดความเข้าใจในคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ อย่างถูกต้อง

    <O:p</O:pหากตรงกันข้าม ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนาผิดพลาด หรือไขว้เขว

    <O:p</O:pฉะนั้น แนวหรือหลัก ในการวิเคราะห์ธรรม<O:p</O:p
    จึงเป็นเรื่องสำคัญในวิชาการทางพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง

    <O:p</O:p...................................................................................
     
  2. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    คุณค่าด้านการศึกษา<O:p</O:p

    ผลงานอันดับแรกของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ที่นับว่าทรงคุณค่า ในด้านการศึกษา ก็คือผลงานอันเป็นบทพระนิพนธ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเรื่องต่าง ๆ

    ซึ่งมีอยู่เป็น จำนวนมาก พระนิพนธ์เหล่านี้ ให้ความรู้ เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งภาคปริยัติ (ภาคทฤษฎี) และภาคปฏิบัติ และให้ความรู้เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระดับต้น ๆ จนถึงคำสอนชั้นสูง กล่าวคือ

    <O:p</O:pพระนิพนธ์ที่อธิบายพระพุทธศาสนาอย่างง่าย เหมาะแก่เยาวชนหรือผู้เริ่มศึกษา พระพุทธศาสนาทั่วไป ก็เช่นเรื่อง หลักพระพุทธศาสนา เป็นการอธิบายพระพุทธศาสนา ประยุกต์กับชีวิตประจำวัน ประยุกต์กับเหตุการณ์และความรู้สมัยใหม่ ซึ่งง่ายต่อการทำ ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง

    <O:p</O:pพระนิพนธ์ที่อธิบายพระพุทธศาสนาในระดับปานกลาง เหมาะแก่ผู้ใฝ่ศึกษาหรือประสงค์แสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องพระพุทธศาสนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    ก็เช่น เรื่อง ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เรื่อง ลักษณะพระพุทธศาสนา เป็นต้น

    ซึ่งเป็นเรื่องคำสอนทั่วไป ของพระพุทธศาสนา เป็นการอธิบายพระพุทธศาสนาในเชิงวิชาการ คือ แสดงความเป็นเหตุ เป็นผล
    (หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า เหตุผล)

    แสดงความสัมพันธ์โยงใยกัน ระหว่าง องค์ธรรม เป็นต้น

    <O:p</O:pพระนิพนธ์ที่อธิบายพระพุทธศาสนาในระดับสูง เหมาะแก่ผู้ต้องการศึกษาคำสอนขั้นสูง ของพระพุทธศาสนา ต้องการความรู้ความเข้าใจในคำสอนของ พระพุทธศาสนาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น

    ก็เช่นเรื่อง สัมมาทิฏฐิโสฬสปัญหา เป็นต้น
    ซึ่งเป็นการอธิบายคำสอนขั้นสูง ของพระพุทธศาสนา ในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ ตามแนวของหลักฐานในพระคัมภีร์ประกอบ กับการพิจารณาไตร่ตรองด้วยพระปรีชาส่วนพระองค์

    ในลักษณะที่พระพุทธศาสนา เรียกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  3. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    คุณค่าด้านการปฏิบัติ

    ผลงานด้านพระนิพนธ์และการสั่งสอนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ<O:p</O:p
    ได้ให้สิ่งที่มีคุณค่าทั้งต่อวงการศึกษา และประชาชนทั่วไป

    <O:p</O:pอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ หลัก หรือแนวทาง ในการศึกษาพระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ที่นิยมเรียกกันว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  4. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    คุณค่าชีวิตที่ให้ไว้แก่แผ่นดิน

    แม้ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ในสมณเพศมาโดยตลอด

    แต่ความเป็นไปในพระชนมชีพของพระองค์ สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดี ได้สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต หรือคฤหัสถ์

    เพราะแก่นแท้ของชีวิต หรือว่าส่วนที่เป็นความดีของชีวิต ที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างในการสร้างความดี ให้แก่ตนเอง และสังคม นั้น ก็คือ คุณธรรม และคุณธรรม นั้น ไม่ว่าจะเป็นคุณธรรมของบรรพชิต หรือคุณธรรมของคฤหัสถ์ ก็คือ คุณธรรมอันเดียวกัน เช่น เมตตา กรุณา ไม่ว่าจะเป็นเมตตา กรุณา ที่มีอยู่ในจิตใจของพระ หรือมีอยู่ในจิตใจของชาวบ้าน ก็เป็นเมตตา กรุณา อันเดียวกัน

    <O:p</O:pพระประวัติชีวิต และผลงานของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ให้สิ่งที่มีคุณค่า ควรแก่การยึดถือ เป็นแบบอย่างของคนทั่วไป อย่างน้อย ๒ ประการ คือ ชีวิตแบบอย่าง และ ปฏิปทาแบบอย่าง

    <O:p</O:p...................................................................................
     
  5. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ชีวิตแบบอย่าง

    ชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น ก็ไม่แตกต่างไปจากชีวิตของคนทั่ว ๆ ไป คือมีทั้งผิด หวังและสมหวัง มีทั้งสำเร็จ และล้มเหลว มีทั้งดีใจ และเสียใจ

    แต่โดยที่ทรงมีคุณธรรม หลายประการ ที่โดดเด่นเป็นแกน หรือเป็นแก่นของชีวิต ชีวิตของพระองค์จึงมีความสมหวัง มากกว่าผิดหวัง มีความสำเร็จ มากกว่าความล้มเหลว และมีความดีใจ มากกว่าเสียใจ

    กล่าวโดยรวมก็คือ ด้วยคุณธรรม อันเป็นแกนของชีวิตดังกล่าวพระองค์
    จึงทรงประสบความสำเร็จ หรือทรง เจริญก้าวหน้าไปตามครรลองของชีวิต จนถึงที่สุด ดังเป็นที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้

    หากวิเคราะห์ ตามที่ปรากฏในพระประวัติ ก็จะเห็นได้ว่า พระคุณธรรมที่โดดเด่นในชีวิตของพระองค์ ก็คือ

    <O:p</O:p- อดทน <O:p</O:p
    - ใฝ่รู้ <O:p</O:p
    - กตัญญู <O:p</O:p
    - ถ่อมตน <O:p</O:p
    - คารวธรรม

    พระคุณธรรมประการแรก ที่ปรากฏเด่นชัดในชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก็คือ ความอดทน (ขันติ) เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงมีพระสุขภาพอ่อนแอไม่แข็งแรงมาตั้งเยาว์วัย และมีผลสืบเนื่องมา จนถึงเมื่อทรงบรรพชาเป็นสามเณร พระสุขภาพที่อ่อนแอ นับเป็นอุปสรรคสำคัญของการศึกษาเล่าเรียน พระองค์ต้องทรงใช้ความอดทนอย่างหนัก จึงสามารถผ่านพ้นอุปสรรคแต่ละขั้นตอนมาได้ ทรงเล่าว่า บางครั้งเมื่อถึงเวลาสอบ ต้องทรงใช้ผ้าสักหลาดพันรอบอกหลายชั้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการหนาวสั่น ในเวลานั่งสอบ นอกจากจะต้องงอดทนต่อความไม่สมบูรณ์ของร่างกายแล้ว ยังต้องงอดทนต่อเสียงค่อนแคะ ของเพื่อนร่วมสำนัก อีกนานัปการ แต่สิ่งเหล่านี้แทนที่จะทำให้กำลังพระทัยลดน้อยลง แต่กลับทำให้ทรงรู้สึกว่าจะต้องมีความอดทนมากขึ้น

    <O:p</O:pพระคุณธรรมที่โดดเด่นประการต่อมา ก็คือ ความใฝ่รู้ (สิกขกามตา) เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นผู้ใฝ่รู้มาโดยตลอดแม้เมื่อทรงเป็นพระมหาเถระแล้ว พระอัธยาศัยใฝ่รู้ของพระองค์ ก็ไม่เคยจืดจาง ได้ทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอด้วยการทรงอ่านหนังสือ ทั้งที่เป็นหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หนังสือดีมีประโยชน์บางเรื่องที่ทรงอ่านแล้ว ยังทรงพระเมตตาแนะนำให้ ผู้ใกล้ชิดอ่านด้วย โดยมักมีรับสั่งว่า
     
  6. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ปฏิปทาแบบอย่าง

    การกล่าวถึง พระคุณธรรมในชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ข้างต้นนั้น

    เป็นการมองชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในภาพรวมเช่นกับชีวิตของคนทั่วไปว่า ทรงมีอะไรบ้าง ทรงทำอะไรบ้าง

    แต่ถ้ามองชีวิตของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง ก็จะเห็น แบบอย่าง ของชีวิตในทางธรรมที่ชัดเจน อีกภาพหนึ่ง นั่นคือ ปฏิปทาแบบอย่าง สำหรับพระสงฆ์ทั่วไป

    พระปฏิปทา อันเป็นแบบอย่าง ดังกล่าว ก็คือ
    <O:p</O:p
    ความเป็นผู้ทรงปริยัติ และไม่ทิ้งปฏิบัติ<O:p</O:p
    ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย<O:p</O:p
    ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ

    ...................................................................................................
     
  7. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    คำสอนของ....
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    บุญบาปมีจริง และให้ผลจริง นั่นก็คือ กรรมมีจริง กรรมให้ผลจริง
    http://palungjit.org/showthread.php?t=111452

    ผลของกรรมตรง ตามเหตุจริง

    น่าจะเคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วนับครั้ง นับหน ไม่ถ้วน และก็น่าจะพากันลืมเสียสนิทอย่างนับครั้งนับหนไม่ถ้วน เช่นเดียวกัน

    จึงพากันทำกรรมที่เป็นบาปอกุศล มิได้ว่างเว้น ลืมกลัวผลร้าย ที่จะเกิดตามมา พากันเดือนร้อนด้วยผลร้ายแรงต่าง ๆ นานา
    โดยหารู้ไม่ว่า นั่นเกิดแต่ตนได้ทำไว้ ด้วยตนเอง
    เป็นการทำร้ายตนเอง มิใช่มีใครมาทำร้ายรังแก อย่างเป็นที่เข้าใจอยู่ทั่วไป

    พาให้ก่อกรรม อันเป็นบาปอกุศลเพิ่มขึ้น ไม่รู้จบสิ้น
    ด้วยการคิดตอบโต้ ผู้ที่คิดว่า เป็นผู้ทำร้ายตน
    ทั้งที่ความจริง ทุกคนที่ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน หนักบ้างเบาบ้าง<O:p</O:p
    จากเหตุนั้น เหตุนี้ หาใช่เป็นเหตุที่ผู้อื่นทำ ทั้งสิ้น
    ตนเอง ทำตนเอง แต่อาจมิใช่ในภพภูมิปัจจุบัน ที่จำได้
    อาจเป็นภพภูมิในอดีตที่นานไกล<O:p</O:p
    ซึ่งไม่อาจระลึกรู้ได้ กลายเป็นผู้อื่นทำเราทั้งนั้น

    การตอบโต้ให้หายเจ็บแค้น จึงเกิดตามมาไม่จบสิ้น<O:p</O:p
    เป็นเวร เป็นกรรม ต่อกัน ไม่รู้แล้ว

    กรรม หมายถึงการกระทำ ๓ ประการ คือ
    การกระทำทางกาย คือ ใช้ไม้ ใช้มือ
    การกระทำทางวาจา คือ พูด
    การกระทำทางใจ คือ คิด

    ทำดี พูดดี คิดดี คือกรรมดี<O:p</O:p
    ทำชั่ว หรือทำไม่ดี พูดชั่ว หรือพูดไม่ดี คิดชั่ว หรือคิดไม่ดี คือกรรมชั่ว หรือกรรมไม่ดี
    ส่อแสดงให้เห็นจิตใจของผู้ทำดี ผู้พูดดี ผู้คิดดี ว่าเป็น ผู้มีจิตใจดี<O:p</O:p
    และ ส่อแสดงให้เห็นจิตใจของผู้ทำไม่ดี ผู้พูดไม่ดี ผู้คิดไม่ดี
    ว่าเป็นผู้มีจิตใจไม่ดี นี้เป็นความจริง

    ปราชญ์ ท่านจึงกล่าวว่า ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ<O:p</O:p
    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงภาษิตไว้ มีความว่า

    ...โลก ถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป สัตว์ทั้งปวง อยู่ในอำนาจแห่งจิต อย่างเดียว..

    ประโยชน์ หรือวลี ที่แทบทุกคนเคยเอ่ยปากพูด หรือ ไม่ก็เขียน
    หรือ ไม่ก็กราดเกรี้ยวอยู่ในใจ ก็คือ ไม่ได้อย่างใจเลย ไม่ได้ดังใจจริง ๆ<O:p</O:p
    แสดงถึงจิตใจของ ผู้คนส่วนใหญ่ หรือไม่ก็ ของผู้เป็นปุถุชนทั้งปวง ว่า <O:p</O:p
    ไม่ตั้งใจให้เป็น เหตุ ตรงตามที่ปรารถนาให้เกิด ผล
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องไม่ได้อย่างใจ

    ดังที่เอยปากรำพันกันอยู่เป็นประจำ แทบจะไม่มียกเว้นเลยสักคน
    แม้ต้องการ ผล อย่างใด ต้องทำ เหตุ ให้ตรง จึงจะได้อย่างใจ
    และ ทุกคนแน่นอนที่ต้องการแต่อะไร ๆ ที่ดี ที่งาม ทั้งนั้น

    เพื่อให้สมหวัง ให้ได้อย่างใจ จึงต้องทำเหตุที่ดีที่งาม<O:p</O:p
    ไม่เช่นนั้น ก็ต้องผิดหวัง ต้องไม่ได้อย่างใจ ตลอดไป

    ผล ย่อมเกิดแต่ เหตุ แน่นอนเสมอ

    ทำ เหตุใด ย่อมได้รับ ผล นั้น <O:p</O:p
    ตรงตาม เหตุ ที่ได้กระทำแล้ว

    <O:p</O:pจะไม่เกิด ผล ที่ไม่ตรงตาม เหตุ ที่ได้กระทำ
    และไม่มี ผล ใดเกิดแต่ เหตุ ที่ไม่ได้กระทำแล้ว

    และไม่มี เหตุใด ที่ได้กระทำแล้ว<O:p</O:p
    จะไม่ส่ง ผล ให้เกิดตรงตาม เหตุ ที่ได้กระทำ<O:p</O:p

    กล่าวสั้น ๆ ดังปรากฏในพระพุทธศาสนา
    ที่ได้ยินได้ฟังกันแทบทุกเวลา ก็คือ

    <O:p</O:pทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แน่นอนเสมอไป

    : ทำบุญแผ่นดินไทย ๒๕๔๕
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    <O:p</O:p...................................................................................................

    อย่างนี้ จัดว่าเป็น "อิทัปปัจจยตา" ได้ไหมครับ

    ...................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  8. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ...................................................................................

    ทั้งหมด ที่โพสมานี้....
    อย่างนี้ จัดว่าเป็น วิถีทาง แนวทาง ของ กาลามสูตร ได้ไหมครับ

    ...................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  9. 2499

    2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,033


    ท่านมหาหิน ต้องการสื่อ เกี่ยวกับปริญญาทางโลกที่พุทธทาสได้รับ


    แต่ปริญญาทางโลกมันสู้ปริญญาทางธรรมไม่ได้หรอก


    ทางธรรม ก็คือ ทาง บรรลุ มรรค ผล นิพพาน


    (eek)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2008
  10. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780



    เคลียร์ครับ.... อนุโมทนา
     
  11. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,182
    กาลามสูตรท่านว่ายังงี้กั๊บ

    สเจ โข ปน อตฺถิ ปโร โลโก
    อตฺถิ สุกตทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลวิปาโก ฐานเมตํ
    เยนาหํ กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชิสฺสามีติ
    อยมสฺส ปฐโม อสฺสาโส อธิคโค โหติ

    ก็แลถ้าว่า โลกหน้ามีอยู่ไซร้
    วิบาก คือผลของกรรมที่สัตว์ทำดีและทำชั่วย่อมมีอยู่
    ข้อนี้เป็นฐานที่ตั้งซึ่งเป็นได้
    เบื้องหน้าแต่กายแตกสลายตายไป เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้
    นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่หนึ่งที่อริยสาวกได้รับ

    สเจ โข ปน นตฺถิ ปโร โลโก
    นตฺถิ สุกตทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลวิปาโก
    อิธาหํ ทิฏฺเฐว ธมฺเม อเวรํ อพฺยาปชฺฌํ อนีฆํ สุขี อตฺตานํ ปริหรามีติ
    อยมสฺส ทุติโย อสฺสาโส อธิคโค โหติ

    ก็แลถ้าว่า โลกหน้าไม่มีไซร้
    วิบาก คือผลของกรรมที่สัตว์ทำดีและทำชั่วก็ไม่มี
    ในทิฏฺฐธรรมนี้ เราก็จะรักษาตนให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีแต่ความสุข ดังนี้
    นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่สองที่อริยสาวกได้รับ

    สเจ โข ปนาหํ กสฺสจิ ปาปํ เจเตมิ
    อกโรนฺตํ โข ปน มํ ปาปกมฺมํ กุโต ทุกฺขํ ผุสิสฺสตีติ
    อยมสฺส ตติโย อสฺสาโส อธิคโค โหติ

    ก็แลถ้าเมื่อบาปที่บุคคลทำ ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้
    และเราก็ไม่ได้คิดบาปให้แก่ใครๆ
    ไหนเลย ทุกข์จักมาพ้องพานเรา ผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมไว้ ดังนี้
    นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่สามที่อริยสาวกได้รับ


    สเจ โข ปน กโรโต น กรียติ ปาปํ
    อิธาหํ อุภเยเนว วิสุทฺธํ อตฺตานํ สมนุปสฺสามีติ
    อยมสฺส จตุตฺโถ อสฺสาโส อธิคโค โหติ

    ก็แลถ้าเมื่อบาปที่บุคคลทำ ไม่ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้
    บัดนี้ เราก็ได้พิจารณาเห็นตนเป็นคนบริสุทธิ์แล้ว
    ทั้งสองทาง ดังนี้
    นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่สี่ที่อริยสาวกได้รับ

    ส โข โส กาลามา อริยสาวโก
    เอวํ อเวรจิตฺโต
    เอวํ อพฺยาปชฺฌจิตฺโต
    เอวํ อสงฺกิลิฏฺฐจิตฺโต
    เอวํ วิสุทฺธจิตฺโต
    ตสฺส ทิฏฺเฐว ธมฺเม อิเม จตฺตาโร อสฺสาสา อธิคตา โหนฺตีติ

    กาลามชน อริยสาวกนั้นๆแล
    มีจิตหาเวรมิได้อย่างนี้
    มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้
    มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้
    มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้
    ในทิฏฺฐธรรม ท่านย่อมได้ความอุ่นใจสี่ประการเหล่านี้ ดังนี้

    http://palungjit.org/showthread.php?t=96327
     
  12. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ส่วนตัวผมเมื่อก่อนก็หลงคิดว่าสมเด็จพระสังฆราชเป็นเพียงประมุขสงฆ์เท่านั้นต่อมาผู้ใหญ่นักการเมืองเพื่อนของคุณพ่อได้พิมพ์หนังสือวิธีสร้างบุญบารมีและเอามาให้ผมอ่านผมประทับใจในคำสอนของ
    เจ้าประคุณสมเด็จมากท่านเขียนได้ง่ายมากและทำให้ผมศรัทธาและทุกวันที่3ตุลาคมผมจะไปกราบหลวงปู่เจ้าประคุณสมเด็จตลอด(ตั้งแต่2545เป็นต้นมา)ท่านสอนง่ายท่านเชื่อว่าตายไม่สูญเชื่อมั่นในพุทธบารมีท่านเขียนไว้ในแสงส่องใจวิสาขบูชาปีที่แล้วเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธเจ้าและเมืองพระนิพพานนิพพานไม่สูยอ่านแล้วปลื้มใจครับ ที่พระผู้ใหญ่และทรงเป็นประมุขสงฆ์ท่านเป็นนักปฏิบัติและปริยัติที่ดีมากครับครับ
     
  13. phumiput

    phumiput เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,916
    ค่าพลัง:
    +16,583
    คุณลองไปอ่านดูใหม่นะ สอนอยู่แท้ๆเลยว่านรกสวรรค์ไม่มีจริงพระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นมาเพื่อตามใจคนสมัยก่อน คิดไปได้อย่างไร ไม่ไหว
     
  14. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    พอจะบอกได้มั่ยครับว่าข้อความดังกล่าว กล่าวไว้ว่าอย่างไร และอยู่ในหนังสือเล่มใด หน้าที่เท่าไหร่ ?
    เพื่อมีผู้อื่นอยากทราบครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2008
  15. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ทั้งหมด ที่โพสมานี้....
    อย่างนี้ จัดว่าเป็น วิถีทาง แนวทาง ของ กาลามสูตร ได้ไหมครับ
    ---------------------------------------
    ****อย่าเชื่อจากเขาว่ามา****
    ***เพราะปากคนยาวยิ่งกว่าปากกา***
    ***ใครเชื่อคนอื่น สติปัญญาจะไม่เกิด***
    ***สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ***
    ***ค้นหาตัวเองให้เจอก่อน แล้วจึงไปค้นหานรกใต้ดิน-สวรรค์บนฟ้า***
    ***ตัวของตัวเองยังไม่มี นรกใต้ดิน-สวรรค์บนฟ้าจักมีมาแต่ที่ไหน?***
    ***สัพเพ ธัมมา อนัตตา ทุกสิ่งไม่มีตัวตนที่แท้จริง**<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ***ทุกสิ่งเป็นแค่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2008
  16. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    **มันสูญมาตั้งแต่ยังไม่ตาย***
    ***ตายแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึง**
    ------------------------------------------------------------------------
    ถ้าตายแล้วสูญตามที่ท่านเตชปัญโญ กล่าว
    แล้วเจ้าชายสิทธัตถะท่านจะทรงบำเพ็ญจนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพื่ออะไรหรือครับ? ทั้งที่ท่านก็เป็นเจ้าชายมีชีวิตที่สบายทุกอย่าง ไม่ใช่ว่าเพราะท่านมองการณ์ไกลหรือครับว่า ทุกชีวิตล้วนต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วก็วนเป็นวัฏฐะอีก ไม่จบไม่สิ้น มันล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น เพราะเหตุนี้เจ้าชายสิทธัตถะท่านจึงออกบวชเพื่อหาทางให้หลุดพ้นวัฏฐะหรือดับทุกข์นั้น มิใช่หรือครับ ?

    ถ้าตายแล้วสูญ
    -อย่างนั้นเรื่องกรรมที่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวถึงก็คงไม่มีผลอะไรใช่มั่ยครับ ?
    -ทำดีทำชั่ว ตายไปก็สูญไม่มีผลอะไรเลยใช่มั่ยครับ แล้วจะทำดีเพื่ออะไรครับ ?

    ถ้าแนวความคิดของท่านเตชปัญโญ ภิกขุ และอาจารย์ของท่าน ได้เผยแพร่ไปสู่เยาวชนในวงกว้างกว่านี้ อนาคตของชาติน่าเป็นห่วงอย่างมาก ในอนาคต คงจะมีการปล้น ฆ่า และคดีอาชญากรรม ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นแน่นอน

    สวรรค์ในอกนรกในใจ อย่างที่ท่านชอบกล่าว มีผลกับบุคคลจำพวกนี้หรือไม่ ?
    1. พวกชอบล่าสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ ความสุขของพวกเค้าเหล่านั้นคือการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตผู้อื่น เช่นนั้นก็หมายความว่าพวกคนเหล่านั้นเค้าได้ขึ้นสวรรค์กันหมดใช่มั่ยครับ
    ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ?
    2.คนบางคนมีความสุขกับการเบียดเบียนและหาความสุขจากความทุกข์ของผู้อื่น พวกคนเหล่านี้ก็ขึ้นสวรรค์กันหมดใช่มั่ยครับ ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ?
    3. ถ้าท่านเคยศึกษาประวัติฆาตกร อาชญกรรม ดังๆ ท่านรู้มั่ยว่าพวกคนเหล่านี้ มันมีความสุขกับการฆ่าคน ข่มขืน นี่คือความสุขของพวกมันเหล่านั้น เช่นนั้นก็หมายความว่า พวกนี้เค้าได้ขึ้นสวรรค์กันหมดใช่มั่ยครับท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ?

    ส่วนตัวผมขอสรุปว่า ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ มีความคิดเห็นผิดอย่างร้ายแรงสำหรับหลักในศาสนาพุทธ

    ดังที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนั้น ส่วนลึกๆ ผมก็คาดหวังให้ท่านได้เปลี่ยนแนวความคิดของท่านให้ถูกต้อง เท่านั้นเอง
    แม้ในความเป็นจริงมันจะยากเต็มทนเพราะดูจากคห.ที่ท่านได้แสดงเอาไว้ คงจะมี 0.00001% เท่านั้น....
     
  17. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    เชื่อพุทธเจ้า..ตัดคอเราได้เลย.. (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><HR>"หากผู้ใดจะมาตัดคอเรา
    ถ้าเป็นเพราะเชื่อตามพระพุทธเจ้าว่า
    บาปบุญ นรกสวรรค์ พรหมโลกนิพพาน.... มี
    เรายอมให้ตัดเลย...
    แต่ความเชื่อที่ประจักษ์ในหัวใจนี้ ...ไม่ยอมตัด
    .....เราจะตายทั้งๆที่คอขาด ก็ไม่เสียดาย....
    นี่แหละศาสนาเปิดเผยมากี่กัปกี่กัลป์แล้ว....
    สอนชาวเราทั้งหลาย
    ให้เชื่อเถิด ถ้าไม่อยากจม ให้เชื่อพระพุทธเจ้านะ"</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    _________________
    ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
    และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
    http://www.luangta.com
    mms://www.luangta.com/fm103_25
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ถ้าตายแล้วสูญตามที่ท่านเตชปัญโญ กล่าว
    แล้วเจ้าชายสิทธัตถะท่านจะทรงบำเพ็ญจนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพื่ออะไรหรือครับ? ทั้งที่ท่านก็เป็นเจ้าชายมีชีวิตที่สบายทุกอย่าง ไม่ใช่ว่าเพราะท่านมองการณ์ไกลหรือครับว่า ทุกชีวิตล้วนต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วก็วนเป็นวัฏฐะอีก ไม่จบไม่สิ้น มันล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น เพราะเหตุนี้เจ้าชายสิทธัตถะท่านจึงออกบวชเพื่อหาทางให้หลุดพ้นวัฏฐะหรือดับทุกข์นั้น มิใช่หรือครับ ?<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    ***เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกบวชเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์ของชีวิตในปัจจุบัน***<o:p></o:p>
    ***คนเราเมื่อแก่ เจ็บ ตาย หรือพลัดพราก เป็นต้น มันก็เป็นทุกข์***<o:p></o:p>
    ***วัฎฎะสงสารมันอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่การเวียนว่ายทางร่างกาย***<o:p></o:p>
    ***เรื่องการบำเพ็ญบารมีตั้งเป็นแสนๆชาตินั้นอย่าเพิ่งปลงใจเชื่อว่านั้นเป็นความจริง**

    ถ้าตายแล้วสูญ
    -อย่างนั้นเรื่องกรรมที่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวถึงก็คงไม่มีผลอะไรใช่มั่ยครับ ?
    -ทำดีทำชั่ว ตายไปก็สูญไม่มีผลอะไรเลยใช่มั่ยครับ แล้วจะทำดีเพื่ออะไรครับ ?<o:p></o:p>

    ***การทำดี คืออะไร? คือการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคม ช่วยเหลือสังคม ไม่ใช่เอาเงินไปทำบุญกับพระแล้วหวังขึ้นสวรรค์ นั่นจะกลายเป็นบาป ถ้าทำด้วยความโง่และโลภ**<o:p></o:p>
    ***การทำดีก็เพื่อให้เกิดความสุขใจ สบายใจในปัจจุบัน เหมือนหลอกให้สุขใจไปวันๆ แต่สุดท้ายก็ไม่พ้นทุกข์***<o:p></o:p>
    ***พระพุทธเจ้าสอนเรื่องการดับทุกข์ในชีวิตปัจจุบัน ไม่ใช่สอนให้ไปดับเอาชาติหน้า หรือชาติต่อๆไป**<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สวรรค์ในอกนรกในใจ อย่างที่ท่านชอบกล่าว มีผลกับบุคคลจำพวกนี้หรือไม่ ?
    1. พวกชอบล่าสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ ความสุขของพวกเค้าเหล่านั้นคือการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตผู้อื่น เช่นนั้นก็หมายความว่าพวกคนเหล่านั้นเค้าได้ขึ้นสวรรค์กันหมดใช่มั่ยครับ ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ?
    2.คนบางคนมีความสุขกับการเบียดเบียนและหาความสุขจากความทุกข์ของผู้อื่น พวกคนเหล่านี้ก็ขึ้นสวรรค์กันหมดใช่มั่ยครับ ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ?
    3. ถ้าท่านเคยศึกษาประวัติฆาตกร อาชญกรรม ดังๆ ท่านรู้มั่ยว่าพวกคนเหล่านี้ มันมีความสุขกับการฆ่าคน ข่มขืน นี่คือความสุขของพวกมันเหล่านั้น เช่นนั้นก็หมายความว่า พวกนี้เค้าได้ขึ้นสวรรค์กันหมดใช่มั่ยครับท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ?<o:p></o:p>

    ***พวกชอบฆ่าสัตว์ จะทำไปด้วยอะไร? ถ้าทำด้วยโทสะ โทสะก็เผาจิตเขาอยู่เสมอๆ ถ้าทำด้วยโลภะ โลภะก็เผาจิตเขาอยู่เสมอ ๆ ถ้าทำด้วยโมหะ โมหะก็เผาจิตเขาอยู่เสมอๆ***<o:p></o:p>
    *** คนทำชั่วจะไม่มีความสุขสงบ เพราะจิตใต้สำนึกของเขามันจะตามรบกวนจิตใจของเขาอยู่เสมอๆ ไปจนกว่าผลชั่วมันจะหมด ถึงแม้เขาจะมีความสุขบ้างในขณะที่ทำ มันก็เป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2008
  19. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    ***เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกบวชเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์ของชีวิตในปัจจุบัน***<o>:p></o>:p>
    ***คนเราเมื่อแก่ เจ็บ ตาย หรือพลัดพราก เป็นต้น มันก็เป็นทุกข์***<o>:p></o>:p>
    ***วัฎฎะสงสารมันอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่การเวียนว่ายทางร่างกาย***
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------
    เช่นนั้น "ความตาย" ก็คือสิ่งดับทุกข์ทั้งปวงน่ะสิครับ เพราะตายแล้วสูญ (แบบที่ท่านเตชปัญโญ กล่าว) แล้วพระพุทธเจ้าท่านจะกล่าวถึงพระนิพพานไว้ทำไมเหรอครับท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ????

    ถ้าตายแล้วสูญ แล้วพระพุทธเจ้าท่านจะทรงสอนให้รักษาศีล ฝึกสมาธิ และเจริญวิปัสนา สอนให้ละกิเลส ให้มันลำบากทำไมเหรอครับท่านเตชปัญโญ ภิกขุ?




    ***พวกชอบฆ่าสัตว์ จะทำไปด้วยอะไร? ถ้าทำด้วยโทสะ โทสะก็เผาจิตเขาอยู่เสมอๆ ถ้าทำด้วยโลภะ โลภะก็เผาจิตเขาอยู่เสมอ ๆ ถ้าทำด้วยโมหะ โมหะก็เผาจิตเขาอยู่เสมอๆ***
    --------------------------------------------------------------
    ผมใ้ช้คำว่าพวกชอบล่าสัตว์ คนพวกนี้ทำเพราะความสนุกสนาน เพราะว่านี้คือความสุขของเค้า (เค้าฆ่าแล้วเค้าไม่รู้สึกผิดนะครับ)
    ท่านเตชปัญโญเข้าใจคำว่า ฆ่าเพื่อความสนุกและเค้าก็มีสุขกับการฆ่า มั่ยครับ ?

    ยกตัวอย่าง
    ท่านเคยได้ยินข่าวที่เด็กฝรั่งมันฆ่าหมูป่ายักษ์ได้มั่ยครับ เค้าฆ่าเพราะนั่นคือความสุขของเค้า ฆ่าเสร็จคนอื่นก็ยกย่องว่ามันเก่งสามารถฆ่าหมูป่ายักษ์ได้

    สรุป ฆ่าโดยมีความสุขอย่างนี้ก็ขึ้นสวรรค์ใช่มั่ยครับ ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ?



    ส่วนตัวผม ผมว่าผมเ่ข้าใจท่านเตชปัญโญ ภิกขุ นะครับ

    แต่ทำไมท่านถึงไม่เข้าใจสิ่งที่ผมและท่านอื่นๆได้พยายามสื่อไปบ้างเลย

    ท่านเตชปัญโญ แสดงความเห็นดูเหมือนจะเข้าใจนะครับ

    แต่สรุปท่านก็ไม่เข้าใจอยู่ดี.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2008
  20. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,176
    ความสำคัญของใจที่เป็นสัมมาทิฏฐิ
    โดยคุณคณานันท์ ทวีโภค

    [​IMG]
    พระเทวทัต


    สัมมาทิฏฐินั้น แท้ที่จริงก็คือ องค์แห่งมรรคมีองค์แปดประการนั่นเอง แต่หากจิตไม่ตั้งในสัมมาทิฏฐิตั้งแต่ต้นแล้ว การปฏิบัติธรรมทั้งหมดก็จะฟั่นเฟือ ผิดเพี้ยน ตีความผิดไปหมดสิ้น ตั้งแต่ต้น อุปมาดั่งการตั้งเข็มทิศหางเสือผิด ก็ย่อมพลาดไปจากจุดหมาย​


    หลายท่านที่ปฏิบัติธรรมแต่ไม่อาจเล็งเห็นความสำคัญแห่งสัมมาทิฏฐิ แล้ว ก็เป็นเหตุแห่งความผิดพลาด ล่าช้า ในการปฏิบัติธรรม​


    องค์ประกอบแห่งสัมมาทิฏฐินั้น ต้องประกอบด้วยทิฏฐิ ความเชื่ออันเป็นพื้นฐานสำคัญดังต่อไปนี้​


    -เชื่อในคุณแห่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ว่ามีผลจริงท่านตรัสรู้ชอบจริง ธรรมมะมีผลแห่งการปฏิบัติจริง พระอริยสงฆ์มีจริง


    หากไม่เชื่อแต่ต้นก็ป่วยการที่จะปฏิบัติ เพราะไม่เกิดผลประการใด


    ผมได้เคยพบ ผู้ที่มีจิตเป็นมิจฉาทิฏฐิมากมาย ทั้งที่เป็นพระและเป็นฆราวาส บางคน ไม่เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้า บอกว่าเป็นเรื่องเล่าให้คนเชื่อ ให้คนมีศีลมีธรรมกัน ที่จริงเป็นเรื่องโกหก เขาเก่งรู้ทัน ​


    พระบางองค์บอกกับผมว่า การปฏิบัติธรรมไม่มีผล เขาเองทำมา สองปีแล้วไม่เห็นได้อะไร ดังนั้นคนอื่นบวชมาแป๊บเดียวจะไปได้อะไร ​


    พระมหาเปรียญเก้าบอกผมว่า พระโสดาบันไม่มี ทำไปไม่ได้อะไร หรอก
    เจ้าคุณบางคน บอกผมว่า อานิสงค์ของการทำบุญที่จะมีสวรรค์นั้นไม่มีจริง เป็นการหากำไรเกินควร ไม่จริงหรอก


    ที่ผมได้ยกตัวอย่างนี้ เป็นเรื่องที่ผมได้ประสบเองตอนเป็นพระสงฆ์ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสพยากรณ์ ว่า "พระพุทธศาสนา จะเจริญหรือเสื่อม ก็ด้วย พุทธบริษัทสี่นั่นเอง"


    และจากที่ผมได้พบเห็นมา ด้วยตนเองก็ขอบอกได้เลยว่า ท่านที่เชื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิแบบนั้น เพศลักษณะภายนอกท่านเป็นพระจริง เทศน์สั่งสอนคนจริง แต่ใจท่านไม่เชื่อ ไม่เคารพพระพุทธเจ้า ที่ผมได้เห็นมา ยิ่งพาผู้อื่นเช่นพระบวชใหม่เห็นผิดตามๆ กันไปทั้งหมดบ้าง ความเป็นพระไม่สมบูรณ์บ้าง สร้างทิฏฐิผิดๆไปบ้าง ท้ายสุดผู้มาบวชก็กลับเสียศรัทธาในพระพุทธศาสนา ว่าเป็นเรื่องโกหก เพราะพระใหญ่เป็นมหาเปรียญเป็นเจ้าคุณยังพูดออกมาแบบนี้ ​


    ตนเองลงนรกไม่พอ ยังพาผู้อื่นลงนรกไปด้วยอีกเป็นจำนวนมาก


    ดังนั้นหากท่านไม่เชื่อ ไม่เคารพพระรัตนตรัย ก็จบแต่แรกแล้ว ป่วยการในการปฏิบัติ เพราะไม่มีผล


    -ต้องอธิษฐานถอนจิตมิจฉาทิฏฐิและกราบขอขมาพระรัตนตรัยก่อน
    -ต้องมีความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด สังสารวัฏฏ์

    การไม่เชื่อ ไม่เห็นโทษภัยในสังสารวัฏฏ์ ย่อมไม่มีจิตคิดหลุดพ้นจาการเวียนว่ายตายเกิด มีพระนิพพานเป็นที่สุด


    เพราะพระพุทธศาสนาไม่ใช่พุทธปรัชญา ไม่ใช่ความเชื่อ แต่เป็นสัจจะธรรม ความจริงว่า มีการเวียนว่ายตายเกิดไปตาม ภพภูมิต่างๆ มีภพสุขคติภูมิ มีสวรรค์ พรหมโลก อรูปพรหม พระนิพพาน ภพอบายภูมิได้แก่ เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก


    ดังที่พญาลิไทท่านได้ทรง กราบนิมนต์ให้พระมาลัยท่านถอดกายทิพย์ ไปยังภพภูมิต่างๆ เพื่อกลับนำมาเล่า และบันทึก เพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้เข้าใจใน สังสารวัฏฏ์เป็นสำคัญ


    "ไตรภูมิพระร่วง" ไม่ใช่เรื่องแต่ง แต่เป็นการบันทึก ตามความเป็นจริง ที่พระมาลัยท่านได้ไปเห็นมาจริงๆ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในยุคสมัย ของพญาลิไทท่าน พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งคนมีศีลมีธรรมสูง


    ลองมาย้อนดูยุคสมัยปัจจุบันนี้ มีมหาปราชญ์ทางพุทธ ที่คนยกย่องกันแต่ศีลธรรมกลับเสื่อม คนกลับละทิ้งธรรม ละทิ้งความดี เพราะเลิกเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เห็นพระบวรพุทธศาสนาเป็นเพียงปรัชญา ถกธรรมมะ สนนทนาธรรมโดยเน้นวาทะแสดงภูมิ แสดงปัญญา ด้วยมานะทิฏฐิว่าฉันฉลาดลึกซึ้งในธรรม ยิ่งทำให้อธิบายยากๆ ให้คนฟังยากๆได้ยิ่งทนงตนว่า ธรรมมะของฉันลึกซึ้ง พาให้คนเข้าใจผิดๆ ไปอีกว่าว่าธรรมมะเป็นเรื่องยากเป็นเรื่องลึกซึ้ง ยากเย็น มีผู้มีปัญญาสูงส่งเท่านั้นจึงจะเข้าใจในธรรมได้


    ซึ่งโดยพุทธประสงค์ นั้น ท่านทรงปรารถนา ปรารภที่ผลแห่งการปฏิบัติ ปรารถนาให้ผู้ฟังธรรมได้เข้าถึงธรรมได้โดยง่าย และชาวบ้านมากมาย เด็กผู้มีอายุน้อย 7 ขวบอีกมากที่ฟังธรรมแล้วบรรลุธรรม โดยฉับพลันตั้งมากมายนับไม่ถ้วน แม้เป็นคนเข็ญใจพระพุทธเจ้าท่านก็โปรด ประดุจมหาคงคาอันเอ็นดูต่อหมู่สัตว์เสมอกัน


    เหตุนี้ปฏิสัมภิทาญาณจึงมีองค์แห่งการบรรยายธรรม เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ ทำให้ธรรมมะที่ยากเป็นเรื่องง่าย และธรรมมะที่ง่ายๆ จำแนก ย่อยละเอียดลึกซึ้งพิสดารได้ เพื่อให้ธรรมะนั้นแตกฉานกระจ่างในจิตยิ่งขึ้น เพื่อยังประโยชน์ในการสงเคราะห์คนทั้งปวงให้เข้าถึงธรรมะได้โดยง่าย


    -เชื่อในกรรมและผลของกรรม เชื่อบุญ เชื่อบาป


    เพราะหากไม่เชื่อบาปบุญคุณโทษแล้ว ศีลห้าย่อมไม่มีในจิตของคนผู้นั้นแน่นอน ย่อมทำเลวทรามต่ำช้าได้โดยไม่ยับยั้งช่างใจ ไม่มีหิริโอตปะ ความเกรงกลัวละอายใจต่อบาปกรรม ทำอนันตริยกรรมได้โดยง่าย


    คนส่วนใหญ่ที่ทำผิด คิดร้าย เป็นพาลชนทั้งหลาย ล้วนเเต่เป็นผู้ไม่เชื่อเวร เชื่อกรรม


    อลัชชีในศาสนาก็เกิดจากผู้ที่ไม่เชื่อเวรกรรม ไม่เชื่อนรกสวรรค์ มาศึกษาตามที่ผิดอีกก็กลับมาเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิซ้ำอีกว่า เวรกรรมไม่มี สวรรค์ นรกไม่มี การอยู่ในเพศพระเป็นที่สบาย มีคนให้ คนถวาย อยู่ดีกินดี ก็เลยลวงโลก ไม่เคารพในพระธรรมวินัยแต่อย่างไร แม้แต่คุรุอาบัติมีปาราชิก ก็ทำได้โดยไม่ละอาย พอถูกจับได้ความชั่วก็ปรากฏ ก็ทราบว่าเหตุเกิดจาก ไม่เชื่อในเวรกรรม ไม่เชื่อว่ามีสวรรค์นรก ไม่เชื่อบุญเชื่อบาปแต่อย่างไร


    เมื่อเชื่อกรรมและผลของกรรมจิตก็ย่อมตั้งมั่นอยู่ในกุศล ในบุญ ในความดี เป็นสำคัญ เมื่อจิตน้อมในความดี ก็ย่อมใกล้พระนิพพาน ใกล้มรรค ใกล้ผล การปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติขึ้น ไม่ดำมืด


    -เชื่อว่า การปฏิบัติธรรมมีผล มรรคผลมีจริง พระอริยเจ้า มีจริง พระนิพพานมีจริง

    เพราะหากไม่เชื่อว่า การปฏิบัติจะมีผลแล้ว ก็ป่วยการในการปฏิบัติเช่นกัน จะทำในสิ่งที่ตนไม่เชื่อไปเพื่ออะไร


    บางท่านบอกว่า ณ ปัจจุบันนี้ไม่มีพระอริยเจ้า ไม่มีพระอรหันต์แล้ว ก็ขอบอกได้เลยว่า ที่ท่านเข้าใจว่าไม่มีก็เพราะดวงจิตท่านมืดบอดต่อธรรม ต่อพระอริยเจ้า ที่จริงท่านมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน และจะดำรงสืบสานพระบวรพุทธศาสนาต่อไปตราบถ้วนห้าพันปี ดังนั้น ไม่ต้องห่วงกันในเรื่องนี้


    ส่วนท่านที่เข้าใจว่านิพพานสูญนั้น พระท่านบอกว่า บางท่านมีจิตเป็นสัมมาทิฏฐิทุกอย่างแต่ไปเข้าใจว่า นิพพานสูญนั้น ท่านนับว่าเป็นการสำคัญผิด หากแม้นว่ายังไม่ตายจากชาตินี้ก็ยังนับว่า อาจเปลี่ยนจากมิจฉาทิฏฐิกลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิได้


    เรื่องนี้ผมเองก็ต้องยอมรับว่าตนเองก็เคยเลวมาก่อน เรียนผิดมาก่อนเช่นกัน สมัยที่ศึกษาธรรมมะด้วยตนเอง อ่านแต่ตำราของ.... ก็พลอยพาไปเข้าใจว่าพระนิพพานสูญไปกับเขาด้วย จึงเข้าใจได้อย่างดีว่า อารมณ์ และความคิดที่เข้าใจว่า นิพพานสูญนั้นเป็นอย่างไร


    มารู้จักพระนิพพานจริงๆ ก็จากการปฏิบัติ จนรู้ได้ เห็นได้ กระจ่างแจ้งแก่จิตตนเองว่าที่พระพุทธองค์ท่านได้ตรัสสอนเอาไว้เป็นอย่างไร


    ไอ้อารมณ์นิพพานสูญ กับสภาวะธรรมที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์นั้น แตกต่างกันอย่างไร ละเอียดปราณีตต่างกันอย่างไร รวมทั้งหลายๆ ท่านที่ปฏิบัติได้ปฏิบัติถึง ก็ได้พิสูจน์เรื่องนี้ด้วยตนเองทุกคน


    ดังนั้นอยากสิ้นสงสัยก็ขอให้มาปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะผู้ที่ทำได้ ก็จะเกิดศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรม

    ธรรมนั้น

    บางท่านก็ไม่รู้ในธรรม

    บางท่านก็รู้ธรรม แบบได้ยินมาบ้าง เคยอ่านมาบ้าง

    บางท่านรอบรู้ในธรรม เชี่ยวชาญในธรรม แต่ใจไม่เคยได้สัมผัสธรรม

    บางท่านรู้ธรรมเพียงข้อเดียว แต่เข้าใจในธรรม พยายามปฏิบัติ

    บางท่าน รู้ธรรมและเข้าใจในธรรม

    บางท่าน รู้ธรรมและเข้าใจในธรรมอย่างกระจ่างแจ้ง จนปรากฏการเปลี่ยนแปลงในจิตเข้าสู่ธรรม

    บางท่าน รู้ธรรม และจิตสัมผัสธรรมอย่างลึกซึ้ง รู้แจ้ง แทงตลอดในธรรม มีจิตที่เห็นพระคุณแห่งรัตนตรัย ได้อย่างหาที่สุดไม่ได้ ที่ช่วยพาตนและสัตว์ทั้งหลายให้รอดจากสังสารวัฏฏ์ จากนรกภูมิ จากอวิชชาทั้งปวง จนเกิดศรัทธามั่นคงเป็นอจลศรัทธา มั่นคงในพระรัตนตรัยไม่แปรเปลี่ยน


    ขอท่านทั้งหลายจงถอดถอนจิตจากมิจฉาทิฏฐิทั้งปวง จากดวงจิต น้อมจิตเข้าสู่สัมมาทิฏฐิอันพิสุทธิ์ เข้าถึงธรรมอันสมเด็จพระจอมไตรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ท่านได้ทรงมีพุทธประสงค์ด้วยเทอญ.
    <!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig -->




    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...