สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    บุคคลที่จะเป็นธรรมกายได้ ต้องผ่าน 18 กายใช่ไหม ?

    
    บุคคลที่จะเป็นธรรมกายได้ ต้องผ่าน 18 กายได้ใช่ไหมครับ จึงจะเป็นธรรมกายเต็มตัว ?

    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ผ่านหรือไม่ผ่าน เป็นอย่างนี้ ก็มีคนปฏิบัติเห็นดวงจากดวงพรึบถึงธรรมกายเลย อาตมาสอนฝรั่งชาติออสเตรเลีย นั่งรถไฟไปยะลาด้วยกัน จากหาดใหญ่นั่งไป รถไฟฉับแกละๆ เราก็นั่งหลับตาเฉย ฝรั่งมาก็มาสะกิดถามว่า You meditate ใช่ไหม ? บอกว่า “เออใช่” ฝรั่งบอก “ผมฉันสนใจ” “สนใจหรือ ? เอ้า ! ทำเลย” ให้นั่งบนรถไฟนั่นแหละ นั่งยังไง อาตมาก็ถามว่า “ยูเป็นคริสต์ใช่ไหม” บอกว่า “ใช่” “เอาอย่างนี้ เอากากบาทกางเขนยูน่ะ นึกให้เห็นกางเขนอยู่ในท้องเลย กากบาทน่ะ แล้วตรงกากบาทตรงกลางนะหยุดนิ่งไปตรงกลางกากบาทน่ะ ให้เห็นจุดเล็กใสนะ พอสุดเล็กใส เดี๋ยวค่อยๆ เห็นเป็นดวงนะ สัมมาอะระหังว่าไป” เขาก็พูดผิดบ้างถูกบ้าง ก็แล้วแต่ แต่ใจดิ่งนะ

    เสร็จแล้วปรากฏบอกเห็นดวงใหญ่ อาตมาถาม “ใหญ่เท่าไหร่” เขาตอบว่า “เท่าดวงอาทิตย์” แน่ะเห็นไหมล่ะ เอาละซิ “เอ้า! ถ้าอย่างนั้น ยูหยุดนิ่งกลางดวงอาทิตย์ให้ใสเชียวนะ พอใสเต็มที่แล้วขยายออกเองนะ ก็เป็นดวงในดวงนะอีกนิ่งไปเฉยๆ ละ แล้วยูจะเห็นกาย” ก็นั่งรถไฟก็ฉับแกละๆ รถไฟหวานเย็นสมัยก่อนไหมล่ะ เอาจากหาดใหญ่ไปยะลาน่ะช้า โคล๊งเคล๊งๆ มา เราก็นั่ง เขาก็นั่ง

    พักหนึ่ง เขาก็บอกว่าเห็นแล้ว เห็นอย่างไร เขาบอกเห็นเหมือนพระในโบสถ์ เหมือนพระประธานในโบสถ์ แล้วบอกว่า มี Hood มีเหมือน Lotus ดอกบัวอยู่ข้างบนด้วย เห็นมั้ยล่ะ เห็นของจริงแล้ว เราถามว่า “ยูเห็นใหญ่เท่าไหร่” เขาตอบว่า “Huge” คือ มหึมา เห็นไหมล่ะ เป็นเอง เห็นเอง มหึมา อาตมาบอกว่า “ยูเป็นองค์พระนะต่อไปนี้นะ อย่าไปสนใจ” ใจเขาหยุดนิ่ง นั่น องค์พระก็ขึ้นมาเรื่อยใสใหญ่เลย แล้วก็ลงรถไป ก็ไม่ได้พบกันอีกละ ไปไหนอีกก็ไม่รู้ ไอ้นั่นก็เลยได้ธรรมกายไปแล้ว ทีนี้เลยยังไม่ได้สอนอื่น สอนแค่นี้อยู่บนรถไฟ

    อันนี้เป็นเครื่องบอกว่า ข้ามขั้นตอนได้ธรรมกายเลยก็มี แต่เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ถ้ามองลงไปตรงศูนย์กลาง ไม่มีโอกาสได้ต่อธรรมะเขา 18 กายมีอยู่แล้วตรงนั้น มี แต่ว่าข้ามขั้นตอนนะ คือ พรึบ เห็นไปโน่นเลย เพราะการบรรลุธรรมน่ะโยม บางทีลัด พรึบ แต่ว่าขั้นตอนน่ะมี ผ่านแต่เร็วจนไม่ทันเห็น ไม่ทันเห็นเป็นธรรมกายไปเลย

    เหมือนอะไร เหมือนพระสารีบุตร เดิมเป็นมาณพชื่ออุปติสสะ คู่กับโกลิตะคือพระโมคคัลลานะ อยู่ในสำนักท่านสัญชัย เป็นปริพพาชก นับถือลัทธินอกพุทธศาสนา มีบริวาร 250 คน ท่านก็เดินแสวงหาโมกขธรรม พบพระอัสสชิตอนเช้าขณะเดินบิณฑบาต อุปติสสะก็คิดว่า เออ พระองค์นี้สำรวมดีน่ะ ไม่เหมือนกับพวกเรา จึงเดินตามไป ท่านพระอัสสชิบิณฑบาตในเมืองเสร็จ ท่านก็ออกมาก็ฉัน ฉันก็นั่งสำรวม ทีนี้ พวกปริพาชกมีของรุงรัง มีเหยือกน้ำ มีอะไรต่ออะไร ก็เอาถวายท่าน ให้ท่านฉันก่อน มีมารยาท เพราะเป็นคนผู้ดี เป็นลูกเศรษฐี เสร็จแล้วเมื่อพระท่านฉันเสร็จ อุปติสสะก็ถามท่านว่า ท่านอยู่สำนักไหน หรือถ้าจะพูดภาษาธรรมดาก็ว่า ท่านบวชอุทิศใคร สมัยก่อน ว่าท่านบวชในสำนักไหน ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านก็บอกว่าพระพุทธเจ้า แล้วอุปติสสะก็ถามว่า พระองค์สอนยังไง ท่านก็บอกว่า ท่านเป็นพระใหม่ สอนมากก็ไม่เป็น แต่ที่แท้ท่านเป็นพระอรหันต์น่ะ ท่านรู้แล้วว่าไม่ต้องสอนมาก พูดนิดเดียวรู้เรื่องเลย บรรลุธรรมเลย ท่านเลยบอกอาตมาสอนมากไม่เป็น เป็นแต่สั้นๆ เป็นพระใหม่ ไม่ค่อยรู้อะไรมาก ท่านว่าอย่างนั้น ทีนี้ อุปติสสะก็ถูกอัธยาศัย บอกพระคุณเจ้าไม่ต้องสอนมาก หรือจะสอนยาวสอนสั้นได้ทั้งนั้น ผมสามารถเข้าใจได้ ยังงี้ด้วยนะ ท่านก็สอนเลยว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ” พูดเท่านี้ ยังไม่จบคาถาเลย บรรลุธรรมแล้ว “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา” แค่นี้เอง ยังไม่จบ แต่นี้บรรลุแล้ว ทีนี้ก็ต่อ “เตสํ เหตุํ ตถาคโต เตสญฺจ นิโรโธ เอวํวาที มหาสมโณ” ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับไป

    เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต
    เตสญฺจ นิโรโธ เอวํวาที มหาสมโณ

    ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ธรรมเหล่านั้น ย่อมดับไป เพราะเหตุดับ

    แค่นี้บรรลุแล้ว เป็นพระโสดาบัน ไม่เห็นต้องผ่านญาณอะไร โสฬสญาณ ไม่เห็นต้องผ่าน ไม่ผ่าน บรรลุแล้ว บอกว่าเอาละจบแล้ว กระผมจบแล้ว กลับไปบอกโกลิตะ ก็คือพระมหาโมคคัลลานะ บอกเสร็จก็รู้แล้วเจอแล้ว พากันไปกราบพระพุทธเจ้า พาลูกน้องไปหมดทั้ง 500 ท่านสัญชัยก็แทบจะอาเจียนโลหิต ลูกศิษย์รักลูกศิษย์โปรดพาลูกน้องไปหมดเลย แล้วแถมยังก่อนที่จะลา ก็มีเรื่องตลกขำๆ อยู่เหมือนกัน ก็พยายามพากันไปบอกอาจารย์สัญชัยให้เข้าใจว่า พระพุทธเจ้าท่านอุบัติขึ้นแล้ว ท่านสอนธรรมะดี เพราะว่าอุปติสสะบรรลุธรรมแล้วนี่ คนหนึ่งบรรลุโสดาบันแล้วนี่ สอนดี อาจารย์ก็ถามว่า คนฉลาดกับคนโง่ อันไหนมีมากกว่ากัน ใครมากกว่าใคร อุปติสสะก็ตอบว่า คนโง่มากกว่า อาจารย์สัญชัยบอกว่า เออดีแล้ว คนฉลาดไปซะ คนโง่มากๆ มาอยู่ที่นี่ ลาภสักการะจะได้เกิด เห็นไหม ฟังให้ดีนะ ตรงนี้ก็เป็นคตินะ คนโง่กับคนฉลาดนี่ คนมีปัญญามีน้อยกว่าคนโง่ เพราะฉะนั้นให้คนโง่อยู่นะดีแล้ว หรือว่าให้คนโง่มาเยอะๆ นะดีแล้ว ลาภสักการะจะได้เยอะ ความว่า ทางพระสารีบุตรก็พาลูกศิษย์ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า ทางอาจารย์สัญชัยก็เลยอาเจียนเป็นโลหิต

    แต่สรุปตรงนี้ นั้นก็คือว่า บรรลุธรรมนะเพียงแวบเดียวเอง ฉะนั้นเรื่องผ่านขั้นตอนหรือไม่ เป็นไปไม่ได้ ไม่ต้องสงสัย แต่ว่ามี 18 กาย อยู่ในตัว

    แปลว่า ได้จากการปฏิบัติวิชชาธรรมกายได้แท้ๆ เข้าไปถึง ไปรู้ ไปเป็น และมาถึงบางอ้อในคัมภีร์ที่เคยผ่านมาแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กันยายน 2014
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ทุก1-14 พฤษภาคม กลางปีและ ทุก1-14 ธันวาคม




    อบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี (ฆราวาสเข้าร่วมอบรมได้) ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชุบรี

    - ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้จิตสงบ พบดวงใส

    - ขั้นกลาง เพื่อต่อจากดวงใส เป็น 18 กาย และต่อไปถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า

    - ขั้นสูง เพื่อตรวจภพตรวจจักรวาล เจริญวิชชา และละกิเลสในใจตน

    นำโดย พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล, ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พระวิทยากร และอุบาสก อุบาสิกาวิทยากร ที่ครูบาอาจารย์คัดเลือกให้สอนสมาธิได้



    - ปฏิบัติธรรมรวมกลุ่มใหญ่

    - ปฏิบัติธรรมแยกกลุ่มย่อยกับวิทยากร

    - ฟังธรรมจากพระมหาเถระ




    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    เด็กเล็ก กับ การใช้ญาณฯ

    เด็กๆทั่วไป ยังไม่มีกิเลสนิวรณ์ อันเป็นเครื่องรบกวนจิตใจมาก


    เมื่อนำมาปฏิบัติสมาธิ จะเข้าถึงความเป็นทิพย์รู้เห็นด้วยอายตนะทิพย์ได้ง่าย


    ......แต่ ให้ระวัง การใช้เด็กให้ดูเรื่องราวต่างๆด้วยญาณมากเกินไป

    โดยเฉพาะเรื่องราวทางโลก ที่ไม่ได้เป็นไป เพื่อการชำระจิตใจ

    ใหม่ๆ ญาณที่บริสุทธิ์จะเห็นได้ง่าย ไว้ ตรง

    พอถูกใช้ให้เกี่ยวข้องกับเรื่องกิเลสมากขึ้น ความเป็นทิพย์ก็มีความบริสุทธิ์น้อยลง ทำให้รู้เห็นผิดจากความจริง เข้าใจธรรมะอันบริสุทธิ์ผิดจากความเป็นจริงได้


    ในที่สุด ญาณรู้ที่ดีก็ดับไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กันยายน 2014
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ..."ท่านที่เข้าถึงดวง หรือ กายภายใน สะอาด ละเอียดเพียงใด ให้อาศัยช่วงจังหวะ ที่ใจสงบจากนิวรณ์และ กิเลสทั้งหลาย มาพิจารณาธรรม ด้วยญาณพระธรรมกาย

    ..............ถ้าดวงธรรม หรือกายภายใน กลับหมองมัว

    แสดงว่า ท่านได้ทำเหตุแห่งอกุศลไว้ ให้ทบทวนตนให้ละเอียด

    หรือ ห่างจากการปฏิบัติชำระจิตตนให้ขาวรอบเป็นประจำ ทำให้กิเลส อนุสัย อาสวะ ภายใน ฟูขึ้นมา

    ตราบใด ที่ยังตัดสังโยชน์ไม่ได้ ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค-ผล ก็จะไม่ปรากฏอย่างถาวร
    มีการหมองลงจากธรรมกายโคตรคภู จากเดิมได้อยู่

    หรือ ไม่สามารถเข้าถึงอายตนะนิพพานได้ง่ายเหมือนก่อน เพราะ ยังไม่ได้อาศัยญาณพระธรรมกาย ชำระกิเลส อาสวะ อนุสัย สังโยชน์ จนเข้ามรรค-ผล "


    ------------------------------------------------------------------------



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กันยายน 2014
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    http://palungjit.org/attachments/a.3154061/









    โอวาทธรรมจาก...หลวงป๋า

    หลวงพ่อท่านบอกว่า"ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง"

    นี่แหละ มัชฌิมาปฏิปทาโดยทางปฏิบัติ คือ "เอกายนมรรค" ทางนี้ทางเดียว อยู่ที่กลางของกลางธาตุธรรมของเรา กลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียด จนสุดละเอียดไปถึงพระนิพพาน ตรงนี้แหละที่เป็นเคล็ดลับสำคัญ คือ "เห็นดำ ทำให้ขาว" จำไว้ อย่าได้ปล่อยให้มีธาตุธรรมภาคดำในธาตุธรรมของเราเป็นอันขาด อาตมากล่าวไว้เบื้องต้นในเรื่ิงนี้เท่านี้ก่อน

    ...เวลาพิจารณาอริยสัจ ๔ จะรู้จะเห็น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ให้เข้าใจไว้เท่านี้ก่อน

    เคล็ดลับที่พึงทราบในการเจริญภาวนามีมาก

    บางทีก็จะมีผู้ปฏิบัติหรือเจริญสมถภาวนาได้ดีๆ แล้วหลงติดฤทธิ์

    อย่าไปหลงเลย จงตั้งใจปฏิบัติเพื่อรักษาตนเองให้ดี



    หรือหากจะสามารถได้อภิญญาและวิชชาที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ ก็จงช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยไม่หวังลาภสักการะ ไม่หวังชื่อเสียง ไม่หวังให้ใครเขาชมเราว่าเก่ง แต่การกำจัดกิเลสนั้นแหละ คือ "คนเก่ง ถ้าเก่งอย่างอื่นแล้ว กิเลสเฟื่องฟูอยู่ ไม่นับว่าเก่ง อย่างนั้นชื่อว่า "หมดเก่ง" เลยแพ้ภาคมารเขาตั้งแต่ยังไม่ได้ก้าวออกจากมุ้ง"



    เพราะฉะนั้น จงให้เข้าใจเสียให้ดี มีพระภิกษุสามเณรบางรูป หลงติดอิทธิปาฏิหาริย์ เลย"หมดเก่ง" ไม่ช้าอิทธิปาฏิหาริย์ก็เสื่อม แล้วก็จะกลายเป็นการหลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต ก็เสียพระเสียเณรไปเท่านั้น



    มีอยู่อย่างหนึ่ง ไม่อยากชี้โพรงให้กระรอก บอกว่าห้ามดีๆก็ยังชอบทำ แต่ถ้าไม่บอกแล้วจะยุ่ง เพราะมีคนเคยทำ อาตมาจึงต้องบอกเสียเดี๋ยวนี้เลย ไม่เช่นนั้น เป็นเปรตไม่รู้ตัวนะ เช่น บางท่านพอจิตนิ่งเป็นสมาธิ แล้วเห็นเลข เห็นเลขแล้วก็เที่ยวบอกใครต่อใคร บางทีซื้อเองด้วย ให้จำไว้เลยว่า จะได้เป็นเปรตภายในไม่กี่วัน แม้จะได้ทำเพียงไม่กี่ครั้ง จงอย่าทำเป็นอันขาด............





    พระเทพญาณมงคล

    เสริมชัย ชยมงฺคโล

    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

    อ.ดำเนินสะดวก

    จ.ราชบุรี

    (จาก..ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กันยายน 2014
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ฌาน ไม่ใช่จะได้กันง่ายๆ และผู้ที่อยู่ในฌาน ก็เหมือนคนนอนหลับ พิจารณาอะไรไม่ได้ ?

    
    ผู้ที่จะได้รูปฌาน อรูปฌาน เป็นของไม่ใช่จะได้กันง่ายๆ (เป็นบางคนเท่านั้น) และผู้ที่อยู่ในฌาน เหมือนคนนอนหลับ ที่มีความสุขมาก จะพิจารณาอะไรไม่ได้ นอกจากจะอยู่ในอุปจารสมาธิ พระศาสดากว่าจะเข้าปรินิพพานยังเข้าฌานออกฌานแล้วออกจากฌานที่ 4 จึงปรินิพพาน ความเข้าใจเช่นนี้ของผม ถูกต้องหรือไม่ ?

    --------------------------------------------

    ตอบ:


    ประการสำคัญที่สุด คำว่าเจริญฌานสมาบัติ แล้วพิจารณาสภาวธรรม เจริญฌานสมาบัติแล้วน้อมเข้าสู่วิชชา จะเป็นวิชชา 3 หรือจะเรียกว่า อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปันนังสญาณ ก็ได้ พิจารณาสภาวธรรม


    การพิจารณสภาวธรรม ไม่ได้เจริญฌานสมาบัติ 8 ท่านเข้าใจผิด ไปอ่านใหม่ เขากล่าวถึงเจริญฌานสมาบัติเฉยๆ ที่ให้พิจารณาทั้งหมด เขาถอยฌานลงมาทั้งหมด เจริญฌานเพื่อให้จิตละเอียด จิตละเอียดตั้งมั่น อ่อนโยนแล้ว อธิษฐานจิต เช่นว่า พิจารณากายคตาสติทั่วสังขารร่างกาย อธิษฐานจิตลงมาในระดับอุปจารสมาธิ คือ อธิษฐานให้เห็นรูป สัณฐาน กลิ่น สี ตามที่เป็นจริง เราเกือบจะไม่พูดกันถึงเรื่องฌาน เมื่อพูดไปแล้วจะไปเรื่องใหญ่เรื่องโตของสมถะอย่างเดียว แต่เราพูดถึงเรื่องสติปัฏฐาน 4 ทั้งสมาธิและปัญญา เราเจริญขึ้นพร้อมกัน

    ในทางปฏิบัติ เมื่อพิจารณาสังขารร่างกาย ให้ถอยให้เห็นสี กลิ่น สัณฐาน ตามที่เป็นจริง

    ฌาน ยากสำหรับคนทำไม่ได้ คนทำได้ก็ง่าย ท่านพูดเรื่องฌาน อรูปฌาน ท่านไม่พูดเรื่องสติปัฏฐาน 4


    เราทำสติปัฏฐาน 4 อย่าไปสนใจเรื่องฌาน เพราะเกิดขึ้นเป็นผล

    แต่ถ้าเราไปตั้งต้นทำฌานสมาบัติ จะออกไปทางฤาษีชีไพร

    เพราะฉะนั้น การพิจารณาสภาวธรรม ละระดับสมาธิลงโดยอัตโนมัติที่ในหนังสือบอกไว้ นั่นเขาพิจารณาสภาวธรรมแล้ว เขาอาศัยกำลังฌาน อาศัยวิกขัมภณวิมุตติ เพื่อชำระธาตุธรรมเขา เพื่อให้ถึงธรรมกายที่ละเอียดๆ สุดละเอียด เพื่อไม่ให้อวิชชาทำอะไรได้ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในอายตนะนิพพาน ได้รู้ได้เห็น ได้สัมผัส และได้อารมณ์พระนิพพานด้วย

    จริงๆ แท้ๆ พระคุณเจ้า อันนี้กระผมไม่กล้ายืนยัน เพราะยังไม่เห็นในตำราไหน แต่มันเป็นเพียงคำพูดที่จงเก็บมาฟังไว้ ในตำราวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส กล่าวถึงอาการที่จะบรรลุมรรคผล อันชื่อว่า อุภโตวุฏฐาน คือ ออกจากภาคทั้ง 2 คือ ออกจากสังขารนิมิต และออกจากตัณหาปวัตติเครื่องปรุงแต่ง พร้อมกันว่า

    เมื่อพระโยคาวจร เจริญสมถวิปัสสนา เมื่อมรรคจิตจะเกิดขึ้นนั้น กำลังฝ่ายสมถะและวิปัสสนาเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ มรรคจิตมรรคญาณเจริญขึ้นปหานสัญโญชน์ให้หมดสิ้นไป จึงเข้าสู่ผลสมาบัติ เป็นพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    คำว่า เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่นึกเอา


    ในวิชชาธรรมกาย พิสดารกายไปสู่สุดละเอียด มีสภาวะเป็นตัวนิโรธ หรือจะเรียกว่า วิกขัมภณะก็ได้ ด้วยการข่มกิเลส ปหานอกุสลจิตของกายในภพ 3 หรือดับสมุทัย ดับหยาบไปหาละเอียดจะอวิชชาทำอะไรไม่ได้ เป็นวิกขัมภณวิมุตติ ตกศูนย์เข้าอายตนนิพพาน แล้วจึงซ้อนหยุดแน่นนิ่งไปตรงกลางของพระนิพพาน ตรงนี้แหละ เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ประการหนึ่ง

    ประการที่สอง ออกจากสังขารนิมิต ดับหยาบไปหาละเอียดจนจิตละเอียดหนัก ปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ชั่วคราว ของกายในภพ 3 เป็นอันว่านิมิตซึ่งประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง คือตัณหานั้นหมดไป พ้นจากสังขารนิมิตนี้ เป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกาย

    ในขณะเดียวกัน เมื่อมรรคจิตของธรรมกายเกิดและเจริญเต็มที่ ปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก หรือปหานตัณหาปวัตติเครื่องปรุงแต่งให้หมดไป เข้าผลสมาบัติเป็นพระอริยบุคคลตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ชื่อว่า อุภโตวุฏฐานะ ออกจากภาคทั้ง 2






    เมื่อมาถึงตรงนี้ ท่านจะเข้าใจที่ผมพูดนี้ ผมพูดตามตำราที่ครูบาอาจารย์สอนไว้ หรือประสบการณ์ของคนที่เขาปฏิบัติได้ กระผมกราบเรียนไว้อย่างนี้ กระผมมิได้กล่าวว่ากระผมเป็นอริยเจ้า.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กันยายน 2014
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    พระราชญาณวิสิฐ - เจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐานสี่ เบื้องต้นถึงธรรมกายเข้าสู่อายตนะพระนิพพาน




    พระราชญาณวิสิฐ - เจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐานสี่ เบื้องต้นถึงธรรมกายเข้าสู่อายตนะพระนิพพา
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    วิธีพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพาน

    วิธีเจริญฌานสมาบัติเข้ามรรคผลนิพพาน

    การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อริยสัจ 4 นี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ของการเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็น เอกายนมรรค คือ หนทางอันเอก ให้ถึงมรรค ผล นิพพาน โดยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยว่าอริยสัจ 4 ก็มีอริยมรรคมีองค์ 8 และอริยมรรคมีองค์ 8 เล่า ก็มีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน

    เฉพาะในส่วนของการมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ก็มีตั้งแต่การมีสติพิจารณา นิวรณ์ 5 (อันเป็นธรรมปฏิบัติในขั้นอนุวิปัสสนา) อุปาทานขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 และอริยสัจ 4 ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดรวมทั้งอริยมรรคมีองค์ 8 และทั้งสติปัฏฐาน 4 อันจะขยายผลถึงการมีสติพิจารณาเห็นธาตุ 18 อินทรีย์ 22 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ให้เจริญขึ้นเต็มภูมิวิปัสสนา ตั้งแต่ระดับอนุวิปัสสนาถึงโลกุตตรวิปัสสนา และยังให้ข้อปฏิบัติอื่นๆ เจริญขึ้น อันเป็นทางให้บรรลุวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด และเป็นธรรมเกื้อหนุนอริยมรรคให้เจริญขึ้น ถึงความบรรลุมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข ได้แก่

    1.จรณะ 15 ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุวิชชา (ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งปวง) คือ ศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ สติ ปัญญา และ รูปฌาน 4
    2.โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ และธรรมเครื่องเกื้อหนุนอริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และ อริยมรรคมีองค์ 8
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์เป็นปฐมเทศนาว่า

    "จกฺขุ ํ อุทปาทิ, ญาณํ อุทปาทิ, ปญฺญา อุทปาทิ, วิชฺชา อุทปาทิ, อาโลโก อุทปาทิ ..." (สํ.มหา.19/1666-1669/529-530)
    "จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณ [ความหยั่งรู้-เห็น] เกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความสว่างแจ้งเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ว่า นี้คือทุกข์ ... นี้เหตุแห่งทุกข์ ... นี้ความดับทุกข์ [สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ] ... นี้ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ ..."

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะทรงบำเพ็ญสมณธรรมใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ 2588 ปีล่วงมาแล้วนั้น (ปีนี้ พ.ศ.2543) จึงได้ทรงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาเพื่อเจริญวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด เริ่มตั้งแต่ วิชชาที่ 1 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในยามต้นแห่งราตรี, วิชชาที่ 2 จุตูปปาตญาณ ในยามกลางแห่งราตรี และ วิชชาที่ 3 อาสวักขยญาณ โดยการพิจารณาอริยสัจ 4 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ในยามปลายแห่งราตรี จนเห็นแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 (คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ) มีอาการ 12 และมีญาณหยั่งรู้วิธีทำอาสวกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนรุ่งอรุณแห่งคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้นเอง




    จึงขอแนะนำวิธีเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย และพัฒนาขึ้นเป็นวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ต่างเป็นธรรมกาย) ที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนศิษยานุศิษย์ มีปรากฏในหนังสือ วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1 และ เล่มที่ 3 (หนังสืออาสวักขยญาณชั้นสูง) อันเป็นธรรมปฏิบัติส่วนสำคัญของสติปัฏฐาน 4 นี้ มาแสดงไว้ก่อน เพื่อดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้



    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกายไปจนสุดละเอียด และให้สมาธิตั้งมั่นดีเสียชั้นหนึ่งก่อน

    ในลำดับนี้ก็จะได้แนะนำการพิจารณาอริยสัจ 4 ให้เห็น ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ อีกต่อไป

    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง 4 แต่ละอย่าง
    พึงเข้าใจเสียก่อนว่า

    ทุกข์ เป็น ผล, สมุทัย เป็น เหตุ
    นิโรธ เป็น ผล, มรรค เป็น เหตุ

    หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะสมุทัย ทุกข์จึงเกิด, แต่ถ้ามรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธก็แจ้ง กล่าวคือ เมื่อมรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธคือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะสมุทัยอันเป็นตัวเหตุดับก็แจ้ง, เมื่อสมุทัยอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ดับลงโดยอัตโนมัติ

    1. ทุกขอริยสัจ
    ทุกขอริยสัจนั้นมีลักษณะสัณฐานกลม มีสีดำๆ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียด ซ้อนอยู่ในกลางดวงอัญญาตาวินทรีย์ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม มีซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ ดวงชาติทุกข์ (ทุกข์เพราะเกิด), ดวงชราทุกข์ (ทุกข์เพราะแก่), ดวงพยาธิทุกข์ (ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ), และ ดวงมรณทุกข์ (ทุกข์เพราะความตาย)

    ในดวงกลมของทุกข์นั้นยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อีก 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด รู้ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณ ของกายมนุษย์ ของทิพย์ ของรูปพรหม และของอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะทั้งหมด แต่ทุกข์ส่วนหยาบก็มีอยู่ในกายหยาบคือกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียดก็มีอยู่ในกายที่ละเอียดๆ คือ กายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมต่อไป ตามลำดับ

    เฉพาะทุกข์ของมนุษย์นั้น ชาติทุกข์ หรือสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใส ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ สีขาวบริสุทธิ์ ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจรดที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ (ของมารดา) กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้

    ใช้ตาหรือญาณของธรรมกายดูความเกิดและเหตุที่จะทำให้เกิด ให้เห็นตลอด แล้วก็ดูความแก่ต่อไป

    ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์), มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่ ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่, แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ (พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดหนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที

    กายมนุษย์ที่เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา จึงได้ชื่อว่า รูปูปาทานักขันโธ, เวทนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ และ วิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง 5 คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้น ต่างก็มีเห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และ วิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง

    ขันธ์ทั้ง 5 นั้น เป็นประดุจดังว่าบ้านเรือนที่อาศัยของเห็น จำ คิด รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ตัวบ้านเรือนที่อาศัย ผู้อาศัยอยู่ คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งยึดติดอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณนั้นเองที่รู้สึกเดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดว่าขันธ์แต่ละขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา เราเป็นนั้น นั้นมีในเรา นั้นเป็นของเรา ซึ่งรวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ 20 (คือแต่ละขันธ์ มีสักกายทิฏฐิ 4, ขันธ์ 5 ขันธ์ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ 20)

    กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ซึ่งก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นั่นเองที่เข้าไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงเป็นทุกข์

    อนึ่ง ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ก็ยังไม่ได้ ถ้าจะดับทุกข์ก็จะต้องละสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือ ทุกข์นั้นอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจะเกิดขึ้นได้และเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษา ถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็นเสมือนเปลือกหุ้มอยู่ก็ต้องดับตามไปด้วย เพราะเหตุนั้น การดับทุกข์จึงต้องดับตัวสมุทัยซึ่งเป็นตัวเหตุเสียก่อน ทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม

    เมื่อกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาหรือญาณพระธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ และตายนี้ เป็นทุกข์จริง (ทุกขอริยสัจ) เรียกว่า สัจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาและญาณพระธรรมกายว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้ เรียกว่า กิจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งชัดว่า ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เราได้กำหนดรู้ชัดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ 3

    2. สมุทัยอริยสัจ
    เหตุให้เกิดทุกข์นั้น มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ในกลางดวงทุกขสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ มีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา มีความละเอียดและดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ ในดวงสมุทัยนี้ยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ ของกายทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด และ อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ แต่สมุทัยในแต่ละกายนี้หยาบละเอียด ตามความหยาบ-ละเอียดของแต่ละกายเข้าไปตามลำดับ

    ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ซึ่งเรียกว่า กามคุณ หรือ วัตถุกาม ทั้ง 6 อย่างนี้เป็นของทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป คงทิ้งไว้แต่ความยินดี-ยินร้ายให้ปรากฏฝังใจอยู่เท่านั้น, กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง 5, ภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้กามคุณที่พึงพอใจที่ตนมีอยู่แล้ว ให้ดำรงอยู่ และความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็นโน่น เป็นนี่ และ วิภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้สิ่งที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ พินาศไป หรือไม่อยากจะได้พบ ได้เห็น หรือความทะยานอยากที่จะไม่มี ไม่เป็นในสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาทั้งหลาย เหล่านี้มีอยู่ในก้อนกายทิพย์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นทิพย์ เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือสิ่งสัมผัสทางกาย และ ธรรมารมณ์ เหล่านี้จึงเต็มไปด้วยตัณหา และชุ่มโชกสดชื่นไปด้วยตัณหา

    สิ่งที่เป็นทิพย์นั้น เมื่อจุติ (เคลื่อน คือตายจากภพหนึ่ง) แล้วก็จะไปแสวงหาที่เกิดใหม่ เรียกว่า กายสัมภเวสี ถ้าแสวงหาที่เกิดได้แล้ว เรียกว่า กายทิพย์ ซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์ละเอียดนั้นแหละ จึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเจริญอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยสมุทัยซึ่งมีอยู่ในก้อนกายทิพย์เป็นเหตุ

    และก็ใคร่จะขอย้ำว่า กำเนิดเดิมของทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดนั้น ก็มิใช่อื่นไกล ก็คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากขันธ์ 5 ที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง

    โดยเหตุนี้ กายทั้ง 8 คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด และ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ จึงต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

    เมื่อเห็นด้วยตา และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ซึ่งรวมเรียกว่าสมุทัยนี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง (สมุทัยอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ควรละ ชื่อว่า ได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นแจ้ง รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ ดังนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัยอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    3. ทุกขนิโรธอริยสัจ
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสมุทัยอริยสัจแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เป็นดวงกลมใส ซ้อนอยู่ในสมุทัยอริยสัจ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา มีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ เดิม ของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ กลับเป็นญาณของกายธรรม หรือ ธรรมกาย นั่นเอง

    เมื่อมรรคอันเป็นเหตุ เกิดและเจริญขึ้น รวมกันเป็นเอกสมังคีนั้น นิโรธธาตุอันเป็นผล ย่อมเป็นธรรมอันพระอริยเจ้าท่านได้บรรลุ พร้อมกับสมุทัยอันเป็นเหตุดับ และทุกข์อันเป็นผลของสมุทัยก็ดับทันที เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไป ฉะนั้น

    อนึ่ง ใคร่จะทบทวนไปถึงที่เคยได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นจิตในจิต คือ อาสวกิเลส ซึ่งเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น อยู่ในเห็น จำ คิด และ รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 ว่า เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วนั้น ใจของธรรมกายอันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ย่อมสิ้นรสชาติจากอาสวะจนจืดสนิท และเห็น จำ คิด รู้ นั้น ก็กลับเป็นอาสวักขยญาณ ส่วนอวิชชาเครื่องหุ้มรู้นั้น ก็กลับเป็นตัววิชชา ให้รู้แจ้งในสัจจธรรมขึ้นมาทันที เห็น จำ คิด และ รู้ จึงเบิกบานเต็มที่ ขยายโตขึ้นเต็มส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของพระธรรมกาย ส่วนเห็น จำ คิด และ รู้ ในก้อนทุกข์และสมุทัยของกายโลกิยะเดิมจึงดับหมด เป็นวิกขัมภนวิมุตติ ตั้งแต่เมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกาย นับตั้งแต่กายลำดับที่ 9 ซึ่งเป็นกายโลกุตตระเป็นต้นไปจนสุดธรรมกายพระอรหัตละเอียด ต่อเมื่อละสัญโญชน์ได้หมด จึงจัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง

    กายธรรม หรือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นกายโลกุตตระนั้น พ้นจากอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ กลับเป็น นิจจัง สุขัง และ อัตตา ด้วยประการฉะนี้

    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ความดับทุกข์ คือ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับคือนิโรธอริยสัจ มีได้ เป็นได้จริง เรียกว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ เราได้กระทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ

    ดังนี้คือการพิจารณานิโรธอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    4. มรรคสัจ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในนิโรธอริยสัจแล้ว ก็พึงพิจารณาและกระทำมรรคให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้นอีกต่อไป

    มรรคอริยสัจนั้น เป็นดวงกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งนัก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย ซ้อนอยู่ในกลางนิโรธอริยสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง มรรคอริยสัจนี้ ก็คือ

    ดวงศีล ซึ่งมีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือ สัมมาวาจา วาจาชอบ, สัมมากัมมันโต การงานชอบ, สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ

    ดวงสมาธิ ซึ่งมีซ้อนกันอยู่อีก 3 ชั้นเข้าไปข้างใน คือ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ, สัมมาสติ ความระลึกชอบ และ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

    ดวงปัญญา ซึ่งมีซ้อนกันอยู่อีก 2 ชั้นเข้าไปข้างในอีก คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบในอริยสัจ และ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ

    และ ในมรรคอริยสัจแต่ละดวงนี้ก็ยังมีหุ้มซ้อนอีก 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต วิญญาณ เดิมของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ (เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ) เป็นญาณของพระธรรมกายตั้งแต่พระโสดาหยาบ (โสดาปัตติมรรค) ขึ้นไป กล่าวคือ กายธรรม เป็น พระพุทธรัตนะ, ใจ (คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ ของธรรมกาย) เป็น พระธรรมรัตนะ, จิต เป็น พระสังฆรัตนะ และ วิญญาณ ซึ่งขยายส่วนหยาบเป็นดวงรู้ของกายโลกิยะเดิมดับ กลับเป็นญาณ (ญาณรัตนะ) ของธรรมกายซึ่งขยายเต็มส่วนแล้ว

    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า มรรคอริยสัจนี้ เป็นทางดับทุกข์ได้จริง (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า มรรคอริยสัจนี้ควรเจริญ ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ และเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ

    นี้คือการพิจารณาอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    ญาณ หรือ ปริวัฏ 3 นี้ เมื่อเป็นไปในอริยสัจ 4 จึงมีอาการ 12





    ----------------------------------




    วิธีเจริญฌานสมาบัติเข้ามรรคผล นิพพาน


    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน 4 พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป

    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน 4) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมและปฏิโลม 1-2-3 เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน) ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียดปล่อยอุปาทานขันธ์ 5 และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น

    1.ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ
    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สัญโญชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก
    2.แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสัญโญชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา
    3.แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา
    4.แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสัญโญชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 4 คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป

    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง 4 นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง 3 กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง 3 กลุ่ม รวม 12 ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสัญโญชน์พินาศไปในพริบตา

    ญาณทั้ง 3 กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ 3 มีอาการ 12
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    อะไรเป็นเหตุให้พุทธสาวกสำเร็จธรรมด้วยข้อธรรมะที่แตกต่างกัน ?

    

    อะไรเป็นเหตุให้พุทธสาวกสำเร็จธรรมด้วยข้อธรรมะที่แตกต่างกัน ?



    -------------------------------------------------------------



    ตอบ:





    จะขอตอบในประเด็นที่บรรลุธรรมเร็วช้าต่างกัน เนื่องด้วยบำเพ็ญบารมีมาต่างกัน เสียก่อน



    บางท่านอธิษฐานบารมีเป็นปกติสาวก ก็บำเพ็ญบารมีเต็มเร็ว และการบำเพ็ญบารมีไม่ต้องยิ่งใหญ่ จึงเต็มเร็วและบรรลุได้



    ผู้ที่บำเพ็ญบารมีสูง ผลของการบรรลุก็ต่างกัน และอัธยาศัยของสัตว์โลกที่สั่งสมมาก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นวิธีการบำเพ็ญบารมีก็ไม่เหมือนกัน บางคนบำเพ็ญด้วยศรัทธามาก บางคนบำเพ็ญด้วยวิริยะมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสติมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสมาธิมาก บางคนบำเพ็ญด้วยปัญญา คืออินทรีย์ความเป็นใหญ่ในการบำเพ็ญบารมีไม่เท่ากัน

    เหตุแห่งการพิจารณาสภาวธรรมและบรรลุในข้อธรรมต่างๆ กัน

    จึงเป็นไปด้วยอินทรีย์ไม่เหมือนกัน เช่นบางคนรักสวยรักงาม การบำเพ็ญบารมีเป็นไปด้วยศรัทธาจริต

    อย่างนี้ถ้าได้พบพระพุทธเจ้า กัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ที่รู้อัธยาศัย รู้อินทรีย์ว่าแก่กล้าด้านไหน ? ก็จะสามารถชี้แนะในจุดนั้นที่เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีต


    ยกตัวอย่างเช่น มีลูกศิษย์พระสารีบุตร อยู่ในสำนักของพระสารีบุตร เป็นผู้รักสวยรักงาม พระสารีบุตรเห็นว่ารักสวยรักงามจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน ทำอย่างไรก็ไม่บรรลุ จึงพาลูกศิษย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของคนๆ นี้ เดิมเป็นช่างทอง ชอบทำดอกบัวสวยๆ พระพุทธเจ้าเลยให้ดอกบัวเป็นนิมิต ให้พิจารณากัมมัฏฐานคือดอกบัวว่าสวยขึ้นมาอย่างนี้ และพระพุทธเจ้าได้โอภาสแสงสว่างไปด้วยพระฤทธิ์ให้ดอกบัวมันสวย ช่างทองถูกใจมาก ใจจดจ่อจนใจเป็นสมาธิแน่วแน่มั่นคง และใจหยุดนิ่ง พอใจหยุดพอเหมาะ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นด้วยพระฤทธิ์ว่า ดอกบัวเหี่ยว ค่อยๆ เหี่ยวแห้งไป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บรรลุเลย นี่ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ แปลว่าทรงมีอาสยานุสยญาณ และอินทริยปโรปริยัติญาณ ซึ่งเป็นญาณสำคัญของพระพุทธเจ้าเพื่อใช้ในการโปรดสัตว์



    พระพุทธเจ้ามีพระญาณทั้ง 2 ซึ่งบำเพ็ญมานาน อินทริยปโรปริยัติญาณ คือญาณหยั่งรู้อินทรีย์ของสัตว์ว่า สัตว์บำเพ็ญมาแก่กล้ามาทางไหน ทางศรัทธา ทางวิริยะ ทางสติ ทางสมาธิ หรือทางปัญญา ซึ่งอินทรีย์นั้นจะแก่กล้าเป็นพละ จึงชื่อว่า อินทรีย์ 5 พละ 5 ซึ่งจะมีผลให้ข้อธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น เป็นโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ เจริญให้สามารถตรัสรู้พระอริยสัจ 4 เป็นพระอรหันตขีณาสพได้



    และทรงมีอาสยานุสยญาณ รู้อัธยาศัยของสัตว์ว่าบำเพ็ญมาอย่างไร พระองค์จะให้ข้อธรรมที่ถูกทั้งอินทรีย์ที่เคยสร้างสมอบรมมาและอัธยาศัยของบุคคล และครูบาอาจารย์มีสิ่งนี้ก็ช่วยได้บ้างครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กันยายน 2014
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    การยึดถือกายที่เข้าถึงเป็นแบบ ถูกหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือไม่ ?

    
    ขอกราบนมัสการและขอความเมตตาจากหลวงพ่อช่วยตอบปัญหาด้วยค่ะ ดิฉันเคยปฏิบัติเจริญภาวนาธรรมในสายอื่นที่สอนให้ปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ แม้เพียงตัวตนของเรา ก็ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ตามขั้นตอนของการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน 4 แม้เพียงนิมิต ก็ไม่ให้เอาเป็นอารมณ์หรือยึดติด แต่เมื่อเข้ามาปฏิบัติ ณ สถานที่แห่งนี้ กลับตรงกันข้าม แม้เพียงเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ให้มาก็มีข้อความเป็นโดยนัยลักษณะเดียวกัน อย่างนี้จะไม่เป็นการสอนให้ยึดมั่นถือมั่นหรือค่ะ เช่น ในหนังสือหลักการเจริญภาวนา (เล่มสีฟ้า) หน้า 22 ระหว่างบรรทัดที่ 1 ถึงบรรทัดที่ 18 เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม เข้ากลางกายแต่ละกาย ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบ ไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จะถึงกายธรรมอรหัตละเอียด ดิฉันสงสัยว่า จะถูกทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ในหลักของมัชฌิมาปฏิปทา และการปล่อยวางต่างๆ หรือไม่ ?


    ----------------------------------------------------

    ตอบ:


    ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจ คำว่า "ยึดมั่น หรือ ยึดติด" คำว่า "ตัวตน" คำว่า "นิมิต" และ "ปล่อยวาง" ให้ดีเสียก่อน ก็จะเข้าใจความหมายคำของหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ง่าย กล่าวคือ

    การปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระพุทธศาสนานั้นมุ่งที่จะอบรมจิตใจให้สงบและผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ (ธรรมชาติเครื่องเศร้าหมองอันเป็นเครื่องกั้นปัญญา)ควรแก่งานแล้วพิจารณาสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่มีวิญญาณครอง) และอนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง) ทั้งปวง ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกขํ) และมิใช่ตัวตน ของใครที่ถาวรแท้จริง (อนตฺตา) เพื่อให้คลายอุปาทานความยึดถือ(ยึดมั่น ยึดติด) ว่าเป็นตัวตน (มีแก่นสารสาระของความเป็นตัวตนที่แท้จริง) ว่าเป็น บุคคล เรา-เขา ของเรา-ของเขา ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ความหลงผิด (ความคิดว่าเป็นตัวตน) นั้นเสีย

    เพราะอุปาทาน คือความยึดถือสังขารธรรมทั้งปวงที่ไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่แท้จริงของใครนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยตัณหา และทิฏฐิ(ความหลงผิดว่าเป็นแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน บุคคล เรา-เขา) นั้น เป็นทุกข์จริงๆ แท้(ทุกขสัจ) ตามส่วนแห่งความยึดถือนั้น ยึดมาก ก็ทุกข์มาก ยึดน้อย ก็ทุกข์น้อย ไม่ยึดเลย ก็ไม่ทุกข์เลย

    "อุปาทาน ความยึดมั่น" ณ ที่นี้หมายถึง ความรู้สึกเป็นเจ้าของเมื่อไปมีอุปาทาน(ความยึดถือ) คือมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในสิ่งที่ไม่มีแก่นสารสาระ ในความเป็นตัวตนที่เป็นเองโดยธรรมชาติไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งอยู่เสมอ ด้วยตัณหา(ความทะยานอยาก) และทิฏฐิ(ความหลงผิด) จึงเป็นทุกข์ดังตัวอย่างพระบาลีว่า สงฺขิตฺเตนปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา กล่าวว่าโดยสรุป อุปาทานเบญจขันธ์เป็นทุกข์

    ได้เคยมีบางท่านกล่าวว่า"เพราะบุคคลมีอุปาทาน จึงมีอัตตา ถ้าไม่มีอุปาทาน อัตตาก็ไม่มี" คำกล่าวเช่นนี้ ไม่ถูกต้อง

    ฉะนั้นการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน 4 ก็เพื่อให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นถูกต้อง ตามพระพุทธดำรัสต่อไปนี้ ว่า

    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ฯ ธรรม (สังขารธรรม) ทั้งปวงมิใช่ตนคือไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน

    และว่า ยถา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโควิสุทฺธิยา ฯ

    "เมื่อใดที่พระโยคาวจรเห็นด้วยปัญญา ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาแล้ว เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด"

    คำว่า ธรรมทั้งปวง ณ ที่นี้หมายเอาสังขารธรรมมีเบญจขันธ์เป็นต้น เท่านั้นที่เป็น "อนัตตา"เพราะไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่ถาวรแท้จริงของใคร และนี้ก็เป็นพระพุทธดำรัสในลำดับ "นิพพิทาญาณ" ซึ่งเป็นขั้นตอนของการยกเอาสังขารมีเบญจขันธ์เป็นต้น ขึ้นพิจารณาเพื่อให้เห็นแจ้งแทงตลอดพระไตรลักษณ์ อันจะนำไปสู่วิราคะ วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน จึงยังไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์เพราะเหตุนั้นพระพุทธดำรัสว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ จึงหมายเอา "สังขารธรรมทั้งปวง" หรือธรรมชาติที่เป็นไปในภูมิ 3 (กามภูมิ-รูปภูมิ-อรูปภูมิ)ทั้งหมดเท่านั้น

    ที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) ท่านสอนว่าให้เข้ากลางของกลางแต่ละกาย แล้วให้ผู้ปฏิบัติยึดกาย ที่เข้าถึงเป็นแบบไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนถึงธรรมกายอรหัตละเอียด นั้นหมายความว่าเมื่ออบรมใจให้หยุดให้นิ่ง จนบริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ด้วยและจิตใจไม่ปรุงแต่งด้วย จึงยิ่งบริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองและจึงถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่อๆ ไปอย่างนี้จนสุดละเอียดก็จะถึงกายในกายที่บริสุทธิ์ผ่องใส ณ ภายใน ต่อๆ ไปตามลำดับ คือต่อจากกายมนุษย์หยาบ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อถึงแล้ว ไม่ใช่ให้ดู คือเพียงแต่เห็นเฉยๆ ถ้าเพียงแต่เห็นเฉยๆ ธรรมก็ไม่ก้าวหน้าแต่ให้ดับหยาบไปหาละเอียดคือ ให้ละอุปาทานกายหยาบ ได้แก่ ละความรู้สึกทั้งหมดอันเนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ เข้าไป (สวมความรู้สึก) เป็นกายมนุษย์ละเอียดเพื่อให้ใจของกายมนุษย์ละเอียดที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าของกายมนุษย์หยาบนั้น ทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อไปให้สมบูรณ์เต็มที่ เพื่อความเข้าถึง รู้ - เห็น และเป็นกายในกาย(รวมเวทนา-จิต-ธรรม) ที่บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ

    การเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นกายละเอียด (กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน)เป็นขั้นๆ ไปอย่างนี้ "ดับหยาบไปหาละเอียด" จนสุดละเอียดถึงธรรมกายต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัต เป็นขั้นๆ ไปอย่างนี้ แหละที่หลวงพ่อท่านอธิบายว่า เมื่อปฏิบัติถึงกายละเอียด(กายในกายที่ละเอียดและบริสุทธิ์) แล้ว ต้องยึดกายละเอียดที่เข้าถึงนั้นเป็นแบบ คือเป็นแนวทางปฏิบัติภาวนาให้ถึงกาย และธรรมที่ละเอียดๆ ที่บริสุทธิ์ ผ่องใสยิ่งกว่าเดิมต่อๆ ไปตามลำดับ ในทางธรรมปฏิบัติจึงเป็นการละอุปาทาน (ความยึดถือ) สังขารธรรมที่ไม่บริสุทธิ์เพื่อความเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลกพ้นความปรุงแต่ง (สังขาร) อันเป็นธรรมชาติที่บริสทุธิ์ผ่องใส โดยไม่ใช่ให้ยึดติด

    ที่ว่า "ให้ยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบ" นั้น หมายถึงให้เอาเป็นแนวทาง เป็นพื้นฐานในการเจริญภาวนาให้ถึงธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นต่อๆ ไป เหมือนการขึ้นบันไดทีละขั้นๆ ไปถึงชั้นบนบ้านได้ก็ต้องอาศัยบันไดขึ้นต่ำที่เราขึ้นไปถึงแล้วนั้น ก้าวขึ้นไปสู่บันไดขั้นสูงยิ่งขึ้นต่อๆ ไป ตามลำดับจึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุด

    ถ้ามัวแต่ไปเพ่งที่คำพูด แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติจึงไขว้เขวได้อย่างนี้มีเยอะ มีแต่นักอ่าน นักพูดนักวิจารณ์ แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติก็ไขว้เขวได้มาก อย่างนี้ ยิ่งคนดังๆ พูดแล้วคนก็เชื่อมากเสียด้วย เพราะฉะนั้นให้พยายามปฏิบัติต่อไปให้เข้าถึงกายที่ละเอียดๆ (เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม) ถึงธรรมกายต่อๆ ไปให้สุดละเอียดถึงพระนิพพานก็จะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งไปเอง

    เรื่อง"นิมิต"นั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ฉบับ พ.ศ. 2521 ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย (องฺ ฉกฺก. 22/39/430-431)ว่าดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้นจักมาเป็นผู้โดยเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้วจักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโญชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโญชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่,อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบรูณ์ได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโญชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโญชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล.

    (คำแปลจากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ของคณะธรรมไชยา พ.ศ.2514 หน้า 285-286)

    กล่าวโดยสรุป "นิมิต" เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญาให้จิตใจผ่องใสควรแก่งานและ เป็นขั้นตอนของวิปัสสนาภาวนา คือ ยกสังขารนิมิต มีเบญจขันธ์ เป็นต้น ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ขึ้นพิจารณาให้เห็นแจ้ง รู้แจ้ง สภาพความปรุงแต่งและ ลักษณะอันเป็นเอง ของสังขารธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ว่าเป็นสภาพ ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และ มิใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร (อนตฺตา)

    ในขั้นสมถภาวนา เมื่อสามารถถือเอาปฏิภาคนิมิตได้ ก็จะได้สมาธิจิต ในระดับอัปปนาสมาธิอันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌานมรรคจิตอันประกอบด้วยสัมมาสมาธิ จึงจะเริ่มสามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ถ้าใครปฏิเสธนิมิตเสียตั้งแต่สมาธิจิตยังสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน มรรคจิตก็ย่อมจะยังไม่เจริญขึ้นสมบูรณ์ให้สามารถทำหน้าที่ปหานสัญโญชน์ได้เต็มกำลัง เพราะขาดสัมมาสมาธิ(การเจริญรูปฌานตั้งแต่ปฐมฌาน-จตุตถฌาน) อันเป็นไปเพื่อเจริญปัญญาเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสภาธรรมและอริยสัจจธรรมตามที่เป็นจริงได้

    อนึ่ง เมื่อสมาธิจิตเป็นฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌานและเจริญขึ้นไปตามลำดับฌานนั้น ย่อมละองค์แห่งฌานที่หยาบ หรือเรียกว่า"ดับหยาบไปหาละเอียด" ไปเองโดยอัตโนมัติ อย่างสงสัยเลย

    ในขั้นวิปัสสนาภาวนาถ้าไม่ยกสังขารนิมิต อันตัณหาปวัตติ (ปรุงแต่งให้เป็นไป) ให้เห็นแจ้งสภาพความปรุงแต่ง และลักษณะอันเป็นเองตามธรรมชาติของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวง ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตาอย่างไรแล้ว ภาวนามยปัญญา(ปัญญาแจ้งชัดจากการเจริญภาวนาจริงๆ ) จะเกิดได้อย่างไร ? ก็จะได้แต่เพียงสุตามยปัญญา และ จินตมยปัญญา จากสัญญา คือความจำได้หมายรู้จากตำรา หรือจากที่ฟังเขาว่ามาเท่านั้นเอง

    ใครสอนให้ละ"นิมิต"ตั้งแต่ขั้นแรกของสมถและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็เท่ากับสอนให้ละฐานสำคัญที่จะให้เกิดสมาธิจิตในระดับปฐมฌานขึ้นไป อันจะนำไปสู่การเห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของสังขารธรรม และสัจจธรรมตามที่เป็นจริง การเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานก็จะมีสภาพเป็น "วิปัสสนึก (เอาเอง)"เท่านั้น

    ถึงแม้จะเป็นอุบายให้ได้รับผลเบื้องต้นในระดับหนึ่งแต่มรรคจิตก็ไม่สมบูรณ์พอจะปหานสังโยชน์โดยเด็ดขาดได้

    ต่อเมื่อถึงฌานจิตตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป จึงจะมีพลังพอที่จะปหานสังโยชน์โดยเด็ดขาดได้

    จึงขอให้ทบทวนพระพุทธดำรัสข้างต้นนี้ให้ดี จะได้ไม่หลงทางปฏิบัติ วนอยู่แต่ในวิธี "ขุดบ่อไม่ถึงตาน้ำ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กันยายน 2014
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    กรรมชั่ว เหมือนสุนัขไล่เนื้อ

    [​IMG]




    กรรมที่เป็นบาปอกุศลหรือกรรมชั่ว

    หรือที่เรียกว่าทุจริต

    เราอาจจะได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว

    ในอดีตชาติในการเวียนว่านตายเกิด...

    อยู่ในสังสารจักรไม่มีที่สิ้นสุด

    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน

    กรรมนี้ไม่ได้หายไปไหน

    ติดตามให้ผลเหมือนสุนัขไล่เนื้อ

    ที่เคยยกตัวอย่างนั่นเอง

    ทีนี้มีอยู่ว่า

    เรานี้ถูกสุนัขอย่างนั้นแหละไล่ตามกัด

    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน

    เข้ามาในภพชาตินี้มันก็เปรียบเสมือนว่า

    กรรมที่เป็นฝ่ายทุจริตหรือบาปอกุศลต่างๆ

    มันเหมือนสุนัขไล่เนื้อหลายประเภท

    หลายตัว ไม่ใช่ตัวเดียว

    มันนับไม่ถ้วน มาเป็นฝูงเลย

    ฝูงนี่ฝูงใหญ่ซะด้วย

    แล้วก็มีทั้งตัวที่มีกำลังมาก

    มีกำลังน้อย

    ฝีตีนเร็ว ฝีตีนช้า

    ดุมาก ดุน้อย

    ทีนี้ถามว่า

    ถ้าอย่างนั้นเราอยู่เฉยๆ

    เกิดมานี้ไม่ทำล่ะ ดีก็ไม่ทำชั่วก็ไม่ทำ

    เป็นยังไง

    เหมือนกับเรายืนอยู่เฉยๆ

    ในเมื่อสุนัขไล่เนื้อมันวิ่งมาที่จะมากัดเรา

    เรายืนอยู่เฉยๆก็แปลว่า

    สุนัขไล่เนื้อตัวใดที่มีกำลังแรงอาจงับทัน

    งับได้มาก ได้น้อย ท่านนึกวาดภาพเอาละกัน

    อยู่เฉยๆเนี่ยถ้าจะมองในแง่ธรรมดา

    ก็คือไม่ดีไม่ชั่ว

    แต่ถ้ามองให้ดีเป็นโมหะ หลง

    เพราะไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง

    ถ้าเรารู้จริงแล้ว เราอยู่เฉยๆไม่ได้

    ต้องละชั่ว ต้องทำดี ทำใจให้ใส

    ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

    ข้อนี้ต้องทำอย่างนี้..........................
    พระเทพญาณมงคล

    (เสริมชัย ชยมงฺคโล)

    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

    อ.ดำเนินสะดวก

    จ.ราชบุรี

    (เทศนาธรรมเรื่อง...ความตระหนี่)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กันยายน 2014
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    นึกดวงแก้วเข้าศูนย์กลางไม่ได้ นึกศูนย์กลางกายไม่ออก ?

    [​IMG]


    
    นึกดวงแก้วเข้าศูนย์กลางไม่ได้ นึกศูนย์กลางกายไม่ออก แต่จะให้นั่งให้ใจสงบเฉยๆ พอได้ หรือกำหนดดวงไป พอกำหนดได้บ้าง ?

    <HR>ตอบ:

    พยายามเหลือบตากลับนิดๆ
    เรื่องนี้ต้องค่อยๆ ทำไป ขอเรียนว่า อย่าลืมเหลือบตากลับนิดๆ เพราะใจยังไม่รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันจริงๆ
    ฉะนั้นก็ต้องค่อยๆ ฝึกต่อไป เพราะใจของเราซ่านออกนอกตัวมานาน ตั้งแต่เกิด ใจออกไปไปยึดไปเกาะอะไรมิต่ออะไรมากมาย ความจริงเป็นอย่างนี้ กว่าจะอบรมให้กลับมารวมหยุด ณ ที่เดิมคือที่ศูนย์กลางกายนี้ ไม่ค่อยจะมารวมหยุด ณ ภายในได้ง่าย บางคนก็ไปติดอยู่ที่หน้าผาก เห็นดวงส่องสว่างอยู่ที่หน้าผาก ไม่ยอมรวมลงมาหยุด ณ ภายในได้สักที บางท่านก็ยากเย็นเหลือเกิน ของดีมันยากอย่างนี้แหละ แต่ถ้าให้เห็นข้างนอกแล้วก็ง่ายๆ
    อย่าพยายามนึกเห็นนิมิตข้างนอก
    ถ้าให้นึกเห็นนิมิตข้างนอกละก็ไม่ยาก แต่ว่า “จงอย่าทำ” เพราะถ้านึกเห็นข้างนอก ใจจะไม่เข้ากลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะไม่ถูกกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ไม่ได้ดับหยาบไปหาละเอียด ไม่ได้เข้ากลางมัชฌิมาปฏิปทา ในธาตุธรรมของเรา ธรรมะที่ดีอยู่ที่ธาตุละเอียดของเรา ไม่ใช่อยู่ข้างนอก อยู่ข้างในที่ละเอียดๆ ฝ่ายกุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา อยู่ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมสุดละเอียด ถ้าฝ่ายชั่วก็มาจากฝ่ายชั่วสุดละเอียด ฝ่ายดีก็มาจากฝ่ายดีสุดละเอียด มาจากต้นธาตุต้นธรรมโน้น ต้นธาตุต้นธรรมฝ่ายดี (กุสลาธัมมา) อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่สุด ฝ่ายชั่ว (อกุสลาธัมมา) ก็มีต้นธาตุต้นธรรมของเขา ไม่ใช่ไม่มี มีเหมือนกัน แต่อยู่ส่วนนอกหรือรอบนอกของกุสลาธัมมาออกมา
    เพราะเหตุนั้น หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำเนิดธาตุธรรมเดิม ของกายในกายไปจนสุดละเอียดนั้นแหละ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ถึงพระนิพพานทีเดียว
    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกว่า หยุดในหยุด กลางของหยุด นั่นแหละถูกธรรมภาคขาว ฝ่ายบุญ ฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ทะเลบุญอยู่นั้น แต่ว่าถ้าใจเดิน(ดำเนิน)นอกออกมาจากนั้น เป็นถิ่นทำเลของภาคมาร เพราะเหตุนี้ในธรรมเทศนาของท่านจะบอกว่า “ถ้าจะไม่เกิด ก็ให้เดินในเข้าไป ถ้าว่าอยากจะเกิด ก็เดินนอกออกไป” ความหมายก็คือว่า ถ้าอยากจะเกิดใหม่ ก็จงปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก ให้ไปยึดไปเกาะอะไรๆ วุ่นวายภายนอกเข้า อวิชชา ตัณหา อุปทาน นั้นแหละ เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ คำพูดของหลวงพ่อ แต่ละคำเป็นคำโบราณ ถ้าฟังให้ดีแล้วจะเข้าใจลึกซึ้ง
    เวลาพิจารณาอริยสัจ 4 ก็จะรู้จะเห็น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ให้เข้าใจไว้เท่านี้ก่อน เคล็ดลับที่พึงทราบในการเจริญภาวนามีมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ในการ “หยุด” นี้ เอาอะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นเรื่องของกายหรือเรื่องของใจ

    ....................................






    คำว่า “หยุด” ที่หลวงพ่อสด ท่านกล่าวไว้ว่า จะไปทางนี้ต้อง “หยุด” ถ้าไม่หยุดก็ไปไม่ได้ และหยุดอย่างเดียวเท่านั้น สำเร็จ หรือเป็นตัวสำเร็จ อยากกราบถามหลวงพ่อค่ะว่า ในการ “หยุด” นี้ เอาอะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นเรื่องของกายหรือเรื่องของใจคะ ?


    ------------------------------------------------




    คำว่า “หยุด” ณ ที่นี้หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำหรือหลวงปู่สด) ท่านหมายถึงหยุดทำชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หยุดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ด้วยการปฏิบัติไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา(ศีลยิ่ง) อธิจิตสิกขา(จิตยิ่ง) อธิปัญญาสิกขา(ปัญญายิ่ง)



    ในการ “หยุด” ทางใจ นั้นเริ่มด้วยการอบรมใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่งคง ณ ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ด้วยอุบายวิธี ๓ อย่างประกอบกัน คือ

    อาโลกกสิณ โดยการเพ่งดวงแก้วกลมใส (นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจคือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ ให้อยู่กับดวงแก้ว และให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน)

    พุทธานุสสติ ด้วยการให้กำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ตรงกลางและให้น้อมพระพุทธคุณ คือพระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณจาก คำว่า “สัมมาอะระหัง” มาสู่ใจเรา

    อานาปานสติ สังเกตลมหายใจเข้าออกที่ผ่านและกระทบดวงแก้ว ตรงศูนย์กลางกาย แต่ไม่ต้องตามลม

    เมื่อใจถือเอาปฏิภาคนิมิตได้และหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมและเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปๆ จนสุดละเอียดนั้นแล้ว จิตดวงเดิมจะละปฏิภาคนิมิตและตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ถ่ายทอดกรรมเดิมที่เป็นสมาธิ เป็นจิตดวงใหม่ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ อันตั้งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่ผ่องใสบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ ลอยเด่นขึ้นมาพร้อมกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ใสสว่างยิ่งนัก เป็นทางให้เข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมที่ละเอียดและบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้นไปทุกที จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลก และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส รัศมีสว่าง

    นั่นก็คือ ใจยิ่งหยุดยิ่งนิ่งยิ่งไม่สังขาร คือ ไม่ปรุงแต่ง อีกนัยหนึ่ง คือ “หยุดมโนสังขาร” จิตใจก็ยิ่งถึงและเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส นั่นเอง นี่เรียกว่า “ใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ดับหยาบไปหาละเอียด จนสุดละเอียด”

    เมื่อถามว่า “มีอะไรเป็นเครื่องวัด ?” ก็ตอบว่า มีการเข้าถึงรู้-เห็นและเป็น กายในกาย(รวมเวทนาในเวทนา จิตในจิต) และธรรมในธรรม เริ่มตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ใสแจ่มอยู่ ณ ภายใน ละเอียดเข้าไป ๆ จนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและเป็นธรรมกาย ที่บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนสุดละเอียดนั่นเอง เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน

    เพราะเหตุนั้น หลวงพ่อท่านจึงกล่าวว่า “หยุด นั่นแหละ เป็นตัวสำเร็จ” คือ เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และที่เป็นบรมสุข
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    เชิญโหลดไฟล์เสียง "สัมมาอะระหัง" หลวงปู่สด จันทสโร(หลวงพ่อวัดปากน้ำ)

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง เป็นอย่างไร ?

    [​IMG]


    [​IMG]


    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง เป็นอย่างไร ?

    -------------------------------------------------

    ตอบ:


    ถามมาว่าหยุดในหยุดเป็นอย่างไร และก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางน่ะ เป็นอย่างไร

    ผู้ถามนี้แสดงว่าไม่ได้ปฏิบัติตาม ฟังแล้วไม่ได้ปฏิบัติตามจะไม่เข้าใจซึ้ง โปรดทราบด้วยว่า เมื่อฟังแล้วต้องปฏิบัติตามด้วย

    เมื่อเริ่มแรก ที่ใจจะหยุดน่ะ ใจมันหยุดเองไม่ได้ ต้องอาศัยนึกเอาก่อน เพื่อให้ “ความเห็น(ด้วยใจ)” แล้วก็ “ความจำ” “ความคิด” “ความรู้” มารวมหยุดอยู่ในดวงแก้วที่เราใช้เป็นบริกรรมนิมิต ให้มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน

    ให้พึงเข้าใจว่า เห็นอยู่ที่ไหน ใจอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้นการที่ให้ใจนึกอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เป็นดวงแก้วกลมใส ก็แปลว่าเป็นอุบายวิธีให้ใจมารวมอยู่ในดวงแก้วอันเป็นบริกรรมนิมิตนั้น

    แต่พอใจรวมเดี๋ยวเดียวมันจืดจางไปแล้ว ก็เลยมีงานให้ใจทำเพิ่มอีกโสดหนึ่ง คือบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆ” จี้เข้าไปที่กลางของกลางดวงแก้วกลมใสนั่นแหละ

    “กลางของกลาง” คืออย่างไร ? ศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกาย เป็นจุดเล็กใสประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร เรานึกให้เห็นไว้ นึกเห็นอยู่ตรงนั้น ใจมันก็จะหยุดอยู่ตรงนั้น เห็นกลางจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางนั้นเรียกว่า “กลางของกลาง” เมื่อหยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางขยายออก ดวงใหม่เกิดขึ้น แล้วก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงใหม่ หยุดในหยุด กลางของหยุด ไม่ถอนออกมา (จากสมาธิ) หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ เรียกว่า “หยุดในหยุด กลางของหยุด”

    ตอนแรก ใจนึกเอา เข้าไปเห็นศูนย์กลาง แต่พอใจหยุดจริงๆ แล้ว มันเข้าไปสู่ศูนย์กลางของกลาง เหมือนมีแรงดึงดูด ปรากฏเป็นเอง

    เพราะฉะนั้น คำว่า “หยุด” นั้น เริ่มแรก มีอุบายวิธีให้นึกเห็นจุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกาย เพื่อช่วยให้ใจมันหยุดจริงๆ ทีนี้ พอใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวจริงๆ เป็นธรรมชาติแล้ว ก็หยุดเองแหละ เข้ากลางของกลาง เห็นดวงใหม่ก็หยุดนิ่งไปกลางดวงใหม่ เห็นดวงใหม่ก็เข้ากลางของกลางดวงใหม่ เข้ากลางของกลางศูนย์กลางนะ มันจะเข้าไปเอง เข้าไปหยุดนิ่ง ไปจนถึงดวงที่ใสละเอียดที่สุด ศูนย์กลางขยายออก กายในกาย ก็ปรากฏ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 กันยายน 2014
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ทำไมบางทีลืมตาจึงเห็นดวงแก้วหรือองค์พระชัดกว่าหลับตา ?

    
    ทำไมบางทีลืมตาจึงเห็นดวงแก้วหรือองค์พระชัดกว่าหลับตา ?

    -----------------------------------------------------

    ตอบ:


    เป็นธรรมชาติของใจ (เห็น จำ คิด รู้) ที่เมื่อตกไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้ว ใจดวงใหม่ก็จะปรากฏลอยขึ้นมาหยุดนิ่ง ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อทำหน้าที่ต่อไปนั้น ตาจะเหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ เช่นเมื่อเวลาสัตว์จะมาเกิด คือมาตั้งปฏิสนธิวิญญาณที่ขั้วมดลูกของมารดา ตาของทั้งบิดาและมารดาก็จะเหลือบกลับเอง เพราะใจตกศูนย์ และแม้เวลาที่สัตว์จะ ดับ (ตาย) จะหลับ จะตื่น และแม้เวลาที่ใจจะหยุดนิ่งสนิท เป็นสมาธิแนบแน่นตรงศูนย์กลางกาย แล้วก็ตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 และปรากฏลอยเด่นขึ้นมาใหม่ยังศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ตาของสัตว์หรือบุคคลนั้นก็เหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้สึก คนส่วนมากจะไม่เคยได้สังเกตเห็น ให้สังเกตดูตัวอย่างเด็กทารกเวลาที่เธอนอนหลับ ใจกำลังตกศูนย์นั้น จะเห็นตาของเธอเหลือบกลับเหมือนคนที่กำลังชักจะตาย พ่อแม่บางคนเมื่อเห็นถึงกับตกใจนึกว่าลูกตนกำลังชัก แต่แท้ที่จริงเธอกำลังนอนหลับปุ๋ยสบาย

    โดยเหตุนี้แหละ เวลาที่ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิ หลับตาโดยเม้มเปลือกตาให้ปิดแน่นสนิทมากๆ เพราะความที่ตั้งใจมาก และไม่ทราบกลอุบายนี้ จึงไม่เอื้ออำนวยให้ตาเหลือบกลับเองได้สะดวกตามธรรมชาติในเวลาที่ใจจะเป็นสมาธิ ใจจึงพร่าไม่สามารถรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน (เอกัคคตารมณ์) ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้สนิท จึงเห็นเป็นแต่ความมืดหรือเห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ นี้แหละ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจึงแนะนำเวลาฝึกเจริญภาวนาสมาธิในเบื้องต้นว่า ให้เหลือบตากลับ เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย ความเห็น (ด้วยใจ) จำ คิด รู้ ที่มักจะพล่านออกไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกนั้นกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้กลับเข้าข้างในไป หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้โดยง่าย

    ส่วนว่า ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิที่ปิดเปลือกตาเบาๆ แต่พอให้ใจเป็นอิสระ คือไม่เห็น และยึดเกาะอยู่กับรูปหรืออารมณ์ภายนอก และพอให้ตาเหลือบกลับเองได้โดยสะดวก ใจจึงสามารถรวมลงหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นได้โดยง่าย และเมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมตรงศูนย์กลางฐานที่ 7 นั้น ก็จะสามารถเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาอย่างแน่นสนิท

    เพราะฉะนั้น ผู้ลืมตานิดๆ แค่พอประมาณ หรือแม้ผู้เดินจงกรม เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ และลืมตามองลงชั่วแอก เจริญภาวนา จิตจึงเป็นสมาธิได้เร็ว และสามารถเห็นดวงธรรมในธรรม และกายในกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาที่แน่นสนิท เพราะกดเปลือกตาจนเกินไป
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,382
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ...มืดก็หยุดตรงนั้น สว่างก็อยู่ตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปมา นิ่งอยู่ตรงนั้น...

    ...มืดก็หยุดตรงนั้น สว่างก็อยู่ตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปมา นิ่งอยู่ตรงนั้น...




    [​IMG]




    "เราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนานะ ให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้จะเป็นตัวมรรคผลนิพพาน พวกให้ทานรักษาศีลมันยังไกลกว่า หยุดนี้ใกล้นิพพานนัก พอหยุดได้เท่านั้นเข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไม่ยักเยื้องแปรผัน ไอ้ที่หยุดนั่นแหละ เข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไอ้ที่หยุดนี่แหล่ะตัวสำคัญ


    กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา ผู้หญิงกำหนดเข้าปากช่องจมูกซ้าย ผู้ชายกำหนดเข้าช่องปากจมูกขวา อย่าให้ล้ำให้เหลื่อม กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา
    นี่บอกซ้ำของเก่านั่นแหละ พอถูกส่วนดีแล้วก็ ให้บริกรรมประคองใจกับเครื่องหมายที่ใส ปากช่องจมูกหญิงซ้าย ชายขวา นั้น ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายขึ้นไปแค่เพลาตา หญิงอยู่ซีกข้างซ้าย ชายอยู่ซีกข้างขวา ตรงหัวตาที่มูลตาออก ตามช่องลมหายใจเข้าออกข้างใน แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายตามเก่านั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายนั้น ตรงลำดับเพลาตาเข้าไปฐานที่ 3 กลางกั๊กพอดี ตรงนี้มีกลเม็ดอยู่ เพราะต้องมีวิธี เมื่อถึงฐานที่ 3 แล้วต้องเหลือบตาไปข้างหลัง เหลือบตาไปข้างหลังให้ตาค้างเหมือนคนชักจะตาย ค้างขึ้นไปๆ จนกระทั่งใจหยุดความเห็นกลับเข้าข้างใน พอความเห็นกลับเข้าไปข้างใน ก็เลื่อนเครื่องหมายจากฐานที่ 3 ไปฐานที่ 4 ที่ช่องเพดานที่รับประทานอาหารสำลัก อย่าให้ล้ำอย่าให้เหลื่อม ให้พอดีๆ แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ฐานที่ 4 นั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนไปฐานที่ 5 ปากช่องคอ เหนือลูกกระเดือก เหมือนกลางกั๊กปากถ้วยแก้ว แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ปากช่องคอนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายนั้นไปที่กลางตัว ที่สุดลมหายใจเข้าออกไม่ให้ค่อนซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ให้อยู่กลางกั๊กพอดี (ฐานที่ 6)แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่กลางตัวนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง
    แล้วเลื่อนเครื่องหมายถอยหลังขึ้นมาเหนือกลางตัว สอง นิ้วมือ ตรงนั้นเรียกว่าศูนย์ (ฐานที่ 7) ตรงนั้นมีศูนย์อยู่ 5 ศูนย์ ศูนย์กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย
    ศูนย์กลางอากาศธาตุ
    ศูนย์หน้าธาตุน้ำ
    ขวาธาตุดิน
    หลังธาตุไฟ
    ซ้ายธาตุลม
    เครื่องหมายใส สะอาด ลอยช่องอากาศกลาง แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ช่องอากาศกลางนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ที่กลางอากาศว่างนั้น แล้วจะเห็นเป็นดวงใส ดวงโตประมาณเท่าแก้วตาอยู่ที่นั่น ใจของเราก็จรดอยู่ที่กลางดวงนั้น

    แก้ไขไปจนกระทั่งใจของเราหยุด บริกรรมภาวนาอยู่เรื่อยๆ ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    ที่บริกรรมว่าดังนี้ ก็เพื่อจะประคองใจของเราให้หยุด สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง พอถูกส่วนเข้า ใจก็หยุดกึ๊กอยู่กลางดวงนั้น มืดก็หยุดตรงนั้น สว่างก็อยู่ตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปถอยมา นิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ

    พอนิ่งถูกส่วนเข้าก็ มืดหนักเข้าก็เห็นดวงใส สว่างก็เห็นดวงใส ใจก็อยู่กลางดวงใส ถ้าว่ามันไม่นิ่งไม่หยุด มันชัดส่ายไปบริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    พอถูกส่วนเข้า หยุด หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย ดูนิ่ง ถ้าว่าขยับเขยื้อยหรือว่าเคลื่อนไปซะ บริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ไว้ จนกระทั่งหยุดนิ่ง



    พอหยุดนิ่งไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย วางอารมณ์เฉย ให้หยุดอยู่เท่านั่นแหละ หยุดเท่านั้นแหละ อย่าไปนึกถึงมืดสว่างนะ หยุดอยู่เท่านั้นแหละ หยุดนิ่งอยู่เท่านั้นแหละ หยุดนั่นแหล่ะเป็นตัวสำเร็จ"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กันยายน 2015
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...