ผมดันไปวิตกเรื่องอจินไตย

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย dim789, 6 สิงหาคม 2013.

  1. dim789

    dim789 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +14
    เนื่องจากผมเผลอไปคิดเรื่องบ้า ๆ เหนือจินตนาการเข้าเกี่ยวกับโลก จักรวาล สุดท้ายพอยิ่งคิดกลายเป็นฟุ้งซ่านประมาณว่าจิตใต้สำนึกมันอยากรู้คำตอบให้ได้ มันอยากจะรู้ไปทำไมกันนักหนา ไม่ทราบว่าแก้ยังไงดีให้หายขาด รู้สึกว่าเหมือนมี 2 คนในร่างเดียวทะเลาะกันมันทรมานมากเหมือนควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่น่าไปคิดเลยกับเรื่องแบบนี้กลัวจะเป็นบ้าเอาสักวัน เวรกรรมจริง ๆ ไม่น่าเกิดเป็นคนที่มีความคิดสูงเลย น่าจะเกิดเป็นคนโง่ ๆ ไม่ก็เป็นสัตว์ไปตลอดไม่ต้องคิดไรมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  2. chaokhun

    chaokhun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +5,701
    จิตสับสน ว้าวุ่น ต้องฝึกสมาธิ จึงจะหายเอง ใช้เวลานานหน่อย หรือ หางานอะไรก็ได้ทำ จนไม่มีเวลาว่างมาคิด
     
  3. jkung04

    jkung04 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +253
    อจินตัยก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ควรคิด แต่ไม่ไช่คิดไม่ได้ ถ้าวางได้ ก็คิดได้ ถ้าวางไม่ได้ก็อย่าไปคิดมัน สำหรับคุณผมว่าตอนนี้จะคิดอะไรก็ปล่อยมัน ไอ้ทีว่าเป็นตัวตนอีกคนนั้นอย่าไปสนใจมัน ช่างมันอย่างเดียวครับ ทำกิจวัตรไปตามปกติ มีสติกับสิ่งที่ทำไนเวลาปัจจุบัน ก็น่าจะหายนะครับ สู้ๆนะคับ
     
  4. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ขอแนะนำการแก้ไขความฟุ้งซ่านจากคำสอนของหลวงพ่อชาดังนี้..

    หลวงพ่อชา สุภัทโท

    จิตฟุ้งซ่านมากทั้งๆ ที่พยายามจะมีสติอยู่

    อย่าวิตกในเรื่องนี้เลย พยายามรักษาจิตของท่านให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเกิดรู้สึกอะไรขึ้นมาภาย ในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมัน และปล่อยวาง อย่าแม้แต่หวังที่จะไม่ให้มีความนึกคิดเกิดขึ้นเลย แล้วจิตก็จะเข้า สภาวะปกติตามธรรมชาติของมัน ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความดีและความชั่ว ร้อนและหนาว เร็วหรือช้า ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตนเลย อะไร ๆ ก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านเดินบิณฑบาตไม่จำเป็นต้องทำอะไรพิเศษ เพียงแต่เดินและเห็นตามที่เป็นอยู่ อย่ายึดมั่นอยู่กับการแยกตัวไปอยู่แต่ลำพัง หรือกับการเก็บตัว ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด จงรู้จักตัวเองด้วยการปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และเฝ้าดู เมื่อเกิดสงสัยจงเฝ้าดูมันเกิดขึ้นและดับไป มันก็ง่าย ๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดทั้งสิ้น

    เหมือนกับว่าท่านกำลังเดินไปตามถนน บางขณะท่านจะพบสิ่งกีดขวางทางอยู่ เมื่อท่านเกิดกิเลส เครื่องเศร้าหมอง จงรู้ทันมันและเอาชนะมันโดยปล่อยให้มันผ่านไปเสีย อย่าไปคำนึงถึงสิ่งกีดขวางที่ ท่านได้ผ่านมาแล้ว อย่าวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่ได้พบ จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าสนใจกับระยะทางของถนน หรือกับจุดหมายปลายทาง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าท่านผ่านอะไรไป อย่าไปยึดมั่นไว้ ในที่สุดจิตจะบรรลุถึงความสมดุลตามธรรมชาติของจิต และเมื่อนั้นการปฏิบัติก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นและดับไปในตัวของมันเอง


    ที่มา:

    http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html#mk722_9
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  5. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    แสดงว่า กิเลสกำลังตีกันกับธรรม ฝ่ายกิเลสคือ สงสัยแบบไม่สามารถควบคุมได้
    ฝ่ายธรรมคือ สติปัญญาที่ใคร่ครวญถึงความไม่มีประโยชน์

    เนื่องจาก ฝ่ายกิเลสก็มีกำลังมาก เนื่องจากเราฝึกแต่นิสัยคิดมาแต่ไหนแต่ไร จนการคิดนั้นกลายเป็นนิวรณ์ คือ คิดฟุ้งซ่าน และ สงสัย ในสิ่งที่ไม่ควรสงสัย

    เมิ้อเป็นดังนี้แล้ว เรามีสติปัญญฉุกคิดแล้วว่า สิ่งนั้นไม่ดี เป็นความน่ารำคาญ
    ก็ให้เราพิจารณาเพื่อช่วยสนับสนุนธรรม คือ มันจะสงสัยก็สงสัยไป แต่ให้รู้ตัวแล้วพิจารณาหาซิว่า ได้คำตอบไปแล้วจะไม่สงสัยเรื่ออื่นต่อหรือ หรือเรื่องที่สงสัยนี้เอาโลกทั้งโลกมาแบกไว้มันก็ไม่หมด ถามคัวเองซิว่า สิ่งที่สงสัยนี้จำเป็นไหม ความรู้ของเรามีฐานมากพอที่จะเปลื้องสงสัยได้หรือยัง นี่ให้พิจารณาเพื่อให้เห็นความโง่เขลาที่จะไปสงสัยในเรื่องนอกโลกจักรวาลในเวลาที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ เมื่อพิจารณาไปเรื่อยๆ เราจะเห็นความโง่ความเขลาไปเรื่อยๆ เมื่อสิ่งที่เราพิจารณาซึมเข้าใจไปเรื่อยๆแล้ว เราจะเลิกหยิบความโง่ใส่เข้าตัวเรา

    การกระทำข้างต้นที่กล่าวมานั้นเรียกว่า พิจารณาตามความเป็นจริง หรือ วิปัสสนา

    แต่หากเรายังสู้ไม่ไหวก็อาจจะ ฝืนบ้าง ตามบ้าง แล้วหมั่นทำสมาธิให้สงบ เพื่อคอยพยุงให้เราไม่เพลี่ยงพล้ำต่อกิเลส ความสงสัยไปตามความไม่รู้
    การทำสมาธิให้จิตสงบตัวไป ไม่แสดงความสอดส่ายฟุ้งซ่าน หรือ สงสัยให้ปรากฎ เรียกว่า เป็นการทำ สมถะ กรรมฐาน

    มีประโยชน์ทั้งสองอย่าง ทั้งสมถะ และวิปัสสนา โดยใช้สติในการสอนตนว่าสิ่งใดดี เหมาะสมควรใช้ตอนไหน เพื่อดับทุกข์คือ ความฟุ้งซ่านสงสัยในเรื่องจักรวาลจนหยุดไม่ได้
     
  6. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154



    สรรพสัญญาอนิจจัง..สรรพสัญญา สรรพสังขาราอนัตตา.

    ตามประวัติหลวงปู่มั่นท่าน..เคยฝากให้แม่ชีที่โดน

    วิปัสนูปกิเลสเล่นงานครับ..อย่างที่คุณว่ามาเป็นกันเยอะครับ

    ทั้งพระและโยม..แต่ที่คุณเขียนมาคุณยังมีสติค่อนข้าง

    ดีอยู่..หมั่นเจริญสติให้มากและทำสมาธิควบคู่ไปด้วยครับ

    อารมณย์และสภาวะการปรุงแต่งทั้งหลาย..ที่มันเกิดขึ้นมา

    ที่เราทุกข์เป็นเพราะเราไปยึดมันบ้าง..อยากให้มันไม่คิดบ้าง

    ไม่อยากให้มันคิดอย่างนั้นอย่างนี้บ้าง..ขณะนี้เรามีหน้าที่

    แค่เจริญสติกับสมาธิ..และพยายามปล่อยวางกับความคิด

    และสภาวะของธรรมมารมณย์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นครับ..จะหายช้าหรือ

    เร็วขึ้นอยู่กับ..ความเพียรครับถ้ามีผู้รู้ช่วยคอยแนะนำด้วย

    ก็จะยิ่งดีครับ ยินดีแนะนำครูอาจารย์ท่านที่จะแก้ไขได้ให้ครับ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  7. หัวมัน

    หัวมัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,191
    ค่าพลัง:
    +6,947
    อย่าวิตกในเรื่องนี้เลย พยายามรักษาจิตของท่านให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเกิดรู้สึกอะไรขึ้นมาภาย ในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมัน และปล่อยวาง อย่าแม้แต่หวังที่จะไม่ให้มีความนึกคิดเกิดขึ้นเลย แล้วจิตก็จะเข้า สภาวะปกติตามธรรมชาติของมัน ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความดีและความชั่ว ร้อนและหนาว เร็วหรือช้า ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตนเลย อะไร ๆ ก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านเดินบิณฑบาตไม่จำเป็นต้องทำอะไรพิเศษ เพียงแต่เดินและเห็นตามที่เป็นอยู่ อย่ายึดมั่นอยู่กับการแยกตัวไปอยู่แต่ลำพัง หรือกับการเก็บตัว ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด จงรู้จักตัวเองด้วยการปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และเฝ้าดู เมื่อเกิดสงสัยจงเฝ้าดูมันเกิดขึ้นและดับไป มันก็ง่าย ๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดทั้งสิ้น

    เหมือนกับว่าท่านกำลังเดินไปตามถนน บางขณะท่านจะพบสิ่งกีดขวางทางอยู่ เมื่อท่านเกิดกิเลส เครื่องเศร้าหมอง จงรู้ทันมันและเอาชนะมันโดยปล่อยให้มันผ่านไปเสีย อย่าไปคำนึงถึงสิ่งกีดขวางที่ ท่านได้ผ่านมาแล้ว อย่าวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่ได้พบ จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าสนใจกับระยะทางของถนน หรือกับจุดหมายปลายทาง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าท่านผ่านอะไรไป อย่าไปยึดมั่นไว้ ในที่สุดจิตจะบรรลุถึงความสมดุลตามธรรมชาติของจิต และเมื่อนั้นการปฏิบัติก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทุกสิ่ง
    --------------------------------------------------------------------------



    แบบนี้เป็นการวิปัสสนารึเปล่าคะ?
     
  8. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    วิปัสสนา จะต้องหยิบยกสภาวะทุกข์ ในปัจจุบันขณะขึ้นมาก่อน ว่าเรานี้มีทุกข์อะไรเกิดขึ้น ติดอยู่ข้องอยู่ เป็นโทษแก่ตัว แล้ว หาเหตุปัจจัย ว่าเพราะเหตุใดจึงติดจึงข้อง เพราะเหตุใดเราจึงต้องหลงรู้สึกทุกข์อยู่อย่างนั้น ตามหลักแล้ว"สิ่งใดเกิดขึ้นมาเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา" แต่เรายึดเอาไว้ ด้วยความหลง ความไม่รู้ต้นสายปลายเหตุของจิตใจ จึงยึดเอาไว้โดยไม่รู้ตัว แล้วหาเหตุความโง่ความหลงนั้นด้วย การพิจารณาตามความจริงอย่างแยบคายเพื่อให้ใจนี้ตื่นขึ้น เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
    นี่คือ หลักแห่งวิปัสสนาที่แท้จริง

    แต่เท่าที่อ่านมาข้างต้นนั้น เป็นการจินตนาการเสียมากกว่า เพราะยังไม่กำหนดรู้สภาพทุกข์เลย
    ผู้กล่าว พูดถึงปลายทางให้ปล่อยวาง แต่ไม่ได้กล่าวในวิถีทางในการปล่อยวางให้ได้
    จึงไม่ใช่เป็นหลักวิปัสสนาตามหลักที่ถูกต้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  9. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    เป็นวิปัสสนาครับ ....เป็นการเอาสติตามสังเกตุจดจ่อใส่ใจ ต่อสภาวะลักษณะที่ปรากฎในขณะนั้น และต่อความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปต่าง ๆ ทั้งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของรูปของนาม หรือของร่างกายของจิตใจ หรือของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สะสมข้อมูลที่สังเกตได้นั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ และนำข้อมูลที่ได้จากการตามดูตามสังเกตนั้น มาพินิจพิเคราะห์ พิจารณาโดยแยบคาย ให้เห็นว่ารูปนามนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นสุขหรือทุกข์ หรือความสุขที่ได้มานั้นคุ้มกับความทุกข์ที่ต้องเผชิญหรือไม่ อยู่ในอำนาจหรือไม่ เป็นไปตามความปรารถนาหรือไม่ ควรค่าแก่การยึดมั่นหรือไม่ ควรหรือไม่ที่จะถือว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ( ถ้าจะถือว่าสิ่งใดเป็นเราแล้วสิ่งนั้นก็ควรจะอยู่ในอำนาจ และเป็นไปตามความปรารถนาของเราอย่างแท้จริง )..

    เมื่อทำมากๆบ่อยเนืองๆย่อมสามารถละความติดยึดข้องในอัตตาตัวตน ทราบชัดในความจริงว่าสิ่งทั้งปวงไม่ใช่เราหรือใคร ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เพราะแปรปรวนเปลี่ยนไปเสมอ ทั้งทราบชัดว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น มาจากการประชุมของเหตุปัจจัย ต่างๆ จึงหาความยั่งยืนมั่นคงอะไรไม่ได้ ด้วยว่าปัจจัยทั้งหลายก็ไม่ใช่สิ่งที่เที่ยงเช่นกัน..
     
  10. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    มนุษย์นั้นมีตัวตน มากกว่า หนึ่งจากอดีต
    จึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่ว่า เมื่อไหร่ความคิด

    คำนึงระลึกถึงตัวตนในอดีต (คิดถึงเรื่องอดีต)
    หมายถึงตัวตนในอดีตมาหา มาอยู่ใกล้

    ระบบของการคิดก่ จะวนเวียน กับตัวตนของตน
    ที่มา ....

    ความรู้ปัจจุบันจะเรียกว่า จิตใต้สำนึก
    แต่ความจริงคือ ตัวตนในอดีตของตนเอง มาหา
     
  11. dim789

    dim789 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +14
    ที่ผ่านมาเราถูกสอนให้โลภเอาแต่แข่งขัน ถูกสอนให้เอาแต่คิดอย่างเดียวมาแต่ตั้งแต่เด็กๆ แล้วจนละทิ้งความสำคัญคำสอนพุทธศาสนา สุดท้ายกิเลสความอยากรู้มันพาไปไม่มีที่สิ้นสุดจริง ๆ จนผมเกือบควบคุมมันไม่ได้

    ขอบคุณทุกความคิดเห็นเดี่ยวพรุ่งนี้ผมจะไปทำวิปัสนากรรมฐานให้รู้แจ้งเห็นจริงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...