อันดามันปฏิบัติการเวฟ007หนีสึนามิ!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 24 กรกฎาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>อันดามันปฏิบัติการเวฟ007หนีสึนามิ! </TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] เสียงไซเรนจากหอสัญญาณเตือนภัยหน้า ร.ร.บ้านคลองม่วง ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ แผดเสียงโหยหวนบาดแก้วหู คะเนไม่ต่ำกว่า 120 เดซิเบล
    นักเรียนชาย-หญิงในชุดลูกเสือสมุทรสีขาวกว่า 100 ชีวิต วิ่งกระหืดกระหอบออกจากโรงเรียนไปตามถนนลาดยาวมุ่งสู่เนินเขาสูง ดูเหมือนว่าพวกเด็กเหล่านี้กำลังวิ่งหนีบางสิ่งบางอย่างอยู่
    ไม่นานคำประกาศเตือนจากเสียงตามสายก็ดังตามมาช่วยให้รู้ว่าเด็กๆ เหล่านี้กำลังหนีภัยสึนามิ !!!
    'โปรดทราบๆ เกิดแผ่นดินไหวในทะเล อาจเกิดคลื่นสึนามิ ให้ออกจากชายหาดให้ไกลที่สุด ไปยังพื้นที่สูงโดยด่วน' เสียงตามสายทวนคำประกาศอีกครั้งและเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นๆ อีก 4 ภาษา
    โรงเรียนแห่งนี้อยู่ห่างจากชายหาดเพียงแค่ถนนกั้น เช่นเดียวกับโรงเรียนและชุมชนริมชายทะเลอีกหลายแห่งของ จ.กระบี่ จึงต้องติดตั้งหอเตือนภัยเพราะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยคลื่นยักษ์สึนามิ
    ผ่านไปครึ่งชั่วโมง...'ชายหาด' หน้า ร.ร.บ้านคลองม่วง ยังสงบเงียบ มีเพียงระลอกคลื่นเล็กๆ ซัดเข้าหาฝั่ง แต่เด็กนักเรียนหลายคนกำลังหมดแรง บางคนเป็นลมล้มพับไปกับการเดินสลับวิ่งเป็นระยะทาง 1,200 เมตร กว่าจะถึงเป้าหมาย
    ภาพความโกลาหลที่เกิดขึ้นนี้...เป็นเพียงแค่ "การซ้อมหนีสึนามิ" เท่านั้น
    บ่ายวันหนึ่งของเดือนกรกฎาคมที่โรงเรียนริมทะเลแห่งนี้ นักเรียนชั้น ป.2 ร่วม 20 คน ออกมาเรียนการอ่านวิชาภาษาไทยอยู่ใต้ร่มไม้หน้าอาคารเรียน บอกเล่าถึงเหตุการณ์วันซ้อมหนีคลื่นสึนามิที่โรงเรียนจัดขึ้นให้ "คม ชัด ลึก" ฟังด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
    "หนูวิ่งจนเป็นลม เพื่อนก็เป็นลมเหมือนกันค่ะ" เด็กหญิงนักเรียนชั้น ป.2 บอก
    "สึนามิมาต้องวิ่งขึ้นที่สูง" เด็กนักเรียนชั้น ป.2 ตอบประสานเสียง เมื่อถามว่าสึนามิมาต้องทำอย่างไร?
    "วันที่ 25 กรกฎาคมนี้ ก็ต้องวิ่งอีก" เด็กหญิงอีกคนเสริม
    แม้ว่าจะเกิดภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิมานานเกือบ 3 ปีแล้ว แต่ก็ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้ว่า จะไม่เกิดคลื่นยักษ์ขึ้นอีกครั้ง ดังนั้น วันที่ 25 กรกฎาคมนี้ จึงถูกกำหนดให้เป็นวันซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหนีภัยสึนามิครั้งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ด้วยเงินสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ 20 ล้านบาท เพื่อให้ความรู้และให้โรงเรียนจัดทำแผนอพยพคนในชุมชนและนักเรียน โดยมีโรงเรียนนำร่องทั้งสิ้น 24 แห่ง จาก 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน
    การซ้อมใหญ่ครั้งนี้ยังเป็นการทดสอบความพร้อมของระบบและหอเตือนภัย 79 แห่ง ว่ายังใช้ได้การดีอยู่หรือไม่? โดยปฏิบัติการครั้งนี้มีชื่อว่า 'Andaman Wave 007'
    "บ้านกมลา" เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่ต้องเตรียมแผนอพยพจากแนวคิดของนักเรียนเอง...เดิมทีโรงเรียนแห่งนี้เคยเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวตั้งรับลมอยู่ริมชายหาดกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต มาค่อนศตวรรษ แต่ถูกคลื่นยักษ์สึนามิกวาดกลืนอาคารไม้เก่าแก่หายไปในทะเลเพียงชั่วพริบตา ภัยพิบัติครั้งนั้นเกือบทำให้โรงเรียนต้องระเห็จไปอยู่ที่อื่น โดยอ้างเหตุความปลอดภัย
    เมื่อความพยายามจะย้ายโรงเรียนออกจากทำเลทองริมชายหาดกมลาล้มเหลว เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปลี่ยนสภาพจากโรงเรียนไม้เล็กๆ กลายเป็นโรงเรียนที่ก่อสร้างอย่างมั่นคงถาวร มีอาคารเรียนสูง 3-4 ชั้น รองรับนักเรียนประจำและไปกลับกว่า 300 ชีวิต พร้อมกับตั้งชื่อใหม่ว่า "ราชประชานุเคราะห์ 36"
    สำหรับแผนอพยพของนักเรียนโรงเรียนนี้ ไม่ต่างไปจากบริษัทต่างๆ ที่มีแผนซ้อมหนีไฟ เพียงแต่รูปแบบการหนีจะแตกต่างกันสิ้นเชิง หากเป็นการซ้อมหนีไฟทุกคนจะหนีลงจากอาคารให้เร็วที่สุด ตรงกันข้ามหากหนีสึนามิทุกคนต้องวิ่งขึ้นอาคารสูงให้เร็วที่สุด
    อาคารเรียนของ ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 36 เป็นอาคารเรียน 3 ชั้นและ 4 ชั้น โดยชั้นสูงสุดของทั้ง 2 อาคาร จะมีการสำรองน้ำดื่มและอาหารแห้งเก็บไว้ในตู้เสบียงในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยเหลือผู้อพยพได้หลายวัน
    "เมื่อเกิดแผ่นดินไหวและได้รับสัญญาณเตือนภัย โรงเรียนจะกดสัญญาณเตือนภัยให้นักเรียนอพยพขึ้นบนอาคารเรียนชั้นที่สูงที่สุด" รุ่งพรรษา ศรีภา นักเรียนชั้น ม.4 หนึ่งในทีมวางแผนอพยพนักเรียน อธิบาย พร้อมกับแจกแจงถึงรายละเอียดของการอพยพว่า แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ การอพยพระยะสั้น 30 นาที นักเรียนต้องวิ่งหนีขึ้นอาคารเรียนชั้นที่สูงที่สุด แผนอพยพระยะยาว 1 ชั่วโมง นักเรียนจะวิ่งขึ้นเนินเขายักษ์หลังโรงเรียน และแผนอพยพนักเรียนประจำ จะใช้หลักการเดียวกับแนวทางที่ 1 และ 2
    ทั้งนี้ กว่าจะได้แผนอพยพฉบับนักเรียนขึ้นมา ทีมงานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษากว่า 10 ชีวิต ได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางที่ปลอดภัย ด้วยการขอข้อมูลความรู้จากผู้มีประสบการณ์และองค์กรท้องถิ่น เพื่อนำมาวางแผนเส้นทางอพยพ ขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยที่จะออกให้ความรู้เกี่ยวกับการเกิดคลื่นสึนามิและการอพยพแก่คนในชุมชนและน้องๆ ที่โรงเรียน
    แผนการอพยพที่ถูกคิดและกลั่นกรองด้วยเวลาเหลือเฟือ ถูกนำเสนอผ่านพรีเซนเทชั่นร่วม 1 ชั่วโมงนั้น ถ้าเกิดคลื่นยักษ์ขึ้นมาจริงๆ ความโกลาหลหลังเสียงสัญญาณเตือนภัยเป็นสิ่งที่ทีมนักวางแผนอพยพรุ่นเยาว์กังวลใจที่สุด
    "กลัวเด็กๆ จะไม่เป็นระเบียบ โดยเฉพาะน้องๆ อนุบาลและประถม ที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องการเกิดภัยจากสึนามิ" รุ่งพรรษาเผยถึงความกังวล
    เมื่อภัยมาถึงตัว ทุกคนมีสัญชาตญาณหนีภัย แต่เป็นวิธีที่ถูกต้องหรือผิดพลาดขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ที่ติดตัวมา
    "วิ่งขึ้นที่สูง" ด.ช.อนุชา เสน่ห์ นักเรียนชั้น ป.6 ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 36 ตอบสั้นๆ
    "ต้องวิ่งขึ้นที่สูง หรือหาต้นไม้เกาะไว้ แล้วแรงน้ำจะพาเราขึ้นต้นไม้เอง" โสมนภา บรรเทิง เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุ ผู้ผ่านประสบการณ์เฉียดตายจากคลื่นยักษ์บอก
    เช่นเดียวกับเด็กๆ ร.ร.บ้านคลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่ ด้วยความที่เด็กๆ มีความคุ้นเคยกับทะเลมาตั้งแต่เกิด วันที่เกิดแผ่นดินไหวบนเกาะแห่งนี้ เด็กๆ ต่างวิ่งออกจากบ้านมาดูน้ำทะเลเหือดแห้งในชั่วพริบตาริมสันเขื่อนหน้าหมู่บ้าน ไม่กี่นาทีต่อมาคลื่นยักษ์สูงท่วมหัวก็ยกตัวขึ้นชายฝั่ง!
    "หนี..." จึงเป็นเพียงสัญชาตญาณเดียวที่สั่งให้เด็กๆ และชาวบ้านรอดชีวิตจากมหันตภัยครั้งนั้นอย่างหวุดหวิด มีเพียงเรือประมงกับบ้านเรือนริมสันเขื่อนเท่านั้นที่พังยับเยิน
    "ยักษ์ขึ้นมาจากทะเล ต้องวิ่งหนี" เบญจมาศ ห้างฝา นักเรียนชั้น ป.4 เล่าเหตุการณ์วันที่คลื่นสึนามิซัดเข้าหมู่บ้าน "วันนั้นแผ่นดินไหวก่อน แมวที่เลี้ยงไว้ 2 ตัว วิ่งทั่วบ้านเลย"
    "วัวก็วิ่งหนีจนเชือกขาด" เด็กหญิงอีกคน พูดเสริม
    แม้คลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ไม่อาจคร่าชีวิตชาวบ้านกว่า 600 ชีวิตบนเกาะแห่งนี้ได้ ทว่าทุกคนก็พร้อมใจกันอพยพย้ายออกมาอาศัยอยู่ที่ ร.ร.บ้านคลองประสงค์ ศาลาประชาคม และศาลากลางจังหวัด โดยวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ พวกเขาก็เตรียมซ้อมแผนอพยพหนีภัยกันอย่างกระตือรือร้น โดยใช้ ร.ร.บ้านคลองประสงค์ ที่ล้อมรอบด้วยป่าโกงกางหนาทึบเป็นเสมือนปราการกันคลื่นยักษ์ตามธรรมชาติเป็นที่หลบภัย
    ส่วน ร.ร.บ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งอยู่ห่างจากทะเล 500 เมตร และเคยได้รับผลกระทบหนักที่สุด มีนักเรียนเสียชีวิต 27 คน สูญหาย 12 คน และอีก 386 คนได้รับผลกระทบ โรงเรียนเสียหาย 80% ก็ร่วมวางแผนซักซ้อมหนีภัยด้วย
    "เส้นทางหนีภัยแบ่งเป็น 5 โซน ชาวบ้านจะอพยพมาอยู่ที่โรงเรียนและวัด" ด.ญ.มณีรัตน์ อินทร์ชุม นักเรียนชั้น ป.5 และทีมงานนำเสนอแผนอพยพ
    แผนการอพยพของ ร.ร.บ้านน้ำเค็ม มีสิ่งที่น่ากังวลหลายอย่าง ทั้งเรื่องเส้นทางจากชุมชนมายังโรงเรียนและวัด มีระยะทางร่วม 2 กิโลเมตร ขณะที่ชุมชนส่วนใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่ริมชายฝั่งทะเล ซึ่งน่าจะมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการอพยพ ขณะเดียวกันองค์ความรู้เรื่องการเกิดสึนามิและการป้องกันภัยสึนามิในชุมชนหรือโรงเรียนกลับมีน้อยมาก
    "???" หนึ่งในนักเรียนที่นำเสนอแผนการอพยพอ้ำอึ้งกับคำตอบ เมื่อถูกถามว่า เคยเล่าเรื่องการเกิดสึนามิให้พ่อแม่หรือคนในชุมชนฟังหรือไม่
    แล้วการซ้อมใหญ่วันที่ 25 กรกฎาคมนี้ จะเหมือนการซ้อมที่ผ่านๆ มาหรือไม่?
    ต้องรอลุ้นกันอีกที...!??
    เสียงไซเรนจากหอเตือนภัยสึนามิดังขึ้นอีกครั้ง
    'โปรดทราบๆ ขณะนี้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ขอให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อไป'
    เสียงตามสายประกาศซ้ำอีกครั้ง
    หากคำประกาศข้างต้นไม่ใช่การซักซ้อมเหมือนที่ผ่านๆ มา ลองเดาดูสิว่าจะมีคนบาดเจ็บและคนตายกี่คน?


    เตือนภัยทั่วโลกไม่มีที่ไหนแม่นยำ 100%

    หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย วัดความรุนแรงได้ 9 ริคเตอร์ ทำให้เกิดพลังงานคลื่นทั่วมหาสมุทรอินเดีย เมื่อกระทบชายฝั่งจึงก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สูงร่วม 10 เมตร กวาดกลืนทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่รู้ตัว หรือไม่มีสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า
    แต่วินาทีนี้...เมืองไทยมีระบบเตือนภัยล่วงหน้า ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO/IOC) จัดให้ประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์สูงสุดจาก 16 ประเทศในเอเชีย เพียงแค่ปรับปรุงด้านความรู้การเตือนภัยแก่หน่วยงานและประชาชน ตลอดจนสร้างความพร้อมเผชิญภัยและอพยพหนีภัยให้มากขึ้นเท่านั้น
    "ความน่าเชื่อถือของหอเตือนภัยสึนามิเป็นสิ่งสำคัญ ในต่างประเทศมีการประกาศเตือนภัย 10 ครั้ง ถูกแค่ 3 ครั้ง ชาวบ้านก็เข้าใจ แต่คนไทยถ้าไม่เกิดก็จะมาต่อว่าผมได้ แต่เกิดขึ้นจริงๆ ก็อาจไม่มีสิทธิมาต่อว่าผมได้ เพราะท่านตายไปแล้ว" ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กอช.) เตือน
    ดร.สมิทธย้ำว่า การเตือนภัยทั่วโลกไม่มีที่ไหนถูกต้องแม่นยำ 100% อย่าดูถูกภัยธรรมชาติ เพราะมนุษย์ไม่มีสิทธิกำหนดได้ อยากให้เชื่อการแจ้งเตือนภัยของศูนย์ฯ ไว้ก่อน
    อย่างไรก็ตาม ดร.สมิทธบอกว่า การซ้อมใหญ่นี้ก็เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบเตือนภัยและการอพยพคน ถ้าไม่มีผลเป็นบวกนักท่องเที่ยวต่างชาติก็จะไม่มั่นใจและไม่มาเที่ยวเมืองไทย อย่างไรก็ตาม การซ้อมครั้งนี้เป็นการซ้อมระดับภูมิภาค จะมี 40 องค์กรจากต่างประเทศในคาบมหาสมุทรอินเดียมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพื่อนำเอาการฝึกซ้อมไปเป็นตัวอย่าง เพราะในอนาคตภัยธรรมชาติสึนามิมีโอกาสเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน
    ด้าน ดร.เชิดศักดิ์ วีระพัฒน์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการโครงการและแผนกลยุทธ์ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ประเมินว่าการซ้อมใหญ่คราวนี้น่าจะผ่านเกณฑ์ เชื่อว่านักเรียนและประชาชนจะทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
    "ที่ผ่านมาเคยแจ้งเตือนภัยไปยังจังหวัดแล้ว แต่เขาไม่เข้าใจและไม่มีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยง ถ้ามันเกิดจริงๆ ผมว่ามันยุ่ง" ดร.เชิดศักดิ์ บอก
    เหนือสิ่งอื่นใด...ถ้า 'ความรู้' เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการมีชีวิตรอดจากภัยพิบัติต่างๆ การลงไปให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง ดร.เชิดศักดิ์จึงเสนอโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ เพื่อสร้างจิตสำนึกป้องกันและลดความเสี่ยงภัย และการมีส่วนร่วมของชุมชนแก่องค์กรต่างประเทศ ได้รับงบประมาณมา 20 ล้านบาท
    "จัดประชุมไปแล้ว 4 ครั้ง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและลงพื้นที่จัดทำแผนอพยพหนีภัย เราต้องเข้าไปให้ความรู้เบื้องต้นกับนักเรียนและชุมชน บางโรงเรียนก็ให้ความสนใจ บางโรงเรียนก็ไม่ค่อยสนใจ หลังจากวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ เราจะได้รู้ว่าต้องปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้าง และอาจมีการซ้อมกันอีกครั้งในวันที่ 26 ธันวาคมนี้" ดร.เชิดศักดิ์สรุป
    "เราต้องให้ความรู้เรื่องการเกิดคลื่นสึนามิกับประชาชนมากๆ เพราะบางครั้งการเกิดคลื่นสึนามิอาจมีเวลาเตรียมตัวไม่มากพอเหมือนที่วางแผนอพยพกันไว้" รศ.อัปสรสุดา ศิริพงศ์ ที่ปรึกษาด้านสมุทรศาสตร์และสึนามิ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมให้ข้อคิด
    รู้จักภัยแผ่นดินไหว
    หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่มีระดับความรุนแรงตั้งแต่ 6 ริคเตอร์ขึ้นไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบดังนี้
    - ภัยจากการสั่นไหวของพื้นดิน ทำให้เกิดการพังทลายของดินและโคลน และดินกลายสภาพเป็นของเหลว
    - ภัยจากการยกตัวของพื้นดินในบริเวณรอยเลื่อน
    - ภัยที่เกิดจากคลื่นใต้น้ำ (Tsunami) ซึ่งคลื่นชนิดนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในทะเลและมหาสมุทร ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง
    - ภัยจากไฟไหม้หลังการเกิดแผ่นดินไหว
    ทีมข่าวรายงานพิเศษ


    -->[​IMG]
    เสียงไซเรนจากหอสัญญาณเตือนภัยหน้า ร.ร.บ้านคลองม่วง ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ แผดเสียงโหยหวนบาดแก้วหู คะเนไม่ต่ำกว่า 120 เดซิเบล
    นักเรียนชาย-หญิงในชุดลูกเสือสมุทรสีขาวกว่า 100 ชีวิต วิ่งกระหืดกระหอบออกจากโรงเรียนไปตามถนนลาดยาวมุ่งสู่เนินเขาสูง ดูเหมือนว่าพวกเด็กเหล่านี้กำลังวิ่งหนีบางสิ่งบางอย่างอยู่
    ไม่นานคำประกาศเตือนจากเสียงตามสายก็ดังตามมาช่วยให้รู้ว่าเด็กๆ เหล่านี้กำลังหนีภัยสึนามิ !!! [​IMG]
    'โปรดทราบๆ เกิดแผ่นดินไหวในทะเล อาจเกิดคลื่นสึนามิ ให้ออกจากชายหาดให้ไกลที่สุด ไปยังพื้นที่สูงโดยด่วน' เสียงตามสายทวนคำประกาศอีกครั้งและเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นๆ อีก 4 ภาษา
    โรงเรียนแห่งนี้อยู่ห่างจากชายหาดเพียงแค่ถนนกั้น เช่นเดียวกับโรงเรียนและชุมชนริมชายทะเลอีกหลายแห่งของ จ.กระบี่ จึงต้องติดตั้งหอเตือนภัยเพราะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยคลื่นยักษ์สึนามิ
    ผ่านไปครึ่งชั่วโมง...'ชายหาด' หน้า ร.ร.บ้านคลองม่วง ยังสงบเงียบ มีเพียงระลอกคลื่นเล็กๆ ซัดเข้าหาฝั่ง แต่เด็กนักเรียนหลายคนกำลังหมดแรง บางคนเป็นลมล้มพับไปกับการเดินสลับวิ่งเป็นระยะทาง 1,200 เมตร กว่าจะถึงเป้าหมาย [​IMG]
    ภาพความโกลาหลที่เกิดขึ้นนี้...เป็นเพียงแค่ "การซ้อมหนีสึนามิ" เท่านั้น
    บ่ายวันหนึ่งของเดือนกรกฎาคมที่โรงเรียนริมทะเลแห่งนี้ นักเรียนชั้น ป.2 ร่วม 20 คน ออกมาเรียนการอ่านวิชาภาษาไทยอยู่ใต้ร่มไม้หน้าอาคารเรียน บอกเล่าถึงเหตุการณ์วันซ้อมหนีคลื่นสึนามิที่โรงเรียนจัดขึ้นให้ "คม ชัด ลึก" ฟังด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
    "หนูวิ่งจนเป็นลม เพื่อนก็เป็นลมเหมือนกันค่ะ" เด็กหญิงนักเรียนชั้น ป.2 บอก
    "สึนามิมาต้องวิ่งขึ้นที่สูง" เด็กนักเรียนชั้น ป.2 ตอบประสานเสียง เมื่อถามว่าสึนามิมาต้องทำอย่างไร?
    "วันที่ 25 กรกฎาคมนี้ ก็ต้องวิ่งอีก" เด็กหญิงอีกคนเสริม
    แม้ว่าจะเกิดภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิมานานเกือบ 3 ปีแล้ว แต่ก็ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้ว่า จะไม่เกิดคลื่นยักษ์ขึ้นอีกครั้ง ดังนั้น วันที่ 25 กรกฎาคมนี้ จึงถูกกำหนดให้เป็นวันซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหนีภัยสึนามิครั้งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ด้วยเงินสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ 20 ล้านบาท เพื่อให้ความรู้และให้โรงเรียนจัดทำแผนอพยพคนในชุมชนและนักเรียน โดยมีโรงเรียนนำร่องทั้งสิ้น 24 แห่ง จาก 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน
    การซ้อมใหญ่ครั้งนี้ยังเป็นการทดสอบความพร้อมของระบบและหอเตือนภัย 79 แห่ง ว่ายังใช้ได้การดีอยู่หรือไม่? โดยปฏิบัติการครั้งนี้มีชื่อว่า 'Andaman Wave 007'
    "บ้านกมลา"
    เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่ต้องเตรียมแผนอพยพจากแนวคิดของนักเรียนเอง...เดิมทีโรงเรียนแห่งนี้เคยเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวตั้งรับลมอยู่ริมชายหาดกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต มาค่อนศตวรรษ แต่ถูกคลื่นยักษ์สึนามิกวาดกลืนอาคารไม้เก่าแก่หายไปในทะเลเพียงชั่วพริบตา ภัยพิบัติครั้งนั้นเกือบทำให้โรงเรียนต้องระเห็จไปอยู่ที่อื่น โดยอ้างเหตุความปลอดภัย
    เมื่อความพยายามจะย้ายโรงเรียนออกจากทำเลทองริมชายหาดกมลาล้มเหลว เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปลี่ยนสภาพจากโรงเรียนไม้เล็กๆ กลายเป็นโรงเรียนที่ก่อสร้างอย่างมั่นคงถาวร มีอาคารเรียนสูง 3-4 ชั้น รองรับนักเรียนประจำและไปกลับกว่า 300 ชีวิต พร้อมกับตั้งชื่อใหม่ว่า "ราชประชานุเคราะห์ 36"
    สำหรับแผนอพยพของนักเรียนโรงเรียนนี้ ไม่ต่างไปจากบริษัทต่างๆ ที่มีแผนซ้อมหนีไฟ เพียงแต่รูปแบบการหนีจะแตกต่างกันสิ้นเชิง หากเป็นการซ้อมหนีไฟทุกคนจะหนีลงจากอาคารให้เร็วที่สุด ตรงกันข้ามหากหนีสึนามิทุกคนต้องวิ่งขึ้นอาคารสูงให้เร็วที่สุด
    อาคารเรียนของ ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 36 เป็นอาคารเรียน 3 ชั้นและ 4 ชั้น โดยชั้นสูงสุดของทั้ง 2 อาคาร จะมีการสำรองน้ำดื่มและอาหารแห้งเก็บไว้ในตู้เสบียงในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยเหลือผู้อพยพได้หลายวัน
    "เมื่อเกิดแผ่นดินไหวและได้รับสัญญาณเตือนภัย โรงเรียนจะกดสัญญาณเตือนภัยให้นักเรียนอพยพขึ้นบนอาคารเรียนชั้นที่สูงที่สุด" รุ่งพรรษา ศรีภา นักเรียนชั้น ม.4 หนึ่งในทีมวางแผนอพยพนักเรียน อธิบาย พร้อมกับแจกแจงถึงรายละเอียดของการอพยพว่า แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ การอพยพระยะสั้น 30 นาที นักเรียนต้องวิ่งหนีขึ้นอาคารเรียนชั้นที่สูงที่สุด แผนอพยพระยะยาว 1 ชั่วโมง นักเรียนจะวิ่งขึ้นเนินเขายักษ์หลังโรงเรียน และแผนอพยพนักเรียนประจำ จะใช้หลักการเดียวกับแนวทางที่ 1 และ 2
    ทั้งนี้ กว่าจะได้แผนอพยพฉบับนักเรียนขึ้นมา ทีมงานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษากว่า 10 ชีวิต ได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางที่ปลอดภัย ด้วยการขอข้อมูลความรู้จากผู้มีประสบการณ์และองค์กรท้องถิ่น เพื่อนำมาวางแผนเส้นทางอพยพ ขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยที่จะออกให้ความรู้เกี่ยวกับการเกิดคลื่นสึนามิและการอพยพแก่คนในชุมชนและน้องๆ ที่โรงเรียน
    แผนการอพยพที่ถูกคิดและกลั่นกรองด้วยเวลาเหลือเฟือ ถูกนำเสนอผ่านพรีเซนเทชั่นร่วม 1 ชั่วโมงนั้น ถ้าเกิดคลื่นยักษ์ขึ้นมาจริงๆ ความโกลาหลหลังเสียงสัญญาณเตือนภัยเป็นสิ่งที่ทีมนักวางแผนอพยพรุ่นเยาว์กังวลใจที่สุด
    "กลัวเด็กๆ จะไม่เป็นระเบียบ โดยเฉพาะน้องๆ อนุบาลและประถม ที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องการเกิดภัยจากสึนามิ" รุ่งพรรษาเผยถึงความกังวล
    เมื่อภัยมาถึงตัว ทุกคนมีสัญชาตญาณหนีภัย แต่เป็นวิธีที่ถูกต้องหรือผิดพลาดขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ที่ติดตัวมา
    "วิ่งขึ้นที่สูง" ด.ช.อนุชา เสน่ห์ นักเรียนชั้น ป.6 ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 36 ตอบสั้นๆ
    "ต้องวิ่งขึ้นที่สูง หรือหาต้นไม้เกาะไว้ แล้วแรงน้ำจะพาเราขึ้นต้นไม้เอง" โสมนภา บรรเทิง เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุ ผู้ผ่านประสบการณ์เฉียดตายจากคลื่นยักษ์บอก
    เช่นเดียวกับเด็กๆ ร.ร.บ้านคลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่ ด้วยความที่เด็กๆ มีความคุ้นเคยกับทะเลมาตั้งแต่เกิด วันที่เกิดแผ่นดินไหวบนเกาะแห่งนี้ เด็กๆ ต่างวิ่งออกจากบ้านมาดูน้ำทะเลเหือดแห้งในชั่วพริบตาริมสันเขื่อนหน้าหมู่บ้าน ไม่กี่นาทีต่อมาคลื่นยักษ์สูงท่วมหัวก็ยกตัวขึ้นชายฝั่ง!
    "หนี..." จึงเป็นเพียงสัญชาตญาณเดียวที่สั่งให้เด็กๆ และชาวบ้านรอดชีวิตจากมหันตภัยครั้งนั้นอย่างหวุดหวิด มีเพียงเรือประมงกับบ้านเรือนริมสันเขื่อนเท่านั้นที่พังยับเยิน
    "ยักษ์ขึ้นมาจากทะเล ต้องวิ่งหนี" เบญจมาศ ห้างฝา นักเรียนชั้น ป.4 เล่าเหตุการณ์วันที่คลื่นสึนามิซัดเข้าหมู่บ้าน "วันนั้นแผ่นดินไหวก่อน แมวที่เลี้ยงไว้ 2 ตัว วิ่งทั่วบ้านเลย"
    "วัวก็วิ่งหนีจนเชือกขาด" เด็กหญิงอีกคน พูดเสริม
    แม้คลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ไม่อาจคร่าชีวิตชาวบ้านกว่า 600 ชีวิตบนเกาะแห่งนี้ได้ ทว่าทุกคนก็พร้อมใจกันอพยพย้ายออกมาอาศัยอยู่ที่ ร.ร.บ้านคลองประสงค์ ศาลาประชาคม และศาลากลางจังหวัด โดยวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ พวกเขาก็เตรียมซ้อมแผนอพยพหนีภัยกันอย่างกระตือรือร้น โดยใช้ ร.ร.บ้านคลองประสงค์ ที่ล้อมรอบด้วยป่าโกงกางหนาทึบเป็นเสมือนปราการกันคลื่นยักษ์ตามธรรมชาติเป็นที่หลบภัย
    ส่วน ร.ร.บ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งอยู่ห่างจากทะเล 500 เมตร และเคยได้รับผลกระทบหนักที่สุด มีนักเรียนเสียชีวิต 27 คน สูญหาย 12 คน และอีก 386 คนได้รับผลกระทบ โรงเรียนเสียหาย 80% ก็ร่วมวางแผนซักซ้อมหนีภัยด้วย
    "เส้นทางหนีภัยแบ่งเป็น 5 โซน ชาวบ้านจะอพยพมาอยู่ที่โรงเรียนและวัด" ด.ญ.มณีรัตน์ อินทร์ชุม นักเรียนชั้น ป.5 และทีมงานนำเสนอแผนอพยพ
    แผนการอพยพของ ร.ร.บ้านน้ำเค็ม มีสิ่งที่น่ากังวลหลายอย่าง ทั้งเรื่องเส้นทางจากชุมชนมายังโรงเรียนและวัด มีระยะทางร่วม 2 กิโลเมตร ขณะที่ชุมชนส่วนใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่ริมชายฝั่งทะเล ซึ่งน่าจะมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการอพยพ ขณะเดียวกันองค์ความรู้เรื่องการเกิดสึนามิและการป้องกันภัยสึนามิในชุมชนหรือโรงเรียนกลับมีน้อยมาก
    "???" หนึ่งในนักเรียนที่นำเสนอแผนการอพยพอ้ำอึ้งกับคำตอบ เมื่อถูกถามว่า เคยเล่าเรื่องการเกิดสึนามิให้พ่อแม่หรือคนในชุมชนฟังหรือไม่
    แล้วการซ้อมใหญ่วันที่ 25 กรกฎาคมนี้ จะเหมือนการซ้อมที่ผ่านๆ มาหรือไม่?
    ต้องรอลุ้นกันอีกที...!??
    เสียงไซเรนจากหอเตือนภัยสึนามิดังขึ้นอีกครั้ง
    'โปรดทราบๆ ขณะนี้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ขอให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อไป'
    เสียงตามสายประกาศซ้ำอีกครั้ง
    หากคำประกาศข้างต้นไม่ใช่การซักซ้อมเหมือนที่ผ่านๆ มา ลองเดาดูสิว่าจะมีคนบาดเจ็บและคนตายกี่คน?


    เตือนภัยทั่วโลกไม่มีที่ไหนแม่นยำ 100
    %

    หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย วัดความรุนแรงได้ 9 ริคเตอร์ ทำให้เกิดพลังงานคลื่นทั่วมหาสมุทรอินเดีย เมื่อกระทบชายฝั่งจึงก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สูงร่วม 10 เมตร กวาดกลืนทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่รู้ตัว หรือไม่มีสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า
    แต่วินาทีนี้...เมืองไทยมีระบบเตือนภัยล่วงหน้า ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO/IOC) จัดให้ประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์สูงสุดจาก 16 ประเทศในเอเชีย เพียงแค่ปรับปรุงด้านความรู้การเตือนภัยแก่หน่วยงานและประชาชน ตลอดจนสร้างความพร้อมเผชิญภัยและอพยพหนีภัยให้มากขึ้นเท่านั้น
    "ความน่าเชื่อถือของหอเตือนภัยสึนามิเป็นสิ่งสำคัญ ในต่างประเทศมีการประกาศเตือนภัย 10 ครั้ง ถูกแค่ 3 ครั้ง ชาวบ้านก็เข้าใจ แต่คนไทยถ้าไม่เกิดก็จะมาต่อว่าผมได้ แต่เกิดขึ้นจริงๆ ก็อาจไม่มีสิทธิมาต่อว่าผมได้ เพราะท่านตายไปแล้ว" ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กอช.) เตือน
    ดร.สมิทธย้ำว่า การเตือนภัยทั่วโลกไม่มีที่ไหนถูกต้องแม่นยำ 100% อย่าดูถูกภัยธรรมชาติ เพราะมนุษย์ไม่มีสิทธิกำหนดได้ อยากให้เชื่อการแจ้งเตือนภัยของศูนย์ฯ ไว้ก่อน
    อย่างไรก็ตาม ดร.สมิทธบอกว่า การซ้อมใหญ่นี้ก็เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบเตือนภัยและการอพยพคน ถ้าไม่มีผลเป็นบวกนักท่องเที่ยวต่างชาติก็จะไม่มั่นใจและไม่มาเที่ยวเมืองไทย อย่างไรก็ตาม การซ้อมครั้งนี้เป็นการซ้อมระดับภูมิภาค จะมี 40 องค์กรจากต่างประเทศในคาบมหาสมุทรอินเดียมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพื่อนำเอาการฝึกซ้อมไปเป็นตัวอย่าง เพราะในอนาคตภัยธรรมชาติสึนามิมีโอกาสเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน
    ด้าน ดร.เชิดศักดิ์ วีระพัฒน์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการโครงการและแผนกลยุทธ์ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ประเมินว่าการซ้อมใหญ่คราวนี้น่าจะผ่านเกณฑ์ เชื่อว่านักเรียนและประชาชนจะทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
    "ที่ผ่านมาเคยแจ้งเตือนภัยไปยังจังหวัดแล้ว แต่เขาไม่เข้าใจและไม่มีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยง ถ้ามันเกิดจริงๆ ผมว่ามันยุ่ง" ดร.เชิดศักดิ์ บอก
    เหนือสิ่งอื่นใด...ถ้า 'ความรู้' เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการมีชีวิตรอดจากภัยพิบัติต่างๆ การลงไปให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง ดร.เชิดศักดิ์จึงเสนอโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ เพื่อสร้างจิตสำนึกป้องกันและลดความเสี่ยงภัย และการมีส่วนร่วมของชุมชนแก่องค์กรต่างประเทศ ได้รับงบประมาณมา 20 ล้านบาท
    "จัดประชุมไปแล้ว 4 ครั้ง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและลงพื้นที่จัดทำแผนอพยพหนีภัย เราต้องเข้าไปให้ความรู้เบื้องต้นกับนักเรียนและชุมชน บางโรงเรียนก็ให้ความสนใจ บางโรงเรียนก็ไม่ค่อยสนใจ หลังจากวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ เราจะได้รู้ว่าต้องปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้าง และอาจมีการซ้อมกันอีกครั้งในวันที่ 26 ธันวาคมนี้" ดร.เชิดศักดิ์สรุป
    "เราต้องให้ความรู้เรื่องการเกิดคลื่นสึนามิกับประชาชนมากๆ เพราะบางครั้งการเกิดคลื่นสึนามิอาจมีเวลาเตรียมตัวไม่มากพอเหมือนที่วางแผนอพยพกันไว้" รศ.อัปสรสุดา ศิริพงศ์ ที่ปรึกษาด้านสมุทรศาสตร์และสึนามิ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมให้ข้อคิด
    รู้จักภัยแผ่นดินไหว
    หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่มีระดับความรุนแรงตั้งแต่ 6 ริคเตอร์ขึ้นไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบดังนี้
    - ภัยจากการสั่นไหวของพื้นดิน ทำให้เกิดการพังทลายของดินและโคลน และดินกลายสภาพเป็นของเหลว
    - ภัยจากการยกตัวของพื้นดินในบริเวณรอยเลื่อน
    - ภัยที่เกิดจากคลื่นใต้น้ำ (Tsunami) ซึ่งคลื่นชนิดนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในทะเลและมหาสมุทร ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง - ภัยจากไฟไหม้หลังการเกิดแผ่นดินไหว
    ทีมข่าวรายงานพิเศษ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ---------------------
    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/07/24/t006_128041.php?news_id=128041
     
  2. eve1

    eve1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +682
    "ความน่าเชื่อถือของหอเตือนภัยสึนามิเป็นสิ่งสำคัญ ในต่างประเทศมีการประกาศเตือนภัย 10 ครั้ง ถูกแค่ 3 ครั้ง ชาวบ้านก็เข้าใจ แต่คนไทยถ้าไม่เกิดก็จะมาต่อว่าผมได้ แต่เกิดขึ้นจริงๆ ก็อาจไม่มีสิทธิมาต่อว่าผมได้ เพราะท่านตายไปแล้ว" ดร.สมิทธ ธรรมสโรช
    ดร.สมิทธย้ำว่า การเตือนภัยทั่วโลกไม่มีที่ไหนถูกต้องแม่นยำ 100%
    อย่าดูถูกภัยธรรมชาติ เพราะมนุษย์ไม่มีสิทธิกำหนดได้อยากให้เชื่อการแจ้งเตือนภัยของศูนย์ฯ ไว้ก่อน


    สู้ สู้

    (verygood)


     
  3. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ได้ข่าวว่าพรุ่งนี้จะมีซ้อมรับมือสึนามิชนิดเต็มรูปแบบของ 6 จังหวัดอันดามันด้วยครับ เวลา 9.30-10.30 น. รายละเอียดที่ทราบมาเป็นแบบนี้ครับ

    บ้านเรามีหอเตือนภัยอยู่ 79 หอเฉพาะฝั่งอันดามัน ระยะเสียงเตือนทำการแต่ละหอเตือนภัยห่างกันราว 1.5 กม. โดยจะมีเสียงหวอ และเสียงพูดเตือนภัยอยู่ 5 ภาษาออกไปสู่สถานที่หลบภัยที่อยู่ห่างออกไปราว 1 กม.
    ปกติคนเราเดิน 1 ชม.จะเดินได้ 4 กม.เป็นอย่างน้อย.. (คือมีเวลาให้ 15 นาทีสู่ที่ปลอดภัย) เพื่อซักซ้อมเจ้าหน้าที่กับประชาชนว่าต้องทำอะไรบ้าง เส้นทางและสถานที่ปลอดภัยอยู่ตรงไหน?

    แต่ทางฝั่งอ่าวไทยยังไม่มีระบบนี้เลย...
    ถ้าเกิดฝั่งนี้ก็ไม่แน่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2007
  4. นาคา

    นาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,377
    ค่าพลัง:
    +12,917
    เช้า วันพรุ่งนี้ 25 กค. เพื่อนๆ หลายท้องที่ ใน 6 จังหวัด ที่ประสบภัย สึนามิ เริ่ม เตรียมความพร้อม เพื่อ ซ้อมแผน การหนี ภัย ที่อาจจะเกิด ในโอกาส ข้างหน้านี้

    ในส่วน นักวิทยุสมัครเล่น ในพื้นที่ หลายๆท่าน ใด้ รวบรวมกลุ่ม ขึ้นมา เพื่อ ซ้อม การประสานงาน เช่นเดียวกัน เพราะ ทุกอย่าง ทุก หน่วยงาน ต้อง ประสาน ให้เป็น หนึ่งเดียว ในขณะ ที่เกิด ภาวะ ฉุกเฉิน..

    คงอีกไม่นาน แล้ว ครับ ที่เหตุการณื ต่างๆ ที่เคย เกิด มาแล้ว ...มันจะหวนกลับมาอีก ..

    แต่ จะหนักหน่วง กว่าที่ผ่านมา...

    แม้น แต่ การเตรียม ความพร้อม หลายๆคน อาจจะนึก ไม่ทัน ...ภาวะ ที่จะต้อง เตรียมการ ต่างๆ อย่าง ที่เราเคย ซ้อมกัน ...เพราะ มัน มาตอนกลางคืน ......ที่มืดมิด ....

    ..ขณะ ที่เราเผลอ....นั่นคือ กรรม ...

    ---------------------------------------
    แต่ทางฝั่งอ่าวไทยยังไม่มีระบบนี้เลย...
    ถ้าเกิดฝั่งนี้ก็ไม่แน่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
    :cool:

    ------------------------------------------------------

    สิ่งนี้ ล่ะ ที่สังคมเรา ...ยังไม่ กระตุ้น เพื่อ เป็น การซ้อม หรือ เตรียมความพร้อม ในโอกาส ข้างหน้า

    ไม่มีใครกำหนด ใด้ ว่า.....

    มันจะมาช่วงไหน...อย่างไร ...

    ------บุญ เท่านั้น ที่นำเราสู่ ความปลอดภัย------

    เบื้องบน เตือนมาแล้ว--- ( โปรดใช้วิจารณญาณ )
     

แชร์หน้านี้

Loading...