<BIG>ต้ น ไ ม้ ที่ ใ ห้ ผ ล แ ล ะ ร่ ม เ ง า น อ ก จ า ก จ ะ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า เ ป็ น ไ ม้ มี ป ร ะ โ ย ช น์ แ ล้ ว ย่ อ ม ไ ด้ รั บ ก า ร ดู แ ล ใ ส่ ปุ๋ ย พ ร ว น ดิ น ยิ่ ง ๆ ขึ้ น ไ ป อี ก ฉั น ใ ด ผู้ ที่ รู้ จั ก ใ ห้ ท า น น อ ก จ า ก จ ะ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า เ ป็ น ค น มี ป ร ะ โ ย ช น์ แ ล้ ว ย่ อ ม ไ ด้ รั บ ก า ร ย ก ย่ อ ง ส ร ร เ ส ริ ญ ช่ ว ย เ ห ลื อ ส นั บ ส นุ น จ า ก ค น ทั้ ง ห ล า ย อี ก ฉั น นั้ น</BIG> ท า น คื อ อ ะ ไ ร ? ทาน แปลว่า การให้ หมายถึง การสละสิ่งของของตน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ การให้ทาน เป็นพื้นฐานความดีของมนุษยชาติ และเป็นสิ่งที่ขาดเสีย มิได้ในการจรรโลงสันติสุข พ่อแม่ ถ้าไม่ให้ทาน คือไม่เลี้ยงเรามา เราเองก็ตายเสียตั้งแต่เกิดแล้ว สามีภรรยา หาทรัพย์มาได้ไม่ปันกันใช้ ก็บ้านแตก ครูอาจารย์ ถ้าไม่ให้ทาน คือไม่ถ่ายทอดวิชาความรู้แก่เรา เราก็โง่ดักดาน คนเรา ถ้าโกรธแล้วไม่ให้อภัยทานกัน โลกนี้ก็เป็นกลียุค ชีวิตของคนเราจึงดำรงอยู่ได้ด้วยทาน เราโตมาได้ก็เพราะทาน เรามีความรู้ในด้านต่างๆ ก็เพราะทาน โลกนี้จะมีสันติสุขได้ก็เพราะทาน การให้ทานจึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติ ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ท า น อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน ธรรมทานหรือวิทยาทาน คือการให้ความรู้เป็นทาน ถ้าเป็นความรู้ทางโลก เช่น ให้ศิลปวิทยาการต่างๆ เรียกว่า วิทยาทาน หากเป็นความรู้ทางธรรม เช่น สอนให้ละชั่ว ประพฤติดี ทำใจให้ผ่องใส เรียกว่า ธรรมทาน อภัยทาน คือการสละอารมณ์โกรธเป็นทาน ให้อภัย ไม่จองเวร สละอารมณ์โกรธพยาบาท ให้ขาดออกจากใจ การให้ธรรมะเป็นทาน ถือว่าเป็นการให้ทานที่ได้บุญสูงสุด มีคุณค่ากว่าการให้ทานทั้งปวง เพราะทำให้ผู้รับมีปัญญารู้เท่าทันโลก เท่าทันกิเลส สามารถนำไปใช้ได้ไม่รู้จักจบสิ้น ทั้งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป ส่วนทานชนิดอื่นๆ ผู้รับได้รับแล้วไม่ช้าก็หมดสิ้นไป "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง" ขุ. ธ. ๒๕/๓๔/๖๓ จุ ด มุ่ ง ห ม า ย ข อ ง ก า ร ใ ห้ ท า น ให้เพื่อทำคุณ เป็นการให้เพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ให้เพื่อให้ผู้รับนิยมชมชอบในตัวผู้ให้ ไม่ได้มุ่งเพื่อเป็นบุญ เช่น คนที่สมัครผู้แทนฯ ถึงเวลาหาเสียงทีก็เอากฐิน ผ้าป่า ไปทอด ๑๐ วัด ๒๐ วัด ไปสร้างสะพาน สร้างถนน เพื่อให้ชาวบ้านเห็นว่าตนเป็นคนใจบุญ จะได้ลงคะแนนเสียงให้ตน หรือบางคนรักพี่สาวเขา ก็เลยเอาขนมไปฝากน้องชาย การให้อย่างนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้รับรักตัวผู้ให้ การทำเช่นนี้ถ้าถามว่าได้บุญไหม ก็เห็นจะต้องตอบว่า ได้เหมือนกันแต่น้อยเหลือเกิน ได้ไม่เต็มที่ การให้ที่จะได้บุญมากนั้น ต้องให้เพื่ออนุเคราะห์ และสูงขึ้นไปอีกคือให้เพื่อบูชาคุณ ให้เพื่ออนุเคราะห์ เป็นการอุดหนุนเอื้อเฟื้อกัน ให้ด้วยความเมตตากรุณา เช่น พ่อแม่ให้อาหารแก่ลูก ครูอาจารย์ให้ความรู้แก่ศิษย์ ผู้มีทรัพย์บริจาคทรัพย์เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ยากจน เป็นต้น ให้เพื่อบูชาคุณ เมื่อมีผู้ปรารถนาดีต่อเรา เมตตากรุณา ช่วยเหลืออุปการะเรา เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ เราก็แสดงความเคารพนบนอบท่านด้วย กาย วาจา ใจ บูชาคุณท่านด้วยทรัพย์สินตามกำลัง ยามท่านเจ็บป่วยก็ช่วย พยาบาลรักษา ไม่ละทิ้งท่านทั้งในยามสุขและยามทุกข์ นอกจากนี้บุคคลที่ควรบูชาคุณ คือพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงคุณธรรม เป็นผู้ชี้ทางสันติสุขแก่โลก ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ เป็นธุระคอยสั่งสอน อบรมแนะนำประชาชนให้พ้นทุกข์ เราก็ควรบูชาท่านด้วยปัจจัยสี่ เพื่อให้ท่านมีกำลังบำเพ็ญสมณธรรม และบำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ตามสมณวิสัยได้เต็มที่ ข้ อ เ ตื อ น ใ จ คนเราเมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติแม้แต่เข็มเล่มเดียวก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ วิธีเดียวเท่านั้น ที่จะนำทรัพย์ติดตัวไปได้ คือการนำทรัพย์นั้นไปทำทาน ทานเป็นประโยชน์แก่ผู้มีชรา (ความแก่) พยาธิ (ความเจ็บ) มรณะ (ความตาย) เผาผลาญอยู่ ถ้ารู้จักขนทรัพย์ออกด้วยทาน ทรัพย์นั้นย่อม เป็นประโยชน์แก่เขาได้ ทรัพย์ที่บำเพ็ญทานแล้ว ชื่อว่าขนออกแล้ว ดูเถอะ เจ้าของเรือนที่ถูกไฟไหม้ ทรัพย์ใดที่ขนออกได้ก็เป็นประโยชน์แก่เขา ส่วน ทรัพย์ใดที่ขนออกไม่ได้ ก็ต้องถูกไฟไหม้อยู่ในเรือนนั่นเอง <BIG> ท า น ที่ ใ ห้ แ ล้ ว ไ ม่ ไ ด้ บุ ญ</BIG> ให้สุรายาเสพย์ติด เช่น บุหรี่ เหล้า ฝิ่น กัญชา ยาบ้า ฯลฯ ให้อาวุธ เช่น เขากำลังทะเลาะกัน ยื่นปืน ยื่นมีดให้ ให้มหรสพ เช่น พาไปดูหนังดูละคร ฟังดนตรี เพราะทำให้กามกำเริบ ให้สัตว์เพศตรงข้าม เช่น หาสุนัขตัวเมียไปให้ตัวผู้ หาสาวๆ ไป ให้เจ้านาย ฯลฯ ให้ภาพลามก รวมถึงหนังสือลามกและสิ่งยั่วยุกามารมณ์ทั้งหลาย วิ ธี ท ำ ท า น ใ ห้ ไ ด้ บุ ญ ม า ก การทำทานให้ได้บุญมาก ต้องพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ วัตถุบริสุทธิ์ ของที่จะให้ทานต้องเป็นของที่ตนได้มาโดยสุจริตชอบธรรม ไม่ได้คดโกง หรือเบียดเบียนใครมา ให้ทานด้วยน้ำพริกผักต้มที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ ได้กุศลมากกว่า ให้อาหารโต๊ะจีนราคาตั้งพัน ด้วยเงินทองที่ได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เจตนาบริสุทธิ์ คือมีเจตนาเพื่อกำจัดความตระหนี่ออกจากใจของตน ทำเพื่อเอาบุญ ไม่ใช่เอาหน้าเอาชื่อเสียง ไม่ใช่เอาความเด่นความดังความรัก จะต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ - ก่อนให้ก็มีใจเลื่อมใสศรัทธาเป็นทุนเดิม เต็มใจที่จะทำบุญนั้น - ขณะให้ก็ตั้งใจให้ ให้ด้วยใจเบิกบาน - หลังจากให้ก็มีใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดายสิ่งที่ให้ไปแล้ว บุคคลบริสุทธิ์ คือเลือกให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบเรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม โดยทั่วไปแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก แต่ถึงกระนั้นก็ทรงสอนให้เลือก ถ้าจะนิมนต์พระภิกษุเฉพาะเจาะจง ก็ให้นิมนต์พระที่เคร่งครัดในสิกขาวินัยน่าเลื่อมใส ถ้าจะนิมนต์พระไม่เฉพาะเจาะจง ให้สมภารจัดให้ ก็ให้เลือกนิมนต์จากหมู่สงฆ์ที่ประพฤติสิกขาวินัยเคร่งครัด สำหรับผู้ให้ทานคือตัวเราเอง ก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ จึงจะได้บุญมาก จะเห็นว่าทุกครั้งที่เราจะถวายสังฆทาน พระท่านจะให้ศีลก่อน เพื่อว่าอย่างน้อยที่สุดในขณะนั้นเรายังมีศีล ๕ ครบ จะได้เกิดบุญกุศลเต็มที่ ผ ล ข อ ง ท า น การให้ทานเป็นเรื่องของความชุ่มเย็น ผู้ที่ให้ทานอยู่เสมอย่อมมีใจผ่องใสเยือกเย็น หมู่ชนที่นิยมการให้ทาน ย่อมไม่มีความเดือดร้อนใจ เนื่องจากต่างคนต่างมีอัธยาศัยไมตรีถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อนึ่ง ผลบุญจากการให้ทาน จะสะสมอยู่ในใจของเรา ทำให้มีอำนาจมีพลังสามารถดึงดูดทรัพย์ได้ ถ้าใครสั่งสมการให้ และการเสียสละมามาก จะมีพลังดูดทรัพย์มาก ถ้าใครมีใจตระหนี่มีความ โลภมาก จะมีพลังดูดทรัพย์น้อย โบราณท่านจึงกล่าวไว้ว่า คนทำทานมามากจะทำให้รวย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงยกย่องทานไว้หลายลักษณะดังนี้ คนควรให้ในสิ่งที่ควรให้ ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๑๐๑๒/๒๑๗ การเลือกให้ทานพระสุคตสรรเสริญ ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๑๑๘๔/๒๔๙ คนพาลเท่านั้นที่ไม่สรรเสริญการให้ทาน ขุ. ธ. ๒๕/๒๓/๓๘ เมื่อมีจิตเลื่อมใสแล้วทักษิณาทานหาชื่อว่าเป็นของน้อยไม่ ขุ. วิ. ๒๖/๔๗/๘๒ บุญของผู้ให้ย่อมเจริญก้าวหน้า ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๘/๒๑๕ ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ สํ. ส. ๑๕/๘๔๕/๓๑๖ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๓๕/๔๓ ผู้มีปัญญาให้ความสุขย่อมได้รับความสุข องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๓๗/๔๕ ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ ผู้ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้ให้ธรรมทานชื่อว่าให้อมฤตธรรม (กินททสูตร) สํ. ส. ๑๕/๑๓๘/๔๔ ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ นระใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นระนั้นจะเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ณ ที่นั้นๆ (มนาปทายีสูตร) องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔/๕๖ <BIG> </BIG><BIG>ก า ร บ ำ เ พ็ ญ ท า น</BIG><BIG></BIG> เป็นที่มาของสมบัติทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์ ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี ฃทำให้เข้าสังคมได้คล่องแคล่ว ทำให้แกล้วกล้าอาจหาญในทุกชุมชน ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดีี แม้ตายแล้วก็ไปเกิดในสวรรค
การไห้ทานผมว่าเป็นก้าวแรกที่ทำได้ง่ายและเป็นไปถึงสุดท้ายที่ทำได้ยากที่สุดคือยอมอภัยทานได้ วางใจลงจากสิ่งต่างๆที่ไม่พึงพอใจได้ การให้ทานจากสิ่งของสุ่การให้ใจ ใจที่เต็มเปี่ยมด้วยเมตตา และกุศลธรรมต่างๆที่จะตามมา การสั่งสมนิสัยเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดีและนำพาเราไปสู่สิ่งที่ดีด้วยเช่นกัน ทานด้วยสิ่งของกระทำได้ง่ายและกระทำได้ตามเหมาะสม เมื่อเริ่มให้แล้วก้จะนำพาสิ่งอื่นๆตามมา อารมที่เป้นสุข ใจที่ไร้ซึ่งความร้อนรน และพัทนาไปสู่ ความปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่ตนมีและเป็น ทานเป็นสิ่งประเสิทจัดอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ 10 น่าสรรเสริญน่ากระทำ ใครเห็นว่าทานเป็นเรื่องเล้กบ้าง กระทำง่ายบ้างเป็นส่วนฐานบ้าง เป็นส่วนเริ่มต้นของนักปติบัติบ้าง เมื่อเป็นเรื่องง่ายเช่นนี้ขอให้ทุกท่านร่วมกันอภัยทานแก่ทุกสิ่ง สิ่งใดกรรมใดกระทำให้เดือดร้อนใจขอให้วางลงด้วยใจที่เป็นสุขแห่งทาน อนุโมทนาครับ
สละสิ่งใดออกไป ท่านก็หมดความยึดถือในสิ่งนั้นลง .... เริ่มจากทาน สละสิ่งอันเป็นภายนอก ..... คลำเข้ามาสู่ภายในอารมณ์หยาบอันเป็นอกุศลก่อน .... ละออกไปเชกเช่นละของภายนอกนั้นเสีย .... สิ่งใดยึดไว้แล้วมันเอร็ดอร่อยเหลือเกินถ้ามองเห็นก็ละออกไปก่อน เหมือนทานอันเป็นภายนอก .... ก็ย่นย่อเข้ามาๆ จากหยาบเข้าสู่ละเอียดๆ .... สละได้มาก ละความเอร็ดอร่อยได้มาก ก็ใก้ลมาก .... กำลังใจตัวสละ ตัวละนี้ เป็นกำลังใจในการตัด ..... เรามาลองนับเลขนับเริ่มจาก 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0 กันดู ดูสิว่านับแบบนี้แล้วมันลดลงได้ไม๊ มันจะหมดลงได้ไม๊ บางทีถ้านับจาก 0 1 2 3 4 5 6 ...100....1,000.....ไปเรื่อยมันก็ยาวออกไปๆไม่รู้สุดที่ใด มันอาจนับกันไม่มีวันจบ .....
พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม คำว่า พรหม แปลว่า ประเสริฐ เป็น อันได้ความว่า คุณธรรม ๔ อย่างนี้ เป็นคุณธรรมที่ทำผู้ประพฤติปฏิบัติให้เป็นผู้ประเสริฐ คือเป็นมนุษย์ ประพฤติธรรม ๔ ประการนี้ ก็เป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐโดยคุณธรรม ถ้าตายจากมนุษย์ก็เป็นเทวดาผู้ ประเสริฐโดยบุญญาธิการ คือ ไปเกิดบนชั้นพรหม นอกจากความประเสริฐโดยธรรมในสมัยที่เป็น มนุษย์แล้ว ท่านว่าคุณธรรม ๔ ประการนี้ ยังให้อานิสงส์เป็นความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง ๑๑ ประการ ตาม ที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังต่อไปนี้ ๑. สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ ๒. ตื่นขึ้นก็มีความสุข มีอารมณ์แช่มชื่นหรรษา ไม่มีความขุ่นมัวในใจ ๓. นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล มิฝันเห็นสิ่งลามก ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งปวง ๕. เทวดาและพรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง ๖.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง ไม่มีอันตรายจากสรรพาวุธและยาพิษ ๗. จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม จะเจริญรุดหน้ายิ่งขึ้น ๘. มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ ๙. เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สติมิฟั่นเฟือน ๑๐. ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ เพราะทรงพรหมวิหาร ๔ นี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร ๔ นี้ ก็จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก ๑๑. มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นปกติ รวมอานิสงส์การทรงพรหมวิหาร ๔ มี ๑๑ ประการด้วยกัน ต่อนี้ไปจะได้นำหัวข้อพรหม- วิหาร ๔ มากล่าวไว้เพื่อศึกษา หัวข้อพรหมวิหาร ๔ ๑. เมตตา ความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกิเลสที่นับเนื่อง ในกามารมณ์ร่วมในความรู้สึก ๒. กรุณา ความสงสารปรานี มีความประสงค์จะสงเคราะห์ให้พ้นทุกข์ ๓. มุทิตา ความมีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คือไม่มีจิตริษยาเจือปน ๔. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา คือทรงความเป็นธรรม คำอธิบายในพรหมวิหาร ๔ นี้ ไม่น่าจะต้องอธิบายมาก เพราะเป็นธรรมประจำใจชินหูอยู่ เป็นปกติแล้วจะขอย้ำเพื่อความแน่ใจไว้สักเล็กน้อย ตามธรรมเนียมของนักเขียนจะไม่เขียนเลยก็จะ เสียธรรมเนียม ๑. เมตตา แปลว่า ความรัก หมายถึงความรักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี แต่ต้องไม่หวังผลตอบ แทนใด ๆ จะเป็นผลตอบแทนทางกำลังใจ หรือวัตถุก็ตาม จึงจะตรงกับคำว่า เมตตาในที่นี้ ถ้าทำไป แล้วหวังตอบแทนบุญคุณด้วย ด้วยการแสดงออกของผู้รับเมตตาหรือหวังตอบแทนด้วยวัตถุ ความต้อง การอย่างนั้นถ้าปรากฏในความรู้สึกเป็นเมตตาที่เจือด้วยอารมณ์กิเลส ไม่ตรงต่อเมตตาในพรหมวิหารนี้ ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ไว้ตลอดวันว่า เราจะหวังสร้างความเมตตา สงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่มีในโลกนี้ทั้งมวล เราจะไม่สร้างความสะเทือนใจ ความลำบาก กายให้เกิดมีขึ้นแก่คนและสัตว์ เพราะความสุขความทุกข์ของคนและสัตว์ทั้งมวล เราถือว่าเป็นภาระ ของเราที่จะต้องสงเคราะห์หรือสนับสนุน ความทุกข์มีขึ้น เราจะมีทุกข์เสมอด้วยเขา ถ้าเขามีสุข เราจะสบายใจด้วยกับเขา มีความรู้สึกรักคนและสัตว์ทั่วโลก เสมอด้วยรักตนเอง ๒. กรุณา แปลตามศัพท์ว่า ความสงสาร หมายถึงความปรานี ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ ความสงสารปรานีนี้ ก็มีอาการที่ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกับเมตตา มุ่งหน้าสงเคราะห์คนและ สัตว์ที่มีความทุกข์อยู่ ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์เท่าที่จะทำได้ ลักษณะกรุณา ก็คือการสงเคราะห์ในการให้ปันด้วยวัตถุ ตามกำลังที่พอจะช่วยได้ ถ้าวัตถุ ของเรามีไม่พอ ก็พยายามแสวงหามาสงเคราะห์โดยธรรม คือหามาโดยชอบธรรม ทั้งนี้หมายความ ว่า ถ้าผู้ที่จะสงเคราะห์ขัดข้องทางวัตถุ ถ้าตนเองแสวงหามาได้ไม่พอเหมาะพอดี ก็แนะนำให้ผู้หวัง สงเคราะห์ไปหาใครคนใดคนหนึ่งที่คิดว่าเขาจะสงเคราะห์ เป็นการชี้ช่องบอกทาง ถ้าเขาขัดข้องด้วย วิชา ก็สงเคราะห์บอกกล่าวให้รู้ตามความรู้ ถ้าตนเองรู้ไม่ถึงก็แนะนำให้ไปหาผู้ที่เราคิดว่ามีความรู้ พอบอกได้ ๓. มุทิตา แปลตามศัพท์ว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึงจิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์แจ่มใสแช่มชื่นตลอดกาลเวลา เห็นใครได้ดีก็ผ่องใส ชื่นอกชื่นใจ มีอาการคล้ายกับตนพลอย ได้ด้วย ทั้งนี้อารมณ์ของท่านที่มีมุทิตาประจำใจนั้น คิดอยู่เสมอว่า ถ้าคนทั้งโลกมีโชคดีด้วยทรัพย์ และมีความเฉลียวฉลาดเหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุขและเยือกเย็น ปราศจาก ภยันตรายทั้งมวล คิดยินดี ให้ชาวโลกทั้งมวลเป็นผู้มีโชคดีตลอดวันและคืน อารมณ์พลอยยินดีนี้ ต้องไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน ถ้าหวังการตอบแทนแม้แต่เพียงคำว่าขอบใจ อย่างนี้เป็นมุทิตาที่อิง กิเลส ไม่ตรงต่อมุทิตาในพรหมวิหารนี้ ความแสดงออกถึงความยินดีในพรหมวิหาร ไม่หวังผลตอบแทน ด้วยกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ๔. อุเบกขา แปลว่าความวางเฉย ไม่ใช่เฉยตลอดกาล ใครจะเป็นอย่างไรก็เฉย ความวาง เฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึงเฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ที่จะต้องได้ รับทุกข์หรือรับสุข พร้อมกันนั้นก็มีอารมณ์ประกอบด้วยความเมตตาปรานี พร้อมที่จะสงเคราะห์ใน เมื่อมีโอกาส พรหมวิหาร ๔ นี้ ขออธิบายเพียงย่อ ๆ ไว้เพียงเท่านี้ เพราะเป็นธรรมที่ชินหูชินใจของ ทุก ๆ คนอยู่แล้ว พูดมากไปก็ชวนรำคาญมากกว่าชวนฟัง
ครับ เดินทางเดียวกัน จุดมุ่งหมายเดียวกัน ควรช่วยเหลือกัน ให้สมกับการเป็นกัลยาณมิตรที่ดี ผิดถูำกชี้แนะกันด้วยเหตุด้วยผลอันประกอบด้วยเมตตาจิต คนที่ถูกชี้จะได้ไม่อารมณ์เสีย และพร้อมพิจาณาตามมากขึ้นครับ
<CENTER></CENTER> ให้อภัยแล้วต้องปรุงตัวด้วย ไม่ใช่ยังคงลบหลู่ปรามาสพระพุทธเจ้สพระศาสดาของตนเองเหมือนเดิม <CENTER>คำขอขมาพระรัตนตรัย</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><MARQUEE style="WIDTH: 450px; HEIGHT: 100px" direction=up scrollAmount=1><CENTER>คำขอขมาพระรัตนตรัย นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เมภันเต อุกาสะ ทะวารัตเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เมภันเต อุกาสะ ขะมามิภันเต กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆพระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยกายหรือวาจาก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษแก่ข้าพเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ.... </CENTER></MARQUEE></CENTER><CENTER>[URL="http://blog.palungjit.org/entry.php?w=999999999&e_id=9999"][B]สารบัญ[/B][/URL] [SIZE=4][COLOR=black]การปฎิบัติธรรมของแก้วนารายณ์ฉบับสมบูรณ์[/COLOR][/SIZE] <CENTER></CENTER><CENTER> </CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE border=0 width=580><TBODY><TR><TD> <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left height="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=600>เชิญร่วมกันพัฒนาประเทศไทยให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ทุกเชื้อชาติทุกศาสนาและทุลัทธิการเมืองตามพระเมตตาธรรมอันเป็นเครื่องค้ำจุนโลกของพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวในหลวง ร.๙ ทรงสร้างบารมีพระเมตตาธรรมอันเป็นเครื่องค้ำจุนโลกมานับชาติไม่ถ้วน ทรงบรรลุขันธปริตรทรงแผ่พระเมตตาธรรมไปยังคนไทยทุกเชื้อชาติทุกศาสนาและทุกลัทธิการเมือง ทรงเป็นจุดศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ ทรงขจัดความแตกต่างของแต่ละเชื้อชาติศาสนาออกไปจากจิตใจคนไทยทุกหมู่เหล่าโดยสิ้นเชิง ทรงทำให้คนไทยทุกหมู่เหล่าอยู่ร่วมชาติเดียวกันได้อย่างมหัศจรรย์วิจิตพิศดารพันลึก ยากที่จะมีใครเสมอเหมือนได้อีกแล้ว เราโชคดีเหลือเกินที่ได้เกิดมาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารเจ้า ไม่งั้น! คนไทยก็คงจะแย่งชิงอำนาจรบราฆ่าฟันกันตายไปฝ่ายละครึ่งประเทศของแต่ละเชื้อชาติศาสนาและลัทธิการเมืองกันไปนานแล้ว พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิศราชธรรม พระองค์ทรงเป็นพุทธมามะกะ นำพระเมตตาธรรมอันเป็นเครื่องค้ำจุนโลกมาแผ่เมตตาธรรมนี้ให้กับคนไทยทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา และทุกลัทธิการเมือง ทั้งประชาธิปไตยลูกกรำพร้าต่างชาติวัดจากอเมริกา และ เผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (หมายรวมถึงเผด็จการสังคมนิยมแบบพม่า และอื่นๆด้วย ขอเรียกรวมว่าเผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์) พร้อมลัทธิอื่นอีกทุกรูปแบบก็จะได้รับความเมตตาเท่าเทียมกันทั่วทุกตัวตนอย่างไม่มีประมาณ มีอิสระเสรีที่สุด ทุกคนทุกศาสนาทุกรูปแบบไม่มีจำกัด ทั้งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และที่มองเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้ อยู่ใกล้อยู่ไกล ละเอียดหยาบปราณีต สิ่งศักดิ์สิทธิทั้งปวงพระสยามเทวาธิราชยังได้รับความเป็นธรรม ไม่ถูกเหยียบย่ำดูถูกดูแคลนจากมิจฉาทิฎฐิ แม้พระภูมิเจ้าที่ อีกด้วย ทุกผู้คนทุกรูปแบบไม่ว่าจะดีจะชั่วช้าสามานย์ ถ้าอยู่ในขอบเขตกติกากฎหมายรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุข (ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่มาจากการปฎิวัติรัฐประหาร หรือที่เรียกว่า เผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนะครับ) จะมีชีวิตอยู่รวมด้วยกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ จนทุกชาติต่างอิจฉา และโด่งดังไปทั่วทั้งโลกทั้งจักรวาล ทั้งนี้ และทั้งนั้น ก็เพราะพระเมตตาบารมีของเจ้าหลวงเจ้าแผ่นดินในหลวงผู้ทรงทศพิศราชธรรม ที่รักนับถือบูชาอย่างยิ่งยวดของเราชาวไทยทุกเชื้อชาติทุกศาสนา และทุกลัทธิการเมืองนั่นเองฯ ข้าพเจ้าจึงขอกล่าวอย่างเต็มปากเต็มคำว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุข ที่พระพุทธศาสนาจะประดิษฐานนี้แลฯ สุดยอดที่สุดในโลกไม่มีประเทศใดเสมอเหมือน เพราะเจริญทางจิตใจหาประมาณมิได้เลย อมิตตาพุทธ! ดังนี้แล้วได้โปรดรู้โดยทั่วกันว่า พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงทศพิศราชธรรม นำเมตตาธรรมอันเป็นเครื่องค้ำจุนโลก แผ่ให้กับคนไทยทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา และทุกลัทธิการเมือง อย่างเท่าเทียมกันนี้ ไม่ได้เป็นศัตรูกับใครเลยเป็นความสัตย์จริงที่สุด แต่ท่านที่คิดนำลัทธิอื่นๆมาล้มล้างความเป็นไทยต่างหาก ที่ตั้งตนเป็นศัตรูกับความเป็นไทย และพระองค์ท่าน ขอได้โปรดรับรู้ไว้โดยทั่วกัน และให้ความเป็นธรรม ให้อภัยซึ่งกันและกันเทอญฯ ข้าพเจ้าจึงขอกล่าวว่า ไม่ว่าท่านจะเป็นคนไทยเชื้อชาติไหน ศาสนาใด และนิยมลัทธิการเมืองใด ล้วนไม่มีความผิดทั้งสิ้น เพราะอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น ไม่ใช่คดีอาญา ต่างคนต่างหลงคิดว่าดี ตามความคิดของตน โดยไม่รู้เลยว่าไม่ควรไปเปรียบเทียบกับต่างชาติใดๆเลย เราต้องย้อนมาสำรวจ และพัฒนาตัวเองตามสถานะการณ์วัฒนธรรมของตนต่างหาก โดยขึ้นไปยืนอยู่บนหลังคาประเทศไทย แล้วมองลงมาว่าปัจจุบันนี้ เมืองไทยมีอะไรบ้าง ลดความเห็นแก่ตัวที่ทำเพื่อพรรคพวกของตนลง หันไปให้ความเป็นธรรมกับพวกอื่นๆบ้างอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความบริสุทธ์ใจว่า ที่แท้เราอยู่ร่วมชาติไทยด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จะมาแก่งแย่งอำนาจรบราฆ่าฟันกันเองทำไม เรามาร่วมใจสมานฉ้นท์ รบกับต่างชาติ ด้วยอาวุธแห่งความเป็นมิตรไมตรีกับเขาต่างชาติทุกๆชาติทุกลัทธิการเมืองไม่ดีกว่าหรือ แต่ทว่าต้องสำนึกถึงหนทางแห่งความเป็นไทย ซึ่งต้องฟันธงว่าต้องใช้เครื่องมือมัชฌิมา ความพอเพียง คือ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุข ที่ประดิษฐานพระพุทธศานาเท่านั้น จึงจะได้รับความเป็นธรรมเท่าเทียมกันหมด ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา และทุกลัทธิการเมืองเพราะไม่มีเครื่องมือใดเลยที่จะอยู่ร่วมกันได้เหมือนอย่างประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุขนี้อีกแล้วฯ </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE> </TD></TR></TBODY></TABLE> </TD></TR></TBODY></TABLE> </CENTER></CENTER>
อนุโมทนาสาธุครับ การกวนน้ำขุ่นอยู่เสมอนั้นใช่ว่าจะดีเสมอไปในบางครั้งทำเพื่อต้องการจะทำความสะอาด หรือเพื่อกำจัดตะกอนที่นอนเนื่องตกค้าง หาใช้ทำไปเพราะอยากจะทำน้ำให้สกปรก เพราะเมื่อชำระและกรองเอาตะกอนอันนอนเนื่องนั้นออกหมดแล้วจักได้มีน้ำไว้ดื่มไว้ใช้ ที่สะอาดและเย็นใจ ของใครอีกหลายๆคน ดังนั้นว่าด้วยเรื่องการกวนน้ำก็ต้องรู้ว่าควรเมื่อใดและไม่ควรเมื่อใด ให้รู้ว่าเวลาไหนควรอภัยเวลาไหนควรหยุด ไม่ใช่นึกลำพองกวนอยู่นั่นไม่หยุดสักที เมื่อไหร่กันคนอื่นที่กระหายจะได้กินกันเล่า การพิจารณาด้วยสติดังนี้แล้วยิ่งทำให้ตนนั้นมีจิต ละเอียด ประณีต ยิ่งขึ้นเพื่อสั่งสมบารมีสืบต่อไป และเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน อนุโมทนาด้วยครับ
เก้าอี้ก็มีตัวเดียว ...... เมื่อมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ประจำจนจิตฉลาดด้วยปัญญา มีฉันทะในธรรมเหล่านี้ มันก็เกิดก็มี เป็นปรกติ เป็นเครื่องอยู่ เสื้อดำทั้งหลายก็นั่งเก้าอี้ตัวนี้ได้ไม่นาน เพราะเก้าอี้ตัวนี้ข้าเสื้อขาวจอง ข้าให้เอ็งนั่งได้แป๊บเดียวเท่านั้นหละ 555 ..... หาอารมณ์เหล่านี้ให้เจอให้มี แล้วเอามันมาจองเก้าอี้ตัวนี้ไว้เกาะไว้ให้แน่นๆ แขกที่ไม่ได้รับเชิญวันนึงมันก็ต้องไม่มาสักวันหละน่ะ มาก็ไม่ได้นั่ง มาก็ไม่ได้นั่ง กิ้วๆ ...... อันนี้เรื่องของเก้าอี้ดนตรี ไม่ใช่ธรรมะ ....
ทาน ศิล สมาทิ เมื่อเรามีสติแล้วรู้กายรู้ใจแล้วเราก้ต้องกระทำ 3 สิ่งนี้ ดำเนินอยู่ในมรรค นอกจากจะปิดอบายแล้วเพราะไม่ทำเหตุแห่งทุขที่จะตามมาด้วยมีศิลใจละอายที่จะกระทำชั่ว มีทานเป็นฐานที่ปูออกไปเป็นฐานที่ตั้งมั่นอยู่ในการไห้ เป็นสิ่งที่ดีทำอย่างไรย่อมได้อย่างนั้น ฐานแห่งชีวิตจึงรอรับกลับแต่สิ่งที่ดี มีจิตตั้งมั่น เมื่อมีทางที่ดีและมีวินัยไม่กระทำสิ่งที่เปนสิ่งเดือดร้อนตัวร้อนใจในภายหลัง ความตั้งมั่นนั้นย่อมเจริญย่อมสมบูรณ์ ทำให้ความดีในตัวคุนธรรมในตนไม่ใช่เพียงแค่เห็นอีกต่อไปแต่ได้เริ่มปติบัติจากฐานที่มั่นคง และรอวันที่เต็มบริบูน เพื่อกำลังของความตั้งมั่นถึงวาระเกิดปัญญา ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมใด้ชั่ว ทำอย่างไรย่อมได้อย่างนั้น เป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย
บารมี 10 ในชีวิตประจำวัน โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ บารมี 10 เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะดับกิเลส เป็นสมุจเฉท เพราะการเจริญกุศลนั้นต้องเจริญทุกประการ เพื่อที่จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาเกิด ขึ้น ดับกิเลสได้หมดสิ้น เป็นสมุจเฉทเป็นลำดับขั้น จึงต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า กุศลใดเป็นบารมี และกุศลใดไม่ใช่บารมี บารมีเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดับกิเลสเป็นสมุจเฉท จึงควรได้ศึกษาและเห็นความสำคัญของบารมีทั้ง 10 เพื่อที่จะได้อบรมได้ยิ่งขึ้น บารมี 10 คือ ทานบารมี 1 ศีลบารมี 1 เนกขัมมบารมี 1 ปัญญาบารมี 1 วิริยบารมี 1 ขันติบารมี 1 สัจจบารมี 1 อธิษฐานบารมี 1 เมตตาบารมี 1 อุเบกขาบารมี 1 การกล่าวถึงบารมีทั้ง 10 ก็เพื่อให้พิจารณาสำรวจตัวเองว่า ยังยิ่งหย่อนบารมีใด จะได้อบรมบารมีนั้นให้ยิ่งขึ้น จนสามารถเป็นปัจจัยให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ เพราะเหตุว่า ถ้ามุ่งจะให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่คำนึงถึงการอบรมเจริญบารมี ก็จะเห็นได้ว่า วันหนึ่งๆนั้นพ่ายแพ้ต่ออกุศลกรรม เพราะอกุศลกรรมมีปัจจัยเกิดขึ้นมากกว่ากุศลกรรม บารมีทั้ง 10 นั้น ไม่ทราบว่าแต่ละท่านจะอบรมสะสมไปอีกนานเท่าไหร่ แต่ในชาติที่สามารถจะสะสมอบรมได้ ก็ควรจะสะสมอบรมแต่ละบารมีไปตามกำลังความสามารถ บารมีทั้ง 10 มีโลภะเป็นปฏิปักษ์ เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมเลยว่า การอบรมเจริญบารมีนั้น ไม่ใช่ด้วยความต้องการผลของกุศล แต่ต้องเป็นเพราะเห็นโทษของอกุศลแต่ละประเภท ไม่ใช่ต้องการเจริญบารมีเพื่อผลคือ สังสารวัฏฏ์ แต่บำเพ็ญบารมีเพื่อขัดเกลากิเลสจนกว่าจะดับกิเลส จึงจะดับสังสารวัฏฏ์ได้ เพราะการดับสังสารวัฏฏ์จะเป็นไปด้วยการดับกิเลสทั้งหมด ตราบใดยังมีกิเลสอยู่ ก็ไม่สิ้นสังสารวัฏฏ์ ฉะนั้น การอบรมเจริญบารมีจึงไม่ใช่ด้วยความหวังผลของกุศลในสังสารวัฏฏ์ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เห็นโทษของความตระหนี่จึงให้ทาน ผู้ที่เห็นโทษของความเป็นผู้ทุศีลจึงรักษาศีล เห็นว่าการไม่สำรวมกายวาจาและการประพฤติทุจริตทางกายวาจา ย่อมนำโทษมาให้ แม้แต่เพียงคำพูดซึ่งไม่สำรวมระวัง ก็อาจจะไม่รู้เลยว่า นำโทษมาให้แล้วกับผู้พูดและกับบุคคลอื่นด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ที่เห็นโทษของความเป็นผู้ทุศีลจึงรักษาศีล และสำรวมกายวาจายิ่งขึ้น ผู้ที่เห็นโทษในกามและการครองเรือน ก็มีอัธยาศัยในเนกขัมมะ ผู้ที่เห็นโทษในความไม่รู้และความสงสัย จึงมีอัธยาศัยในการศึกษาให้รู้ให้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการอบรมเจริญปัญญา ผู้ที่เห็นโทษในความเกียจคร้านจึงมีความเพียร ผู้เห็นโทษในความไม่อดทนจึงมีความอดทน ผู้ที่เห็นโทษในการพูดและการกระทำที่ไม่จริงจึงมีอัธยาศัยในสัจจะ ผู้ที่เห็นโทษในการไม่ตั้งใจมั่นจึงมีอัธยาศัยในการตั้งใจมั่น ผู้ที่เห็นโทษในพยาบาทจึงมีอัธยาศัยในเมตตา ผู้ที่เห็นโทษในโลกธรรมจึงมีอัธยาศัยในการวางเฉย ทั้งหมดนี้เป็นบารมี 10 ซึ่งจะต้องค่อยๆ สะสมอบรมไป