รรมจะเกิดขึ้นกับจิตใจได้จริง ถ้าเราตั้งใจ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 16 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    [​IMG]
    หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล


    ธรรมโอวาท โดยสรุป ของ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล ความธรรมจะเกิดขึ้นกับจิตใจได้จริง ถ้าเราตั้งใจ แต่จิตใจของบุคคลปกตินั้น มีกำลังอ่อน จึงไม่สามารถจะกำจัดความชั่วอันเป็นมารที่มีอารมณ์เป็นอาวุธ ซึ่งเข้ามา รบกวนจิตใจได้

    ผู้ปรารถนาจะต่อสู้กับกิเลส มารภายใน จำต้องทำศรัทธาความเชื่อให้เกิดขึ้น ด้วยการพิจารณาจับเหตุจับผลสอดส่องแสวงหาความจริง แล้วกำจัดความไม่เชื่อให้เสื่อมสูญไป คือ

    1. ความเชื่อเมื่อเกิดขึ้น เป็นกำลังกล้า ก็ได้ชื่อว่า เป็น ศรัทธาพละ
    2. ทำความเพียรให้เกิดขึ้น กำจัดความเกียจคร้านเสียได้ เมื่อความเกียจคร้านไม่มีเข้ามาครอบงำใจ ก็เป็นวิริยะ ความบากบั่น หรือ ความเพียรนี้ เมื่อมีกำลังกล้าก็เป็นวิริยะพละ
    3. ทำสติความระลึกได้ให้เกิดมีขึ้น กำจัดความหลงลืมสติให้เสื่อมไป เมื่อมีกำลังแก่กล้า ก็เป็น สติพละ
    4. ทำใจให้มั่นคงไม่คลอนแคลน กำจัดความฟุ้งซ่านเสียได้ เมื่อมีกำลังกล้า ก็เป็นสมาธิพละ
    5. ทำความพิจารณาตามความเป็นจริงในอารมณ์ที่ได้ประสบพบเห็น เป็นเครื่องกำจัด ความรู้ผิดเห็นผิดให้เสื่อมหายไป เมื่อมีกำลังกล้า ก็เป็น ปัญญาพละ

    ฉะนั้น ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จึงเป็นธรรมดาที่มีอุปการะเป็นเครื่อง อุดหนุนใจ เพื่อเป็นกำลังเข้าต่อสู้กับข้าศึกภายในใจของตนเสียได้ ก็ถึงความเป็นใหญ่เป็นไทแก่จิตใจของบุคคลนั้น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ กิเลสมารย่อมสงบไม่เกิดขึ้นครอบงำ จิตใจอีก ผู้ปฏิบัติเท่านั้น จะได้ชื่อว่า เป็นผู้รู้

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทรงเป็นผู้รู้ เพราะทรงทำความเป็นผู้รู้ให้เกิดมีขึ้นด้วยอาศัยพละ ตลอดจนถึงอินทรีย์เป็นลำดับ ด้วยประการฉะนี้

    องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงสั่งสอนโปรดเวไนยสัตว์ว่า

    อคติ แปลว่า ความลำเอียง พระพุทธองค์ทรงจัดเป็นสิ่งที่เป็นบาปทางใจ คือ

    1. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความพอใจ
    2. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความโกรธเคือง
    3. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความหลง
    4. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความกลัว

    เพราะ บาปทางใจนี้ คือ อคติทั้ง 4 ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ธรรมบทนี้ เมื่อไม่ลุอำนาจด้วยอคติ ทั้ง 4 แล้ว ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ใน ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องสำรวมระวัง พยายามปรารภความเพียร ชำระสิ่งที่เป็นบาปเหล่าน ี้มิให้ครอบงำจิตใจของท่าน

    นอก จากนี้แล้ว พระพุทธเจ้ายังทรงชี้ เหตุแห่งความฉิบหายของโภคสมบัติอีก 6 ประการ คือ

    1. ไม่ให้ดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์สมบัติ
    2. ไม่ให้เที่ยวกลางคืน
    3. ไม่ให้เที่ยวดูการเล่น
    4. ไม่ให้ประกอบการเล่นการพนัน
    5. ไม่ให้คบคนชั่วเป็นมิตร
    6. ไม่ให้ประกอบไว้ซึ่งความเกียจคร้านเนือง ๆ

    คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า มีว่า ผู้มีศีล มีธรรม แม้จะใช้ชีวิตเป็นฆราวาสก็อยู่ด้วยความสันติสุข ไม่มีกิเลสเครื่องหยาบ ๆ ทะเลาะเบาะแว้งกัน ย่อมตั้งอยู่ใน สังคหวัตถุ 4 ประการ คือ

    1. ทาน การให้
    2. ปิยวาจา วาจาอันไพเราะ
    3. อัตถจริยา ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่โลก
    4. สมนัตตตา ความมีตนเสมอในบุคคลนั้น ในธรรมนั้น ๆ ไม่เป็นผู้ถือตัว

    ดัง ที่ท่านได้แสดงไว้ใน ทิศ 6 นั้นเอง คือ

    1. อาจารย์กับศิษย์ ก็เคารพบำรุงซึ่งกันและกัน
    2. มารดาบิดากับบุตร ก็เคารพบำรุงซึ่งกันและกัน
    3. สามีภรรยา ก็สงเคราะห์บำรุงซึ่งกันและกัน
    4. เพื่อนกับมิตร ก็สงเคราะห์บำรุงซึ่งกันและกัน
    5. นายกับบ่าว ก็บำรุงสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน
    6. สมณพราหมณ์กับกุลบุตร คือ อุบาสก อุบาสิกา ก็บำรุงสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน

    ท่านอริยะ ย่อมอยู่เป็นสุขก็เพราะมีธรรมเป็นที่พึ่งและที่อาศัย ดังต่อไปนี้

    1. สักกายทิฐิ ไม่เห็นกายเป็นตน ไม่เห็นตนเป็นกาย ไม่เห็นกายมีในตน ไม่เห็นตนมีในกาย เหล่านี้เป็นต้น เช่น ใน เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็เหมือนกัน
    2. วิจิกิจฉา ท่านข้ามทิฐิทั้ง 2 ได้แล้ว เชื่อต่อกรรม และ ผลของกรรม
    3. สีลัพพตปรามาส ท่านเป็นผู้ไม่ถอยหลัง มีแต่เจริญก้าวหน้าไปจนถึงที่สุด

    ท่าน พิจารณาเห็นแล้วในสัจธรรมตามเป็นจริงว่านี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่คือธรรม เป็นที่ดับทุกข์ นี่คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม อันเป็นที่ดับทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ดังนี้


    http://www.sangha.kroophra.net

     
  2. อ_เอกวัฒน์

    อ_เอกวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    279
    ค่าพลัง:
    +270
    อนุโมทนา ในธรรม ธรรมใดที่พระอริยเจ้าได้เข้าถึงของธรรมนั้นจงถึงแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...