ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 62

    เขมรขอให้ปักหลักเขตแดน

    [​IMG]

    <O:p</O:pครั้นข่าวทัพไทยมีชัยแก่พม่ารู้ไปถึงเขมร นักพระสัตถาเพิ่งได้เป็นพระยาละแวกคนใหม่ กลัวไทยจะยกไปตี เพราะพระบรมราชาพี่ชายได้มาซ้ำเติมไทยอยู่หลายครั้ง จึงแต่งทูตมาขอยืนยันความเป็นไมตรี ขอให้มีพิธีหลั่งน้ำสิโนทก ตั้งหลักสีมาจารึกตามประเพณีไทยก็ยอมทำให้ ส่งพระยาจักรีเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไปประกอบพิธีปักเขตแดน
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 63-64


    ศึกพระเจ้าเชียงใหม่
    <O:p</O:p
    พระเจ้าหงสาวดีนันทะบุเรง วินิจฉัยการที่ให้อาว์และน้องไปตีกรุงศรีอยุธยา ไม่ชนะกลับมานั้นว่าเพราะทั้งสองทัพไม่ไปตีพร้อมกัน ไทยจึงมีกำลังสู้ได้ ที่นี้เอาใหม่ ให้พระเจ้าเชียงใหม่ยกไปตีกรุงไทยเป็นการแก้ตัว ให้พระยาคามณีกับซักแซกกะยอถาง และสมิงโยคราช สามคนไปกำกับพระเจ้าเชียงใหม่เพราะไม่เชื่อฝีมือน้องชายเสียแล้ว
    <O:p</O:p
    พระเจ้าเชียงใหม่ ให้พระยาเชียงแสนถือพลหนึ่งหมื่นห้าพันเป็นทัพหน้า พระเจ้าเชียงใหม่ถือพลแสนหนึ่งเป็นทัพหลวง ยกทั้งทัพบกทัพเรือลงมาถึงนครสวรรค์ แล้วให้กองอาสาเที่ยวไล่จับราษฏรตามหัวเมืองต่างๆ จนถึงกรุง มิให้ทำนาได้ หมายใจจะตัดสะเบียงฝ่ายไทย ข้างไทยก็ให้ทหารอาสาที่ยกออกไปส้องสุมผู้คนอยู่ในป่านั้นตั้งเป็นกองโจรคอยก้าวสกัดโจมตีข้าศึก อย่าให้ออกมาหากินได้
    <O:p</O:p
    ฝ่ายพระยาละแวกได้ทราบว่ามีศึกพม่ามาติดกรุงไทย ก็ให้พระศรีสุธรรมาธิราชพระอนุชาคุมพลหมื่นหนึ่งมาช่วย พระมหาธรรมราชาให้ขุนนางออกไปรับ และนำทัพเขมรมาตั้งอยู่ที่วัดพนัญเชิงนอกกำแพงกรุง โดยยังไม่ต้องให้มาช่วยรบพุ่งด้วย



    [​IMG]
    <O:p</O:p

    ครั้นเดือนอ้ายดินแห้งแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่ก็ขยับขยายลงมาตั้งที่สระเกศ แขวงวิเศษชัยชาญ ให้เจ้าเมืองพะเยาคุมม้าพันหนึ่งเที่ยวลาดตระเวนจับคนไทย ลงมาถึงสะพานขายข้าว จับแล้วก็เผาบ้านเรือนเสียด้วย พระนเรศวรกับพระอนุชาจึงยกกองเรือขึ้นไปที่สะพานขายข้าว ได้รบพุ่งกันเป็นตลุมบอน ยิงแทงถูกเจ้าเมืองพะเยากับทหารตกม้าตายยี่สิบคนบาดเจ็บอีกมากจับม้าได้ยี่สิบตัวก็ยกกลับมา

    <O:p</O:p
    ต่อมาเดือน 5 พระเจ้าหงสาวดีเกิดมีความคิดใหม่ ให้พระมหาอุปราชาถือพลห้าหมื่น มาตั้งทำนาที่กำแพงเพชร เตรียมเสบียงอาหารไว้สำหรับพระเจ้าหงสาวดีจะยกมาเองใน พ.ศ. 2129 ให้สมิงพัดเบิด ถือหนังสือมาสั่งพระเจ้าเชียงใหม่ ว่ากรุงศรีอยุธยานั้นมีแม่น้ำเป็นคูเมือง แต่บิดาเรามีบุญบารมีปราบได้ถึงสิบทิศ ยังต้องทำงานเป็นปี และครั้งนี้พระมหาธรรมราชามีราชบุตรสองพระองค์ทำสงครามองอาจกล้าหาญนัก ถึงมาทว่าทหารเราจะมากกว่าสักร้อยเท่า อันจะดูหมิ่นหักเอาโดยเร็วเหมือนเมืองทั้งปวงนั้นมิได้ จำจะคิดเป็นการปีจึงสำเร็จ


    บัดนี้ให้มหาอุปราชามาตั้งทำนาอยู่กำแพงเพชร ให้พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งมั่นไว้ อย่าให้ชาวไทยหักเอาได้ ให้ทำไร่ทำนาตั้งยุ้งฉางไว้ และทางเมืองเชียงใหม่ก็ให้ผ่อนเสบียงลงไปสะสมไว้ให้มาก กับให้แต่งทหารออกลาดตระเวนอย่าให้ชาวกรุงทำนาได้ พระนครศรีอยุธยาจึงจะผอมลง ออกพรรษาแล้วทัพหลวงจะยกลงมาหักเอาพร้อมกันทีเดียว

    <O:p</O:p
    <O:p[​IMG]</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นี่ก็เป็นการนั่งวางแผนอยู่ที่หงสาวดีโน่น และยังนึกเพ้อฝันอยู่ว่าคนไทยจะใช้วิธีต่อสู้แบบเก่า หารู้ไม่ว่าชาวกรุงศรีอยุธยาสมัยพระนเรศวรนั้นไม่ได้ต่อสู้แบบเก่าแล้ว ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่ก็ให้ทำการตามคำสั่งพี่ชาย มีการขยายค่ายคู ตั้งป้อมพูนดินเชิงเทิน หอรบ ให้มั่นคง เหมือนกับจะมาตั้งเมืองพม่าอยู่ในแผ่นดินไทย ให้มีกองทัพออกลาดตระเวนหลายกอง ได้รบกับกองโจรอาสาของไทย ถูกตีแตกไปหลายครั้ง ที่ถูกจับตัวเป็นเชลยเอาตัวเข้ามาสอบถาม ก็ได้ทราบแผนการของพม่าหมด

    <O:p</O:p
    พระมหาธรรมราชาจึงปรึกษากับพระโอรสว่าเราจะละไว้จนพม่ามาประชุมทั้งสามทัพไม่ได้ เราจะต้องไปตีกองทัพเชียงใหม่ อย่าให้ตั้งอยู่ได้ พระนเรศวรกับพระอนุชาทูลว่าทัพเชียงใหม่มาตั้งอยู่ที่สระเกศนั้น อย่าวิตกเลยจะตีให้แตกหนีไปจงได้ จึงเตรียมพลแปดหมื่น ช้างห้าร้อย ม้าพันหนึ่ง เรือห้าร้อย พอเดือน 5 ขึ้น 7 ค่ำ พระนเรศวรก็ยกไปตั้งที่ลุมพลี 10 ค่ำก็ยกขึ้นไปป่าโมกน้อย ข้างพระเจ้าเชียงใหม่ ทราบว่ากองตระเวนรบกับชาวกรุงแตกมาทุกที จึงให้สเรนันทสุ คุมพลห้าพันมาตั้งที่ป่าโมกน้อย ให้พระยาเชียงแสน เป็นทัพหน้าถือพลหมื่นหนึ่ง


    [​IMG]


    พระนเรศวรทราบเข้าก็ให้เทียบเรือรบเข้ากับฝั่ง ให้ทหารอาสาขึ้นบกไปตั้งเป็นนกต่อข้าศึก ส่วนพระองค์กับพระอนุชาเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นแบบออกป่า ให้ทหารไปยั่วข้าศึกให้ไล่มา พระนเรศวรยิงปืนด้วยนกสับ ถูกทหารพม่าตายคนหนึ่ง เท่านั้นเองข้าศึกก็พ่ายหนีไป ทหารอาสาจึงรุกไล่ฟันแทงขึ้นไปจนปะทะเข้ากับทัพพระยาเชียงแสน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คู่พระบารมี


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    ทรงพระเจริญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • K8185820-35.jpg
      K8185820-35.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.3 KB
      เปิดดู:
      2,695
    • K8185820-34.jpg
      K8185820-34.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.7 KB
      เปิดดู:
      2,649
    • K8185820-36.jpg
      K8185820-36.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.2 KB
      เปิดดู:
      2,612
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    แห่งความทรงจำนิรันดร์ ณ. พระตำหนักวิลล่าวัฒนา

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    ทรงพระเจริญ



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • K8185820-47.jpg
      K8185820-47.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.8 KB
      เปิดดู:
      2,582
    • K8185820-5.jpg
      K8185820-5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.5 KB
      เปิดดู:
      2,554
    • K8185820-4.jpg
      K8185820-4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40 KB
      เปิดดู:
      2,580
    • K8185820-19.jpg
      K8185820-19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      2,560
    • K8185820-20.jpg
      K8185820-20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.9 KB
      เปิดดู:
      191
    • K8185820-21.jpg
      K8185820-21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.5 KB
      เปิดดู:
      2,648
    • K8185820-22.jpg
      K8185820-22.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.2 KB
      เปิดดู:
      2,644
    • K8185820-23.jpg
      K8185820-23.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.7 KB
      เปิดดู:
      2,550
    • K8185820-39.jpg
      K8185820-39.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.9 KB
      เปิดดู:
      2,543
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คุณแมวอ้วน วิฬารทรงเลี้ยง

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
    เห็นคุณแมวนอนหงายที่มุมภาพไหมคะ​

    [​IMG]
    แต่งตัว​

    [​IMG]
    คุณแมวอ้วนตัวนี้ ไม่รู้ว่าชื่ออะไรค่ะ​

    [​IMG]
    วิฬารทรงเลี้ยงของสมเด็จย่า ชื่อ ติโต้ และ ติต้า​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • K8185820-0.jpg
      K8185820-0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.5 KB
      เปิดดู:
      2,473
    • K8185820-2.jpg
      K8185820-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.4 KB
      เปิดดู:
      2,504
    • K8185820-9.jpg
      K8185820-9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.2 KB
      เปิดดู:
      2,484
    • K8185820-3.jpg
      K8185820-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.4 KB
      เปิดดู:
      2,454
    • K8185820-1.jpg
      K8185820-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.4 KB
      เปิดดู:
      2,576
    • K8185820-42.jpg
      K8185820-42.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.7 KB
      เปิดดู:
      2,448
  6. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    สาธุ ขออนุโมทนากับความมานะพยายามของท่านครับ
     
  7. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    รู้สึกว่าจะเป็นคำโบราณมากๆทีเดียวครับ ไม่ใคร่เห็นใครใช้ครับ
     
  8. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    เคยเห็นคำว่ายอหรือยอทัพในวรรณกรรมสามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบน่ะครับ
     
  9. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เข้าใจว่าจะเป็นคำเก่าครับ แต่ฟังแล้วเข้าใจนะครับ ความหมายชัดเจน เป็นคำไทยแท้ๆดี เดาว่าคงจะคล้ายกับตอนที่ชาวนาไถนา หรือตอนที่ขี่เกวียน ก็มัก
    จะได้ยินคำนี้นะครับ เมื่อต้องการให้สัตว์สี่เท้าที่ใช้เทียมอยู่ช้าลง
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ยอทัพ คือการเคลื่อนไปอย่างช้าๆ ยั้งทัพไว้ที่ใดที่หนึ่งก่อนใช่ไหมคะ

    คุณไก่เหลืองว่ามีในสามก๊กด้วย สามก๊กที่ทางสายธาตุดูจนเข้าใจไม่ได้อ่านหนังสือค่ะ
    ดูหนังซีรีย์จนเข้าใจ ดูในโทรทัศน์รอบแรก ดูที่มาฉายซ้ำรอบสอง แล้วก็ยืมวีดีโอมาดู
    เป็นสามรอบ ถึงจะพอรู้เรื่อง เป็นพงศาวดารที่ยาวนานและตัวละครเยอะมาก
    บางตัวออกปุ๊บก็ถูกส่งออกไปประลองเพลงทวนบนหลังม้ากับขุนพลฝั่งตรงข้าม
    เสียงทวนกระทบกัน ชิ้ง ชิ้ง อ๊าก สิ้นเสียงอ๊ากตกม้า ตายแล้ว ชื่ออะไรนะยังจำไม่ได้เลย


    แต่สุดท้ายจะไปซื้อวีดีโอมาเก็บไว้จะดูอีกเป็นรอบที่สี่ เขาขายทั้งชุด 2700
    ยังนึกเสียดายเงินอยู่ แต่จะได้ปกได้กล่องสวยงามเก็บได้นาน ก็ยังอยากดูอีก
    ดูหลายรอบ ชอบอ่านความคิดตัวละคร บุคคลิก นิสัย


    บางคนนี่สุภาพบุรุษนักรบ เช่น เตียจูล่งแห่งเสียงสาน ตอนอุ้มอาเต้าหนี รู้สึกว่ายอมเสียสละอุทิศตนให้นายมาก
    เล่าปี่นี้อาภัพ เป็นเจ้าที่ไม่มีดินแดนให้ครอง แร่ร่อนกว่าจะได้ภรรยาก็อายุเข้ากลางคน
    กว่าจะมีบุตรคนแรกคืออาเต๊า คนในกองทัพเล่าปี่จึงรักมากและพยายามช่วยกันรักษาเลือดเนื้อเชื้อไขเล่าปี่ไว้


    ตอนจูล่งฝ่าทัพช่วยอาเต๊าออกมาจากวงล้อมข้าศึก อาซ้อใหญ่หรืออาซ้อรองของเล่าปี่ไม่แน่ใจ
    กลัวจูล่งจะห่วงตนแล้วจะพาอาเต๊าหนีไม่สำเร็จ ยอมกระโดดบ่อน้ำ(มีบ่อน้ำกินร้างอยู่แถวนั้น)ฆ่าตัวตาย
    จูล่งก็สมสมญานามชื่อว่า สุภาพบุรุษแห่งเสียงสาน สู้ทหารเป็นร้อย ตายไม่ว่าขอพาอาเต๊าออกมาให้เล่าปี่ให้ได้
    เอาอาเต๊าเด็กแบเบาะใส่ในเกราะเหล็กของตน แล้วก็ฝ่าฟันออกมาจนได้ ดูแล้วมันเต็มอิ่ม มันได้อรรถรส
    ยิ่งตอนจบ เพลงสามก๊กไพเราะกินใจ อยากดูอีก


    ทางสายธาตุไม่เชื่อเรื่องดูสามก๊กครบสามจบคบไม่ได้นะคะ เพราะมุมมองของคนไม่เหมือนกัน
    เราค้นหาความหมายของชีวิตไม่เหมือนกัน เรามองตัวละครตัวเดียวกันแต่เรามองเขาในมุมที่แตกต่างกัน

    ทางสายธาตุมองกวนอู เป็นบุรุษยอดกตัญญู มองเตียวหุย รักพี่รักน้อง ถ้าใครทำร้ายพี่น้องจะเข้าปกป้องทันทีแม้จะบ้าบิ่นไปหน่อย

    มองเล่าปี่เห็นแก่ส่วนรวม เรื่องส่วนตัวเป็นเรื่องเล็ก ตอนจูล่งพาอาเต๊ามาให้เล่าปี่ได้ เล่าปี่จะทุ่มอาเต๊าทิ้ง
    เพราะทำให้จูล่งขุนพลเอกต้องเสี่ยงตายขนาดนี้เพื่อช่วยเหลือออกมา แต่จูล่งขอไว้ ได้ใจซึ่งกันและกันมาก เล่าปี่กับจูล่ง
    ดูแล้วน้ำตาไหลตาม มันซึ้งใจ

    อ่านคำคมสามก๊กตอนจูล่งฝ่ากองทัพข้าศึกเข้าไปช่วยอาเต๊า เอามาประกอบการอ้างถึงค่ะ

    มองจูกัดเหลียง(ขงเบ้ง) เก่งขนาดนี้ไปอยู่กับใคร เขาก็รับ เลือกจะอยู่กับคนมีคุณธรรมแม้จะต้องร่อนเร่ตามนาย นายคือเล่าปี่
    และสุดท้ายมองว่า สุมาอี้ เก่งสุดเพราะสามารถถ่ายทอดความเก่งให้ลูกๆหลานๆสืบๆลงมา เก่งหลายรุ่น ตระกูลสุมาอี้

    อย่างไรก็ตาม มองก๊กเล่าปี่เป็นก๊กพระเอกนะคะ คนอื่นมองอย่างนี้หรือเปล่า wel lcome_mokey แลกเปลี่ยนความคิดกันได้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2009
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 65-66

    พระยาเชียงแสนก็แยกพลออกรับตีประดาลงมา ทหารอาสาเหลือกำลังก็รบพลางถอยพลางชะลอลงมา พระนเรศวรเห็นข้าศึกยกมามากทหารไทยเสียทีจะลงเรือมิทัน จึงเลื่อนเรือขึ้นไปเหนือคลองป่าโมกน้อย ขนานเรือเข้ากับเรือรบและทหารที่อยู่ริมน้ำ ข้าศึกก็ขับช้างม้าไล่ตรงมาที่ริมน้ำ เกิดรบกันขนาดหนัก พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถ ยิงข้าศึกตายเป็นจำนวนมาก ข้าศึกพุ่งอาวุธลงมาจนถึงเรือพระนเรศวรไว้ แล้วสั่งให้ยิงปืนใหญ่ในเรือรบทั้งหลายขึ้นไปถูกช้างม้าข้าศึกตายลงมากมาย พากันแตกหนีไปหมด พระนเรศวรตรัสกับพระอนุชาและนายทัพนายกองทั้งหลายว่า

    <O:p</O:p
    "พระเจ้าเชียงใหม่ ยกทัพแสนหนึ่งลงมาตั้งอยู่ ณ สระเกศถึง 4-5 เดือนแล้ว เพิ่งได้เห็นฝีมือทหารวันนี้ ดีร้ายจะเป็นบ้าสงครามใน 2-3 วันนี้คงจะยกมาอีก ถ้ายกลงมาคราวนี้ เราจะตีให้ถึงค่ายสระเกศที่เดียว" ตรัสแล้วก็กลับมาประทับที่ค่ายลุมพลี

    [​IMG]

    <O:p</O:p
    ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่เห็นสเรนันทสุกับพระยาเชียงแสนแตกขึ้นไปก็โกรธสั่งให้ประหารชีวิตทันที แต่พระยาพะเยาซึ่งเป็นน้องกับท้าวพระยาแสนขุนหมื่นขอชีวิตไว้ จึงยอมให้ทำการแก้ตัวใหม่อันที่จริงพระเจ้าเชียงใหม่ให้เอาโทษคนทั้งสองก็ไม่ถูก เพราะพวกที่แตกขึ้นไปนั้น ถูกพระเอกาทศรถยิงด้วยปืนใหญ่ อาวุธมันสู้กันไม่ได้ ถ้าไม่หนีชีวีก็จะต้องม้วยมอดจอดทั้งกองทัพ

    <O:p</O:p
    พระเจ้าเชียงใหม่เห็นว่าเมื่อแพ้ขึ้นไปดังนี้ พระนเรศวรพี่น้องจะมีใจกำเริบ ต้องยกลงไปหักเอาเสียก่อน จึงให้สเรนันทสุกับพระยาเชียงแสนถือพล 15,000 เป็นทัพหน้า พระเจ้าเชียงใหม่ถือพลหมื่นหนึ่งเป็นทัพหลวงยกลงมาตีสิบทุ่ม

    <O:p</O:p
    ในขณะที่พระเจ้าเชียงใหม่เตรียมยกลงมานั้น พระนเรศวรรับสั่งว่า เราตีทัพเชียงใหม่แตกขึ้นไป เห็นทีจะยกเพิ่มเติมลงมาอีกแต่นี่ถึงสองสามวันแล้วก็ยังไม่ยกมา วันพฤหัสเดือนห้าแรมสองค่ำ เราจะยกขึ้นไปให้ทหารรอดูสักเวลาหนึ่ง แต่รออยู่แล้วยังไม่เห็นยกมา จึงให้พระราชมานูถือพลหมื่นหนึ่ง ช้างยี่สิบ ทุกช้างมีธงสามชายเป็นเครื่องหมาย เป็นทัพหน้าชั้นที่หนึ่ง ให้พระยาสุโขทัยมียี่สิบช้าง มีธงสามชายเหมือนกันเป็นทัพหน้าชั้นที่สองให้ยกไปในเวลาบ่ายไปตั้งอยู่ต้นทาง พอเวลาตีสิบเอ็ด พระนเรศวรกับพระอนุชาก็ทรงช้าง มีช้างต้นแซกแซงร้อยหนึ่งกับทหารสามหมื่นเคลื่อนพลไป

    <O:p</O:p
    พอเวลาแสงทองส่องฟ้า ทัพหน้าทั้งสองฝ่ายก็ปะทะกันที่บางแก้ว ขณะนั้นทัพหลวงไปถึงบ้านเห ก็ได้ยินเสียงปืนรบกันพระนเรศวรสั่งให้หยุดทัพ พาเข้าซุ่มอยู่ในป่าต้นจิก ป่ากะทุ่มฟากทางตะวันออก สั่งหมื่นทิพรักษากับม้าเร็วสิบม้าขึ้นไปบอกพระราชมานูให้ถอยลงมายังทัพหลวง พระราชมานูตอบมาให้ทูลว่า ศึกกำลังรบติดพันกันแล้ว ถ้าถอยก็จะแตกแล้วพระราชมานูก็ไม่ยอมถอย ยังรบต่อไปด้วยความมันเขี้ยว พระนเรศวรก็สั่งหมื่นทิพรักษาขึ้นไปบอกอีกครั้งให้ถอยลงมา พระราชมานูก็ไม่ถอย คราวนี้พระนเรศวรจึงใช้อำนาจเด็ดขาด ให้หมื่นทิพรักษาไปบอกเป็นครั้งสุดท้ายว่า ถ้ามันยังขัดคำสั่งไม่ถอยอีก ก็ให้เอาศีรษะมันลงมาเลย พระราชมานูพอได้รับคำสั่งเป็นครั้งที่สาม เห็นว่าถ้าขัดรับสั่งอีกเป็นหัวขาดแน่ จึงโบกธงฝ่ายซ้ายเป็นสัญญาณ พระยาสุโขทัยกับทหารเห็นเช่นนั้นก็ถอยร่นลงมาทันที


    <O:p</O:p
    ทหารเชียงใหม่สำคัญผิดว่าทหารไทยแตกแล้ว ก็โห่ร้องดีใจพากันรุกไล่โจมตีแข่งกันใหญ่ลงมา ทั้งทหารช้างทหารม้าแม้กระทั่งพระเจ้าเชียงใหม่ก็ไล่ตามลงมาด้วย ทหารกองหน้ากองหลังปะปนไม่รู้ว่ที่ของใครอยู่ตอนไหนตรงไหน


    <O:p</O:p
    เมื่อเห็นข้าศึกเสียขบวนแล้ว พระนเรศวรก็ให้ลั่นฆ้องโบกธงเป็นสำคัญแล้วไสช้างขับรี้พลเข้ายอกลางทัพข้าศึก จนถึงต่อสู้กันด้วยอาวุธสั้น พระราชมานู พระยาสุโขทัยเห็นเช่นนั้น ก็ต้อนพลกลับหลังตีขนาบขึ้นไป คราวนี้ทัพเชียงใหม่ก็แตกพ่ายจนคุมกันไม่ติด ทางหน้าก็ข้าศึก ทางหลังก็ข้าศึก และทางข้างก็ข้าศึก ไม่รู้จะต่อสู้ทางไหน ทหารไทยไล่ฟันแทงข้าศึกทั้งไพร่นายล้มตายเกลื่อนกลาดริมทางและกลางทุ่ง นายทัพนายกองข้าศึกที่ตายในยุทธภูมิคือพระยาพะเยา พระยาลอ พระยากาว พระยานครล้านช้าง พระยาเชียงราย มางยามงิป สมิงโยคราช เจพะยะอางคะบุน สเรนันทะสุ เจ้าเมืองเตริน ชั้นแสนเมืองเชียงใหม่ตายพันเศษ ได้ช้างใหญ่ยี่สิบ ม้าร้อยเศษ ฝ่ายไทยตามตีจนถึงปากน้ำชะไว พระนเรศวรจึงให้หยุด

    <O:p</O:p
    พระเจ้าเชียงใหม่รุดหนีเข้าไปในค่ายหลวง พระนเรศวรสั่งนายทัพนายกองว่า เวลาย่ำรุ่งจะยกเข้าหักค่าย แต่พระเจ้าเชียงใหม่มีพระปัญญาดีในทางหนี เกรงว่าจะรับมิอยู่ จะต่อสู้ก็ไม่ไหว จะถอยทัพไปก็มิทัน พอเวลาค่ำก็ลอบขึ้นช้างเร็วหนีไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 67-68

    ครั้นรุ่งเช้าโมงเศษ พระนเรศวรกับพระอนุชายกทัพไปใกล้ถึงสระเกศ ก็ทราบว่าพระเจ้าเชียงใหม่หนีไปถึงปากน้ำบางพุทราแล้ว ทหารกองหน้าจับได้พระยาเชียงแสนกับลูก ได้ช้างพลายพัง 120 ช้าง ม้า 500 เศษ พม่ามอญลาวไทยใหญ่เชลยหมื่นเศษ เรือรบ เรือเสบียง 400 เศษ ปืนใหญ่ปืนเล็กอาวุธยุทธภัณฑ์อีกมากแม้แต่เครื่องราชูปโภคของพระเจ้าเชียงใหม่ก็ยังจับได้



    <O:p</O:p
    พระเจ้าเชียงใหม่หนีไปถึงเมืองกำแพงเพชร เข้าหาพระมหาอุปราชา ๆ ก็ได้แต่ให้ทหารมอญพม่าออกก้าวสกัดต้นทาง นำชาวเชียงใหม่มารวมกันไว้ ทำรายงานพร้อมกับส่งตัวคนที่ให้มากำกับทัพเชียงใหม่ไปหงสาวดี

    <O:p</O:p
    พระเจ้าหงสาวดีครั้นได้รับข่าวรายงาน ฝันหวานของพระองค์ต้องมาอันตรธานไปก็โกรธยิ่งนัก จะฆ่าพระเจ้าเชียงใหม่เสียก็กลัวเมืองลาวจะหลุดมือไปหมด จึงให้พระเจ้าเชียงใหม่ไปคุมกองลำเลียงจัดแจงเสบียงอาหารอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ถ้าขาดไปจะลงโทษ

    <O:p</O:p
    ศึกพระเจ้าหงสาวดี
    <O:p</O:p
    ต่อมา 6 เดือนถึงเดือน 12 พ.ศ. 2129 พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ก็ยกมาประชุมทัพที่เมืองกำแพงเพชรมีพล 250,000 จัดเป็น 3 ทัพใหญ่ มีทัพพระเจ้าหงสาวดีเอง ทัพพระมหาอุปราชา และทัพพระเจ้าตองอู ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่เป็นกองเสบียง ก็มีแต่ลูกหลานเท่านั้น

    <O:p</O:p
    ฝ่ายไทยพระมหาธรรมราชา ปรึกษาที่ประชุมเสนาบดีมนตรีมุขแจ้งว่า พม่ายกมาครั้งนี้ใหญ่หลวงมาก เราอย่าเพิ่งยกออกมาก่อนให้ท้าวพระยาหัวเมือง จัดพล อาสาแต่งเป็นกอง ออกไปป้องกัน ให้ราษฎรเกี่ยวข้าวที่เหลืออยู่ในท้องนารอบพระนคร ให้หมดเสียก่อนอย่าให้ข้าศึกเอาไปกินได้ แล้วจึงยกทัพใหญ่ออกตีทีเดียว ที่ประชุมเห็นพ้องด้วย พระนเรศวรจึงให้แต่งขุนหมื่นทหารอาสาทั้งหลาย ออกไปหลายกอง ให้ราษฎรออกไปเกี่ยวข้าวทุกตำบล ทหารที่ออกไปนั้นได้รบพุ่งกับข้าศึกแตกพ่ายไปเสมอ ได้ศีรษะเข้ามาถวายทุกวัน พระมหาธรรมราชาก็ให้รางวัลทหาร มากน้อยตามจำนวนหัวข้าศึกที่ได้มา

    <O:p</O:p
    พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาถึงเดือนยี่ เข้าตั้งอยู่ทางเหนือและตะวันออกของกรุง ทัพพระมหาอุปราชากับพระยาตองอูยกมาทางลพบุรี และสระบุรีก็ตั้งเรียงต่อกันไป ครั้งหนึ่งพระยากำแพงเพชรนำพลออกไปป้องกันราษฎรเกี่ยวข้าวทางทุ่งชายเคือง ถูกทหารทัพพระมหาอุปราชารายกมาพันหนึ่งได้รบกัน ทัพพระยากำแพงเพชรถูกพม่าตีแตก พระนเรศวรให้ลงโทษตามบทอัยการศึก แต่พระมหาธรรมราชาบอกว่าพระยากำแพงเพชรเป็นพลเรือน มิใช่ทหารขอโทษไว้ครั้งหนึ่งก่อน นี่แสดงว่าในเวลาศึกจะเป็นพลเรือนหรือทหารก็ต้องรบ และพระนเรศวรนั้นถือสาในเรื่องระเบียบวินัยมากก็เมื่อไม่เคยแพ้เลย แล้วมาแพ้เป็นครั้งแรกเช่นนี้ พระนเรศวรเห็นว่าทำให้ข้าศึกได้ใจ ควรยกทัพใหญ่ออกไปตีอย่าให้ทัพพม่าตั้งอยู่ตรงตำบลชายเคืองใต้ ราษฎรจะได้เกี่ยวข้าวสะดวก ที่ประชุมเห็นด้วย

    พระนเรศวรจึงให้เอาปืนใหญ่ปืนเล็กและสรรพาวุธ บรรทุกเรือ 200 ลำแล้วให้ทหารนำออกไปซุ่มอยู่ ครั้นแล้วพระนเรศวรกับพระอนุชาก็ยกทัพเรือออกไปเป็นขบวนอย่างสง่าผ่าเผย พอถึงใกล้ค่ายพระมหาอุปราชา ทหารก็ขึ้นไปยั่วข้าศึกถึงหน้าค่าย ข้าศึกพากันยกออกมา ได้รบพุ่งกันอย่างหนัก ฝ่ายกองอาสาก็ยกออกมาทะลวงตีปืนใหญ่ปืนน้อยก็ระดมยิงสาดเข้าใส่ ถูกข้าศึกล้มตายลงมากแต่ก็ไม่ระส่ำระสาย กลับยกหนุนเนื่องกันเข้ามาทางริมน้ำ ทหารไทยจึงเอาปืนใหญ่เล็กยิงขึ้นไปจากเรือรบ ถูกทหารพม่าช้างม้าตายเป็นอันมาก แต่ข้าศึกก็ยังต่อสู้อยู่อย่างเหนียวแน่น

    [​IMG]
    <O:p</O:p
    พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถออกยืนหน้าเรือ ใช้ปืนนกสับยิงคนช้างม้าตายเป็นอันมาก ทหารกรุงก็ยิงระดมเข้า ข้าศึกจึงลงมาสกัดด้านหลังเรือพระที่นั่ง และยิงปืนไฟโต้ตอบมาอย่างหนาแน่น เรือรบทั้งหลายทนทานมิได้ ก็พ่ายลงมาทั้งสิ้น เหลือแต่เรือพระที่นั่งกับเรือรบอีก 5 ลำยิงต่อสู้อยู่ ข้าศึกยิงปืนใหญ่มาถูกเสื้อพระเอกาทศรถ ขาดตั้งแต่ปลายแขนถึงต้นแขน และทหารในเรือก็ถูกยิงบาดเจ็บมากคน กระสุนปืนนกสับของข้าศึกยิงมาตกอยู่หน้าเรือพระที่นั่งถึง 30 ลูก พอตกมืดค่ำลง มองไม่เห็นกันแล้วพระนเรศวรกับพระอนุชาก็กลับเข้าพระนคร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 69-70

    ศึกพระเจ้าหงสาวดี (ต่อ)

    คืนต่อมาพระนเรศวรกับพระอนุชายกทัพออกจากกรุงไปแต่ 11 ทุ่มไปที่ค่ายพระเจ้าหงสาวดีตั้งอยู่ ให้ชาวมอญเข้าไปร้องว่าพระมหาอุปราชาให้มากราบทูล ให้เปิดประตูรับ เจ้าหน้าที่ไม่เปิดว่าต้องกราบทูลก่อน สักครู่ก็เอาปืนเล็กยิงออกมา พระนเรศวรตรัสว่าข้าศึกรู้ตัวแล้วจึงเสด็จกลับ

    <O:p</O:p
    ต่อมาอีก 2-3 วัน พระนเรศวรนำทัพออกไปตั้งที่วัดช่องลมต่อมาอีก 7 วัน ก็เอาปืนบรรทุกเรือสำเภาไปยิงค่ายพระเจ้าหงสาวดี ณ ขนอนปากคู พระเจ้าหงสาวดีจึงให้ถอยทัพไปตั้งที่ป่าโมกใหญ่

    <O:p</O:p
    ต่อมาอีก 2 วัน พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถก็ยกออกไปตีถึงค่ายป่าโมกใหญ่ โดยเสด็จทางเรือ มีทัพบกเดินไปสองฟากฝั่ง ข้าศึกจึงยกออกมาตีขนาบทั้งสองฟากฝั่ง ทัพกรุงแตกร่นลงมาถึงทัพหลวง กระสุนปืนข้าศึกยิงลงมาถูกบ่อโทนเรือ หัวเรือพระที่นั่งของพระนเรศวรร้าวออกไป พระนเรศวรเห็นว่าอยู่ในเรือเป็นเป้านิ่งให้ข้าศึกยิงได้ จึงพร้อมด้วยพระเอกาทศรถ นำทหารถืออาวุธสั้นกระโจนขึ้นจากเรือ ทัพบกซึ่งถอยร่นลงมา กลับมีใจกล้าขึ้นเมื่อเห็นแม่ทัพออกนำหน้าเช่นนั้น จึงต่างหันกลับไปทะลวงฟันแทงข้าศึกแตกฉานล้มตายลงเป็นจำนวนมาก เมื่อเห็นข้าศึกหนีไปแล้วจึงกลับพระนคร การป้องกันพระนครของพระนเรศวรนั้น ไม่ใช้วิธีตั้งรับให้ข้าศึกเป็นฝ่ายเข้าตีดังที่สมัยพระมหาจักรพรรดิเคยปฎิบัติ แต่กลับใช้วิธีรุกเข้าโจมตีให้ข้าศึกเป็นฝ่ายรับทุกทีไป

    <O:p</O:p
    ครั้งหนึ่งพระนเรศวรทรงม้าถือทวนยกไปกับทหารสามกองๆหนึ่งมี 22 คน กองหนึ่งมี 42 คนอีกกองหนึ่งมี 72 คน ล้วนขี่ม้าถือทวน ทั้ง 136 คนนี้เป็นทหารคู่พระทัย ทหารข้าศึกกองหน้าออกมาปะทะ ถูกทหาร พระนเรศวรตีแตกฉานหนีเข้าค่าย


    [​IMG]

    พระนเรศวรทรงพระแสงดาบกับทหารปีนค่ายขึ้นไป ข้าศึกในค่ายเอาทวนแทงพลัดตกลงมาเป็นหลายครั้ง ปีนเข้าค่ายมิได้จึงเสด็จเข้าพระนคร ดาบซึ่งพระนเรศวรใช้คาบปีนค่ายครั้งนั้น เรียกกันว่าพระแสงดาบคาบค่าย ใช้ในพิธีสำคัญๆ จนทุกวันนี้

    <O:p</O:p
    ข้าศึกเอาการที่สู้รบกันนั้นไปทูลพระเจ้าหงสาวดี ๆ ถามเสนาบดีว่า พระนเรศวรออกมาทำการดุจทหารเช่นนี้ เหมือนหนึ่งเอาพิมเสนมาแลกเกลือ พระบิดาจะรู้เห็นหรือไม่ เสนาบดีทูลว่าเห็นทีพระราชบิดาคงจะไม่รู้ ถ้ารู้แล้วเห็นจะไม่ยอมให้ออกมาทำ พระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า พระนเรศวรทำศึกอาจหาญนัก ถ้าออกมาอีกเมื่อไรถึงมาทว่า เราจะเสียทหารมากเท่าใด ก็จะแลกเอาตัวให้จงได้ แล้วจึงให้จัดทหารที่มีฝีมือสันทัดทุกทัพทุกกองให้ได้หมื่นหนึ่งเอาไปช่วยค่ายลักไวทำมู ทหารทศตำบลลุมพลี ถ้าพระนเรศวรออกมาตีค่ายให้กุมเอาเป็นๆ ให้จงได้


    [​IMG]

    <O:p</O:p
    วันต่อมา พระนเรศวรทรงม้าออกไปกับทาหรสามกองคู่พระทัย และมีทหารล้อมวังพันหนึ่ง ถือโตมรและดาบดั้งติดตามไปด้วยพอปะทะกับข้าศึกซึ่งหน้า ก็ตรงเข้ารบพุ่งกัน แต่สามโมงจนสี่โมงสู้กันชนิดใครดีใครอยู่ ข้าศึกแตกถอยเข้าค่ายไปครู่หนึ่งแล้วกลับเอาทหารม้า 30 ม้า มายั่วทัพ และกางขยายปีกออกไปทำเป็นกองซุ่มไว้ ปีกหนึ่งลักไวทำมูเป็นหัวหน้า อีกปีกหนึ่งเป็นทหารทศ ซึ่งคัดเลือกไว้เป็นพิเศษสำหรับจะจับพระนเรศวรเป็นๆให้ได้

    พระนเรศวรทรงม้าถือทวนไล่เข้าไปทหารข้าศึกที่ซุ่มไว้ทั้งสองปีก็โอบเข้ามา ล้อมเอาพระนเรศวรกับทหารไว้ ลักไวทำมูดีใจ ถือดาบดั้งเข้ามาจะจับกุมพระนเรศวรพระองค์จึงแทงด้วยทวนถูกลักไวทำมู อย่างถนัดมือ ลักไวทำมูฟันถูกทวนเป็นแผล แต่ตัวเองก็ตาย ทหารทศถือโตมรและหอกใหญ่ตรงเข้ามาอีกคน ก็ถูกพระนเรศวรฟันตัวขาดสพายแล่งล้มลง ครั้นแล้วพระองค์ก็ไม่คอยให้ถูกรุมทำร้ายต่อไปทรงฟันฝ่านำทหารออกจากวงล้อม กลับพระนครได้

    <O:p</O:p
    <O:p[​IMG]</O:p

    <O:p</O:p
    ฝ่ายพม่ามาตั้งอยุ่ 5 เดือนแล้วยังไม่มีโอกาสได้ปีนปล้นพระนครแม้สักครั้งเดียว มีแต่ต้องเป็นฝ่ายถูกโจมตีอยู่ไม่มีหยุดหย่อนจนอ่อนกำลังลงทุกที พม่าเสียเปรียบในข้อที่ไม่มีปืนใหญ่พอเพียงและเสบียงอาหารก็หาไม่ได้ ถูกกองโจรรบกวนการส่งกำลังบำรุงตลอดเวลา ความเพ้อฝันอันบรรเจิดของพระเจ้าหงสาวดีจึงทลายลงพอใกล้ฤดูฝน นันทะบุเรงก็ล่าทัพกลับ พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถจึงนำขบวนทัพเรือตามตีท้ายขบวนทัพพระเจ้าหงสาวดี ไปจนถึงป่าโมก แต่ข้าศึกมีกำลังมากกว่าหลายเท่า ไม่อาจตีให้แตกฉานได้จึงกลับพระนคร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระแสงดาบคาบค่าย

    พระแสงดาบคาบค่าย
    [​IMG]

    ยึดเอาฤกษ์เพชฌฆาตประกาศกร้าว
    อิงเดือนดาวแทนตาฝ่าเป้าหมาย
    ถือความแกร่งของเพชรเก็จขจาย
    หลอมสู่กายคู่คุณบุญญาฤทธิ์

    เอาเพลิงแค้นทัพพระยากำแพงเพชร
    ถูกเผด็จด้วยพม่าไล่ล่าติด
    ทัพนันทบุเรง..เร่งพิชิต
    พลรอบทิศสองแสนเศษแน่นเนือง

    ขวัญทหารกรุงศรีฯเริ่มหรี่ขวัญ
    ไพร่พลนั้นเป็นรองตามท้องเรื่อง
    องค์นเรศฯห้าวหาญสะท้านเมือง
    หวังปลดเปลื้องเรียกขวัญพลสั่นคลอน

    วางแผนตีค่ายหน้าทัพข้าศึก
    ในยามดึกลุยหักช่วงพักผ่อน
    เกณฑ์ทหารเขี้ยวศึกผนึกกร
    ทุ่มสั่งสอนกู้ชื่อฝีมือไทย

    พระองค์ดำออกหน้าตีฝ่าปล้น
    โกลาหลเกินคาดพินาศใหญ่
    ค่ายศัตรูทัพหน้าคราบรรลัย
    ทรงรุกไล่ฆ่าฟันสนั่นคืน

    ลุยประชิดค่ายหลวงทวงศักดิ์ศรี
    ด้วยพระกายบารมีมิมีตื่น
    คาบพระแสงฯปีนป่ายไม่หวั่นปืน
    พลพม่าดั่งคลื่นยื่นอาวุธ

    ยันด้วยดาบหอกง้าวเถ้าไฟร้อน
    ธนูป้อนโหมใส่ให้หวิดหวุด
    องค์ราชันจอมไทยร่างไหลทรุด
    ลุกขึ้นผุดปีนต่อไม่ท้อกาย
    ขวัญทหารคืนกายคล้ายเหล็กเพชร
    คือบำเน็จหล่อหลอมมิยอมพ่าย
    สื่อเดชานุภาพตราบภพปราย
    ฝากความหมายพระแสงดาบให้กราบกราน





    คัดลอกจาก Ç???Ǖ ?س??പ : #Topic-090424125237870"?Ðኧ?Һ?Һ?蒂?" ???????????????? ????????
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 71-72

    ศึกเขมร
    <O:p</O:p
    ฝ่ายเขมรทั้งที่มาขอเป็นไมตรี และมีการทำพิธีปักปันเขตแดนกันแล้ว แต่พอทราบว่าพม่ามารบไทย พระยาละแวกนักพระสัตถาก็ให้เจ้าฟ้าทะละหะกับห้าพระยา ถือพลหมื่นหนึ่งเข้ามาตีหัวเมืองตะวันออกของไทยตีเมืองปราจีนแตก กรมการเมืองนครนายกบอกเข้ามา พระนเรศวรให้พระยาศรีไสยณรงค์ พระยาสีหราชเดโชชัยกับทหารพันหนึ่งยกไปถึงเมืองนครนายก ทัพเขมรทราบก็ยกมาตีเมืองนครนายก ถูกฝ่ายไทยตีโต้แตกพ่ายไป ทัพไทยตามตีจนสุดแดน จับอาวุธได้จำนวนมากพร้อมกับเชลยเขมรส่งเข้ามาถวาย

    <O:p</O:p
    พระนเรศวรได้เป็นกษัตริย์
    <O:p</O:p
    เมื่อพม่าไม่สามารถจะปราบปรามไทยลงได้ ชนชาติอื่นที่อยู่ใต้อำนาจพม่าก็พากันแข็งเมืองเพื่อปลดแอก พระเจ้าหงสาวดีต้องเสียเวลาปราบปรามอยู่ถึง 3 ปี ไม่มีโอกาสมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ระหว่างว่างศึกอยู่นั้นพระมหาธรรมราชาประชวรหนัก และสวรรคตใน พ.ศ. 2133 พระนเรศวรได้รับราชสมบัติเมื่อมีพระชนม์ 35 พรรษา ทรงตั้งพระเอกาทศรถเป็นมหาอุปราช แต่ยกย่องให้มีพระเกียรติทุกอย่างเสมอเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง


    <O:p</O:p
    ศึกพระมหาอุปราชามังกะยอชะวา
    <O:p</O:p
    พระนเรศวรเสวยราชย์ได้ 8 เดือน พระเจ้าหงสาวดีนันทะบุเรงก็ได้ข่าวกรุงศรีอยุธยาผลัดแผ่นดินใหม่ จึงเข้าใจว่าจะต้องเกิดมีการแย่งราชสมบัติกันเป็นแน่ สมควรที่พม่าจะยกทัพจู่โจมเข้ามา ก็คงจะได้กรุงศรีอยุธยาโดยง่าย จึงให้พระยาพะสิม กับพระยาพุกามเป็นทัพหน้าให้พระมหาอุปราชาราชบุตรเป็นทัพหลวงถือพลประมาณ 200,000 ยกมาในเดือน 12 พ.ศ. 2133 เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
    <O:p</O:p
    พระนเรศวรได้ข่าวศึกก็ยกไปตั้งรับที่ลำน้ำท่าคอย พระมหาอุปราชาดำริว่าพระนเรศวรชอบรบอย่างห้าวหาญอย่างซึ่งๆหน้า และเมื่อฝ่ายพม่ามีรี้พลมากกว่า จึงตั้งขบวนรบเป็นแถวหน้ากระดานให้พระยาพุกามเป็นปีกขวา พระยาพะสิมเป็นปีกซ้าย พระมหาอุปราชาอยู่กลางให้ยกเข้าตีพร้อมกันทั้งสามทัพ และโอบปีกเข้ามา การตั้งขบวนแบบนี้ฝ่ายมีคนน้อยกว่าต้องแพ้แน่นอน นับว่าตั้งขบวนตรงตำราเปี๊ยบ
    <O:p</O:p
    พระนเรศวร พอเห็นพระมหาอุปราชาตั้งทัพแบบนั้น ก็รู้เท่าทันจึงคิดหายุทธวิธีที่จะแก้ให้ฐานะเสียเปรียบ กลับเป็นฝ่ายได้เปรียบทันที พระองค์สังเกตเห็นปีกขวาด้านพระยาพุกามนั้นค่อนข้างอ่อน จึงนำทัพเดินเฉียงแบบขั้นบันได เข้าโจมตีปีกขวาไปหาปีกซ้าย วิธีนี้จะทำให้ปีกซ้ายและแนวกลางมาช่วยปีกขวาช้าลงไป โดยวิธีนี้ทัพพระยาพุกามจึงถูกหนักแตกพ่ายไปในเวลารวดเร็ว ตัวพระยาพุกามเองก็ตายในที่รบ
    <O:p</O:p
    เมื่อปีกขวาแตกยับเยินแล้ว ก็ทุ่มเข้าตีตอนกลาง และปีกซ้ายต่อไป แต่มันแก้ไม่ไหวแล้ว เหมือนนกปีกหักไปข้างหนึ่ง จะทรงตัวอยู่ในอากาศได้อย่างไร อีกสองทัพจึงพลอยแตกไปด้วยเพราะการตั้งทัพผิดพลาดนิดเดียว ทหารพม่ามอญถูกทหารไทยฆ่าตายลงเป็นเบีอ ส่วนที่เหลือก็หนีไปชนิดตัวใครตัวมันแล้ว ทหารไทยได้ทีแล้วก็ไล่ตามตีไปและจับพระยาพะสิมได้ที่บ้านจระเข้สามพัน จังหวัดสุพรรณบุรี สำหรับพระมหาอุปราชาเจ้าตำราตั้งแถวหน้ากระดานหนีทัน รวบรวมคนที่เหลือตายกลับไป
    <O:p</O:p
    พระเจ้าหงสาวดีขัดเคืองนัก ให้ลงอาญาแก่นายทัพนายกองเดนตายทุกคน ส่วนพระมหาอุปราชาบุตรของพระองค์ หาได้ถูกลงโทษไม่ทั้งๆที่เป็นตัวการในการพ่ายแพ้ เพียงแต่ให้ภาคฑัณฑ์ไว้ให้ทำการแก้ตัวใหม่
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    รูปแบบกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    รูปแบบกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    [​IMG]


    ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์นักรบของคนไทย ที่ทรงเป็นแบบอย่างในความวิริยะอุตสาหะ ความพระปรีชาสามารถทางการทหาร การปกครอง รัชสมัยนี้นับเป็นสมัยที่กองทัพไทยรุ่งเรืองและเข้มแข็งเป็นที่ครั่นคร้าม แก่อาณาจักรน้อยใหญ่ และคู่ศึกอย่างพม่าและเขมร พระองค์ไม่เคยเกรงกลัวผู้ใด ไม่เคยหวาดเกรงศึกเหนือเสือใต้ใดๆ ความอดทนอดกลั้นและอุดมการณ์อันแน่วแน่ของพระองค์ เป็นที่เลื่อมใสของไพร่ฟ้าทหารหาญทั้งกองทัพ จากเด็กสู่วัยรุ่นสู่ผู้ใหญ่ สิ่งที่เป็นหลักชัยของพระองค์คือ ความเป็นไทย เอาบ้านเมืองเป็นที่ตั้งพระองค์มิเคยย่อท้อต่อความ อดสู เมื่อครั้งดำรงตนเป็นเชลยตัวประกันที่หงสาวดี แต่กลับเอาสิ่งด้อยนั้นเป็นแรงใจในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายหลัก ทรงวิรยะอุตสาหะในการพากเพียรเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองการทหารการปกครอง ทรงเรียนรู้จากชนชาติศัตรู ทรงให้ความสำคัญและใส่พระทัยในการทุกอย่างของพม่าชาติที่เป็นศัตรู เพื่อสะสมไว้เป็นแต้มต่อในการกู้บ้านกู้เมือง



    ทรงชำระตำรับตำรา พิชัยสงคราม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิทยาการทางทหารที่นิยมปฎิบัติกันมานาน ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของบ้านเมือง ทรงไม่ยึดถือยึดติดกับกฎเณฑ์ที่จะทำให้กองทัพล้าหลังและอ่อนแอ ทรงกระทำพระองค์ให้เป็นตัวอย่างแก่ทหารผู้ใต้บังคับบัญชาในกองทัพ สิ่งแรกที่พระองค์มองเห็นเมื่อเริ่มบริหารจัดการกองทัพคือ ความอ่อนแอและไม่เข้มแข็งของคนไทย พระองค์ทรงใช้อำนาจเด็ดขาดในการปฎิรูปกองทัพ ทหารหนีทัพ ทหารย่อนยาน ทหารที่ละเลยต่อหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นขุนทหารหรือไพร่ โทษเท่าเทียมกัน พระองค์ทรงให้ความสำคัญแก่ทหารที่เก่งในหน้าที่ ไม่ว่าทหารผู้นั้นจะต้อยต่ำเพียงใดในกองทัพ คนเก่งคนกล้าคนมีฝีมือ พระองค์จะทรงส่งเสริมให้มีตำแหน่งในกองทัพ และหากทหารคนใดไม่เหมาะสมต่อตำแหน่งหน้าที่ ไม่ว่าคนนั้นจะมีเชื้อสาย จะเป็นใครมาแต่ไหน พระองค์จะไม่ให้มีอำนาจหน้าที่ในกองทัพและบ้านเมือง นับเป็นยุคของการส่งเสริมคนดีคนเก่งคนกล้าของบ้านเมืองโดยแท้ คนเหล่านี้จึงปรากฎตัวออกมาร่วมกองทัพของพระองค์อย่างมากมาย ส่งผลให้กองทัพไทยเข็มแข็งและทรงอานุภาพในเวลาไม่นาน การบังคับบัญชากองทัพนั้น พระองค์ทรงกระทำได้เหมือนการทหารแบบตะวันตกได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งที่สมัยนั้นวิทยาการแบบนี้ยังไม่มีปรากฎมาก่อนในกองทัพอาณาจักรใดในเวลา นั้น ทหารรบพิเศษ หน่วยจู่โจม หน่วยแซปเปอร์วินาศกรรม หน่วยคอมมานโด พลซุ่มยิง กองพันปืนใหญ่อัตาจร ลว.ระยะไกล ผู้ตรวจการหน้ากองสื่อสาร หน่วยเหล่านี้เกิดขึ้นในกองทัพของพระองค์อย่างน่าพิศวง เพียงแต่ชื่อเรียกเท่านั้นที่ไม่เหมือน นับเป็นการปฎิวัติพิชัยสงครามอย่างขนานแท้ กลายเป็นแบบอย่างให้กองทัพไทยและกองทัพอาณาจักรอื่นในเวลาต่อมา นับเป็นพระปรีชาสามารถของพระองค์โดยแท้ที่ทรงคิดทรงกระทำได้ก่อนใคร แม้แต่ทหารญี่ปุ่น ทหารโปรตุเกส ทหารจีน ที่มาร่วมกองทัพยังต้องเขียนบันทึกส่งไปยังบ้านเมืองของตนเกี่ยวกับการทหาร แบบใหม่นี้


    ทหารรบพิเศษของพระองค์คือ หน่วยทหารขนาดเล็ก10-20คน พระองค์ทรงคัดฝีมือเอง ภารกิจของพวกนี้คือการทำลายเส้นทางเดินทัพของพม่า ดักฆ่าทหารสอดแนมและม้าเร็วนำสารที่ใช้ส่งข่าวสารระหว่างทัพต่างๆของพม่า ภารกิจพวกนี้ต้องใช้ทหารฝีมือดีเพราะต้องเข้าไปในเขตอำนาจทัพข้าศึก


    หน่วยจู่โจมของพระองค์คือ หน่วยทหารขนาดเล็กเช่นกันประมาณ30-50คน หน่วยนี้พระองค์จะเป็นหัวหน้าหน่วยเองเสมอ ใช้ปล้นค่ายทหารพม่าขนาดเล็ก เช่น กองลำเลียง กองเกียกกาย และใช้โจมตีเพื่อยั่วศึก เช่นไปท้ารบหน้าค่ายพม่า เมื่อพม่ายกพลออกมา ก็ทำทีหลบหนีให้พม่าตามไปเข้าคิลลิ่งฟิลด์ แล้วก็ถอนตัวกลับอย่างรวดเร็ว ดังที่พระองค์เคยปีนค่ายพม่าจนเกิดตำนานพระแสงดาบคาบค่าย ก็ใช้หน่วยนี้


    หน่วยแซบเปอร์หรือหน่วยก่อวินาศกรรมของพระองค์คือ หน่วยทหารขนาดเล็กสุด 1-5คน ภารกิจของหน่วยนี้คือ แฝงตัวเป็นคนไทยเชลย หรือ ทหารหนีทัพ เพื่อลอบเผาค่าย เสบียงกรัง กระสุนดินดำ และเป็นไส้ศึกคอยส่งข่าวสารให้พระองค์ได้ทราบความเคลื่อนไหว ถูกพม่าจับได้ตัดหัวเสียบประจานหน้าค่ายก็หลายครั้ง แต่ก็มีผู้อาสาอยู่ไม่ขาด(คำให้การนายกองมอญที่แปรพักต์มาเข้ากับฝ่ายไทย )


    หน่วยคอมมานโดของพระองค์คือ หน่วยทหารขนาดกอง 100-500คน ภารกิจของหน่วยนี้คือ คอยสนับสนุนหน่วยจู่โจม พระองค์ใช้ทหารพวกนี้เป็นกลศึกทุกครั้งจนพม่าเข็ดขยาด ไม่กล้าติดตามหากพระองค์ล่าถอย ในศึกยุทธหัตถี ทหารพวกนี้คือทหารหน้าช้างต้นของพระองค์ ทำหน้าที่ปกป้องพระองค์เป็นด่านแรก ก่อนถึง 75หน่วยทะลวงฟันดาบสองมือ และ จาตุลังคบาท เป็นด่านสุดท้าย ทหารพวกนี้พระองค์ให้ไปตั้งกองอยู่ตามป่า


    พลซุ่มยิงของพระองค์คือ หน่วยทหารปืนคาบศิลา พระองค์ใช้หน่วยนี้ในการยิงทหารที่อยู่บนเชิงเทินค่ายที่ทำหน้าที่ยิงปืน ใหญ่ พระองค์ใช้ทหารพวกนี้ทุกครั้งในการตีเมืองข้าศึก บางครั้งก็ใช้เพื่อต่อสู้กับทหารฮอลันดาที่พม่าจ้างมารบ ในกองทัพสมัยพระองค์ทหารกองธนูหน้าไม้ มีไว้ใช้รักษาพระนครเท่านั้น


    ปืนใหญ่อัตตาจร เป็นครั้งแรกในย่านนี้ที่มีการขนปืนใหญ่ลงเรือสำเภาขนาดเล็ก เป็นหน่วยสนับสนุนทหารราบกองต่างๆ พระองค์ทรงนิยมที่จะเดินทัพเลียบไปตามแม่น้ำเสมอ และบางครั้งพระองค์จะสั่งให้ทหารทัพหน้า แสร้งทำทีร่นถอย เพื่อมาที่ริมน้ำให้เข้าระยะยิงของปืนบนเรือ ในการศึกแถววิเศษชัยชาญ พระองค์ทรงทราบว่าทัพหลวงของพม่ามาตั้งทัพที่ริมแม่น้ำปากคลองวิเศษชัยชาญ พระองค์ทรงนำเรือสำเภาเล็กติดปืนใหญ่ระดมยิงค่ายพม่าจนต้องเลิกค่ายหนี ในขณะที่กองทัพบกซุ่มคอยทีตีขนาบ ศึกครั้งนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งเป็นแม่ทัพหลวงหลบหนีไปได้ พม่าแตกพ่ายไม่เป็นหมวดเป็นกอง


    หน่วยลาดตระเวนระยะไกล เป็นกองทหารม้าขนาด200-500คน ใช้ลาดตระเวณเพื่อรับข่าวจากกองสอดแนมและทำลายกองทหารพม่าขนาดเล็กที่ออกหา เสบียง บางครั้งทหารหน่วยนี้ลาดตระเวณไปไกลถึงเชียงใหม่ กองทหารม้าลาดตระเวนระยะไกลนี้ พระองค์ส่งออกไปทั้ง4ทิศของพระนคร หากเมื่อเกิดศึกใหญ่ กองทหารม้าพวกนี้จะกลับมารวมกับทัพใหญ่เสมอ


    ผู้ตรวจการหน้า พระองค์จะใช้ทหารระดับพระยา เป็นอาญาศึกต่างพระเนตรพระกรรณเพื่อคอยรายงานสถานการณ์ของกองทัพขณะทำศึก และคอยส่งคำบังคับบัญชาของพระองค์ในกลศึกต่างๆไปยัง ผบ.เหล่าทัพที่รบอยู่ผู้ตรวจการหน้านี้สามารถประหารทหารทุกคนทุกระดับได้ ทันทีหากไม่ทำตามบัญชา และผู้ตรวจการหน้านี้เองที่เป็นผู้ถวายคำแนะนำและรายงานผลการรบในแนวหน้า เพื่อให้พระองค์วินิจฉัยและสั่งการ


    กองสื่อสารในกองทัพของพระองค์ มีทหารม้าคอยทำหน้าที่ส่งข่าวสารและคำบังคับบัญชา ถ่ายทอดคำสั่งของผู้ตรวจการหน้าไปยังแม่ทัพนายกองทั้งหลาย กองทัพของพระองค์จึงมีแบบแผนในการศึกอย่างทันท่วงทีเสมอ ต่างจากพม่าที่ใช้สัญญาณกลอง และธงเป็นหลัก การที่พระองค์ใช้กองสื่อสารถ่ายทอดคำสั่งไปตามลำดับชั้นนั้น ทำให้พม่าไม่สามารถทราบการเคลื่อไหวในการสั่งการของกองทัพพระองค์ได้ อีกทั้งเครื่องแต่งกายของทหารในกองทัพไทยสมัยของพระองค์นั้นไม่แบ่งสีตาม หลักพิชัยสงครามเดิม พม่าไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ตรงไหนทัพหน้า ตรงไหนกองทะลวง ตรงไหนกองดั้งกองโตมร ถือได้ว่าระบบการสื่อสารสั่งการในกองทัพพระองค์นั้นล้ำยุคอย่างน่าอัศจรรย์



    หลักการสงครามของพระองค์นั้นคือ เลือกกระทำการโดยข้าศึกไม่รู้ตัว ออกรบก่อนไม่ตั้งมั่นให้ข้าศึกเข้าตีรวมกำลังให้มากกว่าข้าศึกและรบเฉพาะ ตำบลถึงข้าศึกจะมีกำลังเป็นแสนคนแต่ก็แยกกันอยู่ พระองค์เป็นผู้นำทหารออกรบเองทุกครั้งมีความกล้าหาญและมีวินัยสูง ใช้กองทหารพิเศษต่างๆเป็นกำลังส่วนน้อยทำการรบอย่างรวดเร็ว โดยสงวนกำลังส่วนใหญ่ไว้รักษาพระนคร ซุ่มตีรบกวนข้าศึกอย่างรุนแรงมิให้เข้าประชิดพระนครได้โดยง่าย


    คัดลอกจาก (87067) เบญจเสนา 5ทัพ : รูปแบบกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    รูปแบบกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    รูปแบบกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    [​IMG]


    ในการศึกครั้งสำคัญ คือศึกยุตถหัตถีนั้น พระองค์ทรงจัดกองทัพเพื่อรับข้าศึกในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ เป็นตำราศึกที่พระองค์ทรงคิดขึ้นเองเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ เพราะพระองค์ประสงค์จะใช้ความไม่รู้ของข้าศึกเพื่อเป็นการแก้ข้อด้อยที่กองทัพไทยมีกำลังน้อยกว่า พม่ามีพลถึงสองแสนสี่หมื่นคน พระองค์มีเพียงเจ็ดหมื่นห้าพันคนเท่านั้น ไทยต้องรบแบบหนึ่งต่อสาม พระองค์ทรงแบ่งกองทัพเจ็ดหมื่นห้าพันคนออกเป็นห้าส่วน ห้ากองทัพ ในแต่ละกองทัพจะมี กองหน้า กองหลัง ปีกซ้าย ปีกขวา กองหลวง ให้แต่ละกองทัพออกรับข้าศึกพร้อมกัน แล้วให้แต่ละทัพตีตัดทัพพม่าออก เป็นห้าส่วนให้ได้ เพื่อแยกกำลังทหารข้าศึกมิให้รุมรบได้ ส่วนกองทัพหลวงของพระองค์และพระอนุชานั้นจะทรงรับมือกับกองทัพหลวงของพระมหาอุปราชาเอง ในแต่ละทัพของพม่านั้นพระองค์ทรงทราบดีว่าใครเป็นนายทัพ พระองค์ทรงรู้ฝีมืออยู่ทุกคน พระองค์จึงจัดแม่ทัพไทยในแต่ละทัพได้อย่างเหมาะสมเพราะทรงรู้จักฝีมือขุนทหารคู่ใจทุกคนดีว่าใครเหมาะกับใคร

    เมื่อกองทัพพม่าแตกออกเป็นห้าส่วนตามแผนที่ทรงวางไว้นั้น พระองค์ทรงยกทัพหลวงพุ่งตรงไปตามช่องที่ว่างมุ่งสู่ทัพหลวงของพระมหาอุปราช พม่าทันที แล้วผลการรบก็ออกมาเป็นที่ประจักษ์ในฝีมือการรบบนหลังช้างของพระองค์ที่ทรง รู้ทางพระมหาอุปราชพม่าเป็นอย่างดี เพราะทรงคุ้นเคยกันมาก่อนเมื่อครั้งไปเป็นตัวประกันที่หงสาวดี

    พระเกียรติยศจากการศึกครั้งนี้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว บรรดาทหารต่างชาติทั้งสองฝ่ายต่างจดบันทึกการศึกครั้งนี้ไว้เป็นตำราศึกแบบใหม่ เกิดการชำระพิชัยสงครามครั้งใหญ่ในหลายอาณาจักร แบบอย่างเบญจเสนาห้าทัพนี้ ถูกนำไปใช้ในกองทัพยุคต่อมาอย่างดีเลิศ แม้แต่พม่าเองก็ยังเปลี่ยนมาใช้รูปแบบนี้ในยุคต่อมา การจัดกำลังทหารเป็นหน่วยพิเศษ หน่วยย่อยขนาดเล็ก เพื่อต่อตีรบกวนข้าศึกแบบพระองค์ ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในสงครามครั้งต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัจฉริยะทางการทหารโดยแท้ หลักฐานทาง ปวศ.ของพม่า โปรตุเกส ฮอลันดา ญี่ปุ่น จีน มลายู ทั้งจารึก ใบลาน ตำราโบราณ พงศาวดารต่างกล่าวถึงเบญจเสนาห้าทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นี้อย่างกว้างขวาง ส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาว่างศึกไปนานถึง หนึ่งร้อยแปดปี



    [​IMG]


    สำหรับการจัดทัพดังกล่าวได้แก่ครั้งเมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงหนองสาหร่าย ก็ทรงให้กองทัพพระศรีไสยณรงค์ กับ พระราชฤทธานนท์ ซึ่งออกไปขัดตาทัพอยู่ก่อนที่ลำน้ำท่าคอย เลื่อนออกไปขัดตาทัพที่ดอนระฆัง ส่วนกองทัพหลวงก็ทรงให้เตรียมค่ายคู และกระบวนทัพที่จะรบข้าศึก ด้วยคาดว่าคงจะได้ปะทะกันในวันสองวันเป็นแน่ เพราะกองทัพของทั้งสองฝ่ายอยู่ใกล้กันมากแล้ว พระองค์ทรงจัดทัพเป็นขบวน เบญจเสนา 5 ทัพ ดังนี้


    ทัพที่ 1 เป็นกองหน้า ให้พระยาสีหราชเดโชชัยเป็นนายทัพ พระยาพิชัยรณฤทธิ์ เป็นปีกขวา พระยาวิชิตณรงค์ เป็นปีกซ้าย


    ทัพที่ 2 เป็นกองเกียกกาย ให้พระยาเทพอรชุน เป็นนายทัพ พระยาพิชัยสงคราม เป็นปีกขวา พระยารามคำแหง เป็นปีกซ้าย


    ทัพที่ 3 เป็นกองหลวง สมเด็จพระนเรศวร ทรงเป็นจอมทัพ พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าพระยามหาเสนา เป็นปีกขวา เจ้าพระยาจักรี เป็นปีกซ้าย


    ทัพที่ 4 เป็นกองยกกระบัตร ให้พระยาพระคลัง เป็นนายทัพ พระราชสงคราม เป็นปีกขวา พระรามรณภพ เป็นปีกซ้าย

    ทัพที่ 5 เป็นกองหลัง ให้พระยาท้ายน้ำ เป็นนายทัพ หลวงหฤทัย เป็นปีกขวา หลวงอภัยสุรินทร์เป็นปีกซ้าย


    ค่ายที่หนองสาหร่ายนี้ ทรงให้ตั้งเป็นกระบวนปทุมพยุหะเป็นรูปดอกบัว และเลือกชัยภูมิครุฑนาม เพื่อข่มกองทัพข้าศึกซึ่งตั้งในชัยภูมินาคนาม ตามหลักตำราพิชัยสงคราม


    ครั้นถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ พระยาศรีไสยณรงค์บอกมากราบทูลว่า ข้าศึกยกกองทัพใหญ่พ้นบ้านจรเข้สามพันมาแล้ว สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้กองทัพทั้งปวง เตรียมตัวรบข้าศึกในวันรุ่งขึ้น แล้วสั่งให้พระยาศรีไสยณรงค์ ยกออกไปหยั่งกำลังข้าศึก แล้วให้ถอยกลับมา


    ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเครื่องพิชัยยุทธ ให้ผูกช้างพระที่นั่งชื่อ พลายภูเขาทอง ขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยาไชยานุภาพ เป็นพระคชาธารของพระองค์ มีเจ้ารามราฆพเป็นกลางช้าง นายมหานุภาพเป็นควาญ อีกช้างหนึ่งชื่อพลายบุญเรือง ขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นพระคชาธารสมเด็จพระเอกาทศรถ มีหมื่นภักดีศวรเป็นกลางช้าง ขุนศรีคชคงเป็นควาญ พร้อมด้วย นายแวง จตุลังคบาท พวกทหารคู่พระทัยสำหรับรักษาพระองค์




    คัดลอกจาก (87067) เบญจเสนา 5ทัพ : รูปแบบกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434


    ใครหนอคือผู้ส่งข่าวสาร การจัดทัพของพม่า มาถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คนๆนี้หรือคนกลุ่มนี้ ได้ส่งข่าวที่เที่ยงตรง แม่นยำ ถูกต้อง และส่งมาทันท่วงที เป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อการวางแผนการรบ

    จากหน้า 14 ท่านพี่จงรักภักดีเขียนไว้ว่า


    เอาเรื่องนี้กลับมาคิดใหม่เพราะข้อมูลสอดคล้องกับที่ท่านพี่จงรักภักดีได้ตั้งข้อสังเกตุไว้ค่ะ
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขออาราธนาพระสยามเทวาธิราช ทรงคุ้มครองประเทศไทย

    [​IMG]

    คาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช

    สะยามะเทวาธิราชา เทวาติเทวา
    มะหิทธิกา เทยยะรัฏฐัง อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา

    สะยามะเทวานุภาเวนะ สะยามะเทวะเตชะสา
    ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททะวา
    อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต
    ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิภาคยัง สุขัง พะลัง
    สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒิ จะ
    ยะสะวา สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เม ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Siamtewa1.jpg
      Siamtewa1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.4 KB
      เปิดดู:
      2,024
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 73-74


    สงครามยุทธหัตถี

    <O:p</O:p
    เสร็จศึกด้านพม่าไปแล้ว พระนเรศวรก็หันมาด้านเขมรดำรัสกับเสนาข้าราชการว่า แผ่นดินกัมพูชากุรุราฐนั้น ผู้ใดครองสมบัติมักมีสันดานพาลทุจริต เหมือนพระยาละแวก เมื่อศึกหงสาครั้งแรกสมัยพระอัยกานั้น พระยาละแวกก็มาซ้ำเติมเอา ตีกวาดเอาคนเมืองปราจีนบุรีไป จนพระอัยกาต้องยกไปปราบจึงถวายราชบุตรสองคนมา ต่อมานักพระสัตถาชิงราชสมบัติได้เป็นพระยาละแวกต่อมา ในแผ่นดินพระราชบิดาเรา ก็ยกทัพจู่โจมเข้ามาถึงวัดสามพิหาร จนเสียพระจำปาลูกชายไป ก็ยังหาเข็ดไม่ มีศึกหงสาติดพระนครครั้งใดก็ยกทัพมาตีซ้ำเติม กวาดเอาราษฎรไปทุกครั้ง แล้วแต่งทูตมาขอทำไมตรี พระบิดาเราก็มิได้อาฆาต จนปักเขตปักเสาศิลารึกกันครั้นทัพเชียงใหม่ยกมา พระยาละแวกก็ให้น้องชายมาช่วย แต่น้องชายก็เป็นคนขาดสติปัญญา ส่วนพระยาละแวกก็ขาดวิจารณปัญญา กลับยกทัพมาตีชายแดนอีก ความแค้นของเราดั่งเสี้ยนยอกอยู่ในอก ครั้งนี้แผ่นดินเป็นของเราแล้ว จะไปแก้แค้นเอาโลหิตพระยาละแวกล้างตีนเสียให้จงได้ ตรัสแล้วก็ให้เตรียมทัพเหยียบแสน น้ำแห้งเท้าช้าเท้าม้าแล้วจะยกไป

    <O:p</O:p
    ขณะนั้นเป็น พ.ศ. 2135 นันทะบุเรงชราภาพลง เกรงเมืองขึ้นจะเอาใจออกห่าง เอาอย่างเมืองไทยหมดจึงตรัสตัดพ้อในที่ประชุมขุนนางว่า ไม่มีใครตั้งใจปราบปรามไทยจริงจัง พระยาลาวทูลว่ากำลังของกรุงศรีอยุธยาจะเอาเพียง 1 ใน 3 ของกรุงหงสาวดีก็มิได้ แต่พวกไทยกลัวพระนเรศวรมากกว่ากลัวตาย ศึกจึงกล้าแข็งนัก ถ้าจะเอาชัยให้ได้ต้องคัดเจ้านายที่เข้มแข็งในการสงครามหลายๆองค์เป็นแม่ทัพคุมไป

    <O:p</O:p
    นันทะบุเรงตรัสว่า พระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีบุตรการสงครามไม่พักให้พระบิดาใช้เลย ต้องห้ามเสียอีก ส่วนเราเป็นคนอาภัพมิรู้จะใช้ใคร พระมหาอุปราชาได้ฟังก็รู้สึกอัปยศยิ่งนักทั้งที่โหรทำนายว่าเคราะห์ร้าย แต่ด้วยขิตติยะมานะจึงทูลรับอาสา


    [​IMG]

    <O:p</O:p
    ันทะบุเรงให้เกณฑ์ทัพ 300,000 แบ่งเป็น 5 ทัพให้เจ้าเมืองมางจาปะโรเป็นทัพหน้า พระมหาอุปราชาเป็นทัพหลวง พระเจ้าแปรซึ่งเป็นราชบุตร นัดจินหน่องราชนัดดาและพระเจ้าเชียงใหม่ พระอนุชา เป็นทัพหนุน ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์และด่านแม่ละเมาพร้อมกัน

    <O:p</O:p
    ฝ่ายพระนเรศวรกำลังเกณฑ์ทัพจะยกไปตีเมืองละแวกและสั่งให้มุขมนตรีผู้ใหญ่ให้รักษาพระนครไว้ หากหงสาวดียกมาก็ให้รักษาเมืองไว้คอยพระองค์เดือนหนึ่งให้ได้ ครั้นตอนเย็นวันนั้นทางเมืองกาญจนบุรีก็บอกเข้ามาว่า พระมหาอุปราชากับพระเจ้าเชียงใหม่ ยกมาถึงเมืองกาญจนบุรี กำลังทำสะพานข้ามอยู่แล้วพระนเรศวรพอทราบก็ตรัสว่า เราเทียบช้างม้ารี้พลไว้จะยกไปเอาเมืองละแวก บัดนี้ทัพหงสาวดียกมาอีกเล่า จำเราจะยกออกไปเล่นสนุกกับมอญเสียก่อน แล้วสั่งพระอมรินทร์ลือชัยเจ้าเมืองราชบุรีแต่งคน 500 ออกไปซุ่มอยู่ เมื่อข้าศึกข้ามสะพานแล้วให้เผาสะพานเสียนี่ก็แปลว่าพระองค์ให้ตัดทางถอยของข้าศึกเสีย
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระมหาอุปราชายกมาถึงกาญจนบุรีเห็นเมืองร้างไม่มีคนเลย ก็เข้าพระทัยว่าไทยรู้ตัวแล้ว จึงพักแรมในเมืองกาญจนบุรี ให้ทหารไปลาดตระเวนจับคนไทยให้ได้สักคน แต่ก็ไม่พบสักคน รุ่งขึ้นจึงเดินทัพต่อมาถึงพนมทวนเวลาสามนาฬิกา เกิดพายุพัดหอบธุลีฟุ้งเห็นเป็นกงจักร กระทบเศวตฉัตรบนช้างพระที่นั่งหักทบลง พระมหาอุปราชาถามโหรประจำทัพ โหรทูลว่าเป็นศุภนิมิตที่พระองค์จะมีชัยได้พระนครศรีอยุธยา พระราชบิดาจะเลื่อนพระองค์จากมหาอุปราชาให้ได้ครองเศวตฉัตรกรุงหงสาวดีเป็นมั่นคง พระมหาอุปราชาฟังโหรว่าก็ไม่ค่อยเชื่อนัก ให้ตั้งทัพ ณ พังตรุ แดนสุพรรณบุรี

    <O:p</O:p
    พระนเรศวรตรัสถามลองปัญญามุขอำมาตย์ทั้งปวงว่า เราจะยกออกรบกลางแปลงดี หรือจะตั้งมั่นในพระนครดี มุขมนตรีทั้งปวง ทูลว่าการตั้งรับในกรุงข้าศึกจะได้ใจ ขอเชิญเสด็จออกปะทะฟังกำลังดูก่อน ถ้าศึกหนักจึงใช้ทัพหลวงออกหักในภายหลัง พระนเรศวรตรัสว่าตรงกับความดำริของเรา จึงให้พระยาศรีไสยณรงค์ กับ พระยาราชฤทธานนท์ถือพล 23 หัวเมืองเป็นคนห้าหมื่นไปตั้งรับหน้าข้าศึกอยู่ที่ทุ่งหนองสาหร่ายแขวงสุพรรณบุรีก่อน ส่วนพระองค์กับพระอนุชายกออกจากพระนคร ในวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้น 11 ค่ำ เคลื่อนพลไปทางเรือ ขึ้นพักที่ป่าโมก
     

แชร์หน้านี้

Loading...