เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 5 เมษายน 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,385
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,367
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,385
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,367
    วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ พรุ่งนี้จะเป็นวันจักรีบรมราชวงศ์ เดือนเมษายนมีวันสำคัญ ทั้งเกี่ยวข้องกับสถาบันและวัฒนธรรมประเพณีไทยอยู่ค่อนข้างจะมาก ก็คือตั้งแต่วันพระราชสมภพในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แล้วก็มาวันจักรีบรมราชวงศ์ วันสงกรานต์ วันผู้สูงอายุ วันครอบครัว

    ถ้าหากว่าเป็นทางด้านเหนือก็ยังมีวันพญาวัน วันสังขารล่อง ซึ่งเป็นความเชื่อถือของแต่ละพื้นที่ซึ่งแตกต่างกันไป แม้กระทั่งทางด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ยังมีวันที่ ๒๔ เมษายน เป็นวันเทศบาล

    สมัยที่กระผม/อาตมภาพยังเด็กอยู่ บริเวณเขตที่เจริญเป็นได้แค่สุขาภิบาล แล้วหลังจากนั้นกฎเกณฑ์กติกาก็มีมากขึ้น อย่างเช่นว่าต้องมีพลเมืองเท่าไร เก็บภาษีได้เท่าไร ก็มีการปรับขึ้นมาเป็นเทศบาล ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร แต่ว่าบางแห่งก็ยังคงเป็นสุขาภิบาลอยู่ โดยมีเทศบัญญัติ ก็คือกฎเกณฑ์กติกาที่ทางเทศบาลนั้น ๆ ออกมา เป็นกฎหมายที่เล็กที่สุด ก็คือบังคับใช้เฉพาะในพื้นที่ของตน

    ถ้าเราไม่ทำตามนี่ถือว่าผิดกฎหมาย เพียงแต่ว่าเทศบัญญัตินั้นจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายอื่น ๆ โดยเฉพาะต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ทำไมเลี้ยวมาถึงตรงนั้นได้ ? ชักจะไปไกลแล้ว..!

    คราวนี้ทองผาภูมิของเรา โดยเฉพาะในส่วนของตำบลท่าขนุนเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะว่าตำบลเดียวมีสองเทศบาล ยังไม่มีสถานที่ไหนเหมือนกับท่าขนุน เนื่องเพราะว่าเมื่อขอตั้งเป็นเทศบาลขึ้นมา ในบริเวณส่วนที่ขีดเส้นวงไว้ว่าเป็นส่วนที่เจริญแล้ว มีการจ่ายภาษีเงินได้อย่างสม่ำเสมอ เพียงพอที่จะให้บริหารงานแบบเทศบาลได้ เขาก็ไปตั้งชื่อว่าเทศบาลตำบลทองผาภูมิ ทั้ง ๆ ที่อยู่ในตำบลท่าขนุน..!

    ดังนั้น..ตำบลทองผาภูมิ จึงเป็นตำบลเฉพาะในส่วนของเทศบาลเท่านั้น ไม่ใช่ตำบลที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องมีกำนันคอยดูแลอยู่อย่างแท้จริง แต่ว่าในส่วนนี้ ถ้าไปในกรุงเทพฯ เขาก็ไม่มีตำบล ไม่มีอำเภอ หากแต่เปลี่ยนเป็นแขวง เป็นเขตแทน

    เหมือนอย่างสมัยรุ่นพ่อ รุ่นปู่ของกระผม/อาตมภาพนั้น เขาแบ่งการปกครองเป็นมณฑล ในส่วนที่บ้านเกิดของกระผม/อาตมภาพนั้นอยู่ในมณฑลนครชัยศรี ซึ่งกินพื้นที่ทั้งจังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสุพรรณบุรี รวมกันเป็นอย่างน้อย แล้วบางพื้นที่อย่างบ้านยาง ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในเขตอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สมัยก่อนนั้นขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี

    พวกท่านทั้งหลายนึกไม่ออกหรอก เพราะว่าไม่เคยเห็น ก็คือการเดินทางสมัยก่อนนั้น จากกรุงเทพฯ ต้องวิ่งมาทางด้านบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีก่อน แล้วถึงจะอ้อมลงไปทางด้านอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จนกระทั่งมีการตัดถนนสายใหม่ คือถนนมาลัยแมนขึ้นมา ถึงจะวิ่งผ่านอำเภอเมืองนครปฐม ผ่านอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ไปออกอำเภอสองพี่น้อง อำเภออู่ทอง ของจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้เส้นทางที่วิ่งจากกรุงเทพฯ ราชบุรี ไปสุพรรณบุรีหายไป ก็คือไม่ได้ใช้งานอีก
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,385
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,367
    เพราะฉะนั้น..ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายไปฟังเพลงเก่า ๆ อย่างเช่นนิราศรักนครปฐมของไพรวัลย์ ลูกเพชร ที่เนื้อร้องมีว่า "รถเมล์รับจ้างประจำทางสายเพชรบุรี ผ่านองค์ปฐมเจดีย์ สีทองมองสูงตระหง่าน ฯลฯ" อย่าไปสงสัยว่าทำไมเป็นสายเพชรบุรีแล้วผ่านนครปฐม เพราะสมัยก่อนพื้นที่เขาทับซ้อนกันอยู่

    คราวนี้เมื่อมีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ก็ต้องมีการกำหนดเขตพื้นที่กันใหม่ โดยเฉพาะในส่วนของบ้านเรา ก็คือทองผาภูมินี่สลับซับซ้อนมาก ก่อนหน้านั้นเป็นเมืองท่าขนุน จากท่าขนุนเป็นเมืองท้องผาภูมิ ไม่ใช่ทองผาภูมิ มีไม้โทด้วย แต่คราวนี้ไปขึ้นอยู่กับกิ่งอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิมาตั้งขึ้นทีหลัง ประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ ถึงได้เริ่มเป็นเมืองทองผาภูมิขึ้นมา เมืองท่าขนุนที่เป็นชื่อบ้านนามเมืองตั้งแต่ดั้งเดิม ก็เลยลดความสำคัญลงมา เหลือแค่ตำบลท่าขนุน

    ถ้าเอาแค่ตำบลท่าขนุนนี้ กระผม/อาตมภาพอยากจะบอกว่า น่าจะเป็นตำบลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพราะว่าปัจจุบันนี้ตำบลท่าขนุนโดนหั่นออกไปเป็นตำบลสหกรณ์นิคม เป็นตำบลห้วยเขย่ง แล้วยังเป็นตัวตำบลท่าขนุนเองอีกต่างหาก ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าเรื่องพวกนี้ ถึงเวลาไม่มีการบอกกล่าว ไม่มีการเล่าสู่กันฟัง ก็จะค่อย ๆ สูญหายไปเรื่อย เพราะว่าสังคมและวัฒนธรรมของเราเปลี่ยนแปลงไป

    สมัยกระผม/อาตมภาพเด็ก ๆ ชอบฟังคนแก่คุย คนแก่ถ้าได้เล่าเรื่องความหลังจะมีความสุขมาก กระผม/อาตมภาพเป็นเด็ก ก็ไปถามโน่น ถามนี่ ถามนั่นไปเรื่อย ท่านก็เล่าให้ฟังไปเรื่อย จนกระทั่งหลายบ้านเข้าใจผิด ก็คือตอนแรกคิดว่ากระผม/อาตมภาพไปจีบลูกสาวเขา แต่ปรากฏว่าไปคุยกับพ่อแม่ ปู่ย่าตายายของเขา ไม่คุยกับลูกสาวเลย..! จนกระทั่งหลายบ้านตอนหลังยังบอกว่า "มองผิดไปหน่อย" ก็คือคิดว่ามาหาลูกหาหลาน ที่ไหนได้ มาหาแต่คนแก่..!

    ก็คือถ้าคนแก่เขามีความถนัดหรือชำนาญในเรื่องอะไร ที่กระผม/อาตมภาพสนใจจะศึกษา ก็จะไปสอบถาม ศึกษาหาความรู้ เพราะว่าเขามีความเชี่ยวชาญด้านนั้นเป็นพิเศษ หรือบางอย่างถ้าเขาหวงวิชาไม่ยอมสอน ก็ใช้วิธี "ครูพักลักจำ" ก็คือในช่วงที่เราอยู่ ก็แอบจดจำว่าเขาทำอย่างไรบ้าง แล้วเมื่อถึงเวลาเราก็มาเลียนแบบ ลองผิดลองถูก จนกว่าจะทำถึง คือได้อย่างที่เขาเคยทำ

    สมัยก่อนนั้นการขึ้นบ้านไหนเรือนไหนก็สามารถไปอาศัยพักได้ เจ้าของบ้านยินดีต้อนรับ ถึงขนาดมีการผูกเป็นโคลงเป็นกลอนเอาไว้ว่า "ตามธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ อย่างเลิศดีตามมีและตามเกิด ให้เพลินเพลิดกายากว่าจะกลับ ฯลฯ"
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,385
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,367
    ธรรมเนียมในสมัยก่อน ถึงเวลาล้อมวงกินข้าวกันอย่างหนึ่ง ล้อมรอบกองไฟอย่างหนึ่ง ผู้ใหญ่ก็จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประสบการณ์ ทั้งที่เป็นเรื่องราวของเชื้อสายตระกูลตนเอง ทั้งที่เป็นส่วนของความรู้ เป็นตำนาน เป็นความเชื่อที่สืบเนื่องกันมารุ่นต่อรุ่น ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้รู้เอาไว้ เมื่อถึงเวลาจะได้จดจำ และบอกกล่าวสืบ ๆ กันไป จนกระทั่งมีคำพูดว่า "ของกิน..ถ้าไม่กินก็เน่า เรื่องเล่า..ถ้าไม่เล่าก็ลืม"

    คราวนี้พอธรรมเนียมเปลี่ยนไป โดยเฉพาะมายุคหลัง ๆ บรรดาลูกหลานมักจะไปทำงานต่างจังหวัด ถ้าเป็นต่างจังหวัด ลูกหลานก็มาทำงานในกรุงเทพฯ เรื่องพวกนี้ก็ค่อย ๆ เลือนลาง จืดจางไปจากครอบครัวของเรา โดยเฉพาะครอบครัวระยะหลัง ไม่ใช่ "ครอบครัวขยาย" เหมือนสมัยก่อน สมัยก่อนพ่อแม่ปู่ย่าตาทวดอยู่ที่ไหน ลูกหลานพอแต่งงานมีครอบครัว ก็แยกบ้านเรือนไปปลูกกันอยู่ใกล้ ๆ

    อย่างพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง ท่านบอกว่า "ถ้าใครมาอ้างว่าเป็นญาติของข้า แกไม่ต้องฟังเลย" ท่านบอกว่ายายมีลูก ๙ คน แยกย้ายกันอยู่ ตำบลสาลีนี่แทบจะเป็นญาติกันทั้งหมด เพราะว่าลูกคนนั้น หลานคนนี้ ถึงเวลาก็แบ่งปันที่ดินให้ ปลูกบ้านสร้างบ้านกันไป แต่พอมาระยะหลัง เขานิยมการแยกครอบครัวออกไปเป็น "ครอบครัวเดี่ยว" ก็เลยทำให้สังคมครอบครัวล่มสลาย ยังไม่ทันจะถึงวันสงกรานต์เลย นี่มาพูดถึงวันครอบครัวแล้ว

    คำว่า สังคมครอบครัวล่มสลาย ก็เพราะว่าไม่มีพ่อแม่ ปู่ย่าตายายคอยดูแล พ่อแม่ก็ออกไปทำงาน แล้วการแยกครอบครัวออกไป ก็ไม่มีปู่ย่าตายายคอยดูแลลูกหลานให้ เด็ก ๆ ก็เลยกลายเป็นอยู่กับพี่เลี้ยง บางทีก็พูดพม่า หรือเว้าลาวได้ก่อนภาษาไทยเสียอีก..!

    คนเป็นพ่อเป็นแม่ ด้วยความรักลูก จะทำอย่างไร ? ก็เลี้ยงลูกด้วยเงิน ให้ลูกอยู่กับโทรศัพท์ ก็เลยทำให้บรรดาเยาวชนรุ่นหลังของเราวิปริตผิดเพี้ยนไปหมด สิ่งที่ควรรักก็ไม่รัก ควรเคารพก็ไม่เคารพ ควรกตัญญูก็ไม่กตัญญู เพราะว่าไม่มีผู้ใหญ่คอยถ่ายทอดแนวคิดพวกนี้ไว้ให้ แล้วยิ่งถ้าได้รับการศึกษาสูง ๆ มาจากต่างประเทศ ก็รับเอาแนวคิดของฝรั่ง ที่ตนเองไปคิดว่าเจริญกว่าเข้ามา แล้วก็พยายามที่จะเปลี่ยนสังคมไทยให้เป็นไปแบบนั้น โดยที่ไม่ได้ดูบริบทว่าบ้านเราเมืองเรา กับประเทศตะวันตกนั้นต่างกันขนาดไหน ?!
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,385
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,367
    ดังที่เราจะได้เห็นว่า ตั้งแต่ "คณะราษฎร์" ยึดพระราชอำนาจจากในหลวงรัชกาลที่ ๗ มาถึงปัจจุบัน ไอ้เรื่องที่วุ่นวายฉิบหายวายป่วงในบ้านเราทั้งหมดนี่ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากพวกเรียนต่างประเทศแทบทั้งนั้น..!

    จะไปว่าไปกล่าวอะไรก็ไม่ได้ สมัยก่อนรุ่นผม ถ้าหากโดนด่าว่า "ไม่มีพ่อแม่สั่งสอน" นี่ โกรธกันชนิด "ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ" เลย แต่รุ่นนี้ไปด่าว่า "พ่อแม่ไม่สั่งสอน" ดันยิ้มรับ เพราะไม่มีพ่อแม่สั่งสอนจริง ๆ พ่อแม่มัวแต่ทำมาหากินอยู่..!

    เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลของเราควรที่จะตระหนักไว้ หรือว่าผู้ปกครองควรที่จะตระหนักไว้ โดยเฉพาะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำอย่างไรที่จะพยุงสถาบันครอบครัวให้เป็นปึกแผ่นแน่นหนา สามารถมีการถ่ายทอดความรู้ หรือประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น สิ่งใดที่เป็นของดีของวิเศษของเราแต่ดั้งแต่เดิม ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทิ้งเพื่อที่ไปหาของใหม่จากประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องเพราะว่าทุกวันนี้ สังคมตะวันตกโหยหารูปแบบสังคมบ้านเรา ก็คือมีลูกหลานคอยดูแลผู้ใหญ่

    สังคมตะวันตกนั้น พอพ้น "วัยทีน" ก็คืออายุ ๑๙ ไปแล้ว ก็เป็นอันว่าคุณออกไปหากินเอง อยู่ได้อยู่ไม่ได้ก็เรื่องของคุณ ผู้ใหญ่แก่ตัวไปก็ต้องไปอยู่สถานสงเคราะห์คนชรา ถ้าไม่ยอมไป ก็อยู่บ้านเหงา ๆ กับหมากับแมวเท่านั้น จนกระทั่งหลายคนทำพินัยกรรมยกมรดกหลายร้อยล้านให้หมาให้แมว เพราะว่าไม่มีลูกหลานคอยดูแล

    ในเมื่อฝรั่งเขาโหยหารูปแบบการดำรงชีวิตอย่างของบ้านเราเมืองเรา ทุกวันนี้เขามาแล้วก็ติดใจว่าบ้านเราทำไมดีอย่างนี้ แต่ว่าคนไทยจำนวนหนึ่งที่มีการศึกษาสูง ๆ กลับไปเห็นฝรั่งเป็นพ่อ เอาแนวคิด เอาวิธีการของเขา ที่ไม่ได้เหมาะสมกับบริบทบ้านเรามาใช้ ตัวเองมีแนวคิดแบบนั้นยังไม่พอ ยังไปปลุกปั่นเด็กที่เป็นเยาวชนของชาติ ต้องเป็นกำลังใหญ่ในวันหน้า ให้คิดผิดหลงผิดไปอีก

    จึงเป็นเรื่องที่พวกเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องช่วยกันแก้ไข ต่อให้แก้อะไรไม่มาก เห็นแล้วพูดออกมาก็ยังดีว่าเราไม่เห็นด้วย อย่างน้อย ๆ เขาก็จะได้รู้สำนึก ไม่ใช่ว่าอะไร ๆ ก็เงียบ เป็น "พลังเงียบ" ที่ไม่รู้จักขยับอะไรเลย ถ้าอย่างนั้นก็ต้องบอกว่าเสียทีที่เกิดมาเป็นคนไทย มีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลัก แต่ปล่อยให้ไอ้เด็กหัวนอกมาย่ำยีสถาบันหลักเสียจนไม่เป็นผู้เป็นคนอย่างทุกวันนี้ รู้สึกว่าวันนี้จะไปไกลวัดไปหน่อยแล้ว..!

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันศุกร์ที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...