เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 17 มิถุนายน 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,373
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,373
    วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ กระผม/อาตมภาพบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนนี้ เวลาตี ๓ ครึ่งของเมืองไทย ซึ่งตรงกับตี ๒ ของที่นี่ อากาศอุ่นพรวดพราดขึ้นมาจาก ๑๔ องศาเซลเซียส เป็น ๑๙ องศาเซลเซียส ต้องขอบคุณ "นภิสราเทวี" ยายหนูตัวแสบ หรือที่กระผม/อาตมภาพไปพบมาก็คือ เธอดำรงตำแหน่งเจ้าแม่หลักเมืองประเทศเนปาล..!

    เมื่อถามว่าทำไมโผล่มาที่นี่ได้ ? คุณเธอบอกว่า "ถ้าหากว่าพระคุณท่านนึกถึงภาพเมืองดาร์จีลิงก์ ซ้ายมือก็คือเนปาล ข้างบนก็คือสิกขิม ขวามือก็คือภูฏาน " บริเวณนี้ทั้งหมดยังอยู่ใต้การรับผิดชอบดูแลของเจ้าแม่นภิสราเทวีนี่เอง

    ในเมื่อเจอคนคุ้นเคย กระผม/อาตมภาพที่รู้สึกว่าสังขารของตนเองปีนี้ชำรุดเป็นอย่างมาก เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ามีอาการกระดูกทับเส้น แล้วร้าวลงไปที่ขาข้างซ้าย บางจังหวะถึงขนาดหมดแรง ไม่สามารถที่จะค้ำยันตัวเองได้ ถ้าหากว่าเจอท่านอาจารย์บ๊ะ (พระอาจารย์ศิริชัย ชยธมฺโม วัดโพธิ์ลังกา) ท่านใช้เวลาแค่นาทีสองนาทีก็ช่วยให้เป็นปกติได้

    อาการนี้น่าจะเกิดจากการที่กระผม/อาตมภาพได้นั่งสมาธิในท่าพับเพียบมาเป็นเวลานานเกินกว่า ๔๐ ปีแล้วอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่ตนเองเดินบิณฑบาต สะพายบาตรมา ๓๐ กว่าปีนั้น เวลาอาหารหนัก ๆ ก็จะถ่วงไปด้านหนึ่ง ทำให้ต้องเกร็ง ต้องฝืนไปต้านเอาไว้ ประการสุดท้ายก็คือท่านอน ที่มักจะนอนตามความเคยชินเดิม ๆ ถึงเวลาก็เลยทำให้กระดูกกลับไปทับเส้นเหมือนเดิมทุกครั้ง

    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น จึงต้องพึ่งพาอาศัย "เทวีอำนาจ" ไม่ใช่ "เทวอำนาจ" ขอเธอช่วยอนุเคราะห์สงเคราะห์ ให้การเดินทางในครั้งนี้ไม่หนักหนาสาหัสจนเกินไปนัก ซึ่งก็เป็นไปได้อย่างใจแทบทุกประการ
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,373
    ครั้งที่แล้วซึ่งกระผม/อาตมภาพไปทิเบตนั้น อากาศโดยเฉลี่ยอยู่ที่ ๕ องศาเซลเซียส ท่านผู้เมตตาสามารถที่จะทำให้อยู่ที่ ๑๗-๑๘ องศาเซลเซียสตลอดการเดินทาง แต่ว่าทันทีทันใดที่ขึ้นรถไฟความเร็วสูงเพื่อลงมายังเมืองชิงไห่และเมืองซีหนิงนั้น อากาศก็ลดฮวบลงไปที่ ๑๑ องศาเซลเซียส หลังจากที่ออกมาได้ระยะหนึ่ง มีผู้ตรวจสอบด้วยโทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียม ปรากฏว่าลงมไปที่ ๙ องศาเซลเซียสแล้ว คาดว่าหลังจากที่คณะของพวกเราพ้นไปไม่นาน ก็คงจะกลับไปที่ ๕ องศาเซลเซียสตามเดิม

    ในที่นี้ขอเจริญพรขอบคุณนภิสราเทวี ตลอดจนกระทั่งบริษัทบริวารของเธอ และเจ้าที่เจ้าทางทั้งหลาย ที่รักษาตลอดเส้นทางการเดินทางในครั้งนี้ของคณะกระผม/อาตมภาพ บุญกุศลใดที่กระผม/อาตมภาพได้บำเพ็ญมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ โดยเฉพาะในส่วนของทาน ของศีล ของภาวนา ขอเธอทั้งหลายจงอนุโมทนา ประโยชน์และความสุขเท่าไรที่กระผม/อาตมภาพจะพึงได้รับ ก็ขอให้เธอและคณะทั้งหลายจงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    สำหรับวันนี้ขอเล่าถึงการเดินทางของเมื่อวาน ซึ่งพวกเรายังอยู่ที่เมืองดาร์จีลิงก์ ตั้งแต่ตอนช่วงเช้ามีเวลาเหลือเฟือมาก เพราะว่าทางด้านนี้นั้น เวลาแม้ว่าจะเดินช้ากว่าเมืองไทยถึงชั่วโมงครึ่ง แต่ว่าก็สว่างใกล้เคียงกัน จึงทำให้พวกเรากลายเป็นคนตกงาน กระผม/อาตมภาพที่เหลือหนังสืออยู่เพียงเล่มเดียว ก็ไม่สามารถที่จะอ่านหนังสือได้ เพราะกลัว
    ว่าจะหมด..! จะออกไปเดินถ่ายรูปข้างนอก ฝนฟ้าก็ตกพรำอยู่ตลอดเวลา อาจจะทำให้อาการมาลาเรียเรื้อรังกำเริบก็ได้ จึงกลายเป็นคนตกงานไปโดยปริยาย

    ตามกำหนดการเดิมของเขานั้น ช่วงเช้าห้องอาหารจะเปิดตอน ๘ โมงของที่นี่ ซึ่งก็คือ ๙ โมงครึ่งของเมืองไทย ตรงนี้ต้องขอบคุณคุณเอ (ฉัตตริน เพียรธรรม) หัวหน้าคณะทัวร์จากเอ็นซีทัวร์ของเรา และคุณสุเรศวร์มัคคุเทศก์ท้องถิ่นของที่นี่ ที่ไปช่วยเจรจาจนกระทั่งทางด้านโรงแรมที่พัก ก็คือโรงแรมซีดาร์ อินน์นั้น ยอมเปิดห้องอาหารให้เราตอน ๗ โมงเช้า ซึ่งก็ยังคงเท่ากับ ๘ โมงครึ่งของเมืองไทยอยู่ดี เมื่อฉันเช้าเสร็จเรียบร้อย พวกเราก็เก็บข้าวของออกเดินทางกันต่อไป

    เนื่องจากว่าวันก่อนนั้น ตามความนิยมของที่นี่ก็คือ นำเอากระเป๋าเดินทางทั้งหมดไว้บนหลังคารถ แล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติก แต่ปรากฏว่ากระเป๋าของคุณยายเล็ก (ภัทริณ จันทรนิภาพงศ์) ซึ่งเป็นกระเป๋าผ้านั้น ไม่สามารถที่จะต้านฝนได้ ทำให้เสื้อผ้าหลายชิ้นเปียก ต้องเอามาผึ่งไว้ในห้องนอน ในเมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราจึงต้องจัดระเบียบกันใหม่ ใครที่ตัวเล็ก ๆ ก็ไปยัดรวมกันในรถคันหนึ่ง ให้เหลือที่ว่างในรถเอาไว้สำหรับเอากระเป๋าทั้งหมด เมื่อแก้ไขปัญหาได้แล้วก็ออกเดินทาง
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,373
    ในช่วงเช้านี้เห็นได้ชัดเลยว่า พวกเรานั้นเป็น "เซียนเหยียบเมฆ" หรือว่า "มาเหนือเมฆ" เพราะว่ารถทั้งหมดนั้นลงเขามาโดยตลอด จนกระทั่งไปถึงไร่ชา Happy Valley ซึ่งเป็นไร่ชา ๑ ใน ๘๗ แห่งที่มีชื่อเสียงมากของเมืองดาร์จีลิงก์

    คำว่ามีชื่อเสียงมากก็คือ นอกจากจะเป็นไร่ชาเก่าแก่ดั้งเดิมแล้ว ก็ยังมีตราสัญลักษณ์ ตลอดจนกระทั่ง Brand หรือยี่ห้อเฉพาะของแต่ละไร่ แต่ว่าเมื่อไปถึงแล้ว ก็ปรากฏว่าทางด้านไร่ชานั้นเกิดปัญหา คือว่าบรรดาคนงานเก็บชานั้นทำการประท้วงขอขึ้นค่าแรง

    การเก็บชาในดาร์จีลิงก์นั้นจะเก็บเป็น ๓ ระยะด้วยกัน ก็คือช่วง มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม ระยะหนึ่ง ช่วง มิถุนายน-กรกฎาคม-สิงหาคม ระยะหนึ่ง และช่วง กันยายน-ตุลาคม-พฤศจิกายน อีกระยะหนึ่ง ซึ่งชาที่เก็บได้นั้น คุณภาพก็จะลดหลั่นกันลงไป หลังจากนั้นก็จะปล่อยให้ต้นชาได้ฟื้นคืนมา แล้วก็เริ่มเก็บครั้งที่ ๑ ในรอบปีต่อไป

    แต่เนื่องจากว่าปีนี้นั้นภาวะโลกร้อนทำให้อากาศทางด้านนี้เปลี่ยนแปลง ฝนตกลงมาเร็วกว่าปกติถึง ๒ เดือน แม้กระทั่งหิมะก็ตกหนักที่สุดในรอบ ๗ ปี ทำให้คนงานต้องตากฝนเก็บใบชาอยู่ทั้งวัน จึงมรการเรียกร้องขอค่าแรงขึ้น ทำให้ทางไร่ Happy Valleyไม่สามารถที่จะนำพวกเราให้เข้าไปชมระบบการผลิตชาภายในได้ พวกเราจึงได้แต่เดินชมไร่ชาอยู่ภายนอกเท่านั้น

    กระผม/อาตมภาพนั้นเป็นลูกคนจีน เห็นใบชา ต้นชา ตลอดจนกระทั่งดื่มน้ำชาตามคำสั่งของท่านอาจารย์บ๊ะมาเป็นตันแล้ว..! จึงไม่ค่อยมีความสนใจตรงนั้น แต่ว่าไปสนใจ "ต้นสนซีดาร์" ที่สูงลิบลิ่วแต่ละต้นโตประมาณโอบครึ่ง..! ซึ่งต้นสนทั้งหลายเหล่านั้น ก็มีบรรดารุกขเทวา รุกขเทวีโผล่กันมาขอส่วนกุศลกันหน้าสลอน จนต้องอุทิศให้ไปตามระเบียบ..!
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,373
    เมื่อชมไร่ชาของเขาและฟังข้อมูลจากคุณสุเรศวร์จนครบถ้วนแล้ว พวกเราก็เดินทางกลับเข้าไปยังเมืองดาร์จีลิงก์ เพื่อที่จะไปชิมชา ซึ่งถ้าหากว่าร้าน Nathmull's นี้ ออกเสียงตามที่กระผม/อาตมภาพชอบแปลงเสียงที่ใกล้เคียงภาษาไทย ก็ต้องชื่อว่า "ร้านณัฐมน" ซึ่งเปิดมาตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช ๑๙๓๑ ก่อนกระผม/อาตมภาพจะเกิดถึง ๒๘ ปี..!

    ในเมื่อมาถึงแล้ว ทางด้านคุณสุเรศวร์ก็ได้แนะนำว่า ชาทั้งหลายที่จำหน่ายอยู่ในเมืองดาร์จีลิงก์นี้ก็ดี ที่เมืองกัลกัตตาก็ดี ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วย ๕ ประเภทด้วยกัน ประเภทที่ ๑ ก็คือชาดำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผลิตในรัฐอัสสัม รสชาติเลวร้ายมาก..! คุณสุเรศวร์เขาใช้คำเปรียบเทียบ ฟังดูแล้วทำให้หมดอารมณ์ เป็นชาคุณภาพต่ำ รสและกลิ่นออกไปทางรุนแรงและค่อนข้างขม ดังนั้น..จึงนิยมไปทำ "กะลัมไจ" ก็คือชานม เพื่อเอากลิ่นนม กลิ่นเนยมากลบกลิ่นชาและรสชาแทน

    ประเภทที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั้น ความจริงก็เป็นประเภทเดียวกัน ก็คือชาดำดาร์จีลิงก์ คำว่าชาดำนั้น เกิดจากขั้นตอนการเก็บและการผลิต ซึ่งจะมีขั้นตอนหนึ่งที่เอามาผึ่งอยู่ในลักษณะที่หมักไว้ จนกระทั่งใบชานั้นมีสีดำ เขาแบ่งออกเป็น ๓ เกรดด้วยกัน ราคาก็จะแพงขึ้นไปตามลำดับ คือเกรด ๓ ราคาต่ำสุด เกรด ๒ ราคาสูงขึ้นมา และเกรด ๑ ราคาสูงสุด

    ส่วนที่เขาแนะนำพวกเราก็คือ สุดยอดชาขาวดาร์จีลิงก์ ซึ่งจะเก็บเฉพาะยอดชาไม่เกิน ๓ ใบเท่านั้น แล้วกรรมวิธีในการตาก การหมัก ขั้นตอนต่าง ๆ ในการอบและผลิตนั้น ทำให้ใบชานี้มีกลิ่นและรสที่เลิศที่สุดสำหรับชาของดาร์จีลิงก์

    เมื่อเขาเอามาให้กระผม/อาตมภาพลองชิมดูแล้ว ปรากฏว่า ๔ อย่างแรกก็คือชาลิปตันดี ๆ นี่เอง เพียงแต่ว่ากลิ่นและรสนั้น หนักเบาต่างกันไป แล้วก็ไม่ใช่กลิ่นที่กระผม/อาตมภาพชอบใจเลย แต่ว่าชาขาวดาร์จีลิงก์นั้นพอใช้ได้ มีกลิ่นและรสออกไปทางชาจีนที่เคยชิน

    คนอื่นก็อาจจะสงสัยว่ากระผม/อาตมภาพนั้น ทำไมนั่งดมอยู่นานก่อนที่จะทดลองดื่ม ทดลองชิม ? ก็เพราะว่าชาทั้งหลายเหล่านั้น อันดับแรกเลยก็คือพิสูจน์ด้วยกลิ่น ถัดไปถึงจะพิสูจน์ด้วยรส ส่วนประกอบที่สำคัญก็คือน้ำในการที่เราชงชา และฟืนไฟที่ใช้ชงชานั้นแรงเบาต่างกัน ก็จะทำให้รสชาต่างกันได้
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,373
    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น กระผม/อาตมภาพจึงซื้อชาขาวดาร์จีลิงก์มา ๑ ห่อ น้ำหนัก ๑๐๐ กรัม ราคามาตรฐานของเขาก็คือ ๑,๘๕๐ รูปี แต่ได้รับการลดราคาลงมาเหลือ ๑,๗๐๐ รูปีถ้วน ทางร้านณัฐมนลดราคาให้เองโดยที่พวกเราไม่ได้เรียกร้อง

    เมื่อหลายคนพากันซื้อแล้ว ทางด้านครอบครัวของคุณยายเล็ก (ภัทริณ จันทรนิภาพงศ์) ก็ให้ลูกเขย ก็คือคุณหนึ่ง (บัญชา เซ็นภักดี) ที่กระผม/อาตมภาพมักจะเผลอเรียกว่า "นายมะพร้าว" เพราะว่าเป็นยูสเซอร์เนมในเว็บวัดท่าขนุน นำเอาชามาถวายเพิ่มอีก ๑ ห่อ พาให้ปวดหัวเป็นอย่างมาก เพราะว่ากระผม/อาตมภาพนั้น ไม่ได้นิยมเลยที่จะดื่มชาแบบนี้ แต่ว่าที่ซื้อก็เพื่อเอาไปเปรียบเทียบดู และเอาไปให้คนอื่นลองชิมดูเท่านั้น

    ในเมื่อเวลายังเหลืออยู่ พวกเราออกจากร้านณัฐมนแล้ว ก็ไปเดินดูสินค้าต่าง ๆ ตามอัธยาศัย กระผม/อาตมภาพนั้นทนรถติดและคนจำนวนมากมายมหาศาลไม่ได้ จึงหลบเข้าไปในภัตตาคาร The Park ซึ่งเป็นร้านอาหารกลางวันของพวกเรา ปรากฏว่าทางร้านเพิ่งจะทำความสะอาดร้าน..! แต่ด้วยมารยาทที่ดี ถึงคณะของเรามาผิดเวลา ทางเจ้าของร้านก็จัดน้ำชาดาร์จีลิงก์มาให้พวกเราที่ทยอยกันกลับเข้ามา จากที่ตกลงกันไว้ว่าจะฉันเพลตอน ๑๑ โมงครึ่งของที่นี่ ก็เลยกลายเป็นการเร่งรัดให้ทางร้านนำเอาอาหารมาเสิร์ฟตั้งแต่ก่อนจะ ๑๑ โมง..!

    ภัตตาคาร The Park นี้เป็นร้านที่ได้ชื่อว่าทำอาหารไทยได้อร่อยที่สุด รสชาติใกล้เคียงที่สุด แต่ปรากฏว่าอาหารที่เขายกมานั้น ประกอบไปด้วยข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ซึ่งกระผม/อาตมภาพเห็นแล้วก็ยังทึ่ง ว่าที่นี่เขาอุตส่าห์หาเส้นก๋วยเตี๋ยวมาได้ แล้วยังมีส้มตำที่ทำรสชาติได้ใกล้เคียงเมืองไทยมาก โดยเฉพาะรสหวาน..!

    นอกจากนั้นยังมียำคอหมูย่าง ผัดผักกูดไฟแดง ต้มยำไก่ ซึ่งกระผม/อาตมภาพตอนแรกคิดว่าเป็นต้มยำกุ้ง แต่เมื่อชิมเข้าไปแล้ว ปรากฏว่าเป็น "ต้มยำข่าไก่" อาจจะเป็นเพราะว่าทางผู้ที่ไปศึกษาการทำอาหารที่ประเทศไทยนั้น ไป "หลง" รสชาติระหว่างต้มข่าไก่กับต้มยำไก่ จึงมีการเติมข่าลงไปในต้มยำ จึงทำให้รสชาติค่อนข้างจะแปลกประหลาด..!
     
  7. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,373
    อาหารที่เขาจัดมานั้น ต้องบอกว่าทางเอ็นซีทัวร์ทุ่มทุนสร้างมาก..! ไม่ว่าจะมื้อไหนก็ตาม จัดมาอย่างเต็มที่จนพวกเราไม่มีปัญญาที่จะกินจะฉันได้หมด

    ตอนแรกที่ทุกคนบอกว่าเอ็นซีทัวร์แจ้งราคามาค่อนข้างแพง แต่กระผม/อาตมภาพยืนยันว่าขอใช้บริการของบริษัทนี้ เหตุเพราะว่าทางด้านคุณนวลจันทร์ เพียรธรรมก็ดี ทางด้านคุณเอ (ฉัตตริน เพียรธรรม) ก็ดี รู้ว่าจะจัดการอย่างไรให้คณะของเราได้รับความสะดวกสบายที่สุด ไม่ว่าจะที่พัก อาหาร ยานพาหนะ ซึ่งในทริปนี้ของพวกเราต้องบอกว่าหรูเลิศมาก..!

    เมื่อฉันเพลกันเสร็จเรียบร้อย ก็นั่งรอคุณสุเรศวร์ ที่ไปขอหนังสือผ่านทางเข้าเมืองสิกขิม ซึ่งเมืองสิกขิมนั้นต้องบอกว่าเป็นประเทศต่างหากจากอินเดีย ในที่นี้กระผม/อาตมภาพขอเรียกว่า นครรัฐสิกขิม แต่ด้วยความที่กลัวอังกฤษจะยึดไป กลัวทิเบตหรือว่าจีนจะยึดไป ก็เลยขอเป็นประเทศของตัวเอง แต่อยู่ใต้อำนาจการปกครองของอินเดีย ทำให้มีที่พึ่งเป็นมหาอำนาจ ทำให้จีนหรือว่าทางด้านทิเบตนั้นไม่มายุ่งเกี่ยวด้วย จึงต้องเข้าออกโดยมีการขอวีซ่าต่างหาก

    เมื่อนายสุเรศวร์กลับมาแล้ว พวกเราก็เดินทางไปยังเมืองเพลลิงก์ ซึ่งจะเป็นเมืองที่เราพักในคืนนี้ ระหว่างทางก็ผ่านโรงงานผลิตชาใหญ่มากโรงงานหนึ่ง ซึ่งคุณสุเรศวร์ของเรามีความคุ้นเคยมาก ได้แวะเข้าไปบอกเจ้าหน้าที่ว่า คณะของเราไปเยี่ยมไร่ชา Happy Valley มาแล้ว แต่ไม่สามารถที่จะเข้าไปชมระบบการผลิตภายในได้ จึงขอมาชมการผลิตภายในโรงงานนี้แทน

    โรงผลิตชานี้ยี่ห้อ Puttabong ก็คือยี่ห้อพระตะบองนั่นเอง แต่ว่าไม่มีอะไรที่เป็นความเป็นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เลยแม้แต่น้อย เรียกว่าตั้งชื่อไปอย่างนั้นเอง ทันทีที่พวกเราเหยียบย่างเข้าไป กลิ่นชาก็ตลบอบอวล บอกให้รู้อย่างชัดเจนว่านี่คือชาอินเดีย ไม่ใช่ชาจีน

    เมื่อพวกเราชมขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ จนจบแล้ว ออกเดินทางต่อมาได้ไม่กี่กิโลเมตร ก็มีคนงานของทางด้านโรงงานนี้กำลังเก็บใบชาอยู่ พวกเราจึงได้ชมขั้นตอนของการชิมชา ตลอดจนกระทั่งระบบการผลิตชานั้นกลับด้านกัน คือแทนที่จะเข้าไปชมไร่ชา ชมการเก็บชา ชมการผลิตชา แล้วค่อยมาชิมชา แต่ปรากฏว่างานนี้กลับหัวกลับหางกันหมด..!
     
  8. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,373
    บรรดาโชเฟอร์ของรถยนต์ทั้ง ๓ คันของเรานั้นสุดยอดฝีมือมาก พาพวกเราผ่านหนทางที่คดเคี้ยววกวนยิ่งกว่าเส้นทางลี้-เถิน และที่อันตรายก็คือ มีเส้นทางที่คับแคบ และบางส่วนก็ถล่มหายไปเหลือจนถนนเพียงซีกกว่า ๆ เท่านั้นเอง..!

    จนกระทั่งมาข้ามแม่น้ำที่มีสะพานแขวนขนาดใหญ่มหึมา เป็นเขตแดนระหว่างเมืองดาร์จีลิงก์ของอินเดียกับนครรัฐสิกขิม ก็ต้องไปทำการประทับตราขอวีซ่าในเล่มพาสปอร์ต

    หลังจากนั้นแล้วสิ่งที่พวกเราเห็นก็คือหินถล่ม ซึ่งโครมครามตลอดลงมาเส้นทาง..! บางแห่งรถยนต์ก็กำลังเกรดอยู่ บางแห่งก็เกรดเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้ว บางแห่งก็เพิ่งถล่มลงมาใหม่ ๆ ให้หลบหลีกกันเอาเอง แทบจะเรียกว่าทุก ๆ ๑๐๐ เมตรก็ได้ ที่พวกเราต้องเจอเช่นนั้น และเป็นระยะทางหลายสิบกิโลเมตร จนบางช่วงทางนครรัฐสิกขิมได้ทำอุโมงค์เอาไว้ เพื่อให้หลบปัญหาหินถล่มที่รุนแรงในจุดนั้น..!

    เมื่อรถคันของกระผม/อาตมภาพผ่านพ้นออกมาได้ ปรากฏว่ารถอีก ๒ คันตามมาไม่ทัน เนื่องจากว่าจังหวะการหลบหลีก การหลีกรถที่สวนมา ตลอดจนกระทั่งการขับรถนั้น ต้องบอกว่าคนขับคันของกระผม/อาตมภาพนั้นมีฝีมือมากที่สุด จึงต้องมีการจอดรอกัน

    หลังจากที่มากันครบแล้ว เดินทางต่อมาได้ประมาณกิโลเมตรเดียว เจ้าแม่นภิสราเทวีก็บอกว่า "เส้นทางข้างหน้าปลอดภัยแล้ว ไม่มีหินถล่ม" กระผม/อาตมภาพจึงได้แจ้งต่อคนในรถของเรา โดยเฉพาะพระครูวิโรจน์กาญจนเขต, ดร. จากนั้นก็เกิดเมฆหมอกมืดมัวแทบจะปิดหนทาง เหมือนกับว่าพวกเราวิ่งไปในเมืองลับแลก็ปาน..!
     
  9. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,373
    โดยเฉพาะระยะทาง ๘ กิโลเมตรสุดท้ายนั้น ฝนก็ตก หมอกก็หนัก กระผม/อาตมภาพเอง ซึ่งมีสายตาคนแก่อายุย่าง ๖๔ ปี ขอสารภาพว่าเห็นข้างหน้าเป็นเพียงเงา ๆ เท่านั้น แต่ว่าสุดยอดพลขับของเราสามารถทำความเร็วได้ตามปกติ..! ฝ่าฟันมาได้ทุกสภาพถนน ต้องขอชมเชยมาในที่นี้ จนกระทั่งพวกเราก็มาถึงยังโรงแรมนอร์บูกัง หรือว่า นอร์บูคัง ในเวลาเกิน ๕ โมงเย็นของที่นี่ไปนิดหน่อย

    ต้องขอชื่นชมว่าท่านทั้งหลายนั้นดวงดีมาก ๆ ที่มาด้วยกันในงานนี้ เนื่องจากว่าได้รับการอนุเคราะห์สงเคราะห์จากบรรดาเจ้าที่เจ้าทาง โดยเฉพาะได้รับการติดต่อประสานงานอย่างยอดเยี่ยมจากทางเอ็นซีทัวร์ และที่แน่ ๆ ก็คือเจ้าแม่นภิสราเทวี ตลอดจนกระทั่งบริษัทบริวาร และเจ้าที่เจ้าทางทั้งหลายที่ให้การอนุเคราะห์สงเคราะห์ตลอดเส้นทาง

    ที่พักในคืนแรกของพวกเราในเมืองเพลลิงก์นั้น คณะของเราได้วิลล่าขนาดใหญ่ชื่อ Azalea ไปทั้งหลัง กระผม/อาตมภาพได้ห้องพักที่ใหญ่มาก ๆ ใหญ่เสียจนกระทั่งเครื่องทำความร้อนไม่สามารถที่จะให้ความอบอุ่นได้ทั่วถึง จนต้องมาขดอยู่ใกล้ ๆ เครื่องถึงจะอุ่นขึ้นมาบ้าง..!

    วันนี้จึงขอเรียนถวายการเดินทางจากเมืองดาร์จีลิงก์ของอินเดีย ไปสู่เมืองเพลลิงก์ของนครรัฐสิกขิม ไว้สำหรับพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวให้ญาติโยมทั้งหลายที่เอาใจช่วยอยู่ตั้งแต่ต้นไว้แต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...