เรื่องเด่น เสียงธรรม "จิตตนคร นครหลวงของโลก" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ในห้อง 'ธรรมเพื่อความหลุดพ้น' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 13 กันยายน 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    สมเด็จพระสังฆราช - สุญญตา 3/9 (กำหนดอากาศ-วิญญาณฯ B)

    สมเด็จพระสังฆราช - สุญญตา 4/9 (อนิมิตเจโตสมาธิ นิพพานฯ)

    สมเด็จพระสังฆราช - สุญญตา 5/9 (นิยานิกธรรม)

    สมเด็จพระสังฆราช - สุญญตา 6/9 (สมาธินิมิต)

    ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา
    Nov 22, 2016
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    สมเด็จพระสังฆราช - สุญญตา 7/9 (ศีล สมาธิ ปัญญา A)

    สมเด็จพระสังฆราช - สุญญตา 8/9 (ศีล สมาธิ ปัญญา B)

    สมเด็จพระสังฆราช - สุญญตา 9/9 (วิธีฟังธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)

    ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา
    Nov 22, 2016
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ผู้ปฏิบัติธรรม จะไม่เป็นทาสตัณหา สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19

    เพราะอะไร จึงเกิดอวิชชา สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19

    ธรรมะ วัดป่า
    Jan 24, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2021
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    คลิปมหามงคลที่หายไป30ปี"อดีตสมเด็จพระสังฆราชเสด็จสวนโมกข์ ไชยา โดยมีท่านพุทธทาสถวายการต้อนรับ"ปี2532

    พิพิธภัณฑ์ศาสตราจารย์ คุณรัญจวน อินทรกําแหง
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๒ “ท่านพุทธทาสภิกขุ” ขอโอกาส"กราบ"สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ (แต่เนื่องจากท่านพุทธทาสภิกขุมีอายุพรรษาเเก่กว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ จึงทรงห้ามไว้ ! ) ทว่า..ท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่ยอม โดยกล่าวว่า "ขอโอกาสกราบผู้บังคับบัญชา นับว่าเป็นบุญที่ได้กราบสมเด็จพระสังฆราชฯ" แต่ด้วยความที่อายุพรรษาสมเด็จฯท่านน้อยกว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ จึงได้กราบท่านพุทธทาสภิกขุกลับ*** ( อย่างที่มิได้ทรงถือตน ถือยศศักดิ์ ) _________

    ดร.พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ซึ่งอยู่ใกล้ชิดในที่นั้นเล่าว่า "ภาพเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นที่ประทับใจยิ่งนักแก่ผู้พบเห็น" นับเป็นมงคลยิ่งต่อชีวิต... ที่ได้เห็นเป็นบุญตา เป็นคติธรรมสอนใจ ในความงดงามของจริยาวัตร ความอ่อนน้อมถ่อมตน ของสองพระอริยสงฆ์มหาเถระ... "ผู้เป็นสมณะผู้สงบฯ" สาธุ สาธุ สาธุ
    สมฺณานญฺจทสฺสนํ เอตมฺมํคลมุตฺตมํ การเห็นสมณะผู้สงบกิเลส ชื่อว่าเป็นอุดมมงคลอันสูงสุดประการหนึ่ง
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    รู้จักทุกข์ ก็จะพ้นทุกข์ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19

    เหตุเกิดแห่งทุกข์ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19

    ธรรมะ วัดป่า
    Feb 18, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2021
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2021
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    sangharaja19.jpg พระองค์จริง
    ja19.jpg หุ่นจําลอง
    Hairs.jpg พระเกศาจากพระองค์เองกลายเป็นพระธาตุ
    :-
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2021
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    อุบายการดับความทุกข์ใจ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19

    ธรรมะ วัดป่า
    Mar 4, 2021
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ความเข้าใจเรื่องเวรกรรม - การพิสูจน์กรรม : สมเด็จพระญาณสังวร [โจโฉอ่าน มีดนตรี]

    โจโฉ เสียงธรรม Official
    Feb 12, 2021
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    กฎแห่งกรรม เรื่อง ทำดีได้ดีเสมอ พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    vihan taweesak
    Jun 19, 2020
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ความเกิดขึ้นและดับไปของภพชาติ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19

    ธรรมะ วัดป่า
    Apr 25, 2021
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    100 คำสอน สมเด็จพระสังฆราช (41 - 80)
    คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 41

    ความดีนั้น เกิดจากกรรม (การงาน) ที่ดี ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ความว่า คนเป็นคนดีเพราะกรรมเป็นคนถ่อยก็เพราะกรรม ฉะนั้น เมื่อละเลิกกรรมที่ชั่วผิด ทำกรรมที่ดีที่ชอบ ก็ได้เป็นคนดีแล้ว แต่คนที่ทำกรรมชั่วผิด แม้จะได้รับบัญญัติ (แต่งตั้ง) ว่าดีอย่างไร ก็หาชื่อว่าเป็นคนดีไม่ ผู้ที่รู้และค้านเป็นคนแรกก็คือตนนั่นเอง เว้น ไว้แต่จะมีตาใจบอดไปเสียแล้ว ด้วยความหลงตนไปอย่างยิ่งนั้นแหละ จึงจะไม่รู้

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 42

    อันความดีนั้น ย่อมเป็นอาภรณ์ เป็นอิสริยยศ (ยศคือความเป็นใหญ่) ของคนดี เพราะคนดี ย่อมเห็นความดีนี้แหละเป็นยศอันยิ่งใหญ่ และย่อมพอใจประดับความดีเป็นอาภรณ์ จึงกล่าวได้ว่าความ ดีนั้นเป็นอิสริยาภรณ์ของคนดี

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 43 กรรม

    กรรม แปลว่า กิจที่คนกระทำ คำว่า ทำ หมายถึงทั้งทำด้วยกาย อันเรียกว่ากายกรรม ทั้งด้วย วาจาคือพูด อันเรียกว่าวจีกรรม ทั้งด้วยใจคือคิด อันเรียกว่ามโนกรรม บางทีเมื่อพูดกันว่าทำก็หมายถึง ทำทางกายเท่านั้น ส่วนทางวาจาเรียกว่าพูด ทางใจเรียกว่าคิด แต่เรียกรวมได้ว่าเป็นการกระทำทุกอย่าง เพราะจะพูดก็ต้องทำคือทำการพูด จะคิดก็ต้องทำคือทำการคิด จึงควรเข้าใจว่าคำว่าทำใช้ได้ทุกทาง

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 44

    ความเชื่อกรรม ถ้าเชื่อให้ถูกทาง ก็จะแก้ความเชื่อโชคลางต่างๆ ได้เป็นอันมาก และสำหรับ คนเรามีปัญญาสร้างกรรมใหม่ๆ ขึ้นได้ดีๆ มีพระธรรมของพระพุทธเจ้าปฏิบัติรักษาอยู่ ก็เป็นผู้มีสรณะ กำจัดทุกข์ภัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 45

    สอนทางพระพุทธศาสนา สอนให้ทุกๆ คนพิจารณาให้ทราบหลักกรรมเนืองๆ เพื่อเป็นผู้ไม่ประมาทพยายามละกรรมชั่ว ประกอบแต่ กรรมดี เพราะทุกๆ คนสามารถละกรรมที่ชั่ว ประกอบแต่กรรมที่ดีได้การที่ยังปฏิบัติดังกล่าวไม่ได้ ก็เพราะยังประมาท มิได้พิจารณา ให้รู้ตระหนักในหลักกรรม และไม่เชื่อกรรมไม่เชื่อผลของกรรม ไม่เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน ต่อเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท และมีศรัทธา ความเชื่อดังกล่าวจึงจะละกรรมชั่ว ทำกรรมดีได้ตามสมควร

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 46

    ทุกๆ คนทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมให้ผลในปัจจุบันบ้าง ในภายหน้าบ้าง ในเวลาต่อๆ ไปบ้างตามแต่กรรมนั้นๆ จะหนักเบาอย่าง ไร ท่านเปรียบเหมือนอย่างยืนอยู่บนที่สูงและโยนสิ่งต่างๆ มีก้อนหิน ก้อนดิน กิ่งไม้ ใบหญ้าลงมา ของที่มีน้ำหนักมากย่อมตกลงสู่ พื้นดินก่อน ส่วนกรรมที่หนักน้อยกว่าหรือเบากว่าจะให้ผลตามหลัง

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 47

    คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าจะต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่ว แน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา สัจจาธิษฐาน เป็นต้น อันเป็นส่วนจิต และศีลอันหมายถึงตั้งเจตนา เว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ ควรทำในขอบเขตอันควร

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 48

    ผู้ที่ทำกรรมดีอยู่มากเสมอๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีตหากจะมี กุศลของตนก็จะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบต่อไป และถ้าได้แผ่เมตตาจิตอยู่เนืองๆ ก็จะระงับคู่เวรอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 49

    ทุกคน ต้องรับผิดชอบต่อกรรมของตนเองจะป้ายไปให้คนอื่นไม่ได้ คนทำดีจะเป็น เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตามก็เป็นคนดี เพราะกรรมของตน ใครจะรู้หรือชื่นชมหรือไม่ก็ตาม ตัวผู้ทำรู้สึกตัวเอง ว่าทำดี คนที่ทำไม่ดี เช่น ประพฤติตนเกะกะระรานเป็นคนหัวขโมย ก็เป็นคนชั่วเพราะกรรมของตน ใครจะรู้หรือไม่ก็ตาม ตัวผู้ทำเองก็รู้สึกว่าตัวทำชั่ว อาจจะป้ายความผิดให้ผู้อื่นด้วยการหลอกให้คนอื่น เข้าใจผิด แต่จะหลอกตัวเองไม่ได้ ตัวเองย่อมรู้สึกย่อมรู้สึกสำนึกตัวเองอย่างเต็มที่ ฉะนั้น เมื่อทำดี ทำชั่วแล้ว จึงปัดดีปัดชั่วออกไปให้พ้นตัวเองไม่ได้ เพราะรู้สึกตัวเองอยู่ทางจิคของตน ใครจะแย่งดี ไปจะใส่ชั่วให้ก็ไม่ได้นอกจากจะหลอกให้คนอื่นเข้าใจผิดเท่านั้น

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 50

    พระพุทธศาสนา แสดงเรื่องกรรมไว้ เพื่อให้รู้ว่า กรรมเป็นเหตุวิบาก คือผลตั้งแต่ถือ กำเนิดเกิดมาและติดตามให้ผลต่างๆ ต่อชีวิต ทำนองลิขิตนั่นแหละแต่กระบวนของกรรมที่ทำไว้มี สลับซับซ้อนมาก ทั้งเกี่ยวกับเวลาที่กรรมให้ผล และข้อสำคัญที่สุดคือเกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติ ของแต่ละบุคคลในปัจจุบัน คือทางพระพุทธศาสนาสอนให้ไม่เป็นทาสของกรรมเก่า เช่น เดียวกับให้ไม่ เป็นทาสของตัณหา แต่ให้ละกรรมชั่วกระทำกรรมดี และชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์สะอาด ตามหลัก พระโอวาท ๓ หรือกล่าวโดยทั่วไป มีกิจอะไรก็ตามควรทำก็ทำ โดยไม่ต้องนั่งรอนอนรอผลของกรรม เก่าอะไร

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 51

    คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น แต่ทางพระพุทธศาสนาได้ แสดงว่าคนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกข์เพราะกรรม ผู้คนเลยหันมากลัวกรรม กรรมจึงคล้ายเป็น ผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว พระพุทธศาสนาไม่ได้สอน ให้คนกลัวกรรม ไม่ได้สอนให้ตกเป็นทาสของกรรมหรืออยู่ใต้อำนาจของกรรมแต่สอนให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 52

    กรรมคือการอะไรทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกวันทุกเวลา ประกอบด้วยเจตนา คือความจงใจ หลักใหญ่ของพระพุทธศาสนามุ่งให้พิจารณาให้รู้จักปัจจุบันกรรมของตนว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร หรือไม่ควร เพื่อที่จะได้เว้นกรรมที่ชั่วที่ไม่ควร เพื่อจะทำกรรมที่ดีที่ควรพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า บุคคลสามารถที่จะละกรรมที่ชั่ว กรรมที่ไม่ดีได้ จึงได้ตรัสไว้ให้ละกรรมที่ชั่ว ทำกรรมที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ แสดงว่า คนมีอำนาจเหนือกรรมอาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า ต้องควบคุมจิต เจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา สัจจาธิษฐาน และศีล

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 53

    กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนหรือใจ กล่าวคือร่างกายที่ประกอบด้วยอายตนะทั้งหกนี้ คือตัวกรรมเก่า เป็นกรรมเก่าที่ทุก ๆ คนมองเห็น นอกจากนี้ยังเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งกรรมใหม่ทั้งปวงอีกด้วย เพราะกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็อาศัยกรรมเก่านี้แหละเป็นเครื่องมือกระทำ

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 54

    ตา หู มิใช่จะมีไว้เฉยๆ ต้องดูต้องฟังแล้วก็ให้เกิดกิเลส เช่น ราคะ (ความยินดี) โทสะ (ความขัดเคือง) โมหะ(ความหลงใหล) ให้เกิดขึ้นขณะที่ร่างกายเจริญวัยหนุ่มสาว ซึ่งกล่าวได้ว่า กรรมเก่ากำลังเติบโตเป็นหนุ่มสาว ก็ยิ่งเป็นสื่อของราคะ โทสะ และเป็นสื่อแห่งกรรมต่างๆ ตามอำนาจ ของจิตใจที่กำลังระเริงหลง จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมปกครอง จะปล่อยเสียหาได้ไม่ ถ้าตนเองควบคุม ตนเองได้ก็เป็นวิเศษที่สุด แต่ถ้าควบคุมตนเองไม่ได้ ก็ต้องมีผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา และผู้ใหญ่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องควบคุมให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดีงาม ให้เกิดสำนึกว่า เรานี้เกิดมาเพื่อทำความดี

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 55

    เวร คือความเป็นศัตรูกันของบุคคลสองคนหรือสองฝ่าย เพราะฝ่ายหนึ่งก่อกรรมเสียหาย ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ได้รับความเสียหายนั้นก็ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้นตอบแทน เวรจึงประกอบด้วย บุคคลสองคนหรือสองฝ่าย คือผู้ก่อความเสียหาย ผู้รับความเสียหายบุคคลที่สองหากผูกใจเจ็บแค้น จึงเกิดความเป็นศัตรูกันขึ้น นี่แหละเวร

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 56

    เวร เกิดจากความผูกใจเจ็บแค้นของบุคคลที่สอง คือผู้รับความเสียหาย ถ้าบุคคลที่สองไม่ ผูกใจเจ็บก็ไม่เกิดเป็นเวร การเกิดเวรเพราะบุคคลที่สองเป็นสำคัญเมื่อใครมาทำความล่วงเกินเล็กๆ น้อยๆ ต่อเรา เราไม่ผูกอาฆาต เขาและเราก็ไม่เกิดเป็นศัตรูกัน คือไม่เกิดเป็นคู่เวรกันนั่นเอง เหมือนอย่าง ตบมือข้างเดียวไม่เกิดเสียง

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 57 ความสุข

    อันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต มีอยู่เป็นอันมากที่บังเกิดขึ้นโดยไม่รู้ไม่คิดมาก่อน แต่เมื่อเป็นเหตุการณ์ที่จะต้องเกิดก็เกิดขึ้นจนได้ ถ้าหากใครมองดูเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้นอย่างของเล่นๆ ไม่ จริงจังก็ไม่เกิดทุกข์เดือดร้อน หรือจะเกิดบ้างก็เกิดอย่างเล่นๆ ถ้าจะหนีเหตุการณ์เสียบ้าง ก็เหมือนอย่าง หนีไปเที่ยวเล่น หรือไปพักผ่อนเสียครั้งคราวหนึ่ง

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 58

    พื้น แผ่นดิน แม่น้ำ ภูเขา ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ คนเรามีปัญญาถมทำให้เป็นถนน ขุดให้เป็นแม่น้ำ ลำคลอง ทำสะพานข้ามแม่น้ำใหญ่ สร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดอุโมงค์ทะเลภูเขา เรียกว่าใช้กรรมปัจจุบัน ปรับปรุงธรรมชาติฉันใด ความขรุขระของชีวิตเพราะกรรมเก่าก็ฉันนั้น เหมือนความขรุขระของแผ่นดินตามธรรมชาติ คนเรา สามารถประกอบกรรมปัจจุบันปรับปรุง สกัดกั้นกรรมเก่าเหมือนอย่างสร้างทำนบกั้นน้ำเป็นต้น เพราะ คนเรามีปัญญา

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 59

    ทุกคนต้องการความสุข ความสบายใจด้วยกันทั้งนั้น แต่ทุกคนก็ยังไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการ เพราะใจ ยังมีความปรารถนาต้องการหรือความโลภนี้แหละอยู่เป็นอันมาก โดยที่ไม่พยายามทำให้ลดน้อยลง เห็นจะด้วยมิได้คิดให้ประจักษ์ในความจริงว่า ความโลภคือเหตุใหญ่ประการหนึ่ง ซึ่งนำให้ทุกข์ ให้เดือดร้อน ให้ไม่มีความสุข ความ สบายใจกันอยู่อย่างมากทั่วไปในทุกวันนี้ แม้ทำสติพิจารณาให้ดีจะเห็น ได้ไม่ยากนัก

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 60

    การเพ่งดูผู้อื่นทำให้ตนเองไม่เป็นสุข แต่การเพ่งดูใจตนเองทำให้เป็นสุขได้ แม้กำลังโกรธมาก หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นว่ากำลังโกรธมาก ความโกรธก็จะลดลง เมื่อความโกรธน้อย หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นว่ากำลังโกรธน้อย ความโกรธก็จะหมดไป จึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะมีอารมณ์ใดก็ตาม โลภ หรือโกรธหรือหลงก็ตาม หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นอารมณ์นั้นแล้ว อารมณ์นั้นจะหมดไป ได้ความสุข แทนที่ทำให้มีใจสบาย
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 61

    ความ ดิ้นรนเพื่อให้ได้สมดังความปรารถนาต้องการ มิใช่ความสุข มิใช่ความสงบ แต่เป็นความทุกข์ เป็นความร้อน เป็นความวุ่นวาย มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ทั้งชีวิตไม่ได้พบความสุขความสงบเลย เพราะ มัวปล่อยใจให้เป็นทาสของความโลภ ไม่รู้จักทำสติพิจารณาให้เห็นโทษของความโลภ แล้วพยายาม ละเสีย ดับเสีย

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 62

    ทุกข์ แปลว่า สิ่งที่ดำรงคงอยู่ได้ยาก แต่มีความหมายเป็นปฏิเสธว่า ดำรงทนอยู่ไม่ได้ทีเดียว คือ ต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพราะทุกอย่างในโลกต้องเปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดกาล สิ่งที่เคยมี เคยเป็น ต้องแปรเปลี่ยนไป เมื่อจิตใจรับไม่ได้กับความเปลี่ยนแปลงที่มีถึง จึงทำให้เกิดความ ไม่พอใจ ไม่สบายใจ ก็เลยกลายเป็นความทุกข์ ตามความหมายสามัญ คำว่าทุกข์ตามความหมายสามัญ หมายถึงความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ตรงข้ามกับความสุข ฉะนั้น เมื่อพูดถึงความทุกข์จึงมักเข้าใจกันตามหลักสามัญดังกล่าว

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 63

    ในภาษาไทย เมื่อพูดว่าทุกข์ก็หมายกันว่าคือความไม่สบายใจ แต่ในทางพุทธศาสนา ยังหมายถึง ความคงทน ที่อยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปด้วย ในโลกนี้มีอะไรเล่าที่ตั้งคงที่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดวงอาทิตย์ และดวงดาวทั้งหลายตลอดจนโลก ก็ไม่หยุดคงที่ ปี เดือน วัน คืน ก็ไม่หยุด คงที่ ชีวิตก็ไม่หยุดคงที่ทุกๆ คนเกิดมาแล้วก็เติบโตขึ้นเรื่อย เป็นเด็กเล็ก เด็กใหญ่ เป็นหนุ่ม เป็นสาว โดยลำดับ และก็ไม่หยุดเพียงเท่านี้ ยังเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนแก่ จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 64

    เรื่อง ที่เป็นความไม่สบายกาย ไม่สบายใจทั้งหมด จับเข้าหลัก 1 คือทุกข์ เรื่องที่เป็นความไม่ดีทั้งหมดจับเข้าหลัก 2 คือสมุทัย เรื่องที่เป็นความสุขสงบเย็นทั้งหมด จับเข้าหลักที่ 3 คือนิโรธ เรื่องที่เป็น ความดีทั้งหมดจับเข้าหลัก 4 คือมรรค เมื่อคิดตั้งหลักใหญ่ไว้ดังนี้ จะทำอะไรก็คิด ตรวจดูให้ดีว่า นี่เป็น สมุทัยก่อทุกข์ หรือเป็นมรรคทางสุขสงบ หัดคิดหัดหาเหตุผลดังนี้อยู่เสมอ เป็นการหัดให้เกิดความเห็นชอบเมื่อเห็นชอบก็เชื่อว่าพบ ทางที่ถูก เข้าทางที่ถูก ซึ่งใช้ได้กับทุกเรื่อง

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 65

    พระ พุทธเจ้าได้ตรัสเตือนให้เกิดสติขึ้นว่าความทุกข์นี้มีเพราะความรัก มีรักมากก็เป็นทุกข์มาก มีรัก น้อยก็เป็นทุกข์น้อย จนถึงไม่มีรักเลย จึงไม่ต้องเป็นทุกข์เลย แต่ตามวิสัยโลกจะต้องมีความรัก มีบุคคล และสิ่งที่รัก ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้มีสติควบคุมใจมิให้ความรักมีอำนาจเหนือสติ แต่ให้สติ มีอำนาจควบคุมความรัก ให้ดำเนินในทางที่ถูกและให้มีความรู้เท่าทันว่าจะต้องพลัดพรากรักสักวัน หนึ่ง อย่างแน่นอน เมื่อถึงคราวเช่นนั้นจักได้ระงับใจลงได้

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 66

    อัน ความรักหรือที่รัก เมื่อผู้ใดมีร้อยหนึ่ง ผู้นั้นก็มีทุกข์ร้อยหนึ่ง รักเก้าสิบ แปดสิบ เจ็ดสิบ หกสิบ ห้าสิบ เป็นต้น จำนวนทุกข์ก็มีเท่านั้น ถึงแม้มีรักเพียงอย่างหนึ่ง ก็มีทุกข์อย่างหนึ่ง ต่อเมื่อไม่มีรักจึงจะไม่มีทุกข์ ผู้หมดรักหมดทุกข์นั้น พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "เป็นผู้ไม่มีโศก ไม่มีธุลีใจ ไม่มีคับแค้น"

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 67

    ทางออกจากทุกข์นั้นคือ ต้องรับรู้ความจริงต้องป้องกันมิให้ถลำลึกลงไปในทางแห่งทุกข์ คือควบคุม ตัณหามิยอมให้ฉุดชักใจไปได้ และถ้าถลำใจลงไปแล้วต้องพยายามถอนใจขึ้นให้จงได้ด้วยปัญญา เพราะเมื่อทุกข์เกิดขึ้นที่จิตใจ ก็ต้องดับจากจิตใจ และจิตใจของทุกคนอาจสมมติกล่าวได้ว่าเป็นธรรมชาติกายสิทธิ์ ไม่มีอะไรจะมา ทำลายได้ นอกจากจะยอมจนใจของตัวเองเท่านั้น ถ้าทำใจให้เข้มแข็งก็จะเกิดพลังใจขึ้นจนสามารถต่อสู้ต่างๆ ขจัดขับไล่ตัณหาออก ไปเสียก่อน ความทุกข์ต่างๆ ก็จะออกไป พร้อมกัน

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 68

    ชีวิต ในชาติหนึ่งๆ กับทั้งสุขทุกข์ต่างๆ เกิดขึ้นเพราะกรรมที่แต่ละตัวตนทำไว้ ฉะนั้น ตนเองจึงเป็น ผู้สร้างชาติคือความเกิดและความสุขทุกข์ของตนแก่ตนหรือผู้สร้างก็คือตนเอง แต่มิได้ไปสร้างใครอื่น เพราะใครอื่นนั้นๆ ต่างก็เป็นผู้สร้างตนเองด้วยกันทั้งนั้น จึงไม่มีใครเป็นผู้สร้างให้ใคร และเมื่อผู้สร้างคือตนสร้างให้เกิดก็เป็นผู้สร้าง ให้ตายด้วย ทำไมผู้สร้างคือตนเองจึงสร้างชีวิตที่เป็นทุกข์เช่นนี้เล่า ปัญหา นี้ตอบว่า สร้างขึ้นเพราะความโง่ ไม่ฉลาด คือไม่รู้ว่าการสร้างนี้ก็คือสร้างทุกข์ขึ้น ถ้าเป็นผู้รู้ฉลาด เต็มที่ก็จะไม่สร้างสิ่งที่เกิดมาต้องตาย

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 69

    การที่จะดูว่าอะไรดีหรือไม่ดี ต้องดูให้ยืดยาวออกไปถึงปลายทาง มิใช่ดูเพียงครึ่งๆ กลางๆ และไม่มัวพะวงติดอยู่กับสุข ทุกข์ หรือความสนุก ไม่สนุกในระยะสั้นๆ เพราะจะทำให้ก้าวหน้าไปถึงเบื้องปลายไม่ สำเร็จคนเราซึ่งเดินทางไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ต้องหล่นเรี่ยเสียหายอยู่ในระหว่างทางเป็นอันมาก เพราะเหตุต่างๆ ดังเช่นที่เรียกว่า ชิงสุกก่อนห่ามบ้าง ถืออิสระเสรีบ้าง ฉะนั้นการหัดเป็นคนดีมีเหตุผล ที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกๆ คน และจะเป็นคนมีเหตุผลก็เพราะส้มมาทิฏฐิ คือมีความเห็น ถูกต้อง

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 70 ความดี

    บุญ แปลตามศัพท์ว่า ชำระ ฟอกล้าง ท่านแสดงว่าแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ บุญที่เป็นส่วนของเหตุได้แก่ความดีต่างๆ เรียกว่าเป็นบุญ เพราะเป็นเครื่องชำระฟอกล้างความชั่ว บุญส่วนที่เป็นผลคือความสุข บุญที่เป็นส่วนเหตุ คือ ความดีเกิดจากการกระทำถ้าอยู่เฉยๆ ไม่ทำก็ไม่เกิดเป็นบุญขึ้น การทำบุญนี้เรียกว่าบุญกิริยา จำต้องมีวัตถุ คือ สิ่งเป็นที่ตั้ง และสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ทางพุทธศาสนาแสดง โดยย่อ 3 อย่างคือ บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา บุญคือความดีทั้ง 3 ข้อ อันจะเป็นเครื่องชำระล้างความชั่ว ตลอดถึงรากเหง้าของความชั่วความ

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 71

    กุศล แปลว่ากิจของคนฉลาด หมายถึงความดีเช่นเดียวกับบุญ อกุศลแปลว่ากิจของคนไม่ฉลาด หมายถึงความชั่ว เช่นเดียวกับ บาป สรุปความว่าผลของบุญคือความดีนั้นคือความสุขที่เกิดจากความบริสุทธิ์ใจเพราะ การทำบุญคือความดีโดยตรง มุ่งชำระฟอกล้าง จิตใจให้บริสุทธิ์ สะอาดจากโลภะ โทสะโมหะ ซึ่งเป็นอกุศล เรียกว่า ทำบุญเพื่อบุญหรือทำความดีเพื่อความดีแต่ละคนลองหัดทำบุญ เพื่อบุญจะได้ความสุขอันเกิดจากความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งเป็นความสุขอย่างบริสุทธิ์ในปัจจุบันที่ทำ

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 72

    ความดี มีอยู่ที่ตัวเราเอง ซึ่งเป็นคนดีขึ้นเพราะทำดี เมื่ออยากดูหน้าตาของความดี ก็จงส่องกระจกดูหน้าตัวเราเอง จะรู้สึกภูมิใจ ซึ่งแฝงอยู่ในใบหน้า ในสายตาอันส่อเข้าไปถึงจิตใจที่ดี อาจมีความอิ่มใจในความดีของตนเป็นอย่างมาก แต่ถ้าตัวของเราเองทุกคน ทำไม่ดีต่างๆ ก่อให้เกิดทุกข์ร้อนเสียหายแก่ใครๆ ก็จะเป็นที่ติฉินนินทา เพราะการทำนั้นก่อให้เกิดโทษ นี่คือความชั่วที่มีอยู่ที่ตัวเราเอง ซึ่งเป็นคนชั่วเพราะทำชั่ว เมื่ออยากดูหน้าตาของความชั่ว ก็จงส่องกระจกดูหน้าของตัวเราเอง จะรู้สึกถึงความอัปยศอดสู ความปิดบัง ซ่อนเร้นแฝงอยู่ในใบหน้า ในสายตา อันส่อเข้าไปถึงจิตใจที่ไม่ดี อาจมีความเศร้าสร้อยตำหนิตนเอง รังเกียจตนเอง

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 73

    เมื่อทำดีก็ได้ผลดีทันที เมื่อทำชั่วก็ได้ผลชั่วขึ้นทันที อันผลดีผลชั่วที่ได้ทันทีนี้ ก็คือความเป็นคนดีความเป็นคนชั่ว เมื่อทำดีก็เป็น คนดีขึ้นทันที เมื่อทำชั่วก็เป็นคนชั่วทันที ตนเองจะรู้หรือไม่รู้ ผู้อื่นจะรู้หรือไม่รู้ก็ไม่เป็นเหตุเปลี่ยนแปลงสัจจะ คือความจริงดังกล่าวนี้ ได้แต่ว่าผลคือความเป็นคนดีความเป็นคนชั่วดังกล่าวนี้เป็นของละเอียด ถ้าไม่ใช้ปัญญาพิจารณาแม้ตนเองก็ไม่รู้

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 74

    การให้ทาน มีความหมายอย่างกว้างว่าการสละบริจาคสิ่งของอะไรแก่ใครๆ หรือแก่องค์การ อะไรๆ ด้วยการให้เปล่า มิใช่เป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือให้เช่า และมีความหมายตลอดถึงการให้ กำลังกาย กำลังวาจา กำลังความคิด ความรู้ ช่วยในทางต่างๆ สรุปแล้วมี 2 อย่าง คือ อามิสทาน ให้พัสดุสิ่งของอันเป็นกำลังทรัพย์ภายนอกต่างๆ ธรรมทาน ให้ธรรมอย่างบอกศิลปวิทยาให้ บอกทางของความดีความชั่ว

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 75

    ทาน คือการให้ การสละกำจัดความโลภ ทานที่นับว่าจะอำนวยผลอันไพบูลย์ต้องประกอบ ด้วยเจตนาสมบัติ ถึงพร้อมด้วยเจตนา คือเจตนาดี แต่ก่อนให้ กำลังให้ และให้แล้ว ศีลได้แก่ เจตนางดเว้นความชั่วตามองค์สิขาบทที่ท่านบัญญัติไว้ ผู้มีศีลย่อมปรากฏเป็นผู้มีการงาน วาจา และ อาชีพอันชอบ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้อภัยแก่สรรพสัตว์ ย่อมได้รับความปลอดภัยเป็นผล ผู้มีศีลย่อมได้รับผลคือความงามด้วยประการทั้ง ปวง ภาวนาได้แก่การปฏิบัติอบรมให้สมาธิ(Meditation)และ ปัญญาเกิดขึ้น การปฏิบัติอบรมให้เกิดสมาธิเรียกว่า สมถภาวนา ได้แก่การปฏิบัติหัดจิต ให้แน่แน่ว ด้วยการบังคับจิตให้คิดเป็นอารมณ์เดียว บุญให้ความสุขแช่มชื่นตราบเท่าถึงสิ้นชีวิต

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 76

    ศีล เป็นตัวปกติภาพของคนโดยแท้แต่คนโดยมาก มักควบคุมตัวเองไว้ไม่ได้ จึงรักษา ปกติภาพของตนไว้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลเป็นขอบเขตของความประพฤติไว้ เพื่อช่วยให้คนรักษาปกติภาพของตนไว้นั่น เอง ส่วนที่ต้องรับจากพระนั้นก็เป็นเพียงวิธีชักนำอย่างหนึ่ง เพราะโดยตรง ศีลนั้นต้องรับจากใจของตนเอง คือใจของตนเองต้องเกิดวิรัติทั้ง 3 ข้อ เมื่อใจมีวิรัติขึ้น แม้เพียงข้อใด ข้อหนึ่ง ก็เกิดเป็นศีลขึ้นทันที วิรัติ 3 นั้นคือ ความเว้นได้ในท้นทีที่เผชิญหน้ากับวัตถุ 1 ความเว้นได้ด้วย ตั้งใจถือศีลไว้ 1 และความเว้นได้เด็ดขาดทีเดียว 1

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 77

    เมื่อจักถือศีลก็ไม่ต้องไปที่ไหนอื่น ถือที่กายวาจา จิตนี้แหละ วัดก็ดี ป่าก็ดี เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความ สะดวกแก่การถือเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อหวังจะถือให้สะดวก จึงสมควรไปวัด เข้าป่า หรือสถานที่อัน สมควรอื่นๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงศีลเป็นคำสอน ศีลคือปกติ กาย วาจา และจิต ถ้าปล่อยกาย วาจา จิตให้ผิดปกติแม้จะรับสิกขาบท 5 ข้อก็ตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตามสิกขาบทก็ถือศีลไม่ได้ เพราะสิกขาบท หยาบกว่าศีล เมื่อทำดีอย่างหยาบๆ ยังไม่ได้ แล้วจะทำดีอย่างละเอียดได้อย่างไรการรับศีลนั้นแม้จะ เป็นการรับจากพระภิกษุ แต่ถ้าเป็นการรับเพียงด้วยปาก ใจไม่ได้คิดงดเว้นอะไร ก็ไม่เกิดเป็นศีลได้ ตรงกันข้าม ถึงแม้มิได้รับศีลจากพระภิกษุแต่มีใจงดเว้น ก็เกิดเป็นศีลได้

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 78

    ศีลธรรม สามารถระงับภัยต่างๆ ได้แน่โดยเฉพาะภัยที่คนก่อให้เกิดแก่กันเอง ภัยที่คนก่อ ขึ้นนี้อาจทำให้ดินฟ้าอากาศแปรปรวนไปได้ด้วย เช่นเมื่อตัดไม้ทำลายป่าเสียหายกันโดยมาก ไม่ปลูกขึ้นทดแทนให้พอกัน ก็ทำให้ เกิดความแห้งแล้ง เป็นต้น ฉะนั้นคนเรานี้เองเมื่อไม่มีศีลธรรมก็เป็นผู้ก่อภัยให้ เกิดแก่กัน ตลอดถึงเป็นผู้ก่อความวิปริตแปรปรวนแห่งธรรมชาติได้ด้วยต่อเมื่อพากันตั้งใจ อยู่ในศีลธรรม ความปกติสุขย่อมเกิดขึ้นตลอดถึงธรรมชาติดินฟ้าอากาศ ย่อมเป็นไปโดยปกติทั้งคนอาจปรับปรุงธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้ด้วย

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 79

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้ทุกคนมีศีลและมีจิตใจงาม เพราะจะมีความสุขและอยู่ด้วยกันเป็นสุขจริงๆ ทุกๆ คนต้องการสุขด้วยกันทั้งนั้นไม่มีใครปฏิเสธ แต่ทำไมไม่เดินในทางของความสุข ไปเดินในทางของความทุกข์ แล้วก็ร่ำร้องว่าไม่มีความสุข

    คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 80

    ข้อวิตกว่าถือศีลไม่ร่ำรวยนั้น ไม่ร่ำรวยในทางสุจริตจริง ถ้าคิดดูโดยรอบคอบจักเห็นว่าศีลเป็นข้อยกเว้นจากการถือเอาในทาง ทุจริต จึงไม่ได้ทางนั้นตรงตัวอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ทำให้เสียหายยากจนเพราะทุจริต ของตนทั้งส่วนตัวทั้งส่วนรวม และเมื่อตั้งใจประกอบอาชีพโดยชอบด้วยความไม่ประมาทก็จักตั้งตนได้ โดยลำดับ ผู้ที่มาถือเอาในทางทุจริต ถึงจะร่ำรวยขึ้นก็เหมือนปลวกอ้วนเพราะกัดเสากับฝาเรือน ปลวก กัดเรือนยิ่งมากยิ่งอ้วนขึ้นเท่าไร เรือนก็ใกล้พังเข้าไปเท่านั้น จนอาจพังครืนลงไป ฉะนั้น โภคทรัพย์ จะสมบูรณ์พูนเพิ่ม ก็เพราะพากันประกอบกระทำในทางที่ชอบ ที่สุจริต และไม่ทำตัวเป็นปลวกอ้วน


    ขอบคุณข้อมูลจาก :- http://www.dhammajak.net
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ๑๐๐ ปีชาตะกาลสมเด็จพระสังฆราช

    หลวงตา
    1,909 views Dec 14, 2021
    ๑๐๐ ปีชาตะกาลสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไทย ๑๙ พระองค์

    urai1791
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พระสังฆราช::สติกำหนดจิต

    witsanu tripprasert
    Mar 19, 2012
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทุกข์ ๒ ชั้น

    ธรรมะเหนือโลก
    May 17, 2022
     

แชร์หน้านี้

Loading...