เรื่องเด่น แชร์สนั่น! ‘โคกหนองนา’ สุโขทัย ศาสตร์พระราชา รอดพ้นน้ำท่วมได้อย่างน่าทึ่ง

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 30 กันยายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    b899e0b8b1e0b988e0b899-e0b982e0b884e0b881e0b8abe0b899e0b8ade0b887e0b899e0b8b2-e0b8aae0b8b8e0b982.jpg

    30 ก.ย.64 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ รวมทั้งจังหวัดสุโขทัย แต่ปรากฏว่ามีพื้นที่แห่งหนึ่งรอดพ้นอุทกภัย โดยสังคมออนไลน์ได้แชร์กระหน่ำเฟซบุ๊กชื่อ “หม่อมหลง” โพสต์รูปภาพโคกหนองนา สุโขทัย พร้อมข้อความว่า #ศาสตร์ของพระราชา โคกหนองนา สุโขทัย รอดพ้นมหาอุทกภัยได้อย่างน่าทึ่ง โคก-หนอง-นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ

    โคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

    1. โคก: พื้นที่สูง
    – ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ
    – ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
    – ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

    2. หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ
    – ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)
    – ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้
    – ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
    – พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

    3. นา:
    – พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน
    – ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

    โดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้มีการขับเคลื่อนโครงการ ตามแนวทาง “โคก หนอง นา โมเดล” ทุกหมู่บ้าน

    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.thaipost.net/main/detail/118289
     
  2. ศิษย์รุ่นจิ๋ว

    ศิษย์รุ่นจิ๋ว นิพพานัง ปัจจโยโหตุ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2017
    โพสต์:
    63,213
    กระทู้เรื่องเด่น:
    5
    ค่าพลัง:
    +79,852
    สาธุครับ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านได้ทรงสอนสิ่งที่ดีงามมากมายทั้งทางโลกเเละทางธรรม คิดถึงพระองค์ท่านทุกวัน ลูกจะพยายามที่สุดในการทําความดีตามที่พระองค์ได้สอนไว้
     

แชร์หน้านี้

Loading...