อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    58382301_1534333813364253_5556853606965051392_n.jpg

    58656847_1534333820030919_4891005643109957632_n.jpg

    58379801_1534333833364251_7124537015265132544_n.jpg


    โบสถ์ วัดถ้ำเสือ

    ถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัดถ้ำเสือก็จะมีรูปร่างที่แตกต่างๆจากวัดต่างๆโดยทั่วไป
    เช่นโบสถ์ก็จะมีทรง ๘ มุข

    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๙)มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาครั้นเมื่อถึงเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมญาติโยมวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ
    จัดสร้างเป็นพระอุโบสถ ๘ มุข

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงยกช่อฟ้า
    เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ พระอุโบสถ ๘ มุขนี้ ไม่เคยมีที่ใดสร้าง
    แต่ที่สร้างขึ้นนี้ด้วยมโนภาพด้วยจิตสำนึกที่พระอรหันต์มาประชุมและกราบทูลพระพุทธเจ้าออกเผยแพร่ พระพุทธศาสนาทั้ง ๘ ทิศ
    พระอุโบสถนี้ได้รับความอุปการะจาก
    ผู้ว่าการรถไฟฯ บริจาครางรถไฟเพื่อใช้ในการทำแทนเสาและคาน

     
  2. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    58373732_1536115876519380_8171228409385451520_n.jpg

    58442614_1536115913186043_6433453915227815936_n.jpg

    57240639_1536115873186047_7976827538049597440_n.jpg

    58442090_1536115923186042_4257536776274444288_n.jpg

    58383394_1536115943186040_6697924072736555008_n.jpg


    ถ้ำเสือ
    ที่มาของชื่อวัดถ้ำเสือ

    หลังจากกราบพระด้านบนเขาแล้ว ขาลงเราสามารถเดินลงบันไดอีกด้านหนึ่งได้ ซึ่งเป็นทางไม่ชันเดินสบายๆ เมื่อลงมาถึงเชิงเขาจะเจอกับถ้ำเสือ เป็นถ้ำขนาดเล็กภายในมีอยู่สามสี่ห้อง ใกล้ๆปากถ้ำจะเป็นศาลาที่ตั้งสรีระสังขารหลวงปู่ชื่น
     
  3. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    59022713_1537591976371770_8909775759946547200_n.jpg

    59295386_1539035522894082_1772543302390775808_n.jpg

    58787531_1539035646227403_6606047064348426240_n.jpg

    59305769_1539035572894077_6918487539787497472_n.jpg

    58379967_1539035552894079_8520593036495814656_n.jpg


    "สะพานไม้ ด่านเจดีย์ นทีสามประสบ
    มรดกทุ่งใหญ่ ไทย กระเหรี่ยงรามัญ
    สารพันธรรมชาติ อภิวาทหลวงพ่ออุตตมะ
    เมืองสังขละชายแดน สุดแคว้นตะวันตก"


    ออกจากวัดถ้ำเสือ ก็มุงหน้าตรงสู่สังขละบุรี จากตัวเมืองกาญจน์ที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องและรถยนต์ที่แล่นกันขวักไขว่ รถก็เริ่มบางตาลงเรื่อยๆ จากสภาพบ้านเรือนที่ค่อยๆจางลงป่าเขาลำเนาไพรเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ระยะทางจากกรุงเทพมาเมืองกาญจน์ ยังใกล้กว่าวิ่งจากเมืองกาญจน์ไปสังขละบุรีเสียอีก เรียกว่าไกลเอาเรื่องอยู่ หากแต่เป็นคนชอบเสพธรรมชาติแล้วเรียกว่าไม่ผิดหวัง สังขละบุรียังล้อมรอบไปด้วยน้ำ เราจะเห็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่เป็นระยะๆ เรียกว่าชุ่มชื่นมาก จึงไม่รู้สึกว่าไกลอะไรเพลิดเพลินกับบรรยากาศไปเรื่อยๆประกอบกับแดดร่มลมตกแล้วก็มาถึงจุดหมายในยามเย็นพอดี

    หลังจากวนหาที่พักกันได้แล้วก็เดินลงมาที่สะพานกันในเวลาเข้าไต้เข้าไฟกันพอดี สายลมบนสะพานกำลังพัดเย็นสบาย อันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินสะพาน หรือผ่อนคลายอาการเหนื่อยล้า ปลดปล่อยให้ทุกอย่างได้ล่องลอยออกไปกับสายลมและสายน้ำ....




     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,592
    ค่าพลัง:
    +53,107
    1559721684195.jpg 1559721685663.jpg 1559721687788.jpg
     
  5. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    57382291_1539935819470719_4653500084854456320_n.jpg

    58763451_1539935829470718_3901392831050153984_n.jpg

    58761591_1539935879470713_991168337545265152_n.jpg


    สะพานมอญกับมุมมหาชนในยามเย็น

    ขึ้นเดือนอ้าย(ปี พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๙-๓๐ ดูข้อมูลในเน็ตงงมากลง พ.ศ. ไม่ตรงกัน)หลวงพ่อจับงานใหม่อีกอย่างหนึ่ง คือ
    "งานสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสามประสบ"
    เพื่อให้ชาวบ้านเดินทางไปมาสะดวกและเพื่อไปซ่อมแซมเจดีย์สร้างที่อยู่เลยสะพานข้ามแม่น้ำนั้นไป

    ตัวสะพานอยู่ห่างจากวัดวังก์ฯ ขึ้นไปทางเหนือราวกิโลเมตรครึ่ง หลวงพ่อเลือกสร้างตรงส่วนที่เป็นแหลมยื่นเข้าไปในแม่น้ำบีคี่ทั้งสองฝั่ง สะพานจึงมีความยาวเพียง ๔๐ เมตร
    (น่าจะพิมพ์ผิดเพราะสะพานยาวจริงประมาณ ๘๕๐ เมตร) ใช้ไม้ในป่าที่พวกเถ้าแก่ทิ้งไว้ไม่ได้ชักลากไปเพราะขนาดเล็กเกินกว่าที่ต้องการ ส่วนมากเถ้าแก่ต้องการไม้ใหญ่ขนาด ๘ กำ ขึ้นไป (ประมาณ ๓๐ นิ้ว) แต่แรงงานที่ตัดนั้นเป็นมอญ บางคนกะขนาดไม่ถูกก็ตัดเล็กเกินไป ไม้ขนาด ๕-๖ กำ จึงเหลือทิ้งอยู่ บ้างก็เป็นไม้ที่หล่นลงไปในเหว เถ้าแก่ไม่ลงทุนลากขึ้นมา

    หลวงพ่อเพียงแต่แจ้งให้ทางป่าไม้ทราบก็สามารถนำขึ้นมาใช้ได้ เพราะเป็นไม้ที่ตีตราแล้วทั้งนั้น ท่านขอแรงชาวบ้านใช้ช้างไปชักลากขึ้นมาได้มาก

    การสร้างสะพานนี้มีคนมาช่วยมากมายเหมือนเดิม หลวงพ่อใช้เงินที่ประชาชนทำบุญไว้ไปซื้อตะปู และจ้างคนงานบ้าง พวกที่ทำอะไรยังไม่เป็นได้ค่าแรงวันละ ๒๐ บาท พวกที่พอมีฝีมือได้วันละ ๓๕ บาท น็อตแทบไม่ต้องซื้อเพราะมีโรงงานส่งมาช่วย หมดค่าก่อสร้างไปไม่เกินห้าหมื่นบาทสะพานก็เสร็จในเดือนสาม
    ใช้เวลาก่อสร้างเพียง ๒ เดือน


    ที่มา : หนังสือ "๘๔ ปี หลวงพ่ออุตตมะ" หน้า ๑๓๔-๑๓๕

     
  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    62313366_1572244886239812_9176533455691841536_n.jpg
    (รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัยองค์ใหญ่ ณ วัดบ้านปาง)


    ๑๑ มิถุนายน ครบรอบ ๑๔๑ ปี ชาตกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

    "ต๋นข้าพระศรีวิชัยภิกขุ เกิดมาปิ๋เปิ๋กยี จุลศักราช ๑๒๔๐
    ตั๋วพุทธศักราช ๒๔๒๐ ปรารถนาขอหื้อข้าฯ ได้ตรัสรู้
    ปัญญาสัพพัญญูโพธิญาณเจ้าจิ่มเตอะ"


    ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน "ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อ เฟือน หรือ อินท์เฟือน บ้างก็ว่า อ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้น ปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์ หรือ เมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ (เดือน ๗ ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง" ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

    ที่มา: dharma-gateway.com

    62390435_1572242189573415_3171623345670062080_n.jpg
    (รูปหล่อครูบาศีลธรรม แกะจากไม้ ประดิษฐานหน้ากู่บรรจุอัฐิของท่าน ณ วัดบ้านปาง)


    "พระคาถาบารมี ๙ชั้น"ครูบาศรีวิชัย ต้นบุญแห่งล้านนา

    ตำนานคาถาของครูบาศรีวิชัยเจ้า ต้นบุญ แห่งล้านนา เพื่อให้ท่านทราบถึงที่มาของคาถาบทนี้ ครั้งหนึ่ง......นานมาครูบาศรีวิชัยเจ้าออกเดินธุดงค์ในแถบภาคเหนือ.....ใน ระหว่างเดินทางผ่านโต้งนา (ทุ่งนา) แห่งหนึ่งก็ได้ไปปะ (ไปพบ) เถียงนา (ที่พักกลางนา) หลังหนึ่งที่ถูกไฟไหม้ แต่ไฟไหม้ไม่หมดเหลือส่วนหนึ่งตรงใจคา (ชายคา) ด้วยเหตุที่ไฟไหม้ไม่หมดจึงทำให้ครูบาศรีวิชัยเจ้าเดินเข้าไปดู ท่านก็ได้พบ กระดาษสาแผ่นหนึ่งซึ่งเขียนเป็นภาษาล้านนา เขียนว่า คาถาบารมีเก้าจั้น....ท่านจึงเกิดอัศจรรย์ใจ ท่านจึงนำมาใช้กับตัวท่านตลอดมา

    คาถาบารมีเก้าชั้นหรือคาถาเรียกบารมี ๓๐ ทัศปกปักรักษาเวลากลางคำกลางคืนรวมถึงเรียกคุณพระแม่ธรณีและคุณทั้งปวงมาปก ปักรักษาให้รอดพ้นจากภัยพิบัติอันตรายทั้งหลายทั้งปวง นี่ก็เป็นคาถาอีกบทหนึ่งที่นิยมใช้กันทางภาคเหนือ ปัจจุบันค่อยเลือนหายไปน้อยคนนักที่จะรู้จัก ส่วนมากจะพากันไปสวดไปท่อง คาถาบารมี ๓๐ ทัศ ซึ่งก็เป็นคาถาประจำตัวท่านครูบาศรีวิชัยเจ้าอีกบทหนึ่งเช่นกัน

    พระคาถาบารมี ๙ ชั้น หรือ พระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ นี้เป็นคาถาที่พระครูบาศีลธรรมหรือครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโญ แห่ง วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน นับถือมาก องค์ท่านเองจะสวดเป็นประจำทุกวันไม่ขาดและอบรมศิษยานุศิษย์ให้ท่องจำและสวด ทุกวัน ๆ เช่นกัน

    พระคาถานี้มีอานุภาพมหาศาล ส่งผลทางแคล้วคลาดกันภัยอย่างยิ่ง แม้ผู้ใดคิดร้ายแก่เราผู้เจริญภาวนาพระคาถานี้อยู่เป็นนิจ ทั้งยังดำรงตนอยู่ในศีลและธรรมอันดีงามแล้วไซร้ คนที่คิดร้ายเหล่านั้นย่อมแพ้ภัยตัวเองหมดสิ้น เสมือนดังครูบาศรีวิชัยเองที่มีผู้ปองร้ายท่านมาโดยตลอดแต่ท่านก็รอดพ้น แคล้วคลาดมาเสมอเช่นกัน และที่สุดคนใจร้ายทั้งปวงก็ต้องถึงแก่ความวิบัติจนที่สุดแม้ชีวิตก็ไม่เหลือ ไปตามกัน

    และพระคาถานี้ยังทรงคุณทางเมตตามหานิยมเป็นเยี่ยม ผู้สวดสม่ำเสมอจักเป็นผู้ที่ไม่อดอยากยากจนขัดสนใด ๆ ทั้งยังหนุนดวงชะตาราศีให้เจริญรุ่งเรืองงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    พระคาถานี้ได้คัดลอกมาจากผ้ายันต์ที่ครูบาเจ้าให้ศิษย์ของท่านเขียนขึ้น เพื่อแจกศรัทธาประชาชนที่มาทำบุญและช่วยเหลือในการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดพระธาตุสบฝาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ นับเวลาถึงบัดนี้ก็ได้ ๘๐ ปีแล้ว ซึ่งถือว่าผ้ายันต์นี้เป็นต้นแบบที่ถูกต้องแท้จริง สมควรที่ชาวพุทธผู้ให้ความเคารพเลื่อมใสในคุณธรรมอันเลิศของครูบาศรีวิชัย สิริวิชโญ ยอดนักบุญแห่งล้านนาไทย ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งปรารถนาพุทธภูมิจุติลงมาสร้างบารมีโปรดเวไนยสัตว์ จักได้สวดภาวนาพระคาถาวิเศษนี้เพื่อความเจริญก้าวหน้าและแคล้วคลาดจาก ภยันตรายต่าง ๆ แล ฯ.




    62521630_1572245306239770_5218509427849560064_n.jpg

    (ปราสาท ๕ ยอด และโลงรายลดน้ำปิดทอง ภานในพิพิธภัณฑ์ วัดบ้านปาง)


    "พระคาถาบารมี ๙ชั้น"

    ตั้งนะโม ๓ จบ

    ภาคภาษาล้านนา

    สาธุ สาธุ สาธุ พระปัญญาปารมีสามสิบตั๊ด สาธุพระปัญญาปาระมีวังแวดล้อม วิริยะปาระมีล้อมระวังดี ศีลปาระมีบังหอดาบ เมตตาปารมีผาบแป๊ทังปืน ทานนะปาระมีหื้อเป๋นผืนตั้งต่อ อุเบกขาปาระมีหื้อก่อเป๋นเวียง สัจจะปาระมีแวดระวังดีเป๋นใต้ ขันติปารมีก๋ายเป๋นหอกดาบบังหน้าไม้และปืนไฟ อธิฐานะปารมีผันผาบไปทุกแห่ง แข็งๆ แรงๆ ผายปราบฝูงหมู่มาร ผีสางพรายเผด ทุกทวีปภพถีบผั้งผายหนี นางธรณีอัศจรรย์ โสสะหมื่นผันอยู่ข้าง น้ำนทีนองกว้างต่อกว้างแตกตีฟองนานองนานอก เป๋นเข้าตอกดอกไม้ถวายบูชาพระแก้วแก่นไม้สะทัน พระพุทธังจุ่งมาผายโผดอนุญาโตดโผดผู้ข้าแต๊ดีหลี แม่ธรณีออกมารีดผมอยู่ที่ข้างธาตุจ้างร้ายข่ายคะจังงาสับดินพ่นน้ำนทีนองผัด ผาย คอพรายหักทบท้าวพญามารอ่าวๆปูนกั๋วกราบยอมือขึ้นทูนหัวใส่เกล้า ผู้ข้านี้ได้จื่อว่าลูกศิษย์พระพุทธเจ้าต๋นมีบุญสมภารอันมากนัก พระพุทธเจ้าจึงจัดตั้งปารมีไว้เก้าจั้น ตั้งไว้ตั้งหน้าก่ได้เก้าจั้น ตั้งไว้ตังหลังก่าได้เก้าจั้น ตั้งแต่หัวแผวตีน ก่ได้เก้าจั้น ตั้งแต่ตีนแผวหัวก่าได้เก้าจั้นแสนวา ลูกปืนจักมาเสมอเหมือนฝนแสนห่า ก่จักบ่มาไก้ ข้าเจ้าก่เลยได้ว่า พุทธะคุนัง ธรรมมะคุนัง สังฆะคุนัง พุทธะอินทา ธรรมะอินทา สังฆะอินทา อัสอับอั้นแม่ธรณีผู้อยู่เหนือน้ำ ผู้อยู่ก้ำแผ่นดิน กอนข้าได้ระลึกกึ๊ดถึงคุณพระบิดา คุณพระมารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณพระแก้วตังสามผะกาน คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณแดด คุณฝน คุณลม คุณกุศลราชเจ้าก่ดี คุณพรุะต๋นภาวนาก่ดี คุณนางอุตราก่ดี คุณธรณีเจ้าก่ดี ขอหื้อจุ่งมาจ่วยฮักษาตังก้ำหน้าและก้ำหลังตนตั๋วแห่งข้าพระเจ้าในคืนวันนี้ ยามนี้จุ่งแต๊ดีหลีแด่เต๊อะ


    แปลเป็นภาษาไทยกลาง

    (สาธุ สาธุ พระปัญญาบารมีสามสิบทัศ สาธุพระปัญญาบารมีวังแวดล้อม วิริยะบารมีล้อมระวังดี ศีละบารมีบังหอกดาบ เมตตาบารมีปราบแพ้ทั้งปืน ทานะบารมีให้เป็นผืนตั้งต่อ อุเบกขาบารมีให้ก่อเป็นเวียงศรี สัจจะบารมีแวดระวังดีเป็นไม้ไต้ ขันติบารมีกลายเกิดเป็นหอกดาบบังหน้าไม้และปืนไฟ อธิษฐานะบารมีผันปราบไปทุกแห่ง แข็งแข็ง แรงแรง ปราบฝูงหมู่มาร ผีสาง พรายเปรตทุกทวีปพบถีบพังพ่ายหนี นาง ธรณีอัศจรรย์รูดมวยผมผันอยู่คว้าง ๆ น้ำนทีนองกว้างต่อกว้างแตกตีฟองนะนอง นะนอกเป็นข้าวตอกดอกไม้ มาถวายบูชาพระแก่นไท้ทรงธรรม์ พระพุทธังจุ่งมาผายโปรดจุ่งอนุญาตโทษโปรดผู้ข้าแท้ดีหลี นางธรณีออกมารีดผมอยู่ธาตุช้างร้ายค่ายคะจังงาสับดินพ้นน้ำนทีลงพัดพ่ายคอ พลายหักทบท่าว พญามารอ้าวอ้าวปูนกลัวกราบยกมือไหว้ทูนใส่หัวเกล้า ข้าผู้นี้ชื่อว่าศิษย์พระพุทธเจ้าตนมีบุญสมภารอันมาก พระพุทธเจ้าจึงตั้งพระปัญญาบารมีไว้เก้าชั้น ตั้งไว้ข้างหลังได้เก้าชั้น ตั้งแต่หัวถึงตีนก็ได้เก้าชั้น ตั้งแต่ตีนถึงหัวก็ได้เก้าชั้นแสนวาลูกปืนจักมาเสมอเหมือนฝนแสนห่าก็บ่มีจัก มาใกล้ได้ ข้าพเจ้าจึงไหว้ว่า พระพุทธะคุณณัง พระธรรมะคุณณัง พระสังฆะคุณณัง พุทธะอินทรา ธรรมะอินทรา สังฆะอินทรา อัสสะอับ แม่ธรณีอยู่เหนือน้ำผู้อยู่ค้ำแผ่นดิน ครั้นข้าพเจ้าได้ระลึกถึงยังคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมะเจ้า คุณพระสังฆะเจ้า คุณพระบิดา คุณพระมารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณพระแก้วเจ้าทั้งสามประการคือ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณแดด คุณฝน คุณน้ำ คุณลม คุณกุสสะราชเจ้าก็ดี คุณภาวนาก็ดี คุณนางอุทราก็ดี คุณพระปัจเจกกะเจ้าก็ดี คุณแม่ธรณีก็ดี ขอจงมารักษายังตนตัวแห่งข้าในคือวันยามนี้เทอญ)

    พุทโธ พุทธังรักษา ธัมโม ธัมมังรักษา สังโฆ สังฆังรักษา
    พุทโธ พุทธังอะระหัง ธัมโม ธัมมังอะระหัง สังโฆ สังฆังอะระหัง
    พุทโธ พุทธังกันหะ ธัมโม ธัมมังกันหะ สังโฆ สังฆังกันหะ
    อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ


    พระคาถานี้มีอานุภาพมหาศาล ส่งผลทางแคล้วคลาดกันภัยอย่างยิ่ง แม้ผู้ใดคิดร้ายแก่เราผู้เจริญภาวนาพระคาถานี้อยู่เป็นนิจ ทั้งยังดำรงตนอยู่ในศีลและธรรมอันดีงามแล้วไซร้ คนที่คิดร้ายเหล่านั้นย่อมแพ้ภัยตัวเองหมดสิ้น เสมือนดังครูบาศรีวิชัยเองที่มีผู้ปองร้ายท่านมาโดยตลอดแต่ท่านก็รอดพ้น แคล้วคลาดมาเสมอเช่นกัน






     
  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    58986705_1538419912955643_50617658462175232_n.jpg

    59022578_1538420089622292_7542375030370336768_n.jpg

    59390725_1538419972955637_3499732987086372864_n.jpg

    58654767_1538419992955635_7901391814794412032_n.jpg

    59299316_1538419916288976_6616869926667812864_n.jpg


    สะพานมอญ สังขละบุรี วิถีชีวิตแห่งสายน้ำ

    สังขละบุรี ตัวอำเภอตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า สามประสบ คือบริเวณที่ลำน้ำสามสาย อันได้แก่ ห้วยซองกะเลีย ห้วยบิคลี่ และห้วยรันตี ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแควน้อย คนที่นี่จึงผูกพันกับสายน้ำ สายน้ำอันเป็นต้นกำเนิดแห่งสรรพชีวิต นำมาซึ่งความชุ่มเย็น
     
  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160




    58831687_1540583699405931_8162727054198964224_n.jpg
    59410746_1540583772739257_9026920898455666688_n.jpg
    60002593_1543772315753736_7659686637516881920_n.jpg
    60140280_1543772349087066_3321214934875897856_n.jpg
    59709277_1543772415753726_4047406686728617984_n.jpg

    ตักบาตรยามเช้า ไฮไลท์ที่สำคัญของการมาเยือนสะพานมอญ

    หลังจากร่ำลากับบรรยากาศยามค่ำที่สะพานมอญแล้วก็เดินกลับที่พัก อาบน้ำอาบท่าแล้วก็หลับนอนไปด้วยความเพลีย ราวๆตี ๕ ก็ตื่นขึ้นมาอาบน้ำทำธุระเพื่อเตรียมลงไปเก็บภาพการใส่บาตรยามเช้ากัน ได้ข้อมูลมาว่าพระจะมาราวๆ ๖.๓๐ น. เสร็จธุระแล้วก็ออกมานั่งอยู่หน้าห้อง อากาศยามเช้าเย็นมากจริงต้องบอกว่าหนาวเลยดีกว่า(แต่กลางวันก็ร้อนเอาเรื่อง) นั่งอยู่พักใหญ่ๆใกล้ๆ หกโมงแล้ว เห็นสมาชิกยังไม่มีใครออกมาจึงบอกกับคนที่ตื่นแล้วว่าผมจะลงไปที่สะพานก่อนนะ
    ว่าแล้วก็เดินออกมาเลย เสียงนักท่องเที่ยวเริ่มทยอยเดินลงไปที่สะพานกัน มองไปมองมาที่สะพานก็ไม่เห็นมีกิจกรรมอะไรนี่ เขาใส่บาตรกันตรงไหน!!!
    จึงเดินไปอีกฝั่งของสะพานทางหมู่บ้านมอญ เจอเด็กๆ มาขายดอกไม้กัน บางคนมีจุดขายโดยเอาขันข้าวซ้อนกันบนห้วห้าหกชั้นเพื่อเป็นจุดสนใจ น้องบางคนก็มาเล่าประวัติสะพานให้ฟัง แต่ทั้งหมดทั้งมวลเราไม่ได้ถ่ายรูปอุดหนุนดอกไม้หรือฟังประวัติเลย เพราะใจมัวคิดอยู่แต่ว่าเขาใส่บาตรกันตรงไหน สองขาจึงเร่งเดินหน้าไปเรื่อยๆเพราะใกล้เวลาเข้ามาเต็มที​


    พอข้ามฝั่งมาแล้วจึงเริ่มเห็น ของใส่บาตรที่ชาวบ้านนำมาขายกัน เรียงตัวทอดยาวไปไกลสุดลูกหูลูกตา นักท่องเที่ยวก็เริ่มมาจับจองชุดใส่บาตรกัน ซึ่งมีจำนวนมากเลยทีเดียว เราก็เดินไล่ขึ้นไปเรื่อยๆว่าจะไปสุดที่ไหน แต่โอ๊ะ..เห็นจีวรพระเหลืองๆมาไกลๆแล้ว เดินไปไม่ทันสุด พระมาแล้ว ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวก็เริ่มใส่บาตรกัน

     
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    64833935_1581668458630788_3755834903330029568_n.jpg


    ๒๒ มิถุนายน ครบรอบวันละสังขาร
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)

    คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

    "ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีจากหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือ บารมีของตน ลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอดเพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว
    เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัวแล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า

    หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง
    จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
    ครั้นถึงเวลาทั้งฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
    เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"​
     
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    58961691_1540583782739256_9213045303387619328_n.jpg

    59663527_1543772295753738_5974481112838176768_n.jpg

    59647529_1543772162420418_3275623156949188608_n.jpg

    59699243_1543772182420416_6990203529306570752_n.jpg

    59901850_1543155275815440_8959511545658736640_n.jpg


    ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนไว่ว่า สิ่งเดียวที่สะสม
    แล้วไม่เป็นภาระนั่นก็คือ


    "บุญ"
    บุญกุศล นั่นทำมากย่อมดีกว่าทำน้อย ทำน้อยย่อมดีกว่าไม่ทำเสียเลย

    บรรยากาศตักบาตรยามเช้าที่สะพานมอญ นำโดยพระมหาสุชาติ ท่านเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม จะมีเจ้าหน้าที่ทหารคอยแนะนำนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการตักบาตรอย่างเป็นกันเองมาก เห็นเจ้าหน้าที่ท่านใจดี
    ก็เลยสอบถามว่าไม่ได้ใส่บาตรกันที่สะพานเหรอครับ

    ท่านก็บอกว่าเพื่อความปลอดภัยครับ คนเยอะมากลงไปออกันที่สะพานอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้จึงให้มีการตักบาตรกันบนฝั่ง

    มองไปมองมาก็เลยบอกท่านว่าคนมากันเยอะมากจริงๆแหละ ท่านบอกว่าวันนี้ยังน้อยนะครับ วันหยุดมากกว่านี่ ๓-๔ เท่า หน้าเทศกาลไม่ต้องพูดถึง คนไหลเลย
     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    59781230_1545151195615848_5343210049487503360_n.jpg

    59952198_1545927538871547_409895336379678720_n.jpg

    60082077_1545927502204884_4657986397238460416_n.jpg


    สะพานมอญยามเช้า

    หลังจากตักบาตรกันเสร็จแน่นอนว่านักท่องเที่ยวทุกคนก็ต้องมาชื่นชมกับบรรยากาศยามเช้าเพื่อซึมซับเอาความสดชื่นไว้เป็นพลังเพื่อสู้ต่อไปในวันข้างหน้า บันทึกภาพประทับใจไว้ด้วยใจและเครื่องมือต่างๆเช่นกล้องหรือโทรศัพท์ ยามเหงาหรือยามท้อแท้ก็หวังไว้ว่าภาพเหล่านั้นความรู้สึกที่เป็นสุขในเวลานั้นจะได้กลับคืนมาช่วยขจัดความมัวหมองในใจให้ระงับลงได้

    ******************************

    "สะพานมอญ"...ฟ้าหลังฝนยังคงสดใส
    บทความโดย...อินทรชัย พาณิชกุล

    “ถ้าสะพานไม่พัง คนไทยก็คงไม่มีวันรู้ว่าสะพานมอญนั้นยิ่งใหญ่เพียงใด”
    คำบอกเล่าของชาวบ้านรายหนึ่งใน อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี หลังจากได้เห็นสิ่งที่เรียกว่า “บารมี” อันเกิดขึ้นกับสะพานอุตตมานุสรณ์ หรือสะพานมอญ ด้วยสายตาตัวเอง

    ตำนานสะพานมอญ

    รู้กันในหมู่นักท่องเที่ยวว่า อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เป็นดั่งสวรรค์บนดิน เมืองชายแดนริมแม่น้ำโอบล้อมด้วยภูเขา สงบและงดงาม บรรยากาศรุ่มรวยด้วยวัฒนธรรมหลากหลายชาติพันธุ์ ไทย กะเหรี่ยง มอญ พม่า ลาว

    นอกจากเจดีย์พุทธคยา วัดหลวงพ่ออุตมะ วัดใต้บาดาล และด่านเจดีย์สามองค์ อีกหนึ่งในสัญลักษณ์ของสังขละบุรีที่เป็นที่จดจำของผู้คนก็คือ สะพานมอญ หรือสะพานอุตตมานุสรณ์ สะพานไม้ที่มีความยาว 850 เมตร สร้างขึ้นจากดำริของหลวงพ่ออุตตมะ (พระราชอุดมมงคล) เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม เมื่อปีพ.ศ. 2529

    “สมัยแรกๆยังเป็นแพไม้ไผ่ต่อติดกันเว้นตรงกลางไว้เป็นแพสำหรับคนชักให้สะพานมาเชื่อมกัน เก็บเงินคนผ่านไปมาคนละบาท จนชาวบ้านเรียกว่าสะพานบาทเดียว หลวงพ่ออุตตมะเห็นว่าชาวบ้านเดือดร้อนที่ต้องเสียเงินข้ามฝั่งเลยคิดสร้างสะพานใหม่ขึ้นมาถาวร ให้ไปมาหาสู่กันได้สะดวก
    วัสดุที่ใช้สร้างเป็นไม้ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นไม้แดง เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความทนทานมาก ไม่ว่าเสา ราวสะพาน และพื้นสะพานจะเป็นไม้ขนาดหน้ากว้าง 1 ศอก ตัวสะพานใช้เสา 60 ต้น เสาช่วงกลางห่างกัน 10 ศอก ช่วงอื่นๆห่างกัน 7 ศอก ท่านเร่งสร้างทั้งกลางวันและกลางคืนใช้เวลาราว 2 เดือนก็เสร็จ”

    วีรพล โชติเสน ปราชญ์ชุมชนสังขละ ผายมือไปยังสะพานไม้ที่ตั้งตระหง่านขรึมขลังเหนือสายน้ำท่ามกลางไอหมอกยามเช้า สะพานมอญแห่งนี้เกิดขึ้นจากความศรัทธาของผู้คนทุกเชื้อชาติ บางคนผลัดเปลี่ยนกันมาปรุงอาหารเลี้ยง บางคนเอาเครื่องมือ บางคนเอาแรงมาช่วยกันคนละไม้ละมือ โดยไม่ต้องพึ่งเครื่องจักรใดๆ เบื้องหลังความแข็งแรงคงทนท้าทายแดดฝนมานานกว่าสามทศวรรษ ชาวสังขละต้องระดมกำลังกันซ่อมแซมสะพานอย่างต่อเนื่องทุกปี

    “ที่ผ่านมา ชาวบ้านต้องคอยนำไม้ไผ่มาเสริมโครงสร้างของสะพาน นำไม้แดงมาเสริมตลอดแนวสะพานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง หลายคนเคยผ่านประสบการณ์ซ่อมสะพานมอญมาแล้วทั้งนั้น”

    กระทั่งปลายเดือนกรกฎาคม 2556 สะพานอุตตมานุสรณ์ตกเป็นข่าวใหญ่อีกครั้ง เมื่อเกิดเหตุฝนถล่มรุนแรง น้ำป่าไหลเชี่ยวจนซัดสะพานขาดออกจากกัน ส่งผลให้ทางจังหวัดสั่งปิดปรับปรุงชั่วคราว และได้เปิดประมูลว่าจ้างผู้รับเหมาให้เข้าทำการซ่อมแซม ทว่าติดขัดอุปสรรคปัญหาต้องลากยาวมาเกือบปีสะพานก็ยังไม่แล้วเสร็จ ตามมาด้วยกระแสกดดันอย่างหนักจากชาวบ้านในพื้นที่

    แต่ท้ายที่สุดสะพานมอญซึ่งหลงเหลือเพียงซากปรักหักพังกลางน้ำก็ได้รับการบูรณะให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม โดยน้ำมือของเหล่าทหารช่างจากกองพลทหารราบที่ 9 ร่วมกับชาวบ้าน ใช้เวลาเพียงแค่ 39 วันเท่านั้น

    รอยยิ้มของชาวสังขละ

    ภาพผู้คนเรือนหมื่นเดินเบียดเสียดบนสะพานมอญ สะพานลูกบวบ (สะพานไม้ไผ่ที่สร้างขึ้นชั่วคราวช่วงเกิดเหตุ) ตลอดจนริมสองฝั่งแม่น้ำซองกาเลีย เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ซึ่งเป็นวันเปิดสะพานอย่างเป็นทางการวันแรกหลังซ่อมเสร็จ ช่างน่าเหลือเชื่อ

    “พูดก็พูดเถอะ คนเขาตั้งตารอสะพานมอญซ่อมเสร็จทั้งนั้นแหละ ถ้าไม่ได้เดินเที่ยวบนสะพานมอญก็ถือว่ามาไม่ถึงสังขละบุรี”

    ป้าเย็น หญิงชาวมอญผู้ประแป้งทานาคา นุ่งโสร่งสีสด ผู้ทำหน้าที่ชักชวนนักท่องเที่ยวลงเรือล่องแม่น้ำ ยิ้มโชว์ฟันขาว เธอกระซิบว่าเกือบหนึ่งปีที่ปิดซ่อมแซมสะพานอุตตมานุสรณ์ เมืองสังขละซบเซาอย่างน่าใจหาย เกสต์เฮาส์ เรือนำเที่ยวปิดตัวลงเกือบครึ่ง ชาวบ้านหลายคนต้องหันไปยึดอาชีพเดิม คือ หาปลามาขายประทังชีวิต

    ซอสิบ เด็กพม่าวัย 10 ขวบ เล่าให้ฟังว่า ช่วงสะพานมอญปิดปรับปรุง เหล่ามัคคุเทศน์น้อยบนสะพานมอญ จำนวน 5-6 คน ต้องพลาดโอกาสหาเงินค่าเล่าเรียนไปอย่างน่าเสียดาย ขณะที่ วิชา ดาบแก้ว เจ้าของแพที่พักและเรือนำเที่ยวบริเวณสามประสบบอกว่าโชคดีที่สะพานมอญซ่อมเสร็จทันช่วงไฮซีซัน นั่นแปลว่าห้องพักทุกแห่งถูกจองเต็ม ร้านอาหารร้านขายของที่ระลึกแน่นไปด้วยผู้คนหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย

    สังขละบุรีตื่นฟื้นกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

    ความศรัทธา มุ่งมั่น และใจที่เต็มเปี่ยมพร้อมจะช่วยเหลือของทุกคน ทั้งชาวบ้านในพื้นที่ นักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ ทีมทหารช่างจากกองพลทหารราบที่ 9 ทุกคนที่มาช่วยซ่อมสะพานมอญแทบไม่ต้องเสียงบประมาณค่าอาหารเลยแม้แต่บาทเดียว โดยเฉพาะชุมชนเองต่างเสนอตัวเป็นเจ้าภาพทำอาหารจนคิวยาวเหยียดเลี้ยงกันได้เป็นปี นักท่องเที่ยวเองก็เอาขนมนมเนย เครื่องดื่มชูกำลังไปฝากคนที่ทำงานมิได้ขาด ถึงขั้นที่ว่านายช่างร้องขอตะปู 1 ลัง ชั่วพริบตาตะปูก็มาอยู่ตรงหน้า 4-5 ลัง กำลังคน กำลังงาน กำลังศรัทธาเปี่ยมล้น เงินบริจาคมาก็แทบไม่ต้องใช้ ยิ่งข่าวเรื่องสะพานออกไปมากเท่าไหร่ความช่วยเหลือกก็ยิ่งหลั่งไหลมามากเป็นทวีคูณ”ชาวบ้านรายหนึ่งเล่าถึงประสบการณ์ประทับใจช่วงซ่อมแซมสะพานมอญ

    อย่างไรก็ตาม ยังมีความห่วงใยปรารถนาดีจาก พระมหาสุชาติ สิริปัญโญ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม แสดงความเห็นถึงกระแสนักท่องเที่ยวแห่แหนกันมาเดินเที่ยวบนสะพานมอญไว้อย่างน่าคิด

    “ช่วงเทศกาลต่างๆ มักจะมีนักท่องเที่ยวเดินชมบรรยากาศอยู่บนสะพานเป็นจำนวนมากในเวลาพร้อมๆกัน ดังนั้นจะต้องระมัดระวังเรื่องของความปลอดภัยให้มาก เพราะสะพานมอญเป็นสะพานไม้ทั้งหมด ประกอบกับตั้งอยู่ในน้ำ ตัวโครงสร้างโดยธรรมชาติแล้วก็ไม่สามารถรับน้ำหนักได้เหมือนสะพานคอนกรีต เกรงว่าหากขณะจัดงานเกิดมีคนตะโกนว่าไฟไหม้ หรือสะพานแกว่งตัวเพราะแรงสั่นสะเทือนของการจุดพลุ แล้วเกิดมีผู้คนตะโกนว่าสะพานกำลังจะพัง อาจเกิดโศกนาฏกรรมเหยียบกันตาย เฉกเช่นเดียวกับงานเฉลิมฉลองเทศกาลน้ำประจำปีของกัมพูชาที่มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนก็เป็นได้”

    ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสการเติบโตแบบก้าวกระโดด รวมถึงความโด่งดังของข่าวสะพานมอญ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลหลั่งไหลเข้ามายังสังขละบุรี หากไม่มีการเตรียมความพร้อม การบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่รัดกุม เสน่ห์อันขรึมขลังที่เคยมีก็อาจเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

     
  12. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    60034416_1546591298805171_9110936746597548032_n.jpg

    60014497_1546591072138527_2744907401235791872_n.jpg

    60118509_1546591355471832_8948252705504100352_n.jpg

    60344988_1546591085471859_2531053433310412800_n.jpg

    60149530_1546591278805173_2804923504703569920_n.jpg


    บรรยากาศสะพานมอญยามเช้า

    สะพานมอญ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานอุตตมานุสรณ์ เป็นสะพานไม้ข้ามแม่น้ำซองกาเลียไปยังหมู่บ้านมอญ ถือเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับสองของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในพม่า และเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอสังขละบุรี เป็นสะพานแห่งศรัทธา ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชุมชนที่อาศัยอยู่ในสังขละบุรี ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวมาสัมผัสธรรมชาติ พร้อมๆ กับการได้เห็นวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญในแถบนี้ สิ่งที่ห้ามพลาดอีกอย่างหนึ่งก็คือการได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก กับสะพานที่เสมือนเป็นสายใยวัฒนธรรมของชาวมอญและไทยในดินแดนสุดขอบประเทศแห่งนี้

    การเที่ยวชมสะพานมอญ ควรแวะเดินชมตั้งแต่เช้า โดยเฉพาะช่วงเวลา 6.00 - 7.00 น. เป็นช่วงที่ได้เห็นวิถีชีวิตชาวมอญ ใส่บาตรพระทุกเช้า หากนักท่องเที่ยวต้องการใส่บาตร ก็มีอาหารขายบริเวณหมู่บ้านมอญ สายๆ หากเดินข้ามฝั่งไปยังหมู่บ้านมอญ ก็สามารถเที่ยวชมบ้านเรือนในแบบชาวมอญ ซื้อของที่ระลึก หรือจะแวะชิมขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย ที่เป็นอาหารพื้นบ้านชาวมอญก็ได้

    วิถีชีวิตชาวมอญที่พบเห็นได้บริเวณสะพานมอญ และหมู่บ้านมอญ
    เมื่อความเจริญค่อยๆ คืบคลานเข้าสู่หมู่บ้านมอญ การเดินทางมีความสะดวกสบายขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาในสังคม ทำให้วิถีชีวิตชาวมอญเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แทรกซึมเข้ามาสู่ชุมชน แต่ก็ยังได้เห็นกลิ่นไอความเป็นมอญบางอย่างหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ละครอบครัวในหมู่บ้านมอญ ส่วนใหญ่คนหนุ่มสาว จะเข้าไปรับจ้างทำงานในตัวเมือง เราจึงมักเห็นการดำเนินชีวิตประจำวันแบบมอญของเด็กๆ และผู้สูงวัย มากกว่าวัยรุ่น​


    นักท่องเที่ยวที่มาสังขละบุรีจึงอาจจะได้เห็นลักษณะความเป็นมอญบางอย่างที่หลงเหลืองอยู่
    - กิจวัตรประจำวันของชาวมอญที่นักท่องเที่ยวสนใจกันเป็นอย่างมาก คือการใส่บาตรในช่วงเช้า โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่จะตื่นแต่เช้า นำขันใส่ข้าวสวยมานั่งรอบนพื้นถนนเป็นแถว เพื่อรอพระมาบิณฑบาตร ชาวบ้านมักจะใส่บาตรด้วยข้าวสวย และดอกไม้ และกราบพระลงกับพื้นถนน ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจสำหรับนักท่องเที่ยว หากใครต้องการใส่บาตร ก็สามารถร่วมใส่บาตรตอนเช้ากับชาวมอญได้ เพราะมีชุดสำหรับใส่บาตรจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวด้วย
    - จะได้เห็นวัฒนธรรมการเทินของไว้บนหัวของชาวมอญ ซึ่งบางคนยังคงนิยมเทินสิ่งของไว้บนหัว แทนการห้วสัมภาระมากมาย บางคนสามารถเทินของได้สูงๆ หรือหนักมากๆ แล้วยังสามารถเดินได้อย่างคล่องแคล่ว
    - ได้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวมอญ สังเกตได้จากการแต่งกายโดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง เสื้อแขนกระบอกสามส่วน มีผ้าแถบยาวเหมือนสไบพาดไว้ที่บ่า ผมรวมมัดเป็นมวยไว้ด้านหลัง ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่ง บนใบหน้าของหญิงชายชาวมอญ รวมถึงเด็กๆ นิยมทาแป้งทานาคา ที่มีสีออกเหลืองนวลๆ ฉาบไว้ที่ใบหน้า (แป้งทานาคาทำจากท่อนไม้ต้นทานาคาฝนกับแป้นหินทราย ทาบนหน้าแล้วเกลี่ยด้วยแปรง)
    - บางทีจะได้เห็นแม่ชีชาวมอญ เดินขอรับบริจาค โดยสวมผ้าคลุมแบบชาวมอญ เป็นผ้าคลุมสีชมพูคลุมทับผ้าชั้นในออกสีส้มเหมือนสีจีวรพระ มีสไบพาดสีเดียวกับผ้าชั้นใน ถือร่มไม้
    - ในหน้าร้อน บริเวณสะพานมอญ เหมือนเป็นสวนน้ำสำหรับเด็กๆ จะมีเด็ก มาเล่นน้ำใสๆ ในแม่น้ำซองกาเลีย และกระโดดน้ำจากสะพานมอญ
    - เดิมบ้านของชาวมอญมักปลูกสร้างด้วยไม้กระดาน หรือเป็นไม้ไผ่สานขัดแตะ ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเป็นสร้างด้วยปูนบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบางบ้านที่ยังคงสภาพเดิมๆ ไว้ ให้เห็นถึงความเป็นบ้านมอญ ถ้าสังเกตดีๆ บ้านมอญมักจะมีผนังด้านหนึ่ง ทำเป็นเหมือนส่วนเกินยื่นออกมาคล้ายมุขหน้าต่าง นูนเป็นกล่องตรงผนังบ้าน มุขที่ว่านี้ก็คือ ห้องพระ หรือหิ้งพระของบ้าน บางบ้านจะตกแต่งส่วนของมุขนี้ไว้อย่างสวยงาม​


    ที่มา: Ceediz.com


    60357721_1546591112138523_3261323024682450944_n.jpg
    ป้าชู๊ คนดังแห่งสะพานมอญ ใครมาเที่ยวต้องถ่ายรูปกับป้า หรือถ่ายรูปป้ากลับไป เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการมาเที่ยวสะพานมอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    60577145_1548167055314262_8970092073038381056_n.jpg

    60153561_1547464945384473_308367665326456832_n.jpg

    60212434_1547464998717801_2884485390155120640_n.jpg

    60324090_1547465072051127_8837206192922034176_n.jpg


    "สะพานไม้ ด่านเจดีย์ นทีสามประสบ มรดกทุ่งใหญ่ ไทย กะเหรี่ยง รามัญ สารพันธรรมชาติ อภิวาทหลวงพ่ออุตตมะ เมืองสังขละชายแดน
    สุดแคว้นตะวันตก"


    ที่มาของคำว่า "สามประสบ"

    แรกเริ่มเดิมทีตั้งแต่สมัยอำเภอสังขละเก่า จุดที่แม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน คือแม่น้ำรันตี บีคลี่ และซองกาเรีย นั้น ชาวบ้านร้านถิ่น ต่างก็เรียกจุดที่มา
    บรรจบกันว่า "สามสบ"


    คำว่า "สบ" นั้นตาม "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒" มีความหมายดังนี้
    "สบ" ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง,
    ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์.

    น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วยซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลง สู่แม่น้ำแควน้อย.

    ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).


    จนกระทั่งเมื่อปี ๒๕๒๗ การสร้างเขื่อนเขาแหลม (เขื่อนวชิราลงกรณ์)
    จึงแล้วเสร็จ ทำให้อำเภอสังขละเก่า ต้องจมน้ำลง

    ชาวบ้านจากอำเภอเก่า ถูกจัดสรรที่ทางให้ขึ้นมาอยู่ ณ ยังตำแหน่ง
    อำเภอสังขละบุรีในปัจจุบัน

    ณ เวลานั้นยังไม่มีการสร้างสะพานไม้ (สะพานมอญ) ขึ้นแต่อย่างใด บริเวณแหลมด้านหนึ่งของฝั่งชุมชนไทย ได้มี ร้านอาหาร "ครัวสามสบ" ขึ้น

    เนื่องจากมีผู้หลักผู้ใหญ่ ขึ้นมาชมวิว มาพัก มาทานอาหาร อยู่บ่อยครั้ง มีท่านนึง ซึ่งเป็นพัฒนาชุมชนจังหวัด ได้กล่าวทักทายเจ้าของ "ครัวสามสบ" ว่า ถึงแม้จะเข้าใจว่า คำว่า "สบ" นั้นมีความหมายว่าบรรจบกัน แต่มันพ้องเสียงกับคำว่า ศพ ท่านเลยว่ามันเหมือนกับมานั่งทานอาหาร ชมวิว อยู่บนศพใครไม่รู้ สามศพ ซึ่งก็เรียกเสียงหัวเราะในวงวันนั้นได้

    ท่านเลยว่า งั้นเติมคำว่า "ประ" เข้าไปดีไหม จากเดิม "สามสบ" ให้เป็น "สามประสบ" แทน ฟังเพราะหูกว่า อีกทั้งยังคงความหมายเดิมเหมือนกัน


    คำว่า "ประสบ" ตาม "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒"
    มีความหมายดังนี้

    "ประสบ" ก. พบ, พบปะ, พบเห็น.


    หลังจากนั้นมา "ครัวสามสบ" จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "ครัวสามประสบ" และภายหลังกลายมาเป็น "สามประสบรีสอร์ท" จากนั้นเป็นต้นมา

    เนื่องจากคำว่า "สามประสบ" นั้น เป็นคำที่ฟังรื่นหู ความหมายยังคงเดิม ชาวบ้านร้านถิ่นที่อยู่ในอำเภอสังขละบุรี ก็พลอยเรียกชื่อ คุ้งแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน จาก "สามสบ" เป็น สามประสบ" เรื่อยมา


    ที่มา: สามประสบรีสอร์ท
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    60539365_1549818621815772_2722411131338489856_n.jpg

    60400359_1550721345058833_1491352635335245824_n.jpg

    60361249_1550721235058844_1543179150997585920_n.jpg

    60259956_1550721358392165_1293312513655439360_n.jpg

    60341360_1550721415058826_2915160257036550144_n.jpg


    หลวงพ่ออุตตมะ เทพเจ้าแห่งซองกาเลีย

    "หน่อพุทธวงศ์"ผู้เป็นพระมหาโพธิสัตว์อันประเสริฐที่จะได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกเป็นองค์สมเด็จพระสรรเพชญ์สัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้มิแปรผัน ตามที่หลวงพ่อพุธ ฐานิโยมีความเคารพนับถืออย่างยิ่งในเบื้องหน้า แท้จริงแล้วก็คือ พระเดชพระคุณพระราชอุดมมงคลหรือหลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรีนั่นเอง..!!!!!!

    "ช่างเป็นบุญเหลือเกิน....ช่างเป็นบุญเหลือเกิน..."

    "หลวงพ่ออย่าทิ้งลูกหลานน๊ะ...หลวงพ่ออย่าทิ้งลูกหลานเน้อ...!?!?"


    หลวงพ่ออุตตมะกับหลวงปู่บุญมี โชติปาโล พระอริยเจ้าชั้นสูงแห่งวัดสระประสานสุข อุบลราชธานีชุดนี้ "พุทธวงศ์"เป็นผู้บันทึกไว้ด้วยตัวเองเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เมื่อครั้งตามหลวงพ่ออุตตมะไปพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระแก้วครั้งหนึ่ง

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระอรหันตเจ้าผู้ยิ่งด้วยปัญญาแห่งวัดป่าสาลวัน นครราชสีมายังเคยกล่าวรับรองถึงพระผู้เที่ยงแท้ต่อพระโพธิญาณองค์นี้ไว้กับศิษย์หลวงปู่มา วัดสันติวิเวกอย่างน่าตื่นใจเป็นที่สุดว่า

    "ได้รับพยากรณ์แล้ว และเป็นหนึ่งในอนาคตวงศ์อีกด้วยน๊ะ..!!!???"

    ซึ่งความลับแห่งฟ้าดินอันสำคัญยิ่งนี้ "พระครูแสวง" ศิษย์เอกหลวงปู่มา วัดสันติวิเวก ร้อยเอ็ด ซึ่งเคยได้เรียนกรรมฐานเพิ่มเติมกับหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้ยินเรื่องนี้จากปากของหลวงพ่อพุธโดยตรงเลยทีเดียว....

    ”ทำเพื่อประโยชน์ในภายภาคหน้ามากกว่าในปัจจุบัน...”

    เรื่องที่เกี่ยวกับ”มโนปรารถนา”บนเส้นทางแห่ง”พุทธภูมิ”ของหลวงพ่ออุตตมะนั้น ท่านได้เคยบอก”เป็นนัย”ไว้ก่อนหน้านี้นานแล้ว (อยู่ที่ว่าใครจะ”ตีความ”ออกหรือไม่เท่านั้น)ตอนที่ท่านไปกราบนมัสการหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ถึงวัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ก่อนที่หลวงปู่แหวนจะ”นิพพาน”ได้ไม่นาน ซึ่งหลวงปู่แหวนก็ได้ถามหลวงพ่ออุตตมะถึงการ”ปฏิบัติ”ว่า เป็นเช่นไร หลวงพ่ออุตตมะก็ได้แต่กราบเรียนหลวงปู่แหวนไปอย่าง”ตรงๆ”ว่า

    ”ปฏิบัติ”อัตหิต”น้อย ปรหิตมาก”

    แปลความแบบง่ายก็คือ
    ”ทำเพื่อประโยชน์ในภายภาคหน้ามากกว่าในปัจจุบัน...”
    หรือหากจะให้เข้าใจง่ายที่สุด ก็ต้องว่า
    ”ไม่ได้เอามรรคผลนิพพานส่วนตัวในชาตินี้หรอก แต่หวังไปสำเร็จพุทธภูมิเพื่อส่วนรวมในอนาคตมากกว่า” ก็ว่าได้นั่นแล

    ช่างสมกับที่ท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีฯ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ก็ยังเคยเดินทางไปเยี่ยมเยียนหลวงพ่ออุตตมะถึงวัดวังก์วิเวการาม เมื่อสามสิบกว่าปีก่อนพร้อมกับกล่าวสรรเสริญไว้อย่างสูงยิ่งครั้งหนึ่งเสียจริงๆที่ว่า
    ”หลวงพ่ออุตตมะนั้น ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ มีบารมีมากล้น แม้ชาตินี้ หากท่านต้องการ.... ท่านก็สามารถถอยจิตมาเจริญกรรมฐาน สำเร็จพระอรหันต์ได้ในทันทีเลยทีเดียว.....”

    แต่......

    ”หลวงพ่ออุตตมะท่านยังไม่เอาหรอกนะ...!?!!”

    และเมื่อเรื่องนี้ได้แพร่งพรายไปถึงหูเพื่อนธรรม บางคนอดรนทนเก็บความสงสัยไว้มิได้ ถึงกับบุกไปถามหลวงพ่อท่านตรงๆเลยทีเดียวว่า

    ”หลวงพ่อปรารถนาพุทธภูมิหรือครับ...??”

    ”อือ..อือ..”หลวงพ่ออุตตมะตอบเรียบเฉยที่สุดเหมือนไม่อยากจะอวดอ้างใดๆ

    ”แล้วหลวงพ่อบำเพ็ญแนวไหน ปัญญา ,ศรัทธาหรือวิริยะขอรับ....”

    ”วิริยะ..วิริยะ....” หลวงพ่อ”อุตตมรัมโภ”(ผู้มีความพากเพียรสูงสุด)วิสัชนา

    หมายเหตุ, คงจะต้องขออธิบายความเพิ่มเติมสักเล็กน้อยว่า ในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เพื่อการได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระโพธิสัตว์แต่ละองค์จะต้องบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ ใน 3 ระดับชั้น ตาม”จริต”และ”อุปนิสสัย”แห่งตนดังนี้คือ

    1. พระโพธิสัตว์ผู้ยิ่งด้วยปัญญา(ความเฉลียวฉลาด) บำเพ็ญบารมีไวที่สุด ด้วยระยะเวลาเพียง 20 อสงไขย กำไรแสนมหากัป ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า(พระปัญญาธิกะพุทธเจ้า)ได้ อย่างเช่น พระสมณโคดมพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันของเราพระองค์นี้เป็นต้น

    2.พระโพธิสัตว์ผู้ยิ่งด้วยศรัทธา(ความเชื่อความเลื่อมใส) บำเพ็ญบารมีปานกลาง ใช้ระยะเวลารวม 40 อสงไขยกำไรแสนมหากัป ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า(พระสัทธาธิกะพุทธเจ้า)ได้ อาทิเช่น พระกกุสันธะพุทธเจ้า,พระโกนาคมพุทธเจ้า,พระกัสสปพุทธเจ้า เป็นต้น

    3.พระโพธิสัตว์ผู้ยิ่งด้วยความวิริยะ(ความพากเพียร) บำเพ็ญบารมีนานที่สุด มากที่สุด ถึง 80 อสงไขย แสนมหากัป จึงจะสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า(พระวิริยาธิกะพุทธเจ้า)ได้ มีพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าในอนาคตกาลเป็นต้น

    ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่รู้แน่ได้อย่างหมดข้อสงสัยว่า หลวงพ่ออุตตมะนั้น ท่านก็บำเพ็ญ”โพธิสัตว์บารมี”ในระดับเดียวกับ”พระศรีอริยเมตไตรย” คือเป็นแบบ”วิริยาธิกะ” อันยิ่งด้วย”ความพากเพียร”นั่นเอง

    ช่างน่าอนุโมทนาสาธุการอย่างที่สุดโดยแท้แล้ว....และหนึ่งในคำถามยอดนิยมของวงการพุทธศาสนิกชน เกี่ยวกับผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิก็คือ
    "ได้รับพุทธพยากรณ์แล้วหรือยัง..??"
    ถ้าคำตอบมีว่า "ยัง" ก็เรียกได้ว่า "ยังไม่แน่นอน"
    อาจถอนความปรารถนา ถอยมาเป็น"สาวกภูมิ" เข้านิพพานเฉพาะตัวได้ทุกเมื่อ
    แต่ถ้าคำตอบมีว่า "ได้รับพุทธยากรณ์"แล้ว ก็มั่นใจได้เต็มร้อยว่า "ต้องได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ๆ.."
    ไม่มีการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปรเป็นอื่นได้อย่างเด็ดขาดและสิ้นเชิง

    เพราะคำพูดของพระพุทธเจ้า"เป็นหนึ่งไม่มีสอง"ดังนี้ฯ
    และสำหรับหลวงพ่ออุตตมะ จะเป็นพระโพธิสัตว์ระดับใดนั้น "การันตี"ที่ฟันธงไหน ก็ไม่เท่ากับที่หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมาเคยตอบตรงแบบไม่มีอ้อมไว้ก่อนมรณภาพไม่นานว่า
    "หลวงพ่ออุตตมะนั้น ท่านได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว...!!!"
    และที่น่าตื่นใจที่สุดก็คือ
    "หลวงพ่ออุตตมะเป็นหนึ่งในสิบแห่งอนาคตวงศ์อีกด้วย..!!!!????!!!!"

    สรีระของหลวงพ่ออุตตมะในปราสาทเก้ายอด ณ วัดวังก์วิเวการาม


    ที่มา: พุทธวงศ์

     
  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    60823334_1554793411318293_1099796903798767616_n.jpg

    61239026_1554793461318288_5701531521656029184_n.jpg

    60720618_1554793514651616_3473433562303168512_n.jpg

    60519261_1554793294651638_8731407451770847232_n.jpg

    60713931_1554793484651619_6622030639111602176_n.jpg

    60469590_1554793317984969_6229041530959560704_n.jpg


    วัดวังก์วิเวการาม

    หรือ วัดหลวงพ่ออุตตมะ เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใกล้กับชายแดนไทย-พม่า ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 220 กิโลเมตร

    ในระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน ในปี พ.ศ. 2505 ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คืออำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2508

    เมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้าง เขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน หลวงพ่ออุตตมะได้จัดสรรที่ดินของวัดวังก์วิเวการามให้ชาวบ้านครอบครัวละ 30 ตารางวา ปัจจุบันหมู่บ้านชาวมอญมีพื้นที่ราว 1,000 ไร่เศษ มีผู้อาศัยราว 1,000 หลังคาเรือน ชาวบ้านเกือบทั้งหมดจัดเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าซึ่งไม่มีบัตรประชาชน หาเลี้ยงชีพโดยการปลูกพืชผักสวนครัวตามชายน้ำ ทำประมงชายฝั่ง คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่งนิยมเป็นลูกจ้างในโรงงานเย็บเสื้อที่อยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้าน

    วัดวังก์วิเวการามหลังใหม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2528 ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบมอญและไทยประยุกต์ วิหารศิลปะมอญปัจจุบันเป็นที่เก็บสังขารของหลวงพ่ออุตตมะในโลงแก้ว ส่วนศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น ชั้นล่างใช้เป็นที่จัดงานบุญต่าง ๆ ส่วนชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์ใช้เก็บคัมภีร์ใบลานอักษรมอญโบราณ พระพุทธรูป อัฐบริขาร และเครื่องใช้ต่างๆ

    ที่วิหารพระหินอ่อนประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน พระพุทธรูปหยกขาว หุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะ รวมถึงงาช้างแมมมอธ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเจดีย์พุทธคยาจำลอง สร้างจำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยสร้างเมื่อ พ.ศ. 2521 บริเวณใกล้กับวัดวังก์วิเวการามคือ สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

    ส่วนบริเวณวัดหลวงพ่ออุตตมะเดิม ปัจจุบันพระอุโบสถหลังเก่าจมอยู่ใต้น้ำ มีชื่อเสียงด้านสถานที่ท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า วัดใต้น้ำ สังขละบุรี


    ที่มา: วิกิพีเดีย

     
  16. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,592
    ค่าพลัง:
    +53,107
    กราบหลวงปู่ทิม
    1563157840161.jpg 1563157841702.jpg 1563157843207.jpg
     
  17. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,592
    ค่าพลัง:
    +53,107
    1563157833458.jpg 1563157835068.jpg 1563157836774.jpg
     
  18. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    60981712_1556506827813618_399859956314013696_n.jpg

    60664781_1556506834480284_5026004118854959104_n.jpg


    พระพุทธรูปหินอ่อน
    (หลวงพ่อขาว หลวงพ่อหยกขาว)


    เป็นพระพุทธรูปหินอ่อนปางมารวิชัย ลักษณะเหมือนพระพุทธชินราช ของจังหวัดพิษณุโลก หน้าตักกว้าง ๕ ศอก หนัก ๙ ตัน ทำมาจากหินอ่อนสีขาวทั้งองค์ ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดวังก์วิเวการาม

    พระพุทธรูปหินอ่อนองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่หลวงพ่ออุตตมะสร้างขึ้น โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ส่งรูปพระพุทธชินราชไปให้ช่างที่เมืองมัณฑะเลย์แกะสลัก เพราะหลวงพ่อต้องการพระหินอ่อนสีขาว ที่เลยเมืองมัณฑะเลย์ขึ้นไป จะมีภูเขาหินอ่อนสามารถนำมาทำพระประธานของวัดวังก์วิเวการามได้ โดยตกลงกับช่างด้วยทองคำ เพราะไม่สะดวกที่จะเทียบอัตราระหว่างเงินพม่ากับเงินไทย ในสมัยนั้น ราคาทองบาทละ ๔๕๐ บาท หลวงพ่อตกลงแบ่งชำระเป็น ๓ งวด งวดแรกเมื่อเริ่มสร้างในปี พ.ศ.๒๕๑๔ จ่ายทองหนัก ๑๐ บาท งวดที่สองจ่ายเมื่อเวลาผ่านไป ๑ ปี เป็นทองหนัก ๕ บาท งวดที่สามจ่ายเมื่อพระพุทธรูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว จ่ายทองอีก ๑๐ บาท รวมเป็นทอง ๒๕ บาท

    พระพุทธรูปหินอ่อนแกะสลักเสร็จตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๑๕ แต่รัฐบาลพม่าสั่งห้ามเคลื่อนย้าย หลวงพ่ออุตตมะจึงติดต่อลูกศิษย์ในประเทศพม่า ให้ขออนุญาตต่อกรมการศาสนาของพม่า ในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๕ พระพุทธรูปหินอ่อนจึงได้ออกเดินทาง การขนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะพระพุทธรูปมีขนาดใหญ่ อีกทั้งการเดินทางต้องผ่านป่าและหมู่บ้านทุรกันดาร จนลุล่วงมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี เมื่อวันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๔ พ.ศ.๒๕๑๗

    พระพุทธรูปหินอ่อนไม่ได้นำไปประดิษฐานในโบสถ์ตามเจตนาของหลวงพ่ออุตตมะในครั้งแรก เพราะว่าในโบสถ์มีพระประธาน ซึ่งเจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์อัญเชิญมาแล้วองค์หนึ่ง หลวงพ่ออุตตมะจึงอัญเชิญมาไว้ในวิหารของวัดวังก์วิเวการาม ซึ่งจะเห็นได้ในปัจจุบัน


    ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม


    61328917_1556506847813616_6475027914457874432_n.jpg
    (งาช้างแมมมอธ)
     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    61297695_1557183797745921_2199640214719168512_n.jpg

    61161204_1557183901079244_1968771265699250176_n.jpg

    60825639_1557183807745920_2166934880573718528_n.jpg

    60928056_1557183841079250_5392889755811708928_n.jpg


    เจดีย์พุทธคยา วัดวังก์วิเวการาม

    พระเจดีย์พุทธคยา เป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่กับวัดวังก์วิเวการาม เป็นเจดีย์องค์ใหญ่นี้ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ มีสีเหลืองทอง สามารถมองเห็นได้จากแม่น้ำซองกาเลีย ภายในองค์เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงเป็นเจดีย์ที่มีผู้คนมาสักการะ บูชาองค์เจดีย์ที่เสมือนเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เจดีย์พุทธคยายังเป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพุทธศาสนาและงานเทศกาลเช่น งานวันสงกรานต์

    เจดีย์พุทธคยา ตั้งขึ้นอยู่ไม่ไกลจากวัดวังก์วิเวการาม ห่างไปประมาณ 650 เมตร เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 ริเริ่มโดยหลวงพ่ออุตตมะ ด้วยความตั้งใจของหลวงพ่อที่จะจำลองจากเจดีย์พุทธคยา ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในประเทศอินเดีย มาไว้เป็นศูนย์กลางสำหรับชาวพุทธที่อยู่รวมกันได้โดยไม่แยกเชื้อชาติ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด ได้รับจากเงินบริจาคของพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใส ศรัทธาในหลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งบริจาคมาทั้งที่เป็น เงินสด ทองคำ และวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ใช้แรงงานคนมอญทั้งผู้ชายและผู้หญิงในหมู่บ้านประมาณ 400 คน ช่วยกันเผาอิฐมอญจำนวน 260,000 ก้อน ต่อมา พ.ศ. 2525 เจดีย์ได้ถูกเสริมให้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก

    เจดีย์พุทธคยา มีขนาดเล็กกว่าเจดีย์พุทธคยาองค์จริงที่อินเดีย มีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างxยาว 42 เมตร สูง 59 เมตร เสาเหล็ก 4 ทิศ จำนวน 16 ต้น ทางเข้าไปยังเจดีย์ มีรูปปั้นสิงห์ คู่ใหญ่ เป็นศิลปะมอญ ที่เชื่อว่าจะคอยปกป้องเจดีย์อยู่สองข้างบันไดทางเข้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสิงห์คู่ของประเทศพม่า ถัดไปด้านในบริเวณรอบองค์เจดีย์ทำเป็นลักษณะเหมือนระเบียงคด สามารถเดินได้โดยรอบ ทางเดินมีหลังคาคลุม และรอบๆ องค์เจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูป และเทวดาประจำวันเกิด พื้นผิวองค์เจดีย์มีลักษณะเป็นเหลี่ยมเว้าแหว่งเป็นช่อง โพรง คล้ายลายเรขาคณิต ภายในช่อง โพรง มีพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ในพุทธลักษณะต่างๆ วางอยู่

    บนยอดพระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่หลวงพ่ออุตตมะอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา สีขาวอมเหลืองใส ขนาดเท่าเม็ดข้าวสารจำนวน 2 องค์ บรรจุในผะอบ 3 ชั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จพระราชดำเนินเพื่อประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุในปี พ.ศ. 2532 และประดิษฐานฉัตรทองคำแท้หนัก 400 บาทขึ้นบนยอดเจดีย์


    ที่มา: ceediz.com
     
  20. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,592
    ค่าพลัง:
    +53,107
    1563527227615.jpg 1563527229169.jpg 1563527232150.jpg 1563527233752.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...