12 สิงหา มหาราชินี

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย :-), 11 สิงหาคม 2005.

  1. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2548
    จึงขอรวบรวมพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระราชดำรัส บางส่วน ของ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ มานำเสนอดังต่อไปนี้
    พระราชประวัติ
    พระราชสมภพ<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ[/font][font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] มีฐานันดรเมื่อแรกพระราชสมภพคือ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของพลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๕ ที่บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามหก ตำบล วังใหม่ อำเภอ ปทุมวัน จังหวัดพระนคร ซึ่งเป็นบ้านของ พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) พระบิดาของหม่อมหลวงบัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2005
  2. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    พระราชดำรัส

    พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
    พระราชทานแก่คณะลูกเสือชาวบ้าน สมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติ
    และสมาชิกราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า และสมาชิกราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน
    ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
    วันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548


    [​IMG][​IMG] ข้าพเจ้าขอขอบใจคณะลูกเสือชาวบ้าน สมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติ สมาชิกราษฎรอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง สมาชิกกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ สมาชิกราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าและสมาชิกราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน ที่ได้มาพบข้าพเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันในวันนี้ รวมทั้งได้มาให้พรข้าพเจ้า เนื่องในโอกาสที่มีอายุครบ 72 ปี ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะและเป็นกำลังใจแก่ข้าพเจ้าอย่างยิ่ง

    [​IMG]ในการที่ข้าพเจ้าเชิญท่านทั้งหลายมาวันนี้ ก็เพื่อจะขอความร่วมมือจากท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้ตรองอยู่นานหลายวัน ในการที่ตัดสินใจที่จะเชิญท่านทั้งหลายมาพบข้าพเจ้าในวันนี้ ด้วยข้าพเจ้ารู้สึกเป็นห่วงบ้านเมืองของเรามาก เมื่อได้ทราบข่าวว่าเกิดระเบิดที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลายแห่งพร้อมกัน หาดใหญ่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากทุกปี เราเคยได้รับรายได้มากมายจากการท่องเที่ยว ถ้าแม้นปล่อยให้เหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น และขยายตัวต่อไป รายได้จากการท่องเที่ยวก็จะลดลง และเศรษฐกิจการเงินของประเทศก็จะพังพินาศไปประเทศไทยเราเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2547 ประสบกับภัยธรรมชาติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Queen3.mp3
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      23,179
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2005
  3. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    พระราชดำรัส ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ
    ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
    วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2547


    [​IMG]ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่กรุณามาพบข้าพเจ้าตามคำเชิญ คำขอร้องของข้าพเจ้า สิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องขอพบท่านทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่คิดว่าทุกท่านก็พอจะทราบดีอยู่ นั่นคือความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปคราวนี้ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถที่จะไปอยู่แค่เดือนเดียว แล้วก็กลับมาดังที่เคยกระทำก็ต้องอยู่ 2 เดือนเพราะว่าเป็นห่วงประชาชนอย่างมาก และยิ่งไปได้พบได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทางภาคใต้ว่าขณะนี้กำลังเดือดร้อนแสนสาหัส ไม่ว่าจะเป็นไทยพุทธหรือไทยมุสลิมก็ตาม คนไทยผู้บริสุทธิ์เหล่านี้ถูกฆ่าไม่เว้นแต่ละวัน จนบัดนี้ก็ยังฆ่าอยู่ ข้าพเจ้าได้พูดคุยกับราษฎรในจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส แล้ว ต่างคนต่างก็บอกว่าอยู่ในพื้นที่นี้มาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย ด้วยความสงบสุข และทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมต่างก็สามัคคีปรองดองกัน เป็นเพื่อนกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ทุกคนก็นึกว่าตัวเป็นคนไทย และรักแผ่นดินไทยไม่อยากไปอยู่ที่ไหน แต่ปัญหาทุกวันนี้คือว่า ทำมาหากินไม่ได้เลย และไม่มีความปลอดภัยในชีวิตแม้แต่น้อย พื้นที่ภาคใต้ของเราเป็นพื้นที่ที่มีความสวยสดงดงาม มีความอุดมสมบูรณ์มีทั้งทะเล ภูเขา ป่าไม้ มีพืชพันธุ์ไม้นานาพรรณ มีป่าผืนใหญ่ ได้แก่ ป่าบาราฮารา เป็นป่าผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มาก มีพื้นที่กว่า 1 ล้านไร่ มีสัตว์ป่านานาชนิดชุกชุม มีดอกไม้หายากที่เราเรียกกันว่าดอกดาหลาแต่ว่าเป็นสีขาว อยู่ในป่าลึกมากและพันธุ์ไม้ใบที่มีสีสวยงดงามมาก มีผลไม้ที่มีรสหวาน ลองกอง และเงาะน้ำตาลกรวด มังคุด ละไม ล้วนเป็นผลไม้ที่คนในภาคอื่นๆ อยากหาซื้อรับประทานตามฤดูกาล ข้าพเจ้าเองชอบรับประทานเงาะพันธุ์น้ำตาลกรวดเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีรสหวาน นุ่มนวล อร่อย เราทั้งหลายควรจะขอบคุณบรรพบุรุษ ที่ช่วยรักษาแผ่นดิน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ผืนนี้ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดถึงพวกเราทั้งหลายได้ทำมาหากินได้อยู่อาศัยอย่างสุขสบายจนถึงปัจจุบัน

    [​IMG]นับเป็นเวลากว่า 30 ปีที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปเยี่ยมราษฎรภาคใต้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง ทรงศึกษารายละเอียดจากแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศถึงที่ตั้งหมู่บ้าน แม้จะอยู่ห่างไกลปานใดก็ดี และได้เสด็จพระราชดำเนินไปตรวจสภาพภูมิประเทศจริงๆ ทรงกำหนดโครงการต่างๆ ขึ้นมากมาย จากนั้นพระราชทานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับไปพิจารณาดำเนินการพัฒนาตามความเหมาะสม ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของราษฎร โดยมากที่นั่นดินมักจะมีรสเปรี้ยวมาก ก็ทรงมีโครงการที่จะกลับให้ดินนั้นเป็นดินที่ว่าสามารถปลูกข้าวได้ นอกจากนั้นยังได้ทรงศึกษาวิธีการใช้พื้นดิน พื้นที่ดินที่ถูกทิ้งรกร้างว่างเปล่าให้เป็นพื้นดินที่ทำมาหากินได้ ทรงพบว่าจังหวัดนราธิวาสมีพรุขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ จึงมีพระราชดำริให้นำพื้นที่ของพรุส่วนหนึ่งมาจัดสรรให้ราษฎรที่ยากจนและขาดแคลนที่ดินทำกินได้ใช้ประโยชน์ โดยระบายน้ำออกจากพรุบางส่วนมีพระราชดำริให้จัดทำโครงการแกล้งดิน ซึ่งมันอยากเปรี้ยวดีนัก ให้นำมาใช้ปลูกพืชทางเศรษฐกิจจนได้ประชาชนสามารถผลิตข้าวเพิ่มขึ้นได้ในที่นาของเขาต่างๆ และก็ทรงตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองขึ้นเพื่อให้ราษฎรได้เข้าไปรับการฝึกอบรมทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ โดยเน้นให้มีการฝึกปฏิบัติจริงจนเกิดความชำนาญ และนำกลับไปขยายผลทำเองที่บ้าน เพื่อใช้พื้นดินที่มีอยู่จำกัดให้ได้ผลผลิตพอเลี้ยงตนเองได้ ทรงมีโครงการมากมาย แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้ง โดยมีพระราชดำริให้จัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อให้สามารถทำนากุ้งได้ และทำการบำบัดน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงกุ้งก่อนจะทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งจัดระบบชลประทาน โดยจัดสร้างระบบคลองส่งน้ำเค็มในลำน้ำปากพนัง และคลองระบายน้ำเสียแยกจากกัน

    [​IMG]วิธีการดังกล่าวสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายจากการทำนากุ้ง ซึ่งเป็นการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งแบบยั่งยืนได้ และก็ทรงมอบหมายให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ดูแลการฝึกอาชีพของแม่บ้าน เพื่อให้เขามีอาชีพเสริมช่วยครอบครัวและดูแลเรื่องสุขภาพอนามัย รวมทั้งดูแลเรื่องการศึกษาของเด็กๆ ราษฎรที่มาเฝ้าก็มีทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม ล้วนมีอัธยาศัยไมตรีดีงาม มีความรักมีความสามัคคีกลมเกลียวกันดี เป็นคนมีฝีมือด้วย ทั้งในเรื่องการจักสานย่านลิเภาที่ละเอียดมาก ทอเสื่อกระจูดงดงาม แกะสลักไม้ ทอผ้า และปักผ้าด้วยเส้นไหม โดยมากเดี๋ยวนี้เขาเริ่มปักด้วยไหมไทย การปักผ้าด้วยเส้นไหมไทยของราษฎรในภาคใต้ มีฝีมือประณีตสวยงามเป็นที่หนึ่ง สามารถอวดชาวต่างชาติได้ ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจมากที่ราษฎรเล่าให้ฟังว่าเวลากลางวันเขาออกเรือประมงหาปลาตามชายฝั่งทะเล พอตกกลางคืนก็จุดตะเกียงนั่งปักผ้า ทำเป็นอาชีพเสริม ฝีมือเขาสวยเสียเหลือเกิน สวยมากอย่างที่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน นอกจากประเทศจีน พวกผู้หญิงชาวบ้านมาเล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนเขานี่ต้องให้สามีหาเลี้ยง ที่เขาพูดเขากระซิบ ไม่อยากพูดดัง เดี๋ยวทางฝ่ายสามีจะได้ยินเข้า เขาบอกว่า ท่านเชื่อไหม เดี๋ยวนี้ ฉันนี่มีเงินมากกว่าสามีเสียอีก และต้องหาเลี้ยงสามี บอกว่ามีเงินใช้สอยพอเพียง ซึ่งสำหรับเขารู้สึกแปลกใจมากว่าทำไมผู้หญิงอย่างเขาถึงจะต้องเป็นฝ่ายที่ช่วยเหลือสามีในเรื่องการเงินการทอง

    [​IMG]เมื่อประมาณเดือนตุลาคม ปี 2537 ทางจังหวัดปัตตานีพร้อมด้วยชาวอำเภอไม้แก่นก็ได้ช่วยกันสร้างศาลาริมน้ำ มอบให้ข้าพเจ้าไว้นั่งทำงานยามออกเยี่ยมราษฎรบ้านละเวง ในพิธีมอบศาลานั้นทางจังหวัดปัตตานีพร้อมด้วยผู้นำท้องถิ่นและประชาชน ได้สามัคคีพร้อมใจกันจัดพิธีบายศรีต้อนรับ ถ้าข้าพเจ้าจำไม่ผิด ชาวปัตตานีเรียกว่า บุหงาซีเระ มีขบวนแห่แบบปัตตานีโบราณหลายสิบขบวน ล้วนสวยงามตระการตาบางขบวนก็สื่อสัญลักษณ์ของประเพณีโบราณของปัตตานี มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมการแต่งกายพื้นเมืองอย่างวิจิตรพิสดาร และชาวบ้านที่พร้อมใจกันมาก็ประมาณสัก 2,000 คน ข้าพเจ้าได้นั่งชมการทำพิธีแห่บายศรีดังกล่าวอยู่เกือบ 2 ชั่วโมงด้วยความประทับใจ และชื่นชมในความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านทุกอำเภอของจังหวัดปัตตานีในปีนั้น และยังจดจำภาพอันงดงามในเย็นวันนั้นตลอดมาจนทุกวันนี้ในสองสามปีต่อมาทางจังหวัดปัตตานีก็ยังจัดงานนี้อย่างต่อเนื่อง แต่เปลี่ยนมาจัดที่ศูนย์ศิลปาชีพวัดช้างให้แทน ซึ่งข้าพเจ้าก็ยังได้เดินทางไปรับบายศรีบุหงาซีเระด้วยความสุขและปิติยินดีทุกครั้ง

    [​IMG]เมื่อข้าพเจ้าไปเยี่ยมราษฎรที่บ้านละเวงอีกในปีต่อๆ มา ก็ได้รับการร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือตอนนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จไปแล้ว เพราะว่ารับสั่งว่าเสด็จไปประทับนานๆ แล้ว ต้องก้มๆ เงยๆ ไม่ไหวแล้ว เพราะว่าทรงปวดหลังอย่างมาก เมื่อได้พักอย่างขณะนี้ก็ทรงสบายขึ้นมาก ตอนนั้นราษฎรก็ไม่ทราบ ไม่งั้นราษฎรจะวิ่งเข้าไปเฝ้า และไปถวายรายงานเกี่ยวกับทุกข์และสุขของชีวิตเขา เมื่อไม่ได้เสด็จเขาก็วิ่งมาหาข้าพเจ้าแทน ซึ่งข้าพเจ้าก็ตกใจ เคยแต่ดูแลปัญหาเรื่องครอบครัวทางฝ่ายหญิง ไม่เคยคิดว่าจะต้องไปดูแลเป็นส่วนรวม ราษฎรบอกว่าประสบปัญหาการจับปลา เพราะเขามีเรือขนาดเล็กเท่านั้น จับปลาตามชายฝั่งทะเลไม่ได้เลย ปลาเล็กปลาน้อยหายไปหมด พอกลับมาที่ พระตำหนักทักษิณ ข้าพเจ้าก็เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงมาร่วมประชุมปรึกษาหารือหลังจากรับประทานอาหารค่ำด้วยกันแล้ว ผู้จดบันทึกประชุมได้บันทึกว่าการประชุมเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 เริ่มต้นประชุม 02.30 น.เสร็จการประชุมเมื่อ 05.30 น.ข้าพเจ้าขอให้จัดตั้งคณะทำงานโดยมีกรมประมงเป็นแม่งานที่สำคัญ คณะทำงานเริ่มทำงานกันอย่างรวดเร็วมาก หลังจากนั้นเพียงประชุมกัน 7 วัน คณะทำงานก็ได้เชิญข้าพเจ้าไปเปิดโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล ที่บ้านละเวง เภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลหมายถึงการฟื้นฟูป่าชายเลนและการทำปะการังเทียม ซึ่งแต่ก่อนข้าพเจ้าเองก็ไม่ได้ทราบเลย ไม่มีความรู้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสอนข้าพเจ้าทั้งนั้นว่าป่าชายเลนนี่ สำคัญมาก ต้องคอยเฝ้าดูแล สำคัญต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทย เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่างๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ขณะที่มันยังตัวเล็กจิ๋วนิดเดียว สัตว์น้ำเหล่านี้ได้ใช้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นที่วางไข่และขยายพันธุ์ ถ้าป่าชายเลนถูกทำลายลงหมดสิ้น ก็เท่ากับพวกเราทำลายแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ไปด้วย

    [​IMG]ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งและขอขอบพระคุณท่านนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้อย่างต่อเนื่องตลอดมา และขอบพระคุณการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ช่วยสนับสนุนตู้รถไฟกว่า600 ตู้ ละขอบพระคุณกรมทางหลวงที่ช่วยสนับสนุนท่อคอนกรีตสำหรับใช้ทำปะการังเทียม และสำคัญที่สุดคือกรมประมง ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่งานที่สำคัญ ช่วยให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทำให้ชาวปัตตานีและชาวนราธิวาสสามารถทำมาหากินด้วยการทำประมงขนาดเล็กตามชายฝั่งทะเลได้อีก ทางกรมประมงรายงานให้ทราบว่า ชายฝั่งทั้งสองจังหวัดเดี๋ยวนี้มีปลาชุกชุมมาก เขาลงไปถ่ายหนังให้ข้าพเจ้าดูด้วย ปลาหมอทะเลซึ่งตัวใหญ่มาก ข้าพเจ้าก็ไม่เคยเห็นตัวจริง เคยเห็นแต่ในรูปของประมง ปลาหมอทะเลนี่ตัวขนาดใหญ่หนัก 100 กิโลกรัม และมีปลาชนิดอื่นๆ อีกมากมายเข้ามาชุมนุมกัน ที่เราทิ้งปะการังเทียมลงไป เช่น ปลาผีเสื้อเทวรูป ปลากระพงข้างเหลือง ปลากระพงแดงหางปาน ปลากะรังหางซ้อน ปลาช่อนทะเล ปลาตะคองเหลืองปลาสร้อยนกเขา ปลาผมนาง ปลาสลิดทะเลแถบ ปลาหางกิ่วหม้อ ปลาอินทรีย์บั้ง ปลาอีโต้มอญ ปลากล้วยหางเหลือง เป็นต้น ราษฎรชาวไทยอิสลาม ซึ่งโดยมากจะเป็นชาวประมงแบบเรือเล็กๆ ชายฝั่ง ก็มาหาข้าพเจ้าว่า เดี๋ยวนี้เขายิ้มแย้มแจ่มใสว่า เดี๋ยวนี้จับปลาได้ มีกินแล้ว จับปลาได้ มีปลาเยอะแยะไปหมด และกลางคืนขณะที่ข้าพเจ้าเดินทางกลับจากการทำงาน ก็จะมีประชาชนทั้งไทยพุทธไทยมุสลิมมายืนจุดเทียนส่องอยู่สองข้างทางเขาบอกว่าเขาเป็นห่วงข้าพเจ้าที่ว่าทำงานแล้วกลับบ้านดึกๆ ดื่นๆ

    [​IMG]ที่ข้าพเจ้าขอเชิญท่านทั้งหลายมาวันนี้ ก็คิดว่าท่านทั้งหลายนี่เป็นคนไทย เป็นเจ้าของประเทศ และเมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าได้ไปกราบท่านอาจารย์แบนที่ทางภาคอีสาน พร้อมด้วยผู้ติดตามอีกมากมาย ท่านก็เทศน์ให้ฟัง และอันหนึ่งที่ท่านกำชับนักหนา ขอให้ทุกคนนึกถึงพระคุณของแผ่นดิน อย่าได้ลืมพระคุณของแผ่นดินเป็นอันขาดที่จะคอยปกป้อง ทำนุบำรุงแผ่นดินอยู่เสมอ เลยทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า ข้าพเจ้าไปภาคใต้มา 2 เดือน ปีนี้อยู่มา 2 เดือนเต็ม ได้ยินได้เห็นอะไรหลายอย่าง และก็รู้สึกว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปเป็นที่น่าเสียดายว่า แต่ก่อนคนไทยพุทธไทยมุสลิมเคยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตอนนี้กำลังประสบภัยคุกคามอย่างหนัก อันที่จริงประเทศไทยของเรานี้ ทุกคนมีอิสระเสรีในการเลือกนับถือศาสนา ไม่เคยต้องโดนบังคับว่าศาสนานี้พวกเธอนับถือไม่ได้ ศาสนานี้นับถือไม่ได้ เพื่อนชาวต่างประเทศของข้าพเจ้า ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าได้รับเชิญไปรับรางวัล ไปเยี่ยมทางต่างประเทศ ทุกคนจะสรรเสริญประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่ให้อิสระเสรีภาพกับคนที่ว่าจะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ โดยไม่มีการรังแก ไม่มีการแกล้ง หรือฆ่าฟันกันเช่นนี้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงสนับสนุนปกป้องทุกศาสนา อย่างกรุงเทพฯ ของเรานี่จะเห็นได้ชัดมีวัด มีโบสถ์คริสต์ มีมัสยิด มีโบสถ์พราหมณ์ ทุกอย่างอยู่ และอยู่ใกล้ๆ กันนี่ ก็ไม่เคยสักครั้งหนึ่งที่ชาวพุทธจะวิ่งไล่ฆ่าชาวคริสต์ หรือชาวคริสต์จะเที่ยววิ่งไล่ฆ่าชาวอิสลาม ไม่เคยเกิดขึ้น ซึ่งเป็นชื่อเสียงของประเทศมาผู้คนเวลาพบกัน ถึงแม้จะต่างศาสนาก็ทักทายกันด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส แต่เดี๋ยวนี้กลับแปรเปลี่ยนไปในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ทำให้ข้าพเจ้าวิตกอย่างมาก มีการทำร้ายกันอย่างอำมหิต คนเข้าไปซื้อของในร้านค้าพอซื้อของเสร็จ ลูกค้าก็ชักปืนขึ้นมายิงเจ้าของร้าน ที่ข้าพเจ้าทราบมาด้วยตัวเอง คือทราบมา คือ อ่านหนังสือพิมพ์ และเพื่อนต่างๆ ก็มาเล่าให้ฟัง ไม่ใช่ว่าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น ชักปืนมายิงเจ้าของร้าน เป็นร้านชำเล็กๆ อยู่ในอำเภอเมืองของนราธิวาส เจ้าของร้านเป็นผู้หญิง แก่แล้ว อายุ 70 กว่าแล้ว แล้วก็หาเลี้ยงลูกลูกนี่ 20 กว่า ลูกชาย แต่ว่าพิการเดินไม่ได้ ไม่สามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ น่ารักที่สุด แม่แก่แล้ว แก่เท่าไหร่ก็ตาม ก็พยายามที่จะตะเกียกตะกายเลี้ยงลูก ดูแลลูก แล้ววันหนึ่งก็มีคนขี่มอเตอร์ไซต์เข้าไปที่ร้านนั้น เข้าไปถึง ก็บอกว่าจะซื้ออะไรอย่าง พอว่าแม่แก่นี่ หันหลังไป จะไปหยิบของ ก็ยิงตาย แม่ตาย แล้วลูกชายที่เดินไม่ได้นี่ก็นั่งอยู่ที่นั่นด้วย ก็บาดเจ็บสาหัสเวลานี้ก็บาดเจ็บสาหัสอยู่ ถ้าเขารอด ข้าพเจ้าเองก็ยังไม่ทราบว่าใครจะดูแลเขาต่อไป

    [​IMG]เรื่องพรรค์นี้ในปีนี้ ข้าพเจ้าได้รับทราบเรื่องเองมาก เรื่องที่แต่ก่อนไม่มีเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยเลย เช่นว่า พระเดินออกไปบิณฑบาต 30 ปีที่ข้าพเจ้าไป แม้จะขึ้นชื่อว่ามีโจรแบ่งแยกดินแดน แต่ก็ไม่ใช่ว่าเที่ยวไปฆ่าคน ทุบตีคน หรือว่าเที่ยวฆ่าพระ ฆ่าเณร อะไรเช่นนั้น ไม่เคยเกิดขึ้น เพิ่งเกิดขึ้นจะย่างเข้าปี 31 ที่ข้าพเจ้าไปอยู่นี่ นักเรียนขี่จักรยานไปเรียนหนังสือก็ถูกยิงตาย ใครยิงก็ไม่ทราบ กลางวันมิใช่กลางคืนอย่างนี้ พระเณรออกบิณฑบาต นี่พระท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟังเองว่า พระถูกฆ่า เชือดคอ ถูกฟันถูกทุบตีจนกระทั่งพิการต้องสึกออกมาเพราะว่าพิการเดินอะไรไม่ได้ ฟาดไปบนศีรษะ ทำร้ายร่างกายต่าง ๆ และอีกแห่งน่าสงสารมากเลย เป็นชาวบ้านที่ยากจน ก็มีที่นาอยู่เล็ก ๆ และก็มีสวนยางเล็ก ๆ เขาเพิ่งจะซื้อห้องแถวและก็ไปรับลูกเล็ก ๆ จากแม่ ไม่งั้นฝากแม่เลี้ยงเอาไว้ ให้มาอยู่กับเขา แล้วก็ นี่เพื่อนบ้านเล่า เหตุเกิดที่จังหวัดยะลา อำเภอเมืองด้วยนั่งดูโทรทัศน์เล็กๆ อยู่ในบ้าน เพื่อนบ้านเขาเล่าว่า เสียงเด็กร้อง แล้วก็เพื่อนบ้านก็เข้าไป เห็นเด็กอายุ 8 ขวบกำลังประคองศีรษะพ่อ หัวเพื่อจะไปต่อกับร่าง เด็กขนาด 8 ขวบ ทุกข์โศกและตกใจขนาดหนัก เขาก็พาเด็กมาพบข้าพเจ้า เพราะเด็กก็ไม่มีใครแล้ว แม่ก็ทิ้งไปนานแล้ว ไปแต่งงานใหม่ ข้าพเจ้าก็บอกกับลุงบอกว่า ไม่เป็นไร ข้าพเจ้าจะดูแลเอง ถ้าข้าพเจ้าไปและอยู่ 2 เดือน กลับมาโดยไม่ได้เล่าให้ท่านฟังไม่ได้บอกให้เพื่อนคนไทย ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศทราบ ข้าพเจ้าก็จะเป็นคนที่ใช้ไม่ได้ ไปเห็นแล้วก็นั่งอมพะนำ ไม่พูดอะไร ไม่ได้เห็นตอนที่กำลังฆ่า แต่ว่าลุงเขาพาเด็กเข้ามา ซึ่งเป็นเด็กเล็กน่าสงสาร

    [​IMG]ไม่ว่าข้าพเจ้าไปที่ไหน ไปที่อำเภอสุคิริน เป็นนิคมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนตั้งขึ้น ก็มีชาวอีสาน มีชาวไทยที่นราธิวาสเองอยู่ที่นั่น พอข้าพเจ้าไปเยี่ยมเขาบอกว่าดีใจที่ราชินีมาที่ได้เห็นหน้า ใจหนึ่งก็ไม่อยากให้มา เพราะมันอันตราย น่ากลัวเหลือเกินไม่อยากให้ท่านมา ข้าพเจ้าก็บอกว่าไม่มีอันตราย ข้าพเจ้านี่ ทั้งรัฐบาล ทหาร ตำรวจ ดูแลใกล้ชิด เขาก็เล่าให้ฟังว่า ก็ไม่ทราบว่าอย่างไงแล้ว ราวทุ่มๆ หนึ่ง พวกเรากินข้าวเสร็จแล้ว ชาวบ้านก็นั่งคุยกัน ช่วยกันสร้างศาลานานแล้ว ก็นั่งคุยกันที่นั่นประเดี๋ยวก็เห็นคนขับมอเตอร์ไซค์ เป็นผู้ชายหนุ่มซ้อนท้ายมาแล้วก็พอมาถึงที่ศาลานั่นก็ไม่พูดพร่ำทำเพลงไม่ต่อว่า ไม่ว่าอะไรทั้งนั้น กระชากเอาปืนอาร์ก้าออกมา ปืนกลที่เคยทำในรัสเซียมายิงที่นั่งคุยกันนั่นก็ตายหมด แล้วจนป่านนี้ก็ไม่มีใครทราบว่า ผู้ที่ตายทั้งหลายที่ถูกยิงด้วยอาร์ก้า เป็นใครยิงก็เงียบหายไป กลุ่มคนก็อยู่ด้วยความหวาดกลัวเต็มที่ และก็ไม่ทราบเหตุผลด้วย

    [​IMG]แล้วตอนหลัง เขาก็ทิ้งใบปลิวที่ตลาดนราธิวาส ทิ้งใบปลิวบอกว่า ไอ้พวกไทยพุทธ ออกไปเดี๋ยวนี้จากแผ่นดินของกู ไม่งั้นก็จะให้กินลูกปืน ข้าพเจ้าก็จะได้แต่ปลอบใจเขาว่า ไปร่วมกันชวนเขาบอกว่าไปหัดยิงปืน ปืนลูกซองให้พอป้องกันตัวได้ เขาก็อาสาเขาก็อยากที่จะป้องกันตัวเองได้ ตกลงเขาก็ไปกันทั้งผู้หญิง ผู้ชายไปหัดยิงปืน ที่ค่ายของนาวิกโยธิน ที่อำเภอเมืองนราธิวาส ผู้หญิงยิงแม่นมาก ซึ่งไม่นึกว่าผู้หญิงดูมีอายุ ยิงได้พลั้วๆ ซึ่งเขาก็ภูมิใจ อย่างน้อยสามารถป้องกันตัวเองได้ ข้าพเจ้าตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปมา 30 ปี ไม่เคยพบเคยเห็นเหตุการณ์ที่โหดร้าย ทารุณอย่างนี้ เช่นนี้เลย และบางครั้งชาวบ้านที่มีสวนยาง บางทีเขาก็จะเอาใบปลิวมาติดที่สวนยาง ที่ต้นยางแล้วบอกว่าห้ามกรีดยาง ถ้าใครกรีดยางจะฆ่าว่าอย่างนั้น เหมือนกับว่าบ้านเมือง ไม่มีขื่อไม่มีแป

    [​IMG]แล้วชาวบ้านก็เล่าให้ฟังว่า ที่แถวบ้านตันหยงลิมอ ถ้าคนไทยพุทธไปกรีดยาง ๆ ของเขาเอง ก็จะถูกเชือดคอเอาหัวไปทิ้งซะที่อื่น แล้วมีคนแปลกหน้ามาถามว่า จะขายสวนยาง สวนเงาะ สวนลองกองหรือไม่ ถ้าบอกไม่ขายตอนดึกก็จะมีคนเข้ามาตัดทำลายสวนผลไม้ ทำลายสวนยาง ผลไม้กำลังออกผลพร้อมที่จะเก็บขายได้ แต่ก็ถูกตัดไปจนหมด เมื่อข้าพเจ้าไปเยี่ยมที่บ้านตันหยงลิมอ ชาวบ้านโดยมากเป็นผู้หญิงบอกว่าท่านมาก็ดีแล้ววันนี้ เพราะว่าเราอยากจะฟังจากปากท่านคำเดียวเท่านั้น ว่าเรามีสิทธิที่จะอยู่ที่นี่ไหม หรือท่านจะให้เราไปให้พ้น ข้าพเจ้าก็บอกว่าอยู่ซิ อยู่ เพราะว่าต้นไม้ ต้นผลไม้ ต้นยางอะไรโตหมดแล้ว เราควรอยู่และก็ค่อย ๆ ช่วยกันคิดอ่าน ราษฎรเหล่านั้นเขาก็บอกว่า เขาอยู่ที่นี่มาตั้งแต่ปู่ย่าตายายอาศัยทำกินอยู่ที่นี่มาเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว ถ้าพวกเราจะต้องออกไปจากที่นี่ จะไปไหนกัน พวกเราไม่ได้ทำผิดอะไรทำไมจะยอมให้ใครมาไล่ออกนอกพื้นที่ ราษฎรเหล่านั้นก็ขอข้าพเจ้าว่า ขอให้ช่วยพูดกับคณะรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรี ขอร้องว่า อย่าให้ถอนทหารออกจาก 3 จังหวัดภาคใต้ เพราะว่าถ้าทหารอยู่ชีวิตเขาก็ยังอยู่ ถ้าทหารถอนออกไปเขาคงตาย ข้าพเจ้าก็เลยบอกว่า ขอให้ทหารซึ่งเป็นนาวิกโยธินไปช่วยทำการฝึกชาวบ้าน ๆ ก็จะทยอยกันไปที่ค่ายของนาวิกโยธิน แล้วก็ฝึกยิงลูกซอง และก่อนที่ข้าพเจ้าจะกลับ เขาส่งข่าวมาว่า ตั้งแต่พวกเขายิงปืนลูกซองเป็น การก่อกวน เช่นถึงเวลานอนก็ไม่ให้นอน ส่งกลุ่มมอเตอร์ไซด์ไปขับขี่ในหมู่บ้าน ทำเสียงให้ดังอึกทึก พวกเขาก็กลัวไม่รู้จะทำอย่างไร แต่ถ้าเขายิงปืนเป็น ไม่ใช่เป็นธรรมดา แม่นเผี๊ยะเลยยังงี้ พวกก่อกวนเหล่านี้ก็หายไป หายเงียบไป

    [​IMG]ข้าพเจ้าจึงได้ขอร้องท่านแม่ทัพภาคที่ 4 ให้ช่วยสงเคราะห์ดูแลฝึกราษฎรไปเรื่อย ๆ เรียกว่า อาสาสมัครรักษาหมู่บ้านเหมือนอย่างที่ท่านรัฐมนตรีโภคินได้เคยทำไว้ ข้าพเจ้าก็ทำเพิ่มขึ้นอีก เพราะว่ารู้สึกว่าเขาสบายใจขึ้น ข้าพเจ้าก็เลยกลับไม่ลง ใคร ๆ ก็บอกว่า อยู่ถึงสองเดือนแล้วน่าจะกลับไปซะทีก็กลับไม่ลง เพราะว่าเห็นเขาทุกข์โศกมากมาย และเขาบอกว่าเวลาที่ แม้แต่พระ ก็บอกว่า เวลาที่มาประทับอยู่ นี่เหตุการณ์ทั้งหลายก็เบาบางลงไป ไม่เหมือนเวลาไม่ประทับอยู่ จะโดนเต็มที่ อันนี้ข้าพเจ้าเห็นว่า ประชาชนเหล่านั้นก็เป็นคนไทยแท้ ๆ ทำมาหากินอยู่ในประเทศไทย น่าจะให้ไทยเราที่ภาคกลาง หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือได้ทราบ และก็เพราะว่าเป็นคนไทยด้วยกันก็น่าจะห่วงใย ชีวิตคนไทยด้วยกันเมื่อประสบความยากเข็ญขนาดนี้ ซึ่งข้าพเจ้าคนเดียวนี่จะไปคิดทุกอย่างที่จะช่วยเขา ก็คงไม่มีแรงพอที่จะทำได้ แต่ถ้าเผื่อเป็นคนไทยทั้งชาติ ไม่ต้องไปไล่ฆ่ายิงใครหรอก แสดงกำลังอย่างลูกเสือชาวบ้านก็เคยสาบานต่อหน้าข้าพเจ้า ว่าจะทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ ก็แสดงพลังออกมาว่า ไม่พอใจในการที่เกิดการรังแกผู้คน ผู้น้อยที่ยากจน ที่ทำมาหากินไปวัน ๆ โดนรังแกอย่างนี้ก็ไม่ถูกต้อง บางคนก็อยู่ไม่ได้ต้องหนีไป เขาก็บอกเขาไม่รู้อยู่หนีไปไหนเหมือนกัน จะหนีไปหาเพื่อนบ้าง บางคนก็ไปนครปฐม และเขายกบ้านให้เขาขอให้ทหาร ๆ นี่ทำชื่อเสียงมาก ชื่อเสียงที่ดี จะเห็นได้ว่าตอนนี้ประชาชนขอร้องขอให้ทหารช่วยอยู่และช่วยพิทักษ์คุ้มครองเขา เพื่อให้เขาทำมาหากินได้ พวกที่อพยพไปก็บอก ขอยกบ้านให้ทหารเพื่อใช้เป็นที่พัก สำหรับมาช่วยดูแลคุ้มกันชาวบ้านให้ได้รับความปลอดภัย

    [​IMG]ข้าพเจ้าก็อยู่ถึงสองเดือนแล้วมาคิดทบทวนว่า เอ
     
  4. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    พระราชทานแก่ ผู้ประกอบการธุรกิจ
    ณ โรแรม เจ บี หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
    วันที่ 20 ตุลาคม 2547


    [​IMG]ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มีโอกาสมาพบกับบรรดาข้าราชการ และผู้ประกอบการธุรกิจของจังหวัดสงขลา โดยพร้อมเพรียงกันในวันนี้ เมืองสงขลา เป็นหัวเมืองชายแดนภาคใต้ที่เป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองของราชอาณาจักรไทยมาแต่โบราณกาล มีทำเลที่ตั้งอันมีความสำคัญทั้งด้านการค้าและการทหาร สำหรับหาดใหญ่นั้น นับเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การอุตสาหกรรม การเงิน การธนาคาร ของภาคใต้ตอนล่าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวของทั้งชาวไทย และนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน ฉะนั้น จังหวัดสงขลาจึงมีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านการเมือง การปกครอง

    [​IMG]เป็นเวลากว่า 30 ปี ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ข้าพเจ้ามาพัก ณ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อเยี่ยมเยียนดูแลทุกข์สุขของราษฎรภาคใต้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ และโครงการพัฒนาในด้านต่างๆ ช่วยให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ในปีนี้มีการก่อเหตุร้ายขึ้นแทบจะทุกวัน ส่งผลต่อขัวัญและกำลังใจของราษฎรทุกหมู่เหล่าในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 เดือนที่ข้าพเจ้าพักอยู่ที่นราธิวาส ได้ออกไปเยี่ยมเยียนราษฎรแทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับทราบถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรด้วยตนเอง ข้าพเจ้ารู้สึกเศร้าสลดและเป็นทุกข์ยิ่งนัก เป็นห่วงว่าถ้าปล่อยให้เหตุการณ์เป็นอยู่อย่างนี้ ราษฎรจะอยู่กันอย่างไร

    [​IMG]แต่เมื่อคิดดูว่าชาติบ้านเมืองของเราก็ผ่านรอนผ่านหนาว และเผชิญวิกฤตน้อยใหญ่มาหลายครั้งหลายครา พวกเราก็รวมใจกันฟันฝ่าจนรอดพ้นมาได้เสมอ ขอเพียงแต่พวกเรารู้รักสามัคคี ห่วงใยเป็นกำลังใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมุ่งถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่า หากเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำทางศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำทางภาคเอกชน รวมจิตรวมใจกันผนึกกำลังให้มั่น ช่วยกันแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองด้วยความรอบคอบ ก็จะสามารถนำความสงบร่มเย็นกลับมาสู่บ้านเมืองของเราได้อย่างแน่นอน

    [​IMG]ข้าพเจ้าขออวยพรให้ท่านทั้งหลาย แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง มีความเจริญรุ่งเรืองและประสบความสำเร็จ ทั้งในธุรกิจการงานและชีวิตครอบครัวโดยทั่วกัน

    ที่มา http://thaisnews.com/prdnews/q_south/20.html
     
  5. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    พระราชทานแก่ กรรมการอิสลามประจำจังหวัด
    ณ ศาลาบุหลัน ทักษิณราชนิเวศน์
    วันที่ 2 ตุลาคม 2547


    [​IMG]พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ข้าพเจ้ามาพบกับกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อิหม่าม และครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม พร้อมกับมอบโล่เกียรติยศแทนพระองค์อย่างเช่นปีก่อนๆ ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มาพบกับท่านทั้งหลายอีกครั้งหนึ่ง และขอแสดงความชื่นชมกับทุกๆ ท่านที่ได้รับเกียรติและรางวัล อันเป็นผลมาจากการที่ได้ปฏิบัติงานดีเด่น

    [​IMG]อิหม่าม นั้น ถึงแม้ทางราชการจะยกย่องว่าเป็นผู้นำทางศาสนาในระดับท้องถิ่น แต่โดยฐานะที่แท้จริงดูเหมือนจะมีความสำคัญและมีเกียรติยิ่งกว่านั้น โดยเหตุที่อิหม่ามเป็นบุคคลพิเศษ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในวิชาการ ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการประกอบศาสนกิจของชุมชน และอิหม่ามยังได้รับการยกย่องให้เป็นครูบาอาจารย์ เป็นที่พึ่งที่ปรึกษาทั้งในการสั่งสอนอบรมด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม การประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิต ทั้งในการดูแลทุกข์สุข และสงเคราะห์อนุเคราะห์แก่ศาสนิกอย่าใกล้ชิด รวมทั้งการพัฒนาท้องถิ่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การสร้างเสริมความสามัคคี และความเข้าใจอันดีในหมู่ประชาชนด้วยกัน ตลอดเวลาที่ผ่านมา อิหม่ามได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยดี โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงขอให้ทุกคนได้ภูมิใจและตั้งใจ พยายามปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญและมีเกียรติยิ่งนี้ให้หนักแน่นสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้น ด้วยความวิริยะอุตสาหะ และความสุจริตบริสุทธิ์ใจเสมอทุกเมื่อไป

    [​IMG]ในส่วนโรงเรียนสอนศษสนาอิสลามนั้น ก็ขอชมเชยทางราชการ คณะผู้บริหารโรงเรียน และครูทุกฝ่าย ทุกคนอย่างยิ่ง ที่พยายามปรับปรุงโรงเรียนและการเรียนการสอนให้มั่นคงก้าวหน้า จึงขอให้ทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันต่อไปให้แข็งแรง หากจะมีปัญหาหรืออุปสรรคอันใดอยู่บ้าง ก็ให้ช่วยกันแก้ไขขจัดให้หมดสิ้นไป เพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของเยาวชนผู้เป็นศิษย์ ผู้เป็นลูกหลานของท่าน จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ความเจริญ ความสมบูรณ์พูนสุขให้แก่ท้องถิ่น และชาติบ้านเมืองของเราในวันข้างหน้า อนึ่ง ท่านทั้งหลายคงทราบดีกว่า สถานการณ์บ้านเมืองในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ขณะนี้มีการประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร ซึ่งทำมาหากินอย่างสุจริตแทบทุกวัน นับเป็นสภาวะที่น่ารันทดใจเป็นยิ่งนัก

    [​IMG]เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้วิงวอนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่าย ได้ร่วมมือร่วมใจสามัคคีกันปฏิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แต่การปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเพียงฝ่ายเดียว คงจะประสบความสำเร็จไปไม่ได้ หากปราศจากความร่วมมือช่วยเหลือจากท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นท่านจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อิหม่าม และครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทุกท่าน ข้าพเจ้าจึงปรารถนาจะเห็นท่านทั้งหลายได้ร่วมกัน ช่วยแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองของเราในภูมิภาคนี้ ให้กลับคืนสู่ปกติโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความสันติสุขร่มเย็นอย่างถาวรตลอดไป

    [​IMG]ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขออำนวยพรให้ทุกฝ่ายทุกท่าน มีความสำเร็จในหน้าที่การงานสมความมุ่งหมาย พร้อมทั้งมีพลานามัยอันสมบูรณ์ เพื่อสามารถร่วมกันสร้างความมั่นคงก้าวหน้าแก่ตนเองและแก่ส่วนรวมได้สมตามตั้งใจทุกประการ

    ที่มา http://thaisnews.com/prdnews/q_south/2.html
     
  6. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    พระราชทานในงาน รวมพลังมวลชน
    ณ กองอำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัยทักษิณ
    วันที่ 29 กันยายน 2547


    [​IMG]ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มีโอกาสมาพบกับ คณะลูกเสือชาวบ้าน คณะราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า คณะไทยอาสาป้องกันชาติ คณะกองหนุนเพื่อคามมั่นคงของชาติ และคณะราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านได้ฟังคำกล่าวปฏิญาณของท่านทั้งหลาย รู้สึกมีความซาบซึ้งและประทับใจที่ท่านทั้งหลาย ได้แสดงเจตน์จำนงอย่างมั่นคงแน่วแน่ที่จะมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพร้อมที่จะมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพร้อมที่จะรวมพลังกันปฏิบัติหน้าที่ของตน ในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนช่วยกันรักษาทรัพยากรของชาติ ไว้ให้เป็นมรดกของลูกหลานในอนาคต


    [​IMG]แผ่นดินไทยเป็นที่อยู่อาศัยของคนไทย ซึ่งประกอบขึ้นด้วยบุคคลหลายเชื้อชาติ หลายภาษาและศาสนา อยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขเป็นเวลาช้านาน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ ตามความเชื่อศรัทธาของตน คนไทยมีจิตใจโอบอ้อมอารี มิได้มีความรักเกียจเดียดฉันท์บุคคลต่างศาสนา ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยเรามีวัดมีมัสยิด และโบสถ์คริสต์กระจายอยู่ทั่วทุกหนแห่ง บางแห่งวัดและมัสยิดก็อยู่ใกล้กัน ไม่เคยมีเรื่องบาดหมางระหว่างคนต่างศาสนา จนเป็นที่กล่าวขวัญยกย่องของคนต่างชาติว่า เมืองไทยเป็นเมืองแห่งสันติสุข


    [​IMG]มาบัดนี้มีการลอบประทาร้ายต่อชีวิต และทำลายทรัพย์สินของราษฎรผู้ซึ่งทำมาหากินอย่างสุจริตอยู่แทบจะทุกวัน ทำให้เกิดการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งในครอบครัว บางคนเป็นหัวหน้าครอบครัว ซึ่งเป็นเสาหลักของบ้าน ทำให้พ่อ แม่ ลูกต้องพลัดพรากจากกันโดยไม่มีวันได้กลับมาพบกันอีก ข้าพเจ้ามีความเห็ฯใจและสงสารบุคคลเหล่านี้ที่ต้องประสบชะตากรรมโดยไม่รู้ตัว บางครอบครัวลูกยังเล็ก ยังจำหน้าพ่อไม่ได้ พ่อก็ต้องจากไปโดยไม่มีวันกลับเป็นที่น่ารันทดใจอย่างยิ่ง ถ้าเหตุการณืเช่นนี้มาเกิดกับครอบครัวของใครบ้างก็คงจะต้องมีความเศร้าโศกเสียใจไม่แพ้กัน


    [​IMG]ข้าพเจ้าจึงขอวิงวอนต่อเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ตลอดจนประชาชนทั้งหลายว่า ถึงเวลาแล้วที่ท่านทั้งหลายจะต้องร่วมมือร่วมใจกันให้แน่นแฟ้นสามัคคีกัน ปฏิบัติเหน้าที่ด้วยความกล้าหาญเสียสละ เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อย่าปล่อยเป็นอันขาดให้มีการประทุษร้ายประชาชนเช่นที่แล้วมาอีกเลย ทั้งนี้ ก็เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติอันเป็นที่รักของพวกเราทุกคน ขอให้ทุกๆ ท่านจงมีจิตใจมุ่งมั่นที่จะตอบแทนพระคุณแผ่นดิน ให้สมกับบรรพบุรุษของเราได้รักษาแผ่นดินผืนนี้ไว้ ให้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราทุกคน
    ขออวยพรให้ท่านทั้งหลายที่มาร่วมชุมนุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย จงมีสุขภาพแข็งแรงแคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งปวง ขอให้ประสบความสุข และโชคดีโดยทั่วกัน

    ที่มา http://thaisnews.com/prdnews/q_south/29.html
     
  7. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    ตามรอย... แม่ กับงานศิลปาชีพ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=410 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=410>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ตลอดระยะเวลาร่วม 50 ปีที่ผ่านมา จากจุดเริ่มต้นที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรเป็นครั้งแรก และทรงริเริ่มให้มีการฟื้นฟูและพัฒนางานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จนกระทั่งก่อตั้งเป็น "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ" ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาค

    พระราชกรณียกิจในด้านการสร้างอาชีพเสริมแก่ราษฎรนั้นมีอย่างต่อเนื่องตลอดมา พระองค์ทรงนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ จนถึงวันนี้ได้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาทั้งชาวไทยและชาวโลกแล้วว่า งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีผู้ใดเล็งเห็นถึงความสำคัญมาก่อน แต่ ณ วันนี้ได้กลายมาสิ่งที่เชิดหน้าชูตาของชาวไทยเราอย่างยิ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> และคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า โครงการศิลปาชีพนี้ อาจนับเป็นต้นธารของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสู่การสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในระดับรากหญ้าก็ว่าได้

    โครงการศิลปาชีพได้ช่วยดึงเอาความสามารถของราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่นต่างๆ ที่บางครั้งอาจไม่มีผู้ใดมองเห็น หากแต่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมองเห็นด้วยพระอัจฉริยภาพและทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวเนื่องกับงานศิลปาชีพด้วยพระวิริยะอุตสาหะทรงช่วยลดช่องว่างระหว่างชนบทกับเมือง ทรงช่วยกระจายรายได้ไปสู่ราษฎรอย่างทั่วถึง ทรงช่วยให้คนชนบทสามารถพึ่งตนเองได้ และทรงช่วยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่สำคัญคือทรงช่วยให้มีการสืบทอดศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นประดุจวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานไทยสืบต่อมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรไทยอย่างหาที่สุดมิได้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=410 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=410>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กำเนิดศิลปาชีพ
    นับแต่ปีพุทธศักราช 2498 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบททั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเริ่มที่ตำบลห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นแห่งแรก ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมพรรษา 28 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษาเพียง 22 พรรษาเท่านั้น จนเวลาล่วงผ่านมาถึงปัจจุบันทั้ง 2 พระองค์ก็ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณีกิจเช่นเดิมโดยไม่เหน็ดเหนื่อยพระวรกาย

    ทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปตามภูมิภาคต่างๆ ทำให้ทรงทราบถึงความทุกข์ยากและความเดือดร้อนของราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนาชาวไร่ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างอัตคัดขัดสน และต้องเผชิญกับปัญหาดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการพัฒนาด้านการเกษตรและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร ในขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสนองพระราชดำริจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้พสกนิกรได้มีอาชีพเสริมควบคู่กันไปเสมอ ดังพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานไว้ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม2534 ความว่า

    "...ทุกครั้งที่เมืองไทยเกิดน้ำท่วมหรือเกิดภัยพิบัติ...ข้าพเจ้าได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำของพระราชทานไปช่วยเหลือราษฎร มักจะเห็นเครื่องอุปโภคบริโภคแล้วก็รับสั่งกับข้าพเจ้าว่า การช่วยเหลือแบบนี้เป็นการช่วยเฉพาะหน้า ซึ่งช่วยเขาไม่ได้จริงๆ ไม่พอเพียง ทรงคิดว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยเหลือชาวบ้านเป็นระยะยาว คือทำให้เขามีหวังที่อยู่ดีกินดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเริ่มคิดหาอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัว ชาวนา ชาวไร่ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหาแหล่งน้ำให้การทำไร่ทำนาของเขาเป็นผลต่อประเทศชาติบ้านเมือง ทรงพระราชดำเนินไปดูตามไร่ของเขา ทรงคิดว่านี่เป็นกำลังใจ และที่ทรงให้ข้าพเจ้าดูแลครอบครัว ก็เลยเป็นที่เกิดของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ..."

    ในแต่ละท้องถิ่นที่เสด็จพระราชดำเนินไป สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพบว่าราษฎรในชนบทต่างก็มีฝีมือทางหัตถกรรมพื้นบ้าน และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นงานฝีมือหรืองานช่าง ทั้งการทอผ้า จักสาน งานปั้น งานแกะสลัก และงานประดิษฐ์ จึงมีพระราชดำริให้ริเริ่ม "โครงการศิลปาชีพพิเศษ" ขึ้น โดยมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรในชนบทมีอาชีพเสริมในยามว่างจากการทำไร่นา เพื่อเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัวอีกทางหนึ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=420 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=420>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> และด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงตระหนักว่าศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านในแต่ละภาคนั้น ล้วนแต่มีความงามและคุณค่าที่ซุกซ่อนอยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งนับวันสิ่งเหล่านี้ก็จะยิ่งสูญหายลงไปเรื่อยๆ จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านในทุกสาขาและทุกภูมิภาคไปพร้อมๆ กัน โดยทรงเน้นอาชีพเสริมตามความถนัดของราษฎร และใช้ทรัพยากรในแต่ละท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์

    กล่าวได้ว่า โครงการศิลปาชีพนับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ทรงส่งเสริมให้ประชาชนประกอบอาชีพโดยอาศัยศิลปะที่ตนมีอยู่ โดยมีเป้าหมาย 2 ประการ ประการแรก เพื่อการขจัดปัญหาความยากจนของราษฎรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสำคัญ และประการที่ 2 เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปะพื้นบ้านแต่โบราณ อันเป็นสมบัติล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป

    ศิลปะกับอาชีพ : สร้างคน สร้างงาน สร้างรายได้
    จากจุดเริ่มต้นที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานความช่วยเหลือให้ประชาชนมีรายได้จากอาชีพเสริมในยามว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรม และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยที่เป็นมรดกตกทอดมาช้านาน โดยทรงก่อตั้งโครงการศิลปาชีพพิเศษและได้มีการจัดตั้งกลุ่มศิลปาชีพด้านต่างๆ ขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นั้น

    ต่อมาเมื่อโครงการได้ขยายออกไปทั่วประเทศ และมีผู้มีจิตศรัทธาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อใช้จ่ายในโครงการนี้เพิ่มมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งเป็น "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" ขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 โดยทรงรับเป็นประธานกรรมการบริหารของมูลนิธิ และในปี พ.ศ.2531 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า The Foundation of the Promotion of Supplementry Occupations and Related Techniques of Her Majesty Queen Sirikit of Thailand ชื่อย่อว่า SUPPORT

    สำหรับการดำเนินกิจกรรมของโครงการในระยะแรกนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเริ่มต้นงานส่งเสริมและฟื้นฟูหัตถกรรมพื้นบ้านให้แก่ราษฎรกลุ่มแม่บ้านหุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นแห่งแรก ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2514-2515 โดยทรงแนะนำให้กลุ่มแม่บ้านเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการประดิษฐ์เครื่องใช้จากป่านศรนารายณ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่หาได้ง่ายภายในท้องถิ่น หลังจากนั้นชาวบ้านสามารถประดิษฐ์กระเป๋า หมวก เข็มขัด รองเท้า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำจากป่านศรนารายณ์เป็นสินค้าออกจำหน่ายได้และเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป

    จากนั้นได้ทรงพระราชทานโครงการศิลปาชีพไปทั่วทุกภูมิภาคตามความถนัดและลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปในท้องถิ่นใด จะทรงพระราชทานพระราชดำริให้มีการฟื้นฟูและอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่เหมาะสมแก่ท้องถิ่นนั้นๆ โดยขั้นตอนการดำเนินงานในเบื้องต้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดหาครูผู้ชำนาญด้านต่างๆ ไปฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้าน พร้อมกับพระราชทานวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เมื่อผลิตได้แล้วจะทรงรับซื้อผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นและทุกระดับฝีมือเพื่อให้ทางมูลนิธินำไปจำหน่ายต่อ อันเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ชาวบ้านมุ่งมั่นพัฒนาฝีมือของตนเองต่อไป จนในที่สุดจำนวนของสมาชิกโครงการศิลปาชีพทั่วประเทศก็มีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ดังเช่นในภาคเหนือ เมื่อครั้งเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ทรงพบว่าในอดีตภาคเหนือเคยมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการคิดประดิษฐ์การถักทอผ้าที่งดงาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งเสริมอาชีพการเย็บปักถักร้อย การทอผ้าทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าตีนจก รวมทั้งผ้าปักของพวกชาวไทยภูเขา และพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคสมัย

    ในภาคอีสาน ทรงเล็งเห็นถึงคุณค่าและความงดงามของผ้าไหมมัดหมี่ซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านของคนภาคอีสานที่สืบทอดกันมาในอดีต หากแต่ระยะหลังเริ่มเสื่อมความนิยมลงไป จึงทรงแนะนำให้ราษฎรทอผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าแพรวา ผ้าขิด และส่งเสริมให้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม รวมถึงโปรดให้รวบรวมศิลปะลายโบราณ เพื่อฟื้นฟูงานทอผ้าของภาคอีสานให้เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอีกครั้ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>11 สิงหาคม 2548 15:02 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9480000108141
     
  8. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ในภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2517 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทอดพระเนตรเห็นย่านลิเภาซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในจังหวัดนราธิวาส โดยย่านลิเภาเป็นเครื่องจักสานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ในเวลานั้นศิลปะการจักสานย่านลิเภากำลังจะสูญหายไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสนับสนุนหัตถกรรมจักสานย่านลิเภาในภาคใต้ โดยจัดหาครูจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมาทำการสอน และทรงให้มีการพัฒนาเป็นเครื่องใช้ที่หลากหลายและสวยงามมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในภาคใต้ยังมีพืชพื้นเมืองคือกระจูด ซึ่งชาวไทยมุสลิมมีฝีมือในการสานกระจูดมาช้านาน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่งเสริมการสานกระจูดให้แพร่หลายและพัฒนาฝีมือในการสานให้ประณีตขึ้น เช่น สานเป็นกระเป๋า ตะกร้าใส่เสื้อผ้า พัด และกล่อง ทำให้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง
    ในภาคกลาง เมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ในเขตจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา ปลายปี 2518 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ทรงทราบว่าตำบลบางเสด็จเป็นแหล่งดินเหนียวที่หาได้ ทำให้ทรงระลึกถึง "ตุ๊กตาชาววัง" ของเล่นเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ จึงมีพระราชดำริเริ่มโครงการตุ๊กตาชาววังขึ้น ทำให้ตุ๊กตาชาววังซึ่งเกือบสูญหายไปแล้วได้กลับมาเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศเช่นดังทุกวันนี้


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จะเห็นได้ว่า การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วภาคภูมิภาคนั้น สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานคำแนะนำ สนับสนุนและส่งเสริม ให้ความช่วยเหลือด้านวิทยากร ทุนทรัพย์ รับซื้อผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายและจัดหาตลาดรองรับ รวมทั้งรับราษฎรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการศิลปาชีพอยู่มิได้ขาด ทำให้โครงการศิลปาชีพในพระองค์แผ่ขยายกว้างขวางออกไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นการกระจายรายได้ให้แก่ชาวบ้านอย่างทั่วถึง

    ศูนย์กลางศิลปาชีพ ณ สวนจิตรลดา
    "...ข้าพเจ้านั้นภูมิใจเสมอว่า คนไทยมีสายเลือดของช่างฝีมืออยู่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ ชาวนา หรืออาชีพใด อยู่สารทิศใด คนไทยมีความละเอียดอ่อนและฉับไวต่อการรับศิลปะทุกชนิด ขอเพียงแต่ให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกฝน เขาก็จะแสดงความสามารถออกมาให้เห็นได้.." (พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ 11 สิงหาคม 2532)

    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเชื่อมั่นในความสามารถของคนไทยว่ามีความละเอียดอ่อนและมีสายเลือดช่างอยู่ในตัว หากได้รับโอกาสในชีวิตแล้วจะพัฒนาจนเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติได้ ยามเมื่อได้เสด็จพระราชดำเนินไป ณ แห่งใด พระองค์จะทรงคัดเลือกลูกหลานชาวไร่ชาวนาที่ยากจน และไม่ได้เป็นแรงงานหลักของครอบครัวมาฝึกฝนงานศิลปาชีพ เพื่อจะได้กลับไปประกอบอาชีพในถิ่นฐานเดิมของตนได้

    พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในด้านศิลปาชีพ ได้แผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมีโรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณเขตพระราชฐาน สวนจิตรลดา นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างตั้งศูนย์ศิลปาชีพต่างๆ ในเขตพระราชฐานทุกแห่งที่เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมอีกหลายแห่ง ได้แก่ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบ้านจาร ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบ้านทรายทอง ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ศูนย์ศิลปาชีพบ้านห้วยเดื่อ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ ศูนย์ศิลปาชีพเครื่องปั้นดินเผา และศูนย์ศิลปาชีพบ้านวัดจันทร์ เป็นต้นสำหรับที่โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างอาคารศูนย์ศิลปาชีพขึ้น เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2521 เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนศิลปาชีพแขนงต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางการผลิตผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพที่สวยงามและหายากจากราษฎรทั่วประเทศ และเป็นศูนย์กลางเผยแพร่งานศิลปาชีพแก่ผู้สนใจ
    ในช่วงแรกเริ่มนั้นองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงโปรดเกล้าฯ ให้รับบุตรหลานของข้าราชบริพารมาฝึกหัดศิลปหัตถกรรมประเภทต่างๆ อาทิ การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ฟอกไหม ย้อมไหม และวิธีการทอผ้าต่างๆ ต่อมาทรงคัดเลือกสมาชิกจากครอบครัวราษฎรที่ยากจนทั่วประเทศ และทรงเสาะหาครูผู้ชำนาญในงานฝีมือแขนงต่างๆ มาถ่ายทอดวิชาให้แก่ราษฎรเหล่านั้น เพื่อผลิตผลงานซึ่งสะท้อนศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยในอดีต จนเป็นที่รู้จักของคนในยุคปัจจุบันได้อย่างน่าชื่นชม

    สำหรับครูและผู้เข้ารับการฝึกอาชีพที่มาจากต่างจังหวัดจะทรงจัดสวัสดิการด้านที่พักอาศัยให้ โดยผู้ชายจะอยู่หอพักที่ไม่ไกลจากวังสวนจิตรลดา ส่วนผู้หญิงจะให้อยู่ในพระราชวังฝ่ายใน ระหว่างที่เข้ารับการฝึกนี้ทุกคนจะมีเบี้ยเลี้ยง ส่วนคนที่มีฝีมือและอยู่มานานจะได้รับเงินเดือน และถ้างานฝีมือที่ทำนั้นมีคุณภาพดีจะพระราชทานรางวัลให้เป็นพิเศษ


    การนำชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านเข้ามารับการฝึกอาชีพจะทรงนำมาเป็นกลุ่ม โดยมีพระราชประสงค์ว่าเมื่อกลับไปแล้วจะได้รวมตัวกันทำงานอาชีพได้ ในการคัดเลือกคนเข้ามาฝึกทรงพิจารณาจากความถนัดและสภาพภูมิลำเนาเดิม เพื่อจะได้นำความรู้กลับไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ทรงจัดการฝึกให้โดยมุ่งเป็นวิทยาทานให้ประชาชนเหล่านั้นมีอาชีพติดตัวแล้วกลับไปพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิดของตน และทรงหวังเพียงว่าเมื่อถึงโอกาสวันหนึ่งงานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้

    เมื่อสมาชิกศิลปาชีพเพิ่มมากขึ้นและสามารถผลิตผลงานต่างๆ ได้อย่างชำนาญ ทำให้กิจกรรมของโรงฝึกศิลปาชีพรุดหน้าอย่างรวดเร็ว จึงได้จัดสร้างอาคารศิลปาชีพถาวรในปี พ.ศ. 2523

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=410 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=410>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ทว่าต่อมาไม่นานอาคารศิลปาชีพหลังแรกก็เริ่มแออัด ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงนำเงินที่มีผู้ ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยจำนวนหนึ่งมาจัดสร้างอาคารศิลปาชีพขึ้นเป็นอาคาร 3 ชั้น ตั้งอยู่ตรงข้ามที่ทำการกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และน้อมเกล้าถวายสมเด็จพระราชมารดาในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ปี พ.ศ.2534 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารศิลปาชีพหลังใหม่ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2534

    ปัจจุบันโรงฝึกศิลปาชีพจิตรลดาเปิดให้มีการเรียนการสอนงานศิลปหัตถกรรมในแผนกต่างๆ รวมทั้งสิ้น 26 แผนกคือ แผนกเครื่องถมเงินและถมทอง เครื่องเงินและเครื่องทอง คร่ำเงินและคร่ำทอง จักสานย่านลิเภา จักสานไม้ไผ่ สานเสื่อกระจูด แกะสลักไม้ แกะสลักหิน แกะสลักหนัง ทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ทอผ้าจก ทอผ้าแพรวา ปักซอยแบบไทย ตัดเย็บผ้า ทอพรม งานปั้น ตุ๊กตาไทย เขียนลาย เครื่องปั้นดินเผา ประดับมุก ตกแต่งด้วยปีกแมลงทับ ลงยาสี ดอกไม้ประดิษฐ์ ช่างไม้และช่างหวาย และแผนกบรรจุภัณฑ์

    งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดให้ฟื้นฟูขึ้นมานั้น บางประเภทก็โปรดอนุรักษ์ไว้ตามกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม บางประเภทก็ปรับปรุงพัฒนารูปแบบและวิธีการผลิตให้สะดวกขึ้น ให้ผลงานเหล่านั้นงดงามวิจิตรมากขึ้นโดยไม่ละทิ้งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย

    "ร้านจิตรลดา" การตลาดครบวงจร
    จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริที่จะให้มีการอนุรักษ์งานหัตถกรรมพื้นบ้านให้ดำรงอยู่เป็นสมบัติของชาติตลอดไป และเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้รู้จักและเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป โดยสนับสนุนให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจากฝีมือของชาวบ้านให้แพร่หลายออกไปในวงกว้าง ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรอย่างครบวงจร

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=420 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=420>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> โครงการศิลปาชีพมีจุดเด่นในด้านการหาช่องทางการตลาดเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยในการดำเนินงานด้านการตลาด ทรงตระหนักว่าหากส่งเสริมเฉพาะการผลิตเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีตลาดรองรับ จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎรได้ และการส่งเสริมศิลปาชีพนี้ก็จะไม่บรรลุเป้าหมายตามพระราชประสงค์ ซึ่งผลผลิตจากงานฝีมือดังกล่าวนับวันก็มีเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ด้วยเหตุนี้ "ร้านจิตรลดา" จึงได้กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2520 หลังจากการก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโครงการศิลปาชีพโดยเฉพาะ ซึ่งนอกจากผู้ซื้อจะได้ของดีมีคุณภาพแล้วยังถือเป็นการทำกุศลอีกด้วย โดยรายได้จากการจำหน่ายจะได้นำไปเป็นทุนหมุนเวียนในมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านผู้ผลิตให้มีกำลังใจผลิตงานฝีมือต่อไป

    สำหรับร้านจิตรลดาแห่งแรกตั้งขึ้นที่ศูนย์การค้าโอเรียนเต็ล พลาซ่า หรือโอเรียนเต็ลเพลสในปัจจุบัน ผลปรากฏว่าได้รับความสนใจและมีผู้นิยมซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านจิตรลดามากเกินคาด ทำให้สินค้าหัตถกรรมตามโครงการศิลปาชีพไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย ร้านจิตรลดาจึงขยายออกเป็นหลายสาขา แต่ละสาขามีประธานร้านและอาสาสมัครดำเนินการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันในรอบสัปดาห์ และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเท่าที่จำเป็น

    ปัจจุบันร้านจิตรลดามีสาขารวมทั้งสิ้น 11 สาขา และมีสำนักงานอำนวยการร้านจิตรลดา ตั้งอยู่ในบริเวณสวนจิตรลดา โดยในการจัดจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของร้านจิตรลดา จะไม่มีการขายผ่านเครือข่ายการตลาดของร้านอื่นๆ นอกเหนือจากร้านจิตรลดาทั้ง 11 แห่งที่มีอยู่เท่านั้น

    สินค้าหัตถกรรมทุกประเภทภายในร้านจิตรลดาจัดเป็นสินค้าที่มีความประณีต ใช้ฝีมือสูงในการผลิต รวมทั้งใช้เวลามากในการผลิต ซึ่งแม่บ้านชาวนา ชาวไร่ ผู้ผลิตสินค้าล้วนผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี เมื่อผลิตเป็นสินค้าแล้วต้องผ่านตรวจสอบคุณภาพก่อนนำออกจำหน่ายทุกครั้ง สินค้าทุกประเภทจึงมีคุณภาพและได้มาตรฐาน โดยมีให้เลือกหลากหลายชนิด และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ถือเป็นงานที่ควรค่าแก่อนุรักษ์ไว้ซึ่งความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นงานปักผ้าด้วยมือ ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือ ผ้าทอลวดลายเฉพาะถิ่น เครื่องจักสานย่านลิเภา ซึ่งนำมาประดิษฐ์เป็นกระเป๋าถือสตรีแบบต่างๆ

    ในส่วนของตลาดต่างประเทศนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงส่งเสริมด้านการตลาดของสินค้าหัตถกรรมในโครงการศิลปาชีพ ด้วยการทรงฉลองพระองค์และทรงใช้ผลิตภัณฑ์ของโครงการ โดยนำมาดัดแปลงให้เป็นรูปแบบที่ทันสมัยและเหมาะสมในแต่ละโอกาสและสถานที่ เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศใดก็จะทรงนำศิลปหัตถกรรมไทยและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตได้จากโครงการศิลปาชีพไปเผยแพร่ด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นการเปิดตลาดสินค้าหัตถกรรมไทยให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ยังทรงเผยแพร่ด้วยการจัดแฟชั่นและนิทรรศการทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมแพร่หลายยิ่งขึ้น

    นับได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระราชหฤทัยการดำเนินงานทางการตลาดอย่างแท้จริง และมีการบริหารจัดการด้านการตลาดเพื่อรองรับกับระบบการผลิตอย่างเบ็ดเสร็จครบวงจร ทำให้การดำเนินกิจกรรมของโครงการศิลปาชีพประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

    จากศิลปาชีพสู่หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
    โครงการศิลปาชีพได้แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการช่วยเสริมรายได้ให้แก่ราษฎรรวมทั้งการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้ยืนยาว พระราชกรณีกิจที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทุ่มเทพระวรกายมาตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีนั้น ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศชาติอันหาที่สุดมิได้ ทั้งยังช่วยปลุกจิตสำนึกให้เกิดกระแสความนิยมในหมู่คนไทยที่หันมาใช้สินค้าไทยมากขึ้น ด้วยความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่ดั้งเดิม
    ในทุกแห่งหนตำบลที่โครงการศิลปาชีพเข้าไปช่วยเหลือ หน่วยงานราชการต่างๆ ล้วนให้ความสนใจสนองตามพระราชดำริ และร่วมมือกันพัฒนาท้องถิ่นนั้นให้เกิดความเจริญ จนมาถึง พ.ศ. นี้ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ผลจากความสำเร็จของโครงการส่งเสริมศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังส่งผลสืบทอดมาถึงโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่รัฐบาลกำลังเร่งสนับสนุนและส่งเสริมเช่นดังทุกวันนี้ และนับได้ว่าเป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศเพื่อแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างแท้จริง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงเป็นทั้งนักอนุรักษ์และนักพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> * * * * * * * *

    อ้างอิง
    - สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม: ศึกษาเฉพาะงานศิลปหัตถกรรม" จัดทำโดยทบวงมหาวิทยาลัย
    - "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นักการศึกษาพัฒนา" โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน
    -www.swu.ac.th/royal/book7/b7c3.html
    - www.thainews.prd.go.th/rachinephp/queen.html
    - www.queen6cyclebirthday.in.th
    - www.iots-tcc.org/asa3.doc

    ร้านจิตรลดา 11 สาขา
    สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านจิตรลดาในสาขาต่างๆ ดังต่อไปนี้
    1. สำนักงานกลาง ศาลาจิตรพัสตร์ สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
    2. ร้านจิตรลดา สาขาโอเรียนเต็ลเพลส ชั้น 2 ตรอกชาร์เตอร์แบงค์
    3. ร้านจิตรลดา สาขาพระบรมมหาราชวัง ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ
    4. ร้านจิตรลดา สาขาหมู่บ้านไทย สวนสามพราน
    5. ร้านจิตรลดา สาขาโรงแรมรอยัลคลิฟบีช รีสอร์ท พัทยา
    6. ร้านจิตรลดา สาขาท่าอากาศยานเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
    7. ร้านจิตรลดา สาขาท่าอากาศยานกรุงเทพฯ อาคารผู้โดยสารขาออก
    8. ร้านจิตรลดา สาขาภูเก็ต บริเวณชอปปิ้งอาเขตโรงแรมเพิร์ล จังหวัดภูเก็ต
    9. ร้านจิตรลดา สาขาพระที่นั่งวิมานเมฆ
    10. ร้านจิตรลดา สาขาศูนย์การค้าโรงแรมรอยัลการ์เด้นริเวอร์ไซด์ ถนนเจริญนคร
    11. ร้านจิตรลดา สาขาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>11 สิงหาคม 2548 15:02 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9480000108141&Page=2
     
  9. yama

    yama Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +90
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน .......
     
  10. A~MING

    A~MING เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,734
    ค่าพลัง:
    +1,730
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน .......
     

แชร์หน้านี้

Loading...