เรื่องเด่น “มจร”มอบโล่คนดีศรีพุทธศาสตร์เจ้าคุณประสาร

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 14 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    90760_th.jpg

    วันพฤหัสบดี ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560, 15.45 น.

    “มจร”มอบโล่คนดีศรีพุทธศาสตร์เจ้าคุณประสาร
    โอกาสครบรอบ 130 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย และ 70 ปีแห่งคณะพุทธศาสตร์

    e0b982e0b8a5e0b988e0b884e0b899e0b894e0b8b5e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a8e0b8b2.jpg

    วันที่ 14 กันยายน 2560 เนื่องในการจัดงานครบรอบ 130 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วันที่ 13 กันยายน และครบรอบ 70 ปีแห่งคณะพุทธศาสตร์ โดยวันนี้ทางคณะโดยผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิตได้จัดการฉลองทางวิชาการครั้งสำคัญนี้ด้วย มีพระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิกาบดี มจร เป็นประธานพร้อมมอบรางวัลต่างๆ ประกอบด้วยรางวัล เพชรพุทธศาสตร์ คนดีศรีพุทธศาสตร์ และผู้ทำประโยชน์แก่คณะพุทธศาสตร์ ในจำนวนนี้มีพระเมธีธรรมาจารย์ หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีรวมด้วยด้วย

    หลังจากนั้นเจ้าคุณประสารได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กพระเมธีธรรมาจารย์ – เจ้าคุณประสาร ความว่า ส่วนตัวผมนั้น ผมทำงานทั้งในส่วนงานของมหาวิทยาลัยและองค์กรอื่นๆ ดังที่ปรากฎ ดังนั้นงานที่ผ่านมาจึงมีทั้งคนชมและคนต่อว่าต่อขาน ซึ่งผมก็ทำใจได้และก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติของปุถุชนวันนี้คณะพุทธศาสตร์ได้มอบโล่รางวัลให้กับผม และท่านอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการได้กำหนด ตามคุณสมบัติของคณะเมื่อคราวปี พ.ศ.2558 สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มอบรางวัลให้ผม นี่คือความภูมิใจอย่างหนึ่งและเป็นกำลังใจสำคัญ ที่พวกเรานั้นยอมรับกันเอง (ขออนุญาตใช้คำรวมๆ ว่าพวกเรา)ในโอกาสสำคัญของคณะพุทธศาสตร์ ท่านให้เกียรติมอบโล่รางวัลให้ผมในครั้งนี้ ผมภูมิใจ มีกำลังใจและอยากบอกกลับไปที่คณะพุทธศาสตร์ว่า “อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับพวกเรายอมรับกันเองก่อน”

    อย่างไรก็ตามพระพรหมบัณฑิต กล่าวในการบรรยายเรื่อง “เหลียวหลังแลหน้ามหาจุฬา 130 ปีความว่า เราจัดงานวันมหาวิทยาลัย ซึ่งครบรอบ 130 ปี ของมหาจุฬา โดยสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้อนุมัติ ถือว่าเป็นปีแรก ครบ 130 ปี จัดเป็นมหกรรมนิทรรศการหมายถึง การจัดการความรู้ เป็น KM เชิงเอกสารและเชิงการบรรยายให้คนรุ่นหลังรับทราบว่ามหาวิทยาลัยเป็นมาอย่างไร เรามาถึงวันนี้ได้อย่างไร ? จึงถือโอกาสนี้แบ่งปัน จากบูรพาจารย์ส่งไม้ต่อ มหาจุฬามีวันนี้เพราะใคร ? เราเหลียวลังไปดูอดีตไปหาบทเรียนถอดรหัส เพื่อจะแลหน้ากำหนดวิสัยทัศน์ต่อไป การจะเดินทางไปข้างต้องมองข้างหลัง สุภาษิต ว่า “อย่าหลงของเก่า อย่าเมาของใหม่ “การจะเริ่มสิ่งใหม่เรียกว่าประดิษฐกรรม ผลิตขึ้นมาใหม่ แต่มหาจุฬาเป็นนวัตกรรม เพราะพัฒนามาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว นำเอาของเดิมมาบูรณาการในการแก้ปัญหา เราจงมองว่าอะไรเป็นนวัตกรรม ที่สังคมนำไปใช้และส่งต่อไปถึงรุ่นหน้า เรามีนวัตกรรมอะไรบ้าง เราต้องสานต่อนวัตกรรมของบุรพาจารย์ มหาจุฬาสอดรับการพัฒนาประเทศอย่างไร? ในยุค 4.0 การพัฒนาทุกอย่างต้องมีนวัตกรรม อะไรคือ กับดัก หรือ คอขวดการพัฒนามหาจุฬา มหาจุฬาจึงแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ

    ยุค 1.0 คือ ยุคมหาธาตุวิทยาลัย ยุค 2.0 คือ ยุคมหาวิทยาลัยสงฆ์ ยุค 3.0 คือ ยุคมหาวิทยาลัยของรัฐ ยุค 4.0 คือ ยุคมหาวิทยาลัยนานาชาติ ซึ่งแต่ละยุคมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจมาก แสดงว่า มหาจุฬามีที่มาที่ไป อดีตมหาจุฬาฯเรียนเฉพาะบาลีและพระไตรปิฎก แต่มาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงให้เรียนศาสตร์สมัยคือ วิชาชั้นสูง สำหรับการเรียนของบรรพชิตและคฤหัสถ์ ยังเกิดนวัตกรรมสมัยใหม่รัชกาลที่ 5 คือ การพิมพ์พระไตรปิฎกออกครั้งแรก ปัจจุบันพระไตรปิฏกฉบับนี้อยู่ที่ญี่ปุ่นเก็บไว้ในห้องแอร์อย่างดี รัชกาลที่ 5 จึงถือว่าเป็นผู้สร้างนวัตกรรมด้านการศึกษามหาจุฬาฯ รวมถึงสนับสนุนให้พระสงฆ์เรียนศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเท่าทันเหตุการณ์สังคมปัจจุบัน

    มหาจุฬาจึงเป็นมหาวิทยาลัยที่ศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูง งานเขียนของบุรพาจารย์จึงเป็นการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการของ KM ทำให้เราทราบความเป็นมาในอดีตส่งผลถึงปัจจุบัน รัชกาลที่ 5 ทรงมีปณิธานการจัดการศึกษาชั้นสูงให้คณะพระสงฆ์ โดยมีพระสงฆ์ 57 รูปร่วมรับทราบ โดยใช้บทสวดชยันโตเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาทุกระดับ เริ่มจาก พ.ศ.2490 อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ถือว่าเป็นรุ่นแรก จึงถือว่าคณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรกของมหาจุฬาฯ พระพิมลธรรมส่งท่านโชดกไปเรียนกรรมฐานที่เมียนม่าร์ ถือว่าเป็นนวัตกรรม จึงมีการเรียนวิปัสสนากรรมฐานมาถึงปัจจุบัน

    มหาจุฬาฯตั้งแต่เริ่มสร้างมาจากคำว่า “นตฺถิ ปัจจัย ” ได้เงินจากภาครัฐครั้งแรก 60,000 บาทเริ่มจากการเรียน 200 หน่วยกิต ต่อมาการศึกษามหาจุฬาเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ คณะสงฆ์รับรอง พอถึงปี พ.ศ. 2540 มีพระราชบัญญัติมหาจุฬาฯ โดยภาครัฐรับรองถูกต้อง พร.บ.จึงทำให้มีงบประมาณในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย ทำให้มหาจุฬาก้าวกระโดดอย่างมาก จึงมีการสร้างมหาจุฬาที่วังน้อย ในพศ. 2542 โดยคุณหญิงสมปองเป็นผู้ถวายที่ดินจำนวน 84 ไร่ ต่อมาคณะสงฆ์เข้ามาช่วยด้านงบประมาณ เพราะเป็นมหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ โดยสมเด็จวัดปากน้ำให้กำลังใจและร่วมสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ หลวงพ่อปัญญานันนทะก็มาช่วยสร้าง สนับสนุนงบประมาณ ปัจจุบันมหาจุฬาจำนวน 323 ไร่ หลวงพ่อปัญญานันทะจึงมีคุณประโยชน์ต่อมหาจุฬาฯมาก รวมถึงการสร้างโบสถ์กลางน้ำ

    พระมหาเถระหลายๆรูปจึงร่วมสร้างมหาจุฬา มหาจุฬาจึงเป็นมหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ไทย คณะสงฆ์ไม่ทิ้งมหาจุฬาฯ เรามีการรวบรวมงานวิชาการเรื่อง ” จากนาลันทาสู่มหาจุฬา ” โดยรองอธิการฝ่ายวิชาการรูปปัจจุบัน ปัจจุบันเรามีการพัฒนาถึงนานาชาติ มีการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล รวมกันระหว่างมหายาน วัชรยาน และเถรวาท เราต้องการให้คนทั่วโลกมารวมกันในการทำวิจัย และมาศึกษาพระพุทธศาสนา สาเหตุที่จัดงานนานาชาติ เช่น วิสาขบูชาโลกนั้น เพราะเราเป็นมหาวิทยาลัยน้องใหม่ยากจะเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยอื่น เราจึงต้องจัดงานนานาชาติระดับโลกเพื่อให้นานาชาติยอมรับเราก่อน ในประเทศจะยอมรับเราเอง เราจึงต้องทำงานกับคนทั่วโลก ถือว่าเป็นกลยุทธ์ เราจึงต้องสานปณิธานรัชกาลที่ 5 ด้วยศึกษาพระไตรปิฏกและศาสตร์สมัยใหม่ ทั้งส่วนกลางและวิทยาลัยเขตก็จะเดินไปด้วยกันเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม

    พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา ได้กล่าวว่า ในฐานะเป็นศิษย์มหาจุฬาตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก มีความภาคภูมิเป็นอย่างยิ่ง เพราะมหาจุฬาให้โอกาสทางการศึกษาให้บุคคลทุกชนชั้นไม่เลือกชั้นวรรณะ มหาจุฬาจึงแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง ” ให้มีที่ยืนในสังคมอย่างสง่างาม ” มหาจุฬาจึงผลิตบัณฑิตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ภายใต้คำว่า ” วิชายอด จรณะเยี่ยม เปี่ยมด้วยกรุณา ยื่นดวงตาให้กับชาวโลก ” ออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จ่ายคืนให้สังคม หมายถึง ช่วยเหลือสังคมในมิติต่างๆ เพราะมหาจุฬาสอนด้านคันถธุระ วิปัสสนาธุระ และสังคหธุระ หรือ ศึกษาด้านวิชาการด้านพระพุทธศาสนา วิชาชีพเพื่อนำประกอบอาชีพสุจริต และวิชาชีวิตเพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข จึงขอขอบพระคุณมหาจุฬาที่ให้โอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมต่อไป
    ………..

    (หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กPramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา)

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/90760
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กันยายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...