เรื่องเด่น รวมหลวงพ่อตอบปัญหา/จากคำบอกเล่า

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 21 กรกฎาคม 2012.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    1_zpswedd6src.jpg 3(156).jpg

    เรื่อง วิธีดูพระ

    พระที่เสียๆนี่ หนึ่งเกี่ยวกับลาภ พระเสียเพราะลาภ ลาภมากอย่างหนึ่ง สองเสียเพราะว่าสมาธิ

    สมมุติว่าเคยได้ฌาน แต่ไอ้ฌานโลกีย์นี่น่ะ มันได้แล้วก็หายได้ แล้วไอ้คนสรรเสริญนี่น่ะพาให้เราลอยขึ้นไป แล้วเราก็ไม่วิเคราะห์ตัวเราเอง ไม่โจทย์ความผิดตัวเราเอง เมื่อลอยขึ้นไปแล้วนี่มันก็ลงไม่ได้ ไอ้ลอยขึ้นไปติดเพดานเงิน เงินก็พาไปให้กิเลสเราฟูขึ้นไปอีก

    พระนี่ดูยากพระนี่ก็มีหลายระดับเหมือนกัน เขาเรียกว่าบารมีไม่เท่ากัน อย่างหลวงพ่อเคยบอกพระที่วัดไม่ต้องให้ใครเขาไปยอเรา เราถามตัวเราเอง เขามีแบบวัดอยู่ บางคนนี่มีความพอใจแค่ทำทาน นี่ก็พอใจ แต่ชวนไปรักษาศีลนี่ไม่เอาหรอก...มาก โอ้โฮ ศีลตั้ง 5 ข้อกระดุกกระดิกไปไหนไม่ได้เลย

    บางคนทำทานเอา ชวนรักษาศีล ทำ แต่ชวนนั่งสมาธิ ไม่ไหว ไม่ได้เดี๋ยวบ้า บางคนทำทาน ทำ รักษาศีล ทำ ภาวนาเอา แต่ชวนไปนิพพานไม่เอา ยังกลัวไม่มีก๋วยเตี๋ยวกินอีก

    หากปรมัตถบารมีนี่ ชวนทำทาน ทำ รักษาศีล พอใจ มีความสุข เจริญภาวนา โอ๊ย ชอบมากเลย มีความสุขใจเหลือเกิน เห็นทางบรรลุมรรคผล ชวนไปนิพพาน ชาตินี้ทนไม่ไหว ต้องไป นี่เขาเรียกปรมัตถบารมี สามารถจะบรรลุได้มรรคได้ผลได้ ทีนี้กำลังใจของคนมันไม่เท่ากันการปฏิบัติก็หยาบละเอียดต่างกันไป

    คือเราจะไปวัดนี่มันต้องมีความรู้ อย่างหลวงพ่ออย่างนี้น่ะต้องมีเจโตฯ ต้องมีทิพจักขุญาณ มันถึงจะดูคนรู้ ถ้าเรามาเดาจริยากันภายนอกหรือการเห็นกันอย่างนี้บางทีมันไม่ออก แต่กริยาที่มันทำฉาวโฉ่ออกไปนี่ มันก็น่ากลัวน่าเกลียด

    ทีนี้พระที่สนทนาธรรมก็สังเกตดู คุยกับพระคุยไม่ได้ถึง 4 อย่างนี่หรอก แค่ศีลบางทีท่านก็ร่อแร่แล้ว คุยกันนี่ร่อแร่ จุดประสงค์ของการบวชมันไม่เหมือนกันนี่ไม่เหมือนกัน บางคนบวชเป็นประเพณี บวชเพื่อเป็นนิสัยปัจจัย ตรงนี้มันก็สำคัญ บางคนบวชแล้วนี่ ไปอ่านที่เทวทัตท่านลงเอวจี ท่านมีสมาธิอยู่ก่อน ที่คนยกย่องท่าน พอยกท่านมันก็มีพวกมาก ทีนี้มันลอยตัวมันเหลิงเลย พอมีพวกมากเหลิงปุ๊บ ก็จะแยกนิกายขึ้นมา พระพุทธเจ้าปกครองนี่....ไม่ไหวเลย บางทีทำไม่รู้ไม่ชี้

    พระพุทธเจ้านี่ท่านรู้กฎของกรรม ท่านก็ไม่ติง ใช่ไหม เทวทัตว่าอย่างนี้ไม่ถูก อย่างนั้นไม่ถูก ให้คนกินเนื้อสัตว์ เอ๊ะ...ห้ามฆ่าสัตว์ แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่เห็นห้ามคนกินเนื้อสัตว์เลย เขาว่าปากว่าตาขยิบ พระเทวทัตท่านบอกอย่างนั้น จริงๆมันต้องไม่กินเนื้อสัตว์ซิ ห้ามเขาแล้วนี่

    ทีนี้ไอ้คนที่เป็นสาวกก็ยกย่องสรรเสริญมันก็ลอยล่ะสิ ก็แน่เหมือนกันโว้ย ต้องปกครองสงฆ์แข่งพระพุทธเจ้า อีตรงนี้น่ะมันเข้าขั้น ลอยขึ้นแล้วมันลงไม่ค่อยได้ บริวารมันค้ำอยู่นี่ เอาละวะจิตก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ อีตอนนี้ฌานจะเสื่อม อกุศลกรรมจะให้ผล ใครติงไม่ได้มันลอยเสียแล้วนี่ มันเป็นอย่างนั้น อ่านหนังสือที่หลวงพ่อเขียนไว้นี่ เราก็วิเคราะห์ เออ...มันก็จริงตามนั้น

    “เรื่องพระนี่มีคนเขาเสนอมา เขาบอกว่าได้โสดาบันแล้วให้มีเครื่องหมายอย่างนี้ สกิทาคามีมีเครื่องหมายอย่างนี้ พอถามหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านก็บอกว่าถ้าไอ้อย่างนี้มันก็โกงกันได้น่ะสิ”

    ท่านบอกว่าอย่าไปห่วงกังวลตัวนี้ ท่านพูดไว้นะ คนที่มันเกิดมานี่มันจะมีมรรคมีผลนี่มันมีกำลังใจมาแล้ว มันจะพอใจสิ่งที่ว่ามีมรรคมีผลเท่านั้น จิตของเราเองมันจะพอใจเฉพาะพระที่มีมรรคมีผล ถ้าไม่มีมรรคผลมันก็รู้ มันก็ไม่เข้าไปปักในใจ ถ้าเราจะได้มรรคได้ผลนี่มันจะพอใจ เอ้อ...องค์นี้สอนอย่างนี้มันถูกใจ มันถูกจริต จะต้องคุยจะต้องปฏิบัติเชื่อท่าน อะไรอย่างนี้ ถ้าเราจะไม่มีมรรคผลมันก็เกาะไอ้พวกนี้ไป เกาะที่เปลือกไปอะไรไป ก็ว่าอย่างนี้ดีแล้ว มันจะเป็นอย่างนั้น

    อย่างท่านเองนี่เจอหลวงปู่ปาน ครูบาอาจารย์เป็นพระอรหันต์แนะนำ อย่างหลวงพ่อโหน่ง หลวงพ่อเนียมนี่ มันจะพอใจกัน พระในประเทศไทยตั้งเยอะแยะทำไมไม่พอใจ ไปพอใจเฉพาะองค์อย่างนี้ เขาบอกองค์ที่จะได้มรรคได้ผลมันจะพอใจแต่พระที่มีมรรคมีผล จะคบแต่พระจำพวกนั้น คนเปลือกก็ชอบเปลือกคบพระเฉพาะเปลือก ก็จะพอใจกันอย่างนั้น

    ฟังท่านเล่าประวัติหลวงปู่ปานนะที่ไม่มีจำหน่ายน่ะ แต่ว่าเก่าๆท่านจะเล่าให้ฟังหมด จะดูยาก แต่พระเองจะดูรู้ มันมีอุปกิเลสอยู่ในนั้นเยอะน่ะ จะไปอ่านในอุทุมพริกสูตร แสดงตัวเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ อุปกิเลสมันอยู่ในตัวละก็มันไม่ถึงความดีหรอก มันไม่เข้าถึงความดีเลย

    อย่างอะไรล่ะ สมมุติห่มจีวร พูดถึงห่มจีวรกัน สมัยก่อนวัดเรานี่ไม่ใช่ว่าวัดเรามันจะดีกว่าคนอื่นนะ อย่าไปคิด ดีไม่ดีมันอยู่ที่การงดเว้น ไม่ใช่ว่าอยู่วัดท่าซุงจะดี ครูบาอาจารย์สอนเป็นพระอรหันต์แล้วจะดีไปหมด อย่าไปคิดอย่างนั้น อยู่ที่การงดเว้นของตัวและบุคคลที่ปฏิบัติ ไม่ใช่เขาไปอยู่วัดท่าซุง โอ้โฮ...แจ๋วไปหมด อย่างนั้นไม่ใช่ ไม่รับรองว่าจะแจ๋วทุกองค์ หรือเจ้าอาวาสจะแจ๋ว ใครจะแจ๋ว ไม่รับรองใคร แต่ว่าอยู่ที่การปฏิบัติของตัวคนนั้นเอง

    คนเรานี่มันจะอยู่ที่อุปาทาน รวมๆครูบาอาจารย์องค์นี้ดี ถ้าอย่างนี้ต้องดีหมด อะไรอย่างนั้น แต่จริงๆ แล้ว แม้แต่ตัวพระเองก็ต้องคิดว่า เรานี่มันงดเว้นอะไรได้บ้าง มันต้องเตือนอยู่เสมอ มันต้องว่าตัวเองอยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าตีคลุมไปอย่างนั้น ส่วนมากคนจะตีคลุมไปอยู่สำนักนี้แล้วจะต้องแจ๋ว จะอยู่ที่ไหนก็ช่างเถอะ แต่มันก็ดีอยู่อย่างคืออยู่ในสิ่งแวดล้อมดี สุขภาพจิตไม่ค่อยเสีย อย่างเราพอใจนิพพานจะไปอยู่ไอ้ที่เขาพอใจทางโลกกันนี่ อารมณ์ก็หงุดหงิดแต่อยู่ในสังคมอย่างนี้มันก็คุยกันรู้เรื่องง่าย


    (จากหนังสือ "ที่ระลึกงานกตัญญูกตเวทิตามงคล" หน้า 114-116)

    หลวงพ่อเคยลองฉันเจ

    ยกทรงถามว่า "มีในเทปบอกว่า ตอนระยะแรกๆ ตอนบวชที่วัดบางนมโด หลวงพ่อเคยลองฉันเจใช่ไหมครับ"

    เคยลอง คือหลวงพ่อเป็นพุทธภูมิ ฉะนั้นต้องทำอะไรแทบทุกอย่างเหมือนกัน อย่าง
    อาการปีติ ของเราแค่ฌาน 1, 2 ก็ผ่านไปแล้วข้ามไปเลย แต่ของท่านต้องไล่ แค่ขั้นที่ 1 ก็นาน 2, 3, 4 ก็นาน นานจนละเอียด ทีนี้เกิดฉันเจกัน ท่านก็สงสัยใช่ไหม บวชมาฉันเจ มักน้อยในเรื่องอาหาร ไม่มีเป็นพิษเป็นภัย

    ท่านฉันเจอยู่ 3 เดือน โดยไม่มีใครรู้เลยนะ ฉันหัวหอมจิ้มกับเกลือ คิดดู 3 เดือน วันหนึ่งพอออกพรรษาไปแล้ว ก็ไปฉันอาหารที่เขาทำด้วยอาหารเนื้อสัตว์ กินแล้วอาเจียรป่วย

    ตกกลางคืนนั่งกรรมฐาน พระมาบอก "คุณกิเลสมันยุบบ้างไหม ราคะ โทสะ โมหะ มันยุบบ้างไหม" ตอบ "ยังเหมือนเดิมพระพุทธเจ้าข้า" ท่านบอก "ที่ให้ทำอย่างนี้เพื่อจะให้แกได้รู้ว่ากิเลสมันจะยุบได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญาเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับอาหาร กิเลสมันจะขาดไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น มีศีลดี มีสมาธิตั้งมั่น มีปัญญาเฉียบขาดตัดกิลสได้ถึงจะหมด ไม่ใช่กินอาหารอย่างนี้แล้วกิเลสมันจะหมด ต้องประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญาเท่านั้น"

    "ก็เป็นอันว่า ที่เขาบอกว่า การกินเจเพื่อบรรลุมรรคผลเร็วก็ไม่จริง ใช่ไหมครับ"

    ก็ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลัก และใครก็ไม่รู้นะว่าท่านฉันเจ ท่านไม่ได้ประกาศให้ใครรู้ ฉะนั้นสำนักเราจึงไม่ค่อยเห็น ลองไปอ่านเรื่อง อุทุมพริกสูตร ได้เลยว่า ท่านสอนผู้ที่มีปัญญาจริงๆหรือว่าผู้ฉลาด ไม่ใช่ว่าพอเห็นคนเขามาก็ไปเดินจงกรมให้เขาเห็นสักหน่อย เขาจะได้รู้ว่าเราเคร่ง คล้องลูกประคำสักหน่อย เขาจะได้รู้ว่าเราเป็นพระกรรมฐาน ถ้าเจอละก็เวลาขึ้นเทศน์ละด่าหน้าคว่ำที่เดียว

    นี่คือกิเลสทั้งตัว เมื่ออุปกิเลสมันมีอยู่ในใจ แล้วนี่กุศลมันจะไม่เข้า สังเกตดูถ้าพระรุ่นที่ทันหลวงพ่อจะไม่มีใครแขวนลูกประคำให้เห็นหรอก ท่านจวกเลย

    "แหม เป็นพระนี่ละเอียดลออจริงๆนะ นิดก็ไม่ได้หน่อยก็ไม่ได้"

    โอ้โฮ..บางคนบอกฟังเทศน์ที่กรุงเทพฯ หลวงพ่อเทศน์ง่ายๆ แต่เวลาไปที่วัดอะไรๆ
    ก็ไม่ได้ นี่ท่านมรณภาพไปแล้วเราก็ยังกลัวท่านอยู่นะ พูดจริงๆ นะ


    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 157 เดือนมีนาคม 2537 หน้า 105-106)


    เรื่องผีเข้าและไล่ผี

    เมื่อสักครู่นี้มีคนมาที่นี่ เกิดมีสัมภเวสีแฝงติดตัวมา พอมาถึงตรงนี้เขาทำบุญสังฆทานกัน ก็ไม่เต็มใจทำ คืออาจจะกลัวเทวดาที่อยู่ที่นี่จึงไม่ยอมทำ เวลาทำสังฆทานแล้วก็ให้ไปนั่งข้างๆ สัมภเวสีก็ไม่ออก ให้กินน้ำมนต์ก็ไม่ออก ก็ให้คนไปหามีดหมอไปไล่ พอคนเอามีดหมอไปไล่ ก็เกิดร้องวี๊ด สักประเดี๋ยวก็หายไปเลย หายไปแล้วก็เข้ามาคุย เขาบอกว่าเขาเป็นคนใจอ่อนตกใจง่าย ก่อนที่จะมานี้ปวดหัวมาก มีคนแนะนำให้มาทำสังฆทานอุทิศส่วนกุศลให้สัมภเวสีและเจ้ากรรมนายเวรเสีย เขาก็มาทำ แล้วผีก็ออกไป ก็อยากจะแนะนำว่าใช้มีดหมอใช้อย่างไร เดี๋ยวให้หมอผีอธิบายให้ฟัง

    ดร.ปริญญาบอกว่า "ขอเกริ่นก่อนนะครับ ใครต้องการไล่ผีก็ผ่านนายหน้าตรงนี้ก่อนนะครับ (หัวเราะ) ขอเชิญเล่าได้ครับ"

    "เมื่อกี้นะคะ จริงๆ ก็สงสารเขา ใจรู้ว่าเขาโดนแฝงมาอย่างนี้แต่ก็ไม่กล้าพูด วีธีการนะคะ ของหลวงพ่อทุกอย่างมีผล ถ้าใจมุ่งมั่นและศรัธาจริงนะคะ มีผล 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกี้ก็อธิษฐานขอพรองค์สมด็จองค์ปฐมและหลวงพ่อ ก็ไม่ได้ทันนึกถึงท่านท้าวมหาราชก็ปอดเหมือนกันกลัวเหมือนกัน ก็อธิษฐานให้องค์สมเด็จองค์ปฐมครอบตัวเราและคนที่ถูกผีเข้า แล้วก็ท่อง นะโมพุทธายะ ได้ผลเดี๋ยวนั้นเลยค่ะ ทันตาเห็น แต่ไม่ทราบว่าอันนี้ถูกโฉลกตามที่หลวงพ่อสอนหรือเปล่า ไม่ทราบนะคะ"

    ถูกชิ หลวงพ่อให้ว่า นะโมพุทธายะ นี่ ขี้ตรงร่องนี่ คือ หลวงพ่อให้ใช้มีดหมอ โดยขออาราธนาบารมีพระพุทธจ้าพระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ แล้วก็ท่านท้าวมหาราชทั้ง 4 เวลาเอามีดแตะศีรษะก็ว่า นะโมพุทธายะ ขอให้พระพุทธเจ้า และเทวดาได้โปรดสงเคราะห์ไล่ผีนี้ออกจากร่าง เขาก็ทำถูกตามที่หลวงพ่อแนะนำแล้ว แต่ลูกศิษย์ไม่รู้นึกว่าทำไม่ถูก ตอนนี้สัมภเวสีก็ออกไปแล้ว เห็นคนที่มา มาบอกว่าถ้าไม่ออก เขาจะนำส่งโรงพยาบาล แต่หมอผีคนนี้รักษาหายไม่ต้องเสียอะไร และทำถูกต้อง

    (หมอผีจำเบ็นคนนี้ชื่อคุณมารศรี) เธอบอกว่า นับว่าเป็นบุญของผู้หญิงเขาที่เพื่อน
    เขาแนะนำมาที่นี่ ลงล็อคไม่ต้องเปลืองเงินเยอะด้วย

    พระครูปลัดอนันต์ บอกว่า "ขอให้ญาติโยมจำไว้บ้างนะ เวลามีมีดหมอ เกิดมีความจำ
    เป็น ขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์แบบนี้ แล้วแตะ ถ้าแตะไม่ออกขอให้เสียบไปใต้ลิ้นปี่นะ (หัวเราะ)

    คาถากันผีคือภาวนาไว้มากๆ จิตจะได้ไม่ตกใจง่าย สัมภเวสีแฝงง่ายคือตกใจ พอตกใจแล้วจะเข้าง่าย

    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 157 เดือนมีนาคม 2537 หน้า 102-103)


    การฉันสำรวม

    นี่ใครเขาถามไว้ก็ไม่รู้ มันนานเนกาเลมาแล้ว ตะนี้มาอีก เขาบอกการกินข้าวสำรวม การกินข้าวสำรวมแบบชนิดที่เรียกว่าใครเขานำมาให้หลายๆอย่าง และก็นำเอามาไว้ในภาชนะอันเดียวกัน หมายความมีภาชนะอันหนึ่งใส่ข้าวตักแกงตักกับทุกอย่างเข้ามาผสมกันแล้วก็กิน ญาติโยมที่ถามมาถามว่าจะเกิดประโยชน์ในการปฏิบัติเพื่อมรรคผลในพระพุทธศาสนาเพียงใดหรือไม่

    ความจริงเรื่องนี้ก็เห็นเหมือนกันเคยเห็นมา แต่ทว่าต้องขอตอบแบบนี้ ต้องขอตอบว่าไม่ถูกหรอก ถ้าจะกินเพราะละกิเลสนี่มันไม่ถูก แต่ว่าถ้ากินเพื่อความพอใจละก็ถูก

    เป็นอันว่าการกินข้าวสำรวมขี้เกียจหยิบมันหลายอย่าง มันมีกี่อย่างๆๆก็มารวมกันชามเดียวกันแล้วก็กิน แต่การกินแบบนี้ไม่ได้ตัดรสอร่อยให้หมดไป ก็เคยกินเหมือนกัน คือรวมแกงทุกๆอย่างมาไว้ในหม้อเดียวกันแล้วก็อุ่น เวลากินก็ใส่ลงมาในข้าวเห็นมันอร่อยดีนี่ และก็ไม่มีกิเลสตัวไหนมันหดลงไป แต่กินเพื่อความสบายใจของตัวนี่ไม่เป็นไร เพราะว่ากินเพื่อตั้งใจให้มันเป็นการตัดกิเลส

    ถ้ากินให้ชาวบ้านเขาเห็นว่าเราดี เราเป็นคนเคร่ง ชาวบ้านเขาจะได้เชื่อจะได้ชมว่า แหม นี่ดีจริงๆนี่กินข้าวสำรวมในภาชนะอันเดียว บางรายก็ไม่ใช้จานใช้ชาม บางรายก็ใช้บาตร ไปไหนก็แบกบาตรไปด้วย ทั้งๆที่ชาวบ้านเขามีภาชนะใส่ให้ ก็ยังเอาข้าวเทลงไปในบาตรนั่นแหละ และนำแกงนำกับทั้งหมดรวมผสมเข้าไปในบาตรและก็ฉัน อย่างนี้ถ้าจะกล่าวถึงอานิสงส์กันละก็ไม่มีอะไรเลย

    อานิสงส์ฝ่ายดีน่ะไม่มี มันมีแต่อานิสงส์ฝ่ายเลว เพราะอะไร เพราะว่าทำให้ชาวบ้านเขาเห็นว่าเคร่ง หรือบางทีก็ไม่ได้ตั้งใจจะอวดชาวบ้าน แต่ก็อวดตัวเอง ทำตัวเองให้เห็นว่าเคร่ง ไม่ยุ่งกับภาชนะทั้งหมด แต่ทว่าเวลากินข้าวไปน่ะสิ


    เวลาที่จะเปิ๊บเข้าไปพิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญารึเปล่า กินข้าวมันมีความสำคัญอยู่ตรงนี้เท่านั้น


    จะถือว่าเป็นธุดงควัตร จัดว่าเป็นเอกะภาชนะมันก็ใช้ไม่ได้ เพราะในธุดงค์ที่เรียกว่าเอกะภาชนะ เอกะแปลว่าหนึ่ง มีภาชนะชิ้นเดียว นี่เวลาไปธุดงค์เขาไม่มีสำรับเขาไม่มีปิ่นโต มันมีบาตรลูกเดียว ญาติโยมพุทธบริษัทที่เขาใส่บาตรเข้ามานี่ เขาก็ใส่รวมกับลงไปด้วยลงไปในบาตร บางรายก็มีห่อบางรายก็ไม่มีห่อใส่ลงไป พอกลับมาแล้วเพราะเรามีภาชนะอันเดียวตัดกังวลในภาชนะอย่างอื่น นี่ความจริงก็ไม่ได้สร้างความดีอะไรมากนัก เป็นการตัดกังวลเท่านั้น และเราก็กินในบาตรอย่างนี้ก็จัดว่าเป็นธุดงค์ อย่างน้อยที่สุด ความดีก็มีอยู่เพียงว่าเราไม่ยุ่งกะภาชนะหลายชิ้น เป็นการทำใจให้สบายได้จุดหนึ่ง

    แต่ถ้าจะถามว่าตัดกิเลสข้อไหนบ้างก็บอกว่ายัง มันยังไม่เข้าถึงสะเก็ดของพระพุทธศาสนานี่ ยัง ยังถึงดีไม่ได้ ตะนี้บังเอิญถ้าหลวงพี่ที่เคยเห็นมา เขามีภาชนะให้แล้ว แต่แกเอาบาตรไปด้วย เวลาจะฉันก็เทอาหารทุกอย่างลงไปในบาตรและก็กินเข้าไป การทำอย่างนี้เป็นอุปกิเลส มันเป็นการอวดชาวบ้านเขา ไม่สมควรแก่ฐานะ ถ้าเราจะถือเอกะภาชนะจริงๆ ก็ต้องปฏิบัติแบบธุดงค์ ไม่รับภาชนะที่ 2 เข้ามา เรามีบาตรลูกเดียว มีจานลูกเดียว และมีกะละมังลูกเดียว ถ้าใครเขานำอาหารมาให้จะเป็นน้ำแกง น้ำพริก น้ำปลาร้า อะไรก็ตาม ให้เทลงภาชนะอันเดียว อย่างนี้ถึงจะตรงตามจุดมุ่งหมายของเอกะภาชนะในธุดงค์

    คำว่าธุดงค์นี้ไม่ต้องเข้าป่าก็ได้ แบบนี้อยู่ในบ้านอยู่ในวัดทำได้เหมือนกันเป็นเอกะภาชนะ แต่นี้ที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทถามมานี่ มาเห็นพระท่านมีบาตรถือไปบ้าง ไม่มีบ้าง เวลาใครเขานำของเข้ามาประเคนหลายๆอย่าง ท่านก็มารวมไว้ในจุดเดียวกัน อย่างนี้มันใช้อะไรไม่ได้เลย มันเป็นการผิดพุทธประสงค์ ไอ้เรื่องการปฏิบัติตนผิดพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้า นี่เขาห้ามกันนักเขาห้ามกันหนา เพราะมันไม่ใช่ทางบรรลุมรรคผล

    ทั้งนี้เพราะว่าองค์สมเด็จพระทศพลให้ทำตรงไปตรงมา แบบนี้ถ้าเราจะกล่าวกันไปตามปกติเรียกว่า สร้างอุปกิเลสมันให้เกิดขึ้น บางทีจะทำตนเป็นคนสร้างศรัทธาให้ชาวบ้านเขาเห็นว่านี่เราเก่งนี่ ถึงแม้ไม่คิดอย่างนั้นก็เป็นการฝ่าฝืนพระพุทธพจน์บทพระบาลี ที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงตรัสไว้

    ก็ไอ้ที่กินแบบนั้นเห็นมาหลายรายเต็มทีแล้ว ดูใจแล้วก็ดำปื๋อไปหมด นี้การดูคนดูพระเราอย่าดูข้างนอก ถ้าดูข้างนอกล่ะก็แค่นั้นแหละ มันหลอกกันได้ ถ้าดูใจละก็หลบไม่ไหว ดูใจเขาดูยังไง ก็ทำเจโตปริยญาณให้มันเกิดขึ้นซิ มานั่งกินข้าวของชาวบ้านให้มันเปลืองข้าวเขาทำไม มันของง่ายๆ มันไม่ใช่ของยากของหนักอะไร ใช้กำลังใจอย่างเดียวเรามีเวลาพอ

    อันนี้ข้อนี้ก็ขอตอบไว้เท่านี้ว่า กินข้าวสำรวมในภาชนะอันเดียวกัน ถ้าใช้ภาชนะอันเดียวเขาเทลงมา จัดว่าเป็นเอกะภาชนะธุดงค์ ดี เป็นการตัดกังวลในภาชนะอย่างอื่น แต่หากว่าเขามีแกงใส่ถ้วยใส่ชามมา และก็มาหยิบใส่จานใส่ชามรวมกันอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ไม่อยู่ในเกณฑ์ธุดงค์ อานิสงส์แห่งการจะทำให้เกิดคุณเกิดประโยชน์ในการปฏิบัติไม่มี ยิ่งไปกว่านั้นองค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่าทำแบบนี้เป็นอุปกิเลส คือทำอารมณ์จิตให้เศร้าหมอง มันไม่สามารถจะข้ามกิเลสไปสู่ห้องพระนิพพานได้ เอาตอบรวมกันไปแล้วนะข้อ 2 กับข้อ 3 เอ มันก็เหมือนกันนี่


    (จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 1 หน้า 460-461)



    การฉันเอกา

    ข้อที่ 2 ปัญหาที่ถามค้างไว้จากรายการสถาวิทยุ ก็ได้แก่กินข้าวเวลาเดียว ที่ถือว่าฉันเอกา ความจริงการฉันข้าวเวลาเดียวกับ 2 เวลา มีค่าไม่ได้ต่างกันสำหรับ
    ร่างกาย นี่สำหรับอาตมาเองนี่เคยฉันมา 3 ปี ไม่ได้ทำให้ร่างกายผอมไปเลย มันดีเท่าเดิม กิเลสก็ไม่ผอม

    แต่ว่ามีความดีอยู่อย่างหนึ่ง ถ้าเราฉันข้าวเวลาเดียวตอนเช้าเมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเย็น อาหารย่อยหมดละเอียด ก็มีลมละเอียดการเจริญฌานได้ดี และอีกประการหนึ่งก็ตัดความรุ่มร่าม หมายความว่าไม่ต้องกังวลเรื่องอาหารมากนัก ถ้าจะถือเป็นคุณวิเศษดีกว่าพระที่เขาฉัน 2 เวลานี่ ไม่ได้มีความดีอะไรเลย มันก็แค่นั้นแหละหาดีอะไรจริงๆไม่ได้ หากว่าใจไม่ละกิเลสซะอย่างเดียว ไอ้การกินข้าวเวลาเดียวก็ไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น เราจะดีหรือไม่ดีมันก็อยู่ที่เรานี้

    การกินข้าวเวลาเดียวนี่มันก็อิ่มเท่ากับ 2 เวลา ดีไม่ดีจุกว่าเสียอีก ในสมัยที่กินข้าวเวลาเดียว เวลานั้นมันว่าไม่น้อยเลย ข้าวค่อนบาตรนี่ล่อเรียบเวลาเดียว แตงโมลูกใหญ่ๆเขาให้ไปฟาดเรียบ นี่ว่าไม่เหลืออยู่เลย ตะนี้ 3 ปีผ่านไป คือกลับไปกินข้าว 2 เวลา มันกินน้อยกว่ากันตั้งเยอะ

    นี่เป็นว่าฉันข้าวเวลาเดียวเป็นการตัดภาระแห่งการยุ่งยากเท่านั้น ยังไม่ได้หมายถึงว่าเป็นพระเคร่งจะเข้าถึงฌานสมาบัติ จะเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ นี่ ถ้าหากว่าท่านฉันข้าวเวลาเดียวก็ดี กินเจก็ดี กินเจนะไม่ได้กินเจ๊ คือไม่ได้ไปกวนเจ๊ ถ้าทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทำลับๆไม่ประกาศให้ชาวบ้านเขารู้ไม่โฆษณา ถ้าเขารู้เขาถามว่าทำไมกินยังงี้ล่ะ บอกว่าร่างกายมันต้องการแค่นี้ก็กินมันแค่นี้เหละ มีจิตใจบริสุทธิ์ไม่อวดชาวบ้าน อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นไปตามปกติ ไม่ผิดปกติ ไม่มีอะไรดีเป็นพิเศษ ทรงความเป็นปกติไว้ตามเดิม

    ตะนี้ถ้ากินข้าวเวลาเดียวก็ดี กินเจและอาศัยเจ๊ก็ดี หรือว่ากินเจแต่ไม่อาศัยเจ๊ อวดเขาไปที่ไหนก็บอกว่าอาตมานี่ฉันเวลาเดียวนะ อาตมานี่ไม่กินเนื้อสัตว์ อยากให้ชาวบ้านเขาได้มีความเลื่อมใส บอกพระองค์นี้ท่านดีนะ ท่านกินเวลาเดียวด้วย ท่านไม่กินเนื้อสัตว์ด้วย ท่านท่าจะเคร่งครัดมัธยัสถ์มาก เขาจะได้นับถือมาก ถ้ามีเจตนาแบบนี้ละก็ลงบัญชีอเวจีเอาไว้เลย เพราะว่าเป็นมายาเป็นการโอ้อวด อวดความวิเศษของตัว กิเลสมันเข้ามาพอกหัวหนัก

    เพราะอะไรเพราะว่ามายาอย่างนี้มันเป็นกิเลส พระพุทธเจ้าเรียกว่า อุปกิเลส ใช้ไม่ได้ต้องทำใจให้สบาย จะกินเวลาเดียวก็กินด้วยความเต็มใจ อย่าไปพึงอวดชาวบ้านเขา แต่ก็บอกเขา ใครเขาถามก็บอกว่าอาตมาฉันข้าวเวลาเดียวก็เพื่อความสะดวกในความเป็นอยู่ แต่อย่าไปนั่งนึกว่า เอ๊ะ เราจะทำให้เขานับถือเราเพราะเรากินข้าวเวลาเดียว หรือว่าเราจะกินเจ หรือว่ากินเจ๊ ก็กินมันเงียบๆ อย่าบอกชาวบ้านเด็ดขาด ถ้ากินเจก็ตามกินเจ๊ก็ตาม ว่าถ้าบอกชาวบ้านแล้ว ชาวบ้านเขาจะคิดว่าท่านเคร่ง จะมีเจตนาเช่นนั้นหรือไม่มีเจตนาเช่นนั้นก็ตาม เพราะอันนี้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้แล้ว ถ้าเราฝ่าฝืนก็เป็นอันว่า เราเป็นลูกหัวดื้อไม่เชื่อพระพุทธเจ้า หรือดีไม่ดีเราก็ไปนั่งแข่งบารมีพระพุทธเจ้า

    แต่อย่าลืมนะ ปฏิปทากินเจนี่ พระเทวทัตเคยขอพรจากองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ไว้แล้ว แต่ว่าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วไม่ทรงอนุญาต ฉะนั้น การกินเจจึงเป็นของไม่ถูกไม่ต้องตามคติของพระพุทธศาสนา เป็นอันว่าการกินข้าวเวลาเดียวข้อ 2 ตามที่ถามมา ความจริงน่ะตอบแล้วในข้อ 1 แต่นี้ก็เลยมาตอบข้อ 2 ใหม่


    (จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 1 หน้า 458-459)


    พระจับสตางค์

    มีอีกข้อหนึ่งบรรดาญาติโยมพุทธศาสนิกชน มาพูดเรื่องพระหยิบสตางค์ว่ามีสำนักหนึ่งหลายสำนักทีเดียว ถ้าเข้าไปปฏิบัติในสำนักนั้นละ ห้ามหยิบสตางค์ ถ้าใครเขานำเอาสตางค์มาถวายมีทายกเก็บไว้ใช้ ความจริงข้อนี้นจะอ่านพระวินัยให้เข้าใจชัด ไม่ใช่ของลี้ลับ

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบอกไว้แล้วว่า รับเงินเองก็ดี ให้บุคคลอื่นรับก็ดี หรือให้บุคคลอื่นเก็บไว้เพื่อตนก็ดีเป็น อาบัตินิสสัคคิยปาจิตดีย์ เหมือนกัน ถ้าอย่างนั้นละก็จะไปนั่งหลอกชาวบ้านเขาเพื่อประโยชน์อะไร ทำตนเป็นคนเคร่ง ใครเขาถวายสตางค์เข้ามาหยิบไม่ได้ แต่ก็รู้อยู่ว่าสตางค์อยู่ที่ตาคนนั้นตาคนนี้ ตาคนนั้นตาคนนี้แกเก็บเอาไว้ให้ อาบัติมันเท่ากันนี่ทำแบบนี้มันก็เป็นมายาเป็นอุปกิเลส นี่มันเสีย 2 ทาง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ก็เป็นด้วย และก็เสียในด้านมุสาวาทโกหกชาวบ้านอีกด้วย จิตใจทำเพื่อโอ้อวดเป็นอุปกิเลสฝ่ายธรรม โดนเข้าไป 3 ต่อ กระสุนนัดเดียวได้นกระยำ 3 นก เรียกว่า ได้ทั้งแร้ง ทั้งเหี้ย ทั้งกามาเลยดีไหม อย่างนี้ก็เจริญพรชิหรือบรรลัยพรก็ไม่แน่ ไม่เป็นเรื่อง ไม่ควรแก่การปฏิบัติจริงๆ อย่างนี้เห็นเข้าแล้วก็อย่าไปเชื่อ อย่าไปถือเลย

    นักบวชที่บอกว่าไม่หยิบสตางค์น่ะ เวลาตายแล้วมีเงินเป็นแสนเป็นล้านตั้งเยอะ เที่ยวไปโกหกชาวบ้านเขาเพื่อประโยชน์อะไร ทำให้ตรงไปตรงมา เวลานี้หยิบสตางค์ใครเขาจะว่า ว่าก็ว่าใครเขาจะชมก็ชม ปล่อยเขาอย่าไปสนใจเพราะความจำเป็นมันบังคับ ไปร้านเจ๊ก
    เขาเอาสตางค์ทุกอย่าง ขึ้นรถขึ้นเรือ เขาก็เอาสตางค์ ไปรักษาโรค เขาก็เอาสตางค์
    ในเมื่อชาวบ้านเขาถวายสตางค์เข้ามาก็รับ จะไปตั้งท่าตั้งทางโกหกเขาเพื่อประโยชน์
    อะไร ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย ข้อนี้ก็ขอผ่านไป มีอะไรอีกไหม


    (จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 1 หน้า 464-465)


    การห่มผ้าสีกรัก

    ถามมาเยอะแยะ เดี๋ยวห่มผ้าสึกรัก มีบางสำนักบังคับบอกว่าต้องห่มผ้าสีกรัก ความจริงไอ้ผ้าลีรักน่ะสีดำๆ นั่นมันเหมาะสำหรับพระที่เขาออกเดินธุดงค์ มันเปื้อนยากเขาเรียกว่าผ้าห่มสีน้ำฝาด

    ไอ้ความจริงเรื่องผ้านี่ไม่สำคัญ จะเห็นว่าเป็นผ้าเหลืองก็ได้ ผ้าเหลืองเจือแดงเข้มก็ได้ ห่มผ้าสีน้ำฝาดก็ได้ ก็แค่นั้นแหละไอ้เรื่องผ้า

    ถ้าผ้ามันดีจริงๆทำให้หมดกิเลสได้ เราก็สบาย ถ้าห่มผ้าสีกรักเมื่อไหร่กิเลส
    หมดเมื่อนั้นละก็แจ๋วละตานี้ ไม่ต้องห่วงสบายใจได้เลย แล้วมันจะเป็นยังงั้นได้ยังไง

    ผ้านี้เราห่มเข้าไปแล้วมันทำใจให้หมดกิเลสได้รึเปล่า ความจริงมันก็เปล่า อย่างนี้ไม่เห็นชอบด้วย ควรจะปล่อยไปตามสบาย เพราะผ้าที่ไม่ผิดวินัยก็ใช้ได้ ถ้าหากว่าห่มผ้าผิดวินัยคนจะตำหนิกัน

    ไอ้ตั้งกฎตั้งเกณฑ์แบบนั้นมันไม่ใช่ของดีอะไร ทำให้ลำบากใจเปล่าๆ ไม่ได้เกิดประโยชน์ในการกำจัดกิเลส

    (จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 1 หน้า 465)


    ทำบุญไม่ขึ้น

    ผู้ถาม : เจ็บใจเหลือเกินเจ้าค่ะ ทำความดีมาหลายครั้ง ปรากกว่าทำบุญแล้วไม่ขึ้น

    หลวงพ่อ : จะขึ้นไปไหน การให้ไปถือว่าเป็นจาคานุสสติกรรมฐาน เป็นตัวตัดความโลภ เมื่อความโลภมันตัดได้แล้ว กิเลสมันก็ยังอยู่อีกตัวหนึ่งคือความโกรธเขาก็มาซ้อม ต้องจำไว้ว่าคนมีทั้งดีทั้งเลว

    จำไว้ว่าในโลกนี้ถึงจะทำความดีขนาดไหนก็ตามคนที่เห็นความดีมันเห็นยาก ก็ไม่ควรจะมาโลกนี้อีกต่อไป ตัดสินใจอย่างนี้นะ ของที่ให้ไปแล้วก็ถือว่าก็แล้วกันไป ไอ้ที่เขาว่าก็ถือเป็นอโหสิกรรมไป แต่ว่าจำหน้าไว้ว่าคนนี้ไม่ควรให้ต่อไป ต้องทำตามพระพุทธเจ้าบอก

    อย่างบิดาท่านวิสาขาท่านแนะนำว่า "ผู้ให้เราจงให้ ผู้ไม่ให้เราอย่าให้" ถ้าเราให้เขาไป สมมุติเขามายืมของไป เขามาส่งคืน เราก็ให้เขาต่อไป ถ้ายืมของไปแล้วเขาไม่ส่งกลับ คนนั้นเลิกให้ต่อไป แล้วไอ้คนที่เราให้ไปแล้วไม่รู้สึกคุณ ก็ไม่ควรจะให้ต่อไป

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 48 หน้า 82)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2020
  2. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    1_zpswedd6src.jpg


    ทำบุญแบบคนจน

    ผู้ถาม : กราบเท้าพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ลูกอยากจะขอคำแนะนำจากหลวงพ่อ คือว่าอย่างนี้เจ้าค่ะ ว่าจะทำบุญแบบไหน และจะทำบุญด้วยวิธีใด จึงประหยัดที่สุดถูกที่สุดและมีโอกาสได้มรรคผลนิพพานเหมือนๆกับลูกศิษย์หลวงพ่อทั้งหลาย (ส่วนใหญ่ลูกศิษย์หลวงพ่อรวย แต่ลูกยังจนอยู่ มีธรรมะที่จะไปนิพพานแบบลูกจนๆ มีบ้างไหมเจ้าคะ)

    หลวงพ่อ : มี แต่ว่านิพพานจนๆวิมานเล็กๆ ความจริงไม่ต้องลงทุนไปนิพพานนี่

    1. ตัดโลภะ ความโลภ ไม่อยากได้ทรัพย์สินใครโดยไม่ชอบธรรม ถ้าเขาให้ด้วยความเต็มใจเราเอา เขาไม่ให้แล้วไปไม่สนใจ

    2. ตัดโทสะ ความโกรธ คือรักษาศีล 5 ให้ครบถ้วน

    3. ตัดโมหะ ความหลง คิดว่าชาตินี้มันต้องตาย เกิดเป็นคนมันต้องตาย เราต้องการนิพพาน แค่นี้แหละไปได้

    ผู้ถาม : นี่ตกลงไม่ต้องเสียสักบาทเลย

    หลวงพ่อ : ไม่ต้องเสียเลย

    ผู้ถาม : นี่ธรรมะสำหรับคนจนนะครับ ?

    หลวงพ่อ : ใช่ๆ คนรวยก็ต้องใช้

    ผู้ถาม : ที่นี้มันเป็นยังงี้เจ้าค่ะ เวลาไอ้เรื่องตัดโลภะมีอยู่นิดหนึ่ง โดยเฉพาะที่ตัดยากก็คือวันที่ 1 กับวันที่ 16 ไม่รู้จะทำยังไง

    หลวงพ่อ : นั่นเราไม่ต้องตัด ใช้สังขารุเปกขาญาณ จะกินไม่กินก็ช่างมันเถอะ ถูกหรือกินก็ไม่เป็น ถ้ากินเราก็ซื้อใหม่ (หัวเราะ)

    ผู้ถาม : ถ้าถูกก็เอามาถวายพระ

    หลวงพ่อ : ใช่ ๆๆ (หัวเราะ)

    (จากธัมมวิโมกข์ กันยายน 2534 หน้า 24)

    ทำบุญด้วยเงินน้อยๆ

    ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ การทำบุญวิหารทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคยร่วมกุศลไปกับวิหารแก้ว 100 เมตรของวัดท่าซุง

    ที่กระผมสงสัยก็คือว่าอย่างนี้ ทำน้อยเกินไปไม่ถึงหมื่นบาท คนอื่นเขาทำเป็นแสนๆ แสดงว่าอานิสงส์ที่ผมได้ก็คงจะน้อยกว่าเขามากไหมขอรับ ผมเสียใจอยากจะทำต่อไปอีก แต่ว่าการเงินไม่สะดวกเลยขอรับ

    หลวงพ่อ : เอางี้ก็แล้วกัน ตายไปก็มีวิมานแก้วเหมือนกัน แต่หลังเล็กหน่อย
    แต่ถ้าอยู่วิมานแบบนั้นนะ ห้ามแก้ผ้านอนนะ

    ผู้ถาม : ทำไมหรือครับ?

    หลวงพ่อ : มันจะเห็นหน้าตัวเองน่ะซิ (หัวเราะ)

    ผู้ถาม : อื้อ มันเป็นกระจก

    หลวงพ่อ : ใช่ ๆๆ

    ผู้ถาม : อย่างนี้ก็ต้องซื้อกางเกงในถวายพระแล้ว

    หลวงพ่อ : ใช่ๆ (หัวเราะ)

    ผู้ถาม : มีวิมานเหมือนกันแต่ว่าเล็กไปหน่อย

    หลวงพ่อ : ใช่ ๆ มีวิมานเหมือนกัน ถ้าตายไปเกิดเป็นคนก็จะมีประสาทแก้ว 7 ประการ อย่างโชติกะเศรษฐี หลังนั้นสร้างแบบโชติกะเศรษฐีเขาสร้าง

    ผู้ถาม : รูปแปลนแผนผังนี่หลวงพ่อคิดเองหรือมาไงไปไงครับ ?

    หลวงพ่อ : ก็คิดเอง แต่ไม่ได้ทำเองช่างเขาทำ คือว่าพระพุทธเจ้าท่านสั่งน่ะ ส่วนสัดต่างๆนี่สั่งหมด ฉันไม่ต้องคิดอะไรเลย จะเอาแบบไหนท่านสั่งแต่ผู้เดียว

    ผู้ถาม : เวลาสั่งมีภาพแสดงให้เห็น

    หลวงพ่อ : ใช่ มีภาพให้ดู

    ผู้ถาม : มิน่าเล่า ดีไซน์แบบออกมา พุทธแบบถึงได้สวยใหญ่

    หลวงพ่อ : ใช่

    หลวงพ่อ : ที่วัดท่าซุงนี่ส่วนมากจะเป็นแบบของพระพุทธเจ้า...

    หลวงพ่อ : ตั้งแต่ปี 21 พุทธแบบ เพราะตอนนั้นฉันจะเลิกสร้าง แต่ท่านให้สร้างต่อ บอกท่านว่าการเงินไม่มี ท่านบอกไม่เป็นไรฉันจะหาเอง ตั้งแต่ปี 21 เป็นตันมาใครทำบุญถือว่าทำบุญตรงกับพระพุทธเจ้า

    ผู้ถาม : เพราะว่าเป็นงานของพระองค์ท่าน

    หลวงพ่อ : ใช่ ท่านหาสตางค์ด้วย จะโกงก็ไม่ได้นะ รู้ด้วย อย่างมาที่นี่จะได้เท่าไหร่บอกมาเสร็จ

    ผู้ถาม : หมายความว่ายอดเท่าไหร่...

    หลวงพ่อ: ใช่ บอกเลย

    ผู้ถาม : เมื่อเสร็จงานแล้วต้องนับ

    หลวงพ่อ : นับแล้วต้องได้เท่านั้น ถ้าน้อยกว่า โกง จะมีงานทุกงานท่านบอกยอดก่อน

    ผู้ถาม : อ๋อ...อย่างนี้นี่เอง

    (จากธัมมวิโมกข์ กันยายน 2534 หน้า 24-25)


    นิพพานมีกี่ประเภท

    ผู้คาม : หลวงพ่อคะ นิพพานมีกี่ประเภทคะ

    หลวงพ่อ : มีประเภทเดียว คือใช้ พ.พาน ไม่ใช่ ภ. สำเภา

    ผู้ถาม : (หัวเราะ)

    หลวงพ่อ : พูดถึงนิพพานมีกี่ประเภท ตอนฉันเขียนหนังสือหลวงพ่อปานออกปีแรก มีคนคณะหนึ่งเขาคุยกันถึงเรื่องพระนิพพาน เขาบอกว่านิพพานของเขามึ 20 ชั้น ฉันเลยบอกเขาว่า ฉันยอมแพ้ เขาถามว่าทำไม ก็เลยบอกเขาว่าพระพุทธเจ้าบอกนิพพานมีชั้นดียว ของคุณมื 20 ชั้น พระพุทธเจ้ายังสู้คุณไม่ได้ นี่มาเจอกี่ประเภทอีกแล้ว ช้กจะยุ่ง เจอะเป็นรายที่สอง อันนี้ไม่ใช่นะ

    ผู้ถาม : แต่เคยอ่านเจอในหนังสือเขาบอกว่า มึ 2 ประเภทค่ะ

    หลวงพ่อ : ที่เขาเขียนแบบนั้น เขาหมายถึงอารมณ์ความเป็นพระอรหันต์ เป็นอรหันต์แล้วถือว่าเป็นนิพพาน

    คือว่าพระอรหันต์นี่จิตดับกิเลส แล้วก็ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือร่างกายยังอยู่ แต่ว่าจะมีเบญจขันธ์เหลือก็ดี แต่จิตพระอรหันต์ไม่มีทุกข์ จริงๆร่างกายท่านทุกข์ แต่ใจท่านไม่ได้ทุกข์ ร่างกายท่านเจ็บท่านก็รู้ว่าร่างกายเจ็บ ร่างกายหนาวร่างกายร้อนท่านรู้ ร่างกายบ่วยไข้ไม่สบายท่านรู้ แต่ว่าจิตท่านไม่กังวล ท่านก็รักษาพยาบาล ท่านหิวท่านก็กิน ท่านร้อนท่านก็หาเครื่องเย็น ท่านหนาวท่านก็หาเครื่องอุ่น หาได้แค่ไหนพอใจแค่นั้น ถ้าหาไม่ได้ก็แค่นั้นแหละ แค่นี้เอง

    และที่เรียกนิพพานอึกจุดหนึ่งคือว่าดับกิเลสด้วย แล้วก็ดับเบญจขันธ์ด้วย คือกิเลสหมดไปแล้ว เมื่อถึงเวลาตายก็ดับเบญจขันธ์ด้วย มันก็ประเภทเดียวนั้นแหละ แต่มันสองระยะ ไม่ใช่ 2 ประเภทนะ นั่นเขาพูดถึงอารมณ์ อารมณ์มันดับตัวเดียว

    ผู้ถาม : ดับกับสูญ นี่ตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ

    หลวงพ่อ : ตัวเดียวกันโยม นิพพานัง ปรมัง สูญญัง แปลว่า นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง หมายถึงกิเลสทั้งหมดมันดับไปหมด ว่างจากกิเลส

    ผู้ถาม : หมายความว่า นิพพานนี่ไม่สูญ ใช่ใหมครับ

    พลวงพ่อ : นิพพานนี่ไม่สูญ แต่คนที่จะไปนิพพานได้ กิเลสต้องสูญ

    เขาไม่ได้บอกนิพพานสูญ เขาแปลหนังสือเขาแปลไม่หมดทุกตัว คำว่าสูญ เขาแปลว่า ว่าง นิพพานเบ็นธรรมว่างอย่างยิ่ง หมายความว่า คนที่จิตว่างจากความชั่วทั้งหมดจึงจะเห็นนิพพานได้ในเวลานั้นนะ แต่คนที่จะไปอยู่นิพพานได้ ต้องไม่มีความชั่วอยู่ในจิตเลยที่เขาเรียกว่ากิเลสนั่นแหละ กิเลสคือความชั่ว โยมเข้าใจถูกแล้วนี่ มันตัวเดียวกัน

    ผู้กาม : อาจารย์บางคนเขาว่า นิพพานสูญ หมายถึงไม่มีแม้แต่สวรรค์ก็ไม่มี นรกก็ไม่มี

    หลวงพ่อ : ไอ้นั่นของเขาว่า เราไปตามทางของพระพุทธเจ้าดีกว่า เราจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เขาจะเป็นจานเป็นกาละมัง ก็ช่างเขาเถอะ ใช่ไหม

    ในพระไตรปิฎกก็ไม่มีคำว่านิพพานสูญ บทพิสูจน์มีก็ไม่เรียนกันนี่

    (จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 หน้า 51-53)


    ธรรมะให้เกิดความสุข

    ผู้ถาม : ลูกขอได้โปรดให้หลวงพ่อแนะนำเรื่องการดำรงชีวิตให้มีความสุข จะปฏิบัติอย่างไรดีเจ้าคะ?

    หลวงพ่อ : ไม่ยากๆ 1. กินข้าวได้มากๆ 2.นอนหลับดี 3. ขี้หมดท้อง (หัวเราะ)

    เอาอย่างนี้ดีกว่าง่าย ตามแบบของสังคหวัตถุ 4 ง่ายดี

    1. ทาน การให้ รู้จักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนบ้าน เขาไม่มีแกง เรามีแกง เราให้เขา เราไม่มีน้ำพริก เขามีน้ำพริก เขาให้เรา รู้จักยื่นโยนซึ่งกันและกันเป็นปัจจัยให้เกิดความสุข
    2. ปิยะวาจา ปิยะ แปลว่า ที่รัก พยายามพูดให้เป็นที่รักของบุคคลผู้รับฟัง เขาชอบใจแบบไหนพูดแบบนั้น
    3. อัตถจริยา รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามสมควรทางกาย
    4. สมานัตตตา ไม่ถือตัวถือตน

    แค่นี้มีความสุขเยอะแล้ว ไปไหนคนเกลียดน้อยจะหาว่าคนไม่เกลียดเลยไม่มีนะ คนที่ไม่ถูกใครเกลียดเลย คือคนที่ยังไม่เกิด

    ฉะนั้นคนที่เกิดย่อมได้รับการโดนเกลียด และย่อมได้รับคำนินทาด้วย แม้แต่พระพุทธเจ้ายังถูกนินทา

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 107 มกราคม 2533 หน้า 11-12)


    อยากตั้งศาลพระภูมิ

    ผู้ถาม : กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง คือว่าลูกโชคดีมีสามีตรงข้ามเปี๊ยะตลอดเลย คือว่าลูกสวดมนต์อีก็ว่า จะทำกรรมฐานอีก็ชวนให้นอนเรื่อย เรียกว่าไปคนละแควเลย แต่ลูกก็ทนร่วมอยู่ได้ เพราะถือว่าเป็นการใช้เวรใช้กรรมในอดีต

    ลูกฟังเรื่องศาลพระภูมิจากหลวงพ่อก็มีศรัทธาอยากจะตั้งบ้าง ก็บังเอิญที่บ้านเป็นที่ทรัพย์สิน บอกสามี สามีก็บอกว่าที่ทรัพย์สิน "ในหลวง" ท่านเป็นพระภูมิใหญ่อยู่แล้ว ลูกก็เลยตั้งไม่ได้ เพราะความขัดคอกัน

    อยากเรียนถามว่า ถ้าหากตั้งไม่ได้ แต่จิตระลึกอยู่เสมอ และอยากจะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างใดอย่างหนึ่งให้เทวดาที่เป็นพระภูมิที่นั่น จะทำได้ไหมคะ ?

    หลวงพ่อ : (หัวเราะ) เอาอย่างนี้ซิ เวลาบูชาพระก็ตามหรือกราบพระก็ตาม จิตใจยอมรับนับถือ ใช้ได้เลย

    ผู้ถาม : และแกก็บอกว่า จะมีการอธิษฐานแบบไหน สามีคนปัจจุบันนี้จึงจะไม่เกิดมาเจอกันอีกเจ้าคะ ?

    หลวงพ่อ : เขามีพรหมวิหาร 4 คนนี้ เมตตา ความรัก ยังมีอยู่ กรุณา ความสงสาร ยังไม่อยากจากไป มุทิตามีจิตอ่อนโยน เห็นชอบด้วยกับการกระทำของสามี อุเบกขา

    นอกจากชาตินี้กูไม่เอามึงแล้ว ใช่ได้เลย ไม่ได้พบกันอีก

    ผู้ถาม : เอ๊ะ แล้วที่บอกว่า ปุพเพ จะ กะตะปุญญตา บุญที่เคยทำไว้แต่ปางก่อนทำให้มาเจอกัน เอ..แล้วประเภทนี้ทำบุญแบบไหนครับ ?

    หลวงพ่อ : ทำบุญผสมบาป ขัดคอกันเวลาทำบุญ


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับ 176 พฤศจิกายน 2538 หน้า 84-85)


    อยากเข้าถึงธรรม

    ผู้ถาม : หลวงพ่อขอรับ นั่งกรรมฐานมานานแล้วรู้สึกว่าจิตใจสงบสบายแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะไปถึงองค์ธรรมที่เเท้จริงได้ ขอหลวงพ่อได้โปรดแนะนำหน่อยเถิดขอรับ ?

    หลวงพ่อ : องค์ธรรมเเท้จริงรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร?

    ผู้ถาม : เอ..ผมก็ยังไม่เคยเห็นเหมือนกันครับ

    หลวงพ่อ : ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

    ผู้ถาม : คงไม่ใช่หมายถึงอย่างนั้นนะครับ

    หลวงพ่อ : ก็นั่นนะซิ แต่ความจริงที่ปฏิบัตินี่ก็เป็นทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา
    เป็นธรรมสูงอยู่แล้ว จะเอาอย่างไรอีกล่ะ ถ้าจริง ๆ เขาอาจจะหมายถึงนิพพานก็ได้ละมั้งความจริงสวรรค์ก็ธรรม คือเทวธรรม พรหมก็ธรรม นิพพานก็ธรรม

    ถ้าจะเอากันจริงๆนะ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน อันดับแรกยึดอารมณ์พระโสดาบันให้ทรงตัวก่อนคือ

    1. ตัดสักกายทิฏฐิ คิดตามความเป็นจริงว่าชีวิตนี้จะต้องตาย ไม่เมาในชีวิตคิดไว้เสมอว่าความตายจะเข้าถึงเราในวันนี้ก็ได้

    2. วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ยอมรับนับถือด้วยความเป็นจริง

    3. สีลัพพตปรามาส ไม่ลูบคลำศีลถือศีลด้วยความเคร่งครัด ระมัดระวังศีลด้วยชีวิตอย่างนี้ถือว่าเข้าถึงองค์ธรรมจุดแรกคือพระโสดาบันแล้ว ต่อไปก็โดดจับหาง ใช้ปัญญาตามความเป็นจริงตัดอวิชชา

    อวิชชามี 2 ศัพท์ คือ ฉันทะกับราคะ

    "ฉันทะ" คือความพอใจในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก ว่าโลกทั้ง 3 นี้เราไม่ต้องการจะอยู่ต่อไป

    "ตัดราคะ' คิดว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ไม่สวยจริงที่ดีจริงๆ คือพระนิพพาน จับจุดพระนิพพานโดยตรง

    (จากธัมมวิโมกข์ พฤศจิกายน 2536 หน้า 89-90)






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2019
  3. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    เรื่อง ถูกผีหลอก

    14-2.jpg IMG_20170721_151822.jpg IMG_20170721_151919.jpg IMG_20170721_151948.jpg IMG_20170721_152007.jpg IMG_20170721_151822.jpg maxresdefault.jpg
     
  4. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    กฏของกรรมหลวงพ่อปาน

    1.jpg 2.jpg 3.jpg 4.jpg 5.jpg 6.jpg 7.jpg
    (จากธัมมวิโมกข์ กันยายน 2531 หน้า 25 - 31)

    เรื่องกฏของกรรมหลวงพ่อปานนำมาจากธัมมวิโมกข์ใน E-Book ของเวบวัดท่าซุงตามลิงค์ด้านล่างครับ

    http://thasungmedia.com/wat/puy/ebook/index.php


     
  5. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    106.jpg king-10-15-1.jpg 10-1.jpg 201702281553261_pic.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 10-1.jpg
      10-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      156.1 KB
      เปิดดู:
      262
  6. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    ถ่ายจากไวท์บอร์ดภายในวิหารพระองค์ที่ 10,11

    IMG_20170727_153546.jpg
     
  7. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    DSC05461.jpg

    โอวาทของท่านแม่ศรี

    IMG_20170731_153507.jpg IMG_20170731_153534.jpg

    (จากธัมมวิโมกข์ เดือนมกราคม 2537 หน้า 105-106)
     
  8. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    IMG_20170731_161123.jpg IMG_20170731_160745.jpg
     
  9. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    จากคำบอกเล่าเรื่อง พบหลวงพ่อ, ของแจกที่ระลึก, ตอบแทนคุณหลวงพ่อ, ทำพิธีไหว้หลวงพ่อ, ศิลาฤกษ์ปราสาททองคำ, ปราสาททองคำ, ธุดงค์ในวัด, มโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง, การฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลังของคุณวัฒนา ไชยเสนะ, ประโยชน์ของมโนมยิทธิ

    IMG_20170731_152820.jpg IMG_20170731_152914.jpg IMG_20170731_153036.jpg IMG_20170731_153117.jpg IMG_20170731_153204.jpg IMG_20170731_153243.jpg IMG_20170731_153317.jpg IMG_20170731_153351.jpg IMG_20170731_153427.jpg
    (จากธัมมวิโมกข์ เดือนมกราคม 2537 หน้า 86 - 97)
     
  10. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    IMG_20170731_160813.jpg IMG_20170731_160842.jpg IMG_20170731_160931.jpg
     
  11. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    บทความเรื่องด้านล่างนี้นำมาจากเวบวัดท่าซุงครับ

    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=981#5


    "คาถาล้างกรรม" เป็นของหลวงปู่ปานจริงหรือ ?


    .....ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขอทำความเข้าใจกันก่อน เพราะคำว่า "คาถา" ย่อมเป็นของดี ท่องเพื่อระลึกถึงพุทธคุณ ธัมมคุณ และสังฆคุณ เป็นอนุสติที่ดีย่อมมีผล ตามความเชื่อที่มีต่อครูบาจารย์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น คาถาพระปัจเจกโพธิ์ ที่หลวงปู่ปานได้เรียนมาจากครูผึ้ง แล้วมอบให้นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร ท่องจนได้ผล ต่อมา หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ก็เพิ่มจากเดิมบ้าง สมัยนี้เรียกกันว่า "คาถาเงินล้าน" จนเป็นที่รู้จักและนิยมท่องกันอย่างแพร่หลาย

    แต่ด้วยความมีชื่อเสียงโด่งดังนี้แหละ เป็นเหตุให้นักฉวยโอกาสจากความนิยม สร้างฉากใหม่ให้น่าเลื่อมใสยิ่งขึ้น โดยการนำเอา คาถาล้างกรรม จากเดิมเป็นของ หลวงปู่บุญถา ถาวโร แล้วคัดลอกต่อกันไปเป็น หลวงปู่บุญมา ถาวโร คือพิมพ์ชื่อท่านผิด ส่วนในเว็บพระเครื่องเป็น หลวงปู่บุญทา ถาวโร

    จากนั้นก็มีมือดีเปลี่ยนไปเป็นของ หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ซะงั้นแหละ คงเห็นฉายา "ถาวโร" เหมือนกับหลวงพ่อมหาวีระ ถาวโร มั้ง เลยหัวแหลมขึ้นมาทันที

    ผู้มีพฤติกรรมเช่นนี้ยังปรากฏอยู่ในหมู่นักก้อปปี้ข้อมูลทั้งหลาย แล้วก็เติมไข่ใส่สีไปสารพัด จะบอกว่ามีเจตนาดีแต่ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะเห็นๆ อยู่ว่าต้นฉบับเดิมเป็นของใคร ผู้ใดเป็นคนเขียน เป็นต้น

    หนังสือเล่มนี้ก็มีการประกาศขายของเก่าทาง "เว็บขายของมือสอง"

    http://www.b2s.co.th/products_detail.php?proid=2841

    พร้อมถ่ายภาพปกหนังสือ และ ผู้เขียน : ดามภ์-เหม ไว้เป็นหลักฐาน
    โดยมีการอธิบายไว้อย่างละเอียด ดังนี้


    7098876_250.jpg


    .....หลวงปู่บุญถา ถาวโร เป็นอีกพระอริยะสงฆ์แห่งอีสานตอนกลาง ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดละแวกใกล้เคียง ท่านเป็นคนจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งท่านเคยเป็นอาจารย์สอนเวทมนตร์ให้ หลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ มาแล้วในอดีต ด้วยหลวงปู่บุญถาเป็นพระเกจิผู้เรืองเวทย์อีกรูปหนึ่ง และยังเป็นพระฝีปากกล้าทางเทศนาธรรม มีความแตกฉานทางธรรมะยิ่งนัก

    ทุกครั้งที่ไปเทศนาธรรมโปรดสัตว์แก่ญาติโยม จะสอดแทรกธัมมะและคำสอนที่ลึกซึ้ง หลวงปู่บุญทามีรูปร่างสูงใหญ่ ได้ศึกษาพระธรรมทางไทยและเขมร จึงมีความสามารถพูดและใช้ภาษาเขมรได้คล่อง ยามที่หลวงปู่บริกรรมคาถามักจะนำภาษาเขมรมาใช้ประจำ แต่มิได้ละทิ้งภาษาไทย (อีสาน) ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทยอยู่มิเสื่อมคลาย

    .....หลังจากหนังสือต้นฉบับที่ประกาศขาย แต่ยังไม่มีรายละเอียดของพระคาถา ต่อมาก็มีการนำเอามาโพสต์ในเว็บไซด์
    www.bloggang.com/viewdiary.php?id=baimaisisuay&month=11-2011&date=19&group=4&gblog=23

    - โพสต์เมื่อ : 19 พฤศจิกายน 2554 ข้อความมีดังนี้

    เอามาจากหนังสือ คาถาล้างกรรม หลวงปู่บุญมา ถาวโร ครับ

    พระคาถาล้างกรรมล้างเวรให้บรรเทา

    แต่เดิมนั้นพระคาถานี้ได้จาก "คนที่ตายแล้วฟื้น" กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ได้บอกกับพวกดวงวิญญาณทั้งหลาย ที่มีความทุกข์ทรมานอยู่ในขุมนรกภูมิว่า

    ให้สวดพระคาถานี้เรื่อยๆ จะช่วยให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน และคนที่
    สวดพระคาถานี้จะมีความสุข สิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย จะไม่มากล้ำกรายในชีวิต อายุจะยิ่งยืนยาวนาน

    ก่อนบริกรรมพระคาถานี้ให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วท่องมนต์นี้ว่า

    พุทโธ อะระหัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ พุทโธ อะระหัง
    กัมมะโตเมตัง กัมมะภันทะนัง ชีวิตตังให้ไปจุติ ให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณจงไปผุดไปเกิดด้วยเทอญ


    ให้บริกรรมพระคาถานี้ 3 คาบ จากนั้นให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้
    เจ้ากรรมนายเวร และดวงวิญญาณเหล่านั้น

    .....ท่านผู้อ่านจะสังเกตได้ว่า ผู้โพสต์นั้นได้นำเอารายละเอียดของพระคาถามาให้ท่องกัน แต่พิมพ์ชื่อ หลวงปู่บุญถา ถาวโร ผิดเป็น หลวงปู่บุญมา ถาวโร ส่วนคำว่า "คนที่ตายแล้วฟื้น" ผู้เขียนเน้นให้เห็นชัดๆ เป็นตัวหนังสือสีแดงนั้น เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตไว้ก่อนว่า ต่อไปเขาจะนำไปแต่งเป็นเรื่องเป็นราว คือจะกลายเป็น "คุณยายฟื้น" อยู่ข้างวัดบางนมโคนี่เอง จึงขอย้ำว่าจำไว้แม่นๆ นะ..สวัสดี
     
  12. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    messageImage_1502295980170.jpg

    เอาเครื่องช่วยหายใจออกบาปไหม

    messageImage_1502296151584.jpg
    (จากธัมมวิโมกข์ มกราคม 2534 หน้า 32)

    2 ภาพบนนี้นำมาจากเวบวัดท่าซุงส่วน E-Book ครับ

    http://thasungmedia.com/wat/puy/ebook/index.php

    เอาเครื่องช่วยหายใจออกบาปไหม

    ผู้ถาม : ลูกอยากถามหลวงพ่อเจ้าคะ คือผู้ป่วยที่อาการต้องตายแน่มีเครื่องช่วยหายใจอยู่ แพทย์เขาสั่งให้เอาเครื่องช่วยหายใจออก เมื่อเอาออกแล้วเขาตาย จะบาปไหมคะ

    หลวงพ่อ : คนจะตายจะบาปยังไง ไม่ได้ฆ่าให้ตาย นั่นเครื่องช่วยหายใจถึงขืนช่วยไปก็ไม่ไหวแล้ว เขาก็ต้องตายก็ไม่มีความสำคัญ คำว่าบาปก็ไม่มี ไม่ใช่ถ้ายังช่วยอยู่มีหวังจะฟื้น เราแกล้งเอาออกไอ้นั่นจึงจะบาป เพราะมีเจตนานะ และไอ้การที่จะบาปนี่ต้องมีการตั้งใจกลั่นแกล้งหรือทำให้ตาย

    ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ ถ้าอย่างนี้ถ้าเกิดเป็นลูกกระทำถือว่าเป็นอนันตริยกรรมไหมครับ ?

    หลวงพ่อ : เขาไม่บาป คุณฟังให้ดี อย่าโง่ เรื่องไม่บาปก็ไม่เป็นอนันตริยกรรม ตัดคำว่าบาปนั้นไม่มีเสียแล้ว เวลาฟังคำพูดต้องติดตามเขาพูดเรื่องไหน จำหัวข้อคำพูดไว้

    หลวงพ่อ : เอ้าหมวดมีอะไรคุยไหมเล่า เดี๋ยวต้องถามตำรวจ ยิงผู้ร้ายตายบาปไหม บาปไม่บาป

    (บาปครับ)

    ฉันถามว่าตำรวจยิงผู้ร้ายตาย ฉันไม่ได้ถามว่าตำรวจยิงผู้ร้ายเฉยๆ (หัวเราะ) สอบตกแล้ว ผู้ร้ายมันตายแล้ว ไอ้นี่งานก็งานการปราบปรามผู้ร้าย ถ้าเป็นผู้ร้ายจริงเขาจำเป็นต้องยิง ยิงให้ตายใช่ไหม ถ้าถามว่ามีโทษไหม ต้องตอบว่ามีโทษ ถ้าถามว่าโทษทำบาปหนักไหม ต้องตอบว่าไม่หนัก มันมีนิดเดียว เพราะกำลังจะบาปนี่ไม่เท่ากัน

    ถ้าคนที่มีคุณมากเราฆ่ามีโทษมาก คนที่มีคุณน้อยเราฆ่ามีโทษน้อย ไอ้คนจัญไรประเภทนั้นมันไม่มีคุณเลย แต่ว่าดับคนประเภทนั้นไปได้คนหนึ่ง คนอีกกี่คนที่มีความสุข ถ้าถามบาปมากไหม คนเหมือนกันมันบาปไม่เท่ากัน

    หมวดนะ อย่าฆ่าพ่อฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ นี่ไม่ต้องห่วงหรอกลงอเวจีดิ่งเลย ใช่ไหม ถ้าฆ่าคนที่มีคุณน้อยไปกว่านั้น ยังไม่ถึงขั้นอเวจี และฆ่าคนที่มีคุณน้อยไปกว่านั้นอีกก็เบากว่านั้นอีก ถ้าฆ่าคนจัญไรแบบนั้น มันมีบ้างเหมือนกัน มันแค่มีบ้างนะโยมนะ แต่ว่าทีนี้ถ้าตำรวจทำด้วยเจตนาดีคิดว่าถ้าทำลายคนประเภทนี้เสีย คนอีกหลายแสนคนจะมีความสุขเพราะไอ้คนคนนี้ ถ้าคนคนนี้อยู่คนเดียวมีความทุกข์ใช่ไหม บุญส่วนนี้เขามีบาปส่วนนั้นมีนิดเดียว นี่พูดกันตรงไปตรงมานะ จะคิดว่ายิงคนเหมือนกันมีโทษเท่ากันนั้นไม่เท่า ก็ว่าตามธรรมะนะ

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับเดือนมกราคม 2534 หน้า 32)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2019
  13. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    อยากปฏิบัติแบบพระ
    messageImage_1502577330359.jpg
    นำมาจากเวบวัดท่าซุงส่วน E-Book ตามลิงค์ด้านล่างครับ

    http://thasungmedia.com/wat/puy/ebook/index.php
     
  14. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    เรื่องขายพระ หลวงพ่อเล่าสูตรทำพระสมเด็จวัดระฆัง

    1.jpg 2.jpg
    (จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 55 หน้า 30-31)




    เรื่องด้านบนนี้นำมาจากเวบวัดท่าซุงส่วน E-Book ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ

    http://thasungmedia.com/wat/puy/ebook/index.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2019
  15. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    พระมหากัจจายนะให้คาถา

    3.jpg 4.jpg

    (จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 56 หน้า 78-79)

    เรื่องด้านบนนี้นำมาจากเวบวัดท่าซุงส่วน E-Book ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ

    http://thasungmedia.com/wat/puy/ebook/index.php


    พระมหากัจจายนะให้คาถา

    ผู้ถาม: หลวงพ่อขอรับ กระผมได้นำลูกแก้วของหลวงพ่อไปบูชา แล้วก็ทำเป็นกสิณ โดยให้ลูกแก้วนั้นอยู่ในทรวงอก แป๊บเดียวก็เห็นเป็นพระมหาสังกัจจายนะ ท่านมาบอกคาถาว่าอย่างนี้

    "มหาสังกัจจายนัง มหาเถโร อหังวันทามิ ภูรโต มหาเถโรคุนัง มหาลาโภ สุขี ภะวันตุเม"

    บาลีอันนี้ถูกต้องหรือเปล่าขอรับ..?

    หลวงพ่อ: ไม่ผิดหรอก ถูก ท่านบอกอย่างนั้นก็ถูกต้อง คาถาที่พระมาบอกหรือเทวดามาบอกนี้ไม่ควรจะสงสัย เพราะว่าท่านตั้งใจจะช่วย ถ้าเวลาจะนึกว่าคาถาต้องนึกถึงท่าน ท่านใช้กำลังของท่านช่วยอย่างหนึ่ง พระมหาสังกัจจายนะ เจ๊กนิยมบูชานะ เห็นไหมที่พุงพลุ้ย ท่านอ้วนท่านเป็นมหาเศรษฐีพุงใหญ่ ใช้ได้

    แต่ความจริงใช้แก้วเป็นนิมิตนะ ใช้ได้ดีมาก กรรมฐานน่ะ เพราะว่าเป็นอาโลกสิณ
    กฤษณาที่อยู่ฮาวายเขาใช้เป็นปกติ เวลาแกจะไปไหนแกนึกเห็นภาพแก้วแล้วก็อยู่ในลูกแก้วแล้วก็ไป ความจริงพวกเราก็ไม่ได้ฝึกอะไรแก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคราวหนึ่งตำรวจเขาก็กั้น เขาจะตรวจใช่ไหม แกนั่งรถยนต์ไปแกนึกขอให้แก้วคลุมรถ ตำรวจมองไม่เห็น ไปสบายเลย

    (จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 56 หน้า 78-79)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2019
  16. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    IMG_20170818_133822.jpg IMG_20170818_134208.jpg
     
  17. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    IMG_20170818_134435.jpg



    สมาธิ มี 2 แบบ

    เอ้อ...สมาธินี่มันมี 2 แบบ พระพุทธเจ้า ท่านสอนไว้ 2 แบบ คือ

    "แบบทรงอารมณ์" กับ "แบบคิด"

    บางครั้งถ้าจิตมัน "ต้องการทรงอารมณ์ ต้องการสงัดก็ต้องภาวนา" ท่านจะสบาย

    บางครั้งมันซ่าน "ต้องการคิด เราก็คิดอยู่ในขอบเขต" ไอ้คิดในขอบเขตมันคิดว่า "ร่างกายนี่มันก็เป็นทุกข์ทุกอย่าง" เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ การทำมาหากินก็เป็นทุกข์ทั้งหมด ความเป็นมนุษย์นี่มันเป็นทุกข์ ถ้าเป็นเทวดาหรือพรหมมันก็สุขชั่วคราว ไม่ช้าก็จุติอีก สู้เราไปนิพพานไม่ได้

    ก็คิดกันแบบนี้ง่ายๆแบบนี้ ที่ว่าการปฏิบัติจริงๆเขาไม่ใช่ยาว เขาสั้นๆแบบแม่ครัวทำกับข้าว ถ้าไปดูตำราชั่งโน้นชั่งนี่ ยังไม่ได้กินกันเลย ใช่ไหม สู้เอามือหยิบๆใส่ไม่ได้ อร่อยกว่าใช่ไหม ก็แบบเดียวกัน

    (จากธัมมวิโมกข์ พฤษภาคม 2548 หน้า 18-19)




    การส่งจิต

    ผู้ถาม : ในเรื่อง "มโนมยิทธิ" คือวันนี้ผมคิดว่าจะส่งจิตไปถึงเขา แต่ว่ายังไม่ส่ง จะส่งอีก 3 อาทิตย์ แต่ทำไมเขาถึงรับได้ครับ

    หลวงพ่อ : คือว่าเรื่องของจิต มันทำงานเอง ไม่ต้องคุมหรอก ถ้าการควรเกิดขึ้นมันทำเลย ความรู้สึกทางร่างกายนี้หยาบกว่า ความเป็นทิพย์ของจิตเขาทำงานตามหน้าที่ ไม่ต้องใช้เวลาหรอก

    เอาอย่างนี้ก็แล้วกันอย่างไป "จุฬามณี" ต้องใช้เวลาหรือเปล่า นึกปั๊บก็ถึงเลย มันมีเรื่องอยู่เรื่องหนึ่ง บางคนเขาไม่ได้ทำกรรมฐาน บางทีเราไปถึงเทวดาก็ดี พรหมก็ดี นิพพานก็ดี เราเจอะภาพเขาได้ ตัวเองเขาไม่รู้ ตัวนอกเขาไม่รู้ แต่ตัวในเขาทำงาน



    (จากธัมมวิโมกข์ พฤศจิกายน 2544 หน้า 60)


    ต้องปฏิบัติอย่างใดถึงได้ชื่อว่าเป็นลูกศิษย์

    ผู้ถาม : กระผมปฏิบัติตามคำแนะนำของหลวงพ่อ แต่ว่าไม่ค่อยมีโอกาสได้ใกล้ชิดสนิทสนมหลวงพ่อ อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นลูกศิษย์สมบูรณ์หรือเปล่าขอรับ ?

    หลวงพ่อ : คำว่าลูกศิษย์จริงๆ อยู่ใกล้หรืออยู่ไกลไม่สำคัญ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำถือว่าเป็นลูกศิษย์สมบูรณ์แบบ ถ้าอยู่ใกล้ดื้อก็ไม่ถือว่าเป็นลูกศิษย์

    ดูตัวอย่างพระพุทธเจ้าที่ท่านตรัสกับพระอานนท์

    "อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ในสมัยที่ตถาคตมีชีวิตอยู่ก็ดีหรือนิพพานแล้วก็ตาม บุคคลใดมีชีวิตอยู่แล้วเกาะสังฆาฏิของตถาคตอยู่ แต่ว่าบุคคลนั้นไม่เคยเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน ก็ถือว่าบุคคลนั้นไม่เห็นตถาคตเลย

    ถ้าตถาคตมีชีวิตอยู่ก็ตาม นิพพานไปแล้วก็ตาม ถ้าบุคคลใดเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นปกติ ตถาคตถือว่าบุคคลนั้นเกาะสังฆาฏิของตถาคตอยู่"

    คำว่าลูกศิษย์จริงๆก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ไม่เกี่ยวกับการอยู่ใกล้อยู่ไกล ถ้าอยู่ใกล้ไม่ปฏิบัติตามก็ตามกันไปไม่ได้ คนหนึ่งอยู่นิพพาน คนหนึ่งอยู่อเวจี

    ผู้ถาม : มีเหมือนกันหรือครับ ?

    หลวงพ่อ : เยอะเลย อย่างพระเทวทัต ไงล่ะ

    ผู้ถาม : อย่างนี้ใครปฏิบัติไม่ดีก็...

    หลวงพ่อ : ก็ช่วยอะไรไม่ได้ จะดีจะชั่วอยู่ที่ผลการปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องของคนสอน คนสอนแล้วไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีผล ใช่ไหม

    อย่างพระเทวทัตเป็นพี่เขย เป็นพี่พระนางพิมพา บวชแล้วได้อภิญญา 5 เหาะเหินเดินอากาศได้ ในที่สุดปฏิบัติชั่วก็ไปอเวจีมหานรก

    ฉะนั้นการเป็นลูกศิษย์ลูกหาไม่ได้อยู่ใกล้หรืออยู่ไกล ไกลแสนไกลถ้าปฏิบัติตามก็เหมือนอยู่ใกล้ตัว คนที่อยู่ใกล้แต่ไม่ปฏิบัติตามก็เหมือนกับคนไม่เห็นกันเลย

    (จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 40 หน้า 68-69)



    เรื่อง สมาธิ

    มีคำถามว่า สมาธิแบ่งออกได้หลายแบบหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ว่าให้ถือกำหนดลมหายใจ บ้างก็ว่าให้คิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บ้างก็ว่าคือการมองเข้าไปในสิ่งที่เป็นอยู่จริง อยากทราบว่าแท้ที่จริงแล้วสมาธิคืออะไร และมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร และจะถือหลักใดในการปฏิบัติ

    เอ้อ สมาธิยกไปก่อน คุยถึงเรื่องกินก่อน คือคนกินข้าวนี่ กินข้าวก็อิ่มใช่ไหม กินก๋วยเตี๋ยวก็อิ่ม กินขนมปังก็อิ่ม กินกาแฟก็อิ่ม กินให้อิ่มเพื่อต้องการไม่ให้ร่างกายหิว ร่างกายมันหิวถึงกินใช่ไหม สมาธิก็เหมือนกัน ทำเพื่อต้องการให้จิตสงบ เพราะฉะนั้นจะจับภาพพระก็ดี จะภาวนานะมะ พะธะก็ดี จะรู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี เป็นอุบายอย่างหนึ่งให้จิตสงบ ฉะนั้นคนทุกคนนี่จริตไม่เหมือนกัน คือนิสัยของคนไม่เหมือนกัน บางคนก็ชอบสีเขียว บางคนก็ชอบสีแดง ใครพอใจสีไหนก็เอาสีนั้น ทีนี้การภาวนาใครชอบอย่างใดก็เอาอย่างนั้น

    พระพุทธเจ้าจึงสอนกับคนทุกคนที่มีจริตทุกจริตได้หมด ฉะนั้นถึงแยกแยะการภาวนาให้ตรงกับนิสัยกับจริตของคน ภาวนาแบบไหนก็ไม่ผิด ขอให้จิตเป็นสมาธิก็แล้วกัน ถ้าภาวนาแบบไหนถ้าไม่มีสมาธิก็แสดงว่าผิดแล้ว ผิดทางเพราะสมาธินี่มีแค่ขณิกสมาธินี่จิตก็เริ่มสุขแล้ว ถ้าภาวนาไปจิตฟุ้งซ่านต้องหยุดหรือเครียดต้องหยุด แสดงว่าผิดทาง แค่เข้าไปถึงประตูนี่มันยังไม่เข้าทาง เข้าไปชิมหน่อยเดียวมันยังไม่สุข นี่แสดงว่าผิดแล้ว ผิดทางต้องหยุด กลับมาตั้งหลักใหม่

    อย่างอานาปานุสสติอย่างนี้เป็นต้น อานาปาฯคือรู้ลมหายใจเข้าออก รู้ลมหายใจนะ แต่เรากลัวมันจะไม่รู้ เอ๊ะ มันไม่รู้สักทีวะ สูดซะแรงๆบางทีก็เกร็งลม คือรินลมน่ะ กลัวลมจะออกไม่เป็นธรรมชาติ รินออกรินเข้า หนักเข้าเหนื่อย เหนื่อยก็เครียด แสดงว่าผิดแล้ว พระพุทธเจ้าให้รู้ลมหายใจเข้าออกเฉยๆ หรือภาวนาควบไปด้วย

    แต่คนเราถ้าฝึกใหม่ๆคล้ายกับมันจะแน่นหน้าอกไปหมด ตึงประสาทไปหมด แสดงว่าผิด ค่อยๆรู้เข้ารู้ออกก่อน หยาบสุดต้องรู้เข้ารู้ออกเฉยๆ ก่อน ถ้าต่อไปถึงจะรู้อ้อมันเข้าไปถึงไหนแล้ว มันออกไปถึงไหนแล้ว ต่อไปมันจะรู้ มันเข้าไปถึงนั่นมันละเอียด อ้อ เห็นสายลมแล้ว จิตก็จะเริ่มเบา จิตก็จะสุขขึ้น สุขแสดงว่าถูกทางแล้ว ถ้าเครียดต้องหยุด

    การปฏิบัติธรรมนี่จะยากอยู่ช่วงสมาธิต้นๆเท่านั้นเอง ฉะนั้นที่ถามว่า ภาวนาอย่างไร อะไรอย่างไร คือว่าให้พอกับจริตของคน ใครชอบอย่างไรให้เอาอย่างนั้นนะ หลวงพ่อสอนนะ แต่สำนักบางสำนักอื่นเขาสอนให้ภาวนาพุทโธก็ดี หรือภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ก็ภาวนาก็ไม่ผิด แต่ว่ามันเหมือนกับอะไรล่ะ อย่างวัดท่าซุงหรือหลวงพ่อของเรานี่มีแกง 40 หม้อ เลือกกินเอา แต่วัดอื่นมีแกงหม้อเดียว เราจะเลือกกินเอาร้านไหนก็แล้วแต่ กินอิ่มเหมือนกันนี่ แต่เราไปเลือกเอา กรรมฐานคือกรรมฐาน 40 ข้อ ชอบใจตัวไหนก็เอา

    “เอาเป็นว่าตอบข้อหนึ่งก็คือ สมาธิคืออุบาย เครื่องสงบใจ ทำให้ให้สงบ ควรจะปฏิบัติอย่างไร ก็บอกว่ากรรมฐาน 40 น่ะ ไปเลือกเอาเถอะ ทีนี้เขาถามว่า แล้วจะยึดหลักใดในการปฏิบัติ หรือว่าต้องให้ไปอ่านกรรมฐาน 40 เสียก่อน แล้วค่อยมาคุยกันใหม่”

    คือพื้นฐานจริงๆแล้วนี่ท่านให้เอาอานาปาฯเป็นหลักไว้ อานาปาฯนี่เป็นต้น ตัวนี้ทำให้สงบง่ายขึ้น ถ้าได้ตัวนี้แล้วตัวอื่นจะง่ายขึ้น อานาปาฯนี่เป็นกรรมฐานที่ละเอียด แล้วก็เป็นหลักใหญ่ ถ้าจับกสิณแล้วอานาปาฯไม่ทรง ก็จะทรงตัวยาก ถ้าได้อานาปาฯเสียแล้วตัวอื่นจะง่ายหมด

    ไอ้ตัวอานาปาฯมันตัวลบคลื่น จะจับกสิณสีแดงก็ต้องมาลงที่ศูนย์อานาปาฯนี่ จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวสีอะไรได้ อานาปาฯคล่องเสียมันก็เปลี่ยนง่าย อานาปาฯคือลบอารมณ์ฟุ้งซ่าน

    “ทีนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเคยปรารภว่าในกรรมฐาน 40 หรือว่า ถ้ารวมมหาสติปัฏฐานสูตรเป็น 41 นี่ เป็นกรรมฐานพิจารณาเสียตั้ง 29 เป็นกรรมฐานภาวนาแค่ 11 คือ อานาปาฯ กับกสิณ 10 เป็นกรรมฐานภาวนา ในขณะที่อื่นๆนี่ไม่ว่าจะเป็นอนุสสติก็ดี จะเป็นพรหมวิหาร 4 จะเป็นอะไรก็ตามแต่เถิด เป็นกรรมฐานพิจารณา ทีนี้แม้แต่กรรมฐานพิจารณาก็ต้องตั้งต้นที่อานาปาฯใช่ไหมครับ หรือว่าอย่างไรครับ”

    ใช่ๆท่านบอกว่าถ้าไม่มีอานาปาฯอย่างอื่นไม่ทรงตัว

    “อย่างเช่นว่าจะเอาตัวเมตตาเป็นบทกรรมฐานอย่างนี้ จะพิจารณาเมตตาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตั้งต้นที่อานาปาฯเสียก่อน พอกำลังใจนิ่งดีแล้ว ทีนี้ก็จะพิจารณาได้ทะลุปรุโปร่งใช่ไหมครับ”

    แต่บางอย่างท่านก็ให้คิดพิจารณาเสียก่อน พิจารณาจนจิตเย็นแล้ว อ่อนดีแล้ว อย่างเช่นหลวงปู่ปานสอนให้หลวงพ่อใช่ไหม หลวงพ่อชอบอิทธิฤทธิ์นี่ ชอบฤทธิ์ชอบเดช โอ๊ย...แกจะให้มีอภิญญาทรงตัวแกต้องพิจารณาเสียก่อนว่าเออ...ร่างกายนี่มันไม่เที่ยงนะ มันต้องตายนะ พิจารณาให้จิตยอมรับ หลวงพ่อก็เออ...จะให้มีฤทธิ์มีเดชใช่ไหม ก็ต้องพิจารณาตรงนี้ ที่แท้หลวงปู่ปานสอนวิปัสสนาญาณให้เสียจนชุ่มหมดแล้ว พอสมาธิทรงตัวมันก็ง่าย หลวงปู่ปานฉลาดกว่าหลวงพ่อ

    “เอ๊ะ แต่ได้ข่าวว่าท่านพระครูปลัดฯ ท่านเจ้าอาวาสนี่ท่านก็ชอบฤทธิ์ชอบเดชอยู่ไม่ใช่หรือครับ”

    ชอบ...โอ้โห ชอบจังเลย ชอบจนเขี้ยวเหี้ยนหมดเลย ไม่ได้สักอย่าง มันเป็นบุพกรรมต้องชอบสุกขวิปัสสโก คือตัวเองมันเกี่ยวกับกลัวจะตายเสียก่อน กลัวจะไม่ได้อะไรสักอย่างเลย คือมันเป็นคนคิดมากอยู่อย่างว่าไอ้ที่เรารู้มันจริงหรือเปล่า บางทีมันก็จริงมั่ง บางทีก็ไม่จริงมั่ง เราก็เอ๊ มันจะเสียเวลาเสียแล้ว

    “ชักจะมีมรณานุสสติ ว่าอย่างนั้นเถอะ”

    ใช่ กลัวจะเสียเวลาเกินไป สอง กลัวเราจะเสียพระเสียก่อน เลยต้องตัดออกไปให้หมด

    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากหนังสือ "ที่ระลึกงานกตัญญูกตเวทิตามงคล" หน้า 128-131)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2019
  18. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    IMG_20170821_142518.jpg IMG_20170821_142531.jpg
     
  19. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    IMG_20170824_132137.jpg IMG_20170824_132335.jpg IMG_20170824_132455.jpg
     
  20. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    118
    ค่าพลัง:
    +225,735
    IMG_20170901_120313.jpg IMG_20170901_120516.jpg IMG_20170901_120636.jpg IMG_20170901_120847.jpg IMG_20170901_120951.jpg


    ถือศีล 8

    ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าขา ลูกตั้งสัจจะไว้กับพระที่ฝั่งธนบุรีว่าจะรักษาศีล 8 ชั่วชีวิต ลูกก็ทำมาโดยตลอด บัดนี้ลูกอายุมากแล้วเพราะทางกระเพาะลำไส้ไม่ดี หมอบอกว่าถ้าขาดอาหารตอนเย็นแล้วจะไปไม่รอด จะขอเรียนถามหลวงพ่อว่าจะคืนสัจจะที่ซอยสายลมกับหลวงพ่อ แล้วให้หลวงพ่อบอกพระพุทธเจ้าอโหสิกรรมได้หรือเปล่าเจ้าคะ ?

    หลวงพ่อ : เออ....เอาหนักแฮะ เอาอย่างนี้ซิ ย้ายไปถือกรรมบท 10 กินข้าวเย็นได้ ดีกว่าเยอะ เป็นทั้งศีลทั้งธรรม ได้ 2 อย่าง

    ผู้ถาม : แล้วอานิสงส์คงไม่ต่างกัน ใช่ไหมครับ ?

    หลวงพ่อ : อานิสงส์แข็งกว่าศีล 8 อ้าวจริงๆนะ ศีล 8 เราไม่ค่อยจริงกันนัก แต่ถ้าปรกติทุกวันก็ดี นี่มันปรกติไม่ได้นี่ ต้องเป็นบางเวลา ใช่ไหม

    กรรมบท 10 เขามีทั้งศีลทั้งธรรม มโนกรรมนี่เป็นธรรม แล้วสังเกตุดูเป็นการตัดกิเลสได้ง่าย ฝึกตัดกิเลสไปในตัวเสร็จ

    ผู้ถาม : เกี่ยวกับข้อไม่กินข้าวนี่ เวลาไปกินเลี้ยงมันเผลอไผลไปตักเข้า กว่าจะรู้ตัวก็เข้าไปครึ่งท้องแล้วแต่ไม่เจตนานะครับ

    หลวงพ่อ : ความจริงถ้าเรารักษาศีล 8 ไม่ขาดนะ ที่เราสมาทานมัน 9 ข้อ "นัจจะคี" กับ "มาลาคันธะ" เวลาเขาบวชพระบวชเณรเขาแยกนะ เรารักษาแค่ศีล 8 ทิ้งวิกาลโภชนาเสีย

    ผู้ถาม : อ๋อ ก็ดี

    หลวงพ่อ : แต่อย่านะลงนรก (หัวเราะ) แหมตั้งใจหูผึ่ง

    ผู้ถาม : ได้กินข้าวเย็นก็ยังดี

    หลวงพ่อ : เอาอย่างนี้ซิ สมาทานกรรมบท 10 กรรมบท 10 เป็นคุณสมบัติพระโสดาบันขั้นโกลังโกละกับเอกพิชี และสกิทาคามี หนักมาก

    ผู้ถาม : ท่านรักษาศีล 8 เดือดร้อนก็เอากรรมบท 10 ดีกว่านะ

    (จากธัมมวิโมกข์ สิงหาคม 2532 หน้า 5-6)

    เรื่องการถือศีล 8

    ลูกศิษย์ : อย่างคนถือศีล 8 จะไปเต้นรำได้ไหมคะ

    หลวงพ่อ : เออ ไม่เป็นไร ถือให้แน่นนะ ไม่หลุดหรอก เต้นรำ ไปรำ รำข้าวใช่ไหม เต้นรำ ถ้าฟ้อนรำฉันจะไม่ให้เลย เสือกเต้นจนศีลหายหมด มันอย่างไร เต้นรำทำอย่างไร เต้นด้วยรำด้วย เต้นรำให้ดูสิ กลัวว่าศีลมันจะไม่อยู่นะซิ ต้องดูจังหวะการเต้นเขานะ อย่างนี้ถึงจะพยากรณ์ได้ เอ้ามีอะไรคุยบ้าง เดี๋ยววันที่ 3 ไม่คุยกลับนะ

    ลูกศิษย์ : หลวงพ่อคะ เวลาจะสมาทานศีล 8 ทุกคืนอย่างที่ทำมานะคะ วันพระก็ตั้งแต่ 4 ทุ่มถึงเวลาเที่ยง สองเวลานี้ยังไม่ได้ทานอะไรเลย แล้วทานอาหารกลางวันถึงบ่าย 2 ทานอิ่ม 2 ทุ่ม 3 ทุ่ม เป็นการผิดศีลที่สมาทานหรือเปล่าคะ

    หลวงพ่อ : กินกี่เวลาล่ะ

    ลูกศิษย์ : สองเวลาค่ะ

    หลวงพ่อ : สองเวลาก็ดีเหมือนกันนะ เอาอย่างนี้ดีกว่านะ กินเช้าเวลา เย็นเวลาหนึ่ง ดีไหม

    ลูกศิษย์ : บางทีวันหนึ่งทานครั้งเดียว ก็เลยไม่ทราบจะทำอย่างไร

    หลวงพ่อ : ถ้ามันมีงานอยู่ เราก็ตั้งไว้ซิ เวลาจะกินเวลาไหนให้แน่นอนนะ เครื่องบินเห็นไหม ถึงเวลาต้องทาน ถ้าไปจากที่นี่ 9 โมงเช้าไปตามทาง ไอ้นั่นเขา 6 โมงเย็นก็ช่างเขา ถือเวลาเดิมๆนาฬิกาเดิมนะ ถ้าไม่เกินเที่ยงของเวลาเดิมนะ จะฉันได้ ใช่ไหม

    ศีล 8 ก็เหมือนกัน หิวเวลาไหนก็ฉะเวลานั้น ก็หมดเรื่องเลย แต่ความจริงเขาตั้งเวลาไว้หมดแล้ว แต่งานมันบังคับเรา ใช่ไหม เขาตั้งใจไว้เฉพาะสองเวลาก็ไม่เป็นไร

    คือว่าศีลข้อนี้ ถ้าหากว่าเราพลาดมันก็ไม่เสียหาย คือไม่มีโทษลงนรก มันเป็นธรรมะ

    ก็สมมุติว่าเรากินข้าว ไอ้กินข้าวไปแล้วมันเหลือตัว เวลาสมาทานนี่ 9 ตัว สมาทานศีล 8 ใช่ไหม กินได้ นัจจคีฯ กับ มาลาฯ ถ้าบวชพระกับบวชเณรนี่ เขาแค่ นัจจคีฯ ตัว มาลาฯ ตัว

    เวลารับศีล 8 รับ นัจจะคีฯ กับ มาลาฯ รวม ใช่ไหม เราก็แยกเสียก็เหลือ 8 พอดี แต่ความจริงไม่เป็นไรนะ ไอ้พลาดข้อนี้ข้อเดียวไม่มีโทษ ข้ออื่นที่มีความสำคัญกว่าเรารักษาได้ใช่ไหม แต่เขาก็ถือเกี่ยวกับเวลา คือเวลาที่มันไม่เหมาะสมนี่ อย่างปรกติเรากินข้าวไม่เลยเที่ยงได้ ใช่ไหม ทีนี้ทำงานมันบังคับ จะต้องกินหลังเที่ยง เราไปกินเย็น อันนี้ก็ได้ไม่เป็นไร ต้องตัดกังวลเท่านั้นเอง

    ต้องตัดกังวลเรื่องอาหารเสียหน่อยจะได้สะดวก ไม่อย่างนั้นความวุ่นวายมันมี อย่างรักษาศีล 8 ก็ต้องหุงข้าวเย็นกิน ไอ้ศีล 8 มันศีลพรหมจรรย์ จะไม่มีเวลาเจริญกรรมฐาน ทำสมาธิ คือว่าถ้าหากว่าเราไม่กินข้าวเย็น จิตใจเราจะดีละเอียดอารมณ์สบายๆ

    ตั้งตี 4 ถ้าไม่กินข้าวเย็น อารมณ์จะสบาย ประมาณ 24 น. อาหารย่อยหมด ใช่ไหม มันเป็นอย่างนั้นมันก็ไม่เป็นไร

    ลูกศิษย์ : หลวงพ่อคะ เวลาเราสมาทานศีล 8 แล้วนี่ เราก็นั่งสมาธิเรียบร้อยแล้วพอออกแล้วไปทานข้าวจะผิดไหมคะ

    หลวงพ่อ : ก็ไม่ผิด ชนศีลพังไปข้อหนึ่งก็ไม่เป็นไร สมาทานศีล 8 เพราะว่าศีล 8 นี่เป็นศีลพรหมจรรย์ เวลาเราเจริญกรรมฐาน สมาทานศีล 8 เลิกแล้วก็ทรงศีล 5 ไว้ใช่ไหม พอเลิกแล้วตั้งใจรักษาศีล 5 ไว้แค่นี้พอ ก็ได้ไม่เดือดร้อน ก็ศีล 8 มันคุมอารมณ์ มันเกี่ยวกับกามฉันทะ ก็เท่านั้นไม่มีอะไรมาก

    ลูกศิษย์ : หลวงพ่อคะ อย่างหนูอยากรักษาศีล 8 นี่ แต่หนูถือ 1 อาทิตย์ต่อ 1 วันนี่ ได้ไหมคะ

    หลวงพ่อ : ได้ ดีกว่าอาทิตย์ละ 1 ชั่วโมง ถ้าเรายังไม่ได้ก็ได้ ตามปรกติพระพุทธเจ้าท่านบอกฆราวาสท่านให้รักษาวันพระนะ ก็ศีล 8 นี่ฆราวาสมันไม่ค่อยถนัด ใช่ไหม ก็มีงาน ท่านกำหนดให้ว่าวันพระถือเป็นวันรักษาอุโบสถ แล้วการรักษาอุโบสถก็มี 3 อย่าง ศีล 8 กับอุโบสถก็เหมือนกัน สิกขาบทเท่ากันนะ แต่เวลาอุโบสถนี่จำกัดเวลา ศีล 8 จะไม่จำกัดเวลา

    ถ้า "ปกติอุโบสถ" รักษาเฉพาะวันพระคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง

    ถ้า "ถ้าปฏิชาครอุโบสถ" ก็รักษา 7 วัน ก่อนวันพระ 3 วัน หลังวันพระ 3 วัน วันพระอีก 1 วัน

    ถ้าเกินกว่า 7 วันเรียก "ปาฏิหาริกปักขอุโบสถ" เขาให้เลือกรักษาเองตามความเหมาะสม

    (จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 10 หน้า 420-422)


    วิธีปฏิบัติศีล 5 และกรรมบท 10 แบบง่ายๆ

    ท่านที่มีอาชีพหนักมีเวลาน้อยจะไปรักษาศีลที่วัดวาหรือจำศีลภาวนานานๆที่ไหนนั้นไม่ได้แน่เพราะท้องมันหิว ต้องหากินประจำวัน ให้ทำอย่างนี้คือ ตั้งใจว่าเราจะรักษาศีลและประพฤติกรรมบท 10 ให้บริบูรณ์วันละ 1 หรือ 2 หรือ 3 ชั่วโมง จะเอาเวลาเท่าไรเมื่อไร จัดเวลาเอาเองแล้วก็ตั้งใจรักษาตามเวลานั้นให้เคร่งครัด ทำอย่างนี้ไม่เกิน 3 เดือนอารมณ์จิตจะชิน จะสามารถรักษาศีล 5 ประพฤติในกรรมบท 10 ได้ครบถ้วนตลอดเวลา อย่างนี้มีผลไม่ลงนรกทุกชาติจนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน

    มีหลายท่านมาบอกว่า "การรักษาศีลหรือกรรมบท 10 นั้นอยากทำแต่โอกาสไม่มี เพราะทำนาทำไร่ ต้องใช้ยาฆ่าแมลง" อย่างนี้ก็เห็นใจ เอาอย่างนี้ปฏิบัติทุกอย่างในอนุสสติ (พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ) ให้ครบถ้วน เวลาที่ไม่ฉีดยาฆ่าแมลงก็ขอให้ทรงศีลและกรรมบท 10 ให้ครบเป็นประจำ วันใดมีความจำเป็นต้องฆ่าแมลงก็ต้องทำ เพราะไม่ทำท้องมันหิว ทางอื่นก็ไม่มีทางเลือก แต่เมื่อไปฉีดยากลับมาแล้ว รีบสมาทานศีลทันที

    คำว่า "ทันที" ก็คือรอให้หายเหนื่อยใจสบายเสียก่อน แล้วบูชาพระตั้งใจอุทิศส่วนกุศลที่ตนทำประจำวันให้แก่แมลงที่ต้องตายเพราะยาฉีดและกล่าวคำขออโหสิกรรมแก่แมลงทั้งหลายที่ต้องตายนั้น ขอให้อดโทษแก่ตนจนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน

    เมื่อทำบุญอะไรก็ตาม หรือบูชาพระทำกรรมฐานเสร็จ ให้อุทิศกุศลให้พวกเธอทุกครั้งที่ทำบุญ และขอให้แมลงทั้งหลายเหล่านั้นอดโทษให้อย่างนี้เป็นประจำวัน กำลังใจจะเบา คิดไว้เสมอว่าเธอให้อภัยเราแล้ว จิตจะเป็นสุข เมื่อถึงวาระจะตาย ใจจะไม่มีอกุศลรบกวน อำนาจพระพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ผลของศีลและกรรมบท 10 และผลของทาน จะเข้าครอบงำจิตท่านก่อนตาย เพราะผลของความดีที่ท่านทำทุกวันกีดกันอารมณ์ที่เป็นบาปให้ห่างออกไป เมื่อตายไปจะไม่พบกับนรกแน่นอน ถ้ามีอารมณ์หวังพระนิพพานเป็นปรกติประจำวัน เมื่อพระศรีอาริยเมตไตรย์ตรัสเมื่อไร เราเป็นเทวดาหรือพรหม ได้ฟังเทศน์จบเดียวก็เป็นพระโสดาบัน ตัดกำลังบาปหมดแล้ว

    คนที่มีอนุสสติและทานเป็นประจำ มีศีลและกรรมบทเป็นปรกติ พร่องบ้างตามความจำเป็น ดังปรากฏในพระสูตร เมื่อไปเป็นเทวดาหรือพรหม ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าจบเดียวเป็นพระอรหันต์ ไปนิพพานกันหมด

    กรรมบท 10

    กรรมบท 10 ประการ มีดังนี้

    กายกรรม ทำทางกาย 3 ประการ ให้ละเว้นโดยเด็ดขาดคือ

    1. ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ยุยงให้คนอื่นฆ่า และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นฆ่าสัตว์แล้ว

    2. ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาติด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นถือเอา และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นถือเอาของเขาแล้ว

    3. ไม่ละเมิดกามารมณ์ในบุตร ภรรยา สามี ของผู้อื่น ไม่ยุให้คนอื่นละเมิด และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นละเมิดแล้ว

    วจีกรรม กล่าวทางวาจา 4 ประการ

    1. ไม่พูดวาจาที่ไม่มีความจริง

    2. ไม่พูดวาจาหยาบให้เป็นที่สะเทือนใจของผู้รับฟัง

    3. ไม่พูดวาจาส่อเสียด ยุยงให้คนอื่นแตกร้าวกัน หรือไม่นินทาคนอื่น

    4. ไม่พูดวาจาที่ไม่มีประโยชน์ คือ วาจาใดที่พูดไปไร้ประโยชน์ จะไม่พูดวาจานั้น

    ทั้ง 4 ประการนี้ จะไม่พูดเองด้วย ไม่ยุให้คนอื่นพูดด้วย และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นพูดแล้วด้วย

    มโนกรรม คือ การคิดทางใจ 3 ประการ คือ

    1. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาติให้ด้วยความเต็มใจ คือ ไม่คิดลักขโมย ยื้อแย่ง คดโกง เป็นต้น

    2. ไม่คิดจองล้างจองผลาญ จองเวรจองกรรมผู้ใด คือไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่นในทุกๆกรณี

    3. มีความเห็นตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่มีอารมณ์คัดค้านคำสอนของพระองค์ และปฏิบัติตาม จนมีผลตามที่ต้องการ

    ความรู้สึกนึกคิดทางใจ 3 ประการนี้ ไม่คิดเองด้วย ไม่ยุให้ผู้อื่นคิดด้วย และไม่ยินดีเมื่อมีผู้อื่นคิดแล้ว

    (จากหนังสือพ่อสอนลูก ฉบับปีพ.ศ. 2550 หน้า 320-322)


    ต้องการให้ปฐมฌานทรงตัว

    ผู้ถาม : กระผมฝึกกรรมฐาน 40 กอง เอาอานาปานุสสติกรรมฐานผสมกับพุทโธ ปฏิบัติ 2-3 เดือนได้อุปจารสมาธิ กระผมอยากจะเรียนถามหลวงพ่อว่าวิธีจะรักษาอารมณ์ให้เข้าถึงปฐมฌานอย่างละเอียดนั้น จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปครับ

    หลวงพ่อ : ก็ได้ตั้ง 40 กรรมฐานจะมาถามอะไรอีกละ ได้ 40 ก็จบสมาบัติ 8 จะมาถามอะไรอีก

    ผู้ถาม : อ๋อ มันเลยฌานแล้วหรือครับ ?

    หลวงพ่อ : ใช่ ก็ฌานเหมือนกัน อรูปฌานก็ได้ด้วย ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน

    ผู้ถาม : สงสัยว่าใน 40 กรรมฐานคงจะเอามากองเดียวกระมังครับ (หัวเราะ)

    หลวงพ่อ : งัดขึ้นมา 40 ฉันตกใจเลย นึกว่าไอ้คนนี้ต้องเป็นพระโพธิสัตว์แน่

    ผู้ถาม : อ๋อ ถ้าได้ 40 กองต้องเป็นพระโพธิสัตว์

    หลวงพ่อ : อ้าว ถ้าไม่ใช่พระโพธิสัตว์ได้ยาก พระโพธิสัตว์ต้องรักษาอารมณ์ 40 ครบแน่ ต้องเป็นปรมัตถบารมีนะ ถ้ากรรมฐาน 40 ได้หมด 2 ในวิชชา 3 ก็ได้ 5 ในวิชชา 6 ก็ได้ สมาบัติ 8 ก็ได้ เรียกว่าทั้งเหาะทั้งเดินอากาศได้เสร็จ ก็เป็นอันว่าอุปจารสมาธิว่าไปกี่เดือนแล้ว 3 เดือน ยังไม่ถึงอุปจารสมาธินะ

    จะให้ฌานทรงตัวนะ ไม่มีทาง ถ้าไม่ใช่พระโสดาบัน ตอบง่ายๆ

    ผู้ถาม : ต้องให้ถึงพระโสดาบันหรือครับ ?

    หลวงพ่อ : ใช่ ถ้าแค่ฌานโลกีย์ ฌานไหนก็ตามไม่มีการทรงตัว เพราะอารมณ์ขึ้นๆลงๆ ไม่มีการทรงตัวแน่ ไม่แน่นอน ศีลคล่อง

    (จากธัมมวิโมกข์ เมษายน 2536 หน้า 94)

    เถียงกันเรื่องนิพพาน


    ผู้ถาม : เรื่องนิพพานนั้นลูกต้องเถียงคอเป็นเอ็นกับพวกที่ไม่เชื่อถือ โดยให้เหตุผลว่านิพพานมีจริงนะ เขาก็บอกว่า นิพพานสูญ นิพพานว่าง ไม่มีอะไรเกิดอีกต่อไป เถียงกันอย่างนี้ไม่สิ้นสุด ลูกอยากจะหาเหตุผลจากหลวงพ่อ เพื่อไปต่อสู้กับพวกนี้สักหน่อยเถิดเจ้าค่ะ

    หลวงพ่อ : (หัวเราะ) อย่าไปเถียงเขาเลย สิ่งที่ไม่สามารถจะหยิบมาให้เห็นกันได้น่ะ มันไม่ใช่วัตถุ เถียงกันไปมันก็ไม่มีประโยชน์ ในเมื่อเขาไม่เชื่อก็แล้วไป ไม่ต้องคุยกันให้มันเหนื่อย หมดเรื่องหมดราว ถ้าขืนเถียงไปก็แค่นั้น อารมณ์ก็ขุ่นมัว จิตใจก็เศร้าหมองไม่ได้เกิดประโยชน์ เขาดับก็ดับไป เขาสูญก็สูญไป ถ้าเราไม่ดับไม่สูญเราก็อยู่ก่อน

    "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" เขาแปลว่า "นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง" คือว่างจากความชั่วทุกอย่าง ราคะก็ไม่มี โลภะก็ไม่มี โทสะก็ไม่มี โมหะก็ไม่มี มันหมดตัว ความชั่วไม่เหลือ ความชั่วเหลือนิดหน่อยจะไปนิพพานไม่ได้จิตสะอาดจริงๆ

    ผู้ถาม : แล้วเวลาที่พระอรหันต์ก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดีเข้านิพพานแล้ว จิตยังเกิดต่อไปหรือว่าสูญหายไปครับ ?

    หลวงพ่อ : จิตก็คืออทิสสมานกาย ภาษาหนังสือเราเรียกว่จิต จริงๆแล้วก็เป็นกายๆหนึ่ง เขาเรียกว่ากายทิพย์ก็แล้วกัน ถ้าจากเทวดาขึ้นไปเรียกว่ากายทิพย์นะ ถ้าจากอบายภูมิเรียกกายทิพย์ไม่ได้ เขาจึงใช้ศัพท์ว่า "อทิสสมานกาย" แปลว่า กายที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ เป็นนามธรรม

    ถามว่านามธรรมนั้นมีเมืองไหม ก็มี เมืองเป็นนามธรรมเหมือนกัน อย่างเทวดาเราก็เขื่อว่าเทวดามี ไม่สูญ ใช่ไหม เราก็เชื่อว่าพรหมมี ไม่สูญ แต่ใครไปจับเทวดากับพรหมมาให้ดูซิ แต่เราก็ไม่สามารถจะเอาเทวดาหรือวิมานของเทวดามาให้ดูได้ เพราะเขาเป็นนามธรรม นิพพานก็เหมือนกันเป็นนามธรรมที่ละเอียดกว่าชั้นพรหม นามธรรมนี่มันละเอียดไม่เท่ากัน อย่างคนกับสัตว์นี่มีร่างกายหยาบ ไปถึงขั้นเปรต เปรตนี่กายละเอียดกว่าคนแต่หยาบกว่าเทวดา ถ้าเปรตหรือผีไม่ต้องการให้เราเห็น เราก็จะเห็นไม่ได้ ถ้าเปรตหรือผีต้องการให้เราเห็นเราจึงเห็นได้ ทีนี้ไปถึงเทวดา ถ้าเทวดาไม่ต้องการให้เปรตหรือผีเห็น เปรตหรือผีก็เห็นไม่ได้เหมือนกัน พรหมร่างกายละเอียดกว่าเทวดา ถ้าพรหมไม่ต้องการให้เทวดาเห็น เทวดาก็เห็นไม่ได้ ทีนี้พระอริยเจ้าที่เข้าพระนิพพานร่างกายละเอียดที่สุด คือว่าพรหมก็จะไม่สามารถเห็นได้ถ้าไม่ต้องการให้เห็น แตกต่างกันแบบนี้นะ

    รวมความว่านามธรรมเขามีจริง แต่ว่าถ้าคุยกับนามธรรมก็ใช้นามธรรมด้วยกัน คือใช้จิต คือทำจิตให้เป็นทิพย์ คืออทิสมานกาย ทำให้เป็นทิพย์เสียแล้วก็ไปเที่ยวเมืองทิพย์ ทิพย์ต่อทิพย์มันเห็นกันได้


    (จากธัมมวิโมกข์ ธันวาคม 2537 หน้า 54-55)

    คนขี้โมโห

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ หนูเป็นคนขี้โมโหค่ะ

    หลวงพ่อ : ถ้า "ขี้" โมโหดี เพราะเราไม่ได้โมโห

    ผู้ถาม : (หัวเราะ) โมโหร้ายมากค่ะ แต่ว่าแป๊ปเดียวหาย

    หลวงพ่อ : โมโหร้าย ดี ! แต่ว่าอย่าร้ายตามโมโห ให้โมโหมันร้ายอย่างเดียว ถ้าโมโหแป๊ปเดียวหาย เช้ามืดเราก็รีบโมโหเลย บอก "เอ็งโมโหเฉพาะเวลานี้นะ เวลาอื่นห้ามโมโห"

    ถ้าแป๊ปเดียวหายเขาเรียกว่า "โทสจริต" เกิดโมโหไวหายเร็ว ที่หายเร็วแสดงว่าตัวยับยั้งมันมาก เราก็ต้องพยายาม พอตื่นมาตอนเช้าคิดว่าวันนี้เราจะไม่โมโหใคร ตั้งใจไว้เลยแต่มันอดเผลอไม่ได้นะ มันเป็นของธรรมดา ทีนี้ถ้าเผลอ พอจะหลับเราก็นั่งนึกวันนี้เราโมโหใครบ้างหรือเปล่า บังเอิญถ้าโมโห เราก็คิดใหม่ว่าจะไม่โมโหอีก อย่างนี้ไม่ช้าก็หาย

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ ถ้าแกล้งทำเป็นโมโหแล้วพูดคำหยาบออกไปอย่างนี้จะเป็นไรไหมคะ ?

    หลวงพ่อ : ไอ้แกล้งทำเป็นโมโหนี่ เป็นลีลาแม้กระทั่งพระอรหันต์ท่านก็ทำเพื่อประโยชน์ของคนอื่น

    พระพุทธเจ้ามีลีลาว่า นิคคหะ ปัคคหะ

    "ถ้าดีเราก็ยกย่องสรรเสริญ ถ้าไม่ดีก็ถูกขับออกไป"

    ท่านทำก็เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของคนอื่น อันนี้ไม่ใช่โทสะแท้ เขาไม่ถือว่าเป็นเรื่องโทสะ เป็นลีลาของการปกครอง ก็เหมือนกับการแสดงละคร

    คนนี่มีนิสัย 2 ประเภทคือ

    คนที่มีนิสัยหยาบต้องขู่บังคับ
    ถ้าคนที่มีนิสัยละเอียดต้องปลอบ

    แบบนี้แสดงว่าคนนั้นเขามีนิสัยหยาบ เราแสดงออกแบบนั้น ความจริงเนื้อแท้เราไม่มีอะไร แต่เราทำเพื่อผลงาน อันนี้ไม่เสียหาย

    ถ้าเข้าไปในสมาคมขี้เมา เรากินโซดาเราก็เมาเท่าเขาทำเสียงเป็นเมา อาจจะเมากว่าคนกินเหล้าอีกนะ ทำเสียงดังกว่า เขาเรียกว่าต้องทำตามเขาไป แต่เนื้อแท้จริงๆเราไม่เมา แต่เราก็ไม่ขัดกับสังคม ใช่ไหม

    (จากธัมมวิโมกข์ ตุลาคม 2544 หน้า 76-77)


    ถ้าหลวงพ่อไม่อยู่วัดจะเป็นอย่างไร


    ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าขา ตอนหลวงพ่ออยู่วัดท่าซุงก็เจริญรุ่งเรืองกระเดื่องไปทั่วประเทศจนถึงต่างประเทศ ถ้าหากว่าหลวงพ่อตายไปจริงๆแล้ว หลวงพ่อจะมีโอกาสมาช่วยวัดได้หรือเปล่าเจ้าคะ ?

    หลวงพ่อ : ผีต้องแบกวัดอีกหรือ ก็สุดแล้วแต่คนอยู่ ถ้าคนอยู่เขารู้จักก็กลับมาช่วยได้อย่างหลวงพ่อปาน ท่านตายไปแล้ว พระพุทธเจ้าก็นิพพานไปแล้ว เวลาที่ฉันสร้างวัดสร้างวา ฉันก็นึกถึงพระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ทั้งหมด เทวดาพรหมทั้งหมด ท่านผู้มีคุณทุกท่าน แล้วท่านก็มาช่วยกัน ถ้าฉันตายไปแล้ว คนที่อยู่เขารู้จักฉัน ฉันก็มาช่วยได้

    ผู้ถาม : แล้วถ้าลูกหลานเป็นแสน คนโน้นก็เรียก คนนี้ก็เรียก หลวงพ่อจะไปอย่างไรครับ ?

    หลวงพ่อ : ฉันก็ถืออุเบกขา ถ้าไปบ้านนี้บ้านโน้นไม่ไป มันก็หาว่าหลวงพ่ออคติ ใช่ไหม แต่ความจริงเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ฉันก็นึกถึงหลวงพ่อปาน ฉันอยู่กับหลวงพ่อปานไม่กี่เดือน ตอนนั้นฉันเจริญพระกรรมฐานก็จะไม่ค่อยดีนัก พอคลานได้ต้วมเตี้ยมๆ วันหนึ่งก็นึกถึงหลวงพ่อปานขึ้นมา ก็ขึ้นไปหาท่านที่ชั้นดุสิต ก็ไปกราบๆท่าน

    ก็ถามท่านว่า "หลวงพ่อครับ เมื่อหลวงพ่อมีชีวิตอยู่ ลมฝนมาชาวบ้านเขาจุดธูปบอกหลวงพ่อ และบ้านเขาก็ปลอดภัย เวลาหลวงพ่อตาย เขาจุดธูปหลวงพ่อจะทำอย่างไร หลวงพ่อคงสบายนะ หลวงพ่อไม่เห็นธูป"

    ท่านบอก "สบายที่ไหนล่ะ หนักกว่าเลย ตอนข้ามีชีวิตอยู่ จุดที่บ้านข้าไม่เห็นมันน่ะ อีตอนอยู่วิมาน จุดที่ไหนเห็นหมด เหนื่อยเกือบแย่เลย ไม่มีเวลาพักเพราะเห็นหมด ได้ยินหมด ต้องช่วยมัน"

    ก็เลยถามต่อไปว่า "หลวงพ่อช่วยอย่างไร หลวงพ่อองค์เดียว"

    ท่านบอก "ความจริงเป็นทิพย์ (ท่านใช้ศัพท์ว่าความเป็นทิพย์) ที่ไหนเท่าไรก็ได้"

    ก็หมดเรื่องกัน ไอ้ฉันก็ไม่น่าพูด ตายแล้วจะสบายเสียหน่อย เผลอตัวไปแล้วหมดท่า

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 80 ตุลาคม 2530 หน้า 75)


    ทำทานเล็กๆน้อยๆ

    ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ คือสงสัยว่าคนที่ทำทานก็ดี รักษาศีลก็ดี แต่ว่าทำเล็กๆน้อยๆ แต่ก็ทำเป็นประจำ ทำจำนวนไม่มากตามมีตามเกิด ที่น่าประหลาดก็คือความดีทำเป็นประจำ แต่มาฝึกมโนมยิทธิไม่ได้สักที ตั้งใจจะไปนิพพานในชาตินี้ กระผมคงไม่มีโอกาสไปได้แน่ เพราะไม่ได้มโนมยิทธิ ขอให้หลวงพ่อช่วยให้กำลังใจหน่อยเถิดขอรับ ?

    (เอ๊ะ ถามเรื่องทานกับศีล แต่วกเข้ามโนมยิทธิ ไม่เป็นไรนะ)

    หลวงพ่อ : การไปนิพพานนี่นะ มโนมยิทธิเป็นหมวดที่ 3 ที่เรียกว่า "ฉฬภิญโญ"

    ไปนิพพานจริงๆเขาไปได้ทั้ง 4 หมวดนั่นแหละ สุกขวิปัสสโกก็ไปได้ เตวิชโชก็ไปได้ ฉฬภิญโญก็ไปได้ ปฏิสัมภิทัปปัตโตก็ไปได้ ได้เหมือนกัน คนที่เขาไม่ได้มโนมยิทธิ เขาไม่ได้อภิญญาเขาสามารถไปได้เยอะแยะไป มันขึ้นอยู่กับกำลังใจที่ตัดกิเลส อย่างหลวงพ่อวัดพระพุทธบาทตากผ้า ท่านบอก "ขณิกนิพพาน"

    ทีแรกฉันสงสัย นิพพานก็ต้องนิพพานกันเลยใช่ไหม นิพพานประเดี่ยวเดียวเป็นยังไง ได้อ่านๆไปก็เกิดมีความเข้าใจ ไอ้คำว่า "นิพ" แปลว่า ดับ เวลานั้นจิตดับกิเลสชั่วคราว ผู้ที่ฝึกมโนมยิทธินี่ ผู้ที่ไปนิพพานได้เวลานั้นไม่มีกิเลส เวลากลับมากิเลสโดดเกาะคอใหม่ พอจะไปอีกทีก็วางกิเลสสักประเดี๋ยว เขาเรียกว่า "ขณิกนิพพาน"

    ผู้ถาม : อย่างนี้ก็มีสิทธิไปได้

    หลวงพ่อ : ก็มีสิทธิไป คือว่าการจะถึงนิพพานได้ก็เพราะอาศัยการตัดกิเลสเฉพาะเวลาเฉพาะเวลานั้น ถ้ากิเลสสงบเราก็เข้าถึงได้ ถ้ากิเลสเกาะใจก็หล่นนี่ อย่างที่เขานั่งๆเขาตัดได้นะอย่าลืม

    อย่างการบำเพ็ญทานต้องสละทรัพย์ นั่นเขาตัดความโลภไปชั้นหนึ่งนะ ตัดทีละชั้นสองชั้น ศีลก็ตัดโทสะความโกรธ อย่างนี้เขาไม่ถือว่าเล็กน้อย เขาถือว่าเรื่องใหญ่นะ

    ผู้ถาม : แต่บางคนเขาหาว่าเล็กน้อย

    หลวงพ่อ : ก็พระพุทธเจ้าท่านว่าใหญ่ ฉันว่าน้อยก็ลงอเวจี เพราะท่านบอกว่า "ถ้าหากทานบารมีเต็ม อย่างอื่นก็เต็มหมด"

    ท่านให้แนะนำเรื่องทานบารมี ทีนี้ทานบารมีไม่จำเป็นต้องทุ่มเท ทำเท่าที่จะทำได้ ถ้ายังไม่มีโอกาส จิตคิดว่าจะทำมีอยู่ อย่างนี้ใช้ได้เป็น "จาคานุสสติ"

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 99 พฤษภาคม 2532 หน้า 17-18)


    หวังในพระโสดาบัน

    ระดับเเรกควรหวังในพระโสดาบันก่อน ด้วยคิดว่าอย่างน้อยแม้ไปพระนิพพานยังไม่ได้ ก็พ้นอบายภูมิก็พอใจมากเเล้ว แล้วกำหนดการละสักกายทิฏฐิก่อน พิจารณาให้เห็นชัด มีอารมณ์เป็นหนึ่งแน่วแน่ว่าร่างกายคือ ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา มีอารมณ์รู้แจ้งเห็นจริง ไม่หวั่นไหวในเมื่ออันตรายจะเกิดเเก่ขันธ์ 5 มีอารมณ์เป็นปกติ ไม่ประหวั่นพรั่นพรึง แล้วจึงเลื่อนไปกำหนดละสังโยชน์ที่ 2

    คือพิจารณาให้เห็นคุณพระรัตนตรัย โดยเห็นด้วยใจอ้นเต็มไปด้วยศรัทธาแท้ และเห็นด้วยปัญญว่าพระรัตนตรัยมีคุณประเสริฐจริงๆ เราจะรู้บาปบุญคุณโทษได้ก็เพราะพระรัตนตรัยเป็นเหตุ จนจิตมีความเคารพมั่นคงดำรงความนอบน้อมในคุณพระรัตนตรัยเป็นเหตุ จนจิตความเคารพมั่นคงดำรงความนอบน้อมในคุณพระคุณพระศรีรัตนตรัยจริงๆ ไม่ยอมกล่าววาจาล่วงเกิน แม้แต่พูดเล่นๆว่าพระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่พระสงฆ์ แม้พูดเล่นๆโดยไม่คิดปรามาสก็ไม่ยอมพูด ทั้งนี้เพราะเคารพด้วยความจริงใจ จนจิตมั่นคงเป็นอารมณ์

    ต่อไปก็เริ่มวิจัยในสังโยชน์ที่ 3 คือปรับปรุงศีล ตั้งใจกำหนดรักษาศึลจนรักศีลยิ่งกว่าชีวิต โดยกำหนดจิตรักษาศีลโดยมั่นคง อย่านั่งคิดนอนตรองเฉยๆ ต้องรอการประสบการณ์ด้วย เมื่อประสบการณ์เกิดขึ้น จนคิดว่านี่ถ้าเป็นในกาลก่อนแต่นี้ ถ้าเหตุการณ์อย่างนี้ปรากฎ เราเห็นจะยั้งใจไม่ไหว แต่นี่ถูกรุกรานขนาดนี้ อารมณ์ใจยังแจ่มใสเสมือนไม่มีอะไรมากระทบใจ ถ้าอารมณ์จิตใจเป็นอย่างนี้ จัดว่าพอใช้ได้แล้ว

    ละสังโยชน์สามอย่างนี้ได้แน่นอน ท่านว่าได้บรรลุพระโสดาบัน

    (จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน)

    (ลงพิมพ์ในธัมมวิโมกข์ปีที่ 7 ฉบับที่ 65 หน้า 148)

    อิทธิบาท 4


    ได้พูดถึงวิธีการต่างๆมามาก ต่อแต่นี้ไปจะพูดถึงกฏบังคับตายตัวในพระพุทธศาสนาอีกอย่างหนึ่ง ที่นักปฏิบัติไม่ว่าระดับใดต้องยึดถือเป็นกฎ
    บังคับสำหรับการปฏิบัติ ถ้าทิ้งอิทธิบาท 4 นี้เสียแล้วไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่
    มีทางสำเร็จผลสมความปรารถนา แต่ถ้าท่านผู้ใดทรงการปฏิบัติตามใน อิทธิบาท 4 นี้แล้วสมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสรับรองผลว่า ต้องสำเร็จสมความมุ่งหมายทุกประการแม้ท่านหวังพระนิพพานในชาตินี้ ก็หวังได้แน่นอน

    ใจความใน อิทธิบาท 4 มีดังนี้

    1. ฉันทะ มีความพอใจในปฏิปทาที่ปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ
    2. วิริยะ มีความพากเพียรพยายามไม่ท้อถอย
    3. จิตตะ สนใจในข้อวัตรปฏิบัตินั้นเนืองนิจ
    4. วิมังสา ใครครวญพิจารณา ในข้อวัตรปฏิบัตินั้นโดยถูกต้อง

    กฏ 4 อย่างนี้ท่านเรียกว่าอิทธิบาทแปลว่าเข้าถึงความสำเร็จ หมาย
    ความว่า ท่านนักปฏิบัติท่านใดจะปฏิบัติในสมถะ หรือ วิปัสสนา ก็ตาม
    ถ้าท่านมีแนวความคิดรักใคร่สนใจในข้อวัตรปฏิบัติ มีความพากเพียรไม่
    ท้อถอย สนใจใคร่อยู่ป็นปกติ พิจารณาสอบสวนทบทวนปฏิปทาที่ปฏิบัติ
    แล้วว่าเหมาะสมถูกต้องประการใดหรือไม่เพียงใด ต่อไปควรจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสมถูกต้อง ปฏิบัติได้อย่างนี้สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า ไม่มีอะไรที่จะทำไม่ได้ไม่สำเร็จ

    อิทธิบาท 4 ประการนี้นักปฏิบัติต้องยึดไวัเป็นหลักปฏิบัติประจำใจ ไม่มีพระอรหันต์องค์ใดที่จะละเลย ไม่ยึดถืออิทธิบาท 4 นี้เป็นหลักปฏิบัติประจำใจแม้องค์สมด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง ก็ทรงยึดอิทธิบาทนี้เป็นกฎในการปฏิบัติเช่นดียวกันขอท่านนักปฏิบัติทุกท่านจงยึดอิทธิบาทนี้เป็นหลักชัยประจำใจไว้เสมอ

    (จากธัมมวิโมกข์ ธันวาคม 2529 หน้า 144)


    สรุป มหาสติปัฏฐาน


    ขันธ์ 5 หรือร่างกายที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นเรือนร่างหรือบ้านชั่วคราว ไม่เที่ยงแท้ถาวร ประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน-ธาตุน้ำ-ธาตุลม-ธาตุไฟ

    ธาตุทั้งหลายเหล่านี้ หามีความเที่ยงแท้ถาวรไม่ มีการแตกสลายอยู่ทุกวินาทีที่เราต้องเกิด ก็เพราะตัว "อวิชชา" หรือ "ความโง่" ฉันทะ ราคะ เป็นปัจจัยหลงเชื่อเจ้าความชั่ว คือ กิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-อกุศลกรรม ทำให้เราต้องมาเกิด มาอาศัยร่างกายนี้อยู่ เมื่อปรากฏว่า ขันธ์ 5 หรือร่างกายนี้เป็นของสกปรกโสโครก น่าเกลียดเต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล มีน้ำเลือด-น้ำเหลือง-น้ำหนอง เป็นต้น เป็นสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ มีแต่ความทุกขเวทนา ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดไม่มีที่สิ้นสุด

    ดังนั้น เราจะอาลัยใยดีกับร่างกายที่น่าเบื่อหน่ายนี้อีกทำไม เลิกคบกันที ชาตินี้ถือว่าเป็นชาติสุดท้ายของเรา เราไม่ต้องการมาเกิด ในสภาพเช่นนี้อีกต่อไป เพราะขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ญาติ-มิตร-ลูก-เมีย-หลาน-เหลนเราไม่มี ทรัพย์สมบัติใดๆเราไม่มี ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เราไม่มี เราไม่มีห่วงอะไร ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว

    เมื่อ* มีความเกิด ก็มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความตายในที่สุด ความตายเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน

    เมื่อ* ตายแล้วเราจะไปไหน เราต้องการอย่างเดียว คือไป "พระนิพพาน"

    จงพิจารณาท่องบ่น ก่อนนอน ตื่นนอน ทุกเช้าเย็น ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน

    (จากธัมมวิโมกข์ปีที่ 7 ฉบับที่ 66 หน้า152)


    จิตทรงฌาน

    คำว่า "จิตทรงฌาน" ไม่ใช่ว่าไปนั่งสมาธิทั้งวัน ไอ้นั่นน่ะมันบ้าแล้ว ถ้านั่ง
    สมาธิทั้งวันนี่เป็นโรคประสาทเป็นบ้าแน่ คำว่า "สมาธิ" เขาแปลว่า ตั้งใจ ต้องทำกำลังใจเบาๆ

    อันดับแรกที่สุดเราจะทำงานทำการต้องทำทุกอย่าง งานอะไรมีขึ้นต้องทำ ไม่ใช่ทำสมาธิแล้ว "ฉันไม่ทำงาน" อันนี้ตกนรกแน่ ไม่ช้าความปรารถนาไม่สมหวังเกิดขึ้น ในเมื่อความปรารถนาเกิดขึ้นอารมณ์มันก็ฟุ้งซ่าน
    มีความเดือดร้อนเกิดการเดือดร้อนขึ้นมา จิตใจก็เดือดร้อนลงนรกไปเลย อย่านึกว่ามีฌานเป็นของดี ฌานน่ะดีแน่ แต่ทำให้มันถูก

    คำว่า "ผู้ทรงฌาน" แปลว่า ผู้มีจิตใจปกติ จะไม่ตกเป็นทาสของนิวรณ์ อำนาจของนิวรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม จะไม่ให้มีอำนาจเหนือจิตใจ ยามว่าง ถ้าเรายังไม่เป็นอรหันต์ ย่อมมีนิวรณ์เข้ากินใจเป็นธรรมดา แต่ถ้าเวลาต้องการฌานเมื่อใดนิวรณ์จะต้องกระเด็นออกทันที ถ้ากระเด็นบ่อยๆ ไม่ช้ามันก็ไม่เข้ามายุ่งกับใจ เราทำงานทำการทุกอย่างใจไม่ตกเป็นทาสของนิวรณ์ อย่าถือว่าทำฌานสมาบัติแล้ว ทำโน่นทำนี่ไม่ได้ ไอ้นั่นละตัวนรกละ ไม่ช้ามานะมันจะเกิด และจะกินที่ไหนล่ะ.... ไม่ทำตายโหงตายห่าล่ะ....! มันก็ต้องทำ ทำแล้วจิตใจไม่ตกอยู่ในอำนาจของนิวรณ์เท่านั้น


    พระอรหันต์ท่านนั่งนิ่งที่ไหน พระพุทธเจ้าท่านไม่นั่งนิ่ง ถ้าเราระงับนิวรณ์ได้ จิตเป็นฌานที่ 1

    จิตทรงปีติ ถ้าจิตทรงปีติมันเป็นฌานที่ 2

    จิตตัดปีติออกหลือแต่สุข จิตเป็นณานที่ 3

    จิตตัดสุขออกเหลือแต่เอกัคคตา อุเบกขา เป็นฌานที่ 4

    ที่นี้เวลาทรงฌานไม่ใช่นั่งสมาธิทั้งวัน ทำงานอยู่คุยอยู่กับเพื่อน อ่านหนังสืออยู่ ฟังเทป ฟังเทศน์ ดายหญ้าวัด ทำงานทุกอย่างหุงข้าวหุงปลาผ่าฟืนดายหญ้า จิตสบายใจ ไม่มีอารมณ์เป็นอกุศล อย่างนี้เรียกว่า "จิตทรงฌาน"

    การที่จะรู้ว่าจิตทรงณาน เราจะรู้กันจริงๆมันยากและวิธีวัดนี่ง่าย การที่จะรู้ว่าฌานเราทรงตัวไม่ทรงตัวอาศัย 1 ในวิชชาสาม หรือว่า 2 ในวิชชาสาม นั่นคือ ทิพจักขุญาณ หรือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ ทิพจักขุญาณอย่างเข้ม สามารถรู้เห็นพรหมเทวดาได้ อย่างนี้จุดหนึ่ง

    กำลังมโนมยิทธิที่เราฝึกได้ เราทำได้เวลาดายหญ้า เวลาขุดดิน เวลาผ่าฟืน เวลาตักน้ำ หุงข้าว ใช้มันเวลานั้นแหละ ลองใช้เวลานั้น เวลาที่กำลังนั่งหุงข้าวอยู่ในครัว เวลาทำอยู่เราก็ใช้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ นึกปั๊บ...ไอ้งานประเภทที่เราทำอย่างนี้เราทำมาแล้วกี่ชาติ ชาติก่อนๆเราเคยทำไหม...ก็ดูภาพ ภาพมันจะปรากฏทันที อันนี้เรียกว่าเราชนะนิวรณ์ ต้องทำอย่างนี้

    ถ้าไปเจอะหมาขี้เรื้อน ก็นึกว่าไอ้ภาพอย่างนี้เราเคยเป็นไหม ขอดูภาพ ภาพจะปรากฏทันทีโดยไม่ต้องไปใช้กำลังสมาธิให้เสียเวลาแม้แต่ 1 วินาที มันจะปรากฏกับใจ แหม....! หลายชาติ ชาติละหลายตัวเราเคยเกิดเป็นหมาขี้เรื้อนมาหลายชาติ

    เราคุยไปคุยมา นั่งดายหญ้า นั่งผ่าฟืน นึกถึงเทวดา เทวดาท่านมีความสุข ก็นึก "เอ...เราเคยเป็นทวดาหรือเปล่า...!?" ถ้าเคยเป็น...ขอดูภาพเทวดา เคยเป็นกี่ชาติ ขอดูภาพเท่านั้น ขอดูวิมานเป็นที่อาศัย มันจะปรากฏทั้งตัวเราเองและวิมานในสมัยที่เป็นเทวดา

    นี่เขาต้องทำกันอย่างนี้ อย่างนี้ถือว่าถึง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ นี่อย่างย่อนะ คือการปฏิบัติมโนมยิทธิต้องทำแบบนี้

    ถ้ายังต้องเข้าสมาธิ เครียด ยังใช้ไม่ได้ เวลาจะตายมันไม่ทันเวลาของนรก เวลาจะตายจริงๆ ไปนั่งขัดสมาธิได้ยังไง มันป่วยไข้ไม่สบาย ต้องใช้กำลังใจเป็นปกติ ญาณต่างๆต้องใช้ให้คล่อง คือ ใช้ทุกวัน ถ้าเราทิ้งไม่ใช้เพียงแค่ 2-3 วันมันก็มีอารมณ์เฝือ

    (จากธัมมวิโมกข์ ธันวาคม 2532 หน้า 33-34)


    การแต่งตัวสวย

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ การแต่งตัวสวยๆเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคม อย่างนี้เรียกว่าเป็นพวก ราคจริต หรือเปล่าคะ?

    หลวงพ่อ : อันนี้เป็นถือว่าเป็นราคจริต ความจริงการแต่งตัวนี่นะ แต่งตัวปกติเขาไม่ถือว่าเป็นราคจริต และเราก็ไม่ถือว่าขาดศีล 8

    ถ้าสังคมนี้เขาแต่งตัวแบบนี้ เพื่อไม่ให้เก้อเขิน เราก็แต่งตัวแบบนั้น เราทำเพื่อความเหมาะสม ไอ้แต่งตัวเพื่อราคจริต มันต้องเรียบร้อยเป็นพิเศษ ถ้าเป็นบ้าน อะไรนิดอะไรหน่อยต้องสะอาดหมด ทุกอย่างต้องเรียบร้อย แต่ราคจริต เขาไม่ตำหนิว่าเลว ถือว่าเลวไม่ได้นะ คือเขาเป็นคนชอบสวยชอบสะอาด แต่บางคนคิดว่าคนที่มี ราคจริต เป็นคนมักมากในกามารมณ์ก็ยุ่งซิ มันคนละเรื่อง

    คือ ราคจริต แค่รักสวยรักงาม รักความสะอาดเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับกามารมณ์ บางคนเขาสวยแสนสวย แต่ก็ไม่ยุ่งอะไรมากเป็นไปตามกฎธรรมดา

    ตัวอย่างพระลูกชายนายช่างทอง เป็นคนสวยด้วย เป็นคนหนุ่มด้วย เป็นคนรวยด้วย พระสารีบุตรท่านเข้าใจว่าเป็นคนที่มีราคจริต ท่านจึงให้กรรมฐาน "อสุภกรรมฐาน" ท่านเลยไม่ได้อะไร

    แต่เนื้อแท้จริงๆ ท่านเป็นคนโทสจริต พอไปหาพระพุทธเจ้า ท่านให้เพ่งโลหิตกสิณ เดี๋ยวเดียวก็ได้ฌาน 4 อีกเดี๋ยวเดียวก็ได้เป็นอรหันต์ นี่คนละเรื่องเลย ใช่ไหม

    ผู้ถาม : ตอนแรกเข้าใจว่าอย่างนั้นค่ะ ก็นึกเสมอว่า ตัวเองยังเป็นพวกราคจริต แล้วก็ยังตัดราคจริตไม่ได้ ตอนนี้เข้าใจแล้วค่ะ..

    (จากธัมมวิโมกข์ ตุลาคม 2544 หน้า 78)


    ห้อยท้ายไว้สักนิด

    ท่านที่กำลังมีครรภ์ ถ้าอยากให้ลูกของท่านที่อยู่ในครรภ์ ถ้าเป็นหญิงต้องการจะให้สวยขนาดไหนเหมือนใคร เอารูปของคนนั้นมาห้อยไว้ให้เห็นง่ายๆ ตั้งใจจำรูปนั้นเวลาทำบุญให้ทาน อธิษฐานขอให้ลูกถ้าเป็นหญิงขอให้สวยอย่างนี้ ถ้าเป็นชายจะให้เหมือนใคร เอารูปชายคนนั้นมาแขวนให้มองเห็นชัด อธิษฐานเหมือนกัน

    ถ้าจะเอารูปชายอื่นมาแขวนเพื่อดู ควรตกลงกับพ่อบ้านก่อนถ้าเกิดเข้าใจผิดกันขึ้นมาจะยุ่ง จะกล่าวหาว่าเพราะเชื่อหนังสือนี้จึงยุ่ง ทางที่ดีถ้าอยากให้ลูกชายสวย ควรเอาพระพุทธรูปที่มีรูปลักษณะสวยที่สุดเท่าที่เห็นมา เอามาดูบูชาไว้ประจำวันและอธิษฐานให้ลูกชายสวยอย่างนี้ ทำเหมือนรูปหญิง เท่านี้ลูกที่คลอดออกมา จะมีรูปลักษณะดีเหมือนรูปที่ดู

    อย่าลืมทำบุญให้ทาน รักษาศีล หรือกรรมบถ 10 ด้วยนะ ลูกเกิดมาแล้วพ่อแม่จะสบายใจ

    ถ้าอยากให้ตนเองถ้าจะไปเกิดชาติใหม่ สวยตามที่ต้องการ ก็ดูตัวอย่างพระสูตรที่อ่านผ่านมาแล้ว

    1. ศีล ทำให้เป็นคนสวย
    2. ทาน ทำให้เป็นเหตุแห่งความร่ำรวย
    3. ภาวนา หรือถวายหนังสือธรรมแก่พระ หรือแจกให้แก่คนที่ต้องการ
    จะบันดาลให้มีปัญญามาก

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 96 กุมภาพันธ์ 2532 หน้า 128)


    ความหมาย "นะ มะ พะ ธะ"


    ผู้ถาม : คำภาวนาว่า "นะ มะ พะ ธะ" เป็นพุทธานุสสติกรรมฐานหรือขอรับ "นะ มะ พะ ธะ" แปลว่าอะไรขอรับ ?

    หลวงพ่อ : "นะมะ" แปลว่า นมัสการ "พะธะ" แปลว่า พระพุทธเจ้า

    "นะ มะ พะ ธะ" แปลว่า ไหว้พระพุทธเจ้า เรื่องจริงนะ

    "นะมะพะธะ" ที่แปลว่า ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เขาไม่ได้ภาวนา เขาพิจารณานะ

    คำว่า "นะมะพะธะ" ที่ท่านมาบอกจริง ๆ บอกว่าไม่ใช่ธาตุ 4 เป็นการนมัสการพระพุทธเจ้า เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 72 กุมภาพันธ์ 2530 หน้า 14)


    วันที่ระลึกวันเกิดหลวงพ่อ

    "ตอนบวงสรวง มีอะไรประทับใจบ้างหรือเปล่าครับ"

    บอกหลวงพ่อ สมบัติหลวงพ่อ หลวงพ่อไปนิพพานแล้วขอให้ลูกใช้ให้หมด
    เลยนะ (หัวเราะ)

    "เออ จริงซินะ หลวงพ่อยังใช้ไม่หมดเลย"

    หลวงพ่อเคยบอกว่า ที่สร้างวัดนี่ใช้ไปแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ สมบัติที่เอามาสร้างวัดนี้

    "ที่เหลือก็คงแบ่งให้ลูกหลานซินะ"

    ใช่ เราเป็นลูกหลานก็ต้องใช้ให้หมด

    "เอามาใช้หรือเอาไปใช้ครับ เห็นมาทุกทีสังฆทานบ้าง ทำบุญอย่างอื่นบ้าง ใครใช้ใครกันแน่ครับ"

    เราเอาไปใช้ที่นี่ละเราเอาไปใช้ล่ะนี่นิพพานไงล่ะ เราทำทางเพื่อไปให้ถึงซึ่งพระนิพพาน

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 155 มกราคม 2537 หน้า 87)


    คาถา "ทุกขาทุกขัง ปะติถิตัง สัมปติฉามิ"

    จากเรื่อง บันทึกความจำพิเศษ

    เป็นอันว่าลุงท่านก็รู้จักนิสัยดื้อ พระท่านก็รู้ยี่ห้อดื้อ พรหมก็รู้ดื้อ ใครก็รู้เรื่องดื้อ ใครก็รู้มันดื้อมากี่แสนชาติแล้ว แต่ความจริงก็ดื้ออย่างมีเหตุมีผล ไอ้งานที่ทำมันต้องพูด มันต้องเดินทาง นี่เดินทางคราวไรท้องผูกเครียดถ่ายไม่ออก ถ้าพูดหนักๆเข้าแม้แต่บันทึกเสียง ท้องผูกถ่ายไม่ออกอืดเสียดและงานที่ต้องทำคือสอนพระศาสนามันต้องพูด และมันก็ต้องเดินทาง และก็โรคมันขวางสองทาง เราจะอยู่เพื่ออะไร

    ก็เป็นอันว่าลุงกลับ ก็นอน พอนอนลงไปก็นึกในใจว่าคาถาบทหนึ่งที่พระพุทธเจ้าให้ไว้ ว่าคาถาบทนี้ถ้าทำน้ำมนต์แล้วรักษาได้ทุกโรคนั่นคือ

    "ทุกขาทุกขัง ปะติถิตัง สัมปติฉามิ"

    ก็นึกในใจว่าถ้าคาถาบทนี้ถ้ารักษาตัวเราเองไม่หาย จะไปรักษาใคร ในเมื่อท่านให้เรา เราก็ลองรักษาตัวดู ถ้าคาถาบทนี้รักษาเราไม่หายก็จะไม่เกิดประโยชน์กับใคร คุณสุวิทย์เธอรักษาภรรยาเธอ ให้ภรรยาเธอภาวนาบทนี้แล้วใช้มีดหมอแตะร่างกายเธอหายปวด หายปวดอย่างอัศจรรย์

    ก็นอนภาวนาคาถาบทนี้เป็นฌาน คิดว่านับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป การภาวนาทุกอย่างจะใช้คาถาบทนี้เรื่อยไปจนกว่าโรคจะหาย แทนคำว่พุทโธ สัมมาอรหัง แทนทุกอย่างที่ใช้ เว้นไว้แต่บางกรณีบางขณะเราจะไปสวรรค์เราจะไปพรหมโลกเราจะไปนิพพาน ตอนนั้นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

    ถ้าอยู่ปกติจะภาวนาว่า "ทุกขาทุกขัง ปะติถิตัง สัมปติฉามิ" ว่าเรื่อยๆตามสบายๆก็เริ่มภาวนา พอเริ่มภาวนาอารมณ์ก็เริ่มเป็นสุข

    เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัท เริ่มสุขแล้วก็เลิกกันดีกว่าไหม เพราะอะไร เพราะเวลามันเหลือไม่ถึงครึ่งนาที่ ขอลาก่อนประเดี๋ยวฟังใหม่ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแค่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่านสวัสดี.

    (จากธัมมวิโมกข์ ตุลาคม 2534 หน้า 14)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2020

แชร์หน้านี้

Loading...