ปกิณกะพระเครื่อง ธรรมะ และวัดวาอาราม

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 5 ธันวาคม 2014.

  1. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]




    พระผงสุปฏิปันโนให้โชค



    การเดินทางขึ้นไปกราบหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อนของพี่ที่เดินทางไปด้วยกันได้ฟังเรื่องราวของครูบาแล้วเกิดจิตศรัทธาจึงฝากเช่าพระผงสุปฏิปันโน เนื้อพิเศษฝังพระธาตุ เพื่อนพี่ท่านนี้ได้นำเลขบนฝากล่องพระไปแทงหวย ถูกรางวัล รับโชคทันทีกว่าครึ่งแสนบาท!!!


    น้อมกราบครูบาวงศ์ -/\-
     
  2. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    หลวงปู่ครูบาน้อย(หน้อย) วัดบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


    ครูบา๑ศตวรรษผู้มีดวงตาสุกใส และรอยยิ้มอันบริสุทธิ์


    หลวงปู่ครูบาน้อย พระอริยสงฆ์ที่ทรงพรรษา มีอายุขัย 103 ปี เป็นที่เคารพนับถือของชาวเชียงใหม่ ชาวล้านนา และสาธุชนจากทั่วประเทศ เดินทางมากราบท่าน มาให้ท่านพรมน้ำมนต์

    หลวงปู่ครูบาท่านมีเมตตาสูงมาก ไม่เลือกบุคคล ชั้นวรรณะ ท่านทำให้อย่างเสมอภาคกันครับ ท่านมีจิต และสมาธิสูงมาก ครูบาธรรมชัยแห่งวัดทุ่งหลวง เคารพนับถือครูบาน้อยท่านมาก สร้างเหรียญรุ่นแรกบูชาครูท่านด้วย นับถือท่านเป็นพระอริยะสงฆ์ วัตถุมงคลของท่านมี เหรียญ รูปหล่อโบราณ รูปหล่อองค์เล็ก และพระผงรูปพระลำพูน ( พระรอด พระคง พระเปิม พระซุ้มจามเทวี ) และพระผงรูปเหมือน เสืองาแกะ ครับ




    [​IMG]



    ชื่อเสียงของครูบาน้อยอาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ท่านกลับเป็นที่เคารพยิ่งของครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณยิ่งหลายต่อหลายองค์ อาทิหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา ครูบาธรรมชัย ท่านอาจารย์เปลี่ยนแห่งวัดอรัญญวิเวก นับว่าหลวงปู่ครูบาน้อยต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอนครับ



    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    จากศักดิ์สิทธิ์ฉบับที่342
     
  3. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    พี่ปูมีหนังสือพระเก่าสุดถึงปีอะไรครับเนี่ย...[​IMG]
     
  4. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    หลวงปู่ครูบาอิน


    ::: หลวงพ่อกวยยกย่อง :::

    ในเขตล้านนาภาคเหนือของสยามประเทศนั้น หากไม่นับครูบาเจ้าศรีวิไชย นักบุญแห่งล้านนาไทยผู้กระเดื่องเลื่องหล้าองค์นั้นแล้ว พระสายเหนือที่จะมักคุ้นตาและใจของ “ส่วนกลาง” จริงๆ ก็เห็นจะมีเพียงไม่กี่องค์ อาทิ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่, หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึงเชียงใหม่, ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง ฯลฯ แต่เพียงประมาณเท่านั้น

    แต่นั่น...ก็เป็นเรื่องของ “สามัญปุถุชน” แต่เพียงเท่านั้น หาใช่เป็นกรณีของ “ผู้รู้แจ้ง” เห็นจริงไม่ เพราะเมื่อหลายสิบปีก่อน หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้ชาญพระเวทย์แห่งวัดโฆสิตาราม ชัยนาท ยังไม่อาจนิ่งเฉยพร้อมกับยังได้สั่งความแก่พระครูสมุห์ภาสน์ มังคลสังโฆ แห่งวัดซับลำไย ลพบุรี ศิษย์ใกล้ชิดของท่านรูปหนึ่งเลยทีเดียวว่า
    “ให้ขึ้นไปกราบครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งที่เชียงใหม่ และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ครูบาอินนี้ท่านมีวิชาจิตตานุภาพแก่กล้าสามารถมากๆ จริงๆ...!!!!!!”



    ::: หลวงพ่อเกษม ยอมรับ :::


    ครั้งหนึ่ง มี “พ่ออุ๊ย” แห่งวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ท่านหนึ่ง ได้ไปกราบหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่สุสานไตรลักษณ์ แห่งจังหวัดลำปาง แล้วเอาพระที่ตนมีอยู่ออกมาให้หลวงพ่อเกษมท่าน “ชาร์จแบ็ต” (มนต์) เพิ่มพลังให้ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายมักนิยมทำกัน เวลาได้ไปกราบครูบาอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ โดยหนึ่งในพระเครื่องที่นำไปขอให้หลวงพ่อเกษมท่านเสกนั้น ก็มีพระของหลวงปู่ครูบาอินรวมอยู่ด้วย...

    และในบัดดลนั่นเอง สิ่งที่ทำให้พ่ออุ๊ยจากเมือง “หละปูน” ถึงกับแปลกประหลาดใจอย่างใหญ่หลวง ก็พลันอุบัติขึ้น เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก ผู้ยิ่งด้วยฤทธิ์อภิญญาอันแก่กล้าไม่ยอมเสกพระของ “ครูบาอิน” ให้อย่างสิ้นเชิง ก่อนที่จะบอกกับพ่ออุ๊ยนั้นอีกด้วยว่า
    “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว..!!!!!!”



    ::: หลวงปู่สิม นับถือ :::


    ในบรรดาศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักถ้ำผาปล่อง แห่งอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จริงๆ แล้ว จะทราบถึงอัธยาศัยประการหนึ่งของหลวงปู่สิมท่านเป็นอย่างดีที่สุดเลยว่า “ไม่ว่าจะเป็นคนหรือพระไหนก็ตาม หากไม่ดีแท้หรือแน่จริงถึงขีดสุดๆ แล้ว หลวงปู่สิมท่านจะไม่สนใจปรารภปรารมภ์อะไรถึงเลย...”

    ตรงข้ามกับ ระดับ “ยอดสุด” ของจริงมาเองแล้ว โดยไม่ต้องพักถามไถ่ว่า จะเป็น “ธรรมยุต” หรือ “มหานิกาย” ให้เสียเวลา หลวงปู่สิมท่านจะกล่าวชมเชยกราบไหว้ถึงตักถึงเท้าอย่างไม่มีรีรอเลยทีเดียว

    “ท่านอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ท่านเก่งมากนะ...ท่านไม่ดุอะไรไม่มีเหตุผลหรอก แต่ท่านจะดุบาปด่าบาปต่างหาก...!!”

    “เจ้าคุณนรรัตน์ วัดเทพศิรินทร์ มีกริยามารยาทเรียบร้อยและเป็นผู้มีความกตัญญูสูงมาก..!!!”

    “หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี น่ะ ยอดเยี่ยมที่หนึ่งเลย...แก่ทั้งอายุ แก่ทั้งพรรษา แก่ทั้งมรรคผลนิพพาน...!!!.”

    “หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคมมน จังหวัดเลย จิตเพิ่น (ท่าน) ดี จิตเพิ่น (ท่าน) ดี...!!!!”

    “หลวงปู่แหวน ยิ่งใหญ่มาก ท่านเข้านิพพานไปแล้วด้วย...!!!!!”

    “ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูนน่ะ ท่านเย็นยิ่งกว่าน้ำแข็งอีกนะ..!!!!!!” ฯลฯ

    และส่วน “ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง” น่ะหรือ.. หลวงปู่สิม ไม่เพียงกล่าวชมแต่เพียงวาจา แต่ “ลัดฟ้า” ไปกราบถึงกุฏิที่วัดฟ้าหลั่ง ปีละหลายๆ ครั้งโน่นเลยทีเดียว...!!!???!!!

    งานนี้ ต้องมี “อะไร” ที่ “ไม่ธรรมดา” อย่างมากๆ ถึงมากที่สุดอย่างแน่ๆ ไม่ต้องสงสัย เพราะเป็นการยกย่องด้วย “การกระทำ” นั่นเลยเทียว



    ที่มา: พุทธวงศ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2015
  5. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]



    ครูบาอินกับไม้เท้าครูบาวงศ์


    ประสบการณ์ข้างล่างนี้ พระอาจารย์พรชัย วัดทุ่งปุยเล่าให้ผมฟังนานแล้ว ผมก็เลยนำมาเรียบเรียง ให้สละสลวย แต่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ไหน ขอนำมาเผยแพร่ที่นี่เป็นที่แรกนะครับ

    ธีระยุทธ




    หลวงปู่ในวัยชรา ท่านจะเดินเหินไปทางไหน ก็จะต้องถือไม้เท้าคอยพยุงกาย ไม้เท้าของหลวงปู่ทุกอันเป็นไม้เท้าที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา จัดหามาถวายท่าน ในบรรดาไม้เท้าทั้งหมด มีอยู่อันหนึ่งที่หลวงปู่ท่านโปรดปรานเป็นพิเศษ ท่านจะใช้ของท่านอยู่เป็นประจำ ขนาดเข้าโรงพยาบาลท่านก็ให้พระอุปัฏฐากนำไปด้วย


    ไม้เท้าอันนี้ เดิมเป็นไม้เท้าของหลวงปู่ครูบาชัยวงษาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน ซึ่งลูกศิษย์ของครูบาวงษ์ได้นำมาถวายหลวงปู่ครูบาอินตั้งแต่ครั้งที่ท่านยังพำนักอยู่ที่วัดฟ้าหลั่ง และท่านก็ใช้ของท่านเรื่อยมา แม้ว่าหลังจากนั้นจะมีผู้นำเอาไม้เท้าใหม่ๆ สวยๆ มาถวายท่านอยู่เรื่อยๆ ก็ตาม


    เมื่อหลวงปู่กลับมาพำนักอยู่ที่วัดทุ่งปุย ท่านก็ไม่ลืมที่จะนำไม้เท้านี้กลับมาด้วย ต่อมาพระอาจารย์ไพบูลย์ได้นำไม้เท้านี้มาทาสีทองให้ดูสวยงาม นอกจากนี้หลวงปู่ยังได้ให้ท่านพระครูสุคนธ์บุญญากร จารยันต์ลงไปบนไม้เท้านี้ด้วยอีกหลายพระคาถา เช่น ยันต์ครูของหลวงปู่ อกจยทฺทปทส หัวใจพระคาถา สุนะโมโล จิตตํปุริโส จิตตํปุริสินิเม ฯ เป็นต้น และที่วัดทุ่งปุยนี่เองที่มีเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับไม้เท้าหลวงปู่เกิดขึ้น


    ช่วงสายของวันหนึ่ง ในขณะที่หลวงปู่นั่งรับแขกอยู่บนศาลาวัดทุ่งปุยตามปกติ ก็มีกลุ่มคนคณะหนึ่งขับรถเช่าสี่ล้อ หรือที่เรียกว่ารถแดง เข้ามาในวัด เมื่อรถจอดพวกเขาก็กุลีกุจอช่วงกันฉุดกระชากผู้หญิงวัยกลางคน คนหนึ่งขึ้นมาบนศาลาวัด มีเสียงตะโกน ยื้อยุดกันโกลาหลซึ่งในที่สุดก็สามารถลากผู้หญิงคนนั้นมานั่งต่อหน้าหลวงปู่ได้สำเร็จ เมื่อถามไถ่คร่าวๆ พอทราบความว่า พวกเขาเช่าเหมารถมาจากในตัวเมืองเชียงใหม่ เพื่อพาญาติผู้หญิงคนนี้ ซึ่งคาดว่าถูกผีเข้ามาขอให้หลวงปู่ช่วยปัดเป่า ขับไล่วิญญาณร้ายที่มากุมจิตกุมใจของผู้หญิงคนนนี้อยู่


    หลวงปู่ไม่ได้พูดอะไร ท่านมองหน้าหญิงเคราะห์ร้ายผู้นี้อยู่เงียบๆ ในขณะที่นางเองก็จ้องกลับมาที่หลวงปู่ด้วยดวงตาที่แข็งกร้าว ทันใดนั้นหลวงปู่ก็ได้ยกไม้เท้าที่วางพิงอยู่ข้างๆ เอามาจิ้มตรงหน้าผากของผู้หญิงคนนั้นเบาๆ ท่ามกลางสายตาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่นั่งรายล้อมอยู่รอบๆ หญิงเคราะร้ายก็กรีดร้องออกมาสุดเสียง พร้อมทั้งพูดระร่ำระลักว่า “ออกแล้ว จะไปแล้ว บ่อเอาแล้ว” จากนั้นก็ผลุนผลันลุกขึ้นวิ่งออกไปที่หน้าศาลา พอพ้นเขตประตู ก็ก้มลงอาเจียนออกมาด้วยเสียงอันดังอยู่นานสองนาน บรรดาญาติๆ ของนางก็รีบวิ่งตามออกไปดูอาการ


    หลังจากอาการอาเจียนของนางเริ่มทุเลาลง ใบหน้าเริ่มมีสีฝาด ดวงตาที่เคยแข็งกร้าวก็กลับกลายเป็นดวงตาที่อ่อนโยนดั่งคนทั่วไป ญาติๆ ก็เลยพยุงนางเดินมานั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่ต่อหน้าหลวงปู่ จึงได้พูดคุยสอบถามกันทราบความว่า น่าจะเป็นวิญญาณของสามีเก่าของนางที่เสียชีวิตไปแล้วเพราะอุบัติเหตุรถชน แต่ยังไม่หมดเวรหมดกรรมต่อกันจึงได้กลับมารบกวนสิงสู่นาง หลังจากนั้น หลวงปู่ก็เลยแนะนำให้ไปทำบุญทำทานอุทิศไปให้เจ้ากรรมนายเวร หลวงปู่ได้ผู้ข้อมือและประพรมน้ำมนต์ให้กับนางและบรรดาญาติๆ ก่อนที่พวกเขาจะขอตัวลากลับไป


    เรื่องราวที่หลวงปู่เมตตาลดเคราะห์กรรม ขจัดปัดเป่าวิญญาณร้ายที่มารบกวนมีให้เห็นหลายครั้ง ปกติท่านก็จะเพียงแต่รดน้ำมนต์ และผูกข้อไม้ข้อมือให้กับผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้นก็เพียงพอแล้ว แต่ครั้งนี้เห็นจะพิเศษกว่าครั้งอื่นๆ ตรงที่ท่านเอาไม้เท้าจิ้มหน้าผากผู้ที่ถูกผีสิง

    ไม้เท้าหลวงปู่อันนี้ บรรดาลูกหลานของหลวงปู่ได้เก็บรักษาไว้หลังจากท่านมรณภาพ และได้นำมาถวายให้กับพระอาจารย์อินทร จิตตสํวโร เจ้าอาวาสวัดใหม่หนองหอย ซึ่งพระอาจารย์อินทรเองก็มีดำริที่จะจัดสร้างพิพิธภัณธ์เพื่อจัดแสดงเครื่องบริขารของหลวงปู่ครูบาอิน ให้สาธุชนและบรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้เข้ากราบนมัสการต่อไป



    ที่มา: กระทู้วรวุฒิคุณอนุสรณ์ ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่ครูบาอิน อินโท ครูบาฟ้าหลั่ง
     
  6. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326


    ถ้านะโม กับศักดิ์สิทธิ์ ก็ปี 34, 35 เลยคร๊าบบ แต่ไม่ได้ซื้อตลอดชื้อมาอ่านเป็นช่วงๆไป ถ้าเป็นหนังสือโลกทิพย์มีเล่มแรกด้วย(ปี25) เล่มแรกนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของหลวงพ่อฤาษีกับสหธรรมิกท่านคร๊าบบ



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2015
  7. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    [​IMG]

    แบบนี้ต้องไปจิบกาแฟแล้วอ่ะ อิอิ....ล้อเล่ง
     
  8. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]



    ครูบาดวงดี สุภัทฺโท วัดท่าจำปี

    ครูบาดวงดี ท่านได้เจริญรอยตามครูบาศรีวิชัยมาโดยตลอด ทั้งเป็นประธานฝ่ายสงฆ์และเป็นจ้าภาพบูรณะก่อสร้างศาสนสถาน หรือศาสนวัตถุอยู่หลายแห่ง ทั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งในดินแดนชาวเขาที่อยู่ห่างไกล นอกจากนี้ท่านยังมีส่วนร่วมสร้างสถานที่ราชการในหลายพื้นที่ ล่าสุดได้เป็นเจ้าภาพสร้างอาคารผู้ป่วยสูง 4 ชั้น ขนาด 30 เตียง ให้กับโรงพยาบาลสันป่าตอง จ.เชียงใหม่ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ 2548

    หลวงปู่บอกว่าเงินที่ได้มาจะไม่เก็บไว้ส่วนตัว ได้มาเท่าไรก็จะนำไปบริจาคสร้างวัดสร้างอาคารจนหมด ท่านพูดด้วยภาษาคำเมืองว่า

    "มันเป็นเงินของชาวบ้านเปิ้น บ่อใจ่เงินของเฮาน้อ..ได้มาเต้าใดก็เอาไปก็ทำบุญฮื้อเขา"
    (มันเป็นเงินของชาวบ้าน ไม่ไช่เงินของเรา ได้มาเท่าไรก็เอาไปทำบุญให้พวกเค้า)


    ปัจจุบันหลวงปู่อายุ 100 ปี (พ.ศ. 2548) แม้จะอายุมากแต่ความจำของท่านยังดี เล่าเรื่องราวต่างๆได้อย่างไม่ติดขัด ในวันนั้นนอกจากจะได้ยินได้ฟังเรื่องราวต่างๆแล้ว หลวงปู่ยังเล่าเรื่องราวในเชิงลึกที่ได้สัมผัสมา ซึ่งผู้มีคุณธรรมระดับสูงเท่านั้นจะเข้าถึงได้

    ในแต่ละวันจะมีศรัทธาญาติโยมมาเยี่ยมสักการะครูบาดวงดี อย่างไม่ขาดสาย บางครั้งก็มีชาวต่างชาติในแถบอาเซี่ยนที่ศรัทธามากราบไว้ บางรายก็ต้องมารอคอยกันหลายชั่วโมงเพื่อให้ได้พบครูบา แต่ก็มีไม่น้อยที่ต้องผิดหวัง

    หลวงปู่แม้จะเป็นคนภาคเหนือ แต่ก็ชอบเคี้ยวหมากเหมือนผู้สูงอายุของคนภาคกลางในสมัยก่อน "ชานหมาก" ของหลวงปู่จึงเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการ เมื่อได้แล้วก็อาจจะนำไปตากให้แห้งแล้วนำไปใส่กรอบพระแขวนคอ หรืออาจนำไปไว้บนหิ้งบูชา ถือว่าเป็นของที่ระลึกที่หายากจากพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง วันนั้นผมค่อนข้างโชคดีที่ท่านเรียกให้เข้าไปใกล้ๆ จากนั้นท่านก็คายชานหมากใส่กระดาษทิชชู่แล้ววางบนมือผม เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดและไม่ได้เอ่ยปากขอจากท่านมาก่อน



    หากใครมาที่วัดนี้ก็อาจจะต้องแปลกใจ ที่วัดอยู่ลึกจากถนนใหญ่เข้ามาในหมู่บ้านประมาณ 2 กม. แต่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่โตสวยงามมูลค่าหลายร้อยล้านบาท มีเจดีย์ที่สูงจนสามารถมองเห็นในระยะไกล จากถนนเมื่อเลี้ยวเข้าในที่วัดก็จะต้องผ่านหมู่บ้าน ผ่านไร่นา และสวนลำไยที่กำลังแตกลูกอ่อน

    ครั้งแรกที่เข้ามาในวัดก็แปลกใจว่าวัดนี้เอาเงินที่ไหนมาสร้างกัน มองไปทางไหนก็อลังการงานสร้างไปหมด

    แต่เมื่อทราบประวัติ รวมทั้งได้รู้ถึงกระแสศรัทธาของผู้คนที่มีต่อท่านแล้วก็คงไม่น่าแปลกอะไร เพราะในแต่ละปีจะมีผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วสารทิศมาร่วมทำบุญบริจาคกับท่านมาก

    มีคนเล่าว่ายิ่งเป็นงานฉลองวันเกิดของท่านแล้วจะเป็นวันที่ผู้คนหลั่งไหลกันมาอย่างมืดฟ้ามัวดิน จนสถานที่ภายในวัดไม่พอที่จะรองรับคลื่นมหาชน ในงานจะมีขบวนช้างขบวนพิธีที่ยิ่งใหญ่และทุกครั้งที่จัดงานจะมีชาวเขามาร่วมเป็นจำนวนมาก มากินมานอน มาทำบุญ เพื่อถวายแด่ครูบา เป็นความศรัทธาอย่างเหนียวแน่นที่มีมาช้านาน

    ท่านครูบาฯเป็นพระที่อารมณ์ดี เห็นรอยยิ้มและได้ยินเสียงหัวเราะอยู่ตลอดเวลา ให้ความเป็นกันเองกับผู้มาเยือนด้วยมิตรไมตรี แม้วัยจะล่วงเลยมาถึงเกือบร้อยปีแล้วก็ตาม ท่านก็ยังให้การต้อนรับผู้มาเยือนอย่างเสมอภาค


    ขอบคุณเจ้าของบทความด้วยครับ
     
  9. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา

    ครูบาเหยียบศิลาเป็นรอย


    เรื่องรอยเท้าของครูบา..

    ก็เป็นที่รู้กัน ว่าครูบาท่านประทับรอยเท้าของท่านไว้หลายที่หลายแห่ง เท่าที่ผมบันทึกไว้ก็หลายรอย รอยที่วัดบ้านปาง ดูจะมีคนทราบ

    เนื่องจากมีลูกศิษย์ถ่ายภาพเอาไว้ มีเรื่องเล่าเกี่ยวข้องกัน...

    เมื่อวันที่หลวงปู่ไปรับพระราชทานสมณศักดิ์ที่“พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์” ท่านได้แวะผักผ่อนที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน


    และอาจารย์ปฐม พัวพันธ์สกุล ได้ถ่ายภาพขณะที่ท่านวัดรอยเท้าของท่านเองเมื่อครั้งท่านอายุได้ ๒๒ ปี ที่ท่านได้เคยประทับไว้บนก้อนหินก้อนนี้ ในขณะที่ท่านได้ไปทำธุระส่วนตัวในป่าข้างทาง

    หลังจากทำธุระเสร็จแล้วเทวดาได้ขอให้หลวงปู่ประทับรอยเท้าลงบนหินก้อนใหญ่ใต้ต้นไผ่หน้าประตูทางขึ้นวัดบ้านปาง เพื่อพวกเขาจะได้กราบไหว้บูชา

    ปัจจุบันหินก้อนนี้เจ้าอาวาสวัดบ้านปางได้นำขึ้นไปประดิษฐานไว้บนวัด (ใกล้ประตูทางเข้าเขตอุโบสถ)

    และได้ให้หลวงปู่ประทับรอยมือไว้บนหินก้อนดังกล่าว พร้อมทั้งสร้างมณฑปครอบไว้อย่างสวยงาม

    (จากหนังสือพระชัยวงศานุสสติ)


    เพิ่มเติมข้อมูล

    วันนึงผมได้เรียนถามท่านเรื่องรอยพระบาทครูบาวงศ์ ที่วัดบ้านปาง ว่า รอยเท้าบนหินของท่านอยู่ตรงไหน

    ครูบาท่านก็บอกตำแหน่งให้ผม ไปหาเจอสภาพในตอนนั้นเหมือนก้อนหินธรรมดาที่ไม่มีใครสนใจ
    จึงนำความมาบอกครูบา บอกท่านว่า ไม่มีใครสนใจรอยเท้าของครูบาที่วัดบ้านปางเลย

    ท่านบอกผมว่า ถ้าไม่มีใครสนใจก็ให้ผมยกกลับมาไว้ที่ห้วยต้ม

    ผมก็ถามท่านว่า ไม่เป็นไรหรือ เทวดาที่ขอท่านจะว่าผมไหม

    ท่านบอก ไม่เป็นไร แต่ให้บอกขออนุญาตเจ้าอาวาสก่อน ถ้าเจ้าอาวาสอนุญาตก็ให้ยกมาได้

    ภายหลังได้มาวัดบ้านปางอีกครั้งจึงเรียนเจ้าอาวาสว่า จะขอยกก้อนหินที่ครูบาวงท่านประทับรอยเท้าไว้กลับห้วยต้ม

    ท่านเจ้าอาวาสไม่อนุญาต ผมจึงบอกท่านว่า ถ้าไม่ให้ยกกลับ ผมขอสร้างมณฑปครอบรอยเท้าอาจารย์ผม เพื่อจะได้เป็นที่สักการะสืบไป

    ได้กลับมาแจ้งให้ครูบาท่านทราบ

    ท่านก็บอกแล้วแต่ศรัทธาของผม มณฑปที่วัดบ้านปาง จึงได้ก่อสร้างด้วยความตั้งใจของผม ได้บริจาคเงินจำนวนหนึ่งให้ทางวัดบ้านปางก่อสร้างร่วมกับศรัทธาจนแล้วเสร็จ ไว้เป็นที่สักการะแก่คนรุ่นหลังต่อไปในภายภาคหน้า

    สมตามความตั้งใจที่ได้ทำเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงครูบาท่าน



    [​IMG]


    รอยมือและรอยเท้าครูบาวงศ์ที่วัดบ้านปางมีคุณหมอณพลเดช รักษ์บำรุง กับคณะศรัทธาร่วมกันสร้างมณฑปครอบไว้
     
  10. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]



    หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง


    ช่วงวัยเด็กหลวงปู่ได้ติดตามบิดาล่องเรือขายยาสูบระหว่างอุตรดิตถ์ จ.พิจิตร จ.นครสวรรค์ บิดามารดาได้ฝากเป็นเด็กวัด เรียนหนังสือกับหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน จ.พิจิตร คอยรับใช้ใกล้ชิดท่านอนุญาตให้พักกุฎิเดียวกับท่าน หลวงพ่อเงินได้สอนสรรพวิชาอาคมไสยเวทต่าง ๆ คาถาที่หลวงพ่อเงินสอนไว้นั้นที่สำคัญคือ “นะโมพุทธายะ” (พระเจ้าห้าพระองค์) ซึ่งต่อมาหลวงปู่ได้ใช้เป็นคาถาประจำตัวของท่านตลออดมา นอกจากนั้นหลวงปู่ยังได้ศึกษาวิชาอาคมกับโยมปู่ของท่าน ซึ่งเป็นวิชาอยู่ยงคงกระพัน เพื่อป้องกันตนเอง หลวงปู่ได้ใช้วิชานี้ปลุกเสกตัวเองก่อนจะขึ้นชกมวยทุกครั้ง โดยก่อนจะขึ้นชกมวยหลวงปู่จะบริกรรมคาถาจนรู้สึกว่าเนื้อเริ่มหน่าขึ้น (ของขึ้น)จึงจะชกได้



    เมื่อขณะหลวงอุปสมบทแล้ว ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าถนน (วัดหลวงพ่อเพชร) ซึ่งอยู่ในตัวเมืองอุตรดิตถ์ หลวงปู่ทราบว่าที่วัดกลางอยู่ห่างจากวัดท่าถนนทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร มีพระภิกษุชราอยู่รูปหนึ่ง “หลวงพ่อทิม” ขาดการดูแลเอาใจใส่ หลวงปู่จึงได้ใช้เวลาว่างเดินทางจากวัดท่าถนนมาวัดกลางทุกวัน เพื่อปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อทิมด้วยจิตใจเมตตาและให้ความเคราพนับถึอ โดยหลวงปู่ได้ปฎิบัติภารกิจเป็นประจำทุกวัน ได้แก่ ตักน้ำ ขึ้นมาจากท่าแม่น้ำน่าน นำมาใส่ตุ่มไว้ให้หลวงพ่อทิมได้สรง เก็บกวาดกุฎิ ชำระล้างภาชนะต่างๆ ประจำมิขาด โดยหลวงปู่มิได้หวังสิ่งค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น แต่ทำไปเพราะจิตเมตตาแก่ภิกษุผู้สูงอายุโดยแท้ซึงจากการกระทำความดีของหลวงปู่ ทำให้หลวงพ่อทิมซึ่งขณะนั้นไม่มีผู้ใดทราบความเป็นมาหลวงพ่อทิมว่าเป็นพระภิกษุเชี่ยวชาญมนต์คาถาทุกด้าน



    ซึ่งกิตติศัพท์ ชาวบ้านย่านเกาะบางโพและตำบลใกล้เคียงทราบคือ “ตะกรุดโทน” ซึ่งหลวงพ่อปลุกเศกโดยดำลงน้ำจารึกอักขระบนแผ่นตะกรุดจนกว่าจะเสร็จ น่าเสียดายวันหนึ่งมีมนุษย์ผู้เขลาด้วยปัญญา นำตะกรุดที่ท่านมอบไปผูกคอสุนัขและยิงสุนัข แต่ปาฎิหารย์กระสุนด้านหมด เมื่อหลวงพ่อทิมเห็นสุขันวิ่งหลบใต้กุฎิจึงถอดออกจากคอสุนัข ท่านโกรธจึงประกาศงดให้เครื่องรางของขลังแก่ชาวบ้าน หลวงปู่เมื่อได้รับมอบวิชาและตำราจากหลวงพ่อทิมไปแล้ว ท่านหมั่นศึกษาภาวนาปฎิบัติ ทุกบท ทุกวรรคตอน จนสิ้นกระบวนความในตำรา จนชาวบ้าน บ้านเกาะต่างกล่าวกันว่าหลวงพ่อทิมไปเกิดที่วัดท่าทอง หลวงปู่ได้ใช้คาถาอาคมช่วยเหลือชาวบ้านตลอดมา ประพรมชาวบ้านที่แวะเวียนมากราบนมัสการท่าน ซึ่งน้ำมนต์นี้หลวงปู่จะปลุกเสกทุกวัน ใส่โองมังกรขนาดใหญ่


    พระเครื่องที่ขึ้นชื่อของท่านมากคือพระสมเด็จแผ่นดินไหวปี ๑๓ เชื่อกันว่าพลังจิตของท่านแก่กล้าจนขณะทำการปลุกเสกพระเกิดแผ่นดินไหวขึ้น


    หลวงปู่ทองดำเป็นพระเถรา จารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กฤตยาคมท่านเป็นพระสุปัฎิปัณโณ ที่กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ ผ่านการสะสมบำเพ็ญเพียรบารมี และปฎิบัติวิปัสสนาสมาธิมานานหลายทศวรรษแม้แต่ หลวงพ่อเกษม เขมโก นักบุญแห่งล้านนาไทย และ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ท่านยังออกปากกับชาวอุตรดิตถ์ที่ไปกราบท่านว่า "หลวงพ่อทองดำที่วัดท่าทองน่ะเก่งกว่าอาตมาอีก ทำไมไม่ไปหา" คำพูดนี้ไม่ใช่คำกล่าวอ้าง แต่ผู้ที่ไปได้ยินกันหลายคน และพากันกลับมาหาหลวงปู่ทองดำ โดยที่หลายคนนั้นไม่เคยรู้จักหลวงปู่มาก่อนเลย เพราะท่าน ฝึกฝน ปฎิบัติธรรมอยู่อย่างเงียบ ๆ ไม่แสดงความพิเศษให้ใครเห็นนอกจากลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ถ้าท่านผ่านไปทางภาคเหนือ ท่านจะแวะกราบหลวงปู่ทองดำ เสมอ เพราะหลวงปู่ทองดำท่านมี พรรษา มากกว่าหลวงพ่อคูณถึง 20 กว่าปี และหลวงพ่อคูณท่านเคยร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก พระกริ่งและพระเครื่อง รุ่นทอง*คูณ เมื่อ พ.ศ. 2537 ท่านกล่าวกับคณะกรรมการว่า "กูนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก ร่วมกับหลวงปู่ทองดำ แค่ 5 นาที พลังจิตของท่าน ไปไกล กูตามท่านไม่ทันด๊อก"




    ขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2015
  11. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]



    ครูบาดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต


    หลวงปู่ดาบส สุมโน ท่านเป็นพระอริยะเจ้า บารมีท่านสูงมากๆ ขนาดหัวใจของท่าน ยังเผาไม่ไหม้ แถมยังแปรสภาพเป็น สีเขียวมรกต อีกด้วย


    หลวงตาวัชรชัย วัดเขาวงศ์ถ้ำนารายณ์ จ.สระบุรี ได้เคยไปกราบครูบาดาบสและเล่าว่า


    ก่อนลาหลวงปู่กลับ ก็ถ่ายรูปร่วมกับท่านมาภาพหนึ่ง กลับมาถึงก็เล่าให้พี่น้องบรรพชิตและฆราวาสฟังว่า มีหลวงปู่ดาบส แห่งสำนักไผ่มรกต จังหวัดเชียงราย ท่านพูดถึงพ่อเรา(หลวงพ่อฤาษี)อย่างนั้นอย่างนี้ แล้วท่านก็งามนักหนา ทั้งหน้าตามารยาท ถ้าพ่อเราเป็นพระอาทิตย์เต็มองค์ทรงกลด หลวงปู่ดาบสก็งามเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญที่ไม่มีเมฆหมอกมาบดบัง แล้วก็เอารูปของท่านออกมาอวดไปทั่ววัด

    ก็อวดมาถึงหลวงพี่วิรัช ท่านก็เอาไปเล่าอวดหลวงพ่อพร้อมรูปใบนั้น พ่อเราฟังไป ดูรูปไป ก็ส่งรูปคืนให้หลวงพี่วิรัช พร้อมกับพูดลอย ๆ ออกมาว่า

    "เออ.. ๒๐ ปีแล้วซีนะ"

    หลวงพี่วิรัชก็กลับมาบอกคืนหลวงตาว่า คงเป็นเพื่อนหลวงพ่อ ไม่ได้พบกัน ๒๐ ปีกระมัง

    พอตอนเย็น ไปทำวัตรเย็นและปฏิบัติกรรมฐาน หลวงพี่อนันต์ เรียกหลวงตาเข้าไปหาแล้วบอกว่า

    "หลวงพ่อให้บอกท่านว่า พระเจ้าของรูปนั้นได้อรหันต์มา ๒๐ ปีแล้ว"



    ที่มา: ธรรมจักร
     
  12. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    พระชุดขวานฟ้าโลกอุดร สุดยอดของดีรุ่นนึงที่ครูบาท่านอธิษฐานจิตไว้ให้ลูกหลานและผู้ศรัทธาได้มีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวถึงคุณพระรัตนะตรัยและครูบาอาจารย์ พระชุดนี้เข้มขลังด้วยชนวนมวลสารและยิ่งด้วยครูบาอาจารย์ที่ทรงอธิจิตสมบูรณ์ด้วยวิมุติและวิชชาถึง ๖องค์ และครูบาวงศ์อธิษฐานจิตด้วยพระคาถาชินบัญชรถึง 5วัน จะนับเนื่องเป็นพระชุดไจยะเบงชรครูบาวงศ์ก็น่าจะได้ครับ





    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]
     
  13. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    รายการพระเนื้อผงที่น่าสนใจอีกรุ่นนึงของหลวงปู่ครูบาวงศ์ พระชุดนี้ก็ผสมผงพระธาตุ ๕oo พระอรหันต์ด้วยครับ



    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2015
  14. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]




    [​IMG]



    ขอขอบคุณภาพคำสอนจาก fb ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
     
  15. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    พระอุปคุตชนะมาร หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา

    ขออนุญาติ เล่าเรื่องพระอุปคุต กับ พระพิมพ์นี้ ช่วงสายๆ ของประมาณเดือน มีนา หรือ เมษา จำพศ.ไม่ได้ หลังครูบาว่างจากรับแขก ก็นั่งคุยกับครูบา รับใช้ท่านตามปกติ ถามท่านเรื่องพระอุปคุต ท่านก็บอกว่าพระอุปคุต จะคอยระวังภัยในพระพุทธศาสนา ครูบาท่านทำท่า อุปคุตจกบาตรให้ดูด้วย ท่านบอกว่า ขนาดฉันข้าว ยังต้องคอยมองท้องฟ้า ป้องกันไม่ให้พวกมารมาทำอะไรพระพุทธเจ้า (ครูบาท่านเอาพระอุปคุตไม้แกะของผมไปอธิษฐานให้หน้าที่บริเวณท่านสวดมนต์...ตอนหลังผมก็ลืม ทิ้งไว้นานเป็นสองปี ถึงไปเอาคืน) ใครไปวัดห้วยต้มจะเห็น ว่า ครูบาท่านจะตั้งศาลพระอุปคุตไว้ บริเวณศาลาพรหมจักรโก เวลามีงานพิธีอะไรต่างๆท่านจะเชิญพระอุปคุตทุกครั้งครูบาท่านให้ความสำคัญกับพระอุปคุตมาก

    ส่วนพระพิมพ์นี้ เคยถามท่านว่า..ครูบาอยากให้ทำพระพิมพ์ไหนอีกไหมครับ(ในช่วงนั้น)ท่านบอกให้ผม ถ้าจะทำให้ทำพิมพ์นี้ ท่านบอกให้ทำเป็นพิมพ์อุปคุต1พิมพ์ และ สังกัจจายน์ 1พิมพ์ อีกด้านเป็นรูปครูบาท่าน ขนาดเท่าเล็บหัวแม่มือท่าน ตอนแรกตั้งใจจะทำ แต่โยมอีกคนที่รู้ข่าว ขอไปทำถวายท่านก่อน แต่สรุปว่าพระพิมพ์นี้ เป็นพระที่ทำตามแบบที่ท่านบอกนั่นเอง ส่วนการอธิษฐานครูบาท่านคงทำไว้อย่างดีแล้ว




    ที่มา: คุณhero_ultra <SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1260656", true); </SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2015
  16. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    แจมด้วยภาพ


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    :p
     
  17. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    พระพรหมครูบาวงศ์ ศิษย์หลวงปู่ดู่สร้างถวาย




    [​IMG]
     
  18. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]



    พระเจ้าเก้าตื้อจำลอง วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    ครูบาวงศ์ท่านจำลองพระเจ้าเก้าตื้อวัดสวนดอก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่งดงามองค์หนึ่งมาไว้ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ภายในมณฑปงดงามและเย็นสบายมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2015
  19. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ เดิมทีชาว จ.สุพรรณบุรี เรียก พระกรุ นี้ว่า พระวัดบ้านกร่าง ไม่มีคำหน้าว่า พระขุนแผน

    ต่อมาวงการพระเครื่องในต่างจังหวัด หรือแม้แต่ชาว จ.สุพรรณบุรี เองก็นิยมเรียก พระกรุนี้ว่า พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง ไปโดยปริยายคือ พระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่ พระขุนแผน พิมพ์อกเล็ก พระขุนแผน ทรงพล พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง พระขุนแผน พิมพ์เถาวัลย์ พระขุนแผน พิมพ์ระประธาน พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเหลือบ พระพลายเดี่ยว พระพลายคู่ อย่างนี้เป็นต้น

    สรรพนามตามที่กล่าวนี้ คงจะถือเอาพุทธลักษณะของพิมพ์คู่มาเป็นข้ออ้างอิง หรือเปรียบเทียบในตัวละครเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน คือ พลายเพชรพลายบัว นามนี้มีการเรียกขานหรือกล่าวขานกันจนติดปากมานานแสนนาน ประมาณหนึ่งร้อยกว่าปีเลยทีเดียว

    ต่อมาภายหลังนักประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้วิเคราะห์สถานการณ์การศึกสงครามที่ ดอนเจดีย์ ที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทำยุทธหัตถีมีชัยชนะเมื่อครั้งกระโน้น จึงลงความเห็นว่า พระพิมพ์คู่ของ กรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ น่าจะสร้างเพื่อแสดงเกียรติคุณแด่ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ พระเอกาทศรถ พระอนุชา ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

    เมื่อประมาณ 20 กว่าปีล่วงแล้ว คุณประสิทธิ์ ชาว อ.ศรีประจันต์ เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ได้พบ พระห้าเหลี่ยม พิมพ์อกใหญ่ องค์หนึ่ง มีรอยตัดขาดสะพายแล่ง ไม่ใช่หัก แต่เป็นรอยตัด แสดงให้เห็นว่า ผู้สร้างมีเจตนาทำไว้เป็นอนุสรณ์แด่พระมหาอุปราชา เมื่อคราวที่ สมเด็จพระนเรศวรฯ ทำสงครามยุทธหัตถี ฟันพระมหาอุปราชา ด้วยพระแสงของ้าว ขาดสะพายแล่งบนคอช้างพระที่นั่งฯ

    ใครเป็นผู้ตั้งชื่อ พระขุนแผน
    คำว่า พระขุนแผน ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ตั้งชื่อ วรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน อุบัติขึ้นในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการเผยแพร่บทละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน กันมาก ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุแห่งคำว่า พระขุนแผน มาโดยลำดับ

    อีกนัยหนึ่ง การสร้างพระเครื่องแต่ละแบบพิมพ์ ท่านโบราณจารย์มักสร้างเป็นรูปเคารพพระพุทธเจ้า แล้วนำมาประจุพุทธคาถา หรือที่เรียกว่า จัดพิธีพุทธาภิเษก คือ มีการปลุกเสกเพื่อให้รูปเคารพฯเกิดพุทธานุภาพนานาประการ

    อย่างเช่น พระอาจารย์เจ้าบางรูปก็เน้นหนักไปในทางอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาด หรือเป็นมหาอุด หมายถึงอุดปืนไฟ และบางอาจารย์ก็หนักไปในทางเมตตามหานิยม หรือบางอาจารย์ก็มีความมุ่งหมายในทางครอบจักรวาล คือ ให้รูปเคารพพระพุทธเจ้า มีคุณวิเศษครบทุกอย่างแบบครอบจักรวาลนั่นแหละครับ

    ด้วยอำนาจแห่งพุทธาคมคาถาของพระภาวนาจารย์ที่ทรงญาณสมาบัติขั้นสูง เมื่อมีผู้นำรูปเคารพของพระพุทธเจ้าซึ่งประจุพระพุทธคุณแล้ว อาราธนานำติดตัวไว้ป้องกันอุบัติภัยต่างๆ ได้ประจักษ์พระพุทธานุภาพนานาการคือ มีคุณวิเศษเหมือน ขุนแผนในวรรณคดีฯ ด้วยเหตุนี้ละกระมังคำว่า พระขุนแผน จึงอุบัติขึ้นเป็นที่เรียกขานสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

    พระขุนแผน มีกี่กรุ
    พระขุนแผน มีอยู่หลายกรุและหลายเมืองด้วยกัน ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ พระขุนแผน กรุวัดพระรูป อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี พระขุนแผน เคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล และ พระขุนแผน กรุโรงเหล้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และยังมีอีกมากมายหลายแบบพิมพ์ตามวัดต่างๆ ถ้ามีพุทธลักษณะเป็น แบบห้าเหลี่ยม หรือไข่ผ่าซีก หรือ แตงกวาผ่าซีก เป็นต้องเรียกว่า พระขุนแผน ทันที

    ครับก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเสียหายแต่อย่างไร แต่ทว่ากลับเป็นการสรรเสริญเกียรติคุณของ ขุนแผนในวรรณคดีให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้น ก็ขอให้รักษาสรรพนามคำว่า พระขุนแผน ไว้ให้นานแสนนาน เพื่อเยาวชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป

    ใครเป็นผู้สร้าง พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง

    พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี และ พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสร้างในแผ่นดิน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา คือสร้างเป็นอนุสรณ์และเกียรติประวัติในการทำยุทธหัตถีชนะ พระมหาอุปราชาที่ ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ตามประวัติการสร้างจากหนังสือวัดฯ มีสองนัยความดังนี้...

    ตามประวัติฯโดยสถานหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า ไทยกับพม่าทำศึกสงครามกันอยู่เนืองๆ โดยทางฝ่ายพม่าเป็นผู้ยกทัพมารุกรานไทยเป็นส่วนใหญ่ การศึกติดพันตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางเรื่อยมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองมีความสงบในรัชกาลที่ 4 เป็นเวลายาวนานถึง 275 ปี รบกันถึง 43 ครั้ง ครั้งสำคัญผ่านเมืองสุพรรณบุรีเข้าตีกรุงศรีอยุธยาถึง 5 ครั้ง

    ครั้งที่สำคัญที่สุดเมื่อ พ.ศ.2135 พระมหาอุปราชายกกองทัพใหญ่ มีไพร่พล 200,000 คน หมายขยี้กองทัพไทยให้แหลกลาญ เกณฑ์หัวเมืองน้อยใหญ่ต่างๆ เช่น เจ้าเมืองจาโประ พระเจ้าแปร เมืองตองอู และ พระเจ้าเชียงใหม่ ยกกองทัพลงมาจากเหนือ พระมหาอุปราชา เป็นทัพหลวงฯ

    สงครามครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรฯ ไม่ตั้งรับในเมือง ทรงยกกองทัพออกสู้ศึกนอกเมือง ซึ่งขณะนั้นกำลังจะยกกองทัพไปตีกรุงกัมพูชา จึงสั่งให้เคลื่อนทัพไปตั้งที่ ทุ่งป่าโมก แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ แล้วยกไปเมืองสุพรรณบุรี ให้พระยาศรีไสยณรงค์ และ พระยาราชฤทธานนท์ ยกกองทัพไปตั้งที่ริมแม่น้ำท่าคอย แขวงเมืองสุพรรณฯ

    ภายหลังให้เคลื่อนทัพออกไปตั้งรับที่ บ้านดอนระฆัง สมเด็จพระนเรศวรฯ ยกทัพหลวงออกจากทุ่งป่าโมกไปเมืองสุพรรณบุรี ผ่านทางบ้านสามโก้ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ข้ามแม่น้ำสุพรรณตั้งค่ายหลวงที่ หนองสาหร่ายฯ

    สงครามครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ โดยฟันพระมหาอุปราชาด้วยพระแสงของ้าว พระอังสาขาดบนคอช้างศึก ตั้งแต่บัดนั้น พม่ามิได้ยกทัพมารุกรานไทยเป็นเวลานาน สมเด็จพระนเรศวร จึงโปรดฯให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นหนึ่งองค์ตรงที่ทำยุทธหัตถีนั้น เมื่อพระองค์ชนะศึกแล้ว จึงโปรดฯ ให้ยกกองทัพกลับมาทางเดิม ซึ่งจะต้องผ่าน อ.ศรีประจันต์ เพราะเป็นทางตรง เพื่อนำทัพมาข้ามแม่น้ำท่าจีนตรง วัดบ้านกร่าง นี้ ซึ่งเป็นตอนที่แม่น้ำตื้นเขินมากที่สุด

    สมเด็จพระนเรศวรฯ คงจะพักทัพอยู่ริมแม่น้ำท่าจีนในราว 3-4 วัน และในระหว่างที่พักทัพนั้นพระองค์อาจรับสั่งให้ทหารในกองทัพสร้างรูปเคารพพระพุทธเจ้า เพื่อบรรจุไว้ในสถูปเป็นพุทธบูชาอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นเกียรติประวัติหรือเพื่ออุทิศเป็นส่วนกุศล แด่เหล่าทหารหาญที่ต้องเสียชีวิตในสงครามยุทธหัตถีครั้งนั้น

    ตามประวัติจากการบันทึกของหนังสือ วัดบ้านกร่าง อีกนัยหนึ่งความว่า พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง ผู้สร้างคงจักหวังให้เป็นอนุสรณ์และเกียรติประวัติแด่ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ พระเอกาทศรถราช อนุชา ใส่เกวียนบรรทุกมาจากกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำมาบรรจุกรุที่ ดอนเจดีย์ ตรงที่ทำยุทธหัตถีนั้น เกวียนเกิดหักที่ท่าขนอนเมื่อตอนข้ามแม่น้ำท่าจีน จึงนำพระเครื่องพระบูชาทั้งหมดบรรจุกรุไว้ที่ วัดบ้านกร่าง ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุในขณะนั้น

    จากบันทึกของหนังสือประวัติ วัดบ้านกร่าง ทั้งสองสถานความตรงกันว่า พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง เป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงโปรดฯให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์กุศลแด่เหล่าทหารหาญที่เสียชีวิตในสงครามยุทธหัตถีฯ แต่ข้อความมาผิดเพี้ยนกันตรงที่ว่า พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง สร้างที่ไหนกันแน่ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าศึกษาหาข้อยุติกันต่อไป

    สำหรับผู้เขียนมีความคิดเห็นเป็นส่วนตัวว่า โดยสถานแรกเป็นเรื่องไกลความจริงอยู่มาก กล่าวคือเมื่อ สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงชนะศึกยุทธหัตถีที่ดอนเจดีย์แล้ว พระองค์คงจะรีบยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยาเป็นการด่วน คงจะไม่พักทัพอยู่หลายวันอย่างแน่นอน เพราะมีเรื่องที่จะต้องสะสางเกี่ยวกับแม่ทัพนายกองที่ติดตามไม่ทันพระองค์ในการทำศึกยุทธหัตถีครั้งนั้น

    หรือถ้าเป็นไปได้ พระองค์อาจพักทัพอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน 4-5 วัน แต่คงไม่โปรดให้สร้างพระเครื่องพระบูชาเป็นแน่ เพราะไม่มีความสะดวกด้วยประการทั้งปวง พระองค์คงจะยับยั้งการสร้างรูปเคารพพระพุทธเจ้าเอาไว้ก่อน นี่เป็นเรื่องที่ต้องคิด

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพระเครื่องพระบูชาเป็นจำนวนมากหลายหมื่นองค์ ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายนัก จะต้องใช้เวลาเป็นแรมเดือน คือต้องมีการเผาหรือสุมองค์พระให้ดินสุก เพื่อความแข็งแกร่งของเนื้อพระ แล้วต้องประกอบพิธีพุทธาภิเษก มิฉะนั้นจะไม่เกิดพุทธานุภาพ เพราะ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง มีพุทธคุณในทางอยู่คงและเมตตามหานิยมเป็นที่ปรากฏมาแล้ว

    ตามหนังสือประวัติ วัดบ้านกร่าง อีกนัยหนึ่งที่ว่า ใส่เกวียนบรรทุกมาจากกรุงศรีอยุธยา เพื่อจะนำไปบรรจุกรุที่ดอนเจดีย์ แต่บังเอิญเกวียนมาเกิดหักที่ ท่าขนอนแม่น้ำท่าจีน ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จึงได้นำพระเครื่องพระบูชาทั้งหมดมาบรรจุกรุที่ วัดบ้านกร่าง ข้อหลังนี้มีเหตุผลที่น่าฟังอยู่บ้าง

    สำหรับผู้เขียน ถ้าจะให้อนุมานคงมีความเห็นไปอีกสถานหนึ่ง กล่าวคือ พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง น่าจะสร้างเมื่อตอนบ้านเมืองมีความสงบสุข ว่างเว้นจากศึกสงคราม คงจะมีอายุการสร้างเท่า พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใครจะสร้างก่อนสร้างหลัง คงจะห่างกันไม่นานปีนัก และคงจะสร้างโดยพระคณาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมขลัง และสัปปุรุษผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นชาวบ้านในละแวก วัดบ้านกร่าง นั่นเอง ถูกหรือผิดเป็นการอนุมานของผู้เขียนนะ

    พุทธลักษณะและจำนวนสร้าง

    พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง ทั้งพิมพ์เดี่ยว พิมพ์คู่ มีหลายแบบพิมพ์ โดยประมาณมีไม่ต่ำกว่า 30 พิมพ์ มีพุทธลักษณะต่างๆ กัน

    อาทิเช่น พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกใหญ่ พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกเล็ก พิมพ์ทรงพลใหญ่ พิมพ์ทรงพลเล็ก พิมพ์ทรงพลปรกโพธิ์ พิมพ์พระประธาน หน้าแก่ พิมพ์พระประธาน หน้าหนุ่ม พิมพ์ซุ้มเหลือบ พิมพ์ลายกนกเถาวัลย์ พิมพ์ใบไม้ร่วง พิมพ์ใบมะยม พิมพ์แขนอ่อน พิมพ์ซุ้มประตู พิมพ์ก้างปลา พิมพ์พลายคู่เศียรโต พิมพ์พลายคู่เศียรเล็ก พิมพ์พลายคู่หน้าเทวดา พิมพ์พลายคู่หน้ามงคล ฯลฯ จำนวนสร้างตามหลักพระพุทธศาสนา ท่านโบราณจารย์มักนิยมสร้างเท่าจำนวนพระธรรมขันธ์คือ 84,000 องค์ หรือมากกว่านี้

    พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง นอกจากพบที่ กรุวัดบ้านกร่าง แล้ว ยังพบที่ กรุวัดบ้านกล้วย และที่ วัดถั่ว อ.ศรีประจันต์ อีกจำนวนหนึ่ง คงมีผู้นำไปฝากกรุไว้ในต่างจังหวัด อย่างเช่นที่ สมุทรสาคร และ สมุทรสงคราม มีอยู่จำนวนมากเหมือนกัน

    สมัยก่อนโน้น แม่น้ำท่าจีนตอนกลาง ยังไม่มีประตูน้ำโพธิ์พระยา เวลาน้ำลงที่หน้า วัดบ้านกร่าง และที่ ท่าขนอน น้ำจะแห้งเดินข้ามไปมาได้ ชาวเรือที่ขึ้นล่องค้าขายพืชสวนต่างๆ แถบแม่น้ำท่าจีนตอนบน เมื่อเรือถึงหาดท่าขนอน เป็นเวลาน้ำลงต้องจอดเรือเกยตื้นพักแรมที่ท่าขนอนนี้

    ในขณะที่รอน้ำทะเลหนุน ชาวเรือทั้งหลายได้ขึ้นไปเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ ภายในบริเวณ วัดบ้านกร่าง เห็นพระกองอยู่ที่โคนต้นพิกุลบ้าง ที่ข้างโบสถ์บ้าง จึงมีโอกาสหยิบลงเรือคนละมากๆ องค์ ขึ้นล่องแต่ละเที่ยวก็ขนกันหลายร้อยองค์ สมัยนั้นไม่มีใครหวงห้าม ด้วยเหตุนี้ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จึงตกมาอยู่แถวแม่น้ำท่าจีนตอนล่างเป็นจำนวนไม่น้อย

    อิทธิคุณ
    พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง มีพุทธานุภาพในทางเมตตามหานิยม และทางคงกระพันชาตรี มีผู้ประสบการณ์มากรายเลยทีเดียว โดยเฉพาะผู้เขียนเคยพบความศักดิ์สิทธิ์ด้วยตนเองมาแล้ว จะเล่าสู่กันฟังสักเรื่องหนึ่ง

    เมื่อสมัยผู้เขียนเป็นพนักงานอยู่ในเรือเมล์ บริษัทสุพรรณขนส่ง (เรือสีเลือดหมู) มีอยู่วันหนึ่งไปหาแพทย์ที่ตลาด อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อขอให้แพทย์ฉีดยาแก้อักเสบ

    วันนั้นพยาบาลสาวเป็นผู้ฉีดยาให้ผู้เขียน พยายามปักเข็มหลายครั้งแต่ไม่เข้า จนผู้เขียนรู้สึกเจ็บ ต้องขออนุญาตปลด พระขุนแผน พิมพ์พลายคู่ หน้าใหญ่ ที่เหน็บอยู่ในกระเป๋าเสื้อออก พยาบาลสาวจึงทำการฉีดยาได้สำเร็จ

    รายต่อไปเป็น ท่านนายอำเภอบุรี พรหมลักขโณ อดีตนายอำเภอ อ.ศรีประจันต์ เมื่อสมัยสามสิบกว่าปีก่อนโน้น ท่านคล้อง พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลเล็ก วันหนึ่งท่านไปราชการโดยทางเรือ ขับเรือเร็วไปตรวจราชการ บังเอิญเรือเร็วเกิดพลิกคว่ำ ใบจักรเรือฯ ฟันท่านจนเสื้อขาดเป็นฝอย แต่ความแรงของเครื่องยนต์บวกกับความคมของใบจักรฯ ไม่สามารถทำให้ผิวหนังของท่านระคายเคืองได้เลย

    เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของ พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลเล็ก ก่ออภินิหารช่วยชีวิตนายอำเภอบุรี พรหมลักขโณ เมื่อครั้งโน้นนั้น วงการพระเครื่อง เมืองสุพรรณหรือชาว อ.ศรีประจันต์ หลายพันคนย่อมทราบดี ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลเล็ก มีค่านิยมสูงลิ่ว ถ้าความสวยไม่เป็นสองรองใคร โทษทีคงพูดกันไม่รู้เรื่องครับ นี่พูดกันเรื่องจริงนะ

    เรื่องอิทธิคุณของ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จัอ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ยังมีผู้ที่มีประสบการณ์อีกมากราย โดยเฉพาะในทางเมตตามหานิยม เป็นที่เลื่องลือชื่อเสียงอย่างกว้างขวาง แต่คงไม่สามารถนำมาเล่าได้หมด ถ้าท่านผู้อ่านศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ ใคร่หามาไว้ปกปักรักษาตัวเราเอง ไม่จำเป็นต้องเลือกพิมพ์ครับ มีพุทธานุภาพเหมือนกันหมด ก็ขอแนะนำท่านเพียงเท่านี้

    ( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1110 เดือนกุมภาพันธ์ 2556 : พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ภาพและเรื่องโดย ธร นครหลวง )



    [​IMG] [​IMG]
     
  20. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    เหรียญครูบาวงศ์ รุ่นสร้างโรงพยาบาลลี้ ปี ๒๕๓๙




    [​IMG]



    ขอขอบคุณเจ้าของภาพคำไหว้ครูบาด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...